เจนนี่เพิ่งตั้งครรภ์ได้ไม่นาน ขณะกำลังทำงานบ้าน เธอรู้สึกหน้ามืด
วิงเวียนศีรษะ เป็นๆ หายๆ
จนกระทั่งวันหนึ่งเธอรู้สึกเจ็บท้องและแท้งลูกทั้งที่เพิ่งตั้งครรภ์ได้
เพียง 3 เดือน
1 ปีผ่านไป เจนนี่และสามีก็ได้มาตรวจที่โรงพยาบาลเพราะกำลังจะมีลูก
คราวนี้เธอหมั่นมาตรวจเช็กร่างกาย ระมัดระวังเรื่องอาหารการกิน
คำนึงถึงสุขภาพทุกวินาทีด้วยอยากให้ลูกรักแข็งแรง
แต่ช่วงนี้เธอไม่สบายใจที่สามีเริ่มกลับบ้านดึก ในคืนหนึ่งเธอเกิดวิงเวียน
พอพักสักครู่ก็หายเป็นปกติ เธอจึงเข้าใจว่าเป็นเพราะความกังวลใจ
พลันเธอสังเกตเห็นมีหลอดเลือดขอดเป็นลายกว้างที่น่องและออกเสียงพูดได้ไม่
ชัดโดยไม่ทราบสาเหตุ แล้ว 2 เดือนต่อมา
ขณะที่เจนนี่ไปแอบดูพฤติกรรมสามีและพบว่า
ที่แท้เขาอยู่ทำโอทีทุกวันด้วยความขยัน
ทันใดนั้นเธอเกิดเจ็บท้องอย่างมากจึงถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล
เจนนี่ต้องสุญเสียลูกไปอีกครั้ง เป็นที่น่าสงสัยจริง ๆ
ว่าเธอเป็นโรคร้ายอะไรกันแน่
กลุ่มเสี่ยง
โรคนี้ถือเป็นโรคที่พบได้น้อย โดยเกิดขึ้นได้กับทั้งเพศหญิงและเพศชาย
แต่ 80% จะเกิดขึ้นกับเพศหญิง
โดยเฉพาะหญิงอายุน้อยที่เกิดความเสื่อมของตัวเซลล์ หญิงที่ตั้งครรภ์
รวมทั้งผู้ที่เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE จะมีโอกาสเป็นโรคนี้เพิ่มอีก
50%
อาการที่พึงระวัง
โรคนี้แทบจะไม่มีอาการเตือนที่ชัดเจน
มักเจออาการของโรคกับหญิงที่ตั้งครรภ์
เนื่องจากจะมีการเปลี่ยนแปลงของระบบหลอดเลือดและระบบฮอร์โมนทำให้เกิดภาวะ
แทรกซ้อนได้ง่ายขึ้น
อาการเวียนศีรษะในหญิงตั้งครรภ์จึงเป็นอาการเสี่ยงที่อาจลุกลามกลายเป็นโรค
Antiphospholipid Antibody Syndrome
โดยจะมีแผงหลอดเลือดแดงชัดขึ้นมาบริเวณน่อง หรือมีอาการพูดไม่ชัดร่วมด้วย
ลักษณะของโรค
โรค Antiphospholipid Antibody Syndrome (แอนติฟอสโฟลิปิด แอนติบอดี
ซินโดรม) เป็นโรคที่เฉพาะเจาะจงมาก จึงไม่มีชื่อโรคเป็นภาษาไทย
เพราะแปลเป็นภาษาไทยแล้วอาจทำให้สับสน โรคนี้เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคคอลลาเจน
คล้ายกับโรคภูมิแพ้ตัวเอง หรือโรค SLE
ปกติเมื่อร่างกายมีสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคเข้าไป
เม็ดเลือดขาวจะทำลายกำจัดเชื้อโรคโดยการสร้างแอนติบอดี (antibody)
หรือภูมิคุ้มกันขึ้นมา
ปกติแล้วภูมิคุ้มกันจะไม่ทำลายเซลล์ของตัวเอง
เพราะจำได้ว่าเซลล์ไหนคือเซลล์ร่างกาย ฉะนั้น
การที่ภูมิคุ้มกันของเราเองจำเซลล์ของตัวเองไม่ได้ ก็จะทำลาย
เซลล์ที่จำไม่ได้จนเกิดเป็นโรคนี้ขึ้น
ซึ่งโดยทั่วไปลักษณะกลุ่มโรคนี้มีมากในหลอดเลือด เนื่องจากในกระแสเลือดมี
แอนติบอดีค่อนข้างเยอะ
อาการแสดงออกมาจึงเกี่ยวข้องกับหลอดเลือดเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเป็นโรคนี้
เลือดจะแข็งตัวได้ง่ายกว่า เสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองขาดออกซิเจน
หรือหัวใจล้มเหลวได้ ในกรณีที่ร้ายแรงมาก ๆ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
ลักษณะเฉพาะของโรคนี้คือ
การเกิดการแข็งตัวของเลือดจนทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมา
หากโรคนี้เกิดในเพศหญิงที่อายุน้อย มักพบว่าเกิดจากความเสื่อมของตัวเซลล์
ปัญหาที่ตามมาคือถ้าหลอดเลือด มีการแข็งตัวหรือมีแผลที่ผนังหลอดเลือด
ร่างกายจะมีการซ่อมแซมโดยการสร้างลิ่มเลือดขึ้นมา
เมื่อลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันที่อวัยวะไหน ก็จะทำให้มีอาการของอวัยวะนั้น
หากเกิดโรคนี้ในขณะตั้งครรภ์ จะทำให้หลอดเลือดภายในรกในครรภ์เกิดการแข็งตัว
ลิ่มเลือดไปอุดเส้นเลือดทางเดินจากแม่ไปสู่ลูก
ส่วนหนึ่งคือหลอดเลือดบริเวณรกจะมีหลอดเลือดเล็ก ๆ และปริมาณมาก
ถ้ามีการแข็งตัวหรือมีลิ่มเลือดไปเกาะ เลือดที่จะไปเลี้ยงเด็กก็จะน้อย
ส่งผลให้ทารกไม่สามารถรับสารอาหารได้อย่างเพียงพอทำให้แท้ง
ถ้าลิ่มเลือดไปอุดตรงหัวใจจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
การที่เจนนี่แท้งลูกถึง 2 ครั้ง จึงเกิดขึ้นเพราะโรค
Antiphospholipid Antibody Syndrome นั่นเอง
โดยอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเจจี่ เนื่องจากหลอดเลือดที่สมองและขาทั้ง 2
ข้างเกิดการแข็งตัวของเลือดในเวลาเดียวกัน อาการเวียนศีรษะที่เกิดขึ้น
ก็อาจเป็นเพราะมีลิ่มเลือดเล็ก ๆ
ขึ้นไปอุดหลอดเลือดในสมองส่วนนั้น ส่วนการพูดไม่ชัดหรือพูดไม่ได้
ลิ่มเลือดอาจไปอุดในส่วนของสมองบับคับการพูด
แต่เนื่องจากมันเล็กมากจึงอาจจะหลุดไปได้ อันตรายก็คือ ถ้าอุดแล้วมันไม่
หลุดก็จะเป็นอัมพฤกษ์ หรืออัมพาต 1
ปีผ่านไปหลังจากที่ได้รับการรักษาไม่ให้เลือดแข็งตัวได้ง่าย
เจนนี่ก็ได้ให้กำเนิดบุตรโดยปราศจากเรื่องร้ายใดๆอีก ทางการแพทย์ถือว่าโรค
Antiphospholipid Antibody Syndrome มีน้อยมาก ในยุโรปจะพบโรคนี้ประมาณ
5-10% ส่วนในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์พบน้อยกว่า 1%
ถึงตรงนี้คุณผู้อ่านอาจสงสัยว่า
ถ้าตั้งครรภ์แล้วไปตรวจโดยเจาะจงว่าจะตรวจแอนติบอดีตัวนี้ได้หรือไม่ คำตอบ
คือได้แต่อาจจะไม่คุ้มค่า
เนื่องจากราคาแพง และโรคนี้ถือเป็นโรคที่พบน้อย หากมีอาการที่บ่งบอกหรือมี
แนวโน้มว่าจะเป็นจึงค่อยไปตรวจ
ถ้าตรวจแล้วพบว่าเราเป็นโรคนี้ก็ไม่ต้องวิตกกังวลจนเกินไป
เพราะการรักษาสามารถทำให้มีชีวิตอยู่และมีบุตรได้
วิธีการรักษา
โรคนี้เป็นโรคที่ยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัด และไม่มีวิธีป้องกันที่
ชัดเจน จึงไม่มีวิธีการรักษาที่แน่นอนในคนไข้แต่ละราย หากตรวจพบจะรักษาด้วย
การให้ยาเพื่อไม่ให้สร้างลิ่มเลือด เช่น กลุ่มยาแอสไพริน และกลุ่มยาที่ไม่
ทำให้เกิดลิ่มเลือด
หากตั้งครรภ์จะเปลี่ยนเป็นการให้ยาที่ไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อการตั้ง
ครรภ์ เช่น การแท้ง ครรภ์เป็นพิษ
การคลอดก่อนกำหนด คลอดแล้วเด็กตัวเล็กผิดปกติ ฯลฯ
รู้ไว้ ไกลโรค
หากสงสัยว่าตัวเองมีสภาวะเสี่ยงที่จะเป็นโรค Antiphospholipid Antibody Syndrome ควรไปตรวจวัดระดับ
คอเลสเตอรอลในกระแสเลือด และตรวจหาความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน หรือที่เรียกว่า แอนติบอดี ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรค โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
แพทย์ผู้ให้ข้อมูล : นพ.ธิติกรณ์ วานิชย์กุล หัวหน้าศูนย์สุขภาพหญิง โรงพยาบาลพญาไท 2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น