Clock


วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

ระบบภูมิต้านทานร่างกาย Immune System

ระบบภูมิต้านทานร่างกาย Immune System คือระบบภูมิคุ้มกันทั้งหมดของ ร่างกายที่ทำหน้าที่คอยป้องกัน ไม่ให้เชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอม ที่เป็นอันตรายเข้ามาทำอันตรายต่อร่างกายหรือเมื่อหลุดเข้ามาแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันก็จะพยายามทำลาย กำจัดสิ่งแปลกปลอมให้ หมดไปจากร่างกายโดยเร็วและอย่างมีประสิทธิภาพ

หน้าที่โดยสังเขปของระบบอิมมูนร่างกายคือ

- Defense ป้องกันและทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม
- Homeostasis คอยกำจัดเซลปกติที่เสื่อมสภาพเช่นเม็ดเลือดที่มีอายุ มากแล้ว ออกจากระบบของร่างกาย
- Surveillance คอยจับตาดูเซลต่างๆที่จะ แปรสภาพผิดไปจากปกติ เช่น คอยดักทำลาย tumor cells เพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ความสามารถในการตอบสนองของระบบอิมมูนต่อสิ่งแปลกปลอมนั้น แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ทั้งนี้ขึ้นกับ ปัจจัยบางอย่างดังต่อไปนี้

1. Genetic factors ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า การตอบสนองทางระบบอิมมูนอยู่ภายใต้การควบคุมทาง genetic ดังหลักฐานการค้นพบไม่นานนี้ เกี่ยวกับ genetic complex บนโครโมโซม ซึ่งควบคุมการตอบ สนองทางอิมมูน และควบคุมชนิดของ histocompatibility antigens ตัวอย่างที่เห็นง่ายๆ คือคู่แฝดชนิดที่กำเนิดจากไข่ใบเดียวกัน (monozygotic twin) มักจะ เป็นโรคเดียวกัน มากกว่าคู่แฝด ที่กำเนิดจากไข่คนละใบ (dizygotic twin) และโรคบางอย่างมักเป็นในกลุ่ม ชนเชื้อชาติหนึ่งมากกว่าอีก เชื้อชาติหนึ่งเป็นต้น ปัจจุบันเขื่อว่าโรคต่างๆ ในมนุษย์เกิดจากความล้มเหลวของ genes ที่ควบคุมการตอบสนอง ทางอิมมูน

2. Age factors เด็กเล็กๆ และผู้สูงอายุเกิดโรคต่างๆ ได้ง่ายกว่าในคนหนุ่มสาวทั้งนี้เพราะในเด็กเล็ก ๆ ระบบ อิมมูนยังเจริญไม่เต็มที่ ขาด specific immunity ที่จะใช้ป้องกันโรค ขณะเดียวกันระบบ non-specific immunity ก็บกพร่องด้วย เช่น ผิวหนังบาง และกลไก การเกิด การอักเสบยังทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์เป็นต้น

เมื่ออายุมากขึ้น การทำหน้าที่ของระบบอิมมูนในร่างกายจะค่อยๆ ลดลงไป ในผู้สูงอายุปริมาณของอิมมูนโนโกลบูลิน และการทำ หน้าที่ของ cell mediated immunity จะน้อยกว่าคนหนุ่มสาว จะเห็นได้ว่า นอกจากผู้สูงอายุจะเป็น โรคติดเชื้อได้ง่ายแล้ว อัตราการเกิดโรค autoimmune และโรคมะเร็ง จะมีมากกว่าในคนหนุ่มสาว

3. Metabolic factors ฮอร์โมนบางชนิด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานของระบบอิมมูน เช่น steroid จะมีฤทธิ์ยับยั้ง phagocytosis ลดการอักเสบ และลดการสร้างแอนติบอดีย์ จะเห้นได้ว่าผู้ป่วยที่ได้รับ steroid นานๆ จะเกิดโรคบางชนิด ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป เช่น โรคสุกใส (varicella), การติดเชื้อ staphylococus เป็นต้น

4. Environmental factors สิ่งแวดล้มก็มีความสำคัญ กลุ่มชนที่ยากจนจะมีอัตราการเกิดโรคต่างๆสูงกว่ากลุ่มชน ที่มีความเป็นอยู่ ดีกว่า ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุหลายประการรวมทั้งการขาดอาหาร ซึ่งจะทำให้การทำงานของระบบ อิมมูนเลวลง

5. Anatomic factors ผิวหนังและเยื่อเมือกที่บุอวัยวะต่างๆทำหน้าที่เป็นด่านแรกที่ร่างกายใช้ ป้องกันไม่ให้ เชื้อโรค เข้าสู่ร่างกาย (ดูรายละเอียดในเรื่อง non-specific immunity ของบทนี้) ในผู้ป่วยที่เป็น eczema หรือ burns คุณสมบัติดังกล่าวจะเสียไป เกิดการติดโรคและแพร่กระจายไปทั่วร่างกายได้ง่ายกว่าในคนปกติ

6. Microbial factors จุลชีพประจำถิ่น (normal flora) ที่อาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์ โดยไม่ทำให้เกิดโรคเช่นใน ลำไส้ นอกจาก จะช่วยผลิตวิตามิน K ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ร่างกายแล้ว ยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของ จุลชีพที่ทำให้เกิดโรค (pathogenic microorganism) ได้ด้วย เมื่อใดก็ตามที่จุลชีพชนิดแรกถูกทำลาย เช่น ได้รับ broad-spectrum antibiotic จุลชีพให้เกิดโรค จะทวีจำนวนขึ้นเป็นผลร้ายแก่บุคคลนั้นได้

7. Physiologic fictors ที่มีอยู่ในร่างกายช่วยป้องกันโรคได้ เช่นน้ำย่อยในกะเพาะอาหาร ขนอ่อน (cilia) ในระบบทางเดินหายใจ การขับถ่ายปัสสาวะ ฯลฯ ถ้าสิ่งดังกล่าวผิดไปจากปกติ จุลชีพจะเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น


หลักการเรื่องภูมิต้านทานร่างกายนี้ได้ถูกนำมาใช้อธิบายทั้งในการรักษา และป้องกันโรคติดเชื้อต่างๆ ใช้อธิบายกลไก การเกิดการอักเสบ การซ่อมแซมของเนื้อเยื่อและการเกิดโรค ถึงแม้ปัจจุบันจะมี chemotherapeutic agentsและ การรักษาในรูปแบบอื่นๆด้วยก็ตาม แต่ก็ล้วนเป็นเพียงการช่วยเสริมกลไกของระบบภูมิชีวิต-ภูมิต้านทานในร่างกาย นั้นเอง การผ่าตัดใหญ่ต่างๆก็ต้องพึ่งความรู้ด้าน immunohematology มาใช้ในการเลือกเลือดที่เหมาะและเข้า กันได้ระหว่างเลือดของผู้ให้และเลือดของผู้รับ มิฉะนั้นจะเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ การปลูกถ่ายเปลี่ยนอวัยวะก็ต้องใช้ ความรู้ทางด้านภูมิต้านทานร่างกาย (อิมมูโนวิทยา) เข้ามาช่วยในการตรวจหาความเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อระหว่าง ผู้รับและผู้ให้อวัยวะ เรียกว่าการทำ histocompatability matching และในการควบคุมระบบภูมิต้านทานของ ผู้รับเพื่อลดการต่อต้านต่อเนื่อเยื่อที่นำมาเปลี่ยนใหม่ ในปัจจุบันโรคเลือดที่สำคัญๆ ล้วนต้องใช้ความรู้เรื่อง อิมมูโน วิทยาเข้ามาช่วยในการวินิจฉัยโรคและในการรักษา ตลอดจนใช้ในการอธิบายพยาธิกำเนิดของโรค โรคทางระบบ ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ ระบบสืบพันธุ์ แม้ระบบต่อมไร้ท่อก็ต้องอาศัย วิธิการทางอิมมูโนวิทยามาช่วยในการหาระดับฮอร์โมนในร่างกาย

วิธีการกำจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากร่างกายมนุษย์ แบ่งออกได้เป็น 2 ระบบใหญ่คือ

1. Non-specific immune response (ดูรายละเอียดในบทความต้านทานของร่างกายต่อการติดเชื้อ) เป็นการกำจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากร่างกายโดยวิธีการง่ายๆ เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอมนั้นเป็นครั้งแรก หรือแม้ได้รับอีกในคราวต่อมา ร่างกายก็อาจใช้วิธีการนี้กำจัดสิ่งแปลกปลอมร่วมกับ specific immune response 1.1 Barrier หรือเครื่องกีดขวางตามธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ผิวหนัง เยื่อเมือก ซึ่งบุตามอวัยวะต่างๆ ขนอ่อน (cilia) เมื่อสิ่งแปลกปลอมนั้นสามารถผ่าน barrier นี้เข้าไปได้จะถูกร่างกายกำจัดโดยใช้ inflammatory response และ phagocytosis 1.2 Inflammatory response เป็นการเคลื่อนย้ายของ phagocytic cell (neutrophilic granulocyte และ macrophage) มายังบริเวณที่มีสิ่งแปลกปลอม บริเวณนั้นจะมีลักษณะจำเพาะคือ ปวด บวม แดง ร้อน และจะพบว่าประมาณ 30-60 นาที หลังจากที่สิ่ง แปลกปลอมเข้าไป เม็ดเลือดขาว จำพวก neutrophilic granulocyte จะเป็นพวกแรกที่มาถึงบริเวณนี้ โดยการลอดตัวผ่านออกทาง รอยต่อของ endothelial cell ของเส้นเลือดออกมาในเนื้อเยื่อ เพื่อจะมากินและทำลายสิ่งแปลกปลอมนั้น ประมาณ 4-5 ช.ม. หลังจากนั้นเซลล์อีกพวกหนึ่งคือ mononuclear cells ซึ่งได้แก่ Iymphocyte จึงจะผ่าน endothelial cell ออกมาแล้ว monocyte จะเปลี่ยนเป็น macrophage ส่วนเม็ดเลือด ขาว Iymphocyte จะมาทำหน้าที่ specifie immune response ดังจะได้กล่าวต่อไป 1.3 Phagocytosis หรือ cell-eating เมื่อพวก neutrophilic granulocytes และ macrophage มาถึง จะเคลื่อนตัวไปหาสิ่งแปลกปลอมนั้น (chemotaxis) แล้วประกบติด (attachment) ต่อมาจะกลืน (ingestion) แล้วจึงมีการย่อย (intracellular digestion) ด้วยกลไกหลายอย่างในเซลล์ แล้วจึงปล่อย สิ่งแปลกปลอมที่ถูกทำลายแล้วออกไปจากเซลล์ (elimination)

2. Specific immune response เป็นการกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่ต้องอาศัยกลไกที่ยุ่งยากกว่าวิธีแรก เกิดขึ้นเมื่อร่ายกายไม่สามารถใช้วิธี non-specific immune response กำจัดสิ่งแปลกปลอมนั้นออกไปได้ เซลล์ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในด้านนี้คือ lymphocytes สิ่งแปลกปลอมในที่นี้มีชื่อเรียกใหม่ว่า แอนติเจน (antigen) หรืออิมมูโนเจน (immunogen) การตอบสนอง ดังกล่าว แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

2.1 Humoral immune response คือการตอบสนองทางอิมมูนโดยการใช้สารน้ำ ซึ่งหมายถึง แอนติบอดีย์ (antibody) เซลล์ที่รับผิดชอบในเรื่องน้คือ B Lymphocyte และ plasma cell นอกจากนี้ยังมีสารน้ำ อื่นๆ ช่วยส่งเสริมการทำงานของ specific immunity คือ complement

2.2 Cell-mediated immune response หรือ Cell-mediated immunity (CMI) เซลล์ที่รับผิดชอบ คือ Specifically Sensitized Lymphocyte (SSL) หรือ T lymphocyte ซึ่งมีหน้าที่ผลิตสาร lymphokines


Immune System หรือ ระบบที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ ภูมิต้านทานของร่างกาย ประกอบด้วย เซลหลายชนิดหลายพวก ที่ทำหน้าที่ร่วมกัน เซลที่ทำร่วมกัน ทำหน้าที่ป้องกัน กำจัดสิ่งแปลกปลอม สิ่งผิดปกติต่างๆเช่นเซลมะเร็ง ออกไปจากร่างกาย ได้แก่

Hemocytoblast (hematopoetic stem cell) เป็นเซลต้นกำเนิดของเซลในกระแสโลหิต เช่น Red blood cell, Monocyte Polymorphonuclear leukocyte ( Neutrophil,eosinophil และ Basophil) Lymphocyte และ Megakaryocyte (เป็นเซลที่ทำการสร้าง เกล็ดเลือด (platelets) ลักษณะนิวเคลียสมีขนาดใหญ่ มี chromatic เป็นร่างแหบางๆ ทำให้เวลาย้อมนิวเคลียส ติดสีฟ้าอ่อน มี cytoplasm จำนวนเล็กน้อย ในไขกระดูก ( bone marrow ) จะพบเซลนี้ได้ประมาณ 0.5-1% ของเซล

เม็ดเลือดขาวชนิด Neutrophil สร้างขึ้นในไขกระดูกเมื่อเปลี่ยนร่างมาถึงระยะ band shape / matrure neutrophil จึงจะหลุดมาอยู่ในกระแสเลือด ในกระแสโลหิตจะพบได้ประมาณ 60-65% ลักษณะของนิวเคลียสเป็น lope (ประมาณ 2-5 lope) cytoplasm ประกอบด้วย specific granule และ azurophilic granule จัดเป็นพวก phagocyte ใช้กำจัดสิ่งแปลกปลอม ทั้งที่อยู่ใน เนื่อเยื่อและในกระแสโลหิต ปกติ จะไหลไปมาในกระแสเลือด จะเคลื่อนตัวไปยังแหล่งสิ่งแปลกปลอม จากสารดึงดูด เม็ดเลือดขาวชนิด Eosiophil เป็นเซลที่ใน cytoplasm มี granule ย้อมติดสีส้มแดง ในกระแสโลหิตจะ พบได้ประมาณ 2-5% จัดเป็นเซล phagocyte แต่จะเลือกกินเฉพาะ antigen-antibody complex เท่านั้น ในรายที่มี anaphylatic hypersensitivity หรือ มีพยาธิ์ (parasitic infection) จะพบว่ามีระดับ ของ eosinophil เพิ่มสูงขึ้นได้ เม็ดเลือดขาวชนิด Basophil เป็นเซลที่ใน cytoplasm มี granule ขนาดใหญ่กว่าในกลุ่ม เดียวกัน ( neutrophil, eosinophil) granule ย้อมติดสีม่วงเข้ม ใน granule ประกอบด้วยสารสำคัญเช่น histamine และ SRS-A ( slow reaction substance of anaphylacxis) ที่ผิวมี receptor ต่อ IgE มีบทบาท สำคัญในเรื่องภาวะภูมิคุ้มกันไวเกิน (anaphylaxis) ในกระแสโลหิตจะ พบได้ประมาณ 1-2% เม็ดเลือดขาวชนิด Monocyte
เป็นเซลประเภท phagocyte ใน cytoplasm ติดสีฟ้าอมเทาและมี azurophilic granule อยู่เป็นจำนวนมาก ลักษณะของ nucleus อาจ เป็น รูปไข่ หรือรูปเกือกม้า หรือรูปไต ในกระแสโลหิตจะพบได้ประมาณ 3-5%
จะมีชีวิตเฉลี่ยประมาณ 5-7 วัน ส่วนหนึ่งจะผ่านผนังหลอดเลือดเข้าไปอยู่ใน เนื้อเยื่อกลายเป็น macrophage เมื่อมีสิ่งแปลกปลอม lymphocyte จะให้ สารที่เป็นตัวเรียกให้ monocyte มาเพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมนั้นด้วยวิธีการ
phagocytosis

เม็ดเลือดขาวชนิด Macrophage

เป็นเซลที่มีความสามารถในด้าน phagocytosis สูง มีกำเนิดมาจากเซล monocyte ในกระแสเลือด มีรูปร่างไม่ แน่นอนแตกต่างกันไปตามเนื้อเยื่อ ที่มันอาศัยอยู่ macrophage แบ่งออกเป็น 2 พวกใหญ่ๆ คือ fixed macrophage อยู่ประจำที่ มีรูปร่างคล้ายกระสวยหรือดาว wandering macrophage มีนิวเคลียสคล้ายรูปไต เคลื่อนที่ไปที่ต่างๆ ในกรณีที่พบสิ่งแปลกปลอมที่มีขนาดใหญ่ เซลหลายๆตัวจะมารวมตัวกันเป็น เซลขนาดใหญ่ เรียกว่า giant cell

เม็ดเลือดขาวชนิด Mast cell

เป็นเซลรูปไข่ มีขนาดใหญ่ ในส่วนของ cytoplasm จะมี basophilic granule มีลักษณคล้ายกับ basophil มักจะอยู่ใน connective tissue ทั่วไป (ไม่ได้อยู่ในกระแสเลือด) ใน granule มีสารพวก histamine และ
SRS-A เป็นเซลทีทำให้เกิด anaphyactic hypersensitivity ด้วย เม็ดเลือดขาวชนิด Lymphocyte
เป็นเซลรูปร่างกลม มี 3 ขนาดคือเล็ก กลาง ใหญ่ แต่ในกระแสเลือดจะพบ ขนาดเล็กเป็นส่วนใหญ่ nucleus ติดสีเข้ม มี cytoplasm น้อย ย้อมติด สีฟ้าอ่อน lymphocyte เคลื่อนที่ได้ ในจำนวนเม็ดเลือดขาวในกระแสเลือด
ทั้งหมดจะพบได้ประมาณ 20-25 % Lymphocyte แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ
T - lymphocyte มีหน้าที่สำคัญในระบบ cellular immunity
B - lymphocyte มีหน้าที่สำคัญในระบบ humoral immunity

เม็ดเลือดขาวชนิด Lymphoblast

เป็นเซลตัวอ่อนของ lymphocyte มีขนาดใหญ่กว่า รูปร่างกลม ไม่มี azurophilic granule ใน cytoplasm ส่วนใหญ่พบได้ใน germinal center ของ lymphoid follicle ใน lymph node ที่ถูกกระตุ้นด้วย แอนติเจน
เม็ดเลือดขาวชนิด Plasma cell เป็นเซลรูปไข่ ที่มี cytoplasm ติดสีฟ้าเข้ม มี nucleus กลมและมี chromatin อยู่หนาแน่นแต่กระจายอยู่อย่างไม่สม่ำเสมอ ส่วนใหญ่พบได้ใน lymphoid follicle ที่ถูกกระตุ้นด้วยแอนติเจน เสมอๆเช่น intestinal mucosa หรือในบริเวณที่มีการอักเสบเรื้อรัง และในม้าม หน้าที่ของมันคือสร้างแอนติบอดีย์ ที่มาของพลาสม่าเซล กล่าวกันว่ามาจาก lymphocyte ที่ถูกกระตุ้นด้วยแอนติเจน chemotactic substance จากระบบคอมพลีเมนต์ /และจาก lymphocyte


Cellular immunity

ภูมิต้านทานของร่างกายอาจแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ humoral immunity และ cellular immunity หรืออีกชื่อ หนึ่งคือ cell-mediated immuniity เป็นภูมิต้านทานของร่างกายที่ต้องอาศัย "เซลล์" เป็นสำคัญ ตรงกันข้าม กับ humoral immunity ที่อาศัยสารน้ำ (humor) คือ antibody หรือ immunoglobulin ซึ่งส่วนใหญ่ อยู่ในซีรั่ม

" เซลล์ " ดังกล่าวใน cellular immunity หมายถึง T lymphocyte (thymus-derived lymphocyte T cell) และอาจหมายถึง macrophage ด้วยก็ได้ การที่จะทำให้สัตว์มี humoral immunityต่อแอนติเจน อย่างยึ่งโดยไม่ให้สัตว์ได้รับ แอนติเจนชนิดนั้นเลย (passive cellular immunity) ทำได้ด้วยการให้ซีรั่มของ สัตว์อีกตัวหนึ่งที่เคยได้รับแอนติเจนนั้นมาแล้ว (immune serum) แต่วิธีนี้สัตว์ตัวที่ได้รับ immune serum จะยังไม่มี passive cellular immunity ต่อแอนติเจน ต้องให้ T lymphocyte ซึ่งมักเตรียมได้จาก peritoneal exudate, lymph node, spleen และ peripheral white blood cell thymus gland
เป็นอวัยวะที่ควบคุมการกำเนิดของ T lymphocyte การตัด thymus ออก (thymectomy) ตั้งแต่ระยะที่สัตว์ ยังเป็น fetus อยู่ในครรภ์หรือเพิ่งเกิดใหม่ๆ (neonates) จะทำให้สัตว์นั้นไม่มี cellular immunity เลย แต่ humoral immunity ยังมีอยู่ และจะทำให้ T dependent area ในต่อมน้ำเหลืองและม้ามไม่เจริญ

ในการตอบสนองบต่อแอนติเจนเกือบทุกชนิดจะมีทั้ง cellular immunity และ humoral immunity เกิดขึ้นไป ด้วยกันเสมอ แต่แบบใดจะมากว่ากันย่อมต้องแล้วแต่ชนิดและขนาดของแอนติเจนที่ร่างกายได้รับ T cell ดูจะไวต่อ การกระตุ้นด้วยแอนติเจนมากกว่า B cell เพราะแอนติเจนขนาดน้อยๆ หรือแอนติเจนที่มี poor antigenicity กระตุ้น T Cell ได้ในขณะที่ไม่อาจกระตุ้น B cell ได้ ส่วนใหญ่ Cellular immune response จะเกิดขึ้นหลัง จากที่แอนติเจนผ่าน Macrophage Processing (Macrophage Preparation) มาแล้ว มีบ้างเหมือนกันที่ แอนติเจนเข้าไปกระตุ้น T Lymphocyte โดยตรง แต่การตอบสนองที่เกิดขึ้นจะไม่ดีเท่า หรืออาจไม่มีการตอบสนอง เกิดขึ้นเลยก็ได้

T lymphocyte มีหลาย subpopulation เท่าที่พอทราบกันในปัจจุบัน มี

1. Helper T cell
ทำหน้าที่ส่งเสริมระบบ Humoral Immune response คือ ช่วย B Lymphocyte ในการตอบสนองทางอิมมูน) และมีส่วน ช่วย Cellular Immune Response ด้วย
2. Suppresssor T cell
ทำหน้าที่ตรงกันข้ามและเป็นเซลต่าง Sub Population กันมีหน้าที่ควบคุม B Lymphocyte และ T Lymphocyte ไม่ให้ทำงานมากเกินไป
3. Killer T cell (Cytotoxic T Cell)
ทำหน้าที่ทำลาย Antigenic Cell เป็นคนละ Suppopulation กับ Helper T Cell
4. T lymphocyte ที่หลั่ง Lymphokines
เพื่อใช้ในระบบ Cell Mediated Immunity บางรายงานระบุ ว่า Cytotoxic T Lymphocyte ก็อาจจะเป็นเซลที่หลั่งเจ้าตัว Lymphokines ด้วย
5. Memory T cell
อาจมาจาก T Lymphocyte หลาย Sub Population ทำงานร่วมกับ Sub Population อื่นทำให้เกิด Killer T cell ได้อย่าง รวดเร็ว ช่วยให้ Killer T Cell สามารถกำจัด target cell ดีขึ้น ทำหน้าที่จดจำแอนติเจนต่างๆ ที่เคยเข้าสู่ร่างกายมาแล้ว เซลที่รู้จัก แอนติเจนแล้วจะเรียกใหม่ว่า SSL - Specifically Sensitized
ในการกำจัดสิ่งแปลกปลอม (แอนติเจน) ทางด้าน Cellular Iimmunity นอกจากอาศัย T Killer Cell โดยตรงแล้ว ยังมี เซลที่มี ความสำคัญไม่น้อยกว่า T cell ก็คือ macrophage ซึ่งจะถูกกระตุ้นให้มีฤทธิ์ทางด้าน phagocytosis มากขึ้น โดยสาร Lymphokine ที T Lymphocyte หลั่งออกมา

Cellular Immunity มีความสำคัญในการต่อต้านโรคติดเชื้อที่เกิดจาก intracellular bacteria เช่น แบคทีเรีย Mycobacterium Tuberculosis ที่ทำให้เกิดโรควัณโรค / Mycobacterium leprae ที่ทำให้เกิดโรคเรื้อน Brucella ที่ทำให้เกิดโรค Brucellosis / Salmonella typhi ที่ทำให้เกิดโรค Typhoid / โรคติดเชื้อที่เกิด จากเชื้อไวรัสเกือบทุกชนิด / โรคติดเชื้อรา

นอกจากนี้ยังทำหน้าที่คอยตรวจตราและคอยทำลายเซลของร่างกายที่เปลี่ยนไปเป็น tumor cell เรียกการทำหน้าที่ นี้ว่า tumor surveillance หรือ immune surveillance ในขณะเดียวกัน cellular immune response อาจให้โทษแก่ร่างกายได้โดย ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้บางอย่าง เช่น contact dermatitis (ภาวะภูมิคุ้มกันไวเกิน) เป็น ตัวการทำให้เกิดการต่อต้านต่อเนื้อเยื่อใหม่ ที่นำมาปลูกถ่าย เรียก graft rejection และทำให้เกิด graft versus host eraction ที่อาจทำให้ผู้ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ถึงแก่ชีวิตได้


Humoral immunity

humoral immunity ที่อาศัยสารน้ำ (humor) คือ antibody หรือ immunoglobulin ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในซีรั่ม
แอนติบอดีย์ คือสารโปรตีนที่อยู่ในเลือดส่วนซีรั่ม เกิดจากการตอบสนองของร่างกายต่อแอนติเจน และจะทำปฏิกริยาที่มี ความจำเพาะกับแอนติเจนหนึ่งๆเท่านั้น แอนติบอดีย์อยู่ในซีรั่มเป็นส่วนของโปรตีนที่เรียกว่า แกมม่าโกลบูลิน (gamma globulin) และเป็นส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับภูมิต้านทานของร่างกายจึงเรียกว่า อิมมูโนโกลบูลิน Immunoglobulin หรือย่อว่า Ig ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิดคือ IgG / IgA / IgM / IgD / IgE
แอนติบอดีบ์เป็นผลผลิตของ พล่าสม่าเซล (plasma cell) และ lymphocyte นอกจากพบในซีรั่มแล้วยังพบในสาร
คัดหลั่งอื่นๆของร่างกาย ในเนื้อเยื่อ เช่น ในปัสสาวะ น้ำไขสันหลัง น้ำนม น้ำลาย น้ำตา ต่อมน้ำเหลือง น้ำอสุจิ เป็นต้น

การสร้างสารภูมิต้านทาน-แอนติบอดีย์ มาจากเม็ดเลือดขาวชนิด B-lymphocyte โดยที่มันจะพร้อมที่จะตอบสนองต่อ
สิ่งแปลกปลอมที่มีความจำเพาะต่อมัน โดยเมื่อเจ้าสิ่งแปลกปลอมหรือแอนติเจน มาพยกับ B-lymphocyte จะทำให้เม็ด
เลือดขาวเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้าน proliferation และ differentiation ทำให้เกิดเป็นกลุ่มของ lymphocyte
ที่สามารถผลิตแอนติบอดีย์ (antibody) ที่มีฤทธิ์จำเพาะต่อกับแอนติเจนหรือสิ่งแปลกปลอมนั้นเท่านั้น

ชนิดและคุณสมบัติของแอนติบอดีย์

อิมมูโมนโกลบูลินหรือแอนติบอดีย์ในระบบ humoral immunity แบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆคือ
IgG / IgA / IgM / IgD / IgE

IgG เป็นอิมมูโนโกลบูลินที่มีมากที่สุดในซีรั่ม
- หน้าที่สำคัญคือช่วยร่างกายต่อสู้กับ bacteria / virus / toxin เป็นส่วนใหญ่
- เป็นแอนติบอดีย์ที่ถูกสร้างขึ้นมามากที่สุดเมื่อมีการพบสิ่งแปลกปลอม ในระบบซ้ำ (secondary immune response)
IgA เป็นอิมมูโนโกลบูลินหรือแอนติบอดีย์ที่พบในซีรั่ม และในสารคัดหลั่งต่างๆ ของร่างกาย โดยในซีรั่มจะพบได้ประมาณ 1/6 ของ IgG
ส่วนในสารคัดหลั่งเช่นน้ำนม น้ำลาย น้ำตา สารคัดหลั่งในระบบทางเดินอาหาร เป้นต้น
- ช่วยป้องกันการติดเชื้อในบริเวณเยื่อเมือก (mucosal surface) ของระบบทางเดินอาหาร/ระบบทางเดินหายใจ ด่านแรกของการป้องกัน
- ปกติ IgA จะพบมากในสารคัดหลั้งสูงมากกว่าตัวอื่นๆ
- จะเพิ่มระดับสูงขึ้นมากในผู้ป่วยที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร
IgM เป็นสารอิมมูโนโกลบูลิน/แอนติบอดีย์ตัวเรกที่สร้างขึ้นเมื่อพบกับแอนติเจน เป็นสารอิมมูโนโกลบูลินชนิดแรก ที่ทารกเริ่มสร้างได้เอง โดยหากทารกมี การติดเชื้อตั้งแต่ในครรภ์มารดาจะตรวจพบได้ในระดับสูง
เป็นสารอิมมูโนโกลบูลินที่มีความจำเพาะพิเศษต่อ lipopolysaccharide ของแบคทีเรียชนิดแกรมลบ (เป็นตัวสำคัญในการกำจัดแบคทีเรียกลุ่มนี้)
IgD พบได้น้อนมากในซีรั่ม เชื่อว่าช่วยควบคุมการตอบสนองทางอิมมูน แอนติบอดีย์ใน โรคออโตอิมมูนเป็นชนิด IgD
IgE ตรวจพบเป็นตัวล่าสุด พบได้ในสารคัดหลั่งของร่างกาย พบในซีรั่มได้น้อย หน้าที่สำคัญเป็นตัวร่วม ที่จะทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ ชนิด anaphylaxis หรือ type I hypersensitivity (ภูมิคุ้มกันไวเกิน ชนิด ที่หนึ่ง)
ตรวจพบได้ใน ระดับสูงกว่าปกติ ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อพยาธิ์ในร่างกาย

การผสานกันในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากร่างกาย

โดยปกติแล้วในการสร้งแอนติบอดีย์หรือภูมิต้านทานต่อสิ่งแปลกปลอมหรือแอนติเจนที่เข้ามาในร่างกายนั้นจะเป็นการ
ผสานกันระหว่าง B-lymphocyte / T-lymphocyte แลพ Macrophage โดยตัวที่ทำหน้าที่ผลิตแอนติบอดีย์
เพื่อตอบสนองต่อแอนติเจนนั้นเป็นหน้าที่ของ พลาสม่าเซล (plasma cell) ซึ่งถือกำเนิดมาจาก B-lymphocyte
โดยแอนติเจนในธรรมชาติส่วนใหญ่ในการกำจัดออกจะเป็นการอาศัยความช่วยเหลือ ร่วมมือกันจาก helper T cell และ macrophage โดยเมื่อเจ้าสิ่งแปลกปลอมหรือแอนติเจนที่เข้าสู่ร่างกายจะไปทำปฏิกริยากับ macrophage แบบไม่จำเพาะเจาะจง ก่อนโดย macrophage จะมีการเตรียมแอนติเจนนั้นให้พร้อมเพื่อส่งให้ กับ T lymphocyte ที่ส่วนผิวของ T cell จะมีส่วนที่คอยจับ กับแอนติเจนนั้นเรียกว่า T cell antigen receptor เมื่อ T cell antigen receptor จับกับ แอนติเจนเป็นที่เรียบร้อยแล้วจะ ปล่อยตัวเองออกจากผิวของ T cell มาจับกับ macrophage ที่ส่วน Fc receptor บนผิวของ macrophage แทน จากนั้น macrophage ก็จะพาไปพบกับ B lymphocyte ซึ่งเจ้า B cell นี้ก็จะจับกับเจ้าแอนติเจน-สิ่งแปลกปลอมไว้โดยใช้ส่วนที่ผิวที่เรียกว่า surface immunoglobulin และจะเริ่มตอบสนองต่อแอนติเจนนั้นโดยการเริ่มเพิ่มจำนวน (proliferation) และเปลี่ยนรูปร่าง (differentiation) เป็นพลาสม่าเซล (plasma cell) และพลาสม่าเซลก็จะเริ่ม ผลิตแอนติบอดีย์ที่มีฤิทธิ์จำเพาะต่อสิ่งแปลกปลอมนั้น-แอนติเจน ออกมา lymphocyte

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหา