Clock


วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

ภาวะเหล็กเกิน Iron overload management

โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มีภาวะซีดแบบเรื้อรังต้องได้รับการถ่ายเลือดต่อเนื่อง เป็นระยะ ซึ่งจะมีความเสี่ยงต่อการมีภาวะเหล็กเกินในร่างกาย เนื่องจากในร่างกายของคนเราไม่มีกลไกในการขับเหล็กออก เหล็กที่รับเข้าไปเพิ่มจากการรับเลือดจะสะสมอยู่ในร่างกายและเป็นพิษได้.

ภาวะเหล็กเกินคืออะไร?
การ ถ่ายเลือดช่วยให้ผู้ป่วยเลือดจางแข็งแรงขึ้น ทุกครั้งที่ได้รับการถ่ายเลือดผู้ป่วยจะได้รับเหล็กซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญ ของเซลล์เม็ดเลือดแดง เหล็กจะเริ่มสะสมภายในร่างกายหลังจากได้รับการถ่ายเลือดประมาณ 10 ครั้ง เนื่องจากร่างกายไม่สามารถกำจัดเหล็กออกได้ เมื่อเหล็กภายในร่างกายมีระดับสูงมากเกินไป จะเกิดความเป็นพิษขึ้น เรียกภาวะนี้ว่า ภาวะเหล็กเกิน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนอันเป็นผลจากการถ่ายเลือดบ่อยครั้ง.

ทำไมภาวะเหล็กเกินจึงเป็นอันตราย?
ภาวะ เหล็กเกินจะเกิดการสะสมของเหล็กภายในอวัยวะที่สำคัญภายในร่างกายผู้ป่วย ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ ภาวะเหล็กเกินอาจไม่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บป่วย แต่มีอันตรายต่อร่างกายผู้ป่วยเมื่อเวลาผ่านไป.

ผู้ใหญ่และเด็กประมาณ 100,000 รายทั่วโลก ที่ได้รับการถ่ายเลือดอย่างเพียงพอจะเกิดภาวะเหล็กเกินขึ้น.

ผู้ป่วยต้องได้รับการถ่ายเลือดกี่ครั้ง จึงจะทำให้เกิดภาวะเหล็กเกิน?
ใน การถ่ายเลือด 1 ครั้ง ผู้ป่วยจะได้รับเลือด 2 ยูนิต และผู้ป่วยอาจเกิดภาวะเหล็กเกินได้ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะเว้นช่วงระยะเวลาของ การถ่ายเลือดนานเป็นปีก็ตาม.

การติดตามการถ่ายเลือดของผู้ป่วย
การ ติดตามจำนวนยูนิตที่ผู้ป่วยได้รับการถ่ายเลือดทั้งในอดีตและปัจจุบันเป็น สิ่งสำคัญ ถ้าผู้ป่วยต้องได้รับการถ่ายเลือดใกล้เคียงหรือมากกว่า 20 ยูนิต ตลอดช่วงชีวิต การตรวจวัดระดับเหล็ก (ตรวจระดับเฟอร์ริทินในเลือด) จะช่วยประเมินความเสี่ยงต่อภาวะเหล็กเกิน.

การรักษาภาวะเหล็กเกิน
หากปล่อยภาวะเหล็กเกินไว้โดยไม่ได้รับการรักษา เหล็กที่มีมากเกินไปจะทำลายตับ หัวใจ และต่อมไร้ท่อ.

ยา ขับเหล็ก (iron chelator) เป็นยาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดเหล็กส่วนเกินและ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากภาวะเหล็กเกินได้ ซึ่งยาดังกล่าวจะจับเหล็กภายในร่างกาย และช่วยกำจัดเหล็กออกจากร่างกายทางปัสสาวะและอุจจาระ. เป้าหมายของการขับเหล็กคือ กำจัดเหล็กส่วนเกิน. ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับการถ่ายเลือด และใช้ยาขับเหล็กไปตลอดชีวิต.

เดิมที desferoxamine เป็นยามาตรฐานที่ใช้ในการขับเหล็ก ช่วยยืดชีวิตผู้ป่วยและทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น การบริหารยานี้อาศัยการหยดยาเข้าไต้ผิวหนังโดยใช้เข็มและเครื่องปั๊มยานาน 8-12 ชั่วโมงต่อคืน เป็นเวลา 5-7 คืนต่อสัปดาห์. ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการขับเหล็กมากกว่า 250 ครั้งต่อปี หลายรายหยุดหรือหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ ผลคือ ผู้ป่วยเหล่านี้จะมีความเสี่ยงจากภาวะเหล็กเกิน.

แต่ด้วยความก้าว หน้าล่าสุดทางวิทยาศาสตร์ ได้มีการคิดค้นยาขับเหล็กชนิดใหม่เป็นยาเม็ดชนิดละลายทันทีในน้ำหรือน้ำส้ม 1 แก้ว กินวันละครั้ง ทุกวัน. ยานี้มีประสิทธิภาพในการขับเหล็กที่มากเกินไปได้ต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง จึงจัดเป็นทางเลือกใหม่แทนการใช้ยาแบบเดิม.

นพดล ศิริธนารัตนกุล พ.บ.,
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยา
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ดร. วิปร วิประกษิต พ.บ.
รองศาสตราจารย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยา ภาควิชากุมารเวชกรรม
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหา