Clock


วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

Complete Blood Count (CBC) หรือการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์

Complete Blood Count (CBC) ประกอบด้วยการทดสอบย่อย ๆ ได้แก่
- การทดสอบเกี่ยวกับเม็ดเลือดแดง : hemoglobin, hematocrit, red cell count, red blood cell indicies
- การทดสอบเกี่ยวกับเม็ดเลือดขาว : white blood cell count, differential count, absolute neutrophil count
- การทดสอบเกี่ยวกับเกล็ดเลือด : platelet count
- การอ่าน blood smear


:arrow: ข้อบ่งชี้ในการส่งตรวจ (indication) :
- เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคโดยเฉพาะโรคทางโลหิตวิทยาหรือมีการเปลี่ยนแปลงทางโลหิตวิทยา
- เพื่อตรวจกรองความสมบูรณ์ของสุขภาพ
- เพื่อติดตามผลของการรักษาหรือผลข้างเคียงจากการรักษา


:arrow: สิ่งส่งตรวจและปริมาณและภาชนะที่ใช้เก็บ
- เลือดใส่หลอดที่มีสารกันเลือดแข็งชนิด EDTA ปริมาณ 2 มิลลิลิตร
- การส่งสิ่งส่งตรวจและข้อควรระวัง คือ สิ่งส่งตรวจควรมาถึงห้องปฏิบัติการภายใน 2 ชั่วโมงหลังเจาะเลือดในการนำส่งที่อุณหภูมิห้อง


การรายงานผล complete Blood Count
รายงานเป็นค่า โดยใช้ค่าอ้างอิง (reference value) ดังนี้
Hb (g/dl) 12-18
Hct (%) 37-52
RC (x106/ul) 4.2-5.4
MCV (fl) 80-99
MCH (pg) 27-31
MCHC (g/dl) 31-35
WBC (103/ul) 4-11
Platelet (x103/ul) 150-440
% N 40-74
% L 19-48
% M 3.4-9
% E 0-7
% B 0-1.5
*ค่าอ้างอิงที่ใช้ในแต่ละพื้นที่อาจแตกต่างกัน โดยบางโรงพยาบาลอาจใช้ค่าอิงแยกเพศชาย-หญิงด้วย
CBC เป็นการตรวจที่บ่อยที่สุดโดยการตรวจวัดเซลล์ต่างๆในเลือดได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือดโดยอาจจะตรวจด้วยเครื่องหรือโดยการส่องกล้องซึ่งจะตรวจ

การตรวจเม็ดเลือดแดง (Red blood cell examination)
* จำนวนเม็ดเลือดแดง Red blood cell (RBC) count
* ความเข็มของเลือด Hematocrit หรือปริมาณเม็ดเลือดแดงอัดแน่น
* Hemoglobin
* MCV
* MCH
* MCHC

การตรวจเม็ดเลือดขาว (White blood cell examination)
* จำนวนเม็ดเลือดขาว White blood cell count
* การนับแยกชนิดเม็ดเลือดขาวเป็นเปอร์เซนต์ White blood cell differential count (WBC Diff.Count)

การตรวจเกร็ดเลือด Platelet examination
* จำนวนเกร็ดเลือด Platelet count

การตรวจเม็ดเลือดแดง Red blood cell examination
1.จำนวนเม็ดเลือดแดง Red blood cell (RBC) count
เป็น การนับจำนวนเม็ดเลือดแดงในกระแสเลือด ถ้าจำนวนน้อยก็คือภาวะโลหิตจาง (anemia ) ถ้าจำนวนมากเกินไปเรียก ( polycythemia) ปกติจะมีปริมาณ 4.2 - 5.9 million cells/cu.mm นอกจากจะดูจำนวนแล้วยังดูขนาดของเม็ดเลือดแดง ความเข็มของ Hemoglobin ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีโลหิตจางเนื่องเสียเลือดจากประจำเดือน

2.ความเข็มของเลือด Hematocrit หรือเปอร์เซ็นต์เม็ดเลือดแดงอัดแน่น
เป็นการวัดความเข็มข้นของเลือดอีกแบบหนึ่งโดยเปรียบเทียบปริมาตรของเม็ดเลือดต่อปริมาตราของเลือด ถ้าต่ำกว่า 30%ถือว่ามีภาวะโลหิตจาง

hematocrit ต่ำพบได้ในภาวะ
* โรคโลหิตจาง
* เสียเลือด
* bone marrow failure (e.g., due to radiation, toxin, fibrosis, tumor)
* destruciton of red blood cells
* leukemia
* malnutrition or specific nutritional deficiency
* multiple myeloma
* rheumatoid arthritis

hematocrit สูงพบได้ในภาวะ
* ขาดน้ำจาก
o ไฟไหม้
o ท้องร่วง
* erythrocytosis (excessive red blood cell production)
* polycythemia vera

สาเหตุของภาวะโลหิตจาง Anemia
1. ขาดธาตุเหล็ก Iron deficiency anemia
* ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่เกิดจากเสียเลือดเช่น เสียเลือดจากประจำเดือน เสียเลือดจากแผลในกระเพาะ เสียเลือดจากรีดสีดวงทวาร เป็นต้น
* ในเด็กเกิดจากขาดธาตุเหล็กในอาหาร
2. เสียเลือดเป็นจำนวนมาก เช่นเสียเลือดจากแผลในกระเพาะอาหาร เสียเลือดจากอุบัติเหตุ
3. โรคทางพันธุกรรม เช่น โรค thalassemia

3.การตรวจวัด Hemoglobin เป็น ส่วนประกอบสำคัญในเม็ดเลือดแดงทำหน้าที่นำ oxygen จากปอดไปยังเนื้อเยื่อและนำ Carbodioxide จากเนื้อเยื่อไปฟอกที่ปอด ค่าปกติจะอยู่ระหว่าง 12-16 gram%พบว่าถ้ามีน้อยถือเป็นภาวะโลหิตจาง สาเหตุเหมือนกับภาวะโลหิตจาง
4. MCV เป็นการวัดขนาดของเม็ดเลือดแดง เป็นอัตราส่วนระหว่า Hct และเม็ดเลือดแดงค่าปกติจะอยู่ระหว่าง 86-98 femtoliters
5. Mean cell hemoglobin (MCH). เป็นการวัดปริมาณ hemoglobin ในแต่ละเซลล์ของเม็ดเลือดแดงหรือเป็นการคำนวณระหว่างปริมาณ hemoglobin และปริมาณเม็ดเลือดแดงค่าปกติ 27 - 32 picograms
6. Mean cell hemoglobin concentration (MCHC). เป็นการวัดความเข็มข้นของ hemoglobin ซึ่งคำนวณได้จาก hemoglobin และ Hct

เม็ดเลือดขาว White blood cell examination

การตรวจเม็ดเลือดขาวแบ่งการตรวจได้เป็น

1.จำนวน เม็ดเลือดขาว White blood cell count (WBC number) มีจำนวนน้อยกว่าเม็ดเลือดแดงมาก เม็ดเลือดขาวทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อโรค เมื่อมีการติดเชื้อร่างกายจะสร้างเม็ดเลือดขาวจากไขกระดูกทำให้เม็ดเลือกขาว เพิ่ม คนที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำจะติดเชื้อได้ง่าย ปกติจะมีจำนวณ 4300-10800/ cu.mm

ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ พบได้ในภาวะ การติดเชื้ออย่างรุนแรง AIDS มะเร็ง คนที่ได้รับเคมีบำบัด
ส่วนภาวะเม็ดเลือดขาวสูง พบได้ในภาวะ ติดเชื้อ มะเร็งเม็ดเลือดขาว

2.White blood cell Differential blood count (WBC Diff.Count) คือการหาอัตราส่วนของเม็ดเลือดขาวแต่ละชนิดโดยการนับเม็ดเลือดขาวแต่ละชนิด ว่ามีกี่% เม็ดเลือดขาวมีอยู่ 5 ชนิดดังนี้
neutrophils
lymphocytes
monocytes
eosinophils
basophils

การตรวจนับจำนวนเกร็ดเลือด Platelet count examination


เกร็ด เลือดมีหน้าที่อุดปากแผลเวลาได้รับบาดเจ็บ ปกติจะมีเกร็็ดเลือด 140,000-400,000 /
cu.mm. ถ้าเกร็ดเลือดต่ำทำให้ผิวเกิดจ้ำเลือด และจุดเลือดออก เกร็ดเลือดต่ำพบได้ในภาวะ มะเร็งบางชนิด ได้รับเคมีบำบัด ไข้เลือดออก SLE

ค่าปกติของการตรวจ CBC

* RBC (varies with altitude):
o ชาย: 4.7 to 6.1 million cells/mcL
o หญิง: 4.2 to 5.4 million cells/mcL
* WBC : 4,500 to 10,000 cells/mcL
* Hematocrit (varies with altitude):
o ชาย: 40.7 to 50.3 %
o หญิง: 36.1 to 44.3 %
* Hemoglobin (varies with altitude):
o ชาย: 13.8 to 17.2 gm/dL
o หญิง: 12.1 to 15.1 gm/dL
* MCV: 80 to 95 femtoliter
* MCH: 27 to 31 pg/cell
* MCHC: 32 to 36 gm/dL

Note:
cells/mcL = cells per microliter
gm/dL = grams per deciliter
pg/cell = picograms per cell


การแปลผล

หากมีจำนวณเม็ดเลือดแดงสูงหมายถึง

* ภาวะที่มี oxygen ในเลือดต่ำ
o โรคหัวใจแต่กำเนิด
o โรคหัวใจวายเนื่องจากโรคปอด
o พังผืดในปอด
* Polycythemia vera
* ขาดน้ำเช่นท้องร่วงอย่างแรง
* โรคไตที่มีการสร้าง erythropoietin

จำนวณเม็ดเลือดแดงน้อยพบได้ในภาวะ

* เสียเลือด
o ทางเดินอาหาร
o อื่นๆเช่นประจำเดือน
* ไขกระดูกไม่ทำงานเช่น (การฉายแสง, สารพิษ, fibrosis, เนื้องอกในไขกระดูก)
* โรคไตวายเรื้อรัง
* เม็ดเลือดแดงแตกง่าย
* มะเร็งเม็ดเลือด
* Multiple myeloma
* ขาดอาหาร (เช่นขาดธาตุเหล็ก iron, กรดโฟลิก folate, วิตามิน vitamin B12, or vitamin B6)

เม็ดเลือดขาวต่ำพบได้ในโรคหรือภาวะ

* ไขกระดูกไม่ทำงาน (for example, due to infection, tumor or fibrosis)
* มีสารพิษ
* โรคแพ้ภูมิเช่น SLE
* โรคตับและม้าม
* การฉายแสง

เม็ดเลือดขาวสูงพบได้ในภาวะหรือโรค

* โรคติดเชื้อ
* การอักเสบเช่นโรค rheumatoid arthritis
* มะเร็งเม็ดเลือดขาว Leukemia
* ความเครียด
* เนื้อเยื่อมีการตายเช่นไฟไหม้

hematocrit ต่ำพบได้ในภาวะ

* โลหิตจาง Anemia (various types)
* เสียเลือด
* ไขกระดูกไม่ทำงาน (for example, due to radiation, toxin, fibrosis, tumor)
* เม็ดเลือดแดงแตกHemolysis (RBC destruction) related to transfusion reaction
* มะเร็งเม็ดเลือดขาว
* ขาดสารอาหาร
* ข้ออักเสบ

ภาวะความเข็มข้นในเลือดสูง( hematocrit )พบได้ในภาวะ

* ขาดน้ำจาก
o ไฟไหม้
o ท้องร่วง
* Polycythemia vera
* ภาวะoxygen ในเลือดต่ำเช่น สูบบุหรี่ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด อาศัยในที่สูง

hemoglobin ต่ำพบได้ในภาวะ

* anemia (various types)
* erythropoietin deficiency (from kidney disease)
* red blood cell destruction associated with transfusion reaction
* เสียเลือด
* สารตะกั่วเป็นพิษ
* ขาดอาหาร
* nutritional deficiencies of iron, folate, vitamin B-12, vitamin B-6
* ได้รับน้ำเกลือมากเกินไป

hemoglobin สูงพบได้ในภาวะ

* โรคหัวใจแต่กำเนิด congenital heart disease
* โรคหัวใจวายจากโรคปอด
* โรคพังผืดในปอด pulmonary fibrosis
* polycythemia vera
* increased RBC formation associated with excess erythropoietin


1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณสำหรับข้อมูลมากๆเลยคะ แต่อยากทราบว่ามีเอกสารอ้างอิง หรือแหล่งข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นไหมคะ

    ตอบลบ

ค้นหา