ในราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อวิชาจิตวิทยาแรกเริ่มมีฐานะเป็นศาสตร์ แยกตัวเป็นเอกเทศจากเป็นส่วนแทรกอยู่ในศาสตร์อื่น ๆ นั้น ในช่วงนั้นนักศึกษาค้นคว้ามุ่งหาความเข้าใจ จิตสำนึก เท่านั้น ฟรอยด์ เป็นผู้ริเริ่มให้ความสนใจกับ จิตไต้สำนึก เขาเปรียบ เทียบว่า จิตใจมนุษย์ มีสภาพคล้าย ภูเขาน้ำแข็ง ที่ลอยอยู่ในมหาสมุทร มีส่วนที่อยู่เหนือผิวน้ำเป็นส่วนน้อย ยังมีส่วนอยู่ใต้ผิวน้ำ เป็นส่วนใหญ่ ภาวะจิต ระดับที่มี ความสำนึก ควบคุมอยู่เช่นเดียวกับ ส่วนของน้ำแข็งที่อยู่เหนือผิวน้ำ ภาวะจิตระดับใต้สำนึก เหมือน ส่วนที่อยู่ใต้ผิวน้ำ เป็นที่สะสมองค์ประกอบของจิตไว้มากมาย ฟรอยด์อธิบายว่า จิตระดับใต้สำนึก นี้มี กลไกทางจิต หลายประเภท ด้วยกัน เช่น แรงจูงใจ, อารมณ์ที่ถูกเก็บกด, ความรู้สึกนึกคิด,ความฝัน, ความทรงจำ ฯลฯ พลังจิตใต้สำนึก มีอิทธิพลบ เหนือ จิตสำนึกกระตุ้น ให้ปฏิบัติพฤติกรรม ประจำวันทั่ว ๆ ไป, เป็นแรงจูงใจให้เกิดพฤติกรรมไร้เหตุผล และผิดปกติในลักษณะต่าง ๆ ฟรอยด์ได้ใช้เวลาศึกษา เรื่องจิตใต้สำนึก อยู่ถึง ๔๐ ปี ได้เขียนหนังสืออธิบายเรื่องนี้ไว้ยืดยาว ภาวะจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก แสดงประกอบด้วยภาพดังนี้
ภาวะสำนึกและจิตใต้สำนึก
รูป เปรียบเทียบจิตทั้งส่วนสำนึก และส่วนใต้สำนึก เหมือน ภูเขาน้ำแข็ง ลอยในมหาสมุทร ส่วนลอยเหนือน้ำต้อง แสงสว่างและอากาศ ปรากฏแก่ สายตาโลก คือ จิต หรือ พฤติกรรม ที่อยู่ในความควบคุมของ ความสำนึกตัว ส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำ (ซึ่งปริมาณมากกว่า) อยู่ใน ความมืดกว่า ไม่ปรากฏแก่สายตาโลก คือ จิตใต้สำนึก อันเป็นภาคสะสม ประสบการณ์ในอดีตมากมาย ถูกบีบอัด เก็บกด หรือคอย เพื่อให้สม ปรารถนา เพื่อให้ได้ จังหวะเหมาะ สำหรับตอบสนองสิ่งเร้า อันยังไม่ได้ทำ หรือทำ ไม่ได้ในภาวะปกติ (เช่น กฎหมายห้าม, ประเพณีไม่ยอมรับ ว่าถูก, สังคมไม่นิยม ฯลฯ)
รูปซ้ายมือ เปรียบเหมือนเวลาอันเป็นปัจจุบันเท่านั้น และมีความเป็นปกติบุคคลย่อมรู้สึกสงบ สบาย มีสติ พลังจิตสำนึก ควบคุมพฤติกรรม ทั้งหลาย ให้เป็นไปตามที่เขาเห็นว่า ถูกต้อง,สมควร, ทำโดยเคารพกฎหมายและระเบียบของสังคม, รูปขวามือแสดงว่าเวลาลมฟ้าอากาศ แปรปรวน มหาสมุทรมีคลื่นจัด ภูเขาน้ำแข็งโครงเครง ส่วนที่เคยจมใต้น้ำ โผล่ขึ้นเหนือน้ำ ให้มองเห็นได้ เทียบได้กับยามบุคคล มีอารมณ์ขุ่นมัว เคร่งครัด ด้วยความโกรธ เกลียด อิจฉา พยาบาท กลัว ตื่นเต้น วิตก เจ็บป่วย ฯลฯ พลังจิตใต้สำนึกที่ไม่มีโอกาสได้แสดง พฤติกรรมออกมานั้น มักแปรรูปเป็นพฤติกรรมผิดปกติ รูปใดรูปหนึ่งก็ได้ เช่น รู้สึกกลัวตลอดเวลา กามวิปริตซึมเศร้าตลอดเวลาฯลฯ การช่วยเหลือบุคคล ที่มีพฤติกรรมผิดปกติประเภทนี้ จำเป็นจะต้องเข้าใจหยั่งรู้ถึง พลังจิตใต้สำนึก ที่เป็นต้นเหตุ จิตแพทย์สกุลฟรอยด์ อาจใช้วิธีการสะกดจิต หรือทำการบำบัดแบบ Free Association เพื่อให้คนไข้เปิดเผยพลังจิตใต้สำนึก ซึ่งเขาไม่เคยเล่า, ไม่เคยเปิดเผย, ไม่เคยแสดงออก หรือซึ่งเจ้าตัวเองก็อาจไม่ตระหนักรู้มาก่อน
อนึ่ง พลังจิตใต้สำนึกมีหลายระดับ บางอย่างอยู่ในระดับตื้น บางอย่างอยู่ในระดับลึก และยังแตกต่างกันในแง่พลังแรงเข้ม หรืออ่อน ของการขับดัน ด้วยจากข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้อธิบายหรือทำความเข้าใจได้ว่า คนแต่ละคนแตกต่างกัน ในรูปของ พลังจิตสำนึก และใต้สำนึก ฉะนั้น คนแต่ละคนจึงมีบุคลิกภาพไม่เหมือนกัน
รูปที่ ๓ พลังจิตสำนึกและใต้สำนึก กระตุ้นให้มนุษย์ประกอบพฤติกรรมต่าง ๆ นานา พฤติกรรมบางประเภทถูกกระตุ้นโดยจิตสำนึกอย่างเดียว (เครื่องหมาย ๑) และจิตใต้สำนึกปะปนกัน (เครื่องหมาย ๒) เช่น บางคราวเผลอพูด คิด ทำ แล้วมีสติระลึกได้ทันทีว่าควรหรือไม่ควร จึงเปลี่ยนคำพูด วิธีคิด การกระทำพฤติกรรมบางประเภทถูกกระตุ้นโดยจิตใต้สำนึกอย่างเดียว (เครื่องหมาย ๓) เช่น ความฝัน การพลั้งปาก การทำอะไรอย่างเผลอไผล ไม่รู้ตัว
โครงสร้างบุคลิกภาพ
ฟรอยด์อธิบายว่า โครงสร้างบุคลิกภาพ ประกอบด้วยพลัง ๓ ประการ ได้แก่ Id, Ego และ Super Ego (ยังไม่พบศัพท์ภาษาไทย ที่แปลตรงความหมายอย่างแม่นยำ จึงขอให้ทับศัพท์ด้วยภาษาอังกฤษไปพลางก่อน – ผู้เขียน ) พลังทั้ง ๓ มีลักษณะเฉพาะตัว แต่ก็มีอิทธิพลต่อกันและทำงานร่วมกัน บุคลิกภาพของผู้ใดมีลักษณะใดขึ้นอยู่กับพลัง Id, Ego และ Super Ego ทำงานประสานร่วมกันในลักษณะอย่างไร
(๑) Id เป็นพลังงานติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด จึงหมายรวมทั้งสัญชาตญาณด้วย มักเกี่ยวพันกับการสนองความปรารถนาทางกาย เป็นพลังเพื่อให้ได้มาซึ่งความพอใจโดยไม่คิดคำนึงถึงเหตุผลตามความเป็นจริง หรือความถูกต้องดีงามแล้วพลัง Id จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พลังแสวงหาความสุข (Pleasure Seeking Principle) พฤติกรรมที่เกิดจากการกระตุ้นของพลัง Id มีหลายรูปแบบซึ่งไม่พึงประสงค์จะพรรณนา ณ ที่นี้ ในช่วงวัยเด็กพลัง Id มีหลายรูปแบบ ซึ่งไม่พึงประสงค์จะพรรณนา ณที่นี้ ในช่วงวันเด็กพลัง Ego และ Super Ego หากเก็บถูกกักกันมากเกินไปไม่ให้ได้รับความพึงพอใจ ตอบสนอง Id ดังนี้จะเป็นผลร้ายต่อพัฒนาการบุคลิกภาพที่สมดุล ในภายหน้า เช่น เป็นคนอ่อนไหวง่ายต่อคำสรรเสริญ นินทา เป็นต้น
(๒) Ego เป็นพลังแหงการรู้และเข้าใจ, การรับรู้ข้อเท็จจริง, การใช้เหตุผล, การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมาย, การแสวงหาวิธีการเพื่อตอบสนองพลัง Id เช่น เมื่อหิว (Id)พลัง Ego ก็จะใช้เหตุผลตรึกตรองว่าจะบำบัดความหิวโดยวิธีใด ตามสถานภาพแวดล้อม เช่น ไปสำรวจตู้เย็น ทำอาหารเอง? ไปรับประทานอาหารนอกบ้าน?ฯลฯ จึงมีชื่อเรียก Ego อีกอย่างพลัง 'รู้ความจริง' (Reality principle)
(๓) Super Ego เป็นพลังที่เกิดจากการเรียนรู้ เช่นเดียวกับ Ego แต่แตกต่างจาก Ego โดยลักษณะคือเป็นส่วนหนึ่งเกี่ยวกับค่านิยมต่าง ๆ เช่น ความดี ชั่วถูก ผิดมโนธรรม ความยุติธรรม ฯลฯ Super Ego หักห้ามความรุนแรงของพลัง Id โดยเฉพาะพลังจากสัญชาตญาณแรงขับทางเพศและความก้าวร้าว
(๔) การทำงานร่วมกันของพลังทั้ง ๓ : ลักษณะบุคลิกภาพของคนเกิดจาก การทำงานร่วมกันของพลังทั้ง ๓ นี้ พลังใดมีอิทธิพล เหนือพลังอื่น ย่อมเป็นตัวชี้ลักษณะบุคลิกภาพของคนนั้น เช่น ถ้าพลัง Id มีอำนาจสูง บุคลิกของคนผู้นั้นก็เป็นแบบเด็กไม่รู้จักโต, เอาแต่ใจตนเอง ถ้า Ego มีอำนาจสูง คนนั้นจะเป็นคนมีเหตุผล เป็นนักปฏิบัติ ถ้า Super Ego มีอำนาจสูง ก็เป็นนักอุดมคตินักทฤษฎี ดร. ประมวญ คิดคินสัน ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างน่าฟังว่า
"สำหรับบุคลิกภาพอันพึงประสงค์ คือ ความมี Ego เข้มแข็ง สามารถจัดการกับ Id ได้อย่างมีสมรรถภาพ โดยอาศัยหลักแห่งความจริงเป็นที่ตั้ง และสามารถโน้มน้อม Super Ego ให้เข้าสู่หลักแห่งความจริง เพื่อให้เกิดการประสมประสานอย่างสนิทสนมในการดำเนินชีวิต" (๒๕๑๙, หน้า ๒๗๔)
รูปภาพที่ ๔ แสดงการปะทะสังสรรค์ของพลัง id, ego, super-ego ซึ่งเป็นโครงสร้างบุคลิกภาพ บุคลิกภาพสับสนตั้งแต่เบาจนถึงรุนแรงเกิดจากพลัง egoสามารถควบคุมพลัง id และ super-ego ได้ดีเพียงใด
ขั้นตอนการพัฒนาบุคลิกภาพ
Hall และ Lindzey (๑๙๗๘) กล่าวว่า บางทีฟรอยด์อาจเป็นนักทฤษฎีบุคลิกภาพคนแรก ที่อธิบายเรื่องขั้นต้อน การพัฒนาบุคลิกภาพ ของมนุษย์ เขาย้ำนักหนาว่าลักษณะพัฒนาการและประสบการณ์ในวัยทารก และวัยเด็กเป็นรากฐานบุคลิกภาพของมนุษย์เมื่อเป็นผู้ใหญ่ การพัฒนาการในวัยผู้ใหญ่เป็นการเสริมต่อจากรากฐานนั้นความจริงฟรอยด์มี ประสบการณ์เรื่องเด็กไม่มาก เขาศึกษาพัฒนาการวัยเด็กจากการสอบสวนสาเหตุที่ผู้ใหญ่ประสบปัญหาทางอารมณ์ และจิตใจเป็นเวลานาน โดยสืบสาวหา
ต้นเงื่อนของปัญหาต่าง ๆ นั้นที่เกิดขึ้นตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ฟรอยด์เชื่อว่า ความต้องการทางร่างกายเป็นความต้องการตามธรรมชาติของคน ซึ่งทัดเทียมกับสัตว์ประเภทอื่น ๆ ความต้องการนี้เป็นพลังชีวิต ทำให้คนแสวงหาความสุขความพอใจจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย (Zone) ที่แตกต่างไปตามวัย พัฒนาไปเป็นขั้นตอนตามลำดับ เริ่มต้นจากแรกเกิดจนสิ้นสุดในวัยรุ่น พัฒนาการนี้เรียกว่า "Psychosexual developmental stage" บุคคลใดพัฒนาไปตามขั้นตอนดังกล่าวด้วยดี ก็จะทำให้บุคคลผู้นั้นมีพัฒนาการทางบุคลิกภาพที่สมบูรณ์ หากไม่เป็นไปดังกล่าวก็จะเกิดสภาวะ "ติดข้ออยู่" (fixation)อาจเป็นการติดต่อข้องอยู่ในขั้นใดขั้นหนึ่งหรือหลายขั้นก็ได้ ผู้ใดติดข้องอยู่ในวัยใดขั้นใด ก้ยังคงแสวงหาความพอใจในขั้นที่ติดข้องอยู่ต่อไปแม่ว่าจะผ่านวัยนั้น ๆ ที่เป็นไป ตามขั้นตอนมาแล้ว สภาพ "ติดข้องอยู่" มีผลต่อพัฒนาการด้านบุคลิกภาพในแง่ลบ แต่บุคคลสามารถเปลี่ยนพลังนี้ให้เป็นบวกได้ หากเขารู้จักปรับตัว
ฟรอยด์ได้อภิปรายถึงขั้นตอนทั้ง ๕ ดังต่อไปนี้
(๑) ขั้นแสวงหาความสุขจากอวัยวะปาก (Oral stage) ช่วงนี้โดยประมาณตั้งแต่คลอดจนถึง ๑๘ เดือน ทารกมีความสุขในชีวิตโดย ทำกิจกรรมต่าง ด้วยปาก เช่นการดูด เคี้ยว กัด เล่นด้วยเสียง ผู้ที่มีพัฒนาการขั้นนี้ไม่สมบูรณ์ในช่วงวัยนี้ เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ก็ยังชอบ แสวงหาความสุขด้วยปากอยู่อีก เช่น ชอบกินจุบจิบ ชอบพูดคุย ชอบ เคี้ยวหมากฝรั่ง ชอบนินทา ชอบสูบบุหรี่ ฯลฯ
(๒) ขั้นแสวงหาความสุขจากอวัยวะทวารหนัก (Anal stage) ช่วงนี้อายุโดยประมาณตั้งแต่ ๑๘ เดือนถึง ๓ ปี เป็นช่วงที่ทารก หาความสุข โดยทำกิจกรรมที่ใช้ทวารหนัก หากช่วงเวลสนี้มีพัฒนาการไม่สมบูรณ์ทารกนั้น จะโตเป็นผู้ใหญ่ ที่มีบุคลิกภาพเป็น คนเจ้าระเบียบ จู้จี้พิถีพิถัน รักความสะอาดอย่างมาก
(๓) ขั้นแสวงหาความสุขจากอวัยวะเพศปฐมภูมิ (Phallic stage) ช่วงนี้อายุโดยประมาณตั้งแต่ ๓ ถึง ๖ ปี เด็กมีความพึงพอใจ ทำกิจกรรมที่เนื่องด้วยอวัยวะเพศ เช่น เล่นกับอวัยวะเพศของตน กิจกรรมนี้อาจทำให้พ่อแม่ตกใจ ควรทำความเข้าใจเสียว่า เป็นการเล่นขั้นหนึ่งในการพัฒนาการตามธรรมชาติ เมื่ออายุผ่านพ้นไปแล้วเด็กเลียน แบบผู้ใหญ่เพศเดียว กับตน ซึ่งตนรู้สึกรัก ใกล้ชิดสนิทสนม ถ้าตัวแบบนั้นเป็นพ่อแม่ของตน จะเป็นยุคเด็กชาย "ติดแม่" และ "เอาอย่างพ่อ" เป็นพิเศษในเพศกลับกัน เด็กหญิง "ติดพ่อ" และ "เอาอย่างแม่" เป็นพิเศษเช่นเดียวกัน ช่วงนี้ฟรอยด์เชื่อว่าเป็นช่วงเวลาวิกฤต (Critical period) สำหรับเลียนบทบาททางเพศให้คล้อยตามเพศของตนเอง เด็กหญิงเด็กชายที่ละเลย การเลียนแบบให้ถูกแนวในระยะเวลานี้ จะโตเป็นหญิงสาวชายหนุ่มที่นิยม แบบบทบาททางเพศตรงข้ามกับ เพศทางกายจริงของตน ฟรอยด์ยังเชื่อว่า การรู้จักผูกรักกับเพศตรงข้ามมีต้นกำเนิด ในช่วงเวลานี้เช่นกัน และเขายังอธิบายปมเอดิปัสไว้อย่างละเอียดว่าพัฒนาขึ้นในระยะเวลานี้ ซึ่งฟรอยด์ได้อธิบายเกี่ยวกับปม (Complex) นี้อย่างละเอียดแต่กล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้อย่างสังเขปมาก พร้อม ๆ กับการเลียนบทบาททางเพศ เด็กเริ่มพัฒนาความก้าวร้าว, อยากเป็นตัวของตัวเอง และเริ่มแสวงหาอัตลักษณ์แห่งตน (Self Identity)
(๔) ขั้นแสวงหาความสุขจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว (Latency stage) ช่วงนี้อยู่ระหว่างอายุประมาณ ๖ ถึง ๑๑ ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาพัก พัฒนาทักษะใหม่ (ศัพท์วิชาจิตวิทยาพัฒนาการเรียกว่า ระยะ plateau) พัฒนาการส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเป็นไปอย่างเชื่องช้า เมื่อเทียบกับช่วงเวลาที่ผ่านมา ระยะเวลานี้เด็กเริ่มพัฒนาชีวิตสังคมนอกครอบครัว ดังนั้นจึงแสวงหาความพึงพอใจ จากการติดต่อ กับผู้คนรอบตัวและเพื่อนร่วมวัย เพื่อนสนิทเป็นคนเพศเดียวกันมากกว่าคนต่างเพศ ทั้งนี้เป็นการสืบเนื่องจาก การเลียนและ เรียนบทบาททางเพศต่อออกไปจาขั้นที่ ๓ ข้างต้นดังนี้
(๕) ขั้นแสวงหาความสุขจากแรงกระตุ้นของทุติยภูมิทางเพศ (Genital stage) เด็กอายุประมาณ ๑๒ ถึง ๒๐ ปีย่างเข้าสู่วัยรุ่น และเริ่มเป็นผู้ใหญ่ ลักษณะทุติยภูมิ ทางเพศบรรลุวุฒิภาวะสมบูรณ์ทำงานได้เต็มที่ (เช่น เด็กหญิงมีระดูหน้าอกขยาย รังไข่ผลิตไข่ เพื่อสืบพันธุ์ เด็กชายถึงวัยผลิตน้ำอสุจิ ฯลฯ ) เด็กทั้งสองเพศมีความพอใจ คบหาสมาคม รักใครผูกพันกับเพื่อนต่างเพศ ขณะเดียวกันก็พยายามประพฤติตนให้สมบทบาททางเพศ โดยเลียนแบบคนเพศเดียวกันที่ตัวนิยม ระยะนี้มักเห้นแจ่มแจ้งว่า เด็กคนใดแสดงบทบาททางเพศผิดปกติ พวกนี้ได้แก่ผู้นิยมแสดงบทบาททางเพศตรงข้างเพศจริงของตน อีกพวกหนึ่งคือ เด็กที่ไม่มีเยื่อใย ต้องใจบุคคลต่างเพศ หรือเป็นเด็ก เลียนแบบบทบาททางเพศจากคนต้นแบบที่ผิด (เด็กที่แสดงบทบาททางเพศผิด ๆ ที่เรียกว่า ทอม ดี้ ตุ๊ด นั้นมีสาเหตุอย่างไรเป็นเรื่องยืดยาวเกินที่จะบรรยายได้ในที่นี้)
ผู้มีอายุตอนปลายในขั้นตอนนี้ ถ้าไม่ติดพันกับการศึกษา หรือการเริ่มอาชีพแล้ว มักแสวงหาคู่ครองแต่งงาน และครอบครัว
ฟรอยด์ย้ำว่า เมื่อเด็กพัฒนาถึงขึ้นนี้แล้วมิได้หมายความว่า เลิกแสวงหาความสุขจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ทางปาก ทางทวารหนัก ที่ผ่านมาแล้วในวัยต้น ยังอาจแสวงหาความสุขแบบนั้นต่อไป แต่ลดความติดใจและความเข้มข้นลง ผู้ที่พัฒนาตามขึ้นไม่สมบูรณ์ก็เกิดภาวะติดข้องอยู่ ซึ่งอาจเปลี่ยนเป็นพฤติกรรมแอบแฝงรูปแบบ ต่าง ๆ หรือเปลี่ยนเป็นรูปแบบอย่างอื่น ทางอ้อมแต่แรงจูงใจที่เป็นพื้นฐานคือภาวะติดข้องอยู่
กล่าวโดยสรุป บุคลิกภาพที่ดี คือการประสมประสาน การได้รับความพอใจตอบสนองแรงกระตุ้นจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเหล่านั้น ในอัตราส่วนที่เหมาะเจาะพอควรสมตามวัย แนวคิดเรื่อง Psychosexual developmental stage สัญชาติญาณ
ฟรอยด์กล่าวว่า สัญชาตญาณเป็นเรื่องที่อธิบายยากมาก เพราะตนเองก็ยังไม่เข้าใจสัญชาตญาณทั้งหมด อย่างดรก้ดีเขาได้อธิบาย สัญชาตญาณ ๒ ประเภทไว้ คือ ฐิติสัญชาตญาณ (Life Instinct) หรือมุ่งเป็น และภังคสัญชาตญาณ (Death Instinct) หรือมุ่งตาย (ศัพท์ 'ฐิติ' และ 'ภังคะ' เดิมเป็นศัพท์ในคัมภีร์พุทธสาสนา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน รับเข้าบรรจุไว้เป็นคำไทยแล้ว มีความหมายตรงตัว กับศัพท์อังกฤษในที่นี้จึงได้นำมาใช้) ๗๘๕๔
อานุภาพแห่งพลังจิตใต้สำนึก
รวบรวมจาก หนังสือ "พลังจิตใต้สำนึก"
โดย Dr Joseph Murphy
2. จรงสร้างภาพแห่งความสำเร็จ และตระหนักถึงจุดมุ่งหมายในชีวิต จากนั้นจิตใต้สำนึกก็จะสนองตอบ และผลักดันให้คุณบรรลถึง ซึ่งความสำเร็จ
3. แนวคิดต่างๆล้วนถูกลำเลียงสู่จิตใต้สำนึก ด้วยการกล่าวย้ำซ้ำทวน รวมทั้งการมีความเชื่อมั่น และคาดหวัง
4. กฎแห่งจิตใต้สำนึกไม่มีวันล้มเหลว และอะไรก็ตามที่ประทับลงไปในนั้น มันจะทำให้ปรากฎเป็นจริงขึ้นมา
5. คุณร่ำรวยเพราะสิ่งที่มีอยู่ภายใน... ทุกอย่างเป็นไปตามความเชื่อของคุณนั่นเอง
6. สูตรมหัศจรรย์แห่งความสำเร็จ คือการกล่าวย้ำซ้ำเตือนด้วยอารมณ์ความรู้สึกว่า..... "พระเจ้าทรงชี้แนะวิถีทางที่ดีกว่า เพื่อให้ฉันได้มีโอกาสรับใช้มนุษยชาติ
7. "ฉันเคารพ และอัญเชิญพระเจ้ามาประดิษฐานอยู่ที่ศูนย์กลางกาย ฉันดำรงรักษาไว้ซึ่งความมีสุขภาพดี ความเลื่อมใสศรัทธา และเคารพยำเกรงต่อสภาวะแห่งความประเสริฐสุดภายในกาย"
8. จงตัดสินใจควบคุมชีวิตของเราเอง และคิดอย่างสร้างสรรค์ตามแนวทางของพระเจ้า เพื่อมิให้ต้องพบกับการแกว่งไกวของโชคเคราะห์
9. จงเดินทางเข้าไปในจิตวิญญาณ แล้วคุณจะค้นพบความร่ำรวยแห่งสวรรค์ แฝงฝังอยู่ในส่วนลึก
10. จงปรับคลื่นเข้าสู่พลังอันไร้ของเขต พร้อมกับล่วงรู้และรู้สึกว่าพลังไร้ขอบเขตเบื้องบนได้กำหนด ควบคุมและชี้นำชีวิต แล้วคุณจะถูกนำไปสู่ชีวิตที่สร้างสรรค์และสมดุล เป็นอิสระหลุดพ้นจากการแกว่งไกวอย่างรุนแรงของโชคชะตา
11. เราสามารถหนุนเนื่องตัวเองให้อยู่เหนือภาวะจำยอม และพันธนาการทั้งหลาย ของมวลแห่งจิตใจ ด้วยการอัญเชิญพระเจ้าเข้ามาอยู่ในจิตใจ และตระหนักว่า ความรักของพระองค์ อาบไร้จิตวิญญาณ ส่วนปัญญานั้นชโลมความคิดของคุณ
12. ความร่ำรวยเริ่มต้นที่ตัวคุณ ความคิดและความรู้สึกเป็นผู้สร้างโชคชะตา พลังอำนาจ คุณสมบัติ และศักยภาพต่างๆ แห่งพระเจ้า ถูกปิดกั้นอยู่ภายในจิตใต้สำนึก และคุณมีกุญแจที่เปิดเข้าสู่ขุมทรัพย์ภายใน นั่นก็คือ "ความคิดของคุณเอง"
13. มีพลังซ่อนเร้นอยู่ในตัวเราซึ่งสามารถหนุนเนื่องให้หลุดพ้นจากความเจ็บไข้ ได้ป่วย จัดวางคุณไว้บนเส้นทางสู่ความสุขสงบและพรอันประเสริฐทั้งมวลแห่งชีวิต
14. มิใช่พายุ แต่เป็นใบเรือที่กำหนดทิศทางเรือฉันใด ความคิด ความรู้สึก และภาพจินตนาการของคุณ ที่กำหนดอนาคต และนำความร่ำรวยมาสู่ชีวิต
15. ความเชื่อมั่นศรัทธาคือการคาดหมาย อย่างมั่นใจว่า ภาพจินตนาการที่คุณสร้างขึ้นในใจจะกลายเป็นจริง
16. จงเติมจิตสำนึกด้วยสัจธรรมแห่งพระเจ้า แล้วคุณจะลบล้างและถอนรากถอนโคนรูปแบบในทางทำลายออกไป จากจิตใต้สำนึก ได้อย่างหมดสิ้น
17. การปรากฎของพระเจ้านั้น มาในรูปแบบของระเบียบวินัย ความสอดคล้องกลมกลืน สุขสงบ ความรัก การมีสุขภาพแข็งแรง และความเพียบพร้อม
18. จิตของพวกเราเป็นหนึ่งเดียว จิตไม่อยู่ในเงื่อนไขของเวลาและระยะทาง
19. เราสามารถพัฒนาประสาทสัมผัสพิเศษ โดยการถ่ายทอดแนวความคิดนี้ลงสู่จิตใต้สำนึก อันเป็นรากฐานที่ตั้งของประสาทสัมผัสพิเศษ ทั้งหลายทั้งปวง
20. หน้าที่หลักของมนุษย์ คือการเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า
21. จงทำตัวให้ใกล้ชิดพระเจ้า แล้วพระองค์จะใกล้ชิดท่าน
22. ทุกๆสิ่งเกิดขึ้นเป็นคู่เสมอ เช่นกลางวัน-กลางคืน รุ่งเรือง-เสื่อมถอย, เหนือ-ใต้, ชาย-หญิง, สร้างสรรค์-ทำลาย, ใน-นอก, หวาน-ขม, หยุดนิ่ง-เคลื่อนไหว, ดีใจ-เสียใจ
23. ความคิดของคุณ เกิดขึ้นเป็นคู่เสมอ ความคิดที่มาจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ต้องมลายไป และความคิดที่มีอยู่ในพระเจ้า จะต้องถูกฟื้นฟูและดำรงอยู่ในตัวคุณ
24. จงแนบชิดสนิทกับพระเจ้า แล้วคุณจะมีจิตใจที่เยือกเย็นบรรลุถึงความมุ่งมาดปรารถนาทั้งมวล
25. ความสงบเย็นและความสันติสุขของพระเจ้า รอคอยอยู่หน้าประตูแห่งจิตวิญญาณของคุณตลอดเวลา
26. คุณเกิดมาในโลกนี้เพื่อแสดงตัวเองออกมาอย่างเต็มที่ในสิ่งที่อยากทำ
27. คุณเป็นแม่พิมพ์ ผู้กำหนดรูปแบบและสร้างโชคชะตาตนเองด้วยวิถีแห่งความคิด
28. จิตใต้สำนึกของคุณ ตอบสนองต่อธรรมชาติแห่งความคิดและจินตนาการของจิตสำนึก
29. จงเรียกร้องต่อความเฉลียวฉลาดไร้ขอบเขตภายใน ให้แสดงแนวคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่อย่างชัดเจน.......จงเชื่อมั่น เพราะสิ่งต่างๆล้วนเป็นไปตามความเชื่อของคุณ
30. เจตนารมณ์ของพระเจ้า ก็คือให้คุณมีชีวิตที่มั่งคั่งสมบูรณ์ในโลกนี้
31. จิตแห่งสากลจักรวาล มีช่องทางนับพันๆล้านในการอำนวยพรอันประเสริฐ และคุณคือช่องทางของพระเจ้า จงยอมรับความดีงาม ของคุณเสียแต่บัดนี้
32. ถ้าใครบางคนชี้แนะว่า คุณเกิดมาเพื่อความสำเร็จหรือมีชัยชนะเหนือปัญหาชีวิตทั้งหลาย และคุณยอมรับสิ่งนี้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยปราศจากความเคลือบแคลงแม้แต่น้อย ความมหัศจรรย์ ก็จะปรากฎขึ้นในชีวิตคุณ
33. จงมองให้เหนือกว่าภาพที่ปรากฏ และมุ่งมั่นอยู่กับความปรารถนาให้สิ่งที่มุ่งหมายกลายเป็นจริง แล้วคุณจะทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้
34. จงเชื่อมั่นในความดีงามแห่งพระเจ้า เชื่อในแรงบันดาลใจ เชื่อในชีวิตที่มั่งคั่งยิ่งๆขึ้นไป
35. คุณคือท่อธารแห่งพระเจ้า ดังนั้นความร่ำรวยจะหลั่งไหลผ่านตัวคุณโดยไม่จำกัด
36. จงเชื่อมั่นว่า คุณคือบุตรแห่งพระเจ้า และเชื่อว่าคุณได้รับถ่ายทอดคุณสมบัติและพลังอันไร้ขอบเขตแห่งพระเจ้า หากยึดมั่นความเชื่อนี้ไว้อย่างเหนี่ยวแน่น ก็จะสามารถสร้างความมหัศจรรย์ให้กับชีวิต จงเชื่อมั่นว่าคุณสามารถทำสิ่งต่างๆให้สำเร็จลงได้ด้วย พลังอำนาจ อันเข้มแข็งแห่งพระเจ้าที่ส่งผ่านตัวคุณ
37. ถ้าคุณกล่าวกับภูเขาแห่งความยากลำบาก อุปสรรค ปัญหา ให้เคลื่อนย้ายด้วยความเชื่อมั่นว่าพลังอันไร้ของเขตสามารถดลบันดาล มันก็จะกลายเป็นจริง
38. ทั้งหมดล้วนเป็นไปตามความเชื่อของคุณ จงเชื่อมั่นว่า พลังอันไร้ของเขตของพระเจ้า.......สรรพสิ่งล้วนเป็นไปได้ทั้งสิ้น
39. ศรัทธาที่แน่นเหนียว การคาดหมายที่ยิ่งใหญ่ ไฟแห่งจินตนาการ
40. ศรัทธาบำบัด เกิดด้วยแรงศรัทธาเชื่อมั่น จิตวิญญาณบำบัด คือปฏิกิริยาที่สอดคล้องของจิตสำนึก และจิตใต้สำนึก เป็นการชี้นำอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ มันมิใช่สิ่งที่เราเชื่อมั่น แต่เป็นตัวความเชื่อมั่นเอง ที่ก่อเกิดพลังบำบัดอันน่าทึ่งขึ้นมา
41. จงแปลเปลี่ยนความคิด แล้วโชคชะตาของคุณจะเปลี่ยนไป
42. จงรู้สึกอยู่ตลอดเวลาว่าความรักของพระเจ้าห้อมล้อมคุณ
43. วิธีการซึมซับจิตใต้สำนึกของคุณไว้ด้วยความร่ำรวยอันมั่นคง ก็คือสงบจิต ระงับใจให้หลับไปทุกๆคือนพร้อมกับถ้อยคำที่ว่า "บัดนี้ความร่ำรวยเป็นของฉัน" แล้วความมหัศจรรย์จะเกิดขึ้นในชีวิต
44. ความศรัทธาในจิตใต้สำนึก ก็คือความร่ำรวยของคุณนั่นเอง
45. มีจิตดวงหนึ่ง เป็นจิตที่เป็นสากล ทุกสิ่งที่ดีงามมาจาก หรือถูกฝากไว้ที่จิตดวงนี้ คุณจะใช้ประโยชน์จากสิ่งที่อยู่ในจิตสากล โดยการปรับคลื่นเข้าไปหาเท่านั้น
46. "หากสูเจ้าต้องการความมั่งคั่ง สูเจ้าต้องไม่ครอบครอง"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น