Clock


วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

สารสื่อนำประสาท Neurotransmitter Substances

สารสื่อประสาทเป็นสารเคมีที่สรางจากปลายเซลล์ประสาทหรือตัวเซลล์ประสาท และหลั่ง ออกจากปลายประสาทเพื่อเป็นตัวนําสัญญาณ ประสาท (Neurotransmission) ผ่านไซแนปซ์ (Synapse) หรือช่องว่างระหว่างเซลล์ประสาทกับเซลล์กลามเนื้อหรือเซลล์ประสาทกับเซลล์ ประสาท สารสื่อประสาทมีตั้งแต่โมเลกุลขนาดเล็กอย่างเช่น อะเซทีลคลอรีน (Acetylcholine) โดปามีน (Dopamine) นอร์อีพีเนฟรีน (Norepinephrine) เซโรโตนิน (Serotonin) กรดอะมิโนหลายชนิดอย่างเช่นไกลซีน (Glycine) กลูตามิคแอซิด (Glutamic acid) แกมมา-อะมิโนบิวทีริค แอซิด (γ-aminobutyric acid) จนกระทั่งถึงโมเลกุลขนาดใหญ่อย่างเช่นซับสแตนซ์พี (Substance P) วาโสเพรสซิน (Vasopressin) รวมถึงพวกรีลีสซิ่งและ อินฮิบิติ่งฮอร์โมน (Releasing and inhibiting hormone) ในไฮโปธาลามัสและสมองส่วนอื่น ๆ สารสื่อประสาทเหล่านี้ถูกหลั่งผ่านไซเนปส์โดยศักย์การทํางาน (Action potential) ที่ผ่านมายังปลายประสาทแล้วทําใหสารสื่อประสาทจับกับตัวรับ (Receptor) ทําใหเกิดการเปลี่ยนการผ่านเขาออกของไอออนที่เยื่อหุมเซลล์ (Membrane) ของเซลล์ถัดไปเกิดการดีโพลาไรเซชั่น (Depolarization) หรือเกิดภาวะกระตุ้น(Excitation) เซลล์ถัดไป แต่อาจมีผล ทําใหเซลล์ถัดไปเกิดไฮเปอร์โพลาไรเซชั่น (Hyperpolarization) หรือ เกิดภาวะยับยั้งเซลล์ถัดไปทําใหไม่เกิดสัญญาณประสาทใหม่ขึ้น

การสร้าง และการทำงานของสารสื่อประสาท (Neurotransmitter)

กระบวนการทั้งหมดตั้งแต่การสรางสารสื่อประสาท (Synthesis) การเก็บรักษา (Storage) การหลั่งสารสื่อประสาท (Release) และการกําจัด สารสื่อประสาท (Clearance) ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้เรียกว่านิวโรทรานสมิสชั่น (Neurotransmission) ซึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงระหว่าง ปฏิกิริยาทางชีวเคมี และทางไฟฟ้าของเซลล์ ซึ่งแบ่งกระบวนการนิวโรทรานสมิสชั่นได 3 ขั้นตอนดังนี้

1. การสังเคราะห์และการเก็บสารสื่อประสาท บริเวณสารสื่อประสาทขึ้นอยู่กับชนิดของ สารสื่อประสาท สารสื่อประสาทพวกอะเซทีลคลอรีน นอร์อีพิเนฟริน โดปามีน อะดรีนาลีนและเซโรโตนิน
สารสื่อประสาทที่กล่าวถึงข้างต้นเหล่านี้สร้างขึ้นบริเวณปลายประสาท (Nerve terminal) โดยเอนไซม์ (Enzyme) และสารตั้งต้น (Precursor) ที่อยู่ปลายประสาท ในขณะที่สารสื่อประสาทพวกโซมา โตสเตติน (Somatostatin) เอนเคพาลิน (Encephalin) ซับสแตนซ์พี (substance P) สารสื่อประสาทพวกนี้จัดเป็นชนิดนิวโรเปปไตด์ (Neuropeptid) ที่ถูกสร้างขึ้นตาม กระบวนการสังเคราะห์สารโปรตีนทั่วไป (protein synthesis) ถุงบรรจุสารสื่อประสาทที่สร้างขึ้น (Secretory vesicles) จะเคลื่อนไปยังปลายประสาทแบบที่เรียกว่า ฟาสท์แอกโซนอลทรานสปอร์ต (Fast axonal transport) และเรียกถุงที่บรรจุสาร สื่อประสาท นี้ว่า ถุงบรรุสารสื่อประสาทที่ไซแนปซ์ (Synaptic vesicles) ซึ่งห่อหุ้มด้วยเยื่อหุ้มชั้นเดียว เป็นการป้องกันไม่ให้สารเหล่านี้ถูกทำลาย โดยเอนไซม์ที่อยู่ใน ไซโตพลาสซึมและออร์แกแนลของเซลล์ประสาท นอกจากนี้การเก็บสารสื่อประสาทจํานวนมาก ในถุงจะเป็นการช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพในการหลั่งสารสื่อประสาทไดทีละมาก ๆ เมื่อมีศักย์การทํางานมา กระตุ้นใหเกิดการหลั่งสารสื่อประสาทออก จากปลายประสาท

2. กระบวนการหลั่งสารสื่อประสาท กลไกการหลั่งสารสื่อประสาทเกิดขึ้นโดยคลื่นประสาทหรือ ศักย์การทํางานวิ่งมายัง ปลายประสาท กระตุ้นให้ ไอออนแคลเซี่ยม (Calcium) จากของเหลวนอกเซลล์ (Extracellular fluid) ซึมผ่านเยื่อหุมเซลล์ปลายประสาทมากขึ้น กระตุ้นใหถุงบรรจุสารสื่อประสาท เคลื่อนมารวมเยื่อหุมเซลล์ประสาทแล้วปล่อยสารสื่อประสาทออกสู่ไซแนปซ์แบบเอก โสไซโตซิส (Exocytosis) ส่วน เยื่อหุมเซลล์ของถุงบรรจุ สารสื่อประสาท จะกลับเขาสู่ไซโตพลาสซึมเอาไว้ใชสรางถุงบรรจุสารสื่อประสาทใหม่ต่อไป ไซแนปซ์ในสมองทั่วไปกวางประมาณ 200 อังสะตอม (AO) ส่วนไซแนปซ์ ระหว่างเซลล์ประสาทกับเซลล์กลามเนื้อ (Neuromuscular synapse) ห่างกันประมาณ 500 อังสะตอม ใชเวลาเดินทางถึงเซลล์กลามเนื้อ ประมาณ 0.5 มิลลิวินาทีถึง 2 มิลลิวินาทีเรียกค่านี้ว่า ไซแนปซ์ติคดีเลย์ (synaptic delay) เมื่อสารสื่อประสาทเดินทางไปยัง เซลล์ถัดไปแล้วจะจับกับ ตัวรับที่เยื่อหุมเซลล์ อิทธิพล ของ สารสื่อประสาท ตัวหนึ่ง ๆ ต่อ การตอบสนองของเซลล์นั้นขึ้นชนิดตัวรับที่ปรากฏอยู่ในเซลล์นั้น ๆ อย่างเช่น อะเซทีลคลอรีนที่จับกับ ตัวรับที่เซลล์กลามเนื้อโครงร่าง (Skeletal muscle) จะส่งผลใหเกิดการ กระตุ้นเซลล์กลามเนื้อ หรือเกิดการดีโพลาไรเซชั่นเกิดขึ้น เนื่องจากตัวรับที่เซลล์กลามเนื้อเป็น ตัวรับที่เรียกว่า ตัวรับนิโคตินิค (Nicotinic receptor) ที่ส่งผลใหเกิดการซึมผ่านของ โซเดียมเขาสู่เซลล์กลามเนื้อใน
ขณะที่สารสื่อประสาทอะเซทีลคลอรีนที่จับกับตัวรับที่เซลล์กลามเนื้อหัวใจ กลับส่งผลใหเกิดการยับยั้ง (Inhibition) หรือเกิดไฮเปอร์โพลาไรเซชั่นของ เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เนื่องจากตัวรับที่เซลล์กลามเนื้อหัวใจเป็นตัวรับที่เรียกว่ามัสคารินิค (Muscarinic receptor) ที่ส่ง ผลใหเกิด การซึมผ่านของ โพแตสเซียม ออกสู่นอกเซลล์

กลไกที่กล่าวมาข้างต้นเป็นผลของสารสื่อประสาทที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงเขา ออกของไอออนต่าง ๆ โดยตรง (Ionotropic effect) นอกจากนี้แล้ว สารสื่อประสาท ยังอาจมีผลไปกระตุ้นการเปลี่ยนแปลง เมแทบอลิซึมของเซลล์ที่กระตุ้น (Metabotropic effect) โดยอาศัยระบบเอนไซม์ที่เรียกว่า อะดีนัยเลสไซเคลส (Adenylase cyclase system) แต่กลไกชนิดนี้เกิดขึ้นชาและกินเวลานานและมี ผลต่อการเขาออกของไอออนในเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังพบตัวรับที่ปลายประสาทของเซลล์ประสาทก่อนไซแนปซ์ (Presynaptic cell) ตัวรับชนิดนี้เรียกว่าออโตรีเซปเตอร์ (Autoreceptor) ซึ่งสารสื่อประสาทที่จับกับ ตัวรับชนิดนี้ ส่งผลใหเกิดการควบคุมแบบยอนกลับชนิดลบ (Negative feedback mechanism) ยับยั้งการหลั่งสารสื่อประสาท ออกมามากเกินไป

3. กระบวนการกําจัดสารสื่อประสาท เป็นการกําจัดสารสื่อประสาทออกจากไซแนปซ์ภายหลัง ที่สารสื่อประสาทดังกล่าวทําใหเกิดสัญญาณศักย์การทํางาน หรือคลื่นประสาทใหม่ในเซลล์ตอบสนอง
วิธีการในการกําจัดสารสื่อประสาทมีอยู่ 3 วิธีดังนี้

3.1 การทําลายโดยเอนไซม์ อย่างเช่นอะเซทีลคลอรีนถูกทําลายโดยอะเซทีลคลอรีนเอสเตอเรส (Acetylcholine esterase) ซึ่งอยู่ตามผิวของ เยื่อหุ้มเซลล์ไดสารคลอรีน (Choline) และกรดอะซีติค (Acetic acid) แล้วสารสารคลอรีน จะถูกดูดซึมกลับเขา สู่ปลายประสาท เพื่อนําไปใช้ในการสร้างสารสื่อประสาทใหม่อีกครั้งเป็นการประหยัดพลังงาน สารที่ถูกดูดกลับจะถูกใส่เขาไปใน ถุงบรรจุสาร สื่อประสาทใหม่ กระบวนการดูดซึมสารกลับเขาสู่ปลายประสาทเป็นการกระบวนการขนส่งที่ตอง ใชพลังงาน (Active transport)
3.2 การแพร่กระจาย (Diffusion) ของสารสื่อประสาทจากไซเนปส์เขาสู่ของเหลวนอกเซลล์เช่นเลือดแล้วไปทําลายใน ตับ ไตและ กําจัดออก ทางปัสสาวะในเวลาต่อมา
3.3 สารสื่อประสาทถูกดูดซึมโดยเกลียลเซลล์ (Glial cell) ที่อยู่รอบ ๆ ปลายประสาท เอาไปใขในไซโตพลาสซึมต่อไปการติดต่อสื่อสาร ระหว่าง เซลล์ต่อเซลล์ที่ไซแนปซ์ (Cell-to-cell communication)


ชนิดของสารเคมีในสมอง

กลุ่มกระตุ้นสมอง ได้แก่ Serotonin Endorphin Acetylcholine Dopamine ฯลฯ
กลุ่มกดการทำงานของสมอง เช่น Adrenaline cortisol


กลุ่มแรกกลุ่มกระตุ้นสมอง จะทำหน้าที่ ควบคุมความประพฤติ การแสดงออก อารมณ์ ทำให้สมองตื่นตัว และมีความสุข ทำให้การอ่านข้อมูลข่าวสาร ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายรู้สึกดี มีความสุข ทำให้เพิ่มภูมิต้านทาน สุขภาพแข็งแรง

จะหลั่งมากเมื่อ การออกกำลังกาย การได้รับคำชมเชย การร้องเพลง การเล่นเป็นกลุ่ม สิ่งแวดล้อมในห้องเรียนที่ดี การให้ทำกิจกรรมกลุ่ม การได้รับสัมผัสที่อบอุ่น (affirmation touch) การมองเห็นคุณค่าของตนเอง การเล่นดนตรี และเรียนศิลปะโดยไม่ถูกบังคับ การได้รับสิ่งที่ชอบ ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

ยกตัวอย่างกลุ่มแรก

Dopamine : ควบคุมการเคลื่อนไหว ถ้าต่ำมีผลต่อความจำที่ใช้กับการทำงาน ถ้าสูงมาก เกินไป เกิดโรคจิตประสาทหลอน และจะลดลง เมื่ออายุมากขึ้น ผู้ชายจะลดลงมากกว่า ผู้หญิง
Serotonin : ทำให้รู้สึกอารมณ์ดี ทำหน้าที่ส่งข้อมูล เกือบทุกข่าวสารผ่านที่ต่างๆ ในสมอง ถ้าขาดจะทำให้คนซึมเศร้า มองคุณค่าตัวเองต่ำ
Acetylcholine : ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายทำให้ข้อมูลส่งผ่านได้ดีขึ้น มีบทบาท สำคัญในความจำระยะยาว ช่วยให้สมองเก็บความรู้ที่เราเรียนในเวลากลางวันไปเก็บใน สมองในเวลาที่เรากำลังหลับ เป็นสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับความฝัน ถ้าขาดสารนี้
ทำให้สมาธิลดลง ขี้ลืม นอนไม่ค่อยหลับ
Endorphin (Endogenous morphine) : เป็นยาชาในร่างกายตามธรรมชาติ ทำให้รู้สึกเจ็บ น้อยลง เช่น ผู้หญิงขณะคลอดจะผลิตสารนี้ 10 เท่า เป็นสารเคมีที่ทำให้ เกิดความสุข อารมณ์ดี และสมองจะเจริญเติบโต และ เรียนรู้ได้ดี ถ้าขาดสารนี้จะทำให้เราขาดความสุข แม้จะฟังเพลงที่เคยชอบ ถ้ามี สารนี้มากจะมีอารมณ์ดีเป็นพิเศษ และสนุกสนาน

การออกกำลังกายและทำกิจกรรมอื่นๆ หรือการวิ่ง จะทำให้สารนี้หลั่ง หรือการให้ทาน การช่วยเหลือผู้อื่น จะทำให้สารเคมีนี้หลั่งเช่นกัน
สังเกตได้ว่า ถ้าเราออกกำลังกายหรือไดช่วยเหลือผู้อื่น จะทำให้รู้สึกดี สมองปลอดโปร่อง มีความสุข (ไม่ เชื่อ ท่านลองออกกำลังกาย หรือได้ช่วยเหลือผู้อื่นดูสิคะ) แต่ไม่ใช่ออกกำลังกายที่ถูกบังคับ หรือเคี่ยวเข็ญ ซึ่งจะเกิดความทุกข์แทน
การหลั่งของ Serotonin Dopamine Endorphin ทำให้เขาสามารถเรียนรู้ และจำ ได้ดีขึ้น และสมองจะเจริญเติบโตดี เกิดจากการออกกำลังกาย การ สัมผัสที่อบอุ่นการยิ้มแย้มแจ่มใส และการมีความสัมพันธ์ที่ดี การ มองตนในแง่ดี การชมเชย การภูมิใจตนเองทำให้ร่างกายรู้สึกดี และ มีภูมิต้านทานสูงขึ้น เพราะฉะนั้น ครู และพ่อแม่ อาจจะต้องหาช่องทางที่จะชมเชยเด็กอยู่เสมอ
และให้มีการออกกำลังกาย เคลื่อนไหวในขณะที่เรียนบ้าง ไม่ดุเด็กมากมายจนขาด เหตุผล แต่พยายามกระตุ้นให้เด็กมีความสนุกกับการเรียน จะทำให้เด็กมี ความสุข สามารถเรียนรู้ และจำได้ดีขึ้น เด็กอยาก จะเรียนวิชานั้นมากขึ้น คุณครู ทดลองทำดูได้ค่ะ
เราสามารถสร้างภาวะเหล่านี้ในห้องเรียน เช่น ยืนขึ้น ยืดเส้นยืดสาย การเล่นกล เล่นตลก กายบริหารสักเล็กน้อย บิดตัวไปมา ทั้งหลายเหล่านี้เป็น
รูปแบบหนึ่งของการออกกำลังกาย เพิ่มการเต้นของหัวใจและการ หายใจ หรืออาจจะใช้ลูบหัว จับมือ โอบไหล่ (ครูเพศตรงข้ามห้ามทำ) ตบหลัง
เบาๆ ให้กำลังใจ การจับกลุ่มกันทำงาน ทำให้เด็กรู้สึกว่ามีส่วนร่วม การดูแลจากครูดี รู้สึกมั่นคงทำให้หลั่งสาร Endorphin (Jensen 1998) รวมทั้ง การร้องเพลง ดนตรี โดยเฉพาะกลุ่มดนตรีจังหวะสนุกสนานเร้าใจ ที่ อิสระไม่ได้ถูกบังคับ ก็จะทำให้สารเคมีที่ดีเหล่านี้หลั่ง ซึ่งจะมีผลทำ ให้สมองปลอดโปร่ง มีความสุข สุขภาพดี และความจำดี

กลุ่มที่ 2 กลุ่มกดการทำงานของสมอง เป็นสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับความเครียด จะหลั่งเมื่อสมองได้รับความ กดดัน ความเครียดอย่างต่อเนื่องซึ่งทำให้ ยับยั้งการส่งข้อมูลของแต่ละเซลล์สมอง ยับยั้งการเจริญเติบโตของสมองและใยประสาท คิดอะไรไม่ออก ยับยั้งเส้นทางความจำทุกๆ ส่วน ภูมิต้านทานต่ำ เป็นภูมิแพ้ มะเร็งได้ง่าย ทำลายเซลล์สมองและใยประสาท (Khalsa 1997)
Cortisol สูงทำให้
• Hyperactive
• กังวล
• สมาธิสั้น ควบคุมไม่ได้
• ความสามารถในการเรียนลดลง

Cortisol คล้าย Adrenaline ถ้ามีมากจะมีพิษต่อสมอง เป็นสารที่เกี่ยวกับการตกใจและการ ต่อสู้ การตอบสนองต่อความเครียด ถ้ามีมากเกินไปจะมีอันตราย ต่อทั้งอารมณ์และร่างกาย สารนี้จะ หลั่งเมื่อมีความรู้สึกไม่ดี ความเครียด (เรื้อรัง) มีความทุกข์ การ มองเห็นคุณค่าตัวเองต่ำ โดนดุด่าทุกวัน ซึมเศร้า โกรธ เข้มงวด เกินไป วิตกกังวล ซึ่งจะทำให้เกิดการทำลายองค์ประกอบภายในสมอง ไม่ ว่าใยประสาทต่างๆ หรือแม้แต่เซลล์สมอง รวมทั้งจะหยุดยั้งการส่ง ข้อมูลระหว่างเซลล์สมอง ทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ คุณครู หรือ พ่อ แม่ ผู้ใกล้ชิดต้องระวัง ไม่ให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ ในขณะสอน หรืออยู่กับเด็ก ภาวะ Cortisol สูงจะทำให้ระบบย่อยอาหารผิดปกติ เช่น เป็นโรค กระเพาะ ระบบไหลเวียนโลหิต เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือ ทำให้ภูมิต้านทานต่ำ เป็นโรคภูมิแพ้ มะเร็งได้ง่าย ซึ่งเคยมีเหตุการณ์ เหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยๆ เช่น ครูที่ดุ หรือเคร่งครัดมากๆ หรือคนที่ทำงาน เครียดมากๆ นานๆ เกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคหัวใจ ฯลฯ ท่านลองสังเกตบุคคลรอบๆ ตัวดูได้ค่ะ


เส้นทางเดินของข้อมูลข่าวสาร (The Information Trail)

ข่าวสารได้เข้าสู่สมองโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า (หู ตา จมูก ลิ้น สัมผัส) ข้อมูลข่าวสารเหล่านั้น จะถูกกลั่นกรอง ที่บริเวณก้านสมองเข้าสู่ทาลามัส (thalamus หรือสมองชั้นใน) เพื่อแยกแยะข้อมูลข่าวสาร เช่น ถ้าเป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเห็น ทาลามัสจะส่งข้อมูลข่าวสาร ไปยังหน่วยที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเห็นของเปลือกนอก (cortex) ถ้าได้เป็นข้อมูลข่าวสาร ไปยังหน่วยหรือเปลือกนอก ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ การได้ยิน (auditory cortex) เมื่อข้อมูลเดินทางมาถึง ซีรีบรัล คอรเท็ค (cerebral cortex) หรือ ซีรีบรัม (cerebrum) ก็จะตัดสินว่าเราควรจะแสดงอาการทันที หรือบันทึกเก็บไว้ในหน่วยความจำ ที่จะทำให้จดจำได้นานๆ ขึ้นกับภาวะอารมณ์ และเหตุการณ์ขณะนั้น

นี่คือคำตอบที่ว่าเราจดจำได้อย่างไร เราเรียนรู้โลกของเราได้อย่างไร ซึ่งเป็นการทำงานของเซลล์สมองและใยประสาท แต่อย่างไรก็ตามในบางครั้ง มันไม่ได้เกิดด้วยวิธีที่ได้อธิบายข้างต้น ดังเช่น เวลาที่เราเครียด ตระหนกตกใจ หรือใจจดใจจ่อ กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ตื่นเต้น และน่าสะพรึงกลัว สมองเราจะทำงานแตกต่างไปจากภาวะปกติ ข้อมูลข่าวสารเหล่านั้น จะเข้ามาทางก้านสมอง เพื่อตัดสินว่าข้อมูลข่าวสารนั้นสำคัญอย่างไร และส่งต่อไปยังทาลามัส (thalamus) เพื่อจัดกลุ่ม และข้อมูลข่าวสาร จะถูกส่งต่อไปยังเปลือกนอกใหม่ (neocortex) เพื่อตัดสินว่าควรจะมีการส่งต่อข้อมูล ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ ที่ทำให้เราสามารถจดจำไปได้นานๆ หรือไม่ หากเราอยู่ในภาวะเครียดหรือตื่นเต้นโดยเฉพาะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอารมณ์ สมองชั้นในจะเริ่มทำงานทันที

ในภาวะฉุกเฉิน โดยสั่งงานต่อไปที่ก้านสมอง ให้เราแสดงปฏิกิริยาทันที (ก่อนทาลามัสจะส่งข้อมูลข่าวสารไปยังที่อื่น) นั่นคือ หัวใจจะเต้นรัว มือเย็น สั่น เป็นต้น และเตรียมพร้อมร่างกายของเรา สำหรับภาวะฉุกเฉิน โดยจะมีการหลั่งสารอาดรีนาลีน (adrenaline) และคอรติซอล (cortisol) ออกมา ทำให้ร่างกายของเราเริ่มส่งเลือด จากระบบการย่อยอาหาร ไปยังแขนขาเพื่อเป็นการเตรียมร่างกาย ให้พร้อมเพื่อความอยู่รอด หัวใจจึงต้องเต้นเร็วขึ้น เพื่อช่วยเร่งการส่งเลือดให้ถึงที่หมายเร็วขึ้น การตอบสนองร่างกายแบบนี้ จะทำให้ร่างกายสามารถอยู่รอดได้

ความเครียด และการลัดวงจร (Stress and Downshifting)

สารเคมีที่หลั่งออกมาเวลาเครียด จะหยุดยั้งการทำงานของสารสื่อนำประสาท (neurotransmitter) ในภาวะปกติ และจะมีการส่ง สัญญาณลัดวงจรเกิดขึ้น (downshifting) เป็นอาการที่สมอง เปลี่ยนการทำงานของระบบความคิดการสั่งงานที่สูงกว่า ไปยังระดับที่ต่ำกว่า เช่น เมื่อเราเดินเข้าไปในห้างสรรพสินค้า เป็นเวลาที่เปลือกนอกใหม่ (neocortex) ทำการตัดสินใจว่า เราจะไปที่ไหนและซื้ออะไร แต่ความที่กลัวว่า จะมีคนที่รู้จักมาพบเห็นสมอง ทำงานลัดวงจรโดยไม่ผ่านไปที่เปลือกนอกใหม่ (neocortex) เหมือนเคย แต่กลับอยู่ในสมองชั้นในแทน ซึ่งเป็นสัญชาติญาณเกิดภาวะทางอารมณ์ และการเอาตัวรวดเกิดขึ้น ทำให้เราลืมสิ่งที่เราต้องการซื้อได้

การทำงานของสมองของเรา จะถูกทำลายหากเราต้องอยู่ ในภาวะเครียดตลอดเวลา เมื่อสารเคมีที่เกิดขึ้นในภาวะเครียดถูกปลดปล่อยออกมา สารเคมีเหล่านั้น ถ้ามีมากเกินไปนานๆ จะทำให้ระบบการทำงานของสมองของเรา ถูกยับยั้ง ทำลายใยประสาท และจะหลงเหลือ อยู่ในร่างกายของเรา ได้นานกว่าสารเคมีชนิดอื่นๆ การที่มีคอรทิซอล (cortisol) หลงเหลืออยู่จะกลายเป็นสารพิษ ทำลายสมอง ส่วนที่เก็บหน่วยความจำ ที่ทำให้เราจำได้นานๆ (Jensen, 1998) แต่ความเครียดหรือความกดดันชั่วคราว บางครั้งก็มีประโยชน์เหมือนกัน เพราะจะช่วยให้เราตอบสนองปัญหาแปลกๆ ได้ เช่น การที่หัวใจเต้นเร็ว และมือเย็นอาจจะเกิดขึ้นได้ สำหรับเหตุการณ์บางเหตุการณ์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเหตุการณ์ ที่มีความรุนแรงเสมอไป เช่น การสัมภาษณ์งาน การนำเสนองาน และการที่เราเป็นคนไข้ จะเข้าห้องผ่าตัด แต่ถ้าเกิดภาวะเครียดมากๆ เป็นประจำทุกวัน ผลก็จะต่างออกไป เช่น เด็กกำพร้า ที่ถูกทำร้ายร่างกายนานๆ และบ่อยๆ และถูกข่มขืน อาจจะก่อให้เด็กเกิดความกลัวตลอดเวลา ทำให้สมองบางส่วนถูกทำลาย (อารมณ์ความคิด) ก็จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาต่อความจำ และการเรียนรู้ เช่นเดียวกัน ภาวะนี้จะเป็นสาเหตุที่เกิด การทำลายเซลล์ประสาท (neurons) (Khalsa, 1997)
บางครั้งเราอาจจะลืมคิดไปว่า เราอาจจะเป็นคนที่กระตุ้น ให้เกิดความเครียดในเด็กโดยไม่รู้ตัว ตัวอย่างเช่น นักเรียนของคุณเดินเข้ามาในห้องเรียน แต่ละคนสนใจแต่เรื่อง งานโรงเรียนที่จะเกิดขึ้นในเย็นวันนี้ กลุ่มนักเรียนหญิงกำลังคุยกันว่า จะใส่ชุดไหนมางานดี ส่วนกลุ่มเด็กผู้ชายก็กำลังคุยกันว่า จะนำเงินมาจำนวนเท่าไร เพื่อเล่นเกมต่างๆในงานโรงเรียน การที่จะให้นักเรียนหยุดคุยนั้น เป็นเรื่องยาก คุณหมดความอดทนและได้ประกาศด้วยเสียงอันดังว่า "นักเรียนเอากระดาษขึ้นมาคนละหนึ่งแผ่น เราจะมีการทดสอบกันเดี๋ยวนี้" ทันใดนั้น นักเรียนเริ่มตกใจขึ้นมาทันที นักเรียนเริ่มเปลี่ยนเรื่องที่จะต้องคิด และลืมเรื่องงานโรงเรียน คุณได้ตั้งคำถามไว้สิบคำถาม จากการเรียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งคาดว่านักเรียนควรจะเข้าใจสิ่งที่เรียนมานั้นเมื่อการทดสอบได้เสร็จสิ้น คุณเก็บข้อสอบพร้อมทั้งตรวจข้อสอบอย่างรวดเร็ว ผลไม่เป็นที่น่าพอใจ ผลสอบออกมาได้ต่ำกว่าเกณฑ์ ทำให้คุณเริ่มโกรธมากขึ้น คุณเริ่มดุนักเรียนและพูดว่า เพราะนักเรียนไม่ตั้งใจเรียนเท่าที่ควร ดังนั้น นักเรียนจะต้องเรียน ทบทวนซ้ำใหม่อีก คุณตั้งคำถามท้ายบทอีกยี่สิบข้อ นักเรียนก็จะพยายามทำงานให้เสร็จในห้องเรียน เพราะงานโรงเรียนจะเริ่มเย็นนี้ และจะได้ไม่ต้องทำการบ้าน
อะไรเกิดขึ้น ทุกคนเริ่มทำงานภายใต้ภาวะกดดัน ข้อมูลข่าวสารจะไม่ผ่านไปยังเปลือกนอกใหม่(neocortex) เกิดการลัดวงจร โดยแต่ละคำสั่งลัดวงจร ไปที่บริเวณสมองด้านในเกี่ยวกับอารมณ์ทันที
นักเรียนจะเกิดภาวะทางอารมณ์ด้านลบ นั่นคือ เกิดความกลัวนั่นเอง และอาจโกรธร่วมด้วย คุณทำเช่นนี้เพราะคุณโกรธ คุณวู่วามในการให้มีการทดสอบ คุณควรจะเรียนรู้ ในการควบคุม
อารมณ์ตนเองให้ได้ นักเรียนของคุณจะไม่มีความสุข ขึ้นมาทันที เกี่ยวกับงานโรงเรียนที่จะเกิดขึ้น เพราะนักเรียนจะต้องมารู้สึก กลัวการทดสอบที่ไม่มีการบอกล่วงหน้าเช่นนี้ ข้อมูลข่าวสาร
จะไม่มีการส่งผ่านไปยังเปลือกนอกใหม่ (neocortex) แต่จะเกิดการส่งข้อมูลแบบลัดวงจร ทำให้ผลสอบต่ำกว่าเกณฑ์ และครูยิ่งเพิ่มการสอบเข้าไปอีกยิ่งทำให้สมองนักเรียน เกิดการส่งข้อมูลแบบลัดวงจรยิ่งขึ้น มีการใช้อารมณ์มากกว่าการดึงความรู้ที่เคยเรียน และไม่ได้ใช้ความจำที่เปลือกนอกใหม่ (neocortex) ที่เป็นการใช้ความคิด ตามขั้นตอนปกติมาตอบคำถาม

มีอีกหลายสิ่งหลายอย่าง ที่เกี่ยวกับสมองซึ่งเรายังไม่รู้ บางเรื่องนั้นง่ายต่อการเข้าใจ เรารู้ว่า เปลือกนอกใหม่เป็นที่ ซึ่งเราคิดเราวางแผน การจำ การจัดการ และการหาคำตอบในการแก้ปัญหา เรารู้ว่าเนื้อที่ของสมองชั้นใน (limbic area) เป็นที่ซึ่งเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งความรู้สึกเหล่านั้น มักอยู่เหนือเหตุผล และอยู่เหนือสิ่งอื่นใด ในหนังสือ "ความเป็นเลิศทางอารมณ์ของเดเนียล โกลแมน" (Emotional Intelligence, Daniel Goleman (1995)) ได้กล่าวถึงผลกระทบว่า ความเป็นเลิศทางอารมณ์จะส่งผลให้เด็ก ประสบผลสำเร็จในชีวิตของเขา เดเนียลกล่าวว่า ความสามารถในการรู้จักควบคุมอารมณ์ของเรา และรู้ถึงภาวะทางอารมณ์ของผู้อื่น และไม่ยินดียินร้าย ต่อความสมหวังหรือผิดหวังมากเกินไป นับเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดความเป็นเลิศ ทางอารมณ์ เพราะว่าอารมณ์ของเรา อาจเป็นแรงผลักดันที่ดีมากทำให้เราเกิดความตั้งใจที่จะทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จ อารมณ์จะเป็นจุดสำคัญที่เราจะต้องเข้าใจ และรู้จักควบคุมให้ดีเสียก่อนเป็นข้อแรก มีผลวิจัย
หลายๆ แห่งพิสูจน์มาแล้วว่า การมี EQ. ดีจะประสบความสำเร็จในชีวิต ได้มากกว่าคนที่มี IQ. สูง


สารเคมีในสมองที่ว่านี้ที่จริงต้องเรียกว่า "สารสื่อนำประสาท" ซึ่งมาจากคำว่า "neurotransmitter substances" สารพวกนี้เป็น สารเคมีที่เซลล์ประสาทสร้างขึ้นมา เพื่อใช้ในการส่งกระแสประสาท จากเชลล์ประสาทตัวหนึ่ง ไปยังอีกตัวหนึ่ง กล่าวคือ เมื่อเชลล์ประสาท ต้นทางถูกกระตุ้น กระแสประสาท ที่เกิดขึ้นที่ ตัวเชลล์จะไหล ไปตามเส้นประสาท ในลักษณะคล้ายๆ กระแสไฟฟ้า ไหลไปตามสายไฟฟ้า เมื่อกระแสประสาทไปถึงปลายเส้นประสาท กระแสประสาท จะกระตุ้นให้ปลายประสาทหลั่งสารสื่อนำประสาทออกมา สารสื่อนำประสาทที่ออกมา จะออกฤทธิ์ กับเซลล์ประสาทปลายทาง โดยมันจะไปจับและกระตุ้นตัวรับ (receptor) ซึ่งอยู่บนผิวของ เชลล์ประสาทตัวปลายทาง ทำให้เกิดกระแส ประสาทบนเชลล์ประสาทปลายทางตัวนั้น ส่งต่อๆไป แต่ก็ยังมีสารสื่อนำประสาทบางชนิด เช่น กาบ้า (GABA) ที่เมื่อจับ และกระตุ้นตัวรับแล้ว จะทำให้เชลล์ประสาทปลายทาง ทำงานน้อยลงทำให้กระแสประสาทหยุดลงแค่นั้น การที่สารสื่อนำประสาทที่ถูกหลั่งออกมาสามารถกระตุ้น หรือยับยั้งการทำงานของเชลล์ประสาทปลายทางได้นั้น ร่างกายจะต้องมี ระบบควบคุม ไม่ให้มันทำงานมากเกินไปโดย

1. มีตัวรับไว้ที่ปลายประสาทของเส้นประสาท ที่มาจากเชลล์ประสาทต้นทาง เพื่อคอยตรวจสอบว่า มีสารสื่อนำประสาทออกมา มาก พอหรือยัง ถ้ามีสารสื่อนำประสาทออกมามากสารสื่อนำประสาท จะยับยั้งการทำงานของเชลล์ประสาทต้นทาง ผ่านทางตัวรับนี้ ให้หยุดส่งกระแสประสาทได้แล้ว

2. มีระบบดูดกลับเพื่อคอยเก็บสารสื่อนำประสาทที่ถูกปล่อยออกมา แล้วกลับเข้าคืน ไปเก็บไว้ในปลายประสาทของ เชลล์ประสาท ต้นทาง ทำให้สารสื่อนำประสาทหยุดการกระตุ้นเชลล์ประสาทปลายทาง และยังสามารถ เก็บสารสื่อนำประสาท ที่ยังดีๆเหล่านี้ไว้ใช้คราวต่อไปได้อีก

3. มีเอนไซมส์ที่จะคอยย่อยสลายสารสื่อนำประสาทเหล่านี้ไว้คอยเก็บกวาดทำลายสารสื่อนำประสาทที่ยังหลงเหลืออยู่

สารสื่อนำประสาทกับฮอร์โมนเหมือนกันหรือไม่ ?

ไม่เหมือนกันครับ ฮอร์โมนเป็นสารเคมีที่สร้างโดยต่อมที่ไม่มีท่อ (เราก็เลยเรียกว่า "ต่อมไร้ท่อ") เช่น ต่อมไธรอยด์ ต่อมหมวกไต ต่อมใต้สมอง เมื่อมันไม่มีท่อฮอร์โมนที่ถูกสร้างขึ้นมาก็จะออกจากต่อม โดยถูกกระแสเลือด ที่มาเลี้ยงต่อมนี้ พาออกไปและกระจายไปทั่วร่างกาย ฮอร์โมนจะออกฤทธิ์กับอวัยวะที่มีตัวรับที่จำเพาะกับฮอร์โมนนั้นๆ ดังนั้น ฮอร์โมน จะถูกสร้างจากต่อมๆ หนึ่งแล้วกระจายไปทางกระแสเลือดไปทั่วร่างกาย ไปออกฤทธิ์กับอวัยวะใดก็ได้ อยู่ห่างจาก ต้นตอแค่ไหนก็ได้ ขอให้อวัยวะนั้นมีตัวรับเป็นใช้ได้ แต่สารสื่อนำประสาท จะออกฤทธิ์กับเชลประสาทตรงรอยต่อ ที่ปลายประสาท ต้นทาง มาแตะกับเชลประสาทปลายทางเท่านั้น

แล้วสารสื่อนำประสาทที่ว่านี่มีกี่ชนิด ?

มีหลายชนิดมากครับแต่ตัวที่เกี่ยวข้องกับโรคทางจิตเวชมีอยู่ไม่กี่ตัวครับ ได้แก่

  • ซีโรโทนิน (serotonin) เกี่ยวข้องกับ โรคซึมเศร้า โรคไบโพล่าร์ โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคแพนิค โรคปวดศีรษะ
  • นอร์เอปิเนฟริน (norepinephrine) เกี่ยวข้องกับ โรคซึมเศร้า โรคไบโพล่าร ์ โรคแพนิค
  • โดปามีน (dopamine) เกี่ยวข้องกับ โรคจิตเภท โรคจิตชนิดอื่นๆและยาเสพติด
  • กาบ้า (GABA; gammabutyric acid) เกี่ยวข้องกับโรควิตกกังวลและแอลกอฮอล์
  • อะเซทิลโคลีน (Acetylcholine) เป็นสารเคมีที่มีหน้าที่เกี่ยวกับความจำ เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์ส
  • เอนดอร์ฟิน (Endorphins) เป็นสารเคมีที่ทำให้เรารู้สึก ผ่อนคลายหายเจ็บปวด การทำงานของเอนดอร์ฟินที่เกิดขึ้นในสมอง จะคล้าย ๆ การทำงานของสารหรือยามอร์ฟีน (Morphine) ที่ใช้ในทางการแพทย์ ในคนไข้ที่ได้รับความเจ็บปวดมาก ๆ เมื่อฉีดมอร์ฟีนเข้าไปจะทำให้ความเจ็บปวดลดลง เกิดอาการผ่อนคลาย สารเอนดอร์ฟินในสมองก็มีการทำงานแบบนี้เช่นกัน
  • เมลาโทนิน (Melatonins) สารนี้จะทำให้คนเราหลับสบาย จึงมีการนำสาร เมลาโทนิน มาช่วยทำให้นอนหลับ โดยเฉพาะคนที่เกิดอาการเจ็ตแล็ก (jet lag) หรืออาการนอนไม่หลับเมื่อเดินทางโดยเครื่องบินและมีการเปลี่ยนเวลา จากซีกโลกหนึ่งไปอีกซีกโลกหนึ่ง
  • เซโรโตนิน (Serotonins) ถ้าสมองมีสารนี้ในระดับที่พอเหมาะ จะทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียด มองโลกในแง่ดี ถ้าหากมีระดับสารเซโรโตนินต่ำ ก็จะทำให้เกิดอารมณ์ซึมเศร้า โรคซึมเศร้า โรคไบโพล่าร์ โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคแพนิค โรคปวดศีรษะ
    ซับสแทนซ์พี (Substance P) เป็นสารเคมีที่ทำให้เรารู้สึก เจ็บปวด สารตัวนี้จะเป็นตัวสื่อความเจ็บปวด และยาเช่น มอร์ฟีน หรือ สารเอนดอร์ฟิน สามารถลดการทำงานของซับสแทนซ์พี ทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดน้อยลง

แล้วทำไมอยู่ๆสารสื่อนำประสาทถึงได้เสียสมดุลย์ ?

ไม่ทราบครับ ! อ้าว...ทำไมไม่ทราบล่ะ...ก็เพราะว่านักวิทยาศาสตร์เขาก็ยังไม่รู้แน่ว่า ทำไมอยู่ๆถึงได้เป็นอย่างนั้น เพราะข้อมูลยังขาดอีกมากและการศึกษาในเรื่องนี้ก็ทำได้ยาก แต่ก็มีสมมติฐานอยู่หลายอย่าง เช่น พันธุกรรม ความเครียด ยาหรือสารเสพติดบางอย่าง การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย การเปลี่ยนแปลง ของความยาว ของกลางวัน กลางคืนในฤดูกาลต่างๆ ฯลฯ

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสารสื่อนำประสาทในสมองของเราเสียสมดุลย์หรือยัง ?

ข้อมูลต่างๆที่เราเอามาอธิบายกันเป็นตุเป็นตะนั้น ได้มาจากการศึกษาในผู้ป่วยทางจิตเวช ผู้ศึกษาจะเลือก ผู้ป่วยที่มีอาการ คล้ายๆ กันมาศึกษาด้วยกัน วิธีการก็มีหลายๆแบบตั้งแต่ศึกษาจาก ผลของการใช้ยา ที่ออกฤทธิ์ต่อ สารสื่อนำประสาท ชนิดต่างๆ ตรวจหาสารที่เกิดจาก การสลายตัวของสารสื่อนำประสาทนั้นๆในปัสสาวะ ไปจนถึง การใช้สารกัมมันตรังสี ติดไปกับ สารที่จะนำไปสร้างเป็นสารสื่อนำประสาทนั้น หรือติดกับ สารที่จะไปจับกับ ตัวรับของสารสื่อนำประสาท แล้วสแกนสมองด้วยเครื่องมือพิเศษ เช่น PET scan ซึ่งแพงมาก (ประเทศอังกฤษซื้อ PET scan เครื่องที่ 3 เมื่อปี 1993 ในราคาประมาณ 10 ล้านปอนด์ หรือ 400 ล้านบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนช่วงนั้น) แล้วพยายามหาคำอธิบาย ที่สามารถอธิบายผล การศึกษาต่างๆให้ได้สมเหตุผลมากที่สุด ทำให้เมื่อพบ ผู้ป่วยที่มีอาการ ที่เข้าได้กับที่มี การศึกษาไว้เราก็สามารถตั้งสมมุติฐานได้ว่า ผู้ป่วยรายนั้นน่าจะมีสารสื่อนำประสาทเสียสมดุลย์แบบใด เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้า กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ร้องห่มร้องไห้ วันๆคิดแต่จะฆ่าตัวตาย แบบนี้แสดงว่า ในสมองน่าจะขาดซีโรโทนิน และ นอร์เอปิเนฟริน หรือ เมื่อเจอผู้ป่วยที่บอกว่า ตนมาจากราชธานีใหม่ในอนาคต ห่างจากพศ.นี้ไปอีก 200 กว่าปี แบบนี้ในสมองของเขาน่าจะมีโดปามีนทำงานอยู่มากเกินไป เป็นต้น ดังนั้นในการตรวจรักษากันจริงๆ เราไม่มีการส่งผู้ป่วยไปตรวจดูสารสื่อนำประสาทอย่างใน เรื่องของฮอร์โมน แต่เราจะนำความรู้ที่ได้จากการวิจัยนี้มาใช้เลือกยาที่จะรักษา

แล้วจะทำอย่างไรให้มันหายเสียสมดุลย์ ?
การให้การรักษาด้วยยาจิตเวชเป็นการเข้าไปจัดการกับสารสื่อนำประสาทในสมอง เพราะยาทางจิตเวช ทุกชนิดออกฤทธิ์ กับ สารสื่อนำประสาทเช่น ยาแก้โรคจิต หวาดระแวง หูแว่ว จะยับยั้งการทำงานของโดปามีน ยาแก้โรคซึมเศร้า จะเพิ่ม สารซีโรโทนิน และ/หรือ นอร์เอปิเนฟริน ยาคลายกังวลและ ยานอนหลับจะเสริมฤทธิ์ของกาบ้า เป็นต้น ยาเหล่านี้ ทำให้อาการทางจิตเวชดีขึ้นและเราก็เชื่อว่าอาการที่ดีขึ้น เกิดจาก การที่ สารสื่อนำประสาท ในสมอง ถูกปรับให้เข้าที่ เข้าทางนั่นเอง

โรคซึมเศร้า

มีการประเมินว่าในระยะเวลา 1 ปีจะมีประชาชนร้อยละ 9 จะเป็นโรคนี้ ทำให้สูญเสียทางเศรษฐกิจประเมินมากมาย แต่สูญเสียคุณภาพชีวิตรวมทั้งความทุกข์ที่เกิดกับผู้ป่วยจะประเมินมิได้ โรคซึมเศร้าจะทำให้การดำรงชีวิตเปลี่ยนแปลง และเกิดความเจ็บปวดทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล บางครั้งอาจจะทำให้ครอบครัวแตกแยก

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้าและไม่ได้รับการรักษา ทั้งที่ปัจจุบันมียาและวิธีการรักษาที่ได้ผลดี บทความนี้จะเป็นแนวทางใน การวินิจฉัยหากพบว่า คนที่รู้จักมีอาการเหมือนกับ โรคซึมเศร้ารีบแนะนำ ให้เขาไปพบจิตแพทย์

โรคซึมเศร้าคืออะไร

โรคซึมเศร้าเป็นการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจและความคิด ซึ่งผลของโรคกระทบต่อชีวิตประจำวันเช่นการรับประทานอาหาร การหลับนอน ความรับรู้ตัวเอง ผู้ป่วยไม่สามารถประสานความคิด ความรู้สึกของตัวเพื่อแก้ปัญหา หากไม่รักษาอาการ อาจจะอยู่เป็นเดือน

โรคซึมเศร้ามีกี่ชนิด

1. Major depression ผู้ป่วยจะมีอาการ(ดังอาการข้างล่าง)ซึ่งจะรบกวนการทำงาน การรับประทานอาหาร การนอน การเรียน การทำงาน และอารมสุนทรีย์ อาการดังกล่าวจะเกิดเป็นครั้งๆแล้วหายไปแต่สามารถเกิดได้บ่อยๆ
2. dysthymia เป็นภาวะที่รุนแรงและเป็นเรื้อรังซึ่งจะทำให้คนสูญเสียความสามารถในการทำงานและความรู้สึกที่ดี
3. bipolar disorder หรือที่เรียกว่า manic-depressive illness ผู้ป่วยจะมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ซึ่งบางคน อาจจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่วนมากจะค่อยเป็นค่อยไป เวลาซึมเศร้าจะมีอาการมากบ้างน้อยบ้าง แต่เมื่อเปลี่ยนเป็น ช่วงอารมณ์ mania ผู้ป่วยจะพูดมาก กระฉับกระเฉง มากเกินกว่าเหตุ มีพลังงานเหลือเฟือ ในช่วง mania จะมีผลกระทบต่อความคิด การตัดสินใจและพฤติกรรม ผู้ป่วยอาจจะหลงผิด หากไม่รักษาภาวะนี้อาจจะกลายเป็นโรคจิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหา