Clock


วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โรคเบาหวาน ประเภทที่ 1 แบบรุนแรง

ตะวันเป็นครูสอนฟิตเนสที่ฟิตพร้อมร่างกายอยู่เสมอ เขาไม่เคยละเลยสุขภาพ ทั้งยังดูแลเรื่องโภชนาการให้ถูกสุขลักษณะ ด้วยการรับ ประทานผักและดื่มน้ำผลไม้เป็นประจำ วันหนึ่งหลังจากสอนฟิตเนสเสร็จ เขามีอาการเจ็บคอและมีไข้อ่อนๆ ซึ่งถือเป็นอาการหวัดปกติทั่วไป ด้วยความมั่นใจในสุขภาพที่แข็งแรงของตนเอง  จึงคิดว่าไม่เป็นอะไรมากและไปทำงานต่อ แต่เมื่อกลับถึงบ้าน เขากลับมีอาการปวดที่ต้นคอและลำตัว เขาบรรเทาอาการป่วยนั้นด้วยการทานยาแก้ ปวด 2 เม็ดเท่านั้น และโชคดีที่วันรุ่งขึ้นเป็นวันหยุด จึงได้พักผ่อนอยู่ กับบ้าน เหมือนทุกอย่างจะเป็นไปได้ด้วยดี  แต่เขากลับมีอาการใหม่เพิ่มอีกคือ การปัสสาวะบ่อยมากและคอแห้งตลอดเวลา จากเช้าจรดเย็น เขาดื่มน้ำถึง 4 ลิตร แต่ตกดึกเขากลับมีสภาพอิดโรยและอาเจียนอย่างรุนแรง กระนั้นเขาก็ยังเชื่อว่าตัวเองเป็นไข้หวัดธรรมดา
     เช้าวันรุ่งขึ้นเป็นวันที่เขานัดพาลูกไปเที่ยวสวนสัตว์ แต่เขายังนอนซม อยู่ ลูกจึงงอแง และเข้าไปปลุกเพื่อทวงสัญญา เขาหายใจยาวแต่ไร้สติและไม่ยอมลืมตา ตะวันจึงถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลอย่างเร่ง ด่วน  เพียง 1 ชั่วโมงให้หลัง หลังจากถึงโรงพยาบาล  เขาสิ้นลมหายใจในที่สุด
     จากอาการหวัดธรรมดาจนถึงวันที่เสียชีวิต เป็นเวลาเพียงแค่ 2 วันเท่านั้น โรคร้ายอะไรกันแน่ที่ทำให้เขาจากไปด้วยเวลาอันรวดเร็วเช่นนี้

กลุ่มเสี่ยง
     โรคทางพันธุกรรมคือมีญาติเป็นโรคเบาหวาน โอกาสเสี่ยงก็มีมาก หากเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 อายุที่มากขึ้นก็เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยง รวมถึงผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย บริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานประเภทที่ 1
มักมีอายุน้อย ไม่อ้วน ส่วนประเภทที่ 2 มักตัวใหญ่ อายุมาก น้ำหนักเยอะ

 อาการที่พึงระวัง
     เป็นหวัด ไอ ปัสสาวะบ่อย (มากกว่า 4 ครั้งต่อวัน) คอแห้งและดื่มน้ำมากผิด ปกติ อาการเหล่านี้เกิดจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง อาการหน้าบวมจะเกิด เมื่ออยู่ในระยะท้ายๆ

ลักษณะของโรคเบาหวาน
     ไอ ดื่มน้ำมา ปัสสาวะบ่อย
     โรคเบาหวานเป็นโรคที่ผู้ป่วยมีน้ำตาลในเลือดสูง แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ที่เรารู้จักกันดีก็คือ เบาหวานประเภทที่  2
ซึ่งส่วนใหญ่คนที่เป็นเบาหวานในกลุ่มนี้จะเป็นคนที่รับประทานเยอะ รูปร่างจึงมักจะอ้วนเกินมาตรฐาน ส่วนเบาหวานประเภทที่ 1 เป็นเบาหวานที่พบ ได้น้อยมาก และไม่เกี่ยวกับการใช้ชีวิต แต่พบได้ในกรณีที่ขาดอินซูลินอย่างสิ้นเชิง
     อินซูลินเป็นฮอร์โมนประเภทหนึ่ง ผลิตจากตับอ่อนในระบบธรรมชาติ คือเส้นทาง เดินอาหาร เมื่อรับประทานอาหารประเภทแป้ง  คาร์โบไฮเดรตจะถูกย่อยสลายในระบบทางเดินอาหาร และนำไปใช้สร้างพลังงานในการ ดำรงชีวิต เช่น ใช้ในการหายใจ กะพริบตา ในภาวะปกติอินซูลินคือตัวที่นำ กลูโคสไปในเซลล์นั้นๆ เซลล์ไม่สามารถใช้กลูโคสได้หากไม่มีอินซูลิน ในภาวะพร่องอินซูลิน เซลล์ไม่สามารถนำพลังงานไปใช้ได้เลย  ถ้าเป็นอวัยวะสำคัญเช่น สมอง หากสมองเกิดการขาดพลังงานโดยเฉียบพลัน ถึงทาน อาหารเยอะก็ไม่สามารถนำพลังงานไปใช้ได้ ทำให้น้ำตาลในเลือดล้น
      ธรรมดาแล้วการรับประทานอาหารปกติ เมื่อร่างกายดูดซึมพลังงาน อินซูลินนำ กลูโคสไปยังเซลล์ การพร่องอินซูลิน ทำให้ร่างกายใช้พลังงานจากกลูโคสไม่ ได้ จึงดึงไขมันและกล้ามเนื้อมาย่อยสลายเกิดการเผาผลาญไขมัน คนไข้จึง น้ำหนักลด ซึ่งน้ำหนักจะลดลงอย่างรวดเร็วอย่างมีนัยสำคัญ ประมาณ 10%ของ น้ำหนักเริ่มต้น ภายในระยะเวลาอันสั้น รวมกับโปรตีนจากกล้ามเนื้อจะถูกนำมา ย่อยสลายชดเชย  น้ำตาลที่ไม่ได้ใช้จึงล้นอยู่ในหลอดเลือด จนเลือดกลายเป็นน้ำหวาน  น้ำเชื่อมเมื่อไปถึงไต  ไตกรองเอาน้ำเชื่อมน้ำหวานออกไป ปัสสาวะจึงมีน้ำตาล  เมื่อเป็นโรคนี้ตับอ่อนจะใช้เวลาในการถูกทำลายหลายปี แต่ก็มีบางกรณีที่ตับ อ่อนถูกทำลายอย่างรวดเร็ว ไม่กี่วัน  ซึ่งจะทำให้เสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วเช่นกัน
     สำหรับเบาหวานแบบที่ 1 กับโรคหวัดนั้น เมื่อเป็นไข้หวัด ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสมากกว่าแบคทีเรีย ไวรัสจากลมหายใจจะเข้าสู่กระแสเลือด อาจไปทำลายตับอ่อนจนตับอ่อนหยุดทำงานได้ เมื่อไม่มีอินซูลินในร่างกาย ก็เกิดผลแทรกซ้อน เกลือแร่ไม่สมดุล อวัยวะต่าง ๆ เสียการทำงาน และเสียชีวิตในที่สุด

     จากการสำรวจทั่วโลกเมื่อปี 2550 พบผู้ป่วยโรคเบาหวานถึง 246 ล้านคน เป็นชาวเอเชียถึง 4 ใน 5 ของคนทั่วโลก
วิธีการรักษาโรคเบาหวาน
     เบาหวานถือเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง  นอกจากจะรักษาตามแผนการรักษาที่แพทย์ให้แล้ว ยังต้องตรวจเป็นระยะ ๆ เช่น ตรวจตา ตรวจไต ตรวจหัวใจ ตรวจเท้าแล้ว ยังต้องอาศัยการปฏิบัติตนของผู้ป่วย เช่น การควบคุมอาหาร แต่ยังทานอาหารครบ 5 หมู่ ห้ามทานของหวาน ขนม และน้ำอัดลม ต้องจำกัดอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการสำหรับคนเป็น เบาหวาน และต้องหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

รู้ไว้ ไกลโรค
     1.  ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถมีชีวิตอยู่อย่างยืนยาวได้ หากปฏิบัติตนตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด
     2.  ถ้าไม่รักษาเบาหวานเป็นระยะเวลา 3-5 ปี จะมีภาวะแทรกซ้อนในหลายระบบ เพราะความผิดปกติของระบบตา ระบบหลอดเลือดแดง จะส่งผลไปยังระบบอวัยวะที่หลอดเลือดแดงไปหล่อเลี้ยง เช่น สมอง ประสาท หัวใจ ไต และตา ซึ่งอาจทำให้ตาบอดได้

     ***อินซูลินที่ลดน้อย ไม่สามารถดักจับน้ำตาลได้ ทำให้เกิดความผิดปกติขึ้นในร่างกาย แม้แต่เซลล์สมองก็ไม่สามารถดักจับน้ำตาลไว้ได้***
     แพทย์ผู้ให้ข้อมูล : แพทย์หญิง รุ่งอรุณ  สันทัดกลการ  อายุรแพทย์-ผู้อำนวยการแพทย์ โรงพยาบาลพญาไท 1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหา