Clock


วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ Thrombocytopenia


  ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ Thrombocytopenia      
เมื่อมีบาดแผลเกิดขึ้นเช่นโดนมีดบาดตัวเอง แต่ทันทีทันใดนั้นร่างกายของเราก็จะเริ่มซ่อมแซมบาดแผลที่เกิด
ขึ้นทันที สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?
ภายในเวลาไม่กี่นาที ปลายเส้นเลือดที่ขาดก็ถูกอุดให้เลือดหยุดด้วย เกล็ดเลือด (platelets) และเส้น
ใยโปรตีนที่เรียกว่า ไฟบริน (fibrin) เลือดที่ออกมาอยู่ในแผลก็จะแข็งตัวกลายเป็นสะเก็ดคลุมแผลอยู่ ร่างกาย
เริ่มส่งเลือดมายังบริเวณบาดแผลเพิ่มขึ้น เม็ดเลือดขาวที่มากับกระแสเลือดก็จะคอยฆ่าพวกเชื้อโรคที่บุกรุกเข้า
มา คอยจับทำลายพวกเซลล์ที่ตายแล้วและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ขณะเดียวกัน เซลล์ชั้นนอกสุดของผิวหนัง
(epidermal cell) ก็จะแบ่งตัว และเคลื่อนที่จากขอบแผลทั้งสองข้างเข้ามาบรรจบกันใหม่ตรงกลางภายใต้
สะเก็ดเลือด บาดแผลก็จะถูกคลุมด้วยชั้นเซลล์เหมือนเดิม เส้นเลือดในบริเวณนั้นจะเจริญแทงเข้ามายังบาด
แผล เพื่อนำออกซิเจนและอาหารมาเลี้ยง
เซลล์ที่เรียกว่าไฟโบรบลาสต์ (fibroblast) จะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างเนื้อเยื่อมาเสิรมบริเวณ
บาดแผลให้เต็มโดยการผลิตคอลลาเจน (collagen) ซึ่งเป็นเส้นใยที่มีความเหนียว ทำให้บาดแผลมีความ
แข็งแรง ขณะเดียวกันไฟโบรบลาสต์จะหดตัว ทำให้บาดแผลสองข้างชิดกันเข้ามามากขึ้น ปลายเส้นประสาท
ที่ขาดก็ค่อยๆ สอดเข้าไปในแผลเพื่อให้ความรู้สึกบางส่วนของบริเวณนั้นกลับคืนมา เส้นเลือดต่างๆ ก็จะงอก
เข้าหากันจนประสานกันเป็นร่างแหอยู่ภายในบาดแผล
ในที่สุด สะเก็ดเลือดบนแผลก็หลุดออกไป ผิวหนังก็กลับมาประสานกันเหมือนเดิม เนื้อเยื่อภายใต้นั้น
ก็จะหนาแน่นไปด้วยไฟโบรบลาสต์และเส้นใยคอลลาเจนซึ่งจะค่อยๆ เรียงตัวให้อยู่ในแนวที่รับความตึงเครียด
ได้ดีที่สุด เพื่อให้บาดแผลที่หายแล้ว มีความแข็งแรงเหมือนเดิม 

PLATELETS เป็นชิ้นส่วนของเม็ดเลือดแดง มีขนาดเล็กกว่าเม็ดเลือดแดงมาก ในเลือด 1 หยด จะมี
เม็ดเลือดแดง 5,000,000 เซลล์ มีเกล็ดเลือดประมาณ 140,000 - 450,000 ชิ้น มีความสำคัญในการแข็งตัว
ของเลือดเมื่อมีแผลเพื่อป้องกันการเสียเลือดมากเกินไป

ค่าสูง ได้แก่ โรคของไขกระดูกซึ่งเป็นแหล่งสร้างเม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด
ค่าต่ำ อาจบ่งบอกถึงความผิดปกติในระบบภูมิคุ้มกัน และอีกหลายๆโรค
Range ค่าปกติ : 150,000 to 400,000/mm3

เกล็ดเลือด (Platelet or Thrombocyte) หรือเศษเม็ดเลือด แผ่นเลือดไม่ใช่เซลล์ แต่เป็นชิ้นส่วนของ
ไซโตพลาสซึมที่เกิดจากไซโตพลาสซึมของเซลล์ที่มีขนาดใหญ่เรียกว่า เมกะคาริโอไซต์
(Magakaryocyte)ซึ้งสร้างมาจากไขกระดูกแล้วขาดเป็นชิ้นๆ เกล็ดเลือดในคนมีขนาดคล้ายเกล็ดปลา
เว้าตรงกลางทั้งสองข้างคล้ายเม็ดเลือดแดงมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-4 ไมครอน มีอยู่ในร่างกายประมาณ
250000-35000 ชิ้นต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร มีอายุประมาณ 10 วัน เกล็ดเลือดทำหน้าที่เกี่ยวกับการแข็งตัว
ของเลือด(Blood clotting)

All blood cells originate and mature in the bone marrow. They begin in 'stem' cells, then differentiate into the red cells, white cells, and platelets. The white blood cells include three varieties, granlocytes, monocytes (macrophages) and lymphocytes.

Normal platelet counts range from 150,000 to 400,000 per cu/ml. Those with ITP have a lower platelet count. It can range from severe cases that hover close to zero to more mild cases where the counts stay in closer to 100,000. 30,000 is often considered a ‘safe’ count’, one that is high enough to protect against cerebral hemorrhage.

In people with ITP the platelets are often enlarged. They stay in the blood stream from a few hours to close to the normal eight to ten days depending on the severity of the disease.

Platelets play a crucial part in the blood clotting process by forming a platelet plug. This is a two step process. First, single platelets bind to the site of the wound (adhesion). Next, the platelets bind to each other (activation). Activation can be stimulated by components released when the blood vessel is damaged and by thrombin, released during the blood clotting process. When platelets become activated they change. They release agents which recruit and activate the surrounding platelets. The result of these two processes is the formation of fibrin which stabilizes the platelet plug, stops bleeding and allows injuries to heal.


"ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ" 
นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์
--------------------------------------------------------------------------------

โลหิต คือของเหลวที่ไหลเวียนไปทั่วร่างกายโดยอาศัยเส้นโลหิตขนาดต่าง ๆ โดยเฉลี่ยแล้ว ปริมาณโลหิตในร่างกายผู้ใหญ่ปกติ จะมีประมาณร้อยละ 8 ของน้ำหนักร่างกาย คือ ประมาณ 5-6 ลิตรในเพศชาย และ 4-5 ลิตรในเพศหญิง เมื่อนำโลหิตในร่างกาย มาแยกส่วนประกอบ ของโลหิต จะได้ส่วนประกอบของโลหิต 2 ส่วนคือ พลาสมา และ เม็ดโลหิต

พลาสมาหรือน้ำเหลือง มีลักษณะเป็นของเหลวสีเหลืองอ่อน ค่อนข้างใส ส่วนที่เป็นพลาสมา ประกอบด้วยน้ำ สารชีวเคมี เอนไซม์ ฮอร์โมนแอลบูมิน อิมมูโนโกบูลินชนิดต่าง ๆ และสารที่ช่วยให้เกิดการแข็งตัวของโลหิต


ในส่วนของ เซลล์เม็ดโลหิต ประกอบด้วยเม็ดโลหิตแดง เม็ดโลหิตขาวและเกล็ดโลหิต ซึ่งโลหิตในร่างกายมนุษย์นั้นมีคุณสมบัติพิเศษ คือมีความหนืด มีความเป็นกรด เป็นด่าง มีความเข้มข้น และมีสีแดงสดเพราะสารฮีโมโกลบินในเม็ดโลหิตแดง ซึ่งเซลล์เม็ดโลหิตแดง ช่วยในการถ่ายเทออกซิเจนให้กับร่างกาย


ประชาชนส่วนใหญ่พอจะทราบแล้วว่าเม็ดโลหิตแดง และเม็ดโลหิตขาวคืออะไร มีรูปร่างหน้าตา และหน้าที่อย่างไร แต่ความรู้เรื่องเกล็ดโลหิตนั้น มีผู้สงสัยสอบถาม ขอความรู้อยู่เสมอ ๆ นายแพทย์อิศรางค์ นุชประยูร แห่งภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความรู้ในเรื่อง เกล็ดเลือดดังนี้


ถาม : เกล็ดเลือดคืออะไร และขอทราบหน้าที่ของเกล็ดเลือด
ตอบ : เกล็ดเลือดเป็นชิ้นส่วนเล็ก ๆ ในเลือด โดยปกติเลือด 1 ซีซี จะมีเกล็ดเลือด ประมาณ 300 ล้านชิ้น เมื่อใดที่คนเราเกิดมีเลือดออก เช่น จากบาดแผล, เลือดกำเดาออก หรือมีประจำเดือน เกล็ดเลือดเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ทำให้เลือดเกิดการแข็งตัว ไหลช้าลง และหยุดได้ในที่สุด และมีอายุการทำงานประมาณ 7 วันในร่างกายจึงมีการสร้างทดแทน อยู่ตลอดเวลา


ถาม : ในคนเราโดยทั่วไป จะประสบภาวะเกล็ดเลือดต่ำได้เมื่อใด
ตอบ : ประชาชนทั่วไปคงจะคุ้นกับโรคไข้เลือดออก ซึ่งขณะนี้ กำลังระบาดอยู่ ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งมียุงเป็นพาหะ เมื่อยุงกัดคน นำเชื้อไวรัส ไข้เลือดออกเข้าสู่ร่างกาย นอกจากส่งผลให้เป็นโรคนี้แล้ว ผลแทรกซ้อน สำคัญก็คือ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ทำให้เกิดปัญหา จุดจ้ำเลือดเล็ก ๆ ตามผิวหนัง หรือมีเลือดออก ที่อวัยวะภายใน ทำให้เกิดสภาพช็อก และอาจเสียชีวิตได้ ในโรคไข้เลือดออกที่รุนแรง และมีเกล็ดเลือดต่ำมาก จำเป็นต้องให้การรักษาโดยให้เกล็ดเลือดทดแทน
โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสอีกหลายตัวก็ทำให้เกิดสภาวะเกล็ดเลือดต่ำได้ แต่ไม่รุนแรงเท่ากับ โรคไข้เลือดออก นอกจากนั้น ภาวะไขกระดูกฝ่อ โรคไตวายเรื้อรัง โรคเอสแอลอี บางระยะ โรคตับแข็ง ก็สามารถทำให้ เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำได้


ถาม : ผู้ป่วยมะเร็งบางรายเกิดภาวะเลือดต่ำได้หรือไม่
ตอบ : ผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็ง ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ทำให้ร่างกาย สร้างเกล็ดเลือดไม่ได้ชั่วคราว จึงมักจะมีจำนวนเกล็ดเลือดต่ำลง โดยทั่วไป เมื่อเกล็ดเลือดในร่างกาย ลดลงบ้าง จะไม่มีอาการใด ๆ เว้นแต่ว่า เมื่อใดที่เกิดอุบัติเหตุ เล็กน้อย จะมีอาการฟกช้ำมาก หรือเลือดออกไม่หยุด อย่างใดก็ดี เมื่อใดเกล็ดเลือดต่ำมาก หรือไม่มีเลย เมื่อนั้นอาจมีอาการเลือดออกได้เอง โดยไม่มีอุบัติเหตุก็ได้ ซึ่งเลือดออกที่อันตราย ที่สุดคือ ภาวะเลือดออกในศีรษะ ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ ในระยะเวลาอันสั้น
ดังนั้นผู้ป่วยโรคมะเร็ง, โรคไขกระดูกฝ่อหรือโรคอื่น ๆ ก็มีเกล็ดเลือดต่ำ จึงต้องได้รับการรักษา ด้วยเกล็ดเลือดจากผู้อื่น ให้ทันท่วงที เพื่อป้องกันมิให้ เกิดอาการ เลือดออก ในอวัยวะต่าง ๆ หรือเมื่อจำเป็นจะต้องทำการผ่าตัดเป็นต้น


ถาม : เมื่อร่างกายเข้าสู่ภาวะเกล็ดเลือดต่ำจากโรคต่าง ๆ แล้วจะได้เกล็ดเลือด มาทดแทน
        ให้ร่างกายโดยวิธีใด

ตอบ : ในเลือดที่ได้จากผู้บริจาคโลหิตแต่ละครั้งนั้น ทางศูนย์บริการโลหิต จะนำไปแยกส่วนเม็ดเลือดแดง, พลาสมา และเกล็ดเลือด ออกจากกัน เพื่อให้ได้ประโยชน์ สูงสุด เกล็ดเลือดที่ได้จากการบริจาคแต่ละครั้งนั้น ถึงแม้ว่าจะมี มากมายประมาณ ห้าหมื่นล้านชิ้น แต่ไม่พอเพียงที่จะช่วยรักษาภาวะเกล็ดเลือดต่ำในผู้ใหญ่ เนื่องจากเมื่อใด ที่ผู้ป่วยมีเกล็ดเลือดต่ำ จนต้องได้รับการรักษาด้วยเกล็ดเลือด มักจะต้องได้เกล็ดเลือด จากผู้บริจาค 6-8 คนรวมกัน จึงจะเพียงพอที่ จะหยุดเลือดที่กำลังไหลอยู่ และป้องกัน ไม่ให้เลือดออกใหม่ได้ นอกจากนี้ เนื่องจากเกล็ดเลือดทำงานได้เพียง 5-7 วันหลังจากเข้าสู่ ร่างกาย ดังนั้นผู้ป่วยบางราย จึงต้องได้รับเกล็ดเลือดทุกสัปดาห์ เพื่อป้องกันเลือดออก, ดังนั้นท่านผู้อ่านคง จะเห็นแล้วว่า การบริจาคโลหิตเป็นประจำ จึงช่วยชีวิตผู้ป่วย ได้มากกว่า 1 รายคือ เม็ดเลือดแดง ให้แก่ผู้ป่วยรายหนึ่งที่ซีด ส่วนเกล็ดเลือดจะนำไปช่วยชีวิตผู้ป่วย อีกรายหนึ่งที่เลือดออก


ในปัจจุบันการรักษามะเร็งด้วยยาที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายขาด จากมะเร็งมากขึ้น ผู้ป่วยเหล่านี้ จึงต้องพึ่งการบริจาคเกล็ดเลือดเพิ่มขึ้น มากกว่าสมัยก่อน เกล็ดเลือด จึงเป็นสิ่งที่หาได้ยากกว่าเม็ดเลือดแดง และพลาสมา ในปัจจุบัน สำหรับผู้ป่วย ที่ต้องได้รับเกล็ดเลือดหลายครั้ง จะเริ่มมีอาการต่อต้านเกล็ดเลือด ที่ได้มาจากผู้อื่น กล่าวคือ เมื่อได้รับเกล็ดเลือดแล้ว จำนวนเกล็ดเลือดจะสูงขึ้น แล้วลดลงอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันจึงมีทางเลือก อื่น ๆ ที่ทำให้ผู้บริจาค สามารถให้เกล็ดเลือดปริมาณมาก ๆ ได้ เพื่อให้พอเพียง แก่การรักษาผู้ป่วย ที่มีเกล็ดเลือดต่ำ และป้องกันปัญหาการต่อต้านเกล็ดเลือด ในอนาคต


วิธีหนึ่งซึ่งทำให้ผู้ป่วยบริจาคสามารถให้เกล็ดเลือดได้มาก คือ การบริจาคเกล็ดเลือด โดยเฉพาะ ด้วยวิธีที่เรียกว่า Apheresis ในวิธีนี้ ผู้บริจาคให้เลือดแล้ว จะถูกปั่นแยกทันที ส่วนที่เป็นเกล็ดเลือด จะถูกเก็บไว้ แต่ส่วนอื่นคือ เม็ดเลือดแดง และพลาสมา จะกลับคืนเข้าสู่ ผู้บริจาค ดังนั้นผู้บริจาค จึงให้เพียงเกล็ดเลือดจำนวนมากเท่านั้น ไม่สูญเสียเม็ดเลือดแดง หรือพลาสมา คนปกติจะสร้างเกล็ดเลือดขึ้นมาทดแทนอย่างรวดเร็ว หลังจากการบริจาค เกล็ดเลือดแต่ละครั้ง จึงสามารถทำการบริจาคเกล็ดเลือดได้ทุก 2 สัปดาห์ โดยที่ไม่มีผลเสีย ต่อร่างกาย ซึ่งต่างจาการบริจาคโลหิตตามปกติ ซึ่งทำได้ไม่บ่อยกว่าทุก 3 เดือน เกล็ดเลือดเหล่านี้ มีความหมายต่อผู้ป่วยมาก เพราะทำให้ลดปัญหาการขาดแคลนเกร็ดเลือด และป้องกันปัญหาการต่อต้านเกล็ดเลือดได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ดี เทคโนโลยี Apheresis นี้ มีใช้เฉพาะที่ศูนย์บริการโลหิต และโรงเรียนแพทย์บางแห่ง ในปัจจุบัน ผู้ที่สนใจอาจติดต่อ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้


Platelet count การนับจำนวนเกล็ดเลือด
How the Test is Performed: 
Adult or child: 
Blood is drawn from a vein ( venipuncture ), usually from the inside of the elbow or the back of the hand. The puncture site is cleaned with antiseptic, and a tourniquet (an elastic band) or blood pressure cuff is placed around the upper arm to apply pressure and restrict blood flow through the vein. This causes veins below the tourniquet to distend (fill with blood). A needle is inserted into the vein, and the blood is collected in an air-tight vial or a syringe. During the procedure, the tourniquet is removed to restore circulation. Once the blood has been collected, the needle is removed, and the puncture site is covered to stop any bleeding .

Infant or young child: 
The area is cleansed with antiseptic and punctured with a sharp needle or a lancet. The blood may be collected in a pipette (small glass tube), on a slide, onto a test strip, or into a small container. Cotton or a bandage may be applied to the puncture site if there is any continued bleeding.

How to Prepare: 
Adults: 
No special preparation is necessary.

Infants and children: 
The physical and psychological preparation you can provide for this or any test or procedure depends on your child's age, interests, previous experience, and level of trust. For specific information regarding how you can prepare your child, see the following topics as they correspond to your child's age:
infant test or procedure preparation (birth to 1 year)
toddler test or procedure preparation (1 to 3 years)
preschooler test or procedure preparation (3 to 6 years)
schoolage test or procedure preparation (6 to 12 years)
adolescent test or procedure preparation (12 to 18 years)


Risks: 
excessive bleeding
fainting or feeling lightheaded
hematoma (blood accumulating under the skin)
infection (a slight risk any time the skin is broken)
multiple punctures to locate veins


Normal Values: 
150,000 to 400,000/mm3

Note: mm3 = millimeters cubed

Abnormal Results: 
A diminished number of platelets (below the lower limit of normal) is called thrombocytopenia and an elevated number (above the upper limit of normal) is called thrombocytosis.

A decreased numbers of platelets may be associated with: 
cancer chemotherapy
disseminated intravascular coagulation (DIC)
hemolytic anemia
hypersplenism
idiopathic thrombocytopenic purpura (ITP)
leukemia
prosthetic heart valve
sequela of massive blood transfusion

Increased numbers of platelets may be associated with: 
polycythemia vera
post-splenectomy syndrome
primary thrombocytosis
certain malignancies
early CML

Additional conditions under which the test may be performed: 
acquired platelet function defect
acute lymphocytic leukemia
acute nonlymphocytic leukemia (AML)
atheroembolic renal disease
chronic symptomatic HIV infection
congenital platelet function defects
deep intracerebral hemorrhage
eclampsia
hairy cell leukemia
hemolytic-uremic syndrome (HUS)
hemorrhagic stroke
hypertensive intracerebral hemorrhage
idiopathic aplastic anemia
infectious mononucleosis (CMV)
infectious mononucleosis (EB)
intracerebral hemorrhage
lobar intracerebral hemorrhage
macroglobulinemia of Waldenstrom
multiple myeloma
paroxysmal nocturnal hemoglobinuria (PNH)
pernicious anemia
placenta abruptio
pre-eclampsia
primary myelofibrosis
primary thrombocythemia
secondary aplastic anemia
thrombotic thrombocytopenic purpura
von Willebrand's disease


Special Considerations: 
Platelets may be decreased slightly from normal menstruation.

Drugs that can increase platelet counts include oral contraceptives.

Drugs that can decrease platelet counts include acetaminophen - oral, aspirin, chemotherapeutic agents, chloramphenicol, colchicine, H2 blocking agents, hydralazine, indomethacin, isoniazid, quinidine, streptomycin, sulfonamide, thiazide diuretic, and tolbutamide.

Veins and arteries vary in size from one patient to another and from one side of the body to the other. Obtaining a blood sample from some people may be more difficult than from oth

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหา