1.การเตรียมผู้ป่วยและภาชนะเก็บตัวอย่าง
1.ให้กรอกข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยลงในใบนำส่งทางห้องปฏิบัติการให้ครบถ้วนและชัดเจน
ได้แก่
·
ชื่อ นามสกุล หอผู้ป่วย อายุ
HN.
Diagnostic วันเวลาที่เก็บ ชนิดของสิ่งส่งตรวจ
·
แพทย์ผู้สั่งให้ตรวจ
และรายการที่ต้องการให้ทำการทดสอบ โดยทำเครื่องหมายถูก ( / )
ที่หน้าการทดสอบที่ต้องการส่งตรวจ ในกรณีผู้ป่วยนอก
ให้ระบุสิทธิการรักษาด้วย
2. เขียนป้ายสำหรับติดข้างภาชนะเก็บสิ่งส่งตรวจ ประกอบด้วย ชื่อ
นามสกุลผู้ป่วย
HN.
หอผู้ป่วย และการทดสอบที่ต้องการ
ให้ชัดเจนและอ่านง่ายโดยมี ในกรณีส่งงานธนาคารเลือดให้ระบุวันที่
และชื่อเจ้าหน้าที่ที่เจาะเก็บ
3. แนะนำให้ผู้ป่วยทราบถึงวิธีเก็บสิ่งส่งตรวจที่ถูกต้อง เช่น
การเก็บสิ่งส่งตรวจ / ตัวอย่าง
|
ข้อแนะนำ
|
เลือด
|
1.ควรงดอาหาร 6-8 ชั่วโมงสำหรับการตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด
2. ควรงดอาหาร 12 ชั่วโมงสำหรับการตรวจไขมันในเลือด
|
ปัสสาวะ
|
ก่อนการเก็บปัสสาวะ ให้ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศให้สะอาด
แนะนำให้ผู้ป่วย
ถ่ายปัสสาวะช่วงแรกทิ้งไปก่อนและเก็บปัสสาวะตอนกลางช่วง(
Mid stream urine ) และต้องไม่ปนเปื้อนอุจจาระ
|
อุจจาระ
|
ให้เก็บอุจจาระด้วยไม้เก็บอุจจาระ
ให้ได้อุจจาระปริมาณเท่ากับข้อนิ้วก้อย ควรเลือกส่วนที่มีมูก
เลือดปนหรือตัวพยาธิที่มองเห็น และไม่มีปัสสาวะปนเปื้อน
|
เสมหะ
|
แนะนำให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึกๆ
และขากเสมหะออกมาซึ่งจะได้ตัวอย่างจากปอดหรือหลอดลมส่วนลึกๆ
ควรเลือกเอาส่วนที่มีเลือดหรือหนองปนแนะนำให้เก็บตอนตื่นนอนเช้า
|
หมายเหตุ ควรแนะนำผู้ป่วยให้เก็บสิ่งส่งตรวจให้ได้ตามปริมาณที่แนะนำ |
ภาชนะ
|
ปริมาณ และแนวทางปฏิบัติ
|
กระป๋องสำหรับเก็บปัสสาวะ
|
20-30 ml.ปิดฝาให้สนิท
|
ขวดใส่อุจจาระ
|
ปริมาณเท่าข้อนิ้วก้อย และปิดฝาให้สนิท
|
Tube
ที่มี EDTA
|
2.5
ml mix
ให้เข้ากัน*
|
Tube
ที่มี NaF (
for Glucose)
|
2.5 ml mix
ให้เข้ากัน*
|
Tube
ที่มี 3.8% Citrate ( for PT,PTT )
|
2.5 ml mix
ให้เข้ากัน*
|
Tube sterile
สำหรับเจาะเก็บเลือด
Clotted
Blood
|
5 ml
ขึ้นไปปิดฝาให้สนิท
|
ขวด
Hemoculture
สำหรับเด็ก/ผู้ใหญ่
|
0.1-10
ml mix ให้เข้ากัน*
|
ขวด
Cary-blair
|
ไม้พันสำลี จิ้มสิ่งส่งตรวจ จุ่มใน
Agar
|
ขวด
Stuart media
|
|
ขวด
Sterile
สำหรับส่งเพาะเชื้อ
|
1.0 ml.
และปิดฝาให้สนิท
|
หมายเหตุ * การ Mix ให้ได้ผลดี โดยทำการปิดฝา Tube แล้วพลิกคว่ำ – หงายกลับไปมา 5-10 ครั้งทันที |
5. ข้อควรปฏิบัติและพึงระวังสำหรับการเจาะเก็บเลือดส่งตรวจ
5.1
ห้ามเจาะเลือดจากเส้นเลือดที่กำลังมีการให้สารน้ำหรือยา
5.2 ไม่ฉีดเลือดจาก
Syringe
ไปยังภาชนะจัดเก็บสิ่งส่งตรวจผ่านเข็ม (
ให้ปลดเข็มออกจาก
Syringe ก่อน )
เพราะจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตก ยกเว้นการเจาะเก็บ
Hemoculture
ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนการ เจาะเก็บ
Hemoculture
5.3 ห้ามถ่ายเทเลือดจากหลอดที่มีสารกันเลือดแข็งไปยังหลอด
Clotted blood
5.4 ห้ามนำเลือดเก็บในช่องแช่แข็งหรือช่องแช่เย็น
5.5 ขั้นตอนการเช็ดทำความสะอาดด้วย 70%
alcohol ควรรอให้
alcohol แห้งก่อนทำการเจาะเก็บ
5.6 กรณีที่ต้องเก็บเลือดใส่
Tube
ที่มีสารกันเลือดแข็งควร mix
ผสมเลือดและสารกันเลือดแข็งให้เข้ากันทันทีโดยพลิก-คว่ำหลอดกลับไปมา
5-10ครั้ง
5.7
ควรเจาะเลือดให้ได้ปริมาณเพียงพอตามที่กำหนด
5.8 การเจาะเก็บเลือดใส่หลอด
Capillary tube
สำหรับส่งตรวจ
MBB
ต้องเก็บให้ได้ปริมาณ 3 ใน 4 ส่วนของหลอดเป็นอย่างน้อย
และหุ้มปิดด้วยกระดาษทึบแสงสีน้ำตาลไม่ให้ถูกแสง
นำส่งห้องปฏิบัติการโดยเร็ว
5.9 การเจาะเลือดส่งตรวจหาเชื้อ
มาลาเรีย ควรเจาะเก็บขณะที่ผู้ป่วยมีอาการไข้-หนาวสั่น
|
|
|
ชนิดการเก็บตัวอย่าง
|
แนวทางปฏิบัติ
|
การเจาะเก็บเลือดจากปลายนิ้วหรือส้นเท้า
สำหรับการตรวจ
Hct, MBB, Glucose strip, Blood group, CBC (กรณีไม่สามารถเจาะจากเส้นเลือดดำได้)
|
1.บีบนวดหรือคลึงเบาๆบริเวณที่จะเจาะ
2.เช็ดทำความสะอาดด้วย 70%
alcohol ทิ้งให้แห้ง
3.ใช้ blood lancet
เจาะให้ลึกประมาณ 3
mm.
4.ใช้สำลีแห้งเช็ดเลือดหยดแรกทิ้งไป
5.บีบเบาๆให้เลือดไหลเข้า
Capillary tube red tab
ไม่ควรบีบเค้นอย่างแรงและไม่มีฟองอากาศ
6.ใช้ สำลีแห้ง sterile
ปิดแผลให้เลือดหยุดไหล
|
การเจาะเลือดจากเส้นเลือดดำ
สำหรับการตรวจทางโลหิตวิทยา เคมี ภูมิคุ้มกัน การเตรียมโลหิต
และการทดสอบอื่น
ในกรณี ส่งตรวจ
CD4, HIV Viral Load, HBV Viral Load, HCV Viral Load, HCV
genotype, เก็บตัวอย่างใส่ Volume EDTA
tube(ข้อ 6)
|
1. เตรียมภาชนะ (Tube)
ที่ปิดป้ายชื่อเรียบร้อย, Syringe และเข็ม,สายยางรัดแขน
2.
ใช้สายยางรัดตำแหน่งเหนือบริเวณที่จะเจาะประมาณ 5
นิ้วแล้วแนะนำให้ผู้ป่วยกำมือ
3. เช็ดทำความสะอาดตำแหน่งที่จะเจาะและบริเวณรอบ
ๆ ด้วย 70 % Alcohol ปล่อยไว้ให้แห้ง
4.
ทำการเจาะและดูดเอาเลือดให้ได้ปริมาณที่เพียงพอสำหรับการตรวจวิเคราะห์
5. ดึงปล่อยสายยางที่รัดแขนออกและใช้สำลีแห้ง
Sterile ปิดเบาๆ ตรงแผลแล้วดึงเข็มออก
6. ปลดเข็มออกจาก Syringe
ทิ้งในภาชนะที่ปลอดภัยแล้วถ่ายเทเลือดไปยังภาชนะหรือ Tube
ที่เตรียมไว้
7. ปิดฝาและผสมเลือดและสารกันเลือดแข็งให้เข้ากัน
8.
ส่งสิ่งตรวจไปยังห้องปฏิบัติการพร้อมใบนำส่งและสมุดรับ –
ส่งสิ่งส่งตรวจ
|
การเจาะเลือดส่งตรวจ
Blood gas
โดยวิธีเจาะเก็บด้วย
syringe
|
1.เคลือบ
syringe ด้วย heparin (โดยดูด
heparin เข้าไปใน syringe
แล้วฉีดออก )
2.เจาะเลือดจากเส้นเลือดแดงให้ได้ปริมาณ 1-2
ml.
3.ปิด syringe ให้มิดชิด
ไม่ให้มีอากาศผ่านเข้าออกได้ (ปิดปลายเข็มด้วยจุกยางและงอเข็ม)
4.นำ
syringe
ใส่ถุงพลาสติกและแช่เย็นในกระติกที่มีน้ำแข็งหรือมี Ice
pack
5.รีบนำส่งห้องปฏิบัติการทันที
|
การเจาะเลือดส่งตรวจ
Blood gas
โดยวิธีเจาะเก็บด้วย
capillary tube
|
1.ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นๆหรือหนาๆหุ้มบริเวณที่จะเจาะเลือด
3-5 นาที ก่อนเจาะเลือดเพื่อให้มี blood flow
ที่ดี หากต้องใช้การนวด ควรนวดเป็นจังหวะ เช่น
กดนิ้วหรือส้นเท้าที่จะเจาะ 1 วินาทีแล้วปล่อย 3 วินาทีสลับกัน
2.เอาผ้าที่หุ้มออก เจาะเลือดด้วย
Blood lancet ให้เกิด free flow
3.เช็ดเลือดหยดแรกออก นำ
heparinized capillary tube (เบิกได้ที่
OPD Lab) มา fill
เลือดเข้าประมาณ 85-90% ของความจุหลอด
capillary tube
4.ใส่แท่งแม่เหล็กสำหรับผสมเลือด
(mixing flea)เข้าไปในหลอด capillary
ที่บรรจุเลือดอยู่
5.ใช้จุกปิด
capillary tube ทั้ง 2
ด้าน เอาแม่เหล็กมารูดขึ้นลงข้าง capillary tube
เพื่อ mix เลือดและ
heparin ที่เคลือบอยู่ภายในให้รูดขึ้น-ลง 10 ครั้ง
6.นำ capillary tube
ใส่ถุงพลาสติกและแช่เย็นในกระติกที่มีน้ำแข็งหรือมี Ice
pack
7. รีบนำส่งห้องปฏิบัติการทันที
|
การเจาะเลือดส่งตรวจ
Blood Alcohol
|
1. กรอกข้อมูลผู้ป่วยในใบนำส่งและปิดป้ายชื่อ
– สกุล –HN ที่
Tube EDTA
2.
เจาะเลือดโดยปฏิบัติตามวิธีเจาะเก็บเลือดและใส่เลือดเข้าไปในหลอดที่เตรียมไว้
2.5 – 3 ml ปิดฝาให้สนิท
แล้วปิดทับด้วยพาราฟิล์ม
3. Mix โดยการคว่ำหลอดไป –
มา 5-10 ครั้ง
4.
นำสิ่งส่งตรวจนำส่งห้องปฏิบัติการโดยทันทีในวันและเวลาราชการ
ถ้าไม่สามารถส่งได้ทันทีให้เก็บแช่ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิ
2-8 C
|
2.2 ปัสสาวะ
ชนิดการเก็บตัวอย่าง
|
แนวทางปฏิบัติ
|
ปัสสาวะ(Random-Mid
stream Urine)
การเก็บปัสสาวะวิธีนี้ใช้สำหรับส่งตรวจ
U/A, UPT, Urine amylase, Urine electrolyte ,ตรวจหาสารเสพติดและสารพิษ |
1.เตรียมภาชนะสำหรับใส่ปัสสาวะที่ติดป้ายชื่อเรียบร้อยแล้ว 2.ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศให้สะอาด 3.ถ่ายปัสสาวะช่วงแรกทิ้งไปก่อนและเก็บปัสสาวะตอนกลางช่วง (Mid stream urine ) ให้ได้ปริมาณ 20-30 ml. แล้วถ่ายปัสสาวะช่วงท้ายทิ้งไป 4.ปิดฝาภาชนะให้สนิทนำส่งห้องปฏิบัติการพร้อมใบนำส่งและสมุดรับ-ส่งสิ่งส่งตรวจ |
ปัสสาวะแบบ 24 ชั่วโมง(Urine
24 Hours)
การเก็บปัสสาวะวิธีนี้เหมาะสำหรับการส่งตรวจ
Urine protein 24 hrs., Urine creatinine 24 hrs., Urine
electrolyte 24 hr. เป็นต้น
ในกรณี ส่งตรวจ
Urine VMA ติดต่อสอบถาม วิธีเก็บตัวอย่างที่
ห้องปฏิบัติการ(โทร 480)
|
1. เตรียมขวดสะอาดสำหรับเก็บและมีขีดบอกปริมาตร เช่น ขวดน้ำกลั่น
2. เขียนป้ายสำหรับติดขวดโดยระบุชื่อ-นามสกุล, HN.,วันและเวลาที่เริ่มเก็บ-เวลาที่ครบ
24 ชั่วโมง
3. ขั้นตอนการเก็บ
เริ่มจากให้ผู้ป่วยปัสสาวะทิ้งไปก่อนเวลาจะจัดเก็บ เช่น
จะเริ่มเก็บ 08.00 น. ให้ผู้ป่วยปัสสาวะทิ้งไปก่อนเวลา 08.00 น.
หลังจากนั้นให้เก็บปัสสาวะที่ผู้ป่วยขับถ่ายทุกครั้ง
เทใส่ขวดที่เตรียมไว้โดยระหว่างเก็บให้เก็บรักษาขวดในที่เย็น เช่น
ตู้เย็น กล่องโฟมใส่น้ำแข็งมีฝาปิด
4. เมื่อครบ24 ชั่วโมงให้บันทึกปริมาตรปัสสาวะทั้งหมดที่ได้
(หน่วยเป็น
ml.) เขย่าผสมให้เข้ากันแล้วแบ่งใส่
กระป๋องเก็บปัสสาวะ 5-10 ml.
ปิดฝาและเขียนชื่อ-นามสกุล, HN., Ward
ปริมาตรที่ได้ติดข้างภาชนะ
5.เขียนใบนำส่ง
ส่งห้องปฏิบัติการโดยระบุข้อมูลให้ครบถ้วนตามแบบฟอร์มใบนำส่งระบุปริมาตรปัสสาวะทั้งหมดที่ได้
|
การเก็บปัสสาวะสำหรับเพาะเชื้อ
(Urine culture)
|
ดูในหัวข้อการเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย
|
ชนิดการเก็บตัวอย่าง
|
แนวทางปฏิบัติ
|
Stool
การเก็บวิธีนี้สำหรับการตรวจ
Stool exam, stool occult blood, stool modified AFB for
Cryptosporidium spp., stool AFB stain for Mycobacterium spp.
|
1.เตรียมขวดหรือตลับที่ปิดป้ายชื่อเรียบร้อยและไม้สำหรับเขี่ยอุจจาระ
2.ให้ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระใส่กระโถนหรือโถส้วมโดยใช้กระดาษชำระรอง
3.เขี่ยอุจจาระโดยเลือกบริเวณที่มีมูก,
เลือดหรือตัวพยาธิปนมา
ให้ได้ปริมาณเท่าข้อปลายนิ้วก้อย
4.ปิดฝาให้สนิทนำส่งห้องปฏิบัติการ
พร้อมใบนำส่งและสมุดรับ-ส่งสิ่งส่งตรวจ
|
การเก็บอุจจาระเพื่อส่งเพาะเชื้อ
|
ดูในหัวข้อการเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย
|
การเก็บเพื่อวินิจฉัยโรคโปลิโอ
|
ดูในหัวข้อการเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย
|
ชนิดการเก็บตัวอย่าง
|
แนวทางปฏิบัติ
|
การเก็บ
CSF ส่งตรวจ
|
1.เตรียมป้ายชื่อ
– นามสกุล , Ward
ผู้ป่วยติดที่ภาชนะสำหรับใส่ (ขวด
Sterile) ให้ครบตามการทดสอบที่ต้องการ
นำส่งแยกตามห้องปฏิบัติการสาขาละขวดและปิดหมายเลขขวดที่
1,2,3 และกรอกข้อมูลในใบนำส่งให้ครบถ้วน
2.แพทย์ทำการเจาะแล้วดูด
CSF ให้ได้ปริมาณเพียงพอสำหรับการตรวจวิเคราะห์
3.ใส่
CSF ในขวด
Sterile ที่เตรียมไว้โดยใส่ขวดละ 1-2 ml
ปิดฝาให้สนิทนำส่งห้องปฏิบัติการสาขาละ 1
ขวด
4.นำสิ่งส่งตรวจพร้อมใบนำส่งและสมุดรับ
– ส่งห้องปฏิบัติการโดยเร็ว
|
น้ำเจาะปอด/ น้ำเจาะท้อง/ น้ำเจาะเข่า
|
1.เตรียมป้ายชื่อ
– นามสกุล – Ward
ผู้ป่วยติดที่ภาชนะสำหรับใส่สิ่งส่งตรวจ โดยใช้ขวด
Sterile
ให้ครบทุกห้องปฏิบัติการสาขาที่ต้องการตรวจ ห้องละ 1
ขวดและกรอกข้อมูลผู้ป่วยใบนำส่งให้ครบถ้วน
2.แพทย์ทำการเจาะดูด น้ำเจาะปอด/
น้ำเจาะท้อง/ น้ำเจาะเข่าให้ได้เพียงพอสำหรับการตรวจวิเคราะห์
3.ใส่ น้ำเจาะปอด/ น้ำเจาะท้อง/
น้ำเจาะเข่าในภาชนะที่เตรียมไว้ปิดฝาให้สนิทแล้วนำส่งห้องปฏิบัติการ
|
ชนิดการเก็บตัวอย่าง
|
แนวทางปฏิบัติ
|
การเก็บตัวอย่างโดยวิธีการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง(masturbation)
ใส่ในขวดแก้ว หรือ กระป๋องพลาสติก ที่แห้งและสะอาด มีฝาปิดสนิท
|
1.ควรงดยาทุกประเภท 7 วัน ก่อนวันเก็บอสุจิ
2.งดการร่วมเพศก่อนเก็บน้ำอสุจิ 2-3 วัน แต่ไม่เกิน 7 วัน
ทั้งนี้การตรวจแต่ละครั้งควรเก็บอสุจิ 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน
แต่ไม่เกิน 3 เดือน
3.ห้ามใช้ถุงยางอนามัยเก็บน้ำอสุจิเพราะจะทำให้เชื้ออสุจิเคลื่อนไหวช้าหรือตายได้
4.ต้องเก็บน้ำอสุจิให้หมดทุกครั้งที่มีการหลั่ง
ถ้าเก็บมาได้ไม่ทั้งหมดไม่ควรนำมาทดสอบ
5.ห้ามนำน้ำอสุจิไปเก็บแช่เย็น ทั้งนี้อุณหภูมิที่เหมาะสม
สำหรับเก็บน้ำอสุจิก่อนการตรวจอยู่ ระหว่าง 20-40 องศาเซลเซียส
|
ชนิดการเก็บตัวอย่าง
|
แนวทางปฏิบัติ
|
การเก็บอุจจาระเพื่อเพาะเชื้อแบคทีเรีย
|
1.ในกรณีเก็บจากถาดรองอุจจาระ ใช้ไม้พันสำลีปราศจากเชื้อ
ป้ายอุจจาระที่ถ่ายใหม่ ๆ ใส่ลงในขวด Carry blair Medium
ให้ลึกถึงก้นขวด แล้วหักไม้ส่วนเกินปากขวดทิ้งไป ปิดปากขวด
นำส่งห้องปฏิบัติการพร้อมใบนำส่ง
2.ในกรณีเก็บจาก
Rectum โดยใช้ไม้พันสำลีปราศจากเชื้อจุ่มลงที่
ขวด Carry blair Medium
เล็กน้อยเพื่อทำให้ลื่น แล้วสอดเข้าในทวารหนักของผู้ป่วย
ให้ลึกประมาณ 1-1.5 นิ้ว หมุนให้ครบรอบ
แล้วดึงออกมาใส่ขวด Carry blair Medium
ให้ลึกถึงก้นขวด แล้วหักไม้ส่วนเกินปากขวดทิ้งไป ปิดปากขวด
นำส่งห้องปฏิบัติการพร้อมใบนำส่ง
|
การเก็บอุจจาระเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคโปลิโอ
|
1.ให้ติดต่อขอรับภาชนะสำหรับเก็บอุจจาระได้ที่ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาคลินิก
ชั้นที่ 4 ตึกพยาธิวิทยา
2.ส่วนแบบฟอร์มการนำส่งให้ติดต่อขอรับได้ที่กลุ่มงานเวชกรรมสังคม
ซึ่งจะมีคำแนะนำในการเก็บตัวอย่างที่เหมาะสมให้
เมื่อทำการเก็บและกรอกแบบฟอร์มครบถ้วนแล้ว
3.ให้นำส่งห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาคลินิก
เพื่อดำเนินการส่งตรวจต่อ
|
การเก็บเสมหะเพื่อการย้อมสีและเพื่อเพาะเชื้อแบคทีเรีย
การทดสอบ
AFB, Modified AFB, Gram Stain
และ
Culture
|
1.เก็บเสมหะตอนเช้าหลังจากตื่นนอนใหม่ ๆ โดยผู้ป่วยบ้วนปากหลาย ๆ
ครั้งด้วยน้ำเปล่า เพื่อลดจำนวนเชื้อประจำถิ่นให้น้อยลง
ห้ามใช้น้ำยาบ้วนปากหรือน้ำยาฆ่าเชื้อใด ๆ
2.ให้ผู้ป่วยไอลึก ๆ แรง ๆ แล้วบ้วนเสมหะใส่ขวด
Stuart Medium (หรือบ้วนลงในตลับเปล่า
ใช้ไม้พันสำลีปราศจากเชื้อป้ายเอาเสมหะ
เลือกป้ายเอาจากส่วนของเสมหะที่มีสีเหลืองเขียวหรือดูแล้วผิดปกติ)
ปิดขวด แล้วนำส่งห้องปฏิบัติการพร้อมใบนำส่ง
และตรวจดูให้แน่ใจว่าเป็นเสมหะไม่ใช้น้ำลาย
เพราะหากสิ่งส่งตรวจไม่ถูกต้องจะทำให้ผลผิดพลาดได้
|
การเก็บสิ่งส่งตรวจจากลำคอ
(Throat swab)
เพื่อเพาะเชื้อแบคทีเรียโรคคอตีบ(Corynebacterium
diphtheriae)
|
1.ให้ผู้ป่วยอ้าปากให้กว้าง ใช้ไม้กดลิ้นลงบริเวณกลางลิ้น
แล้วใช้ไม้พันสำลีปราศจากเชื้อสอดเข้าไปป้ายบริเวณส่วนหลังของลำคอ
ต่อมทอนซิล หรือบริเวณที่อักเสบ หรือมีหนอง
ซึ่งต้องะวังไม่ให้ถูกลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม แล้วนำใส่ขวด
Stuart Medium หักไม้ส่วนเกินที่ยาวเกินปากขวดทิ้งไป ปิดปากขวด
นำส่งห้องปฏิบัติการ
2.ในกรณีสงสัย
C. diptheriae ให้ติดต่อขอรับ
Tube Pai’s Egg Medium Slant ที่ห้องปฏิบัติการเพื่อนำมาเป็นภาชนะสำหรับเก็บสิ่งส่งตรวจ
|
การเก็บหนองจากแผลหรืออวัยวะอื่น เพื่อย้อมสี
Gram Stain, AFB
|
1.ภาชนะที่ใช้เก็บคือ ขวด
Sterile
2.ในกรณีที่ ไม่สามารถเก็บใส่ ขวด
Sterile.ให้ใช้ Slide
ฝ้า
โดยเขียน ชื่อ นามสกุล, HN, Ward
ของผู้ป่วย บริเวณฝ้า ด้วยดินสอดำ แล้วนำ
Swab
ที่มีหนองมาป้ายตรงกลาง
Slide
ในลักษณะรูปวงรี ไม่หนาหรือบางจนเกินไป
ทิ้งไว้ให้แห้ง นำใส่ซองพลาสติกใส
เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
นำส่งห้องปฏิบัติการพร้อมใบนำส่ง
|
การเก็บหนองจากแผลหรืออวัยวะอื่น เพื่อเพาะเชื้อแบคทีเรีย
|
1.ในกรณีเป็นแผลปิด
ให้ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดบริเวณผิวหนังภายนอกรอให้แอลกอฮอล์แห้ง
ใช้เข็มสะกิดให้แผลเปิด แล้วไม้พันสำลีปราศจากเชื้อ
ป้ายหนองบริเวณก้นแผลใส่ในขวด
Stuart Medium
ให้ลึกถึงก้นขวด แล้วหักไม้ส่วนที่ยาวเกินปากขวดทิ้งไป
ปิดปากขวด ถ้าเป็นตุ่มหนองขนาดใหญ่
อาจใช้เข็มและกระบอกฉีดยาเจาะดูด ใส่ในขวด Sterile
ปิดปากขวด นำส่งห้องปฏิบัติการพร้อมใบนำส่ง
2.ในกรณีเป็นแผลเปิด ให้เก็บโดยใช้ไม้พันสำลีปราศจากเชื้อ
ป้ายหนองบริเวณก้นแผล
(ซึ่งต้องระวังการปนเปื้อนจากการสัมผัสกับผิวหนังบริเวณปากแผล)
แล้วใส่ในขวด Stuart Medium
ให้ลึกถึงก้นขวด
แล้วนำส่งห้องปฏิบัติการพร้อมใบนำส่ง
|
การเก็บปัสสาวะ เพื่อเพาะเชื้อแบคทีเรีย
|
1.ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศหญิงและชายด้วยสบู่
ล้างด้วยน้ำสะอาด ซับให้แห้ง
2.ให้ปัสสาวะทิ้งไปเล็กน้อย แล้งจึงปัสสาวะลงในขวด
Sterile ปิดปากขวด
นำส่งห้องปฏิบัติการพร้อมใบนำส่ง
|
การเก็บน้ำไขสันหลังและ
Body Fluid อื่น ๆ
เพื่อเพาะเชื้อแบคทีเรียและการย้อมสี
|
ให้เจาะเก็บใส่ในขวด
Sterile ปิดปากขวด
แล้วนำส่งห้องปฏิบัติการ
|
การเก็บเลือดเพื่อเพาะเชื้อแบคทีเรีย (Hemoculture)
|
1.การเตรียมผู้ป่วยและเก็บเลือดเพื่อส่งตรวจ
ในผู้ป่วยเด็กให้ส่งตรวจ
1 ขวด
โดยควรเจาะเก็บเลือดก่อนการให้ยาหรือขณะที่ไข้ขื้นสูง
ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ ให้ส่งตรวจ
2 ขวด
โดยควรเจาะเก็บเลือดให้ห่างกันอย่างน้อย
30 นาที
และในจำนวนนั้นควรเป็นเลือดที่เจาะในขณะที่ไข้ขึ้นสูง
และควรเปลี่ยนตำแหน่งที่เจาะเก็บเลือด
2.ปริมาณตัวอย่าง
ผู้ใหญ่/เด็ก ใช้เลือด ประมาณ 01-10
ml
3.วิธีการเก็บตัวอย่าง
3.1ให้ใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน
เช็ดทำความสะอาดบริเวณที่จะเจาะในลักษณะเช็ดวนเป็นวงกว้างประมาณ
3 นิ้ว
โดยไม่ซ้ำรอยเดิม เช็ดซ้ำด้วยแอลกอฮอล์ ใช้ผ้าก๊อสปราศจากเชื้อปิดไว้รอให้แห้ง
3.2 ทำความสะอาดบริเวณจุกยางด้วย
70% alcoholหรือสารละลายไอโอดีน(10%
povidine-iodine)
3.3 ใช้กระบอกฉีดยาและเข็ม เจาะเลือด ตามปริมาตรที่ต้องการ
3.4 เปลี่ยนเข็มเจาะเลือด และแทงเข็มผ่านจุกยางของขวด
3.5
ปล่อยเลือดลงสู่ขวดตามปริมาตรที่กำหนด เขย่าขวดเบา ๆ
เพื่อให้เลือด และน้ำยาเข้ากันดี (ต้องไม่มีก้อน
Clotted เกิดขึ้น)
แล้วนำส่งห้องปฏิบัติการพร้อมใบนำส่ง
|
การเก็บ
KOH และ Leprosy
|
1.ในกรณีผู้ป่วยนอก ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาดำเนินการเอง
2.ในกรณีผู้ป่วยใน ให้ขูด
Lesion ใส่ slide
ประกบกันส่งตรวจ
|
การเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค
SARS และ Avian
Flu
|
ให้ประสานกับงาน
IC เพื่อดำเนินการตามแผน
ของโรงพยาบาล
|
ภาชนะเก็บสิ่งส่งตรวจ
|
วิธีการเก็บรักษาภาชนะเก็บ
|
ใช้เก็บสิ่งส่งตรวจ
|
ขวด
Sterile
|
เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง
|
Urine, CSF และ body fluid
ของร่างกายเพื่อทำ C/S
|
ขวด
Stuart Medium
|
เก็บไว้ที่ตู้เย็นอุณหภูมิ
2-8 C
และก่อนใช้ทุกครั้งต้องนำมาไว้ที่อุณหภูมิห้องประมาณ 20
นาที เพื่อให้หายเย็น
|
Sputum, Throat’s swab และ Pus Sputum
จากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อทำ C/S
|
ขวด
Carry blair
|
Stool, Rectal swab เพื่อทำ C/S
|
|
ขวด
Hemoculture
|
เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องเก็บ(15-30C)
และเป็นที่แสงแดดส่องไม่ถึง และ
ห้ามเก็บไว้ในตู้เย็น
|
เก็บเลือดเพื่อทำ
C/S
|
ตลับพลาสติก
Slide ปลายฝ้า
|
เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง
|
เก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อทำ
Gram stain, AFB stain
|
ข้อควรระวัง
ภาชนะทุกชนิด มีวันหมดอายุ กรุณาตรวจดูที่ข้างขวด หากหมดอายุแล้วห้ามใช้และกรุณานำขวดส่งคืนที่ตึกพยาธิ ภาชนะที่เก็บสิ่งส่งตรวจแล้ว ( สำหรับเพาะเชื้อแบคทีเรีย ) ไม่สามารถนำส่งห้องปฏิบัติการได้ภายใน 2 ชั่วโมง ให้เก็บไว้ที่ตู้เย็นอุณหภูมิ 2-8 C. ยกเว้น ภาชนะที่ใส่ CSF, Body Fluid, Hemoculture ให้เก็บที่อุณหภูมิห้อง
การทดสอบ
|
ขั้นตอนการปฏิบัติ
|
1.การทดสอบ
VCT (Venous Clotting Time)
2.Bleeding Time
3.การเก็บตัวอย่างกรณีไข้หวัดนก
|
1.สำหรับการตรวจ
VCT และ
Bleeding Time
ให้หอผู้ป่วยกรอกข้อมูลผู้ป่วยในใบนำส่งให้ครบถ้วนแล้วนำส่งที่จุดรับสิ่งส่งตรวจ
2.เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับใบนำส่งแล้วก็จะออกไปทำการเจาะเก็บ
3.สำหรับการเก็บตัวอย่างกรณีไข้หวัดนกให้โทรติดต่องานจุลชีววิทยาโดยตรงที่
หมายเลขภายใน
481
เจ้าหน้าที่งานจุลชีววิทยาจะเป็นผู้ดำเนินการเก็บตัวอย่างโดยเร็ว
ในกรณีนอกเวลาราชการ
ติดต่อหมายเลขภายใน 472 ห้องปฏิบัติการผู้ป่วยนอก
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น