Clock


วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

(Complete Blood Count : CBC)

การตรวจประกอบด้วย

  • Hemoglobin : HGB การวัดปริมาณความเข้มข้นของฮีโมโกลบิน

ค่าปกติ ชาย 13.0-18.0 gm%

หญิง 11.5-16.5 gm%

  • Hematocrit : HCT การวัดปริมาณอัดแน่นของเม็ดเลือดแดง

ค่าปกติ ชาย 40-54 %

หญิง 36-47 %

การตรวจวัด HGB และ HCT ใช้ตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง ถ้าค่าของ HGB และ HCT ที่ตรวจพบมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ ถือว่า มีภาวะโลหิตจาง”

ภาวะโลหิตจาง มีผลทำให้ประสิทธิภาพของการไหลเวียนเลือดลดลง ทำให้ความสามารถในการทำงาน ความอดทน และความสามารถในการใช้กำลังร่างกายลดลง

ซึ่งกลุ่มที่มีโลหิตจางได้บ่อย ได้แก่ สตรีตั้งครรภ์ สตรีในวัยเจริญพันธุ์ ประชากรที่มีรายได้น้อย และเด็กที่ขาดสารอาหาร

สาเหตุของการเกิดภาวะโลหิตจางที่สำคัญและพบบ่อยที่สุด คือ การขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นภาวะโลหิตจางที่พบบ่อยที่สุดทั่วโลก

แต่สำหรับในประเทศไทย ยังมีภาวะโลหิตจางที่พบบ่อย คือ โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) และฮีโมโกลบินผิดปกติ (Hemoglobinopathies) ซึ่งเกิดเนื่องจากมีความผิดปกติในการสร้างฮีโมโกลบิน ที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด และถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งกลุ่มนี้ มีลักษณะตั้งแต่ ไม่มีอาการเลย คือ เป็นพาหะเท่านั้น จนถึงมีอาการรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก (เป็นโรคธาลัสซีเมีย)

มีประชากรไทยจำนวนมากที่เป็นพาหนะ โดยไม่รู้ตัว และไม่มีอาการ แต่จะถ่ายทอดสู่ลูกได้ และลูกอาจจะเป็นโรคธาลัสซีเมียได้

ปัจจุบันมีรื่องตรวจนับเม็ดเลือด (Automated Electronic Cell Counters) ซึ่งสามารถตรวจระดับฮีโมโกลบิน ตรวจนับจำนวนเม็ดเลือดแดง (Red Cell Count) ขนาดเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย (Mean Corpuscular Volume : MCV) และการกระจายตัวของขนาดเม็ดเลือดแดง (Red Cell Distribution Width : RDW) ซึ่งทำให้สามารถแยกสาเหตุ และวินิจฉัยสาเหตุของภาวะโลหิตจางได้ละเอียด และถูกต้องยิ่งขึ้น

ส่วนค่าอื่นๆ ในการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด มักจะเป็นค่าที่ใช้ประกอบการวินิจฉัยโรคมากกว่า ใช้ในการตรวจกรองสุขภาพ เช่น จำนวนเม็ดเลือดขาว และชนิดของเม็ดเลือดขาว มักใช้ในการประเมินภาวะติดเชื้อ นอกจากในกรณี ตรวจพบจำนวนเม็ดเลือดขาวสูงมากๆ เช่น มีจำนวนเป็นหลายหมื่นตัวต่อตารางมิลลิเมตร ให้สงสัยว่าจะมีมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) ปริมาณเกล็ดเลือด (Pletelet) ก็มักตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค เช่น ไข้เลือดออกที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เป็นต้น

โดย นพ. วิชัย จตุรพิตร ผู้อำนวยการ ศูนย์แพทย์อาชีวะเวชศาสตร์กรุงเทพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหา