Clock


วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554

การเก็บสิ่งส่งตรวจ (Specimen Collection)

1. การเจาะเลือด
     1.1  ก่อนเจาะเลือด  ผู้เจาะเลือดต้องตรวจสอบชื่อผู้ป่วยในใบสั่งตรวจ และภาชนะ (Tube) ที่ใช้เก็บสิ่งส่งตรวจ ให้ถูกต้องตรงกับผู้ป่วยทุกครั้งที่ทำการเจาะเลือด     
     1.2  เตรียมภาชนะ (Tube) สำหรับการเจาะเลือดให้ถูกต้องตรงกับการทดสอบ
     1.3  หลีกเลี่ยงการเจาะเลือดข้างเดียวกับที่ให้สารที่เป็นน้ำ / อาหาร / ยา
     1.4  ใช้สายรัด (Tourniquet)  รัดบริเวณต้นแขนเพื่อให้เห็นเส้นเลือดดำชัดเจนขึ้น เลือกบริเวณเจาะใต้ข้อ พับ  เล็กน้อย ยกเว้นบางกรณีอาจต้องเจาะจากบริเวณข้อมือหรือข้อเท้าและไม่ควรรัด แขนนานเกิน 1 นาที
    1.5  ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะเจาะเลือดด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์  โดยเช็ดจากจุดศูนย์กลางหมุนวนเป็น
            วงกลมออกสู่ด้านนอก  รอจนแอลกอฮอล์แห้ง  ห้ามนิ้วสัมผัสตำแหน่งที่จะเจาะอีก
     1.6  ทำการเจาะเลือด โดยใช้นิ้วหัวแม่มือดึงผิวหนังใต้ตำแหน่งที่จะเจาะ (1-2 นิ้ว) ให้ตึง หงายปลายตัดของ
            เข็มขึ้น แทงลงในตำแหน่งที่กำหนดโดยให้ เข็มทำหมุนประมาณ 15 องศากับแขนคนไข้ค่อยๆ ดึงก้าน Syringe เพื่อเก็บเลือดจนครบตามจำนวน ให้คนไข้คลายมือและดึงสายรัดออก     
     1.7  ใช้สำลีแห้งปราศจากเชื้อ  กดบริเวณรอยเจาะเบาๆ พร้อมถอดเข็มออก ให้คนไข้กดห้ามเลือด ประมาณ 2-3
            นาที  และปิดพลาสเตอร์เมื่อเลือดหยุดไหลแล้ว
     1.8  ทิ้งหัวเข็มลงในภาชนะสำหรับทิ้งของมีคม (ติดเชื้อ)
     1.9  ใส่เลือดลงในหลอดเลือด  ปริมาณตามความเหมาะสมสำหรับการตรวจวิเคราะห์  ทิ้ง Syringe ในถังขยะติดเชื้อ จากนั้นปิดฝาและผสมหลอดเลือดที่มีสารกันเลือดแข็งทันที  โดยพลิกหลอดเลือดกลับไปมา ประมาณ 10 ครั้งเพื่อให้เลือดผสมกับสารที่อยู่ในหลอดให้  ้เข้ากันและป้องกันไม่ให้เลือด แข็งตัว
     1.10 กรณีที่มีการส่งตรวจหลายรายการทดสอบและต้องใช้หลอดเลือดหลายหลอด  ควรลำดับการใส่เลือด ลงหลอดดังนี้
                   1. ขวดสำหรับการเพาะเชื้อ Hemoculture
                   2. หลอดสำหรับการทดสอบ Coagulation (3.2% Na citrate)  (จุกสีฟ้า)
                   3. หลอด Clotted blood  (จุกสีขาว)
                   4. หลอด EDTA (จุกสีม่วง)
                   5. หลอด NaF (จุกสีเทา)
 
2. การเก็บปัสสาวะ
    - Random Urine : ให้เก็บปัสสาวะส่วนกลาง (Mid Stream Urine) ตามปริมาตรที่ระบุ ดังนี้
         1) ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะขับถ่ายภายนอก
         2) ถ่ายปัสสาวะช่วงแรกทิ้งไปก่อน  แล้วเก็บปัสสาวะช่วงกลางให้ได้ปริมาตรไม่น้อยกว่า 10 มิลลิลิตร ใส่ใน  ภาชนะที่ห้องปฏิบัติการจัดให้ซึ่งมีฉลากข้อมูลผู้ป่วย
         3) ถ่ายปัสสาวะช่วงท้ายทิ้งไปจนเสร็จ
         4) ปิดฝาภาชนะให้สนิท
    - ปัสสาวะ 24 ชั่วโมง (24 hrs.) : เก็บ ปัสสาวะให้ครบ 24 ชั่วโมง โดยปัสสาวะครั้งแรกทิ้ง เริ่มเก็บปัสสาวะจนครบเวลา 24 ชั่วโมง  ในภาชนะที่จัดเตรียมไว้ เมื่อครบกำหนดเวลาให้เก็บปัสสาวะครั้งสุดท้ายให้หมด ตวงปริมาตรทั้งหมด  และระบุปริมาตรมาตร
    ในใบสั่งตรวจ เก็บในขวดสีชาโดยเก็บในตู้เย็น (4๐C) อาจใส่สาร รักษาสภาพ ขึ้นกับรายการส่งตรวจ
    - สำหรับการตรวจทดสอบ Protein, Creatinine, Calcium, Phosphate, Uric acid,Glucose, Sodium, Potassium, Chloride ให้เก็บปัสสาวะไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 4 oC
      - สำหรับการทดสอบ VMA ใช้  Conc.HCl เป็นสารรักษาสภาพ
 
3. การเก็บอุจจาระ
    - เก็บอุจาระใส่ภาชนะทึบ ปิดฝา ให้เรียบร้อย  หากอุจจาระมีมูกเลือดให้เก็บส่วนที่เป็นมูกเลือดด้วย  และให้  เก็บส่งปริมาณพอควร (ประมาณ 5 กรัม) และปิดฉลากระบุชื่อผู้ป่วยบนภาชนะ
 
4.  การเก็บน้ำไขสันหลัง
    - เก็บใส่ขวดแก้วที่สะอาดปราศจากเชื้อ ในปริมาตรที่พอเพียงต่อการทดสอบ ปิดฉลากระบุชื่อผู้ป่วยบนภาชนะ จัดส่งทันที 
       - กรณีส่งตรวจเพาะเชื้อ ห้ามเก็บในตู้เย็นเพราะจะทำให้เชื้อบางชนิดตายได้  เช่น Neisseria meningitidis.
 
5.  การเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อการเพาะเชื้อ เก็บสิ่งส่งตรวจให้ถูกตำแหน่ง ก่อนที่ผู้ป่วยได้รับสารต้านจุลชีพ
     เลือกใช้ภาชนะ หรืออาหารเลี้ยงเชื้อให้ถูกต้องเหมาะสมกับประเภทของตัวอย่าง  เช่น
     5.1 เลือด
     -
ขวด Hemoculture ที่เก็บในตู้เย็น  ต้องนำออกมาวางไว้ที่อุณหภูมิห้อง และรอให้ขวดมีอุณภูมิเท่าอุณหภูมิห้องก่อนนำไปใช้งาน
     - เช็ดจุกยางที่ปากขวดด้วยทิงเจอร์ไอโอดีนแล้วเช็ดด้วย 70% แอลกอฮอล์ รอให้แห้งก่อนใส่เลือด
     - ควรเปลี่ยนหัวเข็มใหม่  ก่อนฉีดเลือดลงในขวด Hemoculture
     - กรณีที่ไม่สามารถส่งขวด Hemoculture มายังห้องปฏิบัติการได้ภายในวันเจาะเลือด ให้นำขวดไปอบที่อุณหภูมิ
       35-37 ๐C  หรือวางที่อุณหภูมิห้อง ห้ามแช่ในตู้เย็น 
     -
ห้ามเจาะเลือดเพื่อใช้ในการทดสอบอื่นๆ  ในคราวเดียวกัน  เพราะอาจจะเกิดการปนเปื้อนได้
 
     5.2 น้ำไขสันหลังและสารคัดหลั่งอื่นๆ จากร่างกาย     ควรเจาะให้ได้ปริมาตรไม่น้อยกว่า 2 ml.
โดยทำความสะอาดบริเวณที่จะเจาะเช่นเดียวกับการ เจาะเลือด  โดยใส่น้ำไขสันหลังในภาชนะที่ปราศจากเชื้อ ติดฉลากระบุข้อมูลผู้ป่วยให้ครบตามข้อกำหนด แล้วนำส่ง
     ห้องปฏิบัติการทันที  ห้ามเก็บน้ำไขสันหลังในตู้เย็น   ขณะรอส่งเพราะอาจจะทำให้เชื้อบางชนิดตายได้
   ถ้าไม่สามารถนำส่งได้ในเวลาให้เก็บในตู้  37 ๐C  หรือวางที่อุณหภูมิห้อง
 
     5.3. Swab
          ใช้เก็บสิ่งส่งตรวจที่ไม่สามารถเจาะหรือดูดได้   ซึ่งเป็นหลอดพลาสติกที่บรรจุ  transport medium
     สิ่งส่งตรวจที่เก็บด้วย Swab ได้แก่  Throat swab หนอง เป็นต้น หลังการใช้ Swab เก็บสิ่งส่งตรวจแล้ว
     ให้ใส่ Swab ลงในหลอด Media เพื่อไม่ให้เชื้อตายหรือเพิ่มจำนวน ในกรณีที่ Media ยังไม่ได้ใช้ ให้เก็บไว้
     ที่ 2-8 ๐C เสมอ
 
     5.4. อุจจาระ
           ให้ส่งเป็น rectal swab ยกเว้นการเพาะเชื้อ Campylobacter ,Clostridium difficile ให้เก็บเป็นอุจจาระ
 
     5.5. ปัสสาวะ
           ถ้าเป็นปัสสาวะที่ไม่ใช่ mid stream ต้องระบุลงในใบส่งตรวจ และปัสสาวะที่ส่งเพาะเชื้อ ต้องระบุเวลาเก็บ ห้ชัดเจน และนำส่งห้องปฏิบัติการทันที  ถ้าไม่สามารถนำส่งทันเวลาให้เก็บปัสสาวะ
ในตู้เย็นห้ามเก็บไว้ที่ อุณหภูมิห้อง
 
     5.6. เสมหะ
           เวลาเก็บที่เหมาะสม คือ เก็บตอนเช้า โดยทำความสะอาดในช่องปาก โดยการบ้วนด้วยน้ำสะอาด เพื่อลดการ ปนเปื้อนของน้ำลาย และเชื้อในช่องปาก ไม่ควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อบ้วนปาก
 
     5.7. สิ่งส่งตรวจเพาะเชื้อ  แอนแอโรบส์ 
           ควรเก็บตัวอย่างในบริเวณที่ไม่มีเชื้อประจำถิ่นโดยใส่ใน   Thyoglycolate tube  ซึ่งก่อนนำมาใช้ต้องดูสภาพ   ของน้ำยายังคงใสไม่มีสี  ถ้ามีสีชมพูไม่ควรใช้ และถ้ายังไม่ได้ใช้
ควรเก็บที่อุณหภูมิห้องในที่มืด ห้ามเก็บในตู้เย็น
 
6.  การเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อการตรวจโครโมโซม (Chromosome Study)
 
     6.1. Heparinized Peripheral Blood : ใช้ Syringe 5 ml. ดูด Sodium Heparin เพื่อเคลือบแล้วฉีดไล่ออกจาก Syring   และเปลี่ยนเข็มใหม่เพื่อเจาะเลือด (Sterile)  นำส่งทั้ง  Syring  ขณะรอนำส่งให้เก็บในตู้เย็น (ห้ามแช่ Freeze หรือแช่ในน้ำแข็ง)
 
     6.2. น้ำคร่ำ (Amniotic Fluid) :  เก็บโดยวิธี Amniocentesis จำนวน 20-30 ml. บรรจุใน Syring หรือ ภาชนะปลอดเชื้อ (ห้ามแช่ Freeze หรือแช่ในน้ำแข็ง)
 
     6.3. ชิ้นเนื้อ (Tissue) : ใส่ชิ้นเนื้อใน 0.85% Sterile NaCl ในภาชนะปลอดเชื้อ (ห้ามแช่ Formalin) เก็บที่อุณหภูมิห้อง
 
     6.4. Cord blood : เก็บโดยวิธี Cordocentesis จำนวน 1-2 ml. บรรจุในSyring หรือภาชนะปราศจากเชื้อ ที่ผสม Sodium Heparin  ปริมาตร 0.05 ml. ต่อเลือด 2 ml.
เพื่อไม่ให้เลือดแข็งตัว
 
7.  Pathology
     7.1. ชิ้นเนื้อทั่วไป แช่ใน 10 % Formalin ปริมาณมากกว่า 10 เท่าของชิ้นเนื้อ
     7.2.
Fluid For Cytology เก็บปริมาณ 30 ml. ใส่ขวด Sterile เก็บตู้เย็น (4-6oC) (ห้ามแช่ช่องแข็ง)
 
8. การเก็บสิ่งส่งตรวจทางพิษวิทยา
8.1. ตรวจแอลกอฮอล์ในเลือด
         
 - การเจาะเลือด ควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้ออื่นที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์  เช่น ไอโอดีนเช็ดบริเวณเจาะเลือด
           - เจาะเลือด 3 ml. ใส่ในหลอดที่มีสารกันเลือดแข็งชนิด NaF หรือ เจาะเลือดใส่หลอด Clotted   bloodที่ไม่ มีสารกันเลือดแข็ง
 
     8.2. ตรวจวัดระดับยา
          เจาะเลือด 3-4 ml. ใส่ในหลอดเลือดที่ไม่มีสารกันเลือดแข็งตัว (Clotted blood) และปั่นแยกซีรัม นำส่งยังห้องปฏิบัติการ ในกรณีที่ส่งตรวจ Common Drug Screening ในเลือด  ต้องเจาะเลือดเป็น Clotted blood และนำส่งโดยไม่ต้องปั่นแยกเลือด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหา