Clock


วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เลือด ส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกาย

คือส่วนที่ไหลเวียนอยู่ในระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกาย จากส่วนที่เราเห็นเป็นเลือดสีแดง เลือดเป็นของเหลว เหนียวกลิ่นคาว
รสกร่อย มีอุณหภูมิประมาณ 37.8°C มีสภาพเป็นด่างเล็กน้อย มีจำนวนประมาณ ร้อยละ 7-8 ของน้ำหนักร่างกาย เลือด
นั้นเรา
สามารถแยกย่อยลงไปอีกได้เป็นองค์ประกอบใหญ่ๆได้ดังต่อไปนี้
- ส่วนที่เป็นน้ำ เรียกว่าน้ำเหลือง
     - ถ้ายังไม่ได้มีการแข็งตัว คือยังมีปัจจัยช่วยในการแข็งตัวของเลือด จะเรียกว่า พลาสม่า  (PLASMA)
     - ถ้ามีการแข็งตังของเลือดไปแล้ว ปัจจัยในการแข็งตัวถูกใช้ไปแล้ว    จะเรียกว่า ซีรั่ม     (SERUM)
ในน้ำเหลืองนี้จะมีสารต่วงๆละลายอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น สารอาหารที่มาจากระบบย่อยอาหาร / ฮอร์โมนต่างๆ / แอนติบอดีย์
ต่อต้านสิ่งแปลกปลอม / ของเสียที่เกิดจากเซลต่างๆในร่างกายเพื่อนำไปกำจัดออกจากร่างกายโดยระบบกำจัดของเสียเช่น ไต
(ดูระบบขับถ่าย KIDNEY ได้ที่ส่วนสรีระร่างกาย)
ใน
น้ำเหลืองจะประกอบด้วยโปรตีนมากมายหลายชนิด เช่น Albumin (ปรับสมดุลแรงดัน Osmotic), Gramma globulin’s
(Antibody Protein), Fibrinogen (เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด), Antihemophilia Globulin), Beta Globulin
(ใช้ในการขนส่งไขมัน) , Agglutinins (ใช่ในการทดสอบหมู่เลือด) และสารเคมีต่างๆมากมาย ดังนั้นในการตรวจสภาพการทำงาน
ของระบบอวัยวะภายในร่างกายของเราจึงใช้น้ำเหลืองมาเป็นตัวแทนตรวจสอบหาความปกติหรือผิดปกติของอวัยวะภายในของเรา

- ส่วนที่เป็นเกล็ดเลือด คือส่วนเล็กที่แขวนลอยอยู่ในกระแสเลือด มีหน้าที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด
  
เกล็ดเลือด เป็นเม็ดขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายจาน มีหน้าที่ในการทำให้เลือดแข็งตัวโดยการผลิตเอนไซม์ Thromboplastin
   มาเปลี่ยน Prothombin ให้เป็น Thrombin  ซึ่งเป็นตัวสำคัญในขบวนการช่วยให้เลือดสามารถแข็งตัวได้เวลาเกิดบาดแผล

- ส่วนที่เป็นเม็ดเลือดขาว คือส่วนที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนทหารที่คอยตรวจจับสิ่งแปลกปลอม
   เช่นเชื้อโรคที่หลุดเข้ามาในร่างกาย  แบ่งออกได้หลายชนิดตามหน้าที่ความสามารถในการ
   ทำลายสิ่งแปลกปลอมทั้งหลาย
    เม็ดเลือดขาว ส่วนมากมีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดง ระยะแรกเกิดจะมีความหนาแน่นมากกกว่าในผู้ใหญ่ เม็ดเลือดขาว
    แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกคือ Granulocytes ได้แก่ Neutrophil(60-70%), Eosinophil(1-5%), Basophil(0-1%) 
   ซึ่งสร้างจากไขกระดูก   ส่วนกลุ่มที่สองคือ Non- granulocytes ได้แก่ Lymphocyte(20-30%), Monocyte(1-5%) สร้างจาก
   Lymphoid Tissue (ต่อมน้ำเหลือง ทอนซิล ม้าม ไทมัส ) เม็ดเลือดขาวมีหน้าที่จับกินเชื้อโรคและเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย

- ส่วนที่เป็นเม็ดเลือดแดง คือส่วนที่เราเห็นเป็นสีแดงของเลือด มีลักษณะคล้ายขนมโดนัทคือ
   มีรอยเว้าบริเวณส่วนกลาง องค์ประกอบ   ส่วนใหญ่คือ ฮีโมโกลบิน ซึ่งใช้ในการแลกเปลี่ยน
   ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นของเสียจากเซลต่างๆของร่างกาย
    เม็ดเลือดแดง (Red Blood Corpuscles) ทารกที่อยู่ในครรภ์ สร้างเม็ดเลือดแดงจากถุงน้ำคร่ำ ม้าม ตับ และไขกระดูก
   แต่ทารกที่เกิดแล้ว สร้างเม็ดเลือดแดงที่ไขกระดูกโดยไขกระดูกจะสามารถพบได้ในกระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครง กระดูกหน้าอก
   ปลายของกระดูกต้นแขนและต้นขา เม็ดเลือดแดงมีอายุประมาณ 90-120 วัน หลังจากเม็ดเลือดแดงหมดอายุจะถูกทำลายโดยม้าม
   และตับ โดยจะสลายเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งมีเหล็กประกอบอยู่ร่างกายจะเก็บไว้ใช้ ส่วนที่ไม่มีเหล็กจะขับออกทางตับ ในรูปของน้ำดี
   โดยปกติเม็ดเลือดแดงมีหน้าที่ นำออกซิเจนไปยังเซลล์ นำคาร์บอนไดออกไซด์ จากเซลล์ร่างกายกลับไปปอด



การศึกษาเกี่ยวกับเซลล์เม็ดเลือดซึ่งเป็นเซลล์ที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ คือสาชาวิชาโลหิตวิทยา (Hematology) เม็ดเลือด
แบ่งง่ายๆ เป็นเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ซึ่งไหลเวียนอยู่ในกระแสโลหิต ส่วนใหญ่จะมีต้นกำเนิดจากไขกระดูกจำนวน
แตกต่างกัน อัตราส่วนและจำนวนของแต่ละเซลล์ในไขกระดูกและที่อยู่ในกระแสเลือดก็ต่างกัน อีกทั้งยังต่างกันไปในแต่ละบุคคลด้วย

เม็ดเลือดขาว 
เม็ดเลือดขาวมีชื่อภาษาแพทย์ว่า ลูโคไซ้ท์ (Leukocyte) ซึ่งมีรากศัพท์คือ Leuko ซึ่งแปลว่า ขาว ร่างกายเรามีเม็ดเลือดขาวหลายชนิด
โดยมีเซลล์ต้นกำเนิดเดียวกันคือ Pluripotential Stem Cell จากนั้นก็จะเจริญต่อไปอีกหลายเซลล์จนแยกสายออกเป็น
1. เม็ดเลือดขาวกลุ่ม Granulocyes ซึ่งภายในไขกระดูกจะมีเม็ดเลือดขาวที่ค่อยๆ เจริญเติบโตเป็นรุ่นเป็นประเภท โดยเซลล์ตัว
อ่อนสุดคือ Myeloblast ซึ่งจะเจริญไปเป็น Promyelocyte Myelocyte Metamyelocyte Band form และ Segmented
ตามลำดับ เซลล์เหล่านี้ปกติจะอยู่ในไขกระดูก จะมีแต่รุ่น Band และ Segmented Form ในกระแสโลหิต
ถ้าหากมีเซลล์รุ่นอ่อนกว่านั้นปรากฏในกระแสโลหิตแล้วก็มักจะแสดงถึงภาวะผิดปกติ เช่น มีสิ่งกระตุ้นให้ตัวอ่อนออกมาในกระแสเลือด
หรือมีการติดเชื้อ หรือเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว

เซลล์ตั้งแต่ในระบบนี้คือ นิวโตรฟิล (Neutrophil) มีหน้าที่ต่อสู้และทำลายเชื้อโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบคทีเรีย
ดังนั้นถ้ามีเม็ดเลือดขาวในระบบนี้น้อยเกินไปก็จะติดเชื้อง่าย ในทางตรงข้าม ถ้ามีมากไปก็แสดงถึงการติดเชื้อเฉียบพลัน เช่น ไส้ติ่งอักเสบ
การติดเชื้อในกระแสเลือด การนับเม็ดเลือดจึงช่วยในการวินิจฉัย
ส่วนอีโอซิโนฟิล (Eosinophil) จะมีมากกว่าปกติเวลามีพยาธิในร่างกายหรือในคนที่มีภูมิแพ้

2. เม็ดเลือดขาวกลุ่ม ลิมโฟซัยท์ (Lymphocyte) เซลล์อ่อนสุดในระบบนี้ คือ Lymphoblast ซึ่งจะเจริญไปเป็น
Prolympholyte และ Lymphocyte ตามลำดับ เด็กๆ จะมีลิมโฟซัยมากกว่าผู้ใหญ่
ความผิดปกติของเซลล์ในระบบนี้จะพบได้เวลามีการติดเชื้อไวรัสบางชนิด มะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟซัยท์ยังแบ่งออกเป็น
1. B-Lymphocyte
2. T-Lymphocyte
3. Null-cell (non-B, non-T Lymphocyte)
เซลล์ทั้งสามนี้ถ้าย้อมสีส่องจะดูเหมือนๆ กัน แต่สามารถแยกชนิดได้โดยวิธีการทางอิมมูโนวิทยา B-Lymphocyte จะมีหน้าที่สร้าง
ภูมิต้านทาน เรียกว่า แอนติบอดี (Antibody) หรือ อิมมูโนโกลบูลิน (Immuno Globulin) ในกระบวนการตอบสนองที่เรียกว่า
Humorol Immune response ในการกระตุ้นของแอนติเจนโดยมีเซลล์อื่นๆ ร่วมด้วยคือ T-Lymphocyte, Macrophage
และสารที่หลั่งจากเซลล์เหล่านี้ เรียกว่า Lymphokines

เซลล์ Lymphocyte นอกจากจะมีส่วนร่วมในการกระตุ้น B-Lymphocyte ให้สร้างแอนติบอดีแล้ว ยังมีหน้าที่ในการตอบสนอง
ต่อการสร้างภูมิคุ้มกันชนิดใช้เซลล์ (Cell-Meaiated Immune Resonse)

ส่วน Null cell หรือ Natural Killer Cell มีหน้าที่ทำลายเซลล์แปลกปลอมหรือเซลล์มะเร็งโดยการหลั่งสารที่เรียกว่า NKCF
(Natural Killer Cytotoxic Factor)

จะเห็นได้ว่าเซลล์เม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซัยท์ มีหน้าที่ต่างๆ มากมาย ส่วนใหญ่จึงแยกไปศึกษาในวิชาอิมมูโนวิทยา

3. เม็ดเลือดขาวกลุ่ม โมโนซัยท์ (Monocyte) เซลล์อ่อนสุดในระบบนี้คือ Monoblast ซึ่งจะเจริญเป็น Promonocyte และ
Monocyte ตามลำดับ


เม็ดเลือดแดง 
เม็ดเลือดแดง (Erythrocyte หรือ RBC (Red Blood Cell)) ซึ่งมีลักษณะเป็นสีแดงเพราะภายในมีสารฮีโมโกลบิน (Hemoglobin)
ทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย โดยที่ฮีโมโกลบินเกิดจากโกลบินและ Heme จับกับธาตุเหล็ก


เกล็ดเลือด 
เกล็ดเลือด (Platelets หรือ Thromocyte) มีหน้าที่เกี่ยวกับกลไกลการห้ามเลือด ช่วยหยุดการไหลเวียนของเลือดเมื่อเส้นเลือดฉีกขาด
มีลักษณะเป็นจานขนาดเล็กกว่าเม็ดเลือดแดงราว 1 เท่าตัว (2-4 ไมครอน ขณะที่เม็ดเลือดแดงมีขนาด 7 ไมครอน)

เลือดมีความสำคัญต่อชีวิตเนื่องจากทำหน้าที่หลายอย่างที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ เช่น
1. ระบบการขนส่ง ออกซิเจน อาหาร ภูมิต้านทน โปรตีน ระบบป้องกันตัวเอง การทำลายของเสีย
2. ระบบป้องกันด้วยระบบภูมิคุ้มกัน
3. ควบคุมความสมดุลของร่างกาย โดยการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย


  ดูอัลบัมภาพเกี่ยวกับโลหิตวิทยาและเม็ดเลือดแดง/เม็ดเลือดขาวที่ผิวปกติ ภาพมะเร็งของเม็ดเลือดLeukemia
cbc1.jpg (11559 bytes) - ลักษณะของเม็ดเลือดแดงที่ปกติ
  ลักณณะกลมแบนและมีรอยเว้าตรงส่วนกลาง  คล้ายขนมโดนัท
  ส่วนใหญ่ในภาพที่เห็น
- ลักษณะของเม็ดเลือดขาวชนิด นิวโตรฟิล มีเพียง 1 เซลในภาพ
  มีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดง
- ลักษณะของเกล็ดเลือด ด้านล่างของรูป ขนาดเล็กกว่า และซ้อน
  บนเม็ดเลือดแดง
cbc2.jpg (8379 bytes) - ลักษณะของเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติ ที่เรียกว่าเม็ดโลหิตจาง
  จะมีลักษณะติดสีจาง   มีขอบบางกว่าเม็ดเลือดแดงปกติ ทำให้
  ผู้ป่วยด้วยภาวะโลหิตจางมีลักษณะซีด  ขาดออกซิเจนได้ง่าย
  มีโอกาสเป็นลมหรือหน้ามืดได้ง่าย เพลีย
- ลักษณะของเกล็ดเลือด มีขนาดเล็กกว่าจำนวน 4-5 เซล ในภาพ
   
cbc3.jpg (15834 bytes) - ลักษณะของเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติของผู้ป่วยเกี่ยวกับเม็ดโลหิต
  แดง จะพบลักษณะผิดปกติอื่นเช่น รูปร่างไม่แน่นอน / ขนาดเล็ก
  กว่าปกติ / กลมไม่มีเว้า  ที่ส่วนกลาง / มีจุดที่ส่วนกลางคล้ายเป้า
  สำหรับยิงปืน
cbc4.jpg (16043 bytes) - ลักษณะของเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติของผู้ป่วยเกี่ยวกับเม็ด
  โลหิตแดง จะพบ ลักษณะผิดปกติอื่นเช่น รูปร่างไม่แน่นอน /  
  ขนาดเล็กกว่าปกติ / กลมไม่มีเว้าที่ส่วนกลาง /
  ขนาดใหญ่กว่าปกติ
- ลักษณะของเม็ดเลือดขาวชนิด ลิมโฟซัย มีนิวเคลียสค่อนข้างกลม
cbc5.jpg (12224 bytes) - ลักษณะของเกล็ดเลือด มีขนาดเล็กกว่าเม็ดเลือดแดงจำนวน
  7 เซล ในภาพ
  เป็นการย้อมพิเศษเพื่อเน้นให้เห็นเกล็ดเลือดโดยเฉพาะ
   
cbc6.jpg (15765 bytes) - ลักษณะของเม็ดเลือดแดงตัวอ่อนเรียก Recticulocyte ยังมี
  ลักษณะ Granule อยู่ภายใน ติดสีน้ำเงิน พอตัวแก่ขึ้นส่วนนี้จะ
  หายไป เป็นการย้อมพิเศษโดยเฉพาะ
  จัดเป็นภาวะผิดปกติของระบบเม็ดโลหิตอย่างหนึ่ง
cbc8.jpg (13018 bytes) - ลักษณะของเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติ ที่เรียกว่าเม็ดโลหิตจาง
  ระดับไม่รุนแรง   จะมีลักษณะจาง มีขอบบางกว่าเม็ดเลือดแดง
  ปกติไม่มาก
- ลักษณะของเม็ดเลือดขาวชนิด นิวโตรฟิล มี 3 เซลในภาพ
  ขนาดใหญ่กว่า
- ลักษณะของเม็ดเลือดขาวชนิด ลิมโฟซัย มี 3 เซล มีนิวเคลียส
  ค่อนข้างกลม ขนาดเล็กกว่าเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิล
gc1.jpg (6699 bytes) - ลักษณะของเม็ดเลือดขาวชนิด นิวโตรฟิลที่คอยจับทำลาย
  สิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย
  ในภาพ จะเห็น เม็ดเลือดขาวที่กำลังจับเชื้อแบคทีเรียมาไว้ในเซล
  เพื่อทำลายทิ้ง ทำให้เราไม่เป็นโรค แต่ถ้าเม็ดเลือดขาวสู้ไม่ไหว
  เชื้อโรคแบ่งตัวได้อย่างมากในร่างกาย แล้วทำให้เกิดโรคขึ้น 
cbc9.jpg (18163 bytes) - ลักษณะของเม็ดเลือดขาวชนิด โมโนซัย มีนิวเคลียสค่อนข้าง
  ไม่กลมมีหน้าที่จับทำลายสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย
pv.jpg (2722 bytes) - ลักษณะของเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติ จากเชื้อปาราสิตที่ทำลาย
  เม็ดเลือดแดงจาก เชื้อมาลาเรีย  ชนิด พลาสโมเดียม ไวแว็ก
- ตัวเชื้อมาลาเรียมีลักษณะกลมและมีจุดสีแดงคล้ายหัวแหวน
  จะอาศัย และแบ่งตัวอยูในเม็ดเลือด และทำให้เม็ดเลือดแตก
  ไปในที่สุด
cbc7.jpg (5071 bytes) - ลักษณะของเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติ จากเชื้อปาราสิตที่ทำลาย
  เม็ดเลือดแดงจาก เชื้อมาลาเรีย ชนิด พลาสโมเดียม ฟัลซิฟารั่ม 
- ตัวเชื้อมาลาเรียมีลักษณะกลมและมีจุดสีแดงคล้ายหัวแหวน
  จะอาศัย และแบ่งตัวอยูในเม็ดเลือด และทำให้เม็ดเลือดแตก
  ไปในที่สุด

2 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณแหล่งข้อมูลค่ะ

    ตอบลบ
  2. คลินิคนิรนามก็ให้ความช่วยเหลือมากเลยค่ะ ขอให้ช่วยกันส่งเสริม . Random clinic in Thailand work so well. Hope they'll keep it .

    ตอบลบ

ค้นหา