คีมมีอยู่หลายชนิด คีมที่ใช้กับขวดปริมาตรเรียกว่า flask tong คีมที่ใช้กับบีกเกอร์ เรียกว่า beaker tong และคีมที่ใช้กับเบ้าเคลือบเรียกว่า crucible tong ซึ่งทำด้วยนิเกิ้ล หรือโลหะเจือเหล็กที่ไม่เป็นสนิม แต่อย่านำ crucible tong ไปใช้จับบีกเกอร์หรือ ขวดปริมาตรเพราะจะทำให้ลื่นตกแตกได้ |
ตะแกงลวด (Wire gauze) TOP |
ตะแกรงลวดมีทั้งที่ทำจากลวดเหล็กและที่ทำด้วยลวด nichrome หรือ chromel ซึ่งไม่เกิดสนิมและใช้ได้ระยะเวลานานกว่า ตะแกรงลวดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส และมีใยหิน (asbestos) คลุมเป็นวงกลมที่ตากึ่งกลางตะแกรง ตะแกรงลวดใช้ สำหรับตั้งบีกเกอร์ ขวดปริมาตร และอื่นๆ ที่นำมาต้มสารละลายด้วยเปลวไฟ |
Clamp and ckamp holder TOP |
Clamp ทำด้วยเหล็กและมีไม้คอร์กหุ้มด้านในที่แตะกับแก้ว มักจะใช้ร่วมกับ Stand โดยมี Clamp holder เป็นตัวเชื่อม Clamp ใช้สำหรับจับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ขวดปริมาตร Clamp ที่ใช้จับบิวเรทเรียกว่า Buret Clamp |
แปรง(Brush) TOP |
แปรงใช้สำหรับทำความสะอาดอุปกรณ์ชนิดต่างๆ แปรงล้างเครื่องแก้วมีหลายขนาดและมีหลายชนิด ควรจะเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะของเครื่องแก้วนั้นๆ เช่น Test Tube Brush ใช้สำหรับทำความ สะอาดหลอดทดสอบ Flask Brush ใช้สำหรับทำความสะอาดขวดปริมาตร และ Buret Brush ที่มีลักษณะ เป็นแปรงก้านยาวใช้สำหรับทำความสะอาดบิวเรท การใช้แปรงล้างเครื่องแก้วต้องระมัดระวังให้มาก อย่าถูแรงเกินไป เนื่องจากก้านแปรงเป็นโลหะเมื่อไปกระทบกับแก้วอาจทำให้แตกและเกิดอันตรายได้ |
Test tub rack TOP |
Test Tube Rack ใช้สำหรับตั้งหลอดทดสอบ มีทั้งทำด้วยไม้และโลหะ |
Funnal Suport TOP |
Funnel Support ใช้สำหรับตั้งกรวยกรองเมื่อทำการกรองสารละลาย |
Stran and ring TOP |
Stand เป็นอุปกรณ์สำหรับติดตั้ง Clamp โดยมี Clamp Holder เป็นตัวเชื่อมและติดตั้ง Buret Clamp ส่วน Iron Ring ซึ่งติดกับ stand ใช้สำหรับวางหรือตั้งขวดปริมาตรโดยมีตะแกรงลวดรองรับ |
สามขา(Tripod) TOP |
สามขาทำด้วยเหล็ก และความสูงของสามขาที่ใช้ขึ้นอยู่กับความสูงของตะเกียงบุนเซ็น สามขาใช้สำหรับตั้งบีกเกอร์ หรือขวดปริมาตรเมื่อต้มสารละลายที่บรรจุอยู่โดยมีตะแกรง รองรับ หรือตั้งเบ้าเคลือบเมื่อเผาด้วยเปลวไฟโดยวางบน Triangle |
ตะเกียงบุนเซน (Bunsen Burner) TOP |
ตะเกียงบุนเซนเป็นตะเกียงก๊าซที่ใช้ในห้องปฏิบัติการทั่วไปเมื่อต้องการอุณหภูมิที่สูง
พอประมาณ ตะเกียงบุนเซนสามารถปรับปริมาณของอากาศได้แต่ไม่มีที่ปรับปริมาณ
ของก๊าซเชื้อเพลิงตะเกียงบุนเซนมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้ 1. ฐานของตะเกียง 2. ท่อตัวตะเกียง 3. ช่องทางเข้าของก๊าซซึ่งเป็นท่อที่ยื่นจากฐานของตะเกียง 4. ช่องปรับปริมาณของอากาศที่โดนท่อตัวตะเกียง ข้อปฏิบัติในการใช้ตะเกียงบุนเซนมีดังต่อไปนี้ ่สีเหลือง (luminous flame) หลังจากนั้นค่อยๆ เปิดช่องทางเข้าของอากาศที่ฐานของตะเกียงแล้วปรับให้ได้เปลวไฟไม่มี สี (non-luminous flame) ซึ่งเป็นเปลวไฟที่ให้ความร้อนสูงที่สุด หมายเหตุ ถ้าเปลวไฟดับหรือมีเหตุการณ์อย่างอื่นเกิดขึ้น ต้องปิดก๊อกก๊าซเชื้อเพลิงทันทีแล้วเริ่มจุดตะเกียงตามขั้นตอน 1 , 2 และ 3 การใช้ตะเกียงบุนเซนไม่ว่ากรณีใดๆ ต้องใช้เปลวไฟที่ไม่มีสีเสมอ ยกเว้นการทดลองที่ระบุให้ใช้เปลวไฟสีเหลืองเท่านั้น ข้อควรระวัง เปลวไฟที่ได้จะเต้นและดับ หรือเปลวไฟที่ได้จะไม่สม่ำเสมอหรือมีช่องว่างระหว่างเปลวไฟกับหัวตะเกียง |
เครื่องชังแบบ Triple-Beam Balance TOP |
เป็นเครื่องชั่งชนิด Mechanical balance อีกชนิดหนึ่งที่มีราคาถูกและใช้ง่าย
แต่มีความไวน้อย เครื่องชั่งชนิดนี้มีแขนข้างขวาอยู่ 3 แขนและในแต่ละแขน
จะมีขีดบอกน้ำหนักไว้เช่น 0-1.0 กรัม 0-10 กรัม 0-100 กรัม และยังมีตุ้ม
น้ำหนักสำหรับเลื่อนไปมาได้อีกด้วย แขนทั้ง 3 นี้ติดกับเข็มชี้อันเดียวกัน วิธีการใช้เครื่องชั่งแบบ (Triple- beam balance) 1. ตั้งเครื่องชั่งให้อยู่ในแนวระนาบ แล้ว ปรับให้แขนของเครื่องชั่งอยู่ในแนว ระนาบโดยหมุนสกรูให้เข็มชี้ตรงขีด 0 2. วางขวดบรรจุสารบนจานเครื่องชั่ง แล้วเลื่อนตุ้มน้ำหนักบนแขนทั้งสามเพื่อ ปรับให้เข็มชี้ตรงขีด 0 อ่านน้ำหนักบน แขนเครื่องชั่งจะเป็นน้ำหนักของขวด บรรจุสาร 3. ถ้าต้องการชั่งสารตามน้ำหนักที่ต้อง การก็บวกน้ำหนักของสารกับน้ำหนักของ ขวดบรรจุสารที่ได้ในข้อ 2 แล้วเลื่อนตุ้ม น้ำหนักบนแขนทั้ง 3 ให้ตรงกับน้ำหนักที่ต้องการ สาร เคมีหกบนจานหรือรอบๆ เครื่องชั่ง หมายเหตุุ การหาน้ำหนักของสารอาจหาน้ำหนักทั้งขวดบรรจุสารและสารรวมกันก่อน ก็ได้ แล้วชั่งขวดบรรจุสารอย่างเดียว ทีหลัง ต่อจากนั้นก็เอาน้ำหนักทั้ง 2 ครั้งลบกัน ผลที่ได้ จะเป็นน้ำหนักของสารที่ต้องการ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น