และทำให้ถึงกับเสียชีวิตปีละเป็นจำนวนมาก เราจึงควรมีความเข้าใจถึงโรคเหล่านี้
โรคเขตร้อนที่กล่าวนี้โดยรวมแล้วหมายถึง โรคที่เกี่ยวกับหนอนพยาธิ / โปรโตซัว / รวมถึงโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย / เชื้อไวรัส
บางชนิด แต่สำหรับหมวดนี้เราจะเน้นแต่เรื่องของ หนอนพยาธิและโปรโตซัว ส่วนในเรื่องของแบคทีเรีย และไวรัส สามารถติดตามได้
ในหัวข้อ โรคติดเชื้อ ต่อไป
Intestinal Protozoa โปรโตซัว (สัตว์เซลเดียว) ที่อาศัยร่างกาย
-Amoebae
Entamoeba histolytica บิดชนิดมีตัว | เอ็มตามีบา ฮีสโตไลติกา |
Entamoeba coli | เอ็มตามีบา โคไล |
Endolimax nana | เอ็นโดลิแมก นานา |
Genus
Naegleria ทำให้เกิดสมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ Primary Amoebic Meningo-Encephalitis |
เน็กเกอร์เรีย |
Genus
Hartmannella (Acanthamoeba) ทำให้เกิดสมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ Primary Amoebic Meningo-Encephalitis |
ฮาร์ทแมนเนลลา/อะแคนทามีบา |
Intestinal Flagellates สัตว์เซลเดียว (เคลื่อนที่ด้วยแฟล็กเจลเล็ท) ที่อาศัยร่างกาย
Giardia lamblia | ไกอาร์เดีย แลมเบรีย |
Trichomonas hominis | ทริโคโมแนส โอมินีส |
Trichomonas vaginalis | ทริโคโมแนส วาจินาลิส |
Blood and tissue Parasites พยาธิ์ที่อาศัยในกระแสเลือดหรือเนื้อเยื่อ
Malaria | มาลาเรีย อาศัยในเซลเม็ดเลือด |
Trypanosome | ทริฟาโนโซม อาศัยในเลือดนอกเซลเม็ดเลือด |
Microfilaria Wuchereria bancrofti | ไมโครฟิลาเรีย วูวเชอร์เรีย แบนครอฟไท โรคเท้าช้าง |
พยาธิ์ตัวกลม - Nematodes
Ascaris lumbricoides พยาธิ์ไส้เดือน | แอสคารีส แลมบริคอยดีส |
Trichuris trichiura พยาธิ์แส้ม้า | ทริชูริส ไตรไชยูร่า |
Enterobius vermicularis พยาธิ์เส้นด้าย | เอ็นเทอโรเบียส เวอร์มิคูราลิส |
Ancylostoma duodenale พยาธิ์ปากขอ | แองไซโลสโตรม่า ดูโอดินาเล่ |
Necator americanus พยาธิ์ปากขอ | นีคาเตอร์ อเมริคานัส |
Strongyloides stercoralis | สตรองไจรอยดีส สเตอร์โคราลิส |
พยาธิ์ตัวแบน - Cestodes
Taenia saginata ตืดวัว | ทีเนีย ซาจินาต้า |
Taenia solium ตืดหมู | ทีเนีย โซเลียม |
Diphylobothrium latum ตืดปลา | ไดไฟโลโบเตรียม ลาตัม |
Dipylidium caninum ตืดสุนัข | ไดไพลิเดียม คานินัม |
พยาธิ์ใบไม้ - Trematodes
Schistosoma masoni พยาธิ์ใบไม้ในเลือด | ชิสโตโซม่า แมนโซไน |
Schistosoma haematobium พยาธิ์ใบในไม้เลือด | ชิสโตโซม่า ฮีมาโตเบียม |
Schistosoma japonicum พยาธิ์ใบไม้ในเลือด | ชิสโตโซม่า จาปอนนิคุม |
Fasciola hepatica พยาธิ์ใบไม้ในตับ | ฟาซิโอล่า เฮปาติกา |
Fasciola buski พยาธิ์ใบไม้ในตับ | ฟาซิโอล่า บัสไก |
Clonorchis sinensis พยาธิ์ใบไม้ในตับ | โครนอร์ชิส ไซเนนซิส |
Paragoninus westermani พยาธิ์ใบไม้ในปอด | พาราโกนิมัส เวสเตอแมนไน |
Eosinophilic
Meningo Encephalitis โรคสมองอักเสบจาก พาราสิต (ชาวบ้านเรียกโรคปวดหัวจากหอย) |
|
ภาพไข่ของพยาธิ์ตัวกลม Ascaris lumbricoides (แอสคารีส ลัมบิคอยดีส์) ที่ปล่อยมาจากตัวพยาธิ์ที่โตเต็มวัย ปนออกมากับอุจจาระ |
|
กลุ่มพยาธิ์ตัวกลม
Nematode ภาพโตเต็มวัยของพยาธิ์ตัวกลม Ascaris lumbricoides (แอสคารีส ลัมบิคอยดีส์) ที่อาศัยพบได้บริเวณลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ บางครั้งพบได้ที่ม้าม/ ตับอ่อน ขนาดตัวโตเต็มวัย ยาว 25-35 ซ.ม. ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย |
|
ภาพไข่ของพยาธิ์ปากขอ Necator americanus ( นีคาเตอร์ อเมริคานัส) ที่ปนออกมากับอุจจาระ เมื่อไข่ถูกปล่อยออกมา บนพื้นที่มีความชื้นที่เหมาะสม พบได้ตามสวน ตามไร่ และการถ่ายที่ ไม่ถูกสุขอนามัย ไม่ถ่ายในส้วม ไข่จะฟักตัวออกมาเป็นตัวอ่อน และแฝงตัวอาศัยตามพื้นดิน เมื่อผู้คนเดินมาย่ำบริเวณที่ตัวอ่อนอาศัยอยู่ โดยแบบเท้าเปล่าไม่ได้ สวมรองเท้า ตัวอ่อนจะติดมาบนเท้า แล้วจะเริ่มไชเข้าสู่ร่างกายผ่าน บริเวณง่ามเท้า (หนังอ่อนที่สุด) จะรู้สึกคันบริเวณง่ามเท้าในขณะนั้น เมื่อเข้าสู่ร่างกายก็จะไชไปตามร่างกายสุดท้ายจะมาอยู่ที่บริเวณ ลำไส้เล็ก และเกาะดูดเลือดต่อไป |
|
กลุ่มพยาธิ์ตัวกลม
Nematode ภาพตัวโตเต็มวัยของพยาธิ์ปากขอ Necator americanus ( นีคาเตอร์ อเมริคานัส) จากภาพแสดงให้เห็นส่วนหัวประกอบด้วยเขี้ยวไว้สำหรับยึดเกาะกับผนัง ลำไส้เพื่อดูดเลือดอยู่ตลอดเวลา ตัวแก่จะปล่อยไข่ซึ่งปนเปื้อน ออกมากับอุจจาระ |
|
ภาพไข่ของพยาธิ์แส้ม้า Trichuris trichiura ( ไตรชูรีส ไตรไชยูร่า ) ลักษณะส่วนหัวท้ายเรียวเล็กลง คล้ายลูกรับบี้จะปนออกมากับอุจจาระ |
|
กลุ่มพยาธิ์ตัวกลม
Nematode ภาพตัวโตเต็มวัยของพยาธิ์แส้ม้า Trichuris trichiura ( ไตรชูรีส ไตรไชยูร่า ) โดยมีส่วนหางเป็นเส้นเรียวยาว ที่พักอาศัยบริเวณลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ |
|
ลักษณะพยาธิสภาพของกล้ามเนื้อที่ตัวอ่อนของพยาธิเข้าไปฝังตัวอาศัย อยู่ในรูปของซีสต์ cysts เกิดจากพยาธิ์ชนิด Trichinella spiralis จากภาพเป็นภาพตัดขวางของชิ้นเนื้อที่มีตัวอ่อนของพยาธิฝังตัวอยู่ |
|
ภาพตัวโตเต็มวัยของพยาธิ์ตัวตืดแบ่งออกได้เป็น
กลุ่มพยาธิ์ตัวแบน Cestodes พยาธิ์ตืดวัว Taenia saginata (ทีเนีย ซาจีนาต้า) ลำตัวเป็นปล้องๆ ยาวออกไป เรื่อยๆ พยาธิ์ตืดหมู Taenia solium (ทีเนีย โซเลียม) จะมีขนาดเล็กกว่าแบบแรก ในส่วนท้ายจะเป็นปล้องแก่ พร้อมที่จะหลุดปนออกมากับอุจจาระ ภายในปล้องจะเต็มไป ด้วยไข่พยาธิ์ ปนเปื้อนไปบนพื้นดินตามหญ้า ดิน น้ำ เมื่อถูกกินเข้าไปโดย วัว หมู ปลา (พาหะตัวกลาง) ไข่พยาธิ์จะแตกออกมาเป็นตัวอ่อน larvae (ลาว่า) ตัวอ่อนจะไชไป ตามกล้ามเนื้อแล้วจะฝังตัวอยู่ในกล้ามเนื้อเป็น cysticerci (ซิสติเซอร์ไค) อยู่ไปเรื่อยๆ เมื่อคนทานส่วนนี้เข้าไป ตัวอ่อนจะกลายไปเป็นตัวโตเต็มวัยในลำไส้ |
|
ภาพตัวโตเต็มวัยของพยาธิ์ตัวตืดที่เน้นให้เห็นส่วนหัว
โดยเฉพาะ ส่วนที่ใช้เกาะดูดเรียก Scolex (สโครเล็ก) |
|
ภาพแสดงส่วนปล้องโตเต็มวัยของพยาธิ์ตัวตืดและส่วนสืบพันธุ์ ปล้องของพยาธิ์ตัวตืดจะเริ่มจากเล็กในส่วนหัวและค่อยๆ ใหญ่ขึ้น เรื่อยๆ เมื่อโตเต็มที่และได้รับการผสมพันธุ์ และก็จะเต็มไปด้วยไข่พยาธิ์ตัวตืดเต็มไปหมดในช่องท้อง ปล้องท้ายสุดจะเริ่มหลุดออกและปนไปกับอุจจาระต่อไป ในภาพเป็นการย้อมพิเศษเพื่อให้เห็นภายในของปล้องได้ชัดเจน |
|
ภาพแสดง
ไข่ของพยาธิ์ตัวตืด
ภาพซ้ายเป็นของพยาธิ์ตืดหมู มีขนาดเล็กกว่า ลักษณะกลมเปลือกหนา ส่วนภาพขวามือเป็นของพยาธิ์ตืดวัว ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า |
|
กลุ่มพยาธิ์ใบไม้
Trematodes ภาพไข่ของพยาธิ์ใบไม้ Schistosoma mansoni ( ชิสโตโซม่า แมนโซไน ) ลักษณะมีส่วนคล้ายหนามที่บริเวณด้านข้าง ที่ปล่อยมาจากตัวพยาธิ์ที่โตเต็มวัย ปนออกมากับอุจจาระ |
|
กลุ่มพยาธิ์ใบไม้ Trematodes ภาพไข่ของพยาธิ์ใบไม้ Schistosoma japonicum ( ชิสโตโซม่า จาปอนนิคุม ) ลักษณะมีส่วนคล้ายหนามเล็กๆที่บริเวณด้านข้าง ที่ปล่อยมาจากตัวพยาธิ์ที่โตเต็มวัย ปนออกมากับอุจจาระ |
|
กลุ่มพยาธิ์ใบไม้ Trematodes ภาพของพยาธิ์ใบไม้ในตับ Fasciolopsis buski ( ฟาสซิโอลอปซิส บัสไค ) ลักษณะมีส่วนคล้ายใบไม้ ในภาพขนาดประมาณ 3 ซ.ม. ส่วนที่เห็น เป็นสีน้ำตาลเข้มคือส่วน uterus จะมีที่ดูดติด sucker อยู่ 2 อัน อันแรกบริเวณด้านหน้า อีกอันอยู่ กลางลำตัว ที่ย้อมติดสีชมพูเข้ม |
|
กลุ่มพยาธิ์ใบไม้ Trematodes ภาพของพยาธิ์ใบไม้ในตับ Clonorchis sinensis ( โครนอรชีส ไซเนนซีส ) ลักษณะมีส่วนคล้ายใบไม้ ในภาพ มีส่วนหางยาวทำให้ดูคล้ายขวด. ส่วนที่เห็นเป็นสีน้ำตาลเข้ม คือส่วน uterus |
|
กลุ่มพยาธิ์ใบไม้ Trematodes
ภาพของพยาธิ์ใบไม้ในปอด Paragonimus westermani ( พาราโกนิมัส เวสเตอร์แมนไน ) ลักษณะมีส่วนคล้ายใบไม้ ในภาพ แหล่งอาศัยในปอดมนุษย์. ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง เสมหะ แพร่โดยปูน้ำจืด เป็นต้น |
|
กลุ่มพยาธิ์ใบไม้ Trematodes ภาพตัวอ่อน cercaria ของพยาธิ์ใบไม้ Schistosoma mansoni ( ชิสโตโซม่า แมนโซไน ) มีลักษณะหางเป็น 2 แฉก เรียก fork tailed |
|
กลุ่ม โปรโตซัว ชนิด Vaginal Flagellates Trichomonas vaginalis (ทริโคโมแนส วาจินาลีส ) เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการคันและตกขาวในช่องคลอดของสตรี สามารถเคลื่อนตัวไปมาโดยใช้ flagellate คล้ายหนวด และมีส่วน ที่เป็นครีบโบกพัดไปมา (ครีบ ส่วนที่เห็นเป็นหยักๆสีดำทางด้านขวามือ ) กลุ่ม โปรโตซัว ชนิด Intestinal Flagellates Trichomonas hominis (ทริโคโมแนส โฮมินิส ) ลักษณะคล้ายกันกับข้างต้น แต่จะมีพื้นเพอาศัยในลำไส้ ทำให้เกิด อาการท้องเสีย |
|
กลุ่ม โปรโตซัว ชนิด Vaginal Flagellates
ภาพวาด Trichomonas vaginalis (ทริโคโมแนส วาจินาลีส ) เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการคันและตกขาวในช่องคลอดของสตรี สามารถเคลื่อนตัวไปมาโดยใช้ flagellate คล้ายหนวด และมี ส่วนที่เป็นครีบ โบกพัดไปมา (ครีบ ส่วนที่เห็นเป็นหยักๆสีดำ ทางด้านขวามือ ) |
|
กลุ่ม โปรโตซัว ชนิด Intestinal Flagellates Giardia lamblia Trophozoite (ไกอาเดีย แลมเบีย ) ลักษณะคล้ายหน้าที่มีตาติดอยู่ มีพื้นเพอาศัยในลำไส้ ทำให้ เกิดอาการท้องเสีย |
|
กลุ่ม โปรโตซัว ชนิด Intestinal Flagellates
ภาพวาด Giardia lamblia Trophozoite (ไกอาเดีย แลมเบีย ) ลักษณะคล้ายหน้าที่มีตาติดอยู่ มีพื้นเพอาศัยในลำไส้ ทำให้เกิดอาการท้องเสีย |
|
กลุ่ม โปรโตซัว ชนิด Intestinal Flagellates Giardia lamblia Cytes (ไกอาเดีย แลมเบีย ) มีพื้นเพอาศัยในลำไส้ ทำให้เกิดอาการท้องเสีย เป็นช่วงระยะแวดล้อมไม่เหมาะสม จะเปลี่ยมสภาพเป็นรูป cytes ไม่เคลื่อนไหว |
|
กลุ่ม โปรโตซัว ชนิด Intestinal Protozoa - Amoebae (อมีบา) Entamoeba histolytica Trophozoite (เอ็นตามิบ้า ฮีสโตไลติก้า) บิดชนิดมีตัว เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระ เป็นมูกเลือด เรียกโรคบิดชนิดมีตัว ถ้าเคลื่อนตัวเข้าไปในตับทำให้เกิดฝีหนองในตับได้ สามารถเคลื่อนตัวไปมาโดยการยื่นตัวออกไปข้างหน้าช้าๆ เห็นนิวเครียสบริเวณส่วนกลางติดสีเข้ม |
|
กลุ่ม โปรโตซัว ชนิด Intestinal Protozoa - Amoebae (อมีบา) บิดชนิดมีตัว เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ปวดท้อง ถ่าย อุจจาระ เป็นมูกเลือด ในช่วงสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมจะเปลี่ยนเป็น ซีสต์ cyst จะไม่ เคลื่อนไหวจะเห็นนิวคลีไอ ประมาณ 5-8 อัน ( เม็ดกลมเล็กๆภายใน cyst ) ของ Entamoeba histolytica cytes จะมีนิวคลีไอ ไม่เกิน 4 อัน |
|
กลุ่ม โปรโตซัว ชนิด Intestinal Protozoa
ภาพวาด - Amoebae (อมีบา) Entamoeba histolytica Trophozoite (เอ็นตามิบ้า ฮีสโตไลติก้า) ซ้าย บิดชนิดมีตัว เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด ในช่วงสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมจะเปลี่ยนเป็น ซีสต์ cyst ไม่เคลื่อนไหวจะเห็น นิวคลีไอ ประมาณ 2 อัน บนขวา ไม่เคลื่อนไหวจะเห็น นิวคลีไอ ประมาณ 4 อัน ล่างขวา |
|
กลุ่ม โปรโตซัว ชนิด
ทำให้เกิดสมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ Primary Amoebic Meningo-Encephalitis - Amoebae (อมีบา) Genus Naegleria Genus Hartmannella (Acanthamoeba) บิดชนิดมีตัว ซึ่งทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบและเนื้อสมองอักเสบอาการรุนแรงถึงตายได้ อาการปวดศีรษะโดยทันที มีไข้ต่ำ ร่วมกับการมีอาการเจ็บคอและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาการเหล่านี้จะเป็นมากและอย่างรวดเร็วภายใน 3 วัน ไข้จะขึ้นสูง อาการปวดศีรษะ สามารถเคลื่อนตัวไปมาโดยการยื่นตัวออกไปข้างหน้าช้าๆ (ระยะ Trophozoite) เห็นนิวเครียสบริเวณส่วนกลางติดสีเข้ม |
|
กลุ่ม
โปรโตซัว ชนิด ทำให้เกิดสมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ Primary Amoebic Meningo-Encephalitis - Amoebae (อมีบา) Genus Naegleria Genus Hartmannella (Acanthamoeba) บิดชนิดมีตัว ซึ่งทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบและเนื้อสมองอักเสบอาการรุนแรงถึงตายได้ อาการปวดศีรษะโดยทันที มีไข้ต่ำ ร่วมกับการมีอาการเจ็บคอและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาการ เหล่านี้จะเป็นมากและอย่างรวดเร็วภายใน 3 วัน ไข้จะขึ้นสูง อาการปวดศีรษะ ในช่วงสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมจะเปลี่ยนเป็น ซีสต์ cyst ไม่เคลื่อนไหว เห็นนิวคลีไอ ระยะซิสต์ในเนื้อสมองบริเวณส่วนกลางติดสีเข้ม มีเม็ดเลือดขาวล้อมรอบ |
|
กลุ่ม โปรโตซัว ชนิด Blood and tissue Parasites Malaria อาศัยในเซลเม็ดเลือด ดูหมวดเม็ดเลือด Microfilaria Wuchereria bancrofti อาศัยในเลือดนอกเซล เม็ดเลือด ( ไมโครฟิลาเรีย วูวเชอร์เรีย แบนครอฟไท ) สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเท้าช้าง |
|
ลักษณะพยาธิสภาพของอวัยวะภายในที่พยาธิ์เข้าไปฝังตัวอาศัยอยู่ ในรูปของซีสต์ cysts ลักษณะปุ่มโปนขนาดเล็กใหญ่ต่างๆคละกัน เกิดจากพยาธิ์ชนิด Echinococcus granulosus |
|
ลักษณะพยาธิสภาพของตับที่พยาธิ์เข้าไปฝังตัวอาศัยอยู่ ในรูปของซีสต์ cysts ลักษณะปุ่มโปนขนาดเล็กใหญ่ต่างๆคละกัน เกิดจากพยาธิ์ชนิด Echinococcus granulosus |
|
ลักษณะพยาธิสภาพของอวัยวะภายในที่พยาธิ์เข้าไปฝังตัวอาศัยอยู่ ในรูปของซีสต์ cysts ลักษณะปุ่มโปนขนาดเล็กใหญ่ต่างๆคละกัน เกิดจากพยาธิ์ชนิด Onchocerca volvulus |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น