โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่พบบ่อยชนิดหนึ่งมีชื่อภาษาอังกฤษว่า
“Psoriasis”
โรคนี้เกิดจากเหตุปัจจัยหลายปัจจัยประกอบกัน
ไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเพียงสาเหตุเดียว
ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค
สารเคมีหรือสภาวะทางฟิสิกส์ที่เป็นพิษต่อผิวหนังโดยตรงแต่เพียงอย่างเดียว
แต่เป็นผลจากพันธุกรรมหรือยีนที่ผิดปกติหลายชนิดร่วมกับปัจจัยทางสิ่งแวด
ล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกายที่ไม่เหมาะสมมากระตุ้นให้โรคปรากฏขึ้น
อาการผื่นผิวหนังเป็นได้หลายรูปแบบ ที่พบบ่อย คือ
ผิวหนังอักเสบเป็นปื้นแดง
(Erythematous plaque) ลอกเป็นขุย เป็นๆ หายๆ
ผู้ป่วยบางรายเป็นเฉียบพลันแล้วผื่นก็หายไป บางรายเป็นผื่นผิวหนังอักเสบเรื้อรัง
ความผิดปกติอื่นๆที่อาจพบได้ คือ ความผิดปกติที่เล็บ ข้ออักเสบ เป็นต้น ผู้ป่วยอาจมีอาการผิดปกติของเล็บหรือปวดข้อนำมาก่อน
หรือเกิดขึ้นพร้อมๆกับอาการผื่นผิวหนังอักเสบ
เด็ก เป็นโรคสะเก็ดเงินได้ไหม?
โรคสะเก็ดเงินเป็นในเด็กได้แต่พบน้อยกว่าผู้ใหญ่มากทั้งนี้เพราะปัจจัยกระตุ้นให้โรคปรากฏในเด็กมีไม่มาก
เช่น การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน ความเครียดทางจิตใจ เป็นต้น
|
|
|
|
ทำไมคนบางคนจึงเป็นโรคสะเก็ดเงิน?
คนเป็นโรคสะเก็ดเงินเพราะมีความผิดปกติทางพันธุกรรมเป็นพื้นฐานแล้วมี
สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการและอาการแสดงทางผิวหนัง
เล็บบางรายอาจเกิดอาการอักเสบของเอ็นและข้อร่วมด้วย
ผู้ป่วยแต่ละรายมีอาการแสดงของโรคแตกต่างกันได้มาก
ทั้งแง่ขนาด การกระจายและความรุนแรงของผื่น
ที่กล่าวว่ามีความผิดปกติทางพันธุกรรมไม่จำเป็นที่บิดา
มารดา พี่น้องหรือญาติผู้ป่วยต้องเป็นโรคนี้ทุกคน
เพียงแต่ว่าผู้ป่วยโรคนี้จะมีแนวโน้มทางพันธุกรรมที่จะเป็นโรคนี้อยู่
ญาติพี่น้องของผู้ป่วยมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้สูงกว่าคนทั่วๆไปหรืออีกนัยหนึ่ง
คือมักพบคนในครอบครัวเป็นโรคเดียวกับผู้ป่วย
|
|
ทำไมถึงเรียกว่า “โรคสะเก็ดเงิน”?
เหตุที่เรียกโรคนี้ว่า “โรคสะเก็ดเงิน”
เพราะลักษณะของผื่นในโรคนี้จะเป็นปื้นหรือตุ่มสีแดงขอบเขตชัดเจน
บนผิวของผื่นผิวหนังอักเสบของโรคนี้จะมีสะเก็ดสีขาวคล้ายเงินปกคลุมอยู่
ศาสตราจารย์กิติคุณนายแพทย์สุนิตย์
เจิมสิริวัฒน์จึงให้ชื่อโรคนี้ว่า“โรคสะเก็ดเงิน”
เมื่อแกะเกาสะเก็ดให้หลุดลอกออกจากผิวหนังจะเห็นจุดเลือดออกบนผิวของผื่นที่
อักเสบแดง
ซึ่งเป็นลักษณะจำเพาะของโรคนี้
ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีตุ่มหรือปื้นแดงที่มีสะเก็ดสีขาวให้เห็นก็ได้
ทั้งนี้ขึ้นกับระยะของโรค |
|
|
สาเหตุของโรคสะเก็ดเงิน |
โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่มีแบบแผนการ
ถ่ายทอดทางพันธุกรรมไม่ชัดเจน
พบว่าถ้าบิดาและมารดาเป็นโรค
บุตรที่เกิดมามีโอกาสเป็นโรคนี้สูงร้อยละ 65-83
ถ้าบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งเป็นโรค
บุตรที่เกิดมามีโอกาสเป็นโรคนี้ลดลงเหลือร้อยละ
28-50 ถ้าทั้งบิดาและมารดาไม่เป็นโรคนี้เลย
บุตรมีโอกาสเป็นโรคนี้น้อยลงไปเหลือเพียงร้อยละ
4
ถ้ามีพี่น้องในครอบครัวเป็นโรคนี้โดยที่บิดาและมารดาไม่เป็นโรคบุตรคนถัดไป
มีโอกาสที่จะเป็นโรคสูงขึ้นถึงร้อยละ
24 ลักษณะทางพันธุกรรมเป็นเพียงปัจจัยพื้นฐานของการเกิดโรค
การเกิดอาการของโรคไม่ได้ขึ้นกับปัจจัยทางพันธุกรรมเพียงอย่างเดียว
ถึงผู้ป่วยจะมีลักษณะทางพันธุกรรมของโรคสะเก็ดเงินอยู่
ถ้าไม่มีปัจจัยกระตุ้นหรือส่งเสริมมากระทบผู้ป่วยก็จะไม่เกิดอาการของโรค
ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรสังเกตและพยายามจับให้ได้ว่าปัจจัย
แวดล้อมอะไรทำให้โรคของตนกำเริบ
แล้วพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้โรคกำเริบ
พึงเข้าใจว่าปัจจัยที่ทำให้โรคกำเริบในผู้ป่วยแต่ละรายไม่จำเป็นต้องเหมือน
กัน
|
|
|
|
ปัจจัยกระตุ้นหรือส่งเสริมให้เกิดโรคสะเก็ดเงิน
|
สิ่งแวดล้อมที่กระทบร่างกายของผู้ป่วยแล้วทำให้โรคกำเริบแบ่งได้เป็น
2 ส่วน คือ ปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายในตัวผู้ป่วย
|
|
|
ปัจจัยภายนอก |
สิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วยที่อาจทำให้โรคกำเริบ
คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กได้แก่จุลชีพชนิดต่างๆ
สารเคมีและสภาพทางฟิสิกส์
ผู้ป่วยต้องสัมผัสสิ่งแวดล้อมเหล่านี้อยู่เป็นประจำทุกวัน
ปัจจัย
แวดล้อมเหล่านี้บางครั้งรุนแรง
จะทำให้ผิวหนังของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติพื้นฐานทางพันธุกรรมอยู่เกิดอาการ
ผิวหนังอักเสบขึ้นได้
บางครั้งปัจจัยแวดล้อมที่ระคายผิวหนังน้อย
แต่มีปัจจัยเหล่านี้หลายๆปัจจัยมากระทบผิวหนังพร้อมๆกันก็สามารถทำให้โรค
สะเก็ดเงินที่สงบอยู่กำเริบได้
ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่มีอาการกำเริบและควบคุมอาการของโรคได้ไม่ดีด้วยยา
หรือการรักษาอื่นๆ
แพทย์ผู้ดูแลรักษาและผู้ป่วยต้องร่วมกันสังเกต เฝ้าดูปัจจัย
แวดล้อมต่างๆอย่างละเอียดเพื่อที่จะหาปัจจัยภายนอกที่มีความสัมพันธ์กับการกำเริบของโรค
ปัจจัยที่สำคัญอีกกลุ่มหนึ่งคือปัจจัยภายในตัวผู้ป่วยเอง ได้แก่ โรคติดเชื้อซ่อนเร้นของอวัยวะ
ภายใน การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาบางอย่าง เช่น
ระยะที่มีประจำเดือนของสตรีเพราะในช่วงนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางระดับของ
ฮอร์โมนในร่างกาย
นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจรวมทั้งความเครียดและความรุ่มร้อนจากการงาน
สภาวะทางครอบครัว
ความเจ็บป่วยที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้โรคกำเริบได้
ภายหลังจากการเฝ้าดูและค้นหาอย่างดีแล้วจะมีผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถหา
ปัจจัยแวดล้อมที่กระตุ้นให้โรคกำเริบได้
กรณีเช่นนี้ทั้งผู้ป่วยและญาติอย่าได้กังวลจนเกินไปขอให้วางใจเป็น
กลาง(อุเบกขา)
มีขันติและติดตามเฝ้าดูและหาปัจจัยต่างๆ เหล่านั้นต่อไป
เพราะถึงจะหาปัจจัยที่กระตุ้นโรคให้กำเริบไม่ได้
แพทย์ก็มี ยาพอที่จะทุเลาอาการของโรคได้
ไม่มีปัจจัยใดที่จะคงอยู่ตลอดไปในไม่ช้าปัจจัยต้นเหตุที่กระตุ้นให้โรค
กำเริบก็จะปรากฏให้เห็นหรือไม่ก็ผ่านพ้นไป
โรคที่รุนแรงจะสงบลงได้ในที่สุด ขอยกตัวอย่าง
ปัจจัยภายนอกที่แพทย์พบว่าสามารถทำให้อาการของโรคสะเก็ดเงินกำเริบได้
เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจจะได้คอยระวัง
และหลบหลีกปัจจัยต้นเหตุที่ทำให้โรคกำเริบดังกล่าว
|
- ปัจจัยทางเคมี สารเคมีที่ผู้ป่วยสัมผัสที่สำคัญคือ
อาหาร ยา สารเคมีในที่ทำงาน สารเคมีที่มีการบันทึกไว้ว่าสามารถทำให้โรคกำเริบได้แก่
ยาบางชนิดถ้าผู้ป่วยรับประทานแล้วจะทำให้โรคสะเก็ดเงินกำเริบ เช่น ยารักษาโรคจิตประสาทกลุ่ม
Lithium ยารักษาโรคมาเลเรีย ยารักษาโรคหัวใจกลุ่ม Beta adrenergic blocking
agent ยาสตีรอยด์ชนิดรับประทานและฉีด ดังนั้นผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการซื้อยามารับประทานเอง
เพราะยาหม้อ ยาจีน ยาไทย บางชนิดแอบผสมสตีรอยด์เข้าไปในส่วนผสมของยา
ยาสตีรอยด์ทั้งชนิดรับประทานและฉีดจะทำให้อาการของโรคสะเก็ดเงินสงบลงได้ในระยะแรกๆที่ได้รับยา
แต่เมื่อใช้ไปในระยะยาวจะมีผลข้างเคียงสูงมาก เช่น ทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร
โรคเบาหวานกำเริบ กล้ามเนื้อลีบและอ่อนแรง ความดันโลหิตสูง กระดูกผุ เป็นต้น
|
|
- ปัจจัยทางชีวะ คือสิ่งมีชีวิตที่ก่อโรคกับคน
ตั้งแต่จุลชีพชนิดต่างๆได้แก่เชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา และปรสิตรวมทั้งแมลงต่างๆด้วย
สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ทำให้เกิดโรคกับผู้ป่วยแล้วส่งผลกระทบทำให้โรคสะเก็ดเงินกำเริบ
ตัวอย่างเช่น โรคคออักเสบจากไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรียสเตร็พโตคอคคัส (Streptococcus
species) โดยเฉพาะในเด็ก โรคติดเชื้อ HIV สามารถทำให้โรคสะเก็ดเงินกำเริบได้
อาการผื่นผิวหนังอักเสบของโรคจะรุนแรงควบคุมได้ยาก ถ้าผู้ป่วยเกิดโรคติดเชื้อดังกล่าวซ้อนลงบนโรคสะเก็ดเงิน
สำหรับโรคติดเชื้ออื่นๆ ก็สามารถกระตุ้นให้โรคกำเริบได้เช่นเดียวกัน แต่ความสัมพันธ์อาจไม่ชัดเจนเหมือน
2 โรคดังกล่าวแล้ว
|
|
- ปัจจัยทางฟิสิกส์ ผิวหนังของผู้ป่วยเมื่อกระทบกับสภาวะทางฟิสิกส์ที่รุนแรง
เช่น การแกะเกา ขูด กด เสียดสี ทำให้ผื่นของโรคสะเก็ดเงินกำเริบ และลุกลามออกไปได้
จึงมักพบผื่นของโรคสะเก็ดเงินบริเวณ ศอก เข่า ก้นกบ เพราะเป็นตำแหน่งที่มีการแกะเกาเสียดสีมากที่สุด
|
|
ปัจจัยภายในร่างกาย |
ผิวหนังเป็นอวัยวะที่อยู่นอกสุดของร่างกาย
แต่ไม่ได้ตัดขาดความสัมพันธ์ไปจากอวัยวะภายในอื่นๆของร่างกาย ปัจจัยภายในร่างกายรวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดในร่างกาย
เช่นการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน โรคของอวัยวะภายในต่างๆ เช่น โรคตับ โรคไต
เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงและโรคต่างๆ ของอวัยวะภายใน จะส่งผลกระทบโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อผิวหนังด้วยเสมอ
ดังนั้นผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินจะมีอาการกำเริบได้เมื่อเกิดโรคกับอวัยวะภายในอื่นๆ
ปัจจัยทางด้านจิตใจ สภาพทางจิตใจของผู้ป่วยมีอิทธิพลต่ออาการของโรคสะเก็ดเงิน
เช่นเดียวกับปัจจัยภายนอกและภายในร่างกาย พบว่าผู้ป่วยที่เครียด หงุดหงิด โกรธง่าย
นอนไม่หลับ ผื่นจะกำเริบแดงขึ้น คันมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยต้องแกะเกา ส่งผลให้โรคกำเริบ |
|
โดยสรุปว่าโรคสะเก็ดเงินเป็นโรคทางพันธุกรรมที่มีปัจจัยทั้งภายในและภายนอกร่างกาย
รวมทั้งปัจจัยทางด้านจิตใจ เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคหรือส่งเสริมให้โรคที่สงบอยู่กำเริบ
เป็นมากขึ้นหรือโรคยังคงเป็นอยู่และดำเนินต่อไป |
|
ตัวอย่างปัจจัยที่ทำให้โรคสะเก็ดเงินกำเริบ
|
ปัจจัยทางเคมี
- การระคายเคืองจาก ดีเทอร์เจน ผงซักฟอก สบู่ ครีมที่มีกรดผสม เช่น ครีมลอกหน้า
ขัดผิว
- ยาจีน ยาหม้อ สมุนไพรต่าง ๆที่ใช้ทาหรือรับประทาน
- ยาแผนปัจจุบันบางชนิดทำให้โรคสะเก็ดเงินกำเริบ เช่นยาลดความดัน และลดอัตราการเต้นของหัวใจ
กลุ่ม Beta- adrenergic blocking agents , Lithium , ยาแก้ปวด Indomethacin
Quinidine , ยาต้านมาเลเรีย ( Anti-malarial )
- ยาสตีรอยด์ชนิดรับประทานและฉีด
|
|
ปัจจัยทางชีวะ
โรคติดเชื้อที่คอ
หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง และโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
ยุงแมลงกัดต่อย |
|
ปัจจัยทางฟิสิกส์
การกระทบกระแทก ถูกมีดบาด ยุงแมลงกัดต่อย
การแกะเกา กด ถู ดึง ลอก หยิก |
|
ปัจจัยทางจิตใจ
ความเครียด
เร่าร้อน ความโกรธ หงุดหงิด ฉุนเฉียว
|
|
พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง |
- - การดื่มเหล้า
- - การสูบบุหรี่
- - เล่นการพนัน
- - ความเครียดทั้งทางกายและทางใจเช่น ความวิตก กังวล ความกลัว หงุดหงิด
ฉุนเฉียว
- - การเล่นกีฬาหักโหม
|
|
การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย
|
- - ระยะมีประจำเดือน/หมดประจำเดือน
- - ระหว่างตั้งครรภ์หรือหลังคลอด
|
|
อาการและอาการแสดง |
โรคสะเก็ดเงินมีอาการและอาการแสดง ที่อวัยวะต่างๆ ดังนี้ |
1. ผิวหนัง ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า รวมทั้งฝ่ามือหรือฝ่าเท้า
ผื่นผิวหนัง ของโรคสะเก็ดเงิน
(ดูรูปประกอบ)
ผื่นผิวหนังอักเสบของโรคสะเก็ดเงิน
เกิดที่ตำแหน่งใดของผิวหนังก็ได้ ผู้ป่วยแต่ละรายมีอาการและอาการแสดงแตกต่างกันได้อย่างมาก
ตำแหน่งผิวหนังที่พบผื่นบ่อย ได้แก่บริเวณที่มีการเสียดสี แกะเกา เช่น ศอก
เข่า แขน ขา ก้นกบ คอ ศีรษะ ลักษณะสำคัญของผื่นโรคสะเก็ดเงินคือเป็นปื้นหนา
มีสะเก็ดสีขาวคล้ายเงิน เมื่อแกะเกาให้สะเก็ดหลุดออก จะพบจุดเลือดออกอยู่บนผื่นผิวหนังที่อักเสบแดง
การแกะเกาทำให้ตุ่มหรือปื้นผิวหนังที่อักเสบขยายวงกว้างออกหรือทำให้เกิดตุ่มผิวหนังอักเสบเกิดใหม่ตามรอยเกา
ผื่นผิวหนังอักเสบแยกย่อยเป็นลักษณะต่างๆดังนี้
ลักษณะผื่นผิวหนังอักเสบโรคสะเก็ดเงิน มีรูปร่างและการกระจายของผื่นดังนี้:
1. ตุ่มแดง ตามรูขน
2.ปื้นแดง หนา เป็นวงกลม บริเวณศอก เข่า มือ ก้นกบ (Psoriasis vulgaris)
3. ผื่น แดง มีขุย บริเวณที่มีต่อมไขมันมาก (Seborrheic area) เช่น หนังศีรษะ
หลังหู หน้าผาก ร่องจมูก หน้าอก (Sebo-psoriasis)
4. ตุ่มแดง ขนาดเล็กกว่า 1 ซม. กระจายตามตัว
(Guttate psoriasis)
5. ผื่นแดงขนาด 4-5 ซม. คันกระจายตาม แขน ขา
(Nummular psoriasis)
6.ผื่นหรือปื้นแดงตามข้อพับ ขาหนีบ
(Intertriginous psoriasis)
7. ผื่นแดงเป็นวงแหวน คล้ายแผนที่
(Annular psoriasis, figurate psoriasis)
8. ผื่นหรือปื้นหนาแดงมีสะเก็ดสีขาวกระจายทั่วตัว
(Psoriasis universalis)
9. ผื่นแดงลอกทั้งตัว ( Erythroderma)
10. ตุ่มหนองตามฝ่ามือฝ่าเท้า นิ้วมือหรือนิ้วเท้า
(Localized pustular psoriasis)
11. ตุ่มหนองกระจายทั่วตัว ผู้ป่วยมักมีอาการตามระบบร่วมด้วยเช่น ไข้สูง
ปวดเมื่อย (Generalized pustular psoriasis)
12. ผื่นโรคสะเก็ดเงินที่เยื่อบุ ( Mucosal psoriasis) ตำแหน่งที่พบผื่นแดงเป็นขุยบ่อยอยู่ที่
บริเวณอวัยวะเพศ
ผู้ป่วยบางรายมีตุ่มหรือปื้นผิวหนังอักเสบเฉพาะที่ศอก
เข่า แขน ขา เพียง 2-3 แห่งเท่านั้น บางรายเป็นผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณข้อพับ
เช่น ขาหนีบ ร่องก้น ตุ่มหนองตามฝ่ามือฝ่าเท้าหรือเป็นตุ่มหนองเฉพาะที่ปลายนิ้วมือหรือเท้า
ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่เป็นรุนแรง
ผื่นผิวหนังอักเสบแดงจะเป็นทั่วทั้งตัว
ผื่นแดงลอกเป็นสะเก็ดทำให้ผู้ป่วยเสียโปรตีนไปกับสะเก็ดผิวหนัง
นอกจากนี้ยังเสียความร้อนในร่างกายหรือน้ำทางผิวหนังมากกว่าปกติ
ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอ่อนเพลีย
หนาวสะท้านเพราะเสียความร้อนไปทางผิวหนังตลอดเวลา
ผู้ป่วยบางรายมีอาการรุนแรงเป็นไข้
ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ เกิดตุ่มหนองกระจายทั่วตัว
ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินเกิดอาการเอ็นและข้ออักเสบ
ร้อยละ5.4-7 ร้อยละ 75
ของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่มีอาการข้ออักเสบเกิดตามหลังอาการผื่นผิวหนัง
อักเสบ
พบเพียงร้อยละ 15 ที่อาการข้ออักเสบนำหน้าอาการผิวหนังอักเสบ
อีกร้อยละ 10
อาการผิวหนังอักเสบและอาการข้ออักเสบเกิดขึ้นพร้อมๆกัน
อาการปวดข้อและข้ออักเสบในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินแบ่งเป็นหลายกลุ่มตามลักษณะ
อาการและอาการแสดงทางผิวหนังดังนั้นอาการทางข้อในผู้ป่วยแต่ละกลุ่มย่อมแตก
ต่างกันข้ออักเสบที่พบบ่อยคือ
ข้อนิ้วมือ นิ้วเท้า ข้อเท้า ข้อศอก หรือข้อไหล่
ข้อต่อของกระดูกสันหลัง
ข้อสะโพกก็พบได้ อาการบวมแดงร้อนตามข้อเหล่านี้
แสดงถึงการอักเสบที่รุนแรง
ถ้ามีควรปรึกษาแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป
|
|
|
2. เล็บมือและเท้า
โรคสะเก็ดเงินของเล็บมือและเล็บเท้า
ความผิดปกติที่เล็บมือพบได้ถึงร้อยละ50
เล็บเท้าพบได้ร้อยละ 35 ลักษณะผิดปกติที่พบมีตั้งแต่ ผิวของเล็บเป็นหลุมเล็กๆ
จนถึงเล็บผิดรูปขรุขระทั้งเล็บ ลักษณะผิดปกติที่พบนอกจากนี้ ได้แก่ เล็บหนามีขุยขาวใต้เล็บ
เล็บล่อนจากพื้นเล็บ เป็นต้น
|
|
|
3. ข้อ ทุกแห่งของร่างกายรวมทั้งข้อกระดูกสันหลังด้วย
โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน
ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินบางรายมีอาการข้ออักเสบร่วมด้วย
อาการข้ออักเสบจะเกิดตามหลังผื่นผิวหนังอักเสบ โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินเกิดพร้อมๆ
กับผื่นผิวหนังอักเสบ หรือมีอาการทางข้ออักเสบนำมาก่อนก็ได้ ข้อที่เกิดการอักเสบบ่อยคือ
ข้อนิ้วมือส่วนปลาย ข้อมือ ศอก เข่า ข้อกระดูกคอ กระดูกสันหลังเป็นต้น เมื่อมีอาการอักเสบจะมีอาการบวมแดงร้อน
ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องจะเกิดอาการพิการของข้อได้
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น