และชนิดที่ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย หรือบางชนิดเป็นแบคทีเรียประจำถิ่นในร่างกายของเรา เพื่อช่วย
สร้างความสมดุล และคอยป้องกันเชื้อโรคที่เป็นอันตรายได้ระดับหนึ่ง แต่ในบางครั้งเมื่อร่างกายเกิด
ความอ่อนแอลง เชื้อประจำถิ่นอาจเพิ่มจำนวนมากเกินไปจนทำให้เสียสมดุลและเกิดความผิดปกติได้
แบคทีเรีย จะมีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถมองด้วยตาเปล่า ดังนั้นเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้น เช่นอาการ
เจ็บคอ ทอลซินอักเสบแดง มีเสมหะเป็นสีเหลือง/เขียว แผลเป็นหนอง ปวด บวม ร้อน เป็นต้น
ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายได้เข้ามาสู่ร่างกายตามช่องทางต่างๆเช่น ปาก คอ หู ตา
จมูก ทวาร บาดแผล เป็นต้น เมื่อแบคที่เรียที่เป็นอันตรายเข้ามาในร่างกายเรา ธรรมชาติร่างกายของ
มนุษย์ก็จะมีหน่วยกำจัดสิ่งแปลกปลอม เช่นเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆที่จะมากำจัดเชื้อโรค ถ้าหน่วยทหาร
ร่างกายชนะคือสามารถกำจัดทำลายสิ่งแปลกได้ ร่างกายอาจผิดปกติเพียงเล็กน้อยหรืออาจไม่มีอาการ
อะไรเลย แต่ถ้าร่างกายไม่สามารถกำจัดได้ทัน เนื่องจากเชื้อโรคมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว
เข้ามาแบบกองโจรแล้วรีบหลบซุ่มฟักตัวในจุดที่เม็ดเลือดขาวตามไม่พบ หรือในช่วงร่างกายกำลัง
อ่อนแอ กองทัพเม็ดเลือดขาวไม่แข็งแรงหรือมากพอที่จะกำจัด ในระหว่างการต่อสู้เพื่อทำลายสิ่ง
แปลกปลอม จะมีการระดมเม็ดเลือดขาวมาในบริเวณติดเชื้ออย่างมาก ทำให้เห็นเป็นหนอง มีอาการ
ปวด บวม แดง เป็นต้น ถ้ากองกำลังเม็ดเลือดขาวด่านแรกสู้ไม่ได้ เจ้าเชื้อโรคก็จะทำให้เกิดการเจ็บ
ป่วยต่างๆนานา ตามลักษณะของเชื้อ เช่น ท้องร่วง ท้องเสีย เจ็บคอ มีไข้ ปอดบวมได้มากมาย
เมื่อเกิดอาการผิดปกติข้างต้นขึ้น เมื่อมาถึงแพทย์บางชนิดแพทย์มีความแน่ใจก็จะสามารถให้ยาต่อต้าน
เชื้อโรคที่เรียกว่า ยาปฏิชีวนะ หรือ แอนตีไบโอติค หรือ ยาแก้อักเสบ ได้เลยทันทีเพื่อให้ไปช่วยทำลาย
ยับยั้งการเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย และให้เม็ดเลือดขาวมากำจัดต่อจนจบ ร่างกายก็จะสามารถกลับมาสู่
ภาวะปกติได้ตามเดิม
แต่อีกส่วนหนึ่ง แพทย์จำเป็นต้องทราบชนิดที่แน่นอนของแบคทีเรีย เนื่องจากเชื้อแต่ละชนิดที่
แตกต่างกันจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะให้ตรงกับชนิดของเชื้อโรค มิฉะนั้นนอกจากจะเปลื้องเงิน
ไม่หายแล้ว เชื้ออาจดื้อต่อยาทำให้การรักษาต้องยุ่งยากมากยิ่งขึ้น
ห้องแล็ป จะทำหน้าที่ในการตรวจพิสูจน์ แยกเชื้อออกมาให้ชัดเจนตามหลักการ เพื่อให้ทราบว่า
เชื้อตัวไหนที่เป็นตัวต้นเหตุที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วย ตรวจหาชนิดและปริมาณยาที่เหมาะที่สุด
ในการทำลายเชื้อโรควิธีการที่จะได้เชื้อมาเพาะเลี้ยงพิสูจน์ จะมาจากสารคัดหลั่งต่างจากบริเวณ
ที่มีความผิดปกติ เช่น
อาการเจ็บคอ มีเสมหะเป็นสีเหลือง/เขียว | สิ่งส่งตรวจเพื่อหาเชื้อคือ
เสมหะที่มีหนองปน ก็จะมีตัว สาเหตุปนติดมาด้วย |
บาดแผลติดเชื้อ อักเสบ มีหนอง บาดแผลติดเชื้อ อักเสบ มีหนอง บาดแผลติดเชื้อ อักเสบ มีหนอง | สิ่งส่งตรวจเพื่อหาเชื้อคือ
หนองบริเวณบาดแผล ก็จะมีตัว สาเหตุปนติดมาด้วย |
ท้องร่วง ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเสีย | สิ่งส่งตรวจเพื่อหาเชื้อคือ
อุจจาระ
ก็จะมีตัวสาเหตุปนติด มาด้วย |
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ปัสสาวะขุ่น | สิ่งส่งตรวจเพื่อหาเชื้อคือ
ปัสสาวะที่มีหนองปน
ก็จะมีตัว สาเหตุปนติดมาด้วย |
แยกชนิดของเชื้อขั้นต้น ขั้นต่อมาจะนำสิ่งส่งตรวจที่มีเชื้อแบคทีเรียอยู่ ใส่ลงในอาหารเลี้ยงเชื้อที่
สนับสนุนการเติบโตอย่างรวดเร็วในจานหรือหลอดทดลอง เชื้อจะโตจนมีขนาดใหญ่เรียกว่า โคโลนี
ซึ่งมีขนาดและลักษณะจะเพาะ อาจต้องทดสอบบางชนิดเพื่อแยกย่อยให้ได้ชนิดของเชื้ออย่างแน่
นอน จากนั้นจะไปทดสอบหาเพื่อหายาปฏิชีวนะที่เหมาะสม เพื่อการรักษาต่อไป
จากการย้อมแยกชนิดเชื้อด้วยวิธี gram's stain จะช่วยแยกแยะเชื้อแบคทีเรียออกเป็นหมวดหมู่ได้
กว้างๆดังนี้แยกโดยดูจากการติดสี
ชนิดติดสีน้ำเงิน เรียก แบคทีเรียพวกนี้ว่า แกรมบวก
ชนิดที่ติดสีแดง เรียก แบคทีเรียพวกนี้ว่า แกรมลบ
แยกโดยดูจากรูปร่างของเชื้อ
ชนิดที่มีรูปร่างทรงกลม หรือค่อนข้างกลม เรียกแบคทีเรียพวกนี้ว่า คอคไซ (cocci)
ชนิดที่มีรูปร่างเป็นแท่ง หรือท่อนสั้นๆ เรียกแบคทีเรียพวกนี้ว่า แบซิลไล (bacili)
แยกโดยดูการการเรียงตัวหรือการจับตัวกัน
เช่นการเกาะตัวรวมกันเป็นกลุ่ม การต่อเรียงตัวกันยาวเหมือนโซ่ การอยู่กันเป็นคู่ๆ เป้นต้น
ลองมาดูลักษณะของเชื้อแบคทีเรียที่ได้จากการเพาะเชื้อในห้องปฏิบัติการชันสูตร ห้องแล็ป ว่ามีหน้า
ตาอย่างไรบ้าง
เริ่มต้นเมื่อแพทย์เก็บตัวอย่างที่ต้องการเพาะแยกเชื้อใส่ลงในหลอดอาหารป้องกันมิให้เชื้อตายก่อนมา
ถึงห้องแล็ป (หลอดสีเหลืองตามรูป)ห้องแล็ปจะใช้ลูปมาเผาล้นไฟเพื่อฆ่าเชื้อก่อน จุ่มลงไปในตัวอย่างเชื้อ
แล้วมาเกลี่ยลงในจานอาหารเพาะเชื้อครั้งที่ 1 จากนั้นเอาลูปไปเผาไฟ จากรอยเกลี่ยที่ 1 นำมาเกลี่ย
กระจายออกครั้งที่ 2 นำลูปไปเผาไฟ มาเกลี่ยในแนวที่สองเพื่อแยกเชื้อให้กระจายออกมาในแนวที่ 3
นำไปเก็บที่อุณหภูมิ 30-37 องศา เชื้อที่ถูกเกลี่ยเป็นระดับๆข้างต้น จะกระจายแยกเป็นเชื้อโคโลนีเดียวๆ
ทำให้เราสามารถ
- ทราบจำนวนชนิดของเชื้อโรคที่มีอยู่ในสิ่งส่งตรวจ
- แต่ละโคโลนีเราจะนำไปทดสอบเพื่อแยกชนิดของเชื้อแบคทีเรีย ว่าต้นเหตุของโรคคือเชื้อตัวไหน
- เชื้อแต่ละโคโลนีเรานำไปทดสอบกับยาปฏิชีวนะที่สามารถฆ่าเชื้อได้ดีที่สุด เพื่อแนะให้แพทย์จ่ายยา
ที่สามารถฆ่าเชื้อได้ดีที่สุด
เชื้อโรคแต่ละโคโลนีที่ถูกเกลี่ยให้กระจายออกมาบนจานเพาะเลี้ยงเชื้อ จะถูกนำไปใส่ในหลอดทดสอบเฉพาะ
เพื่อแยกชนิดของเชื้อโรค ทำให้เราสามารถทราบอย่างแน่นอนว่าเชื้อโรคตัวไหนที่เป็นตัวทำให้เกิดโรค
อีกส่วนหนึ่งจะถูกนำไปทดสอบหายาปฏิชีวนะที่ดีที่สุดในการฆ่าเชื้อ เพื่อแจ้งให้แพทย์จ่ายยาที่เหมาะสมต่อผู้ป่วย
ระยะเวลาทั้งสิ้นตั้งแต่ได้รับตัวอย่าง จนทราบชนิดของเชื้อโรค และยาที่เหมาะสมในการรักษา ประมาณ 2-3 วัน
การเพาะเลี้ยงเชื้อในอาหารเลี้ยงเชื้อชนิด
blood agar media ที่มีเลือดเป็นส่วนผสม แสดงให้เห็นโคโลนีของเชื้อแบคทีเรีย มีลักษณะกลม ขอบเรียบ สีขาวแกมเหลือง เป็นลักษณะของเชื้อ Staphylococci aureus (สแต็ปไฟโรคอคไซ ออเรียส) |
|
การย้อมสีด้วยวิธี แกรมสเต็น gram's
stain
แสดงให้เห็นเชื้อที่มีลักษณะกลม
ติดสีน้ำเงิน เกาะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า gram positive cocci (แกรม โพซิทีฟ ค็อคไซ) และเป็นลักษณะของเชื้อ Staphylococcal spp. |
|
การเพาะเลี้ยงเชื้อในอาหารเลี้ยงเชื้อชนิด
blood agar media ที่มีเลือดเป็นส่วนผสม แสดงให้เห็นโคโลนีของเชื้อแบคทีเรีย มีลักษณะกลม ขอบเรียบ สีขาวแกมเหลือง และมีการทำให้ เม็ดเลือดแดงในอาหารเลี้ยงเชื้อแตกบางส่วน เป็นลักษณะของเชื้อ Hemolytic Staphylococci (ฮีโมไลติค สแต็ปไฟโรคอคไซ ) |
|
การเพาะเลี้ยงเชื้อในอาหารเลี้ยงเชื้อชนิด
blood agar media ที่มีเลือดเป็นส่วนผสม แสดงให้เห็นโคโลนีของเชื้อแบคทีเรีย มีลักษณะกลม เล็ก ขอบเรียบ สีขาวค่อนข้างใส มีการทำให้เม็ดเลือดแดงในอาหารเลี้ยงเชื้อแตก จะเห็นเป็นวงรัศมีกระจายรอบๆโคโลนีของเชื้อ เป็นลักษณะของเชื้อ Streptococci (สแต็ปไฟโรคอคไซ ออเรียส) |
|
การย้อมสีด้วยวิธี แกรมสเต็น gram's
stain
แสดงให้เห็นเชื้อที่มีลักษณะกลม
ติดสีน้ำเงิน เกาะอยู่รวมกันต่อเนื่องเป็นเส้นยาวคล้ายโซ่ เรียกว่า gram positive cocci (แกรม โพซิทีฟ ค็อคไซ) และเป็นลักษณะของเชื้อ Streptococcal spp. |
|
การย้อมสีด้วยวิธี แกรมสเต็น gram's
stain
แสดงให้เห็นเชื้อที่มีลักษณะท่อนสั้นๆ
ติดสีแดง กระจัดกระจายทั่วไป ไม่เกาะติดกัน เรียกว่า gram negative bacilli (แกรม เน็กกาทีฟ แบซิลไล) และจากภาพเป็นลักษณะของเชื้อ Campylobactor jejuni (แคมไพโรแบคเตอร์ เจจูไน). |
|
การย้อมสีด้วยวิธี แกรมสเต็น gram's
stain
แสดงให้เห็นเชื้อที่มีลักษณะแท่ง
ติดสีน้ำเงิน เกาะอยู่รวมกันต่อเนื่องเป็นกลุ่ม เรียกว่า gram positive bacilli (แกรม โพซิทีฟ แบซิลไล) ลักษณะเรียงตัวคล้ายตัวอักษรจีน และเป็นลักษณะของเชื้อ Corynebacterium spp. (โคลีนีแบคทีเรียม สปีย์ชี) |
|
การย้อมสีด้วยวิธี แกรมสเต็น gram's
stain
แสดงให้เห็นเชื้อที่มีลักษณะแท่งบาง
ติดสีน้ำเงิน เกาะอยู่รวมกันอย่างกระจัดกระจาย เรียกว่า gram positive bacilli (แกรม โพซิทีฟ แบซิลไล) ลักษณะเป็นลักษณะของเชื้อ Listeria monocytogenes ( ลิสเตอร์เรีย โมโนไซโตจีเนส ) |
|
การเพาะเลี้ยงเชื้อในอาหารเลี้ยงเชื้อชนิด
chocolate agar media
ที่มีเลือดเป็นส่วนผสมทำให้เม็ดเลือด แตกด้วยความร้อน แสดงให้เห็นโคโลนีของเชื้อแบคทีเรีย มีลักษณะกลม เล็ก ขอบเรียบ สีขาวค่อนข้างใส เป็นลักษณะของเชื้อ Neisseria gonorrhoeae ( ไนซีเรีย โกโนเรียอี ) เชื้อกามโรคหนองใน |
|
การย้อมสีด้วยวิธี แกรมสเต็น gram's
stain
แสดงให้เห็นเชื้อที่มีลักษณะกลมสั้นๆ
ติดสีแดง เกาะอยู่กันเป็นคู่ๆ เรียกว่า gram negative diplococci ( แกรม เน็กกาทีฟ ดิฟโพคอคไซ ) และจากภาพเป็นลักษณะจำเพาะของเชื้อ Neisseria gonorrhoeae ( ไนซีเรีย โกโนเรียอี ) คือถูกกินโดยเม็ดเลือดขาว ตัวอย่างจากหนองที่ออกมาจากผู้ป่วยกามโรค โรคหนองใน |
|
การเพาะเลี้ยงเชื้อในอาหารเลี้ยงเชื้อชนิด
blood agar media ที่มีเลือดเป็นส่วนผสม
แสดงให้เห็น โคโลนีของเชื้อแบคทีเรียจำนวน 2 ชนิดชัดเจน - มีลักษณะกลม เล็ก ขอบเรียบ สีขาวขุ่มแกมเหลือง Staphylococci aureus (สแต็ปไฟโรคอคไซ ออเรียส) - มีลักษณะใหญ่ เยิ้ม ขาวขุ่น Klebsiella spp. ( เคร็ปเซลล่า สปีย์ชี) |
|
การเพาะเลี้ยงเชื้อในอาหารเลี้ยงเชื้อชนิด
MacConKey agar media แสดงให้เห็น โคโลนีของเชื้อแบคทีเรียจำนวน 2 ชนิดชัดเจน - มีลักษณะกลม เล็ก ขอบเรียบ สีขาว Pseudomonas aeruginosa ( สูโดโมแนส แอรูจีโนซ่า) - มีลักษณะกลม ใหญ่กว่า สีชมพูขุ่น Escherichia coli ( เอสเชอรริเชีย โคไร ) |
|
การย้อมสีด้วยวิธี AFB Kinyoun stain
แสดงให้เห็นเชื้อที่มีลักษณะเป็นแท่งยาว
ติดสีแดง เรียกว่า gram negative acid bacilli ( แกรม เน็กกาทีฟ แอซิดแบซิลไล ) เป็นวิธีการย้อมพิเศษเพื่อหาตัวเชื้อวัณโรคโดยเฉพาะ โดยจะติดสีแดง ในขณะที่แบคทีเรียอื่นๆ จะติดสีน้ำเงิน ทำให้สามารถแยกความแตกต่างได้ จากตัวอย่างเป็นเสมหะของผู้ป่วยวัณโรค |
|
การเพาะเลี้ยงเชื้อในอาหารเลี้ยงเชื้อพิเศษชนิด
Lowenstein Jensen medium สำหรับเพาะเชื้อ วัณโรคโดยเฉพาะ Mycobacterium tuberculosis (ไมโครแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซีส) แสดงให้เห็นโคโลนีของเชื้อแบคทีเรีย มีลักษณะใหญ่ ขอบหยัก สีขาวขุ่น และนูน เป็นลักษณะของเชื้อวัณโรค |
|
การเพาะเลี้ยงเชื้อในอาหารเลี้ยงเชื้อชนิด
TCBS agar media
เพื่อใช้ในการเพาะเลี้ยงเชื้ออหิวาต์
Vibrio cholerae ( วิบริโอ คลอลิเล่ ) แสดงให้เห็นโคโลนีของเชื้อแบคทีเรีย มีลักษณะกลม ขอบเรียบ สีขาวแกมเหลือง และนูน เป็นลักษณะของเชื้ออหิวาต์ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น