แนวทางปฐมพยาบาลหลังถูกงูกัด ในภาวะน้ำท่วม
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
เลขาธิการ สพฉ. สอนแนวทางปฐมพยาบาลเบื้องต้น หลังจากถูกสัตว์มีพิษที่มาจากอุทกภัยกัด
ภาวะการเกิดน้ำท่วมครั้งนี้ ไม่ได้สร้างปัญหาแก่เพียงมนุษย์เท่านั้น แต่สร้างปัญหาให้แก่สัตว์ร้ายด้วยเช่นกัน อาทิ งู ตะขาบ ที่มีรังอยู่ใต้ดิน เมื่อน้ำท่วมจนหมด สัตว์เหล่านี้ก็ไม่มีที่อยู่ ไหลลอยไปกับสายน้ำ เข้าสู่พื้นที่ที่มนุษย์พักอาศัย จึงอาจจะทำให้เกิดเหตุร้ายจากสัตว์ร้ายเหล่านี้ได้ ดังนั้น นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จึงได้ออกมาให้ข้อมูลว่า ขณะนี้มีผู้ประสบอุทกภัยหลายรายถูกสัตว์มีพิษที่มากับน้ำทั้งหลายกัด มากที่สุดคือ งู รองลงมาคือ ปลิง แมงป่อง และตะขาบ
ทั้งนี้ หากถูกสัตว์ร้ายเหล่านี้กัด โดยเฉพาะงู ซึ่งเป็นสถิติถูกมันกัดอันดับหนึ่ง มีวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น ดังนี้
1. ตั้งสติและตรวจสอบว่าเป็นงูมีพิษหรือไม่
2. ล้างแผลให้สะอาด แต่ห้ามกรีดแผล ดุดแผล หรือกินยาที่มีส่วนผสมของแอสไพริน เพราะจะไปเสริมฤทธิ์กับพิษงู
3. นอนนิ่ง โดยจัดส่วนที่ถูกงูกัดต่ำกว่าระดับหัวใจ อย่าเคลื่อนไหวโดยไม่จำเป็น
4. ใช้ผ้าพันแผลผันเหนือแผลประมาณ 5-15 เซนติเมตร
เมื่อทำครบขั้นตอนก็เตรียมนำผู้บาดเจ็บส่งสถานบริการสาธารณสุขโดยทันที ถ้าหากหยุดหายใจระหว่างทาง ก็ให้กดนวดหัวใจจนกว่าจะถึงมือแพทย์ หรือโทรหา 1669 เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าถึงพื้นที่ด้วยก็ได้
นอกจากนี้ นพ.ชาตรี ยังให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพิษงูได้ 3 ชนิด คือ...
1. เป็นพิษต่อระบบประสาท ทำให้เป็นอัมพาต อาจทำให้หยุดหายใจ ได้แก่ งูเห่า งูจงอาง
2. เป็นพิษต่อเลือด อาจทำให้เลือดไหลไม่หยุด ได้แก่ งูแมวเซา งูเขียวหางไหม้
3. เป็นพิษต่อกล้ามเนื้อ ได้แก่ งูทะเล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น