การเตรียมผู้ป่วย
รายการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการที่ให้บริการส่วน ใหญ่ไม่ต้องมีการเตรียมผู้ป่วย เฉพาะบางรายการเท่านั้นที่ต้องมีการเตรียมผู้ป่วย โดยสรุปรายการการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็นต้องมีการเตรียม ผู้ป่วยมีดังต่อไปนี้1. ผู้ป่วยงดอาหาร 12 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 14 ชั่วโมง (ถ้ากระหายน้ำ จิบน้ำเปล่าได้) Cholesterol LDL-cholesterol Triglyceride HDL-cholesterol 2. ผู้ป่วยงดอาหาร 6-8 ชั่วโมง (ถ้ากระหายน้ำ จิบน้ำเปล่าได้) Glucose3. ผู้ป่วยงดยาบางชนิดหรืออาหารบางชนิด (โปรดดูรายละเอียดในส่วนของการทดสอบนั้น ๆ) Lithium Permanent staining for protozoa Concentration technique for stool specimen Routine examination for stool specimen Occult blood for stool specimen Staining for Cryptosporidium oocyte VMA
4. ไม่ควรรัดแขนผู้ป่วยนานเกินไป Electrolytes Lactate LDH
ชนิดของหลอดเก็บเลือดและการเลือกใช้
ชนิดของหลอดเลือด
|
สารกันเลือดแข็งที่ใช้ในหลอด
|
ชนิดการทดสอบที่เลือกใช้
|
หลอดจุกสีแดง
| ไม่มีสารกันเลือดแข็ง มี 2 ชนิด
เป็นหลอดเปล่าหรือหลอดบรรจุเม็ดพลาสติกเพื่อกระตุ้นการแข็งตัวของเลือด
|
การตรวจทางเคมีคลินิกและซีโรโลยีเป็นส่วนใหญ่ (หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ 02 419 7395)
|
หลอดจุกสีเขียว
|
Lithium Heparin
|
การตรวจทางเคมีคลินิกเป็นส่วนใหญ่(หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ 02 419 7395)
|
หลอดจุกสีเทา
|
Sodium fluoride (NaF)
|
ใช้สำหรับตรวจหา Glucose และ Lactate
|
หลอดสีม่วง
|
K2 EDTA
|
การตรวจทางโลหิตวิทยา ได้แก่ CBC, ESR
การตรวจทางเคมีคลินิกได้แก่ HbA1c
|
หลอดสีฟ้า
|
Sodium citrate
|
การตรวจทางโลหิตวิทยาในระบบการห้ามเลือด
|
หมายเหตุ
1. ปริมาตรที่ใช้ให้ใส่ตามปริมาตรที่ระบุไว้ข้างหลอดเก็บเลือด เพื่อให้ได้อัตราส่วนระหว่าง สารกันเลือดแข็งกับปริมาตรของเลือดที่ถูกต้อง
2. การตรวจทางเคมีส่วนใหญ่ใช้ได้ทั้งหลอดไม่มีสารกันเลือดแข็ง (หลอดจุกสีแดง) และหลอดที่มีสารกันเลือดแข็งชนิด lithium heparin( หลอดจุกสีเขียว ) ยก
เว้นการทดสอบต่อไปนี้
2.1 การตรวจวิเคราะห์ที่ต้องใช้เฉพาะหลอดที่ไม่มีสารกันเลือดแข็ง (หลอดจุกสีแดง) คือ CK-MB, Lithium, Acid Phosphatase, Prostatic acid
Phosphatase, Lipo protein electrophoresis, Protein electrophoresis
2.2 การตรวจวิเคราะห์ที่ใช้เฉพาะหลอดที่มีสารกันเลือดแข็ง NaF (หลอดจุกสีเทา) คือ Glucose , Lactate
การติดป้ายชื่อและการเจาะเลือด
การติดป้ายชื่อ1. เลือกหลอดเก็บเลือดให้ตรงกับชนิดการทดสอบที่จะส่งตรวจ
2. ป้ายชื่อควรมี ชื่อ–นามสกุล และHN. วันเดือนปี เขียนหรือพิมพ์ไว้ให้เห็นชัดเจนอ่านง่าย
3. ขนาดของป้ายชื่อควรตัดให้มีความยาวเท่ากับหรือสั้นกว่าขนาดหลอด ไม่ควรยาวเกินหลอดในกรณีที่ป้ายชื่อมีความยาวมากกว่าให้ตัดส่วนเกินออก
4. ปิดป้ายชื่อในแนวตรง ให้เห็นแถบบอกชนิดของหลอดและปริมาตรที่กำหนดไว้สำหรับใส่เลือด เว้นช่องว่างให้เห็นเลือดในหลอด
การเจาะเลือด
1. ถามชื่อ-นามสกุล ผู้รับบริการทุกครั้งก่อนจะเจาะเลือด
2. ควรตรวจดูป้ายชื่อผู้รับบริการที่ติดในใบรอรับผล / ใบขอตรวจ และหลอดเก็บเลือดว่าตรงกันหรือไม่
3. ตรวจสอบชนิดของหลอดเก็บเลือดว่าครบตามการสั่งตรวจตามระบุในใบรอรับผล / ใบขอตรวจ หรือไม่
4. ไม่ควรรัดแขนผู้รับบริการนานเกิน 1 นาที เนื่องจากอาจทำให้ค่าการตรวจวิเคราะห์บางชนิดสูงเกินจริง
5. ไม่ควรให้ผู้ป่วยกำและแบมือซ้ำ ๆ หรือพับแขนขึ้นลงเพื่อให้เห็นเส้นเลือด เนื่องจากอาจทำให้ค่าการวิเคราะห์บางค่าผิดพลาดได้
6. การถ้าใช้ Syringe เจาะเลือดให้ปลดหัวเข็มออกก่อนทุกครั้งที่จะใส่เลือดลงในหลอด ไม่ควรใช้เข็มแทงที่จุกแล้วฉีดเพราะอาจจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตก
7. เมื่อใส่เลือดลงในหลอดเก็บเลือดที่มีสารกันเลือดแข็งแล้วให้กลับหลอดไปมา เบาๆ เพื่อให้เลือดและสารกันเลือดแข็งผสมเข้ากันทั่วถึง ยกเว้นหลอดที่ไม่มีสารกัน
เลือดแข็งไม่ต้องทำการผสม
เกณฑ์การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ
สถาน เวชศาสตร์ชันสูตรมีเกณฑ์การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจไว้เพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการซึ่งจะนำมาซึ่งความเสียหายในรายงานผล การตรวจวิเคราะห์โดย เจ้าหน้าที่ผู้รับสิ่งส่งตรวจจะทำการตรวจสิ่งส่งตรวจก่อนการนำส่งเข้ากระบวน การตรวจวิเคราะห์ เกณฑ์การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจมีดังนี้
1. การส่งสิ่งส่งตรวจที่ไม่มีใบขอตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ
2. ชื่อ-สกุลในใบขอตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการและหลอดเก็บเลือดไม่ตรงกัน
3. ไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าสิ่งส่งตรวจนั้นเป็นของบุคคลใด
4. ภาชนะที่เก็บหรือการใช้สารกันเลือดแข็งไม่ถูกต้องตามที่ได้ระบุไว้ในคู่มือ
5. ปริมาณสิ่งส่งตรวจไม่เพียงพอต่อการวิเคราะห์
6. ปริมาณเลือดและสารป้องกันการแข็งตัวของเลือดไม่ได้อัตราส่วนกัน
7. สิ่งส่งตรวจไม่ได้มาตรฐาน
7.1 สิ่งส่งตรวจมี hemolysis ที่มีผลต่อการทดสอบ เช่น Potassium, LDH, CBC, APTT, PT
7.2 สิ่งส่งตรวจที่ clot ไม่สามารถทำการตรวจวิเคราะห์ได้ เช่น CBC, ESR, PT, APTT, HbA1c, Lactate
7.3 สิ่งส่งตรวจที่ส่งถึงห้องปฏิบัติการช้ากว่ากำหนดที่ได้ระบุไว้ในคู่มือห้องปฏิบัติ
การส่งตรวจที่ต้องมีเงื่อนไขพิเศษ
การ นำส่งสิ่งส่งตรวจเพื่อทำการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ โดยทั่วไปแล้วควรส่งทันทีหลังจากเจาะเลือดหรือไม่ควรช้ากว่า 2 ชั่วโมง หลังจากเจาะเลือด อย่างไรก็ตามในการเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อการตรวจ วิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการบางการทดสอบ มีเงื่อนไขพิเศษในการส่งตรวจดังนี้ สิ่งส่งตรวจที่ควรตรวจทันทีหลังจากเจาะเลือด
APTT Hb H inclusion dodies
CBC Ionized Calcium
G-6-PD Lactate
Glucose ในหลอดที่ไม่มีสารกันเลือดแข็งชนิด NaF PT ,INR
สิ่งส่งตรวจที่ควรส่งภายใน 2 ชั่วโมง
Electrolytes HbA1c
Magnesium
สิ่งส่งตรวจที่ควรส่งภายใน 3 ชั่วโมง
Concentration technic for stool specimen Routine examination for stool specimen
Occult blood for stool specimen Staining for Cryptosporidium Oocyst
Permanent staining for protozoa
สิ่งส่งตรวจที่ควรส่งภายใน 4 ชั่วโมง
CK-MB Lithium
Lipase
สิ่งส่งตรวจที่ต้องระวังไม่ให้โดนแสง
Concentration technic for stool specimen Routine examination for stool specimen
Direct Bilirubin Staining for Cryptosporidium Oocyst
Occult blood for stool specimen Total Bilirubin
Permanent staining for protozoa
การขอตรวจวิเคราะห์เพิ่มเติมหรือตรวจซ้ำ
การขอตรวจวิเคราะห์เพิ่มเติมหรือตรวจซ้ำ ทำได้โดยการติดต่อที่สถานเวชศาสตร์ชันสูตรโดยตรง เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการจะทำการตรวจสอบว่ามีสิ่งส่งตรวจพอที่จะทำ การตรวจวิเคราะห์หรือไม่ ถ้ามีเพียงพอจะแจ้งให้ผู้รับบริการทราบ ผู้รับบริการจะต้องเขียนใบส่งตรวจเพิ่มเติมหรือขอตรวจซ้ำส่งมายังห้อง ปฏิบัติการ พร้อมทั้งเขียน lab
Number และระบุว่าได้ทำการเจาะเลือดไว้แล้วในใบส่งตรวจเพิ่มเติม
ระยะ เวลาที่สามารถ/ ไม่สามารถขอตรวจเพิ่มเติมหรือตรวจซ้ำได้(นับตั้งแต่รับสิ่งส่งตรวจ) การทดสอบที่ไม่สามารถขอตรวจเพิ่มเติมหรือตรวจซ้ำได้
Glucose ที่ไม่ได้ใส่ในหลอด NaF Potassium
Ionized Calcium Lactate
Total CO2
การทดสอบที่สามารถตรวจเพิ่มเติมหรือตรวจซ้ำได้ภายใน 2 ชั่วโมง
APTT Pregnancy test
Bence Jones Protein PT , INR
Glucose Rountein Urine
Malaria
การทดสอบที่สามารถตรวจเพิ่มเติมหรือตรวจซ้ำได้ภายใน 4 ชั่วโมง
CBC ESR
HCT
การทดสอบที่สามารถตรวจเพิ่มเติมหรือตรวจซ้ำได้ภายในวันที่ส่งสิ่งตรวจ
Concentration technique for stool specimen
Occult blood for stool specimen
Permanent staining for protozoa
Routine examination for stool specimen
Staining for Cryptosporidium oocyte
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น