เรื่องเล่าเกี่ยวกับโรคมะเร็งรังไข่
จันทิมา อายุ 35 ปี เธอเป็นคนที่รักเด็กมาก หลังจากแต่งงานได้ 10 ปี
เธอก็มีลูกสมใจ แต่หลังจากนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง
เธอรู้สึกปวดท้องประจำเดือนอยู่เสมอ อันที่จริงแล้วก่อนตั้งครรภ์ประมาณ 1
ปี เธอได้ไปรับการตรวจภายใน และผลตรวจที่ออกมา
เธอเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เธอจึงไปพบหมอและได้รับคำแนะนำว่า
มีผู้หญิงเป็นโรคนี้มากถึง 1 ใน 5 ต้องอาศัยการดูแลตัวเองเป็นพิเศษ
เพราะอาจส่งผลให้เป็นหมันได้ ซึ่งเธอก็ปฏิบัติตามที่หมอสั่งอย่างเคร่งครัด
ครึ่งปีหลังจากนั้น เธอก็ตั้งครรภ์อย่างที่ต้องการ
แต่แล้วก็เกิดอาการปวดท้องประจำเดือนขึ้นมาอีกครั้ง แถม 1 ปี
ให้หลังกางเกงที่เคยใส่ได้เป็นปกติก็กลับใส่ไม่ได้
และเธอยังปวดบริเวณท้องน้อยทั้งที่ยังไม่ถึงช่วงมีประจำเดือน
สำคัญคือตั้งแต่เธอคลอดลูก 2 ปีนี้ เธอยังไม่เคยไปรับการตรวจเลย
ตอนนี้เธอเริ่มเกิดอาการแปลก ๆ ขึ้น
เธอรู้สึกอึดอัดหายใจไม่ออกแล้วก็ไอมากขึ้น
ถ้าเป็นหวัดก็จะส่งผลไม่ดีต่อลูก ดังนั้นเธอจึงไปรับการตรวจที่โรงพยาบาล
และพบจุดสีขาวที่บ่งบอกถึงลางร้ายปรากฎอยู่ เธอมีเซลล์มะเร็งอยู๋ในปอด
เหตุใดจึงเป็นเช่นนี้!
กลุ่มเสี่ยง
กลุ่มของมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุพบมากในกลุ่มคนอายุมากกว่า 50-60 ปี
แต่มะเร็งรังไข่ทั่วไปสามารถพบได้ในเด็กอายุน้อยกว่า 20 ปี
โดยปัจจัยทางพันธุกรรมมีส่วนเกี่ยวข้องประมาณ 20%
ความเสี่ยงจะอยู่ที่กลุ่มผู้หญิงที่มีการตกไข่ต่อเนื่องโดยไม่เว้นพักการตก
ไข่ เช่นการตั้งครรภ์หรือในกลุ่มคนที่ทานยาคุมกำเนิดซึ่งไปยับยั้งการตกไข่
เพราะฉะนั้นกลุ่มคนที่ทานยาคุมกำเนิดมีการศึกษาพบว่า
เป็นมะเร็งรังไข่น้อยกว่ากลุ่มคนที่ไม่ได้ทานยาคุมกำเนิด
อาการพึงระวัง
ปกติการปวดประจำเดือนจะมี 2 ลักษณะคือ ปวดวันแรก หรือก่อนมีประจำเดือน 1
วัน ซึ่งหลังจากนั้นอาการจะดีขึ้น
หรือเมื่อไปออกกำลังกายแล้วอาการดีขึ้นหรือปวดเล็กน้อยแต่สามารถทำงานและใช้
ชีวิตประจำวันได้ แต่หากมีอาการปวดตั้งแต่ประจำเดือนมาจนกระทั่งหมด
หรือปวดรุนแรงจนตัวบิดงอต้องรีบไปพบแพทย์
รวมไปถึงคนที่เคยตรวจพบว่าเป็นโรคนี้
ลักษณะของโรคมะเร็งรังไข่
เยื่อบุมดลูกเป็นเยื่อที่อยู่ภายในมดลูกเมื่อใกล้ระยะเวลาไข่สุก
เยื่อบุโพรงมดลูกก็จะหนาขึ้นเพื่อรอการปฏิสนธิ
แต่หากไม่มีการปฏิสนธิเกิดขื้นในแต่ละเดือน
เยื่อบุโพรงมดลูกจะลอกหลุดออกมาพร้อมกับเลือดกลายเป็นประจำเดือน
ส่วนโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่นั้น
เกิดจากการที่มีเนื้อเยื่อเกิดขึ้นนอกมดลูกตามที่ต่าง ๆ เช่น บริเวณรังไข่
เมื่อมีประจำเดือน เยื่อบุมดลูกจะขยายตัว
กรณีที่ไปอยู่ในบริเวณที่มีเส้นประสาทรองรับ เช่น อยู่ด้านหลังมดลูก
ก็จะทำให้เกิดอาการปวดท้องประจำเดือนและเสื่ยงต่อการเป็นหมันได้
ทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลว่าจะไม่สามารถมีบุตรได้
ส่วนการเกิดมะเร็งในรังไข่ซึ่งมีความร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตนั้น
มีสาเหตุเริ่มต้นมาจากการปวดประจำเดือนหลังคลอดลูก
เยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญผิดที่
หากอักเสบเรื้อรังไม่ได้รับการรักษาก็จะเปลี่ยนไปเป็นโรคมะเร็งได้
โดยเซลล์มะเร็งจะทำให้ท้องน้อยขยายใหญ่ขึ้นและมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง
แม้จะไม่ใช่เวลาของการมีประจำเดือนซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายบ่งบอกถึงอาการของ
โรคมะเร็งรังไข่ ซึ่งลักษณะพิเศษของมะเร็งรังไข่ก็คือ
เซลล์มะเร็งจะแพร่ขยายอย่างรวดเร็ว
และเนื่องจากมีอาการแสดงให้เห็นน้อยทำให้ไม่สามารถสังเกตได้ง่าย
ทำให้หลายคนที่เป็นโรคนี้กว่าจะตรวจรู้ว่าเป็นมะเร็งก็ลามไปถึงปอดแล้ว
ส่วนสาเหตุของมะเร็งที่รังไข่นั้นยังไม่ทราบแน่ชัด
แต่พบว่าการบริโภคไขมันจากสัตว์ในปริมาณมากเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็ง
รังไข่
อาการของโรคมะเร็งแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1
ตัวมะเร็งจะอยู่เฉพาะในรังไข่ ซึ่งสามารถรักษาได้โดยการผ่าตัด
แต่ส่วนใหญ่มักจะตรวจไม่พบในระยะแรกโดยกว่า 70%
ของมะเร็งรังไข่จะตรวจพบเมื่อเชื้อมะเร็งเข้าสู่ระยะที่ 3 หรือ 4 ไปแล้ว
เนื่องจากระยะแรก ๆ มักจะไม่มีอาการใดปรากฏให้เห็น จนกระทั่งระยะที่ 3
เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งกระจายเข้าไปในเยื่อบุช่องท้องแล้ว
และเข้าไปสร้างสารน้ำต่าง ๆ
ทำให้ท้องของคนไข้ขยายใหญ่อย่างรวดเร็วเนื่องจากมีน้ำในท้อง
มีอาการตึงและแข็ง ส่วนระยะที่ 4
เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งกระจายอย่างรวดเร็วไปที่ปอด
จำนวนผู้ตายจากมะเร็งรังไข่นั้น มีถึง 4,000 คนต่อปี และเพิ่มจำนวนขึ้นถึง 8 เท่าในรอบ 50 ปี ส่วนใหญ่แล้วโรค
เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบนี้เป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่ก็ไม่ควรประมาท ถ้าปล่อยปละละเลยไม่รีบรักษา อาจจะพัฒนาไปสู่โรคมะเร็งรังไข่ได้
วิธีการรักษาโรคมะเร็งรังไข่
เนื่องจากมะเร็งเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้
แต่สามารถป้องกันหรือยับยั้งการเกิดของโรคได้หากพบอาการผิดปกติ เช่น
มีอาการปวดประจำเดือนอย่างรุนแรงหรือคนที่พบว่าเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูก
ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาแต่เนิ่น ๆ
ซึ่งการตรวจมะเร็งรังไข่ แพทย์จะตรวจวัดค่าของสาร CA125
ซึ่งเป็นสารที่ผลิตออกมาจากเยื่อบุอวัยวะในร่างกายเรา เช่น ตับอ่อน
รวมถึงที่รังไข่ด้วย โดยค่าปกติจะอยู่ที่ 0-35 ยูนิตต่อมิลลิลิตร
แต่อาจมีค่าปกติที่สูงกว่านี้แต่เป็นค่าปกติที่ไม่ได้เป็นมะเร็งก็ได้
ถ้าคนที่เป็นมะเร็งรังไข่มาตรวจ ค่าจะสูงมากกว่า 35
แต่กรณีเป็นมะเร็งในระยะที่ 1 บางทีอาจจะไม่แสดงอาการ
ซึ่งหมอสามารถจะตรวจสาร CA125
เพื่อช่วยวางแผนในการผ่าตัดเผื่อในกรณีการเป็นมะเร็งไว้ด้วย
เพราะลักษณะการผ่าตัดจะไม่เหมือนกัน
รู้ไว้ ไกลโรคมะเร็งรังใข่
หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานผักผลไม้เป็นประจำ
ตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันจากสัตว์
เพราะการรับประทานไขมันจากเนื้อสัตว์ในปริมาณมากเป็นปัจจัยร่วมอย่างหนึ่ง
ของการเกิดโรคมะเร็งในรังไข่
***เซลล์มะเร็งขยายใหญ่ขึ้นในเยื่อบุโพรงมดลูก เมื่อปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นโรคมะเร็งรังไข่***
*** เมื่อเลือดเก่าที่ค้างอยู่ในเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่จะมีสีน้ำตาลคล้ายสีช็อกโกแลตเป็นที่มาของชื่อ "ช็อกโกแลตซิสต์"***
แพทย์ผู้ให้ข้อมูล : พญ.ธิศรา วีรสมัย สูติ-นรีแพทย์ ประจำโรงพยาบาลพญาไท 1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น