Clock
วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554
การเก็บสิ่งส่งตรวจทางด้านเคมีคลินิก (Chemistry)
การเก็บเลือดTube ที่นำมาใช้สำหรับเก็บเลือดส่งตรวจทางเคมีคลินิก มี 4 ชนิด คือ
•Heparin tube (ฝาสีเขียว) : ใส่เลือด 4 ML ผสมเลือดให้เข้ากับสารกันเลือดแข็งโดยกลับหลอดเลือดไปมา 5 - 10 ครั้ง สามารถตรวจได้ทุกรายการ FBS,BUN,Creatinine,Electrolyte,Calcium,Phosphorus,Magnesium,Cholesterol,Triglycerides,HDL-C,Uric,LFT,CPK,LDH,CK-MB
•ขวด NaF (ฝาสีเทา) : ใส่เลือด 2 – 3 ML ผสมเลือดให้เข้ากับสารกันเลือดแข็งโดยกลับหลอดเลือดไปมา 5 - 10 ครั้ง สำหรับตรวจน้ำตาลในเลือดและ Alcohol
•Tube Clotted Blood (ฝาสีแดง) : สามารถส่งตรวจได้ทุกรายการยกเว้น HbA1C
•Tube EDTA : ใส่เลือด 2 ml.ผสมเลือดให้เข้ากับสารกันเลือดแข็งโดยกลับหลอดไปมา 5 - 10 ครั้ง ใช้สำหรับตรวจ HbA1C
หมายเหตุ :
1. การตรวจ Blood gas ต้องใช้ heparin เป็น preservative ต้องรีบนำส่งห้องปฏิบัติการทันทีพร้อมแช่เย็น ขณะส่ง Body Fluids เช่น CSF, Pleural fluid, Peritoneal fluid เป็นต้น เมื่อเก็บแล้วควรรีบนำส่งห้องปฏิบัติการ โดยไม่ต้องใส่สาร preservative
2. สำหรับ ผู้ป่วยโรคไต แนะนำให้ใช้ Tube Lithium Heparin (ฝาสีเขียว) สำหรับ Labทุกรายการที่ไม่ได้ ระบุ ห้ามใช้ Tube ดังกล่าว
การเก็บปัสสาวะ
ทางเคมีคลินิกมี 2 แบบดังนี้
1.single void urine ถ่ายครั้งเดียวใส่ถ้วยพลาสติกมีฝาปิดไม่ใส่สาร preservative ส่งทันที (ตามรายละเอียด หัวข้อการเก็บปัสสาวะ)
2.Timed urine specimens ปัสสาวะที่เก็บเป็นช่วงเวลา เช่น 24 hrs. urine มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้
•แนะ นำผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะทิ้งไปก่อนหลังจากตื่นนอนในตอนเช้าพร้อมจดบันทึกเวลาใน ขณะนั้นไว้ หลังจากนั้นจึงเริ่มเก็บปัสสาวะในช่วงต่อมาจนครบ 24 ชั่วโมง
การเก็บสิ่งส่งตรวจ (Specimen Collection)
1. การเจาะเลือด 1.1 ก่อนเจาะเลือด ผู้เจาะเลือดต้องตรวจสอบชื่อผู้ป่วยในใบสั่งตรวจ และภาชนะ (Tube) ที่ใช้เก็บสิ่งส่งตรวจ ให้ถูกต้องตรงกับผู้ป่วยทุกครั้งที่ทำการเจาะเลือด 1.2 เตรียมภาชนะ (Tube) สำหรับการเจาะเลือดให้ถูกต้องตรงกับการทดสอบ 1.3 หลีกเลี่ยงการเจาะเลือดข้างเดียวกับที่ให้สารที่เป็นน้ำ / อาหาร / ยา 1.4 ใช้สายรัด (Tourniquet) รัดบริเวณต้นแขนเพื่อให้เห็นเส้นเลือดดำชัดเจนขึ้น เลือกบริเวณเจาะใต้ข้อ พับ เล็กน้อย ยกเว้นบางกรณีอาจต้องเจาะจากบริเวณข้อมือหรือข้อเท้าและไม่ควรรัด แขนนานเกิน 1 นาที 1.5 ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะเจาะเลือดด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ โดยเช็ดจากจุดศูนย์กลางหมุนวนเป็น วงกลมออกสู่ด้านนอก รอจนแอลกอฮอล์แห้ง ห้ามนิ้วสัมผัสตำแหน่งที่จะเจาะอีก 1.6 ทำการเจาะเลือด โดยใช้นิ้วหัวแม่มือดึงผิวหนังใต้ตำแหน่งที่จะเจาะ (1-2 นิ้ว) ให้ตึง หงายปลายตัดของ เข็มขึ้น แทงลงในตำแหน่งที่กำหนดโดยให้ เข็มทำหมุนประมาณ 15 องศากับแขนคนไข้ค่อยๆ ดึงก้าน Syringe เพื่อเก็บเลือดจนครบตามจำนวน ให้คนไข้คลายมือและดึงสายรัดออก 1.7 ใช้สำลีแห้งปราศจากเชื้อ กดบริเวณรอยเจาะเบาๆ พร้อมถอดเข็มออก ให้คนไข้กดห้ามเลือด ประมาณ 2-3 นาที และปิดพลาสเตอร์เมื่อเลือดหยุดไหลแล้ว 1.8 ทิ้งหัวเข็มลงในภาชนะสำหรับทิ้งของมีคม (ติดเชื้อ) 1.9 ใส่เลือดลงในหลอดเลือด ปริมาณตามความเหมาะสมสำหรับการตรวจวิเคราะห์ ทิ้ง Syringe ในถังขยะติดเชื้อ จากนั้นปิดฝาและผสมหลอดเลือดที่มีสารกันเลือดแข็งทันที โดยพลิกหลอดเลือดกลับไปมา ประมาณ 10 ครั้งเพื่อให้เลือดผสมกับสารที่อยู่ในหลอดให้ ้เข้ากันและป้องกันไม่ให้เลือด แข็งตัว 1.10 กรณีที่มีการส่งตรวจหลายรายการทดสอบและต้องใช้หลอดเลือดหลายหลอด ควรลำดับการใส่เลือด ลงหลอดดังนี้ |
1. ขวดสำหรับการเพาะเชื้อ Hemoculture 2. หลอดสำหรับการทดสอบ Coagulation (3.2% Na citrate) (จุกสีฟ้า) 3. หลอด Clotted blood (จุกสีขาว) 4. หลอด EDTA (จุกสีม่วง) 5. หลอด NaF (จุกสีเทา) |
2. การเก็บปัสสาวะ - Random Urine : ให้เก็บปัสสาวะส่วนกลาง (Mid Stream Urine) ตามปริมาตรที่ระบุ ดังนี้ 1) ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะขับถ่ายภายนอก 2) ถ่ายปัสสาวะช่วงแรกทิ้งไปก่อน แล้วเก็บปัสสาวะช่วงกลางให้ได้ปริมาตรไม่น้อยกว่า 10 มิลลิลิตร ใส่ใน ภาชนะที่ห้องปฏิบัติการจัดให้ซึ่งมีฉลากข้อมูลผู้ป่วย 3) ถ่ายปัสสาวะช่วงท้ายทิ้งไปจนเสร็จ 4) ปิดฝาภาชนะให้สนิท |
- ปัสสาวะ 24 ชั่วโมง (24 hrs.) : เก็บ
ปัสสาวะให้ครบ 24 ชั่วโมง โดยปัสสาวะครั้งแรกทิ้ง
เริ่มเก็บปัสสาวะจนครบเวลา 24 ชั่วโมง ในภาชนะที่จัดเตรียมไว้
เมื่อครบกำหนดเวลาให้เก็บปัสสาวะครั้งสุดท้ายให้หมด ตวงปริมาตรทั้งหมด
และระบุปริมาตรมาตร ในใบสั่งตรวจ เก็บในขวดสีชาโดยเก็บในตู้เย็น (4๐C) อาจใส่สาร รักษาสภาพ ขึ้นกับรายการส่งตรวจ - สำหรับการตรวจทดสอบ Protein, Creatinine, Calcium, Phosphate, Uric acid,Glucose, Sodium, Potassium, Chloride ให้เก็บปัสสาวะไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 4 oC - สำหรับการทดสอบ VMA ใช้ Conc.HCl เป็นสารรักษาสภาพ |
3. การเก็บอุจจาระ - เก็บอุจาระใส่ภาชนะทึบ ปิดฝา ให้เรียบร้อย หากอุจจาระมีมูกเลือดให้เก็บส่วนที่เป็นมูกเลือดด้วย และให้ เก็บส่งปริมาณพอควร (ประมาณ 5 กรัม) และปิดฉลากระบุชื่อผู้ป่วยบนภาชนะ |
4. การเก็บน้ำไขสันหลัง - เก็บใส่ขวดแก้วที่สะอาดปราศจากเชื้อ ในปริมาตรที่พอเพียงต่อการทดสอบ ปิดฉลากระบุชื่อผู้ป่วยบนภาชนะ จัดส่งทันที - กรณีส่งตรวจเพาะเชื้อ ห้ามเก็บในตู้เย็นเพราะจะทำให้เชื้อบางชนิดตายได้ เช่น Neisseria meningitidis. |
5. การเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อการเพาะเชื้อ เก็บสิ่งส่งตรวจให้ถูกตำแหน่ง ก่อนที่ผู้ป่วยได้รับสารต้านจุลชีพ เลือกใช้ภาชนะ หรืออาหารเลี้ยงเชื้อให้ถูกต้องเหมาะสมกับประเภทของตัวอย่าง เช่น 5.1 เลือด - ขวด Hemoculture ที่เก็บในตู้เย็น ต้องนำออกมาวางไว้ที่อุณหภูมิห้อง และรอให้ขวดมีอุณภูมิเท่าอุณหภูมิห้องก่อนนำไปใช้งาน - เช็ดจุกยางที่ปากขวดด้วยทิงเจอร์ไอโอดีนแล้วเช็ดด้วย 70% แอลกอฮอล์ รอให้แห้งก่อนใส่เลือด - ควรเปลี่ยนหัวเข็มใหม่ ก่อนฉีดเลือดลงในขวด Hemoculture - กรณีที่ไม่สามารถส่งขวด Hemoculture มายังห้องปฏิบัติการได้ภายในวันเจาะเลือด ให้นำขวดไปอบที่อุณหภูมิ 35-37 ๐C หรือวางที่อุณหภูมิห้อง ห้ามแช่ในตู้เย็น - ห้ามเจาะเลือดเพื่อใช้ในการทดสอบอื่นๆ ในคราวเดียวกัน เพราะอาจจะเกิดการปนเปื้อนได้ |
5.2 น้ำไขสันหลังและสารคัดหลั่งอื่นๆ จากร่างกาย ควรเจาะให้ได้ปริมาตรไม่น้อยกว่า 2 ml. โดยทำความสะอาดบริเวณที่จะเจาะเช่นเดียวกับการ เจาะเลือด โดยใส่น้ำไขสันหลังในภาชนะที่ปราศจากเชื้อ ติดฉลากระบุข้อมูลผู้ป่วยให้ครบตามข้อกำหนด แล้วนำส่ง ห้องปฏิบัติการทันที ห้ามเก็บน้ำไขสันหลังในตู้เย็น ขณะรอส่งเพราะอาจจะทำให้เชื้อบางชนิดตายได้ ถ้าไม่สามารถนำส่งได้ในเวลาให้เก็บในตู้ 37 ๐C หรือวางที่อุณหภูมิห้อง |
5.3. Swab ใช้เก็บสิ่งส่งตรวจที่ไม่สามารถเจาะหรือดูดได้ ซึ่งเป็นหลอดพลาสติกที่บรรจุ transport medium สิ่งส่งตรวจที่เก็บด้วย Swab ได้แก่ Throat swab หนอง เป็นต้น หลังการใช้ Swab เก็บสิ่งส่งตรวจแล้ว ให้ใส่ Swab ลงในหลอด Media เพื่อไม่ให้เชื้อตายหรือเพิ่มจำนวน ในกรณีที่ Media ยังไม่ได้ใช้ ให้เก็บไว้ ที่ 2-8 ๐C เสมอ |
5.4. อุจจาระ ให้ส่งเป็น rectal swab ยกเว้นการเพาะเชื้อ Campylobacter ,Clostridium difficile ให้เก็บเป็นอุจจาระ |
5.5. ปัสสาวะ ถ้าเป็นปัสสาวะที่ไม่ใช่ mid stream ต้องระบุลงในใบส่งตรวจ และปัสสาวะที่ส่งเพาะเชื้อ ต้องระบุเวลาเก็บ ห้ชัดเจน และนำส่งห้องปฏิบัติการทันที ถ้าไม่สามารถนำส่งทันเวลาให้เก็บปัสสาวะ ในตู้เย็นห้ามเก็บไว้ที่ อุณหภูมิห้อง |
5.6. เสมหะ เวลาเก็บที่เหมาะสม คือ เก็บตอนเช้า โดยทำความสะอาดในช่องปาก โดยการบ้วนด้วยน้ำสะอาด เพื่อลดการ ปนเปื้อนของน้ำลาย และเชื้อในช่องปาก ไม่ควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อบ้วนปาก |
5.7. สิ่งส่งตรวจเพาะเชื้อ แอนแอโรบส์ ควรเก็บตัวอย่างในบริเวณที่ไม่มีเชื้อประจำถิ่นโดยใส่ใน Thyoglycolate tube ซึ่งก่อนนำมาใช้ต้องดูสภาพ ของน้ำยายังคงใสไม่มีสี ถ้ามีสีชมพูไม่ควรใช้ และถ้ายังไม่ได้ใช้ ควรเก็บที่อุณหภูมิห้องในที่มืด ห้ามเก็บในตู้เย็น |
6. การเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อการตรวจโครโมโซม (Chromosome Study) |
6.1. Heparinized Peripheral Blood : ใช้ Syringe 5 ml. ดูด Sodium Heparin เพื่อเคลือบแล้วฉีดไล่ออกจาก Syring และเปลี่ยนเข็มใหม่เพื่อเจาะเลือด (Sterile) นำส่งทั้ง Syring ขณะรอนำส่งให้เก็บในตู้เย็น (ห้ามแช่ Freeze หรือแช่ในน้ำแข็ง) |
6.2. น้ำคร่ำ (Amniotic Fluid) : เก็บโดยวิธี Amniocentesis จำนวน 20-30 ml. บรรจุใน Syring หรือ ภาชนะปลอดเชื้อ (ห้ามแช่ Freeze หรือแช่ในน้ำแข็ง) |
6.3. ชิ้นเนื้อ (Tissue) : ใส่ชิ้นเนื้อใน 0.85% Sterile NaCl ในภาชนะปลอดเชื้อ (ห้ามแช่ Formalin) เก็บที่อุณหภูมิห้อง |
6.4. Cord blood :
เก็บโดยวิธี Cordocentesis จำนวน 1-2 ml. บรรจุในSyring
หรือภาชนะปราศจากเชื้อ ที่ผสม Sodium Heparin
ปริมาตร 0.05 ml. ต่อเลือด 2 ml. เพื่อไม่ให้เลือดแข็งตัว |
7. Pathology 7.1. ชิ้นเนื้อทั่วไป แช่ใน 10 % Formalin ปริมาณมากกว่า 10 เท่าของชิ้นเนื้อ 7.2. Fluid For Cytology เก็บปริมาณ 30 ml. ใส่ขวด Sterile เก็บตู้เย็น (4-6oC) (ห้ามแช่ช่องแข็ง) |
8. การเก็บสิ่งส่งตรวจทางพิษวิทยา 8.1. ตรวจแอลกอฮอล์ในเลือด - การเจาะเลือด ควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้ออื่นที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ เช่น ไอโอดีนเช็ดบริเวณเจาะเลือด - เจาะเลือด 3 ml. ใส่ในหลอดที่มีสารกันเลือดแข็งชนิด NaF หรือ เจาะเลือดใส่หลอด Clotted bloodที่ไม่ มีสารกันเลือดแข็ง |
8.2. ตรวจวัดระดับยา เจาะเลือด 3-4 ml. ใส่ในหลอดเลือดที่ไม่มีสารกันเลือดแข็งตัว (Clotted blood) และปั่นแยกซีรัม นำส่งยังห้องปฏิบัติการ ในกรณีที่ส่งตรวจ Common Drug Screening ในเลือด ต้องเจาะเลือดเป็น Clotted blood และนำส่งโดยไม่ต้องปั่นแยกเลือด |
การเตรียมตัวและขั้นตอนสำหรับการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ
การเตรียมผู้ป่วย
รายการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการที่ให้บริการส่วน ใหญ่ไม่ต้องมีการเตรียมผู้ป่วย เฉพาะบางรายการเท่านั้นที่ต้องมีการเตรียมผู้ป่วย โดยสรุปรายการการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็นต้องมีการเตรียม ผู้ป่วยมีดังต่อไปนี้1. ผู้ป่วยงดอาหาร 12 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 14 ชั่วโมง (ถ้ากระหายน้ำ จิบน้ำเปล่าได้) Cholesterol LDL-cholesterol Triglyceride HDL-cholesterol 2. ผู้ป่วยงดอาหาร 6-8 ชั่วโมง (ถ้ากระหายน้ำ จิบน้ำเปล่าได้) Glucose3. ผู้ป่วยงดยาบางชนิดหรืออาหารบางชนิด (โปรดดูรายละเอียดในส่วนของการทดสอบนั้น ๆ) Lithium Permanent staining for protozoa Concentration technique for stool specimen Routine examination for stool specimen Occult blood for stool specimen Staining for Cryptosporidium oocyte VMA
4. ไม่ควรรัดแขนผู้ป่วยนานเกินไป Electrolytes Lactate LDH
ชนิดของหลอดเก็บเลือดและการเลือกใช้
ชนิดของหลอดเลือด
|
สารกันเลือดแข็งที่ใช้ในหลอด
|
ชนิดการทดสอบที่เลือกใช้
|
หลอดจุกสีแดง
| ไม่มีสารกันเลือดแข็ง มี 2 ชนิด
เป็นหลอดเปล่าหรือหลอดบรรจุเม็ดพลาสติกเพื่อกระตุ้นการแข็งตัวของเลือด
|
การตรวจทางเคมีคลินิกและซีโรโลยีเป็นส่วนใหญ่ (หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ 02 419 7395)
|
หลอดจุกสีเขียว
|
Lithium Heparin
|
การตรวจทางเคมีคลินิกเป็นส่วนใหญ่(หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ 02 419 7395)
|
หลอดจุกสีเทา
|
Sodium fluoride (NaF)
|
ใช้สำหรับตรวจหา Glucose และ Lactate
|
หลอดสีม่วง
|
K2 EDTA
|
การตรวจทางโลหิตวิทยา ได้แก่ CBC, ESR
การตรวจทางเคมีคลินิกได้แก่ HbA1c
|
หลอดสีฟ้า
|
Sodium citrate
|
การตรวจทางโลหิตวิทยาในระบบการห้ามเลือด
|
หมายเหตุ
1. ปริมาตรที่ใช้ให้ใส่ตามปริมาตรที่ระบุไว้ข้างหลอดเก็บเลือด เพื่อให้ได้อัตราส่วนระหว่าง สารกันเลือดแข็งกับปริมาตรของเลือดที่ถูกต้อง
2. การตรวจทางเคมีส่วนใหญ่ใช้ได้ทั้งหลอดไม่มีสารกันเลือดแข็ง (หลอดจุกสีแดง) และหลอดที่มีสารกันเลือดแข็งชนิด lithium heparin( หลอดจุกสีเขียว ) ยก
เว้นการทดสอบต่อไปนี้
2.1 การตรวจวิเคราะห์ที่ต้องใช้เฉพาะหลอดที่ไม่มีสารกันเลือดแข็ง (หลอดจุกสีแดง) คือ CK-MB, Lithium, Acid Phosphatase, Prostatic acid
Phosphatase, Lipo protein electrophoresis, Protein electrophoresis
2.2 การตรวจวิเคราะห์ที่ใช้เฉพาะหลอดที่มีสารกันเลือดแข็ง NaF (หลอดจุกสีเทา) คือ Glucose , Lactate
การติดป้ายชื่อและการเจาะเลือด
การติดป้ายชื่อ1. เลือกหลอดเก็บเลือดให้ตรงกับชนิดการทดสอบที่จะส่งตรวจ
2. ป้ายชื่อควรมี ชื่อ–นามสกุล และHN. วันเดือนปี เขียนหรือพิมพ์ไว้ให้เห็นชัดเจนอ่านง่าย
3. ขนาดของป้ายชื่อควรตัดให้มีความยาวเท่ากับหรือสั้นกว่าขนาดหลอด ไม่ควรยาวเกินหลอดในกรณีที่ป้ายชื่อมีความยาวมากกว่าให้ตัดส่วนเกินออก
4. ปิดป้ายชื่อในแนวตรง ให้เห็นแถบบอกชนิดของหลอดและปริมาตรที่กำหนดไว้สำหรับใส่เลือด เว้นช่องว่างให้เห็นเลือดในหลอด
การเจาะเลือด
1. ถามชื่อ-นามสกุล ผู้รับบริการทุกครั้งก่อนจะเจาะเลือด
2. ควรตรวจดูป้ายชื่อผู้รับบริการที่ติดในใบรอรับผล / ใบขอตรวจ และหลอดเก็บเลือดว่าตรงกันหรือไม่
3. ตรวจสอบชนิดของหลอดเก็บเลือดว่าครบตามการสั่งตรวจตามระบุในใบรอรับผล / ใบขอตรวจ หรือไม่
4. ไม่ควรรัดแขนผู้รับบริการนานเกิน 1 นาที เนื่องจากอาจทำให้ค่าการตรวจวิเคราะห์บางชนิดสูงเกินจริง
5. ไม่ควรให้ผู้ป่วยกำและแบมือซ้ำ ๆ หรือพับแขนขึ้นลงเพื่อให้เห็นเส้นเลือด เนื่องจากอาจทำให้ค่าการวิเคราะห์บางค่าผิดพลาดได้
6. การถ้าใช้ Syringe เจาะเลือดให้ปลดหัวเข็มออกก่อนทุกครั้งที่จะใส่เลือดลงในหลอด ไม่ควรใช้เข็มแทงที่จุกแล้วฉีดเพราะอาจจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตก
7. เมื่อใส่เลือดลงในหลอดเก็บเลือดที่มีสารกันเลือดแข็งแล้วให้กลับหลอดไปมา เบาๆ เพื่อให้เลือดและสารกันเลือดแข็งผสมเข้ากันทั่วถึง ยกเว้นหลอดที่ไม่มีสารกัน
เลือดแข็งไม่ต้องทำการผสม
เกณฑ์การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ
สถาน เวชศาสตร์ชันสูตรมีเกณฑ์การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจไว้เพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการซึ่งจะนำมาซึ่งความเสียหายในรายงานผล การตรวจวิเคราะห์โดย เจ้าหน้าที่ผู้รับสิ่งส่งตรวจจะทำการตรวจสิ่งส่งตรวจก่อนการนำส่งเข้ากระบวน การตรวจวิเคราะห์ เกณฑ์การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจมีดังนี้
1. การส่งสิ่งส่งตรวจที่ไม่มีใบขอตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ
2. ชื่อ-สกุลในใบขอตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการและหลอดเก็บเลือดไม่ตรงกัน
3. ไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าสิ่งส่งตรวจนั้นเป็นของบุคคลใด
4. ภาชนะที่เก็บหรือการใช้สารกันเลือดแข็งไม่ถูกต้องตามที่ได้ระบุไว้ในคู่มือ
5. ปริมาณสิ่งส่งตรวจไม่เพียงพอต่อการวิเคราะห์
6. ปริมาณเลือดและสารป้องกันการแข็งตัวของเลือดไม่ได้อัตราส่วนกัน
7. สิ่งส่งตรวจไม่ได้มาตรฐาน
7.1 สิ่งส่งตรวจมี hemolysis ที่มีผลต่อการทดสอบ เช่น Potassium, LDH, CBC, APTT, PT
7.2 สิ่งส่งตรวจที่ clot ไม่สามารถทำการตรวจวิเคราะห์ได้ เช่น CBC, ESR, PT, APTT, HbA1c, Lactate
7.3 สิ่งส่งตรวจที่ส่งถึงห้องปฏิบัติการช้ากว่ากำหนดที่ได้ระบุไว้ในคู่มือห้องปฏิบัติ
การส่งตรวจที่ต้องมีเงื่อนไขพิเศษ
การ นำส่งสิ่งส่งตรวจเพื่อทำการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ โดยทั่วไปแล้วควรส่งทันทีหลังจากเจาะเลือดหรือไม่ควรช้ากว่า 2 ชั่วโมง หลังจากเจาะเลือด อย่างไรก็ตามในการเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อการตรวจ วิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการบางการทดสอบ มีเงื่อนไขพิเศษในการส่งตรวจดังนี้ สิ่งส่งตรวจที่ควรตรวจทันทีหลังจากเจาะเลือด
APTT Hb H inclusion dodies
CBC Ionized Calcium
G-6-PD Lactate
Glucose ในหลอดที่ไม่มีสารกันเลือดแข็งชนิด NaF PT ,INR
สิ่งส่งตรวจที่ควรส่งภายใน 2 ชั่วโมง
Electrolytes HbA1c
Magnesium
สิ่งส่งตรวจที่ควรส่งภายใน 3 ชั่วโมง
Concentration technic for stool specimen Routine examination for stool specimen
Occult blood for stool specimen Staining for Cryptosporidium Oocyst
Permanent staining for protozoa
สิ่งส่งตรวจที่ควรส่งภายใน 4 ชั่วโมง
CK-MB Lithium
Lipase
สิ่งส่งตรวจที่ต้องระวังไม่ให้โดนแสง
Concentration technic for stool specimen Routine examination for stool specimen
Direct Bilirubin Staining for Cryptosporidium Oocyst
Occult blood for stool specimen Total Bilirubin
Permanent staining for protozoa
การขอตรวจวิเคราะห์เพิ่มเติมหรือตรวจซ้ำ
การขอตรวจวิเคราะห์เพิ่มเติมหรือตรวจซ้ำ ทำได้โดยการติดต่อที่สถานเวชศาสตร์ชันสูตรโดยตรง เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการจะทำการตรวจสอบว่ามีสิ่งส่งตรวจพอที่จะทำ การตรวจวิเคราะห์หรือไม่ ถ้ามีเพียงพอจะแจ้งให้ผู้รับบริการทราบ ผู้รับบริการจะต้องเขียนใบส่งตรวจเพิ่มเติมหรือขอตรวจซ้ำส่งมายังห้อง ปฏิบัติการ พร้อมทั้งเขียน lab
Number และระบุว่าได้ทำการเจาะเลือดไว้แล้วในใบส่งตรวจเพิ่มเติม
ระยะ เวลาที่สามารถ/ ไม่สามารถขอตรวจเพิ่มเติมหรือตรวจซ้ำได้(นับตั้งแต่รับสิ่งส่งตรวจ) การทดสอบที่ไม่สามารถขอตรวจเพิ่มเติมหรือตรวจซ้ำได้
Glucose ที่ไม่ได้ใส่ในหลอด NaF Potassium
Ionized Calcium Lactate
Total CO2
การทดสอบที่สามารถตรวจเพิ่มเติมหรือตรวจซ้ำได้ภายใน 2 ชั่วโมง
APTT Pregnancy test
Bence Jones Protein PT , INR
Glucose Rountein Urine
Malaria
การทดสอบที่สามารถตรวจเพิ่มเติมหรือตรวจซ้ำได้ภายใน 4 ชั่วโมง
CBC ESR
HCT
การทดสอบที่สามารถตรวจเพิ่มเติมหรือตรวจซ้ำได้ภายในวันที่ส่งสิ่งตรวจ
Concentration technique for stool specimen
Occult blood for stool specimen
Permanent staining for protozoa
Routine examination for stool specimen
Staining for Cryptosporidium oocyte
ชนิดของหลอดเก็บเลือดและการเลือกใช้ ( ห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยา )
ชนิดของหลอดเลือด
|
สารเคมีในหลอด
|
การเลือกใช้
|
หลอดจุกสีม่วง มีขนาดใส่เลือด 2 ml, 3 ml และ 6 ml |
K2 EDTA | การตรวจทางโลหิตวิทยา ได้แก่ CBC,
reticulocyte, ESR, Hb typing, buffycoat, direct Coombs' test, Cold
agglutinin, Inclusion bodies, Osmotic fragility, Zinc protoporphyrin Immunophenotyping of AL/CLL/Lma, การตรวจหา abnormal gene ในโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว , thalassemia และ JAK2 gene, CD34+ enumeration |
หลอดจุกสีเขียว มีขนาดใส่เลือด 3, 4 และ 6 ml |
lithium heparin | การตรวจ stem cell culture, Immunophenotyping |
หลอดจุกสีฟ้า มีขนาดใส่เลือด 4.5 ml |
sodium citrate | การตรวจทางระบบห้ามเลือด |
หลอดจุกสีแดง มีขนาดใส่เลือด 5, 6 ml |
activator ที่ทำให้เกิด clot | LE test |
หลอดพิเศษสำหรับ Iron free มีขนาดใส่เลือด 6 ml (ติดต่อขอหลอดได้ที่ 4417) |
ไม่มีสารกันเลือดแข็ง | ตรวจหา Iron study |
หลอดพิเศษสำหรับ G6PD มีขนาดใส่เลือด 6 ml (ติดต่อขอหลอดได้ที่ 4418) |
ACD | ตรวจ G6PD |
หลอดพิเศษสำหรับ Ham's test มีขนาดใส่เลือด 6-8 ml (ติดต่อขอรับบริการได้ที่ 7642-4 ต่อ 14-16 ) |
ไม่มีสารกันเลือดแข็ง แต่มี glass bead เพื่อแยก fibrin ออก | ตรวจ Ham's test |
การเจาะเลือด
1. ตรวจดูว่าป้ายชื่อผู้ป่วย ที่ติดที่ใบขอตรวจ และ หลอดเลือด ตรงกัน หรือไม่
2. ถามชื่อและนามสกุลผู้ป่วยทุกครั้งเมื่อจะเจาะเลือด
3. ไม่ควรรัดแขนผู้ป่วยนานเกิน 1 นาที เนื่องจากอาจทำให้ค่าของการตรวจบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป
4. ถ้าไม่เจาะโดยระบบสูญญากาศ ไม่ให้เปิดจุก ให้ใช้เข็มแทงผ่านจุกแล้วค่อยๆ ให้ระบบสูญญากาศดูดเลือดเข้าไปเอง ไม่ต้องดันลูกสูบกระบอกฉีดยา
5. ในกรณีที่มีการส่งเลือดหลายหลอด ลำดับในการใส่เลือดลงหลอด ให้ปฏิบัติดังนี้
2. ถามชื่อและนามสกุลผู้ป่วยทุกครั้งเมื่อจะเจาะเลือด
3. ไม่ควรรัดแขนผู้ป่วยนานเกิน 1 นาที เนื่องจากอาจทำให้ค่าของการตรวจบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป
4. ถ้าไม่เจาะโดยระบบสูญญากาศ ไม่ให้เปิดจุก ให้ใช้เข็มแทงผ่านจุกแล้วค่อยๆ ให้ระบบสูญญากาศดูดเลือดเข้าไปเอง ไม่ต้องดันลูกสูบกระบอกฉีดยา
5. ในกรณีที่มีการส่งเลือดหลายหลอด ลำดับในการใส่เลือดลงหลอด ให้ปฏิบัติดังนี้
1.tube hemoculture6. เมื่อใส่เลือดลงหลอดแล้ว
2.tube sodium citrate
3.tube clotted blood
4.tube lithium heparin
5.tube EDTA
6.tube sodium fluoride
- หลอดที่มีสารกันเลือดแข็งตัว ต้องเอียงหลอดเป็นมุม 180 o ประมาณ 4-6 ครั้ง
เพื่อให้เลือดและสารที่เคลือบอยู่ในหลอดผสมกันดีและเลือดไม่แข็งตัว
- หลอดที่ไม่มีสารกันเลือดแข็งไม่ต้องเอียง
การส่งสิ่งส่งตรวจมายังห้องปฏิบัติการ
การส่งสิ่งส่งตรวจมายังห้องปฏิบัติการควรนำส่งด้วยความรวดเร็ว โดยทั่วไปไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมงหลังเจาะเลือด อย่างไรก็ตาม มีการส่งตรวจบางการทดสอบที่ต้องระมัดระวังในการส่งสิ่งตรวจมายังห้องปฏิบัติการเป็นพิเศษ ดังนี้
สิ่งส่งตรวจที่ควรส่งภายใน 1 ชั่วโมงหลังเจาะเลือด
สิ่งส่งตรวจที่ควรส่งภายใน 1 ชั่วโมงหลังเจาะเลือด
APTT ratio Lupus anticoagulant
Factor VIII Factoe IX
สิ่งส่งตรวจที่ควรส่งภายใน 2 ชั่วโมงหลังเจาะเลือด
APTT Platelet aggregation studyสิ่งส่งตรวจที่ห้ามใส่น้ำแข็งหรือแช่ในตู้เย็น
vWF Ag Ristocetin Cofactor activity
CBC
Cold agglutinin titer Platelet aggregation study
เกณฑ์การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ
ห้องปฏิบัติการอาจทำการปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ ในกรณีที่เห็นว่า
การตรวจทางห้องปฏิบัติการในสิ่งส่งตรวจดังกล่าว อาจให้ค่าที่เชื่อถือไม่ได้
และเกิดผลเสียในการแปลผลการทดสอบ โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับสิ่งส่งตรวจ
จะโทรศัพท์แจ้งบุคลากรทางการแพทย์ที่ส่งสิ่งส่งตรวจนั้นมา
พร้อมทั้งบันทึกในใบรายงานอุบัติการณ์
ถ้าผู้ส่งตรวจยังยืนยันที่จะทำการทดสอบ ทางห้องปฏิบัติการจะทำการทดสอบ
และจะเขียนถึงสภาพที่ไม่เหมาะสมของสิ่งส่งตรวจนั้น ๆ ลงในใบรายงาน
เกณฑ์การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ มีดังนี้
2. ไม่ติดป้ายชื่อ-นามสกุล บนภาชนะสิ่งส่งตรวจ
- ส่งผิดห้องปฏิบัติการ
- การติดป้ายสิ่งส่งตรวจไม่ถูกต้อง
2. ไม่ติดป้ายชื่อ-นามสกุล บนภาชนะสิ่งส่งตรวจ
- การส่งสิ่งส่งตรวจ โดยไม่มีใบขอตรวจ
- สิ่งส่งตรวจที่เก็บในภาชนะที่ไม่ถูกต้อง หรือ ใช้สารกันเลือดแข็งที่ไม่ถูกต้อง ตามที่ห้องปฏิบัติการกำหนด
- สิ่งส่งตรวจหกเลอะภาชนะที่เก็บสิ่งส่งตรวจ หรือใบขอตรวจ
-
สิ่งส่งตรวจเก็บในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม
1. สิ่งส่งตรวจต้องเก็บที่ 4 °c ไม่ได้นำส่งโดยการแช่ในน้ำแข็ง
2. สิ่งส่งตรวจไม่ต้องเก็บที่ 4 °c ต้องนำส่งโดยใส่ภาชนะปิดมิดชิด เพื่อไม่ให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง เกิน 37 °c
- ปริมาณสิ่งส่งตรวจไม่เพียงพอ
- คุณภาพของสิ่งส่งตรวจไม่ได้มาตรฐาน ดังนี้
- สิ่งส่งตรวจที่ส่งถึงห้องปฏิบัติการช้ากว่ากำหนดเวลาที่ห้องปฏิบัติการกำหนด
- สิ่งส่งตรวจที่ clot ในการตรวจที่ต้องใช้ whole blood หรือ
plasma ได้แก่ CBC, ESR, PT, APTT, Immunophenotyping, การตรวจหา abnormal
gene ในโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว , thalassemia และ JAK2 gene, CD34+
enumeration, การตรวจ stem cell culture
- สิ่งส่งตรวจที่มี hemolysis ในการตรวจบางอย่าง ได้แก่ serum iron
- ปริมาณสิ่งส่งตรวจไม่ได้สัดส่วนกับสารกันเลือดแข็งตัวในหลอดเก็บสิ่งส่งตรวจ
- สิ่งส่งตรวจที่ส่งถึงห้องปฏิบัติการช้ากว่ากำหนดเวลาที่ห้องปฏิบัติการกำหนด
ข้อแนะนำสำหรับการเก็บสิ่งส่งตรวจทั่วไป
1.การเตรียมผู้ป่วยและภาชนะเก็บตัวอย่าง
1.ให้กรอกข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยลงในใบนำส่งทางห้องปฏิบัติการให้ครบถ้วนและชัดเจน
ได้แก่
·
ชื่อ นามสกุล หอผู้ป่วย อายุ
HN.
Diagnostic วันเวลาที่เก็บ ชนิดของสิ่งส่งตรวจ
·
แพทย์ผู้สั่งให้ตรวจ
และรายการที่ต้องการให้ทำการทดสอบ โดยทำเครื่องหมายถูก ( / )
ที่หน้าการทดสอบที่ต้องการส่งตรวจ ในกรณีผู้ป่วยนอก
ให้ระบุสิทธิการรักษาด้วย
2. เขียนป้ายสำหรับติดข้างภาชนะเก็บสิ่งส่งตรวจ ประกอบด้วย ชื่อ
นามสกุลผู้ป่วย
HN.
หอผู้ป่วย และการทดสอบที่ต้องการ
ให้ชัดเจนและอ่านง่ายโดยมี ในกรณีส่งงานธนาคารเลือดให้ระบุวันที่
และชื่อเจ้าหน้าที่ที่เจาะเก็บ
3. แนะนำให้ผู้ป่วยทราบถึงวิธีเก็บสิ่งส่งตรวจที่ถูกต้อง เช่น
การเก็บสิ่งส่งตรวจ / ตัวอย่าง
|
ข้อแนะนำ
|
เลือด
|
1.ควรงดอาหาร 6-8 ชั่วโมงสำหรับการตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด
2. ควรงดอาหาร 12 ชั่วโมงสำหรับการตรวจไขมันในเลือด
|
ปัสสาวะ
|
ก่อนการเก็บปัสสาวะ ให้ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศให้สะอาด
แนะนำให้ผู้ป่วย
ถ่ายปัสสาวะช่วงแรกทิ้งไปก่อนและเก็บปัสสาวะตอนกลางช่วง(
Mid stream urine ) และต้องไม่ปนเปื้อนอุจจาระ
|
อุจจาระ
|
ให้เก็บอุจจาระด้วยไม้เก็บอุจจาระ
ให้ได้อุจจาระปริมาณเท่ากับข้อนิ้วก้อย ควรเลือกส่วนที่มีมูก
เลือดปนหรือตัวพยาธิที่มองเห็น และไม่มีปัสสาวะปนเปื้อน
|
เสมหะ
|
แนะนำให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึกๆ
และขากเสมหะออกมาซึ่งจะได้ตัวอย่างจากปอดหรือหลอดลมส่วนลึกๆ
ควรเลือกเอาส่วนที่มีเลือดหรือหนองปนแนะนำให้เก็บตอนตื่นนอนเช้า
|
หมายเหตุ ควรแนะนำผู้ป่วยให้เก็บสิ่งส่งตรวจให้ได้ตามปริมาณที่แนะนำ |
ภาชนะ
|
ปริมาณ และแนวทางปฏิบัติ
|
กระป๋องสำหรับเก็บปัสสาวะ
|
20-30 ml.ปิดฝาให้สนิท
|
ขวดใส่อุจจาระ
|
ปริมาณเท่าข้อนิ้วก้อย และปิดฝาให้สนิท
|
Tube
ที่มี EDTA
|
2.5
ml mix
ให้เข้ากัน*
|
Tube
ที่มี NaF (
for Glucose)
|
2.5 ml mix
ให้เข้ากัน*
|
Tube
ที่มี 3.8% Citrate ( for PT,PTT )
|
2.5 ml mix
ให้เข้ากัน*
|
Tube sterile
สำหรับเจาะเก็บเลือด
Clotted
Blood
|
5 ml
ขึ้นไปปิดฝาให้สนิท
|
ขวด
Hemoculture
สำหรับเด็ก/ผู้ใหญ่
|
0.1-10
ml mix ให้เข้ากัน*
|
ขวด
Cary-blair
|
ไม้พันสำลี จิ้มสิ่งส่งตรวจ จุ่มใน
Agar
|
ขวด
Stuart media
|
|
ขวด
Sterile
สำหรับส่งเพาะเชื้อ
|
1.0 ml.
และปิดฝาให้สนิท
|
หมายเหตุ * การ Mix ให้ได้ผลดี โดยทำการปิดฝา Tube แล้วพลิกคว่ำ – หงายกลับไปมา 5-10 ครั้งทันที |
5. ข้อควรปฏิบัติและพึงระวังสำหรับการเจาะเก็บเลือดส่งตรวจ
5.1
ห้ามเจาะเลือดจากเส้นเลือดที่กำลังมีการให้สารน้ำหรือยา
5.2 ไม่ฉีดเลือดจาก
Syringe
ไปยังภาชนะจัดเก็บสิ่งส่งตรวจผ่านเข็ม (
ให้ปลดเข็มออกจาก
Syringe ก่อน )
เพราะจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตก ยกเว้นการเจาะเก็บ
Hemoculture
ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนการ เจาะเก็บ
Hemoculture
5.3 ห้ามถ่ายเทเลือดจากหลอดที่มีสารกันเลือดแข็งไปยังหลอด
Clotted blood
5.4 ห้ามนำเลือดเก็บในช่องแช่แข็งหรือช่องแช่เย็น
5.5 ขั้นตอนการเช็ดทำความสะอาดด้วย 70%
alcohol ควรรอให้
alcohol แห้งก่อนทำการเจาะเก็บ
5.6 กรณีที่ต้องเก็บเลือดใส่
Tube
ที่มีสารกันเลือดแข็งควร mix
ผสมเลือดและสารกันเลือดแข็งให้เข้ากันทันทีโดยพลิก-คว่ำหลอดกลับไปมา
5-10ครั้ง
5.7
ควรเจาะเลือดให้ได้ปริมาณเพียงพอตามที่กำหนด
5.8 การเจาะเก็บเลือดใส่หลอด
Capillary tube
สำหรับส่งตรวจ
MBB
ต้องเก็บให้ได้ปริมาณ 3 ใน 4 ส่วนของหลอดเป็นอย่างน้อย
และหุ้มปิดด้วยกระดาษทึบแสงสีน้ำตาลไม่ให้ถูกแสง
นำส่งห้องปฏิบัติการโดยเร็ว
5.9 การเจาะเลือดส่งตรวจหาเชื้อ
มาลาเรีย ควรเจาะเก็บขณะที่ผู้ป่วยมีอาการไข้-หนาวสั่น
|
|
|
ชนิดการเก็บตัวอย่าง
|
แนวทางปฏิบัติ
|
การเจาะเก็บเลือดจากปลายนิ้วหรือส้นเท้า
สำหรับการตรวจ
Hct, MBB, Glucose strip, Blood group, CBC (กรณีไม่สามารถเจาะจากเส้นเลือดดำได้)
|
1.บีบนวดหรือคลึงเบาๆบริเวณที่จะเจาะ
2.เช็ดทำความสะอาดด้วย 70%
alcohol ทิ้งให้แห้ง
3.ใช้ blood lancet
เจาะให้ลึกประมาณ 3
mm.
4.ใช้สำลีแห้งเช็ดเลือดหยดแรกทิ้งไป
5.บีบเบาๆให้เลือดไหลเข้า
Capillary tube red tab
ไม่ควรบีบเค้นอย่างแรงและไม่มีฟองอากาศ
6.ใช้ สำลีแห้ง sterile
ปิดแผลให้เลือดหยุดไหล
|
การเจาะเลือดจากเส้นเลือดดำ
สำหรับการตรวจทางโลหิตวิทยา เคมี ภูมิคุ้มกัน การเตรียมโลหิต
และการทดสอบอื่น
ในกรณี ส่งตรวจ
CD4, HIV Viral Load, HBV Viral Load, HCV Viral Load, HCV
genotype, เก็บตัวอย่างใส่ Volume EDTA
tube(ข้อ 6)
|
1. เตรียมภาชนะ (Tube)
ที่ปิดป้ายชื่อเรียบร้อย, Syringe และเข็ม,สายยางรัดแขน
2.
ใช้สายยางรัดตำแหน่งเหนือบริเวณที่จะเจาะประมาณ 5
นิ้วแล้วแนะนำให้ผู้ป่วยกำมือ
3. เช็ดทำความสะอาดตำแหน่งที่จะเจาะและบริเวณรอบ
ๆ ด้วย 70 % Alcohol ปล่อยไว้ให้แห้ง
4.
ทำการเจาะและดูดเอาเลือดให้ได้ปริมาณที่เพียงพอสำหรับการตรวจวิเคราะห์
5. ดึงปล่อยสายยางที่รัดแขนออกและใช้สำลีแห้ง
Sterile ปิดเบาๆ ตรงแผลแล้วดึงเข็มออก
6. ปลดเข็มออกจาก Syringe
ทิ้งในภาชนะที่ปลอดภัยแล้วถ่ายเทเลือดไปยังภาชนะหรือ Tube
ที่เตรียมไว้
7. ปิดฝาและผสมเลือดและสารกันเลือดแข็งให้เข้ากัน
8.
ส่งสิ่งตรวจไปยังห้องปฏิบัติการพร้อมใบนำส่งและสมุดรับ –
ส่งสิ่งส่งตรวจ
|
การเจาะเลือดส่งตรวจ
Blood gas
โดยวิธีเจาะเก็บด้วย
syringe
|
1.เคลือบ
syringe ด้วย heparin (โดยดูด
heparin เข้าไปใน syringe
แล้วฉีดออก )
2.เจาะเลือดจากเส้นเลือดแดงให้ได้ปริมาณ 1-2
ml.
3.ปิด syringe ให้มิดชิด
ไม่ให้มีอากาศผ่านเข้าออกได้ (ปิดปลายเข็มด้วยจุกยางและงอเข็ม)
4.นำ
syringe
ใส่ถุงพลาสติกและแช่เย็นในกระติกที่มีน้ำแข็งหรือมี Ice
pack
5.รีบนำส่งห้องปฏิบัติการทันที
|
การเจาะเลือดส่งตรวจ
Blood gas
โดยวิธีเจาะเก็บด้วย
capillary tube
|
1.ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นๆหรือหนาๆหุ้มบริเวณที่จะเจาะเลือด
3-5 นาที ก่อนเจาะเลือดเพื่อให้มี blood flow
ที่ดี หากต้องใช้การนวด ควรนวดเป็นจังหวะ เช่น
กดนิ้วหรือส้นเท้าที่จะเจาะ 1 วินาทีแล้วปล่อย 3 วินาทีสลับกัน
2.เอาผ้าที่หุ้มออก เจาะเลือดด้วย
Blood lancet ให้เกิด free flow
3.เช็ดเลือดหยดแรกออก นำ
heparinized capillary tube (เบิกได้ที่
OPD Lab) มา fill
เลือดเข้าประมาณ 85-90% ของความจุหลอด
capillary tube
4.ใส่แท่งแม่เหล็กสำหรับผสมเลือด
(mixing flea)เข้าไปในหลอด capillary
ที่บรรจุเลือดอยู่
5.ใช้จุกปิด
capillary tube ทั้ง 2
ด้าน เอาแม่เหล็กมารูดขึ้นลงข้าง capillary tube
เพื่อ mix เลือดและ
heparin ที่เคลือบอยู่ภายในให้รูดขึ้น-ลง 10 ครั้ง
6.นำ capillary tube
ใส่ถุงพลาสติกและแช่เย็นในกระติกที่มีน้ำแข็งหรือมี Ice
pack
7. รีบนำส่งห้องปฏิบัติการทันที
|
การเจาะเลือดส่งตรวจ
Blood Alcohol
|
1. กรอกข้อมูลผู้ป่วยในใบนำส่งและปิดป้ายชื่อ
– สกุล –HN ที่
Tube EDTA
2.
เจาะเลือดโดยปฏิบัติตามวิธีเจาะเก็บเลือดและใส่เลือดเข้าไปในหลอดที่เตรียมไว้
2.5 – 3 ml ปิดฝาให้สนิท
แล้วปิดทับด้วยพาราฟิล์ม
3. Mix โดยการคว่ำหลอดไป –
มา 5-10 ครั้ง
4.
นำสิ่งส่งตรวจนำส่งห้องปฏิบัติการโดยทันทีในวันและเวลาราชการ
ถ้าไม่สามารถส่งได้ทันทีให้เก็บแช่ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิ
2-8 C
|
2.2 ปัสสาวะ
ชนิดการเก็บตัวอย่าง
|
แนวทางปฏิบัติ
|
ปัสสาวะ(Random-Mid
stream Urine)
การเก็บปัสสาวะวิธีนี้ใช้สำหรับส่งตรวจ
U/A, UPT, Urine amylase, Urine electrolyte ,ตรวจหาสารเสพติดและสารพิษ |
1.เตรียมภาชนะสำหรับใส่ปัสสาวะที่ติดป้ายชื่อเรียบร้อยแล้ว 2.ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศให้สะอาด 3.ถ่ายปัสสาวะช่วงแรกทิ้งไปก่อนและเก็บปัสสาวะตอนกลางช่วง (Mid stream urine ) ให้ได้ปริมาณ 20-30 ml. แล้วถ่ายปัสสาวะช่วงท้ายทิ้งไป 4.ปิดฝาภาชนะให้สนิทนำส่งห้องปฏิบัติการพร้อมใบนำส่งและสมุดรับ-ส่งสิ่งส่งตรวจ |
ปัสสาวะแบบ 24 ชั่วโมง(Urine
24 Hours)
การเก็บปัสสาวะวิธีนี้เหมาะสำหรับการส่งตรวจ
Urine protein 24 hrs., Urine creatinine 24 hrs., Urine
electrolyte 24 hr. เป็นต้น
ในกรณี ส่งตรวจ
Urine VMA ติดต่อสอบถาม วิธีเก็บตัวอย่างที่
ห้องปฏิบัติการ(โทร 480)
|
1. เตรียมขวดสะอาดสำหรับเก็บและมีขีดบอกปริมาตร เช่น ขวดน้ำกลั่น
2. เขียนป้ายสำหรับติดขวดโดยระบุชื่อ-นามสกุล, HN.,วันและเวลาที่เริ่มเก็บ-เวลาที่ครบ
24 ชั่วโมง
3. ขั้นตอนการเก็บ
เริ่มจากให้ผู้ป่วยปัสสาวะทิ้งไปก่อนเวลาจะจัดเก็บ เช่น
จะเริ่มเก็บ 08.00 น. ให้ผู้ป่วยปัสสาวะทิ้งไปก่อนเวลา 08.00 น.
หลังจากนั้นให้เก็บปัสสาวะที่ผู้ป่วยขับถ่ายทุกครั้ง
เทใส่ขวดที่เตรียมไว้โดยระหว่างเก็บให้เก็บรักษาขวดในที่เย็น เช่น
ตู้เย็น กล่องโฟมใส่น้ำแข็งมีฝาปิด
4. เมื่อครบ24 ชั่วโมงให้บันทึกปริมาตรปัสสาวะทั้งหมดที่ได้
(หน่วยเป็น
ml.) เขย่าผสมให้เข้ากันแล้วแบ่งใส่
กระป๋องเก็บปัสสาวะ 5-10 ml.
ปิดฝาและเขียนชื่อ-นามสกุล, HN., Ward
ปริมาตรที่ได้ติดข้างภาชนะ
5.เขียนใบนำส่ง
ส่งห้องปฏิบัติการโดยระบุข้อมูลให้ครบถ้วนตามแบบฟอร์มใบนำส่งระบุปริมาตรปัสสาวะทั้งหมดที่ได้
|
การเก็บปัสสาวะสำหรับเพาะเชื้อ
(Urine culture)
|
ดูในหัวข้อการเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย
|
ชนิดการเก็บตัวอย่าง
|
แนวทางปฏิบัติ
|
Stool
การเก็บวิธีนี้สำหรับการตรวจ
Stool exam, stool occult blood, stool modified AFB for
Cryptosporidium spp., stool AFB stain for Mycobacterium spp.
|
1.เตรียมขวดหรือตลับที่ปิดป้ายชื่อเรียบร้อยและไม้สำหรับเขี่ยอุจจาระ
2.ให้ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระใส่กระโถนหรือโถส้วมโดยใช้กระดาษชำระรอง
3.เขี่ยอุจจาระโดยเลือกบริเวณที่มีมูก,
เลือดหรือตัวพยาธิปนมา
ให้ได้ปริมาณเท่าข้อปลายนิ้วก้อย
4.ปิดฝาให้สนิทนำส่งห้องปฏิบัติการ
พร้อมใบนำส่งและสมุดรับ-ส่งสิ่งส่งตรวจ
|
การเก็บอุจจาระเพื่อส่งเพาะเชื้อ
|
ดูในหัวข้อการเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย
|
การเก็บเพื่อวินิจฉัยโรคโปลิโอ
|
ดูในหัวข้อการเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย
|
ชนิดการเก็บตัวอย่าง
|
แนวทางปฏิบัติ
|
การเก็บ
CSF ส่งตรวจ
|
1.เตรียมป้ายชื่อ
– นามสกุล , Ward
ผู้ป่วยติดที่ภาชนะสำหรับใส่ (ขวด
Sterile) ให้ครบตามการทดสอบที่ต้องการ
นำส่งแยกตามห้องปฏิบัติการสาขาละขวดและปิดหมายเลขขวดที่
1,2,3 และกรอกข้อมูลในใบนำส่งให้ครบถ้วน
2.แพทย์ทำการเจาะแล้วดูด
CSF ให้ได้ปริมาณเพียงพอสำหรับการตรวจวิเคราะห์
3.ใส่
CSF ในขวด
Sterile ที่เตรียมไว้โดยใส่ขวดละ 1-2 ml
ปิดฝาให้สนิทนำส่งห้องปฏิบัติการสาขาละ 1
ขวด
4.นำสิ่งส่งตรวจพร้อมใบนำส่งและสมุดรับ
– ส่งห้องปฏิบัติการโดยเร็ว
|
น้ำเจาะปอด/ น้ำเจาะท้อง/ น้ำเจาะเข่า
|
1.เตรียมป้ายชื่อ
– นามสกุล – Ward
ผู้ป่วยติดที่ภาชนะสำหรับใส่สิ่งส่งตรวจ โดยใช้ขวด
Sterile
ให้ครบทุกห้องปฏิบัติการสาขาที่ต้องการตรวจ ห้องละ 1
ขวดและกรอกข้อมูลผู้ป่วยใบนำส่งให้ครบถ้วน
2.แพทย์ทำการเจาะดูด น้ำเจาะปอด/
น้ำเจาะท้อง/ น้ำเจาะเข่าให้ได้เพียงพอสำหรับการตรวจวิเคราะห์
3.ใส่ น้ำเจาะปอด/ น้ำเจาะท้อง/
น้ำเจาะเข่าในภาชนะที่เตรียมไว้ปิดฝาให้สนิทแล้วนำส่งห้องปฏิบัติการ
|
ชนิดการเก็บตัวอย่าง
|
แนวทางปฏิบัติ
|
การเก็บตัวอย่างโดยวิธีการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง(masturbation)
ใส่ในขวดแก้ว หรือ กระป๋องพลาสติก ที่แห้งและสะอาด มีฝาปิดสนิท
|
1.ควรงดยาทุกประเภท 7 วัน ก่อนวันเก็บอสุจิ
2.งดการร่วมเพศก่อนเก็บน้ำอสุจิ 2-3 วัน แต่ไม่เกิน 7 วัน
ทั้งนี้การตรวจแต่ละครั้งควรเก็บอสุจิ 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน
แต่ไม่เกิน 3 เดือน
3.ห้ามใช้ถุงยางอนามัยเก็บน้ำอสุจิเพราะจะทำให้เชื้ออสุจิเคลื่อนไหวช้าหรือตายได้
4.ต้องเก็บน้ำอสุจิให้หมดทุกครั้งที่มีการหลั่ง
ถ้าเก็บมาได้ไม่ทั้งหมดไม่ควรนำมาทดสอบ
5.ห้ามนำน้ำอสุจิไปเก็บแช่เย็น ทั้งนี้อุณหภูมิที่เหมาะสม
สำหรับเก็บน้ำอสุจิก่อนการตรวจอยู่ ระหว่าง 20-40 องศาเซลเซียส
|
ชนิดการเก็บตัวอย่าง
|
แนวทางปฏิบัติ
|
การเก็บอุจจาระเพื่อเพาะเชื้อแบคทีเรีย
|
1.ในกรณีเก็บจากถาดรองอุจจาระ ใช้ไม้พันสำลีปราศจากเชื้อ
ป้ายอุจจาระที่ถ่ายใหม่ ๆ ใส่ลงในขวด Carry blair Medium
ให้ลึกถึงก้นขวด แล้วหักไม้ส่วนเกินปากขวดทิ้งไป ปิดปากขวด
นำส่งห้องปฏิบัติการพร้อมใบนำส่ง
2.ในกรณีเก็บจาก
Rectum โดยใช้ไม้พันสำลีปราศจากเชื้อจุ่มลงที่
ขวด Carry blair Medium
เล็กน้อยเพื่อทำให้ลื่น แล้วสอดเข้าในทวารหนักของผู้ป่วย
ให้ลึกประมาณ 1-1.5 นิ้ว หมุนให้ครบรอบ
แล้วดึงออกมาใส่ขวด Carry blair Medium
ให้ลึกถึงก้นขวด แล้วหักไม้ส่วนเกินปากขวดทิ้งไป ปิดปากขวด
นำส่งห้องปฏิบัติการพร้อมใบนำส่ง
|
การเก็บอุจจาระเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคโปลิโอ
|
1.ให้ติดต่อขอรับภาชนะสำหรับเก็บอุจจาระได้ที่ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาคลินิก
ชั้นที่ 4 ตึกพยาธิวิทยา
2.ส่วนแบบฟอร์มการนำส่งให้ติดต่อขอรับได้ที่กลุ่มงานเวชกรรมสังคม
ซึ่งจะมีคำแนะนำในการเก็บตัวอย่างที่เหมาะสมให้
เมื่อทำการเก็บและกรอกแบบฟอร์มครบถ้วนแล้ว
3.ให้นำส่งห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาคลินิก
เพื่อดำเนินการส่งตรวจต่อ
|
การเก็บเสมหะเพื่อการย้อมสีและเพื่อเพาะเชื้อแบคทีเรีย
การทดสอบ
AFB, Modified AFB, Gram Stain
และ
Culture
|
1.เก็บเสมหะตอนเช้าหลังจากตื่นนอนใหม่ ๆ โดยผู้ป่วยบ้วนปากหลาย ๆ
ครั้งด้วยน้ำเปล่า เพื่อลดจำนวนเชื้อประจำถิ่นให้น้อยลง
ห้ามใช้น้ำยาบ้วนปากหรือน้ำยาฆ่าเชื้อใด ๆ
2.ให้ผู้ป่วยไอลึก ๆ แรง ๆ แล้วบ้วนเสมหะใส่ขวด
Stuart Medium (หรือบ้วนลงในตลับเปล่า
ใช้ไม้พันสำลีปราศจากเชื้อป้ายเอาเสมหะ
เลือกป้ายเอาจากส่วนของเสมหะที่มีสีเหลืองเขียวหรือดูแล้วผิดปกติ)
ปิดขวด แล้วนำส่งห้องปฏิบัติการพร้อมใบนำส่ง
และตรวจดูให้แน่ใจว่าเป็นเสมหะไม่ใช้น้ำลาย
เพราะหากสิ่งส่งตรวจไม่ถูกต้องจะทำให้ผลผิดพลาดได้
|
การเก็บสิ่งส่งตรวจจากลำคอ
(Throat swab)
เพื่อเพาะเชื้อแบคทีเรียโรคคอตีบ(Corynebacterium
diphtheriae)
|
1.ให้ผู้ป่วยอ้าปากให้กว้าง ใช้ไม้กดลิ้นลงบริเวณกลางลิ้น
แล้วใช้ไม้พันสำลีปราศจากเชื้อสอดเข้าไปป้ายบริเวณส่วนหลังของลำคอ
ต่อมทอนซิล หรือบริเวณที่อักเสบ หรือมีหนอง
ซึ่งต้องะวังไม่ให้ถูกลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม แล้วนำใส่ขวด
Stuart Medium หักไม้ส่วนเกินที่ยาวเกินปากขวดทิ้งไป ปิดปากขวด
นำส่งห้องปฏิบัติการ
2.ในกรณีสงสัย
C. diptheriae ให้ติดต่อขอรับ
Tube Pai’s Egg Medium Slant ที่ห้องปฏิบัติการเพื่อนำมาเป็นภาชนะสำหรับเก็บสิ่งส่งตรวจ
|
การเก็บหนองจากแผลหรืออวัยวะอื่น เพื่อย้อมสี
Gram Stain, AFB
|
1.ภาชนะที่ใช้เก็บคือ ขวด
Sterile
2.ในกรณีที่ ไม่สามารถเก็บใส่ ขวด
Sterile.ให้ใช้ Slide
ฝ้า
โดยเขียน ชื่อ นามสกุล, HN, Ward
ของผู้ป่วย บริเวณฝ้า ด้วยดินสอดำ แล้วนำ
Swab
ที่มีหนองมาป้ายตรงกลาง
Slide
ในลักษณะรูปวงรี ไม่หนาหรือบางจนเกินไป
ทิ้งไว้ให้แห้ง นำใส่ซองพลาสติกใส
เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
นำส่งห้องปฏิบัติการพร้อมใบนำส่ง
|
การเก็บหนองจากแผลหรืออวัยวะอื่น เพื่อเพาะเชื้อแบคทีเรีย
|
1.ในกรณีเป็นแผลปิด
ให้ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดบริเวณผิวหนังภายนอกรอให้แอลกอฮอล์แห้ง
ใช้เข็มสะกิดให้แผลเปิด แล้วไม้พันสำลีปราศจากเชื้อ
ป้ายหนองบริเวณก้นแผลใส่ในขวด
Stuart Medium
ให้ลึกถึงก้นขวด แล้วหักไม้ส่วนที่ยาวเกินปากขวดทิ้งไป
ปิดปากขวด ถ้าเป็นตุ่มหนองขนาดใหญ่
อาจใช้เข็มและกระบอกฉีดยาเจาะดูด ใส่ในขวด Sterile
ปิดปากขวด นำส่งห้องปฏิบัติการพร้อมใบนำส่ง
2.ในกรณีเป็นแผลเปิด ให้เก็บโดยใช้ไม้พันสำลีปราศจากเชื้อ
ป้ายหนองบริเวณก้นแผล
(ซึ่งต้องระวังการปนเปื้อนจากการสัมผัสกับผิวหนังบริเวณปากแผล)
แล้วใส่ในขวด Stuart Medium
ให้ลึกถึงก้นขวด
แล้วนำส่งห้องปฏิบัติการพร้อมใบนำส่ง
|
การเก็บปัสสาวะ เพื่อเพาะเชื้อแบคทีเรีย
|
1.ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศหญิงและชายด้วยสบู่
ล้างด้วยน้ำสะอาด ซับให้แห้ง
2.ให้ปัสสาวะทิ้งไปเล็กน้อย แล้งจึงปัสสาวะลงในขวด
Sterile ปิดปากขวด
นำส่งห้องปฏิบัติการพร้อมใบนำส่ง
|
การเก็บน้ำไขสันหลังและ
Body Fluid อื่น ๆ
เพื่อเพาะเชื้อแบคทีเรียและการย้อมสี
|
ให้เจาะเก็บใส่ในขวด
Sterile ปิดปากขวด
แล้วนำส่งห้องปฏิบัติการ
|
การเก็บเลือดเพื่อเพาะเชื้อแบคทีเรีย (Hemoculture)
|
1.การเตรียมผู้ป่วยและเก็บเลือดเพื่อส่งตรวจ
ในผู้ป่วยเด็กให้ส่งตรวจ
1 ขวด
โดยควรเจาะเก็บเลือดก่อนการให้ยาหรือขณะที่ไข้ขื้นสูง
ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ ให้ส่งตรวจ
2 ขวด
โดยควรเจาะเก็บเลือดให้ห่างกันอย่างน้อย
30 นาที
และในจำนวนนั้นควรเป็นเลือดที่เจาะในขณะที่ไข้ขึ้นสูง
และควรเปลี่ยนตำแหน่งที่เจาะเก็บเลือด
2.ปริมาณตัวอย่าง
ผู้ใหญ่/เด็ก ใช้เลือด ประมาณ 01-10
ml
3.วิธีการเก็บตัวอย่าง
3.1ให้ใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน
เช็ดทำความสะอาดบริเวณที่จะเจาะในลักษณะเช็ดวนเป็นวงกว้างประมาณ
3 นิ้ว
โดยไม่ซ้ำรอยเดิม เช็ดซ้ำด้วยแอลกอฮอล์ ใช้ผ้าก๊อสปราศจากเชื้อปิดไว้รอให้แห้ง
3.2 ทำความสะอาดบริเวณจุกยางด้วย
70% alcoholหรือสารละลายไอโอดีน(10%
povidine-iodine)
3.3 ใช้กระบอกฉีดยาและเข็ม เจาะเลือด ตามปริมาตรที่ต้องการ
3.4 เปลี่ยนเข็มเจาะเลือด และแทงเข็มผ่านจุกยางของขวด
3.5
ปล่อยเลือดลงสู่ขวดตามปริมาตรที่กำหนด เขย่าขวดเบา ๆ
เพื่อให้เลือด และน้ำยาเข้ากันดี (ต้องไม่มีก้อน
Clotted เกิดขึ้น)
แล้วนำส่งห้องปฏิบัติการพร้อมใบนำส่ง
|
การเก็บ
KOH และ Leprosy
|
1.ในกรณีผู้ป่วยนอก ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาดำเนินการเอง
2.ในกรณีผู้ป่วยใน ให้ขูด
Lesion ใส่ slide
ประกบกันส่งตรวจ
|
การเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค
SARS และ Avian
Flu
|
ให้ประสานกับงาน
IC เพื่อดำเนินการตามแผน
ของโรงพยาบาล
|
ภาชนะเก็บสิ่งส่งตรวจ
|
วิธีการเก็บรักษาภาชนะเก็บ
|
ใช้เก็บสิ่งส่งตรวจ
|
ขวด
Sterile
|
เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง
|
Urine, CSF และ body fluid
ของร่างกายเพื่อทำ C/S
|
ขวด
Stuart Medium
|
เก็บไว้ที่ตู้เย็นอุณหภูมิ
2-8 C
และก่อนใช้ทุกครั้งต้องนำมาไว้ที่อุณหภูมิห้องประมาณ 20
นาที เพื่อให้หายเย็น
|
Sputum, Throat’s swab และ Pus Sputum
จากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อทำ C/S
|
ขวด
Carry blair
|
Stool, Rectal swab เพื่อทำ C/S
|
|
ขวด
Hemoculture
|
เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องเก็บ(15-30C)
และเป็นที่แสงแดดส่องไม่ถึง และ
ห้ามเก็บไว้ในตู้เย็น
|
เก็บเลือดเพื่อทำ
C/S
|
ตลับพลาสติก
Slide ปลายฝ้า
|
เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง
|
เก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อทำ
Gram stain, AFB stain
|
ข้อควรระวัง
ภาชนะทุกชนิด มีวันหมดอายุ กรุณาตรวจดูที่ข้างขวด หากหมดอายุแล้วห้ามใช้และกรุณานำขวดส่งคืนที่ตึกพยาธิ ภาชนะที่เก็บสิ่งส่งตรวจแล้ว ( สำหรับเพาะเชื้อแบคทีเรีย ) ไม่สามารถนำส่งห้องปฏิบัติการได้ภายใน 2 ชั่วโมง ให้เก็บไว้ที่ตู้เย็นอุณหภูมิ 2-8 C. ยกเว้น ภาชนะที่ใส่ CSF, Body Fluid, Hemoculture ให้เก็บที่อุณหภูมิห้อง
การทดสอบ
|
ขั้นตอนการปฏิบัติ
|
1.การทดสอบ
VCT (Venous Clotting Time)
2.Bleeding Time
3.การเก็บตัวอย่างกรณีไข้หวัดนก
|
1.สำหรับการตรวจ
VCT และ
Bleeding Time
ให้หอผู้ป่วยกรอกข้อมูลผู้ป่วยในใบนำส่งให้ครบถ้วนแล้วนำส่งที่จุดรับสิ่งส่งตรวจ
2.เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับใบนำส่งแล้วก็จะออกไปทำการเจาะเก็บ
3.สำหรับการเก็บตัวอย่างกรณีไข้หวัดนกให้โทรติดต่องานจุลชีววิทยาโดยตรงที่
หมายเลขภายใน
481
เจ้าหน้าที่งานจุลชีววิทยาจะเป็นผู้ดำเนินการเก็บตัวอย่างโดยเร็ว
ในกรณีนอกเวลาราชการ
ติดต่อหมายเลขภายใน 472 ห้องปฏิบัติการผู้ป่วยนอก
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)