Clock


วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ไข้หวัดหมู ( Influenza A virus subtype H1N1 )

ไข้หวัดหมู ( Influenza A virus subtype H1N1 )

H1N1 เป็น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ H1N1 โดยรหัส" H " ย่อมาจาก Hemagglutinin ( ใช้ตัวย่อ HA )คือ โปรตีน ที่จะปรากฏเป็นตุ่มยื่นออกมาจากผิวของไวรัส หน้าที่หลักของ HA คือ เข้าจับกับเซลล์ receptor ในเซลล์ของคน และเมื่อยึดติดแล้วเชื้อไวรัส ก็จะบุกรุกเซลล์ โดย RNA ของไวรัสจะเข้าสู่นิวเคลียส เพื่อสร้างอนุภาคไวรัสตัวใหม่ โดจรหัส " N " ย่อมาจาก Neuraminidase ( ใช้ตัวย่อ NA ) คือ โปรตีน ที่จะทำหน้าที่ นำไวรัสที่ถูกสร้างใหม่ ออกจากเซลล์คนเดินทางสู่เซลล์อื่น ๆ ในร่างกายต่อไป
โดยไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ H1N1 หรือที่ตอนนี้เรียกันว่า ไข้หวัดหมู ที่เกิดการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์สเปน (Spanish Flu ) กับ ไข้หวัดสายพันธุ์ที่พบในหมู และ ไข้หวัดสายพันธุ์ที่พบในนก

กินหมู จะติดไข้หวัดหมู หรือ ไม่

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า โรคไข้หวัดหมู (ไข้หวัดใหญ่ที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล)ที่ตรวจพบในประเทศไทยมี 3 สายพันธุ์ คือ H1N1 , H1N2 และ H3N2 ซึ่งมีลักษณะการติดต่อคล้าย ๆ กับโรคซาร์ส หรือไข้หวัดนก พร้อมยืนยันว่าโรคดังกล่าวไม่ติดต่อจากการกินหมู

อาการ โรคไข้หวัดหมู

  • มีไข้สูง
  • หายใจไม่สะดวก
  • ปวดศีรษะ ปวดตา
  • ปวดเมื่อยตามร่างกายรุนแรง
  • อาการป่วยจะพัฒนารวดเร็วและจะมีอาการหายใจลำบากอย่างรุนแรงภายใน 5 วัน
การป้องกัน โรคไข้หวัดหมู

การป้องกันโดยหลักก็คล้ายกับการป้องกันไข้หวัดใหญ่
  • เวลาไอ หรือจามให้ปิดปากป้องกันระอองน้ำลายไปสัมผัสผู้อื่น หรืออาดใช้ผ้าปิดปาก
  • ระวังรักษาสุขภาพให้แข็งแรง
  • อย่าเข้าใกล้ผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น หรือถ้าจำเป็นก็ต้องมีการป้องกัน
  • เวลา เกิดโรคระบาดอย่าเข้าไปในกลุ่มชนแออัด โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงว่าจะติดโรคง่าย เช่น ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก สตรีตั้งครรภ์ ผู้มีโรคประจำตัวเช่นภูมิแพ้


ประเทศ ที่มีตรวจพบการแพร่ระบาด ของไข้หวัดหมู

  • ประเทศเม็กซิโก
  • ประเทศสหรํฐอเมริกา
  • ประเทศแคนนาดา
Update ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก

  • วันที่ 27 เมษายน 52 กระทรวงสาธารณสุข มีมติเปลี่ยนชื่อเรียกจาก " ไข้หวัดหมู " เป็น " ไข้หวัดใหญ่ที่มีการแพร่ระบาดในเม็กซิโก " หรือเรียกสั้นๆ ว่า ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก เนื่องจาก ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 ไม่มีการติดต่อจากหมูสู่คน ถ้าใช้คำว่าไข้หวัดหมูจะทำให้เกิดการตื่นตะหนก

การตรวจเลือดเพื่อบอกว่ามีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

ในการวินิจฉัยว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดนอกจากจะอาศัยประวัติการเจ็บ หน้าอก การเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจแล้ว ยังต้องอาศัยผลการตรวจเลือดเพื่อที่จะบอกว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและตาย ไป การตรวจเลือดที่สำคัญได้แก่
CPK-MB
ชื่อเต็มคือ Creatinin kinase -MB เป็นโปรตีนที่พบในกล้ามเนื้อหัวใจ และพบได้น้อยในกล้ามเนื้อปกติ เมื่อมีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ ก็จะมีการหลั่งสารนี้เข้ามาในกระแสเลือด การตรวจด้วยวิธีนี้เป็นที่นิยมกันในอดีต แต่ปัจจุบันได้รับความนิยมลดลง เนื่องจากว่าเราสามารถตรวจพบสารนี้ในคนปกติ และในคนที่กล้ามเนื้อปกติได้รับบาดเจ็บ นอกจากนั้นสารตัวนี้ยังมีความไว sensitivityละความจำเพาะspecific ต่อโรคต่ำด้วย ปัจจุบันการเจาะเลือดนี้ใช้ในการวินิจฉัยว่ากล้ามเนื้อหัวใจยังคงมีการขาด เลือดอยู่ หรือมีกล้ามเนื้อหัวใจมีการขาดเลือดซ้ำ
Troponin
Myoglobin
เป็นโปรตีนที่พบได้ในกล้ามเนื้อหัวใจ และกล้ามเนื้อทั่วๆไป เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและตายโปรตีนตัวนี้จะถูกหลั่งออกมาอย่างรวด เร็วภายใน 2 ชมและกลับสู่ปกติภายใน 4 ชมดังนั้นจึงอาจจะไม่ช่วยในการวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
สรุปข้อดีและข้อเสียของสารแต่ละตัว
เลือดที่เจาะ               ข้อดี              ข้อเสีย
Troponin T
  1. ใช้เป็นตัวชี้วัดถึงความเสี่ยง
  2. มีความไวและความแม่นยำมากกว่า CPK-MB
  3. สามารถตรวจพบว่าเป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด นานถึง 2 สัปดาห์หลังจากเกิดอาการแน่นหน้าอก
  4. ช่วยวางแผนในการรักษา
  5. เป็นตัวที่บ่งบอกว่าเลือดได้กลับไปเลี้ยงหัวใจหลังการรักษา
  1. ในระยะแรกของโรคอาจจะตรวจไม่พบ ต้องเจาะซ้ำอีก 6-8 ชม
  2. ไม่สามารถตรวจว่าเกิดการขาดเลือดซ้ำ
CPK-MB
  1. สามารถตรวจได้รวดเร็ว ประหยัด
  2. สามารถบอกว่าเกิดการขาดเลือดซ้ำของกล้ามเนื้อหัวใจ
  1. ไม่เฉพาะสำหรับโรคหัวใจ
  2. ในระยะแรกๆอาจจะตรวจเลือดไม่พบ
Myoglobin
  1. มีความไวสูงมาก
  2. ประโยชน์ในการวินิจฉัยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ในระยะแรก
  3. ช่วยบอกว่าเลือดกลับไปเลี้ยงหัวใจหลังการรักษา
  4. ใช้ในการแยกโรค
  1. มีความจำเพาะต่ำเพราะพบได้ทั้งกล้ามเนื้อหัวใจ และกล้ามเนื้อทั่วๆไป
  2. ผลเลือดกลับสู่ปกติเร็วมาก

Acute Coronary Syndrome

Acute Coronary Syndrome
โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตของการเสียชีวิตของประเทศที่ เจริญแล้ว และประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อาการและอาการแสดงของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมีได้หลายลักษณะได้แก่
  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคกล้ามเนื้อหัวใขาดเลือดโดยที่ไม่มีอาการเรียก Silent ischemia
  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกเมื่อออกกำลังกาย เรียก Stable angina
  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกแบบ Unstable angina
  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด Myocardial infarction
  • กลุ่มผู้ป่วยที่มาด้วยเรื่องหัวใจวาย Congestive heart failure
  • กลุ่มผู้ป่วยที่เสียชีวิตเฉียบพลัน Sudden cardiac death
Acute Coronary Syndrome เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เฉียบพลัน แต่เดิมนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 3กลุ่มใหญ่คือ
ในบทความนี้จะกล่าวละเอียด เฉพาะกลุ่ม ACS ที่ไม่ใช่ STEMI เพราะ STEMI นั้น มีการรักษาดูแลที่แตกต่างและพิเศษกว่ากลุ่มอื่นคลิกที่นี่

สาเหตุของ ACS
กลไกที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเชื่อว่าเป็นจากการที่หัวใจได้รับออกซิเจนไปเลี้ยงไม่พอ ซึ่งมีสาเหตุหลัก 4 ประการ 1 คือ
  1. ลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดหัวใจ(Occlusive or non-occlusive thrombus on pre-existing plaque) : เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของ ACS โดยผู้ป่วยส่วนมากจะมีคราบ (atherosclerosis plaque ) อยู่เดิมแล้ว ต่อมาเกิดลิ่มเลือด( thrombus formation ) อุดตัน พยาธิกำเนิดของการเกิด thrombus อุดตันอย่าง ฉับพลันนี้จะกล่าวโดยละเอียดต่อไป
  2. Dynamic obstruction (coronary spasm) : เป็นกลไกอธิบายภาวะ โรคPrinzmetal’s angina ซึ่งผู้ป่วยมีหดเกร็งของหลอดเลือดหัวใจ( vasospasm) จากการบีบตัวมากไป( hypercontractility ) ของกล้ามเนื้อหลอดเลือด (vascular smooth muscle) หรือ endothelial dysfunction ทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอกขึ้นขณะพักโดยที่ไม่ได้เกิดจากหลอดเลือดตีบ
  3. Progressive mechanical obstruction : เกิดจาก atherosclerosis ตีบขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้เกิดเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ progressive/worsening angina ถึงแม้ไม่มี plaque rupture หรือ vasospasm ก็ตาม กลุ่มนี้ทำให้เกิดโรค Angina pectoris
  4. Secondary causes : ในกรณีนี้ ผู้ป่วยมหลอดเลือดหัวใจตีบอยู่ก่อน (stable coronary artery disease) อยู่แล้ว แต่มีปัจจัยมากระตุ้นบางอย่างที่ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจต้องการเลือด ไปเลี้ยงมากขึ้น เช่น ไข้ หัวใจเต้นเร็ว โรคติดเชื้อ โรคคอพอกเป็นพิษ หรือ การที่มี myocardial oxygen delivery ลดลง เช่น ความดันต่ำ ภาวะเลือดจาง 


ลักษณะอาการทางคลินิก
  1. อาการเจ็บหน้าอก
ลักษณอาการที่สำคัญของผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิด Unstable angina/NonQ Myocardial infarction
  1. Rest pain หรือเจ็บหน้าอกขณะพัก ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบมักจะมีอาการเจ็บหน้าอดเวลาทำงานหรือออกกำลัง กาย หากเจ็บหน้าอกขณะพักและเจ็บนานเกิน 20นาทีก็ให้รีบสงสัยว่าจะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดต้องรีบไปโรงพยาบาล
  2. New onset angina ผู้ที่ไม่เคยเจ็บหน้าอกมาก่อน หากมีอาการเจ็บหน้าอกครั้งแรก อาการเจ็บหน้าอก แบบ angina ครั้งแรกที่เกิดขึ้นใหม่ภายในเวลาไม่เกิน 2 เดือน โดยมีระดับความรุนแรงของการเจ็บหน้าอกอย่าง น้อยเทียบเท่ากับ Canadian Cardiovascular Society (CCS) class III ก็ให้สงสัยว่าจะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  3. Increasing angina อาการเจ็บหน้าอก แบบ angina ภายในเวลา 2 เดือน ที่มีอาการกำเริบ มากขึ้นทั้งในแง่ความรุนแรง ความถี่และระยะเวลาของ การแน่น หรืออาการเจ็บหน้าอกถูกกระตุ้นให้เกิดได้ง่ายกว่าเดิม โดยที่ระดับความรุนแรงของการเจ็บหน้าอก อย่างน้อย CCS class III
รเะดับความรุนแรงของการเจ็บหน้าอกแบ่งตาม CCS (canadian cardiology society)
ตารางแสดงระดับความรุนแรงของอาการเจ็บหน้าอก Angina pectoris ตาม Canadian Cardiovascular Society (CCS)
Class อาการเจ็บหน้าอก
1 กิจวัตรประจำวันไม่ทำให้เจ็บหน้าอก เช่นการเดินหรือขึ้นบันได แต่การทำงานหนักหรือเร็วและแรงจะทำให้เกิดเจ็บหน้าอก
2 หากทำกิจวัตรประจำวันอย่งเร็วจะเจ็บหน้าอก เช่นการเดินหรือขึ้นบันไดอย่างเร็ว การเดินขึ้นเขา การเดินอย่างเร็วหรือขึ้นบันไดหลังอาหาร อากาศหนาวหรือเย็น ความเครียด
3 เดินธรรมดาก็เจ็บหน้าอก
4 ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันเนื่องจากเจ็บหน้าอก หรืออาจจะเจ็บหน้าอกขณะพัก
จะเห็นว่าหากคุณมีอาการเจ็บหน้าอกที่รุนแรงระดับ4แสดงว่าหลอดเลือดคุณตีบหรือตันมากขึ้นกว่าระดับ 1
  1. อาการเจ็บหน้าอกนี้เหมือนกับอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือไม่
เมื่อซักประวัติและตรวจร่างกายผู้ป่วยแล้วก็นำมาประมวลผลว่า อาการเจ็บหน้าอกของผู้ป่วยรายนี้เหมือนกับอาการของหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ หรือไม่โดยประเมินจาก
  • โอกาสที่จะเป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดสูงHigh likelihood (85-99%) โดยจะมีข้อใดข้อหนึ่ง: 
    • ประวัติเคยเจ็บป่วยจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
    • อาการเหมือนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและเป็นชายอายุมากกว่า 60 ปี และมากกว่า 70 ปีในหญิง
    • ระหว่างที่เจ็บหน้าอกมีการเปลี่ยนแปลงของสัญาณชีพ หรือมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
    • Variant angina (pain with reversible ST-segment elevation)
    • คลื่นไฟฟ้าหัวใจยกขึ้นหรือลดต่ำลง(ST-segment elevation or depression) 1 mm or
    • คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติแบบ Marked symmetrical T wave inversion in multiple precordial leads
  • มีโอกาสเป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดปานกลาง(Intermediate likelihood) (15-84%)ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้: 
    • อาการเหมือนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและเป็นชายอายุน้อยกว่า 60 ปี และน้อยว่า 70 ปีในหญิง
    • อาการไม่เหมือนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและเป็นชายอายุมากกว่า 60 ปี และมากกว่า 70 ปีในหญิง
    • อาการไม่เหมือนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน diabetes mellitus
    • อาการไม่เหมือนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและมีปัจจัย เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด 2 หรือ 3 ข้อ (ปัจจัยเสี่งต่อโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้แก่ เบาหวาน สูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงl)
    • มีโรคหลอดเลือดอื่น เช่น อัมพฤต หรือเส้นเลือดขาตีบ
    • คลื่นไฟฟ้าผิดปกติ ST depression 0.05 to 1 mm
    • คลื่นไฟฟ้าผิดปกต T wave inversion 1 mm or greater in leads with dominant R waves
  • มีโอกาสเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดต่ำ(Low likelihood) (1-14%)จะมีลักษณะดังต่อไปนี้: 
    • อาการไม่เหมือนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
    • มีปัจจัยเสี่ยงข้อเดียว
    • คลื่นไฟฟ้าผิดปกติ T-wave flattening or inversion less than 1 mm in leads with dominant R waves
    • คลื่นไฟฟ้าปกติ Normal ECG findings
  1. ผู้ป่วยรายนี้มีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน
หลังจากที่เราประเมินอาการเจ็บหน้าอก ละโอกาสการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแล้ว ก็มาประเมินว่าผู้ป่วยรายนี้เป็นรุ่นแรงหรือไม่ หรือความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตมีมากหรือไม่ เพื่อที่จะได้ให้การรักษาตามความรุนแรงของโรค โดยจะประเมินจากคลิกที่นี่
กลุ่มที่เสี่ยงต่อการกิดโรค
ได้มีการศึกษาผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกและเป็นชนิด unstable angina ทั้งหมดประมาณ 3000 ครั้ง โรงพยาบาลที่เข้าร่วมในการศึกษา 35 โรงพบว่าผู้ป่วยเหล่านี้จะมีลักษณะดังต่อไปนี้
การวินิจฉัยโรค
เกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดขององค์การอนามัยโรคกำหนดไว้ว่าอย่างน้อยต้องมีสองในสามข้อ ซึ่งประกอบด้วย
  1. อาการเจ็บหน้าอกซึ่งเข้าได้กับกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดซึ่งเจ็บนาน20 นาที อ่านเพิ่มเติมที่นี่
  2. มีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  3. เจาะเลือดพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของเอ็นไซม์ที่หลั่งจากหัวใจ ( cardiac enzyme) คลิกที่นี่
Classification ของ UA
เนื่องจากผู้ป่วย ACS มี spectrum ความรุนแรง ของโรคที่แตกต่างกันมาก จึงมีความพยายามที่จะ แบ่งกลุ่มผู้ป่วย เพื่อช่วยพยากรณ์โรคและบอก prognosis Classification ที่ใช้กันบ่อยคือ Braunwald Classification ซึ่งแบ่งกลุ่มผู้ป่วย โดยคำนึง ถึง 3 ปัจจัย คือ
  1. ความรุนแรงของอาการเจ็บหน้าอก
  2. ลักษณะทางคลินิก และ
  3. ยาที่ผู้ป่วยได้รับช่วง เกิดอาการ
การจำแนกชนิดของ unstable angina (Braunwald ‘s Classification)
Characteristic Class/Category Details
ความรุนแรงของการเจ็บปวด I อาการเจ็บหน้าอกเพิ่ง จะเกิด หรือ อาการเจ็บหน้าอกเป็นมากขึ้นในช่วงสองเดือน เจ็บหน้าอกวันละ 2-3 ครั้งต่อวัน ออกกำลังกายไม่มากก็เจ็บหน้าอก ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมาไม่มีอาการเจ็บหน้าอกขณะพัก
II เจ็บหน้าอกขณะพักในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา แต่ไม่ได้ในช่วง 48 ชมก่อนมาโรงพยาบาล
III เจ็บหน้าอกขณะพักหลายครั้งใน 48 ชมที่ผ่านมา
ปัจจัยที่กระตุ้นให้เจ็บหน้าอก A มีอาการเจ็บหน้าอกเนื่องจากโลหิตจาง หรือการติดเชื้อ ความดันดลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็ว คอพอกเป็นพิษ หายใจวาย
B อาการเจ็บหน้าอกเนื่องจากเส้นเลือดหัวใจตีบ
C มีอาการเจ็บหน้าอกภาย ในสองสัปดาห์หลังจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด Post infarction unstable angina (within 2 weeks of documented MI)
การรักษาขณะเกิดอาการ 1 ยังไม่ได้รักษาAbsence of treatment or minimal treatment
2 ได้รับการรักษาตามมาตรฐาน (conventional doses of oral beta-blockers, nitrates, and calcium antagonists)
3 ได้การรักษาด้วยยาเต็มที่แล้ว
ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อท่านได้ไปถึงโรงพยาบาล
  1. แพทย์หรือเจ้าหน้าที่จะซักประวัติการเจ็บป่วยของท่าน ประวัติการรักษา อาการสำคัญที่ท่านเป็นอยู่
  2. ตรวจร่างกายโดยเจ้าหน้าที่หรือแพทย์ซึ่งจะต้องตรวจวัดความดันโลหิต ชีพขจร การหายใจ และอุณหภูมิ
  3. หากประวัติและการตรวจร่างกายเข้าได้กับโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแพทย์จะตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจภายใน 10 นาที
  4. เจาะเลือดตรวจหา cardiac enzyme ว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือไม่
  5. ประเมินว่าอาการป่วยของท่าน เกิดจากโรคอื่น เกิดจากหัวใจขาดเลือดซึ่งแบ่งออกเป็น กลุ่มอาการ angina กลุ่มอาการ unstable stable angina , กลุ่ม Non Q Myocardial infarction,กลุ่มอาการ ST Elevate Myocardial infarction
  6. สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกเหมือนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่ผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและผลเลือดไม่เหมือนโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ก็ให้อยู่สัเกตอาการ และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และตรวจเลือดซ้ำ
  7. สำหรับผู้ป่วยที่ตรวจซ้ำทั้งคลื่นไฟฟ้าและผลเลือดปกติ แนะนำให้มาตรวจหัวใจโดยอาจจะใช้การวิ่งสายพานหรือใช้ยากระตุ้นให้หัวใจทำงานเพื่อจะตรวจว่ามีหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่
  8. สำหรับผู้ป่วยที่ผลการตรวจร่างกาย ผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และผลเลือดเข้าได้กลับกลุ่มกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะต้องได้รับการประเมิน ว่า 1กลุ่มที่สาเหตุน่าจะเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือด 2 ความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือด
  9. แพทย์จะให้การรักษาตามความหนักหรือความรุนแรงของโรค
การรักษา
จุดมุ่งหมายของการรักษา คือ
  • ทำให้อาการ เจ็บ แน่นหน้าอกดีขึ้น ป้องกันการเกิด AMI หรือ reinfarction
  • ป้องกันการเกิด sudden cardiac death
การที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวจะต้องมีองค์ประกอบดังนี้
ขั้นตอนการรักษามีดังนี้
  1. ให้ผู้ป่วยนอนพัก ติดเครื่องติดตามการเต้นของหัวใจ
  2. ให้ออกซิเจน และติดตามระดับออซิเจนให้มากกว่า 90 %
  3. ผู้ป่วยที่มีอาการแน่หน้าอกความจะได้อมยาNTG ทุก 5 นาที 3 ครั้ง
  4. หากอมยาแล้วไม่หายปวดก็จะพิจารณาให้ยา NTG ทางหลอดเลือดดำเป็นเวลา 48 ชมเพื่อรักษาภาวะหัวใจวาย ความดันโลหิตสูง
  5. ให้ Beta-blocker ภายใน 24 ชมหากไม่มีข้อห้ามดังต่อไปนี้
  • หัวใจวาย
  • หัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายน้อย low output state
  • มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะช็อคเนื่องจากหัวใจ
  • ความเสี่ยงอื่นๆ เช่น หัวใจเต้นช้า โรคหอบหืด
  1. หากไม่สามารถให้ยากลุ่ม Beta-blocker ก็อาจจะพิจารณาให้ยา verapamil หรือ diltiazem แทน
  2. ให้ยากลุ่ม ACE Inhibitor ภายใน 24 ชมในรายที่มีหลักฐานว่าหัวใจทำงานน้อยแต่ยังไม่มีภาวะความันโลหิตต่ำ
  3. หากผู้ป่วยทนต่อยาในกลุ่ม ACE Inhibitor ไม่ได้ก็ให้ยากลุ่ม angiotensin blocker แทน
  4. การดูแลรักษาทั่วไป: เช่นการพัก, ให้ออกซิเจน, การให้ยานอนหลับ และ ยาแก้ปวด เช่น morphine รวมถึงการแก้ไขปัจจัยส่งเสริม เช่น เช่น ภาวะโลหิตจาง, ติดเชื้อ, หัวใจเต้นผิดปกติ, คอพอกเป็นพิษ เป็ นต้น
  5. ยาที่ใช้รักษาแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลักๆ คือ
การดูแลตัวเองหลังออกจากโรงพยาบาล
สำหรับท่านผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลและอาการดีขึ้น แพทย์จะให้ท่านกลับบ้าน แต่ท่านจะต้องมีภาระหน้าที่ร่วมกับแพทย์สองประการได้แก่
  • การเตรียมตัวเพื่อที่จะไปดำรงชีวิตเหมือนปกติ
  • จะต้องทบทวนการดูแลตัวเองที่ผ่านมาว่าได้ละเลยหรือไม่ให้ ความสำคัญกับเรื่องใดบ้าง เมื่อทราบแล้วท่านต้องปรับพฤติกรรมตัวเองเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคหลอด เลือดตีบขึ้นมาอีก
การใช้ยาในการป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ยาที่ใช้ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบซ้ำก็จะเหมือน กับการรักษาโรคหลอดเลือดตีบ กล่าวคือจะต้องมียาที่ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงอยู่ได้แก่
สิ่งที่ผู้ป่วยจะต้องเรียนรู้ก่อนที่จะกลับบ้าน
การรักษาปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
  • ภาวะไขมันในเลือดสูงโดยเฉพาะไขมัน Cholesterol LDL สูงจากการศึกษาพบว่าการให้ยา Statin เพื่อลดไขมันจะลดการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
  • การรักษาโรคความดันโลหิตสูงไว้ไม่ให้เกิน 130/80 mmHg
  • สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่แนะนำให้เลิกบุหรี่โดยเด็ดขาด
  • การควบคุมโรคเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกินต้องลดน้ำหนักลงให้ใกล้เคียงน้ำหนักที่เหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDS and COX-2–selective inhibitors เพราะจะทำให้เกิดโรคหัวใจ
  • สำหรับยาที่นิยมให้เช่น Folic acid/B-vitamin vitamins C, E, beta carotene ที่เคยเชื่อว่าป้องกันโรคหัวใจได้ แต่จากการศึกษาพบว่าไม่ได้ลดโอกาสเกิดโรคหัวใจจึงไม่แนะนำ
การออกกำลังกาย
การออกกำลังกานอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้หัวใจทำงานดีขึ้น น้ำหนักลดลง และลดปัจจัยเสี่งอื่นๆอีก การออกกำลังควรจะเริ่มหลังจากอาการดีขึ้นแล้วหนึ่งสัปดาห์ ดดยจะออกกำลังให้หัวใจเต้นประมาณ 60-70% สำหรับการออกกำลังกายแบบ aerobic และยกน้ำหนักควรจะทำหลังจากอาการดีขึ้นแล้ว4 สัปดาห์

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โรคพาร์กินสัน Parkinson

โรคพาร์กินสัน Parkinson นิยาม สาเหตุ อาการและแนวทางรักษา
น้ำมังคุด

โรคพาร์กินสัน Parkinson คืออาการผิดปกติที่ระงับการเติบโตของระบบประสาทส่วนกลาง โดยโรคนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเซลล์ประสาท  ที่เรียกกันว่า นิวรอน ซึ่งอยู่ในพื้นที่หนึ่งของสมองที่ชื่อว่า substantia nigra ได้ตายลงหรือทำงานได้แย่ลง โดยปกติแล้ว นิวรอนเหล่านี้จะผลิตสารเคมีในสมองที่เรียกว่า โดปามีน ในขณะนี้มีผู้คนอย่างน้อย 500,000 คน ในสหรัฐอเมริกาที่เป็นโรคนี้  โรคพาร์กินสันนั้นถูกจัดอยู่ในกลุ่มของโรคที่เรียกว่าการผิดปกติของการ เคลื่อนที่ โรคนี้จะมีการพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ กล่าวคือ อาการของมันจะแย่ลงเรื่อยๆไปทุกวัน ถึงแม้ว่าเราจะสามารถลดความรุนแรงของอาการโรคได้ แต่มันก็จะมีการพัฒนาไปทีละนิด โรคพาร์กินสันนี้จะมีผลต่อการเคลื่อนไหว (อาการที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว) และผลอื่นๆเช่น ความผิดปกติของอารมณ์ พฤติกรรม การคิด และความรู้สึก (อาการที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว) โดยอาการของคนไข้แต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไปรวมไปถึงการพัฒนาของโรคในแต่ละคน ก็จะแตกต่างกันไปด้วย โรคพาร์กินสันนั้นมักจะเริ่มปรากฏอาการเมื่ออายุประมาณ 60 ปี โดยมันจะพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และอาการของโรคนี้มักจะเริ่มที่ข้างใดข้างหนึ่งของร่างกายก่อนและจึงส่งผล กระทบต่ออีกข้างหนึ่ง

มันมีอาการหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับโรคพาร์กินสัน ผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสัน (อาการสันนิบาต) อาจจะสังเกตว่าตนอ่อนแอหรือเหนื่อยง่าย มีอาการเช่น ความผิดปกติของอารมณ์ พฤติกรรม การคิดและความรู้สึก การขาดความสมดุลเช่นนี้เกิดจากการเสียหายของระบบรีเฟลกซ์ที่ทำหน้าที่ปรับ ท่าทางให้เกิดความสมดุล การล้มถือเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสัน อาการสั่นของกล้ามเนื้อก็ถือเป็นหนึ่งในอาการแรกๆของ 3 ใน 4 ของผู้ทีเป็นโรคพาร์กินสันและกระทบต่อผู้ป่วยโรคพาร์กินสันแทบทุกคน . อาการ Bradykinesia ถือ เป็นอาการหนึ่งที่จะมีการเคลื่อนไหวช้า นอกจากการเคลื่อนไหวที่ช้าแล้ว ผู้ที่มีอาการนี้อาจจะมีอาการการเคลื่อนไหวที่ไม่สมบูรณ์ ความยากที่จะเริ่มเคลื่อนไหวและมีการหยุดเคลื่อนไหวกะทันหันในบางครั้ง การสูญเสียการควบคุมทั้งกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจและไม่ได้อยู่ใต้ อำนาจจิตใจทีละนิดละน้อยจะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ตามมา เช่น อาการ Postural Instability หรือการสูญเสียสมดุลและการประสานการทำให้คนไข้เกิดอาการตัวเอนไปข้างหน้าหรือด้านหลังทำให้ล้มลงได้ง่าย


โรคพาร์กินสันนั้นจะต้องมีวิธีการจัดการที่หลากหลายรวมไปถึงการให้ความรู้แก่คนไข้และครอบครัว สนับสนุนบริการกลุ่ม การดูแลความเป็นอยู่โดยทั่วไป การออกกำลังกายและเรื่องของอาหารการกิน วิธีทางการแพทย์อาจแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเดิน เคลื่อนไหวและอาการสั่นได้โดยให้สาร dopamine แก่สมอง . สาร Amantadine อาจจะถูกเพิ่มไปในการบำบัดที่เรียกว่า carbidopa-levodopa สำหรับผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสันในระยะหลังๆ . ยายับยั้ง Catechol-O-methyltransferase จะช่วยยืดผลของวิธีบำบัดแบบ carbidopa-levodopa ด้วยการไปดักจับเอนไซม์ที่จะทำลาย dopamine. Tocapone(Tasmar) เป็นตัวยับยั้ง COMT ที่มีประสิทธิภาพซึ่งเข้าไปเข้าผสมกับ blood-brain barrier ในระบบสมองส่วนกลาง. ยาชื่อว่า levodopa จะถูกจ่ายให้กับคนไข้ผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสันมีชื่อว่า L-dopa ยานี้จะช่วยเพิ่มปริมาณของ dopamine ในร่างกายและได้แสดงถึงความสามารถในการปรับปรุงศักยภาพในการเดินและเคลื่อนที่ไปในที่ต่างๆของคนไข้. Thalamotomy เกี่ยวข้องกับการทำลายเนื้อเยื่อปริมาณน้อยๆในธาลามัส (เป็นศูนย์กลางของสมองในการส่งต่อคำพูดและสื่อความรู้สึก)


รักษาโรคพาร์กินสัน

คำแนะนำในการรักษาสำหรับผู้เป็นโรคพาร์กินสัน
1. Carbidopa และ bensarazide เป็นตัวยับยั้ง dopa decarboxylase
2. Tolcapone จะยับยั้งเอนไซม์ COMT ดังนั้นมันจะช่วยยืดผลรักษาของ L-dopa และยังถูกใช้เพื่อเสริมประสิทธิภาพแก่ L-dopa
3. Selegiline และ rasagiline จะลดอาการโดยการยับยั้ง monoamine oxidase-B (MAO-B).
4. ยาต้านไวรัสชื่อ amantadine จะช่วยลดอาการของพาร์กินสันและ levodopa-induced dyskinesia.
5. ตัวยับยั้งเอนไซม์ COMT (catechol O-methyl transferase) คือระดับใหม่ของยารักษาที่หยุดการทำลายของ dopamine
6. วิธีการรักษาอื่นๆมีความสำคัญในการจัดการและดูแล ผู้ป่วยพาร์กินสันซึ่งรวมไปถึงกายภาพบำบัด การบำบัดโดยการพูดและการบำบัดโดยให้ทำกิจกรรมเบาๆ7. Amantadine ทำหน้าที่เป็นเหมือนกับตัวแทนของ dopamine แต่ทำงานในคนละส่วนของสมอง



ภาวะกรดไหลย้อน


ลดความอ้วน

อาการจุกเสียดท้องยืดเยื้อที่เกิดขึ้นมากกว่า 2 วันในหนึ่งสัปดาห์และดำเนินมาเรื่อยๆเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือนอาจจะเป็นผลมาจากโรคการไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาหลอดอาหาร หรือที่เรียกกันว่า GERD(กรด ไหลย้อน)  โรคกรดไหลย้อนถือเป็นโรคที่สร้างความรำคาญให้แก่ผู้คนมากมายทุกวันนี้ มันเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง (LES) ไม่สามารถปิดได้อย่างสนิท ส่งผลให้กล้ามเนื้อนั้นปล่อยให้กรดจากกระเพาะอาหารไหลกลับไปยังหลอดอาหาร ซึ่งเป็นท่อที่เชื่อมระหว่างลำคอกับกระเพาะอาหาร การไหลกลับของกรดในกระเพาะสามารถทำให้เกิดการจุกเสียดท้องอยู่บ่อยๆและส่วน ใหญ่แล้วจะมีอาการกว่า 2 ชั่วโมงขึ้นไป

ลดความอ้วน





ถึงแม้ว่าผู้ที่มีอาการจุกเสียดหลายๆคนจะรายงานว่าอาการของโรค GERD นั้น จะเกิดขึ้นตอนกลางคืนในขณะนอน แต่ก็ยังมีรายงานจากคนอื่นๆที่มีอาการเกิดขึ้นในช่วงกลางวัน โดยเฉพาะหลังจากกินอาหารมื้อใหญ่หรืออาหารที่มีปริมาณกรดหรือไขมันสูง แพทย์แนะนำว่าการนอนหลับโดยที่หัวเตียงยกขึ้นประมาณ 6 นิ้วจะช่วยป้องกันอาการกรดไหลย้อนในตอนกลางคืนได้

สำหรับอาการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับโรคกรดไหลย้อนนั้นรวมถึงอาการแสบในลำคอ เจ็บหน้าอก การกลืนยาก รู้สึกเจ็บเมื่อกลืน เสียงแหบ ระคายเคืองลำคอ รู้สึกถึงรสขมหรือเปรี้ยวในปาก หรือแม้แต่อาการบวมของคอและหลอดอาหาร

ลดความอ้วน
มัน เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องจำไว้เลยว่าอาการเจ็บบริเวณหน้าอกที่เกี่ยวข้องกับ โรคกรดไหลย้อนนั้นสามารถแสดงอาการคล้ายๆกับโรคหัวใจ ยกตัวอย่างเช่น ทั้งกรณีของโรคกรดไหลย้อนและโรคหัวใจสามารถก่อให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกซึ่ง อาจจะขยายไปถึงแผ่นหลัง แขนและคอ  การเพิกเฉยต่ออาการเหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่โง่เขลาและอันตรายมาก สาเหตุของการเจ็บหน้าอกนั้นจะต้องถูกพิเคราะห์โดยแพทย์หรือผู้ให้บริการทาง สาธารณสุข การคาดเดาว่าการเจ็บหน้าอกเป็นผลมาจากการจุกเสียดท้องโดยที่ไม่มีคำยืนยัน จากแพทย์นั้นไม่ควรจะเกิดขึ้นเลย
 

การสูบบุหรี่ คาเฟอีน ฮอร์โมน ช็อกโกแลต สะระแหน่ การใส่เสื้อผ้ารัดๆ การใช้ยาบางชนิด ความอ้วน การตั้งครรภ์ล้วนแล้วแต่ถูกจัดว่าเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคกรดไหลย้อน โดยสิ่งกระตุ้นเหล่านี้สามารถหลีกเลี่ยงหรือกระทั่งอาจควบคุมได้ทำให้มัน เป็นเรื่องง่ายขึ้นที่จะจัดการกับโรคกรดไหลย้อนด้วยการปรับวิถีการใช้ชีวิต

บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยภาวะกรดไหลย้อนนั้นจะมีอาการของ
hiatal hernia นั่นคือการยื่นของส่วนของกระเพาะอาหารเข้าไปใน esophageal hiatus ซึ่งเป็นช่องเปิดในกะบังลม  ซึ่งนำไปยังหน้าอก อาการ hiatal hernia นี้ จะ ไปสนับสนุนการเริ่มโจมตีและความรุนแรงของอาการกรดไหลย้อน โดยมันจะปล่อยให้กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัวและทำให้หลอด อาหารไม่ว่างเปล่า และมันยังส่งผลคืออาการ esophagitis นั่น คือการกัดกร่อนของผนังหลอดอาหารที่เกิดจากการได้รับกรดจากกระเพาะอาหารและ เอนไซม์ช่วยย่อยมากเกินไป เนื่องมาจากการที่เนื้อเยื่อรับสัมผัสเปิดรับกรดจากกระเพาะอาหารมากเกินไป


การ ปรับวิถีการใช้ชีวิต อาหารการกินและการใช้ยาสามัญนั้นถือเป็นแนวทางแรกๆของการรักษาที่ถูกเสนอโดย ผู้บริการทางสาธารณสุขหลังจากที่การวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อนได้รับการยืนยัน อย่างไรก็ตาม ถ้าวิธีเหล่านี้ไม่สามารถควบคุมอาการได้ อาจจะต้องมีการสั่งยาเฉพาะที่ต้องมีใบสั่งยากำกับ การผ่าตัดมักจะถูกมองว่าเป็นทางเลือกสุดท้ายในการจัดการกับโรคนี้
โรค กรดไหลย้อนเป็นโรคที่อาจจะก่อให้เกิดผลในระยะยาวได้ถ้าปล่อยไว้โดยไม่ได้ รักษา มันมีทางเลือกการรักษามากมายที่ไม่มีผลข้างเคียงและสามารถกำหนดโรคนี้ได้ ก่อนที่จะมีโอกาสเป็นโรคร้ายในระยะยาว
บทความนี้เป็นของ http://www.joelookyoung.com  ถ้าจะนำไปเผยแพร่ต่อกรุณาให้ Credit ด้วยนะครับ

โรคเบาหวาน ประเภทที่ 1 แบบรุนแรง

ตะวันเป็นครูสอนฟิตเนสที่ฟิตพร้อมร่างกายอยู่เสมอ เขาไม่เคยละเลยสุขภาพ ทั้งยังดูแลเรื่องโภชนาการให้ถูกสุขลักษณะ ด้วยการรับ ประทานผักและดื่มน้ำผลไม้เป็นประจำ วันหนึ่งหลังจากสอนฟิตเนสเสร็จ เขามีอาการเจ็บคอและมีไข้อ่อนๆ ซึ่งถือเป็นอาการหวัดปกติทั่วไป ด้วยความมั่นใจในสุขภาพที่แข็งแรงของตนเอง  จึงคิดว่าไม่เป็นอะไรมากและไปทำงานต่อ แต่เมื่อกลับถึงบ้าน เขากลับมีอาการปวดที่ต้นคอและลำตัว เขาบรรเทาอาการป่วยนั้นด้วยการทานยาแก้ ปวด 2 เม็ดเท่านั้น และโชคดีที่วันรุ่งขึ้นเป็นวันหยุด จึงได้พักผ่อนอยู่ กับบ้าน เหมือนทุกอย่างจะเป็นไปได้ด้วยดี  แต่เขากลับมีอาการใหม่เพิ่มอีกคือ การปัสสาวะบ่อยมากและคอแห้งตลอดเวลา จากเช้าจรดเย็น เขาดื่มน้ำถึง 4 ลิตร แต่ตกดึกเขากลับมีสภาพอิดโรยและอาเจียนอย่างรุนแรง กระนั้นเขาก็ยังเชื่อว่าตัวเองเป็นไข้หวัดธรรมดา
     เช้าวันรุ่งขึ้นเป็นวันที่เขานัดพาลูกไปเที่ยวสวนสัตว์ แต่เขายังนอนซม อยู่ ลูกจึงงอแง และเข้าไปปลุกเพื่อทวงสัญญา เขาหายใจยาวแต่ไร้สติและไม่ยอมลืมตา ตะวันจึงถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลอย่างเร่ง ด่วน  เพียง 1 ชั่วโมงให้หลัง หลังจากถึงโรงพยาบาล  เขาสิ้นลมหายใจในที่สุด
     จากอาการหวัดธรรมดาจนถึงวันที่เสียชีวิต เป็นเวลาเพียงแค่ 2 วันเท่านั้น โรคร้ายอะไรกันแน่ที่ทำให้เขาจากไปด้วยเวลาอันรวดเร็วเช่นนี้

กลุ่มเสี่ยง
     โรคทางพันธุกรรมคือมีญาติเป็นโรคเบาหวาน โอกาสเสี่ยงก็มีมาก หากเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 อายุที่มากขึ้นก็เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยง รวมถึงผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย บริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานประเภทที่ 1
มักมีอายุน้อย ไม่อ้วน ส่วนประเภทที่ 2 มักตัวใหญ่ อายุมาก น้ำหนักเยอะ

 อาการที่พึงระวัง
     เป็นหวัด ไอ ปัสสาวะบ่อย (มากกว่า 4 ครั้งต่อวัน) คอแห้งและดื่มน้ำมากผิด ปกติ อาการเหล่านี้เกิดจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง อาการหน้าบวมจะเกิด เมื่ออยู่ในระยะท้ายๆ

ลักษณะของโรคเบาหวาน
     ไอ ดื่มน้ำมา ปัสสาวะบ่อย
     โรคเบาหวานเป็นโรคที่ผู้ป่วยมีน้ำตาลในเลือดสูง แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ที่เรารู้จักกันดีก็คือ เบาหวานประเภทที่  2
ซึ่งส่วนใหญ่คนที่เป็นเบาหวานในกลุ่มนี้จะเป็นคนที่รับประทานเยอะ รูปร่างจึงมักจะอ้วนเกินมาตรฐาน ส่วนเบาหวานประเภทที่ 1 เป็นเบาหวานที่พบ ได้น้อยมาก และไม่เกี่ยวกับการใช้ชีวิต แต่พบได้ในกรณีที่ขาดอินซูลินอย่างสิ้นเชิง
     อินซูลินเป็นฮอร์โมนประเภทหนึ่ง ผลิตจากตับอ่อนในระบบธรรมชาติ คือเส้นทาง เดินอาหาร เมื่อรับประทานอาหารประเภทแป้ง  คาร์โบไฮเดรตจะถูกย่อยสลายในระบบทางเดินอาหาร และนำไปใช้สร้างพลังงานในการ ดำรงชีวิต เช่น ใช้ในการหายใจ กะพริบตา ในภาวะปกติอินซูลินคือตัวที่นำ กลูโคสไปในเซลล์นั้นๆ เซลล์ไม่สามารถใช้กลูโคสได้หากไม่มีอินซูลิน ในภาวะพร่องอินซูลิน เซลล์ไม่สามารถนำพลังงานไปใช้ได้เลย  ถ้าเป็นอวัยวะสำคัญเช่น สมอง หากสมองเกิดการขาดพลังงานโดยเฉียบพลัน ถึงทาน อาหารเยอะก็ไม่สามารถนำพลังงานไปใช้ได้ ทำให้น้ำตาลในเลือดล้น
      ธรรมดาแล้วการรับประทานอาหารปกติ เมื่อร่างกายดูดซึมพลังงาน อินซูลินนำ กลูโคสไปยังเซลล์ การพร่องอินซูลิน ทำให้ร่างกายใช้พลังงานจากกลูโคสไม่ ได้ จึงดึงไขมันและกล้ามเนื้อมาย่อยสลายเกิดการเผาผลาญไขมัน คนไข้จึง น้ำหนักลด ซึ่งน้ำหนักจะลดลงอย่างรวดเร็วอย่างมีนัยสำคัญ ประมาณ 10%ของ น้ำหนักเริ่มต้น ภายในระยะเวลาอันสั้น รวมกับโปรตีนจากกล้ามเนื้อจะถูกนำมา ย่อยสลายชดเชย  น้ำตาลที่ไม่ได้ใช้จึงล้นอยู่ในหลอดเลือด จนเลือดกลายเป็นน้ำหวาน  น้ำเชื่อมเมื่อไปถึงไต  ไตกรองเอาน้ำเชื่อมน้ำหวานออกไป ปัสสาวะจึงมีน้ำตาล  เมื่อเป็นโรคนี้ตับอ่อนจะใช้เวลาในการถูกทำลายหลายปี แต่ก็มีบางกรณีที่ตับ อ่อนถูกทำลายอย่างรวดเร็ว ไม่กี่วัน  ซึ่งจะทำให้เสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วเช่นกัน
     สำหรับเบาหวานแบบที่ 1 กับโรคหวัดนั้น เมื่อเป็นไข้หวัด ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสมากกว่าแบคทีเรีย ไวรัสจากลมหายใจจะเข้าสู่กระแสเลือด อาจไปทำลายตับอ่อนจนตับอ่อนหยุดทำงานได้ เมื่อไม่มีอินซูลินในร่างกาย ก็เกิดผลแทรกซ้อน เกลือแร่ไม่สมดุล อวัยวะต่าง ๆ เสียการทำงาน และเสียชีวิตในที่สุด

     จากการสำรวจทั่วโลกเมื่อปี 2550 พบผู้ป่วยโรคเบาหวานถึง 246 ล้านคน เป็นชาวเอเชียถึง 4 ใน 5 ของคนทั่วโลก
วิธีการรักษาโรคเบาหวาน
     เบาหวานถือเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง  นอกจากจะรักษาตามแผนการรักษาที่แพทย์ให้แล้ว ยังต้องตรวจเป็นระยะ ๆ เช่น ตรวจตา ตรวจไต ตรวจหัวใจ ตรวจเท้าแล้ว ยังต้องอาศัยการปฏิบัติตนของผู้ป่วย เช่น การควบคุมอาหาร แต่ยังทานอาหารครบ 5 หมู่ ห้ามทานของหวาน ขนม และน้ำอัดลม ต้องจำกัดอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการสำหรับคนเป็น เบาหวาน และต้องหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

รู้ไว้ ไกลโรค
     1.  ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถมีชีวิตอยู่อย่างยืนยาวได้ หากปฏิบัติตนตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด
     2.  ถ้าไม่รักษาเบาหวานเป็นระยะเวลา 3-5 ปี จะมีภาวะแทรกซ้อนในหลายระบบ เพราะความผิดปกติของระบบตา ระบบหลอดเลือดแดง จะส่งผลไปยังระบบอวัยวะที่หลอดเลือดแดงไปหล่อเลี้ยง เช่น สมอง ประสาท หัวใจ ไต และตา ซึ่งอาจทำให้ตาบอดได้

     ***อินซูลินที่ลดน้อย ไม่สามารถดักจับน้ำตาลได้ ทำให้เกิดความผิดปกติขึ้นในร่างกาย แม้แต่เซลล์สมองก็ไม่สามารถดักจับน้ำตาลไว้ได้***
     แพทย์ผู้ให้ข้อมูล : แพทย์หญิง รุ่งอรุณ  สันทัดกลการ  อายุรแพทย์-ผู้อำนวยการแพทย์ โรงพยาบาลพญาไท 1

เชื้อราในโพรงไซนัส

 มาลี เจ้าของร้านขายของแห่งหนึ่ง เธอมีกิจวัตรประจำวันที่โปรดปรานคือการพูดคุยกับเพื่อนบ้านเละรับประทานขนม ของโปรดอยู่ตลอดเวลา วันหนึ่ง ในขณะที่เธอกำลังนั่งพูดคุยกับเพื่อนบ้านอยู่นั้น เธอเริ่มรู้สึกว่ามีน้ำมูกสีเขียวข้นไหลออกมาจากจมูกข้างขวาเพียงข้าเดียว แต่มาลีก็ไม่ได้คิดว่าเป็นเรื่องใหญ่ โดยหารู้ไม่ว่าอาการที่เกิดขึ้นกับเธอนั้นเป็นสัญญาณเตือนแรกของโรคร้าย
     3 วันต่อมา ได้เกิดอาการผิดปกติขึ้นกับเธออีกครั้ง เมื่อรู้สึกว่าตัวเองอาการไม่ค่อยดีเธอก็ไม่มีอารมณ์ดูแลร้านเหมือน
แต่ก่อน จึงไม่ค่อยได้ทำความสะอาดร้านอย่างที่เคย แต่สิ่งที่ทำเป็นประจำ เช่น การรับประทานขนมปัง เธอยังคงปฏิบัติเป็นปกติ ดังนั้น เมื่อลูกค้าออกจากร้านไป เธอก็หยิบขนมที่เธอโปรดปรานขึ้นมาทานเหมือนทุกวัน แต่ทันใดนั้นเธอรู้สึกเจ็บแก้มด้านขวาขึ้นมาอย่างกะทันหัน และเมื่อลองส่องดูในกระจกก็ไม่พบร่องรอยที่ผิดปกติใด ๆ เธอจึงไม่ได้ใส่ใจอะไรอีกและปล่อยเอาไว้เช่นนั้น
     เพียงไม่นาน เธอเริ่มรู้สึกมีอาการเจ็บที่ตาข้างขวา ลักษณะเหมือนมีอะไรอยู่ข้างในตา
เมื่อสังเกตูตาและบริเวณรอบ ๆ ก็ไม่มีอาการบวมแต่อย่างใด เธอจึงใช้ยาหยอดตาที่มีอยู่หยอดเพื่อบรรเทาอาการเจ็บ โดยยังไม่ทันคิดที่จะไปโรงพยาบาล ระยะเวลา 2 วันหลังจากอาการเจ็บที่ตา เช้าวันหนึ่งอาการร้ายแรงที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น ตาของเธอเกิดอาการบวมแดงอย่างรุนแรง เปลือกตาของเธอไม่สามารถเปิดขึ้นได้ ที่สุด...ความโชคร้ายมาเยือน เมื่อตาข้างขวาของเธอต้องสูญเสียการมองเห็น
     ทำไมเธอจึงต้องประสบกับความโชคร้ายที่รุนแรงขนาดนี้ ต้นเหตุที่เกิดขึ้นทั้งหมดคืออะไร หรืเพียงเพราะอาการหวัดคัดจมูกที่เกิดขึ้นกับเธอในตอนแรก...กว่าจะรู้ตัวก็ สายไปเสียแล้ว

 กลุ่มเสี่ยง
     ว่าไปแล้วเกือบทุกคนคงได้รับเชื้อรานี้ แต่มีใครเสี่ยงบ้างที่เป็นโรคนี้
     ทุกคนที่ได้รับเชื้อราจะแสดงออกไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของแต่ละคน (สามารถก่อโรคได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานในแต่ละคน)

 อาการที่พึงระวัง
     การเฝ้าระวังโรคสามารถทำได้  2  ส่วน คือ  เฝ้าระวังเชื้อในที่ทำงาน บ้าน หรือที่อยู่อาศัย หากพบเห็นต้องกำจัดทันที เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
     เฝ้าระวังสุขภาพร่างกายของตนเอง ต้องสังเกตว่าตนเองมีน้ำมูกหรือไม่ และน้ำมูกที่ไหลออกมานั้นมาจากจมูกข้างเดียวบ้างหรือไม่ ซึ่งอาการที่เกิดจากการรับเชื้อจะเริ่มจากอาการคัดจมูก และอาการปวดบริเวณแก้ม จนถึงอาการร้ายแรงที่เกิดจากเชื้อราเข้าไปสะสมอยู่ในโพรงจมูก

     ***เชื้อราเข้าไปในจมูกด้านขวา เข้าไปสะสมในโพรงจมูกเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ***
     ***แสดงอาการเจริญเติบโตของเชื้อรา***

 ลักษณะของโรค
     ไซนัส คือ โพรงอากาศที่อยู่รอบ ๆ จมูก ปกติมีอยู่ 4 คู่ คือ ไซนัสที่บริเวณหน้าผาก หัวตา ข้างแก้ม และฐานกะโหลก ไซนัสเป็นทุกอันที่มีรูติดต่อกับจมูก โดยมีหน้าที่ทำให้กะโหลกเราเบาพูดแล้วมีเสียงก้องอยู่ในจมูก สร้างเยื่อเมือกเพื่อขับออกทางจมูก ช่วยผลักดันฝุ่นละอองหรือเชื้อโรคให้ไหลลงไปในคอเพื่อเป็นเสมหะ ทำความอบอุ่นให้กับอากาศที่ไหลเข้าไปในจมูก
    
     ไซนัสอักเสบต่างจากหวัด อย่างไร
     ไข้หวัดส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจจะมีไข้ น้ำมูกไหล ปวดหัว เจ็บคอ หรือไอร่วมด้วย มักเป็นแล้วหายภายใน 7 วันส่วนไซนัสอักเสบมักเริ่มต้นจากการเป็นหวัดก่อน แต่จะคิดถึงไซนัสอักเสบก็ต่อเมื่อ
     -เป็นหวัดมานาน 7-10 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้น คัดจมูกมากขึ้น มีเสมหะไหลลงคอ จมูกไม่ได้กลิ่น และ/หรือ
     -ปวดแก้ม ปวดหน้าผาก ปวดหัว และ/หรือ
     -ไอมากขึ้น
     นอกจากนี้ อาการไซนัสอักเสบเกิดจากสาเหตุอื่นได้ เช่น ฟันกรามแถวบนอักเสบ สิ่งแปลกปลอมอุดในจมูก เนื้องอกในจมูก
     อาการคัดจมูก มีผลข้างเคียงเป็นโรคอะไรได้บ้าง
     -ไซนัสอักเสบจากฟันบนด้านนั้นผุ
     -ริดสีดวงจมูก
     -สิ่งแปลกปลอมในจมูก
     -เชื้อรา
     -เนื้องอกหรือมะเร็ง
     -ดั้งจมูกคด
    
     อาการพึงระวัง
     รู้ได้อย่างไรว่าเป็นเชื้อราในโพรงไซนัส จะจึกถึงไซนัสอักเสบจากเชื้อราเมื่อใด
     -อาการเป็นข้างเดียว น้ำมูกมีกลิ่น เหม็น มีก้อนดำ ๆ เขียว ๆ หลุดออกมาปนกับน้ำมูก บางทีมีน้ำมูกปนเลือด และ/หรือรักษาด้วยการกินยาเต็มที่แล้วไม่ดีขึ้นและ/หรือคนไข้มีไซนัสอักเสบ เรื้อรัง และมีภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น เบาหวาน หรือฉายแสงอยู่ หรือได้เคมีบำบัดรักษาโรคอื่นอยู่  หรือได้ยาลดภูมิคุ้มกัน (เช่นในคนไข้เปลี่ยนถ่ายไขกระดูก)
     -ไซนัสอักเสบเรื้อรัง และอยู่ในที่อับชื้นเป็นประจำ

     เชื้อรามาจากไหน
     เชื้อรา  Aspercillus พบได้ทุกแห่ง เช่น
     -ในดิน ในน้ำ ในอากาศ
     -สารอินทรีย์ที่กำลังย่อยสลาย เช่น ขนมปังเก่า ๆ
     -ที่ชื้นแฉะ กระถางต้นไม้

     ***เมื่อมีการแพร่กระจายของเชื้อราที่บริเวณโพรงจมูกขึ้น เชื้อราเจริญเติบโตและแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ทำให้มีผลกระทบไปจนถึงบริเวณประสาทตาได้***
 รู้ไว้ ไกลโรค
     เราสามารถป้องกันโรคนี้ได้โดย
     1.  รักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ อยู่ในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
     2.  กำจัดสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นที่สะสมของเชื้อรา เช่น กำจัดที่อับชื้น น้ำขัง
     3.  ตรวจร่างกายเป็นประจำ เพื่องป้องกันปัจจัยเสี่ยง เช่น เบาหวาน
     4.  เป็นหวัดควรรีบรักษา อย่าปล่อยเรื้อรัง

     แพทย์ผู้ให้ข้อมูล:นพ.ทวีชัย  พิตรปรีชา  แพทย์ประจำคลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลพญาไท 2

โรคเนื้องอกในโสตประสาท

คณิต อายุ 35 ปี เป็นเจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวแห่งหนึ่ง ถึงแม้จะเพิ่งเปิดร้านได้ไม่นานแต่ด้วยรสชาติอร่อยจึงทำให้มีลูกค้าเข้าร้าน เป็นจำนวนมาก  ดังนั้นเขาจึงยุ่งอยู่กับการขายก๋วยเตี๋ยวทั้งวัน  ซึ่งเขาเองก็ทุ่มเทอย่างมากเพื่อสร้างฐานะให้ครอบครัว  จึงต้องเปิดร้านถึงมืดค่ำ  แต่หลังจากครึ่งปีที่เปิดร้าน  ก็เริ่มมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายของเขา  คือหูซ้ายไม่ได้ยินเสียงโทรศัพท์ แล้ว 2 วันต่อมาอาการนั้นก็หายไป
    หลังจากเกิดอาการหูตึงประมาณ 2 สัปดาห์ต่อมา อยู่ๆ คณิตก็มีอาการเวียนหัวจนล้มลงทรุดกับพื้น ภรรยาพาเขาไปพักผ่อน  ซึ่งหลังจากพักแล้วก็ไม่เกิดอาการเวียนศีรษะขึ้นมาอีก  ทว่าหลังจากเวลาผ่านไป  1 ปี ก็มีอาการผิดปกติอย่างอื่นเกิดขึ้นอีก  เมื่อตอนเช้าเขาปรุงน้ำซุปได้รสที่พอใจ แต่พอตกบ่าย กลับพบว่ารสเค็มไปจน ลูกค้าต้องเข้ามาขอเปลี่ยนชาม
เขาจึงแปลกใจกับการที่ลิ้นไม่รับรส  จึงตัดสินใจว่าจะปิดร้านเร็วเพื่อพักผ่อนให้มากขึ้น  และหลังจากที่ได้พักทุกอย่างก็กลับเป็นปกติ
    แต่หลังจากนั้นประมาณ 4 เดือน จู่ๆรอบตาซ้ายก็เกิดอาการกระตุกขึ้น และ โรคที่น่ากลัวก็เผยออกมา หลังจากมีอาการแปลกๆที่ตาประมาณ 3 อาทิตย์ เมื่อกลับมาที่บ้านแล้ว ภรรยาทำสปาเก็ตตีให้เขาทาน แต่แล้วทำไมเส้นบะหมี่ที่ใส่เข้าปากแล้วกลับหล่นลงมา ทำให้คณิตรู้สึกกลัว ขึ้นมา เขาจึงคิดจะขึ้นไปนอนพักผ่อน ขณะเดินผ่านกระจก ถึงกับอึ้งเมื่อพบว่า ใบหน้าด้านซ้ายของตัวเองตกลงมาและบูดเบี้ยว เกิดอะไรขึ้นกับใบหน้าของเขา

    กลุ่มเสี่ยง
    โรคเนื้องอกในโสตประสาทเป็นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่ช่วงวัยที่พบบ่อยคือ ผู้ที่มีอายุระหว่าง 30-60 ปี และพบมากที่สุดในผู้ที่มีอายุ 40 ปี อาการหูตึงมักเกิดกับคนที่อยู่บริเวณเสียงดังเป็นเวลานานๆ หรือระดับของ เสียงเกินระดับการได้ยินของหู โดยระดับเสียงที่ถือว่าปกติ คือ ระดับความดัง  0-20 เดซิเบล ส่วนระดับเสียงที่ถือว่าเป็นภาวะเสี่ยง คือ ระดับความดัง 20-40 เดซิเบล

    อาการที่พึงระวัง
    คนที่มีอาการหูอื้อ หูตึง ฟังไม่ค่อยได้ยิน มีอาการวิงเวียนศีรษะบ่อยๆ กระตุกที่ขอบตา อาการเหล่านี้อาจจะมองว่าเป็นอาการเล็ก ๆ แต่หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษา จากโรคหูก็อาจลุกลามไปถึงสมอง กลายเป็นโรคเนื้องอกในโสตประสาทได้

     ***เนื้องอกในโสตประสาทมักจะเกิดที่เส้นประสาทของหู ระหว่างหูชั้นในและสมอง***
     ***เนื้องอกโตจนเบียดเนื้อที่ของสมอง หากไม่รักษาเนื้องอกจะโตขึ้นเรื่อย ๆ จนเบียดเนื้อที่ของสมอง***
     ***ภาพแสดงเนื้องอกที่ไปกดทับเส้นประสาทการทรงตัว ทำให้เวียนศีรษะและเสียการทรงตัว***

    วิธีการรักษา
    เนื้องอกในโสตประสาทมี 2 ส่วนคือส่วนการทรงตัวและส่วนการได้ยิน วิธีการตรวจคือให้ผู้ป่วยปิดตาและยืนบนจุดที่กำหนดและยื่นมือไปข้างหน้า จากนั้นให้ย่ำเท้าอยู่กับที่ 30 ครั้ง เพื่อทดสอบระบบการทรงตัวร่วมกับข้อต่อ โดยให้ผู้ป่วยย่ำเท้าอยู่ที่เดิม ไม่เฉไปข้างซ้ายหรือขวา ถ้าเอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่ง แสดงว่าด้านนั้นมีปัญหาการรับรู้ การทรงตัวด้านนั้นเสื่อมหรือเสียไป ถ้าเดินย่ำตรงไปข้างหน้าถือว่าปกติ ถ้าเอียงเกิน 60 องศา ไม่ว่าจะเอียงซ้ายหรือเอียงขวา  ถือว่าเสี่ยงต่อการเป็นโรคเนื้องอก ในโสตประสาท
    เนื้องอกในโสตประสาทเป็นโรคที่แสดงอาการค่อนข้างช้า มีอัตราการโตประมาณ  2-4  มิลลิเมตรต่อปี แต่บางรายพบว่ามีก้อนโตประมาณ 2 เซนติเมตร ต่อปีก็มีโดยจะค่อย ๆ ขยายในลักษณะคล้ายบอลลูนช้าๆ จนไปกดเส้นประสาทบริเวณใกล้เคียงคือเส้นประสาทคู่ที่ 7 ที่เกี่ยวกับการขยับของใบหน้า ถ้าประสาทการได้ยินดีอยู่ประสาทศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัด แต่กรณีที่การได้ยินเสื่อมจะไม่สามารถรักษาไห้หายขาดได้ ยังมีอาการหูตึง ซึ่งอาการหูตึงเกิดได้ทั้งจากหูตึงตามวัยและหูตึงจากการทำงาน โดยหูตึงตามวัยจะเสื่อมทั้ง 2 ข้าง ส่วนหูตึงจากการทำงานพบกับคนที่อยู่ในที่เสียงดัง หรือใช้อุปกรณ์ที่ใช้เสียงเช่น ตำรวจจราจร ยาม ที่ใช้นกหวีด หรือเป่าเครื่องดนตรีประเภทแซ็กโซโฟน


    รู้ไว้ ไกลโรค
    ไม่ควรอยู่ในที่ที่มีเสียงดังหรือทำให้หูระคายเคือง หลีกเลี่ยงการแคะหู กรณีที่เป็นขี้หูแบบป่นสามารถใช้คัตตอนบัตแคะได้  แต่ถ้าเป็นขี้หูเปียกแบบเนื้อมะพร้าวไม่ควรแคะโดยเด็ดขาด เพราะจะยิ่งทำให้ ขี้หูดันเข้าไปข้างในซึ่งเป็นอันตรายต่อหูและอาจส่งผลต่อระบบการได้ยิน

    แพทย์ผู้ให้ข้อมูล : นพ.สักกะ ณ ตะกั่วทุ่ง แพทย์หัวหน้าหน่วยหู คอ จมูก ประจำโรงพยาบาลพญาไท 1

มะเร็งกล่องเสียง วิธีการรักษา ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับโรค

  ฉวี อายุ 42 ปี กับสามี เป็นเจ้าของรัานอาหารแห่งหนึ่งย่านใจกลางเมือง ด้วยความโปรดปรานการดื่มเหล้า เธอจึงมักดื่มกับลูกค้าในร้านเป็นประจำ รวมทั้งสูบบุหรี่ด้วย
     เมื่อร้านปิด ฉวีก็เมามาย ด้วยความมึนเมา เธอเดินมาหยิบน้ำที่ตู้น้ำเย็นดื่มอย่างรวดเร็ว แล้วก็เกิดอาการเจ็บคอขึ้นโดยฉับพลัน สามีจึงเดินเข้ามาถามด้วยความเป็นห่วง และสรุปให้ว่าเธอเป็นหวัด เธอเชื่อด้วยความสบายใจและไม่คิดอะไรเลย ผ่านไป 2 วัน เท่านั้น เธอรู้สึกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นบริเวณลำคอ จึงเอาเทอร์มอมิเตอร์มาวัดไข้ ผลปรากฏว่าอุณหภูมิร่างกายปกติ
     1 เดือนผ่านไป ฉวีกับสามีกลับเข้าบ้านหลังจากไปเดินซื้อของที่ตลาด สามีหยิบน้ำเย็นมาให้ เธอก็ดื่มอย่างรวดเร็ว พลันเกิดอาการเจ็บที่ใบหู แต่นั่นยังไม่ทำให้เธอกังวลใจแต่อย่างใด ทว่าหลังจากนั้นเธอก็จะรู้สึกเจ็บคอบ้าง เจ็บหูบ้าง สลับกันเป็นประจำแต่ก็ยังปล่อยปละละเลยโดยไม่สนใจเลยแม้แต่น้อย เพราะคิดว่าคงไม่เป็นไร
     3 เดือนผ่านไป เสียงเธอเริ่มแหบแห้ง เจ็บคอ และมีอาการไอร่วมด้วย ด้วยความรำคาญจึงตัดสินใจไปตรวจที่โรงพยาบาล และทราบว่าอาการแปลก ๆ ทั้งหมดนั้นเกิดจากโรคร้ายคือ มะเร็งกล่องเสียง ซึ่งมาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเธอนั่นเอง นับว่าโชคยังเข้าข้างที่ฉวีไปตรวจและเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที หลังจากนั้น เธอก็เลิกพฤติกรรมที่เคยปฏิบัติในชีวิตประจำวันโดยสิ้นเชิง พฤติกรรมอะไรที่นำพาเธอสู่โรคร้ายแรงเช่นนี้

 กลุ่มเสียง
     คนสูบบุหรี่ ดื่มเหล้าเป็นปัจจัยหลักกลุ่มคนอายุประมาณ 50-60 ปี ผู้ที่มีอายุประมาณ 30 ปีขึ้นไป แต่พบน้อยมากประมาณแค่ 1% และเป็นกรรมพันธุ์นอกจากนี้ ยับพบในคนที่ชอบทานของร้อน ๆ และการติดเชื้อไวรัส HPV

 อาการที่พึงระวัง
     เจ็บคอ เสียงแหบ กลืนลำบาก กลืนติด กลืนแล้วเจ็บ กลืนแล้วเหมือนเข็มตำ น้ำหนักลด อาการคล้ายหวัด และไอเรื้อรัง

 ลักษณะของโรค
     อาการไอ เจ็บคอ เสียงแหบแห้งเรื้อรัง
     โรคนี้เกิดจากเซลล์มะเร็งเจริญเติบโตขึ้นที่บริเวณกล่องเสียง ซึ่งอยู่เหนือทางเดินอาหาร เป็นมากในกลุ่มผู้ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และประเด็นสำคัญที่จะทำให้เป็นโรคนี้ก็คือการสูบบุหรี่อย่างหนัก และอยู่ในที่ที่มีคนสูบบุหรี่การดื่มเหล้าก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง เมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ เข้าก็เกิดการระคายจากนิโคตินและแอลกอฮอล์เพิ่มมากขึ้น จนทำให้เนื้อเยื่อบริเวณกล่องเสียงถูกทำลายจนเป็นเนื้อร้ายเจริญเติบโตขึ้น ได้ และสิ่งที่น่ากลัวมากกว่าเดิมเมื่อเกิดเนื้อร้ายบริเวณนี้ มีการเจริญเติบโตที่แพร่ไปยังอวัยวะใกล้เคียง
     อาการเจ็บคอในตอนแรกถือเป็นอาการเริ่มต้นที่สำคัญมาก โดยทั่วไปแล้วอาการเจ็บคอเนื่องจากหวัดนั้นจะแพร่กระจายไปทั่วลำคอ แต่ถ้าเป็นโรคมะเร็งกล่องเสียงจะรู้สึกเจ็บเฉพาะบริเวณที่เกิดการเจริญเติบ โตของเซลล์มะเร็งเท่านั้น ความแตกต่างของอาการเจ็บคอทั้ง 2 แบบนี้จะเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรักษาได้ทันท่วงที นอกจากนั้น อาการเจ็บหูก็เป็นเพราะการที่เส้นประสาทของลำคอ และเส้นประสาทของใบหูนั้นเชื่อมโยงกันนั่นเอง ทำให้เมื่อเกิดอาการคเจ็บคอรุนแรง จึงรู้สึกได้ทั้งที่บริเวณลำคอและใบหูอย่างไรก็ตาม เมื่อไม่ใส่ใจอาการที่เกิดขึ้นเท่าที่ควร จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตไปอย่างรวดเร็วจนทำให้ เกิดเสียงที่แหบแห้ง เพราะเซลล์มะเร็งได้เจริญเติบโตและขยายใหญ่ขึ้นจนไปรบกวนเส้นเสียงในลำคอ ทำให้การทำงานของเส้นเสียงเกิดความผิดปกติและแพร่กระจายไปตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ปอด เป็นต้น และเกิดอาการไอเรื้อรัง
     เหตุใดโรคนี้จึงมีการดำเนินโรคอย่างรวดเร็ว คำตอบก็คือ ในแต่ละวันเรามีการบริโภคอาหารอยู่เป็นประจำ โดยเฉลี่ยแล้วในวันหนึ่งเรากลืนสิ่งต่าง ๆ ลงไป 2,000 ครั้งโดยประมาณ และในการกลืนอาหารแต่ละครั้ง แน่นอนว่าอาหารจะต้องผ่านลำคอลงไปสู่ทางเดินอาหาร หากเกิดเซลล์มะเร็งขึ้นในบริเวณนั้น และเมื่อกลืนอาหารลงไปผ่านเนื้อมะเร็งบ่อยครั้งขึ้น จะทำให้เซลล์มะเร็งแตกกระจายไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายนั่นเอง ส่วนใหญ่แล้วถ้าปล่อยให้โรคนี้ลุกลามอย่างมากก็อาจจะเสียชีวิตในเวลาอันรวด เร็วได้
     ทั้งนี้ แม้มะเร็งกล่องเสียงจะเป็นโรคที่น่ากลัว แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะเป็น ถ้าเราไม่ได้อยู่กับคนที่สัมผัสกับสารก่อมะเร็งก็มีโอกาสเป็นน้อย ส่วนคนที่มีการกระจายของเซลล์มะเร็งแล้ว ถ้ายังอยู่ในระยะที่ยังใช้เลเซอร์ตัดได้ จะอยู่ต่อได้อีก 5-10 ปี

 วิธีการรักษา
     ถ้าเป็นบริเวณกล่องเสียง แพทย์จะผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกแล้วติดตามผลเป็นระยะ ถ้าเป็นทั้งกล่องเสียงต้องตัดกล่องเสียงออก หลังจากนั้นจะใช้เครื่องที่ใช้แทนกล่องเสียง คือ
     1.  เครื่องอิเล็กโตฮาลิงซ์ เป็นเครื่องแปลงการสั่นของกล้ามเนื้อเป็นเสียง ในการก่อเกิดเสียงแทนกล่องเสียงหลังจากผ่าตัดกล่องเสียงออกไปแล้วได้บ้าง
     2.  หลังผ่าดัดกล่องเสียงออกไปแล้ว หลอดลมจะโผล่มาอยู่ที่ข้างหน้าและจะหายใจทางนี้ เวลาออกเสียงจะใช้วิธีกลืนลมเร็ว ๆ แล้วเอาลมจากกระเพาะอาหารย้อนผ่านหลอดอาหารมาออกเป็๋นเสียงแทน
     3.  กล่องเสียงเทียม เป็นเหมือนซิลิโคนที่สอดเข้าไปในตำแหน่งที่ตัดกล่องเสียงออกไปแล้วให้ลมที่ หายใจผ่านรูเจาะคอเป็นตัวดันให้เกิดเสียงขึ้น

 รู้ไว้ ไกลโรค
     1.  อัตราส่วนการเป็นมะเร็งกล่องเสียงระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง คือ 6:1
     2.  ในกลุ่มที่เป็นมาก ๆ แล้วมีการเจ็บคอ และตรวจพบว่ามีการกระจาย ถ้าเริ่มเป็นแล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจทำให้เสียชีวิตได้ภายใน ระยะเวลาตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี
     3.  คนที่สูบบุหรี่โดยตรงมีโอกาสเป็นมะเร็งกล่องเสียงมากกว่าคนปกติ 6 เท่า

     ***เสียงที่แหบแห้งเป็นเพราะเซลล์มะเร็งเจริญเติบโต และขยายใหญ่ขึ้นไปรบกวนเส้นเสียงในลำคอ***
     ***เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย***

     แพทย์ผู้ให้ข้อมูล : นายแพทย์ ณรงค์  เสรีศิริขจร  แพทย์ประจำคลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลพญาไท 1

มะเร็งเต้านม วิธีรักษา ข้อควรระวัง และลักษณะของโรค

  ด้วยความที่มีหน้าตาสวย บุคลิกดี และหุ่นสูงเพรียว ทำให้แคทก้าวเข้าสู่วงการนางแบบอย่างไม่ยาก บวกกับความร่าเริงแจ่มใส มองโลกในแง่ดี มีมนุษยสัมพันธ์กับทุก ๆ คน ยิ่งโดยเฉพาะกับผู้จัดการส่วนตัวที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกัน นิสัยและรสนิยมการใช้ชีวิตที่คล้ายกัน โลกในวัย 27 ปีของเธอจึงมีแต่ความสวยงาม กระทั่งวันหนึ่งผู้จัดการส่วนตัวขอลางานไปโรงพยาบาลด้วยสีหน้าวิตกกังวล เพราะคลำเจอก้อนแข็งที่หน้าอก แพทย์ตรวจพบว่าเป็นอาการเปลี่ยนแปลงของต่อมเต้านม ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนสตรี และสามารถหายได้เองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเข้ารับการรักษา ซึ่งแพทย์เรียกภาวะแบบนี้ว่า Mastopathy
     จากนั้น 1 เดือนผ่านไป ขณะที่แคทกำลังตรวจเช็กหน้าอกของตัวเองอย่างที่ทำเป็นประจำ เธอพบความผิดปกติเหมือนกับมีก้อนเนื้ออยู่ แต่นึกว่าตัวเองคงเป็น Mastopathy เช่นเดียวกับผู้จัดการส่วนตัวของเธอ จึงไม่คิดอะไรมาก แต่เมื่อเวลาผ่านไปเพียงครึ่งปี ความผิดปกติก็เริ่มมากขึ้น เพราะเนื้องอกอ่อน ๆ นั้นมีลักษณะแข็งกว่าเดิม แคทคิดว่าหากประจำเดือนหมดแล้ว ก้อนเนื้อก็น่าจะหายไปด้วย แต่ด้วยความไม่มั่นใจ เธอจึงเข้าไปรับการตรวจอย่างละเอียดที่โรงพยาบาล ผลที่ออกมาเกือบทำให้เธอช็อก เพราะบอกถึงอาการเริ่มต้นของการป่วยเป็นมะเร็งเต้านม นับว่าโชคของเธอยังดีที่เข้ารับการรักษาได้ทันเวลา จึงสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้อีกครั้ง
    
จะมีสักกี่คนที่โชคดีได้แบบแคท!

 กลุ่มเสี่ยง
     ผู้ที่มีพันูธุกรรมหรือมีพฤติกรรมชอบรับประทานอาหารไขมันเยอะ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และไม่ออกกำลังกาย นอกจากนี้ ผู้ที่ทานฮอร์โมนหรือใช้ครีมทาหน้าอกแบบใส่ฮอร์โมน หากใช้เกิน 5 ปี ความเสี่ยงจะยิ่งเพิ่มขึ้น
     นอกจากนี้ ผู้ชายก็มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้เช่นเดียวกัน เพียงแต่มีโอกาสที่จะเป็นเพียง 0.7-1%

     ***มะเร็งเต้านมเกิดที่บริเวณเมมโมรีแกรนด์***
 อาการที่พึงระวัง
     รู้สึกว่ามีความผิดปกติที่บริเวณหน้าอกหรือสีผิวผิดปกติ เดิมเคยมีผิวเนียนก็จะหยาบเหมือนผิวส้มโอ คล้าย ๆ กับผื่น ลมพิษ รูขุมขนหยาบขึ้น หรือดูจากทิศของหัวนม เช่น เดิมชี้ทิศนี้แล้วเปลี่ยนไปอีกทิศหนึ่ง ปกติมันจะต้องชี้ไปทิศทางเดียวกัน หรือทางเดิม หากหัวนมบุ๋มเข้าไปต้องดูว่าเป็นตั้งแต่กำเนิดหรือไม่ หากเพิ่งเป็นถือว่ามีความเสี่ยง

     ปัจจุบันพบว่า มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเต้านมมากขึ้น 10,000 คนต่อปี สาเหตุสำคัญก็คือ การตระหนักถึงโรคภัยที่มีอยู่น้อยเกินไป เนื่องจากผู้หญิงส่วนใหญ่ในปัจจุบันยังคงไม่เห็นถึงความสำคัญที่ว่า มะเร็งเต้านมเป็นโรคภัยที่อยู่ใกล้ตัว
 ลักษณะของโรค
     ภายในเต้านมประกอบไปด้วยโครงสร้างที่ใช้ผลิตน้ำนมและทางเดินน้ำนม สำหรับ Mastopathy เป็นการเปลี่ยนแปลงของต่อมบริเวณเต้านม ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนสตรีที่ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก หรือรู้สึกเหมือนมีอะไรแข็ง ๆ อยู่บริเวณภายใน ส่วนใหญ่สามารถหายได้เองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องรักษา
     มะเร็งเต้านมเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ ทำให้เกิดก้อนมะเร็งที่บริเวณต่อมน้ำนมหรือบริเวณอื่น ๆ ภายในเต้านม ซึ่งเป็นเซลล์ของท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนม ส่วนใหญ่จะเป็นท่อน้ำนมที่แบ่งตัวขึ้น ตามปกติในร่างกายของคนจะควบคุมได้นอกจากบางรายที่ร่างกายของคนจะควบคุมได้ นอกจากบางรายที่ร่างกายควบคุมไม่ได้ หากเป็นระยะแรก ๆ มะเร็งจะอยู่แค่ที่เต้านม แต่ถ้าทิ้งไว้นาน ๆ ลักษณะของมะเร็งจะสามารถกระจายไปที่อวัยวะอื่นได้

 วิธีการรักษา
     มะเร็งเต้านมมีโอกาสหายค่อนข้างสูงหากตรวจเจอตั้งแต่ระยะต้น ๆ และเมื่อตรวจเจอในระยะสงสัยว่าจะเป็น จะต้องทำการตรวจซ้ำทุก 6 เดือน ด้วยอัลตราซาวนด์และเมมโมแกรม หากผลการตรวจซ้ำยืนยันว่ามีการเปลี่ยนแปลงจึงจะเจาะชิ้นเนื้อมาตรวจในกรณี ที่ผลการตรวจชิ้นเนื้อปกติและการตรวจติดตามไปได้ 2 ปีแล้วไม่พบอะไร ก็แสดงว่าเป็นเนื้องอกธรรมดา จึงจะกลับไปใช้แผนการเฝ้าระวังมะเร็งเต้านมในคนปกติโดยการตรวจปีละครั้งได้

 รู้ไว้ไกลโรค
     1.  งดอาหารที่มีไขมันเยอะ ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์
     2.  ออกกำลังกายเพื่อทำให้ฮอร์โมนสมดุลขึ้น อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งหนึ่งประมาณครึ่งชั่วโมง
     3.  ตรวจด้วยดัวเองอย่างสม่ำเสมอทุก ๆ เดือน จะได้รู้ตัวแต่เนิ่น ๆ วิธีหัดเรียนรู้ความรู้สึกที่ได้จากการคลำง่าย ๆ ทำได้โดยวางเมล็ดถั่วเขียวลงบนพื้นโต๊ะแล้วคลุมด้วยแผ่นวัสดุนุ่ม ๆ บาง ๆ เช่น แผ่นบุก ฟองน้ำ กระดาษ หรือผ้าก็ได้ แล้วใช้นิ้วของฝ่ามือด้านในคลำเมล็ดถั่วผ่านแผ่นคลุม ความรู้สึกที่คลำได้เนื้องอกเต้านมระยะแรกก็จะคล้าย ๆ กัน
     ยกแขนข้างที่จะคลำขึ้นก่อน กดบริเวณหัวนมทีละส่วน เพราะหากมีเลือดออกจะได้รู้ว่าออกมาจากส่วนไหน ถ้ามีเลือดออกแสดงว่ามีเนื้องอกในท่อน้ำนม จากนั้นคลำบริเวรรักแร้ ซึ่งมีต่อมน้ำเหลือง การคลำบริเวณนี้ต้องเอาแขนลง ควรคลำ 1 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือนวันแรก
     4.  การทำเมมโมแกรมหรือเอกซเรย์เต้านมอาจตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ยังคลำก้อนไม่ได้

แพทย์ผู้ให้ข้อมูล : ผศ.พญ.เยาวนุช คงด่าน หัวหน้าศูนย์รักษ์เต้านม โรงพยาบาลพญาไท 2

มะเร็งต่อมลูกหมาก ข้อควรรู้และวิธีรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

สัญ ชัย อายุ 50 ปี เป็นผู้จัดการฝ่ายขายบริษัทส่งออกเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง เนื่องจากเป็นหัวหน้าที่ดี มีอารมณ์ขัน จึงได้รับความไว้วางใจเลื่อมใสทั้งจากหัวหน้าและลูกน้อง ในขณะเดียวกัน เขามักพาลูกน้องไปฉลองเมื่อปิดยอดขายได้เสมอ และอาหารในปาร์ตี้ส่วนใหญ่จะเป็นพวกเนื้อสัตว์ เรียกว่ามีชีวิตในแบบคนทำงาน คือ กินง่ายและไม่ค่อยเลือก โดยเฉพาะอาหารที่เสี่ยงต่อการก่อให้เกิดมะเร็ง คือ อาหารประเภทปิ้ง ย่าง และมีโปรตีนสูง
     พักหลังมานี้ เขาต้องเข้าห้องน้ำกลางดึกบ่อย ๆ แต่เขาก็คิดไปว่าเป็นเพราะอายุที่มากขึ้นจึงไม่ใส่ใจ กระทั่งวันหนึ่งก็พบว่าตัวเองกลั้นปัสสาวะไม่ค่อยอยู่ แต่อีก 1 เดือนต่อมา กลับมีอาการปัสสาวะไม่ออก แต่เขากลับโล่งใจเพราะเจ้านายที่ออฟฟิศก็เป็นเหมือนกัน จึงเข้าใจว่าเป็นเพราะทั้งสองอายุมากขึ้น
     ทว่า 1 เดือนให้หลังมานี้ เขาปัสสาวะได้ไม่สุด เมื่อไปตีกอล์ฟก็รู้สึกเจ็บที่เอว จึงเข้าใจไปว่าเพราะเล่นกีฬาหนักไป เช้าอีกวันขณะลุกจากที่นอนเขามีอาการชาที่ขาขวา ไม่มีแรง เขานึกไปถึงการเล่นกอล์ฟว่าทำให้เส้นประสาทฉีก แต่เมื่อไปหาหมอและตรวจเช็กอย่างละเอียด ผลเอกซเรย์ออกมามีจุดขาว ๆ ในฟิล์มเอกซเรย์  และพบโรคร้ายแรงที่คาดไม่ถึง เขาป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก!

     กลุ่มเสี่ยง
     แม้ไม่มีรายงานทางการแพทย์ที่ยืนยันชัดเจนว่าโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มีสาเหตุหลักจากปัจจัยใด แต่มีคำเตือนสำหรับกลุ่มเสี่ยงที่เป็นชายอายุ 50 ปีขึ้นไป มีพฤติกรรมการกินเน้นหนัก อาหารประเภทเนื้อสัตว์ติดมัน รวมทั้งอาหารประเภทปิ้ง ย่าง ทั้งนี้นอกจากปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากพฤติกรรมแล้ว ชายผิวขาวชาวตะวันตกก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคอันเกิดจาก
พันธุกรรมด้วย

     อาการพึงระวัง
     อาการเริ่มต้นที่เราพึงใส่ใจตนเองเพื่อเฝ้าระวังโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก คือการปวดปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืนและไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ รวมถึงอาการเจ็บบริเวณเอวด้านหลัง

     ลักษณะของโรค
     ต่อมลูกหมากคือส่วนที่ผลิตน้ำอสุจิและทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมน้ำปัสสาวะใน ตัวผู้ชาย จุดของต่อมลูกหมากอยู่บริเวณใต้กระเพาะปัสสาวะอยู่ ดังนั้น อาการปวดปัสสาวะบ่อยจึงเป็นผลสืบเนื่องจากการที่เซลล์มะเร็งซึ่งโตขึ้นไปกด ท่อปัสสาวะทำให้มีปัสสาวะคั่งค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะมากขึ้น จนบางครั้งทนกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ส่วนอาการปัสสาวะไม่ค่อยออกนั้น เกิดจากก้อนเซลล์มะเร็งได้ลามมาบีบท่อปัสสาวะ จนทำให้ไหลผ่านไม่สะดวก
     ต่อมลูกหมากมีหน้าที่ในการสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ เมื่ออสุจิที่ถูกสร้างจากลูกอัณฑะ ในระหว่างทางลำเลียงตั้งแต่ต้นจนถึงปลายท่อ จะมีการเติมน้ำเชื้อและน้ำเลี้ยงให้แข็งแรง แต่เมื่อเซลล์ของต่อมลูกหมากมีการเปลี่ยนแปลงผิดรูปร่างและเจริญเติบโตไม่ หยุด ควบคุมไม่ได้จะกลายเป็นมะเร็งที่เมื่อเป็นมากก็แพร่กระจายตัว และลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ

     มะเร็งต่อมลูกหมากอยู่ในอันดับที่ 10 ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากมะเร็งของชายไทย
     ***มะเร็งในต่อมลูกหมากกดทับทำให้กระเพาะปัสสาวะทำงานมากขึ้น***
     ***เซลล์มะเร็งที่ใหญ่ขึ้นทำให้ไม่สามารถกลั้นปัสสวาวะได้***
     ***เซลล์มะเร็งกดทับเส้นประสาททำให้ขาชา***

     วิธีการรักษา
     หากเป็นระยะเริ่มต้นของอาการ ก้อนเนื้อยังมีขนาดเล็กและจำกัดตัวอยู่เฉพาะในต่อมลูกหมาก เมื่อพบอาการและตรวจพิสูจน์โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยการผ่าตัดด้วยกล้องเพื่อนำ-เซลล์มะเร็งออกให้หมด สำหรับคนที่มีอาการในระดับที่การผ่าตัดไม่สามารถเข้าไปกำจัดออกได้หมด เนื่องจากมะเร็งเกิดการกระจายตัวแล้ว ต้องรักษาด้วยการกำจัดฮอร์โมน เพื่อไม่ให้มีฮอร์โมน เพื่อไม่ให้มีฮอร์โมนไปกระตุ้นการเติบโตของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก

     รู้ไว้ ไกลโรค
     ยาขนานวิเศษสำหรับการป้องกันโรค ทำได้ทั้งในระดับของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองและการตรวจคัดกรอง
     1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง
     -  งดอาหารมันและอาหารปิ้ง ย่าง
     -  หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะซึ่งนอกจากจะทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบแล้ว ยังอาจส่งผลต่อระบบการทำงานของไต ทำให้ไตอักเสบได้
     2. การตรวจคัดกรอง
     การตรวจเลือดหาค่า PSA เพื่อดูความเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งในการตรวจสุขภาพร่างกายประจำปี ควรให้มีการเช็กร่างกายว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่ โดยการวัดค่า PSA ซึ่งสาร PSA จะเป็นสารชนิดหนึ่งซึ่งผลิตจากเซลล์ต่อมลูกหมาก ถ้าสารนี้มีค่ามาก ก็แสดงว่าเริ่มมีความผิดปกติของต่อมลูกหมาก

     แพทย์ผู้ให้ข้อมูล : นพ.วรพงษ์ เลิศวีระศิริกุล หัวหน้าศูนย์ศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะและโรคนิ่ว โรงพยาบาลพญาไท 3

มะเร็งมดลูก วิธีรักษาและข้อมูลน่ารู้

วีณา อายุ 45 ปี เธอเป็นคนอ้วนที่มีน้ำหนักตัวถึง 70 กิโลกรัม แต่เนื่องจากเธอไม่มีภาระมาก จึงมีเวลาไปออกกำลังกายกับแม่บ้านคนอื่น ๆ กีฬาที่เธอโปรดปรานคือการว่ายน้ำ หลังจากว่ายน้ำเสร็จเธอก็มักจะไปรับประทานอาหารกลางวันกับเพื่อน ๆ โดยสั่งอาหารตามใจชอบ ทำให้น้ำหนักของเธอไม่ลดลงเลยแม้จะว่ายน้ำเป็นประจำสม่ำเสมอก็ตาม แต่อยู่ ๆ ก็มีอาการผิดปกติของรอบเดือน เธอมีประจำเดือนติดต่อกันยาวนานกว่า 10 วัน และไม่มีทีท่าว่าจะหยุด เธอจึงไม่สามารถไปว่ายน้ำได้
     จนเวลาผ่านไปครึ่งปี วีณาพบว่าประจำเดือนของเธอมาเร็วกว่าปกติถึง 2 สัปดาห์ และครั้งนี้มาแค่ 2 วันเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องน่าแปลก ทำไมเธอถึงมีความผิดปกติของประจำเดือนเกิดขึ้นนานถึง 3 เดือน เมื่อเล่าให้เพื่อน ๆ ฟัง ทุกคนต่างบอกเธอว่าเป็นอาการของช่วงประจำเดือนหมดในสตรีที่อายุระหว่าง 45-50 ปี ที่ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง หารู้ไม่ว่านั่นเป็นอาการของโรคร้ายที่กำลังมาเยือน
     หลังจากอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นครั้งนั้น ผ่านไปประมาณ 1 ปี พบว่ามีก้อนแข็งเกิดขึ้นที่หน้าอกด้านขวาของเธอ ทันทีเธอนึกไปถึงมะเร็งเต้านม จึงรีบไปตรวจที่โรงพยาบาลและได้ทราบว่าเป็นก้อนมะเร็งจริง ๆ แต่ยังไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง ทว่าซ้ำร้ายหลังจากตรวจอย่างละเอียดกลับพบว่าเธอเป็นโรคมะเร็งมดลูกด้วย เพราะเหตุใดเธอถึงป่วยเป็นมะเร็งพร้อมกันถึง 2 ที่ แล้วจะทำการรักษาอย่างไรต่อไป

     กลุ่มเสี่ยง
     ผู้หญิงที่มีปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือมามากเกินไป บางครั้งหายไป หรือมาบ้าง ไม่มาบ้าง เกิดกับผู้หญิงที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 35-80 ปี และอายุมากกว่า 50 ปี

     อาการที่พึงระวัง
    มีประจำเดือนนานกว่าปกติ ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่ช่วงประจำเดือนแต่ก็มีเลือดไหลออกมา หรือมีอาการผิดปกติในช่วงหมดประจำเดือนและเข้าใจว่าเป็นอาการปกติของวัยหมด ประจำเดือน หากมีอาการผิดปกติดังกล่าว อย่านิ่งนอนใจ ควรรีบไปตรวจเพื่อหาสาเหตุก่อนที่จะสายไป

     ลักษณะของโรค
     โรคมะเร็งมดลูก เกิดจากการที่มีเนื้อร้ายไปเจริญเติบโตบริเวณด้านหลังของมดลูก ส่วนใหญ่มักเกิดกับสตรีที่อยู่ในช่วงอายุ 45 ปี และหลังหมดประจำเดือนแล้ว โดยประจำเดือนจะมาผิดปกติ เช่น มาระยะสั้นบ้าง ยาวบ้าง มาเร็วหรือช้าบ้าง รวมไปถึงการมีเลือดออกที่ไม่ใช่ประจำเดือนปกติ ซึ่งเป็นสัญญาณบอกให้รู้ถึงการเป็นมะเร็งมดลูกนั่นเอง นอกจากนี้มีผู้หญิงจำนวนมากเข้าใจว่า อาการดังกล่าวเป็นสัญญาณของการหมดประจำเดือน จึงไม่ได้สนใจ จนเนื้อร้ายนั้นเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นมะเร็ง
     การที่มะเร็งเต้านมเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันกับมะเร็งมดลูก จะเรียกว่า"โรคมะเร็งซ้ำซ้อน" เพราะไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็งมดลูกหรือมะเร็งเต้านมต่างก็มาจากความผิดปกติของ ความสมดุลของฮอร์โมนในสตรี ดังนั้นมะเร็งทั้งสองชนิดนี้จึงมักเกิดและเติบโตในเวลาไล่เลี่ยกันสาเหตุ หนึ่งที่ทำให้ฮอร์โมนในสตรีเกิดความผิดปกติก็คือ ความอ้วน คนอ้วนซึ่งมีไขมันในร่างกายสะสมอยู่มากจะมีฮอร์โมนหลั่งออกมาตลอดเวลา และอวัยวะที่มีผลต่อการหลั่งของฮอร์โมนมากที่สุดก็คือมดลูกและเต้านมนั่นเอง
     กรณีของมะเร็งซ้ำซ้อนซึ่งเกิดจากการกระตุ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็น ฮอร์โมนสตรี เป็นระยะเวลานาน ๆ จนเอสโตรเจนออกมามากผิดปกติ และไปกระตุ้นอวัยวะที่ไวต่อฮอร์โมนบริเวณเต้านมกับบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูก โดยจะถูกกระตุ้นพร้อมกัน อาจจะมดลูกก่อนและอาจจะมาเป็นเต้านมทีหลังอีกที แต่เป็นกรณีที่พบได้ไม่มากนัก ปัจจุบันมีคนเป็นโรคมะเร็งในลักษณะนี้มากขึ้นเนื่องจากผู้หญิงไทยในปัจจุบัน มีภาวะของโรคอ้วนเพิ่มสูงขึ้น
     มะเร็งมดลูกสามารถรักษาหายได้ หากรู้ตัวตั้งแต่ระยะแรก ๆ คือเป็นระยะที่ 1 พบว่าประมาณ 70% ขึ้นไป สามารถหายภายใน 5 ปี ระยะที่ 2 จะตรวจพบประมาณ 50% ผู้ป่วยจะสามารถมีชีวิตรอด 5 ปี ระยะที่ 3 จะตรวจพบประมาณ 30% ระยะที่ 4 มีประมาณ 10%
     จากสถิติการเป็นมะเร็งมดลูกของคนไทย พบว่า คนไทยเป็นมะเร็งมดลูก ปีละ 1.7% ของมะเร็งในผู้หญิง พบในช่วงอายุ 35-80 ปีประมาณ 1.73% และประมาณ 65.7% พบในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และประมาณ 50% ของมะเร็งมดลูก พบในคนอ้วนและอีก 50% พบในสตรีที่ไม่มีบุตร

     วิธีการรักษาโรคมะเร็งมดลูก
     การตรวจมะเร็งมดลูกสามารถทำได้โดยการตรวจอัลตราซาวนด์ เพื่อดูความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูก ว่ามีความหนาเกิน 1 เซนติเมตรหรือไม่ ถ้าเกินถือว่าผิดปกติ โดยเริ่มจากการทาเจลที่บริเวณหน้าท้อง เพื่อเป็นตัวนำคลื่นเสียงความถี่สูงให้ผ่านไปยังเนื้อเยื่อง่ายขึ้น จากนั้นจะนำหัวตรวจอัลตราซาวนด์ไปวางที่หน้าท้อง จากนั้นภาพก็จะปรากฏบนหน้าจอ เพื่อตรวจวินิจฉัยต่อไป

     รู้ไว้ ไกลโรคมะเร็งมดลูก
     ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ และไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอ้วน และควรไปรับการตรวจเต้านมและมดลูก โดยเฉพาะผู้หญิงที่อยู่ในช่วงอายุ 45 ปีขึ้นไป รวมถึงสตรีที่ไม่มีบุตรซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูง

     ***ภาพจำลองการเติบโตของมะเร็งในเวลาเดียวกัน***
     ***ร่างกายที่มีไขมันสะสมอยู่มากจะมีฮอร์โมนหลั่งออกมาตลอดเวลา***

     แพทย์ผู้ให้ข้อมูล : นพ.ทวีศักดิ์ หาญพานิชเจริญ  สูติ-นรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญประจำโรงพยาบาลพญาไท 3

มะเร็งตับอ่อน วิธีรักษาและลักษณะของโรคมะเร็งตับอ่อน

เกรียงไกร อายุ 52 ปี ลาออกจากบริษัทเพราะอยากมีกิจการร้านอาหารของตัวเอง จึงไปลงเรียนทำอาหาร วันหนึ่ง
เกรียงไกรพาครอบครัวออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน และถือโอกาสสำรวจรสชาติอาหารตามร้านต่าง ๆ ไปด้วย หลังจากที่รับประทานอาหารเสร็จ เขาเกิดอาการปวดท้อง แต่คิดว่าไม่เป็นไรเพราะอาจเกิดจากการรับประทานอาหารมากเกินไป หลายวันผ่านไปก็ยังมีอาการปวดท้องอยู่ แต่คราวนี้มีอาการแน่นร่วมด้วย เขาจึงรีบไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาลาล และก็พบว่าทุกอย่างปกติดี ไม่พบเนื้องอกและมะเร็งใด ๆ แต่พบว่ามีคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากเป็นคนชอบรับประทานอาหารไขมันสูงและดื่มเหล้าหลังอาหารทุกวัน
   หลังจากไปพบหมอ เกรียงไกรได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองใหม่ โดยวิ่งและออกกำลังกายทุกเช้า และเลิกบุหรี่ที่สูบมานานเกือบ 30 ปี จู่ ๆ ก็เกิดอาการปวดหลังขึ้นมาอีก แต่คิดไปว่าเป็นเพราะเริ่มออกกำลังกายกะทันหันเกินไป เขาจึงให้ภรรยานวดหลัง อาการก็ดีขึ้น แล้ว 2 สัปดาห์ต่อมา อาการปวดท้องและแน่นท้องก็หายไป เขาเข้าใจว่า ร่างกายเริ่มแข็งแรงเป็นปกติแล้ว โดยไม่รู้ว่าโรคร้ายกำลังมาเยือน จวบจนครึ่งปี ด้วยความมานะพยายามทำให้เขาสามารถเปิดร้านอาหารได้สำเร็จและกำลังจะเปิดตัว ในวันรุ่งขึ้น ปรากฏว่าคืนก่อนเปิดร้าน กลางดึกเขาออกมาปัสสาวะและพบว่าสีปัสสาวะกลายเป็นสีช็อกโกแลต และหน้าเขาซีดเหลืองเห็นได้ชัด เกิดอะไรขึ้นกับเกรียงไกร?

 กลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งตับอ่อน
   มักเกิดกับคนที่มีอายุระหว่าง 60-70 ปี พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และสามารถเกิดได้กับคนที่คิดว่าตัวเองแข็งแรง ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว เนื่องจากโรคชนิดนี้เกิดจากการสะสมของสารพิษ และมลภาวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ทำให้ตับอ่อนอักเสบ

 อาการที่พึงระวัง
   คนที่มีอาการปวดท้องบ่อย ๆ แต่ไม่รุนแรง และอยู่ ๆ อาการปวดท้องก็หายไปประมาณ 2-3 สัปดาห์ หรืออยู่ ๆ ก็มีอาการปวดหลังกะทันหัน คนที่มีอาการดังกล่าวควรพึงระวัง เพราะนั่นเป็นอาการที่บ่งบอกเหตุของการเกิดโรคมะเร็งตับอ่อน

 ลักษณะของโรคมะเร็งตับอ่อน
   ตับอ่อนเป็นอวัยวะอยู่หลังกระเพาะมีหน้าที่สร้างน้ำย่อย น้ำดี ตับอ่อนมีท่อต่อกับท่อรวมน้ำดีซึ่งไปเปิดที่ปลายกระเพาะอาหารต่อกับลำไส้ เล็กส่วนต้น มีหน้าที่สร้างน้ำย่อยเพื่อใช้ในการย่อยและดูดซึมโปรตีนกับไขมัน
   มะเร็งตับอ่อนเกิดจากมีเนื้อมะเร็งขึ้นที่ตับอ่อน ซึ่งอยู่ด้านหลังของช่องท้องเป็นเนื้อมะเร็งที่ตรวจค้นหาได้ยากที่สุดชนิด หนึ่ง ไม่ทราบสาเหตุ ที่แน่ชัด แต่เกิดจากการสูบบุหรี่และดื่มจัดเป็นระยะเวลานาน มักพบในผู้ชายช่วงอายุ 50-70 ปี ที่ชอบรับประทานอาหารไขมันสูง
     ลักษณะอาการของมะเร็งตับอ่อนเกิดขึ้นเมื่อตับอ่อนทำงานหนัก มีอาการหลั่งน้ำย่อยและฮอร์โมนออกมา ขณะที่น้ำย่อยไหลออกมามาก มะเร็งจะก่อตัวขึ้นที่บริเวณท่อตับอ่อน หรือ Pancreatic duct มีอาการปวดท้องหรือแน่นท้องและปวดจากเซลล์มะเร็งที่โตขึ้น การไหลของน้ำย่อยถูกอุดกั้นไว้ในตับอ่อนทำให้ตับอ่อนบวม แต่อาการเจ็บปวดที่ไม่ได้รุนแรง ผู้ป่วยจึงไม่รู้ตัว และอาจตรวจไม่พบเซลล์มะเร็งในตับอ่อนเพราะตับอ่อนถูกห้อมล้อมไปด้วยอวัยวะ อื่นๆ เช่น กระเพาะอาหารเป็นต้น ดังนั้น การตรวจร่างกายทั่วไปจึงไม่เห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้น จนเมื่อมีอาการถ่ายปัสสาวะเหมือนช็อกโกแลตและหน้ามีสีเหลือง เนื่องจากเซลล์มะเร็งเจริญเติบโต จนไปปิดกั้นทางเดินน้ำดีที่ไหลผ่านตับอ่อน ทำให้น้ำดีไหลย้อนกลับออกไปนอกท่อและเข้าสู่กระแสเลือดไปทั่วร่างกายอย่าง รวดเร็ว มะเร็งตับอ่อนถือว่าเป็นโรคที่พัฒนาไปอย่างช้า ๆ กว่าจะพบว่าเป็นโรคก็สายไปเสียแล้ว อาการของคนที่เป็นโรคมะเร็งตับอ่อน เช่น น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ร่างกายซูบผอม เบื่ออาหาร ปวดท้องบ่อยๆ กินยาก็ไม่หาย ซึ่งอาจจะไม่ใช่อาการของมะเร็งตับอ่อน แต่อาจเป็นโรคอื่น เช่น กระเพาะอาหารมะเร็งกระเพาะอาหาร ซึ่งหมอจะเป็นผู้วิเคราะห์โรคเอง แม้ว่ามะเร็งตับอ่อนจะเป็นโรคร้ายแรงและอันตราย แต่ถ้าเรารู้ตัวก่อนก็จะสามารถป้องกันและรักษาได้อย่างทันท่วงที


     ***มะเร็งก่อตัวที่บริเวณท่อ Pancreatic duct ซึ่งเกิดจากการหลั่งน้ำย่อยและฮอร์โมนออกมามาก ๆ เพื่อย่อยไขมัน***
     ***มะเร็งเจริญขึ้นจนไปอุดตันการไหลของน้ำย่อย ตับอ่อนจะบวมขึ้น ทำให้มีอาการปวดท้องและปวดหลัง***
     ***ถุงน้ำดีโตเพราะเซลล์มะเร็งไปปิดกั้นทางเดินของน้ำดีที่ไหลผ่านตับอ่อน***

 วิธีการรักษาโรคมะเร็งตับอ่อน
   หากตรวจพบ หมอจะประเมินว่าอยู่ในวิสัยที่สามารถตัดออกได้หรือไม่ ซึ่งการผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด แม้มะเร็งตับอ่อนจะมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับมะเร็งชนิดอื่น เช่น มะเร็งเต้านม แต่ก็เป็นมะเร็งที่มีฤทธิ์ร้ายแรงมาก หากวินิจฉัยช้า โอกาสในการผ่าตัดรักษาก็จะยิ่งยุ่งยากมากขึ้น

 รู้ไว้ ไกลโรค
   ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งตับอ่อนหรือมะเร็งชนิดใด ๆ ก็ตาม ล้วนเป็นโรคร้ายแรง ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการป้องกัน โดยไม่นำสารพิษ เช่น เหล้า บุหรี่ เข้าสู่ร่างกาย หลีกเลี่ยงยาฆ่าแมลง รับประทานผัก ผลไม้ และอาหารที่อุดมด้วยวิตามินให้ครบส่วนและเมื่อรู้ตัวว่าเป็นโรคจะต้อง ปฏิบัติตัวตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด และคนในครอบครัวควรให้การดูแลและเป็นกำลังใจสำคัญ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยสามารถต่อสู้กับโรคร้ายต่อไปได้

   แพทย์ผู้ให้ข้อมูล : ผศ.นพ.ธัญเดช นิมมานวุฒิพงษ์ แพทย์หัวหน้าศูนย์ศัลยกรรม เทคโนโลยีชั้นสูง (ASIT) โรงพยาบาลพญาไท

มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน ข้อมูลน่ารู้และวิธีการรักษาโรค

เรื่องเล่าเกี่ยวกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
     ถึงแม้จะมีอายุเพียง  38  ปี  แต่หนุ่มไฟแรงอย่างกำธรก็ต้องแบกรับภาระหน้าที่อันสำคัญของบริษัท  เพราะเขาเป็นหนึ่งเดียวที่ทุกคนฝากความหวังไว้ว่าจะนำพาชื่อเสียงและความ สำเร็จมา
     เช้าวันเริ่มต้นของสัปดาห์  ขณะตั้งใจทำงานอย่างขะมักเขม้น  จู่ๆ  เขารู้สึกอ่อนล้าอย่างที่ไม่เคยเป็น  เมื่อกลับถึงบ้านก็พบว่าตัวเองมีไข้อ่อน ๆ  จึงรีบเข้านอน  แต่เมื่อตื่นขึ้นในช่วงวันใหม่ไข้อ่อน ๆ  นั้นก็ยังไม่ยอมลด  ด้วยความกังวลในงาน  เขาจึงรีบอาบน้ำแต่งตัวออกไปทำงานเช่นเคย  และในคืนที่ 3 ก่อนเข้านอน เขาแปรงฟันและพบเลือดออกตามไรฟัน
     แล้ววันสุดท้ายของสัปดาห์ก็มาถึงพร้อมๆ กับการนัดหมายประชุมสรุปงานในอีกไม่กี่วันข้างหน้า  ในวันหยุดเขาจึงนอน
พักผ่อนเป็นการเพิ่มพลังให้ตัวเอง  วันนั้นเขาพบรอยช้ำที่หลังมือโดยไม่ทราบสาเหตุ  และเช้าวันรุ่งขึ้น  รอยช้ำนั้นก็ขยายใหญ่กว่าเดิมเป็นเท่าตัว  นับจากวันที่มีไข้อ่อนๆ จนถึงวันนี้ เป็นเวลา 7 วันพอดี  สิ่งที่เขาพบในเช้าวันนั้นคือรอยช้ำที่มือขยายใหญ่ขึ้นอย่างมากและลามไปที่ แขนอย่างน่าตื่นตระหนก  เกิดอะไรขึ้นกับแขนของเขา

 กลุ่มเสี่ยง
     มะเร็งเม็ดเลือดขาว มี 2 ชนิดคือ ชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันมี สาเหตุการเกิดไม่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเกิดจากภาวะผิดปกติของพันธุกรรม บางอย่าง  ทำให้เซลล์ต้นกำเนิดกลายพันธุ์นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคทางพันธุกรรมบางอย่าง ก็ทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันได้มากขึ้น รวมถึงการได้ รับสารเคมีบางอย่าง

 อาการที่พึงระวัง
     อาการไข้อ่อนๆ  เลือดออกตามไรฟันเกิดรอยช้ำโดยไม่ทราบสาเหตุ  สัญญาณเตือนที่สำคัญของโรคนี้คือรอยฟกช้ำที่ขยายใหญ่ขึ้น  ซื่งเกิดจากการที่มีเลือดออกไม่หยุดภายในร่างกาย  รอยจ้ำที่เกิดขึ้นสามารถเป็นได้ทุกส่วนในร่างกาย
     สำหรับผู้หญิงที่มีประจำเดือน  หากเป็นโรคนี้  ประจำเดือนอาจจะออกมากเพราะเกล็ดเลือดต่ำ

 ลักษณะของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
     โรคลูคีเมียชนิดเฉียบพลัน หรือมะเร็งเม็ดเลือดชนิดเฉียบพลัน  (Acute  Leukemia)  เกิดจากการที่ปริมาณเม็ดเลือดแดง  เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดปกติมีจำนวนน้อยลง เนื่องจากเซลล์มะเร็งเพิ่ม จำนวนมากและรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ  ตามมาในกรณีที่ร้ายแรงมากๆอาจทำให้หลอดเลือดในสมองแตก หรือมีเลือดออกในปอด
     ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือด 3 ชนิดที่สำคัญ ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือด หน้าที่ปกติของเม็ดเลือดแดงคือ  ช่วยในการนำพาออกซิเจนไปสู่เนื้อเยื่อต่างๆทั่วร่างกาย จากปอดไปสู่เนื้อ เยื่อต่าง ๆ  ทำให้เราสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ เมื่อเลือดไปเลี้ยงสมอง  ทำให้เราคิดอะไรต่างๆได้ เลือดไปเลี้ยงหัวใจทำให้หัวใจทำงานได้ยามเมื่อเราออกกำลังกาย  และเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย
     เกล็ดเลือดมีหน้าที่ในการช่วยห้ามเลือด สังเกตว่าถ้ามีบาดแผลเล็กๆ เพียงไม่กี่นาทีเลือดก็จะหยุดไหล  หรือเอาพลาสเตอร์แปะก็หยุด  แล้วแต่  บางคนมีบาดแผลแล้วเลือดไหลไม่หยุดเป็นเวลานาน  เป็นสัญญาณว่าร่างกายอาจมีปัญหาเรื่องเกล็ดเลือดต่ำ  และอาจทำให้เกิดจ้ำเลือดโดยไม่ทราบสาเหตุ  หรือเลือดซึมออกตามไรฟันโดยไม่มีการแปรงฟัน
     ส่วนเม็ดเลือดขาวถูกสร้างมาจากไขกระดูกเช่นเดียวกับเม็ดเลือดแดง  ทำหน้าที่หลักเกี่ยวกับการทำลายเชื้อโรคแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย  เมื่อใดที่เม็ดเลือดขาวมีจำนวนน้อยลง  ร่างกายก็จะมีการติดเชื้อง่าย  ทำให้มีภูมิต้านทานน้อยมีไข้อ่อน ๆ  และอ่อนเพลีย
     โดยทั่วไปร่างกายจะต้องมีปริมาณเม็ดเลือดขาวอยู่ที่  4,000-10,000  แต่คนที่เป็นโรคนี้  ค่าของเม็ดเลือดขาวอาจจะอยู่ที่  100,000 - 200,000  หากมีเม็ดเลือดขาวจำนวนมากจะทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนทำให้อันตรายจนถึงขั้น เสียชีวิตได้

     ***เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติได้สลายเอาสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่กระแสเลือด***
     ***รอยฟกช้ำที่ขยายใหญ่ขึ้นจากเลือดที่ไหลไม่หยุดในร่างกาย***

 วิธีการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
     เข้ารับการเจาะตรวจนับเม็ดเลือด  (CBC)  เพื่อหาสภาวะเสี่ยง  การตรวจ  CBC  จะช่วยบอกความผิดปกติของเลือด  3
อย่างด้วยกัน  ได้แก่  เม็ดเลือดขาว  เม็ดเลือดแดง  และเกล็ดเลือด
     กรณีของกำธรเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันชนิดที่พบได้ไม่บ่อย  (ชนิด  Acute  Promyclocytic  Leukemia)
แต่เป็นชนิดที่มีผลการรักษาดีมากในปัจจุบัน  คือ  ต้องลดปริมาณของตัวมะเร็งให้ได้มากที่สุดด้วยการให้ยารับประทาน  ซึ่ง
เป็นสารที่ช่วยในการกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติกลับมา เป็นเซลล์ที่ปกติได้  แต่ต้องให้ควบคู่กับยาเคมีบำบัด  ทำให้คนไข้มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันมีโอกาสหายขาดได้
     นอกจากนี้  การที่กำธรรีบไปพบแพทย์  จะทำให้รักษาได้ทันการภายในเวลาครึ่งปี

 รู้ไว้  ไกลโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
     ลักษณะสำคัญของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน  คือ  ความเร็วในการพัฒนาของโรค  เมื่อใดที่เกิดโรคนี้ขึ้นแล้วจะสามารถพัฒนาภายใน  1  เดือน  ดังนั้นเมื่อเป็นแล้วสิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ  คือ
     1.  เลือดออกง่าย  ต้องไม่ให้มีบาดแผล  ทำอะไรต้องระวังอย่าไปชนกรือกระแทกกับอะไร
     2.  ติดเชื้อง่าย  ต้องดูแลเรื่องของสภาพแวดล้อม  พยายามอย่าเดินเท้าเปล่าเพราะหากโดนสะเก็ดหินหรืออะไรตำ  ถึงแม้จะมีขนาดเล็กน้อย  แต่ทำให้เป็นช่องทางเปิดรับเชื้อโรคและอาจทำให้เลือดไหลไม่หยุด  ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล  และอาจต้องให้ยาปฏิชีวนะและขอรับเกล็ดเลือดหากเกล็ดเลือดต่ำมาก

     แพทย์ผู้ให้ข้อมูล : นพ.ต้นตนัย นำเบญจพล อายุรแพทย์ที่ปรึกษาด้านมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลพญาไท  2

มะเร็งรังไข่ ลักษณะและวิธีรักษาโรคมะเร็งรังไข่

เรื่องเล่าเกี่ยวกับโรคมะเร็งรังไข่
    จันทิมา อายุ 35 ปี เธอเป็นคนที่รักเด็กมาก หลังจากแต่งงานได้ 10 ปี เธอก็มีลูกสมใจ แต่หลังจากนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง เธอรู้สึกปวดท้องประจำเดือนอยู่เสมอ อันที่จริงแล้วก่อนตั้งครรภ์ประมาณ 1 ปี เธอได้ไปรับการตรวจภายใน และผลตรวจที่ออกมา เธอเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เธอจึงไปพบหมอและได้รับคำแนะนำว่า มีผู้หญิงเป็นโรคนี้มากถึง 1 ใน 5 ต้องอาศัยการดูแลตัวเองเป็นพิเศษ เพราะอาจส่งผลให้เป็นหมันได้ ซึ่งเธอก็ปฏิบัติตามที่หมอสั่งอย่างเคร่งครัด ครึ่งปีหลังจากนั้น เธอก็ตั้งครรภ์อย่างที่ต้องการ แต่แล้วก็เกิดอาการปวดท้องประจำเดือนขึ้นมาอีกครั้ง แถม 1 ปี ให้หลังกางเกงที่เคยใส่ได้เป็นปกติก็กลับใส่ไม่ได้ และเธอยังปวดบริเวณท้องน้อยทั้งที่ยังไม่ถึงช่วงมีประจำเดือน สำคัญคือตั้งแต่เธอคลอดลูก 2 ปีนี้ เธอยังไม่เคยไปรับการตรวจเลย ตอนนี้เธอเริ่มเกิดอาการแปลก ๆ ขึ้น เธอรู้สึกอึดอัดหายใจไม่ออกแล้วก็ไอมากขึ้น ถ้าเป็นหวัดก็จะส่งผลไม่ดีต่อลูก ดังนั้นเธอจึงไปรับการตรวจที่โรงพยาบาล และพบจุดสีขาวที่บ่งบอกถึงลางร้ายปรากฎอยู่ เธอมีเซลล์มะเร็งอยู๋ในปอด เหตุใดจึงเป็นเช่นนี้!

    กลุ่มเสี่ยง
    กลุ่มของมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุพบมากในกลุ่มคนอายุมากกว่า 50-60 ปี แต่มะเร็งรังไข่ทั่วไปสามารถพบได้ในเด็กอายุน้อยกว่า 20 ปี โดยปัจจัยทางพันธุกรรมมีส่วนเกี่ยวข้องประมาณ 20% ความเสี่ยงจะอยู่ที่กลุ่มผู้หญิงที่มีการตกไข่ต่อเนื่องโดยไม่เว้นพักการตก ไข่ เช่นการตั้งครรภ์หรือในกลุ่มคนที่ทานยาคุมกำเนิดซึ่งไปยับยั้งการตกไข่ เพราะฉะนั้นกลุ่มคนที่ทานยาคุมกำเนิดมีการศึกษาพบว่า เป็นมะเร็งรังไข่น้อยกว่ากลุ่มคนที่ไม่ได้ทานยาคุมกำเนิด
  
    อาการพึงระวัง
    ปกติการปวดประจำเดือนจะมี 2 ลักษณะคือ ปวดวันแรก หรือก่อนมีประจำเดือน 1 วัน ซึ่งหลังจากนั้นอาการจะดีขึ้น หรือเมื่อไปออกกำลังกายแล้วอาการดีขึ้นหรือปวดเล็กน้อยแต่สามารถทำงานและใช้ ชีวิตประจำวันได้ แต่หากมีอาการปวดตั้งแต่ประจำเดือนมาจนกระทั่งหมด หรือปวดรุนแรงจนตัวบิดงอต้องรีบไปพบแพทย์ รวมไปถึงคนที่เคยตรวจพบว่าเป็นโรคนี้

    ลักษณะของโรคมะเร็งรังไข่
    เยื่อบุมดลูกเป็นเยื่อที่อยู่ภายในมดลูกเมื่อใกล้ระยะเวลาไข่สุก เยื่อบุโพรงมดลูกก็จะหนาขึ้นเพื่อรอการปฏิสนธิ แต่หากไม่มีการปฏิสนธิเกิดขื้นในแต่ละเดือน เยื่อบุโพรงมดลูกจะลอกหลุดออกมาพร้อมกับเลือดกลายเป็นประจำเดือน ส่วนโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่นั้น เกิดจากการที่มีเนื้อเยื่อเกิดขึ้นนอกมดลูกตามที่ต่าง ๆ เช่น บริเวณรังไข่ เมื่อมีประจำเดือน เยื่อบุมดลูกจะขยายตัว กรณีที่ไปอยู่ในบริเวณที่มีเส้นประสาทรองรับ เช่น อยู่ด้านหลังมดลูก ก็จะทำให้เกิดอาการปวดท้องประจำเดือนและเสื่ยงต่อการเป็นหมันได้ ทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลว่าจะไม่สามารถมีบุตรได้
    ส่วนการเกิดมะเร็งในรังไข่ซึ่งมีความร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตนั้น มีสาเหตุเริ่มต้นมาจากการปวดประจำเดือนหลังคลอดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญผิดที่ หากอักเสบเรื้อรังไม่ได้รับการรักษาก็จะเปลี่ยนไปเป็นโรคมะเร็งได้ โดยเซลล์มะเร็งจะทำให้ท้องน้อยขยายใหญ่ขึ้นและมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง แม้จะไม่ใช่เวลาของการมีประจำเดือนซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายบ่งบอกถึงอาการของ โรคมะเร็งรังไข่ ซึ่งลักษณะพิเศษของมะเร็งรังไข่ก็คือ เซลล์มะเร็งจะแพร่ขยายอย่างรวดเร็ว และเนื่องจากมีอาการแสดงให้เห็นน้อยทำให้ไม่สามารถสังเกตได้ง่าย ทำให้หลายคนที่เป็นโรคนี้กว่าจะตรวจรู้ว่าเป็นมะเร็งก็ลามไปถึงปอดแล้ว ส่วนสาเหตุของมะเร็งที่รังไข่นั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าการบริโภคไขมันจากสัตว์ในปริมาณมากเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็ง รังไข่
    อาการของโรคมะเร็งแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 ตัวมะเร็งจะอยู่เฉพาะในรังไข่ ซึ่งสามารถรักษาได้โดยการผ่าตัด แต่ส่วนใหญ่มักจะตรวจไม่พบในระยะแรกโดยกว่า 70% ของมะเร็งรังไข่จะตรวจพบเมื่อเชื้อมะเร็งเข้าสู่ระยะที่ 3 หรือ 4 ไปแล้ว เนื่องจากระยะแรก ๆ มักจะไม่มีอาการใดปรากฏให้เห็น จนกระทั่งระยะที่ 3 เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งกระจายเข้าไปในเยื่อบุช่องท้องแล้ว และเข้าไปสร้างสารน้ำต่าง ๆ ทำให้ท้องของคนไข้ขยายใหญ่อย่างรวดเร็วเนื่องจากมีน้ำในท้อง มีอาการตึงและแข็ง ส่วนระยะที่ 4 เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งกระจายอย่างรวดเร็วไปที่ปอด
    จำนวนผู้ตายจากมะเร็งรังไข่นั้น มีถึง 4,000 คนต่อปี และเพิ่มจำนวนขึ้นถึง 8 เท่าในรอบ 50 ปี ส่วนใหญ่แล้วโรค
เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบนี้เป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่ก็ไม่ควรประมาท ถ้าปล่อยปละละเลยไม่รีบรักษา อาจจะพัฒนาไปสู่โรคมะเร็งรังไข่ได้

    วิธีการรักษาโรคมะเร็งรังไข่
    เนื่องจากมะเร็งเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่สามารถป้องกันหรือยับยั้งการเกิดของโรคได้หากพบอาการผิดปกติ เช่น มีอาการปวดประจำเดือนอย่างรุนแรงหรือคนที่พบว่าเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูก ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาแต่เนิ่น ๆ ซึ่งการตรวจมะเร็งรังไข่ แพทย์จะตรวจวัดค่าของสาร CA125 ซึ่งเป็นสารที่ผลิตออกมาจากเยื่อบุอวัยวะในร่างกายเรา เช่น ตับอ่อน รวมถึงที่รังไข่ด้วย โดยค่าปกติจะอยู่ที่ 0-35 ยูนิตต่อมิลลิลิตร แต่อาจมีค่าปกติที่สูงกว่านี้แต่เป็นค่าปกติที่ไม่ได้เป็นมะเร็งก็ได้ ถ้าคนที่เป็นมะเร็งรังไข่มาตรวจ ค่าจะสูงมากกว่า 35 แต่กรณีเป็นมะเร็งในระยะที่ 1  บางทีอาจจะไม่แสดงอาการ ซึ่งหมอสามารถจะตรวจสาร CA125 เพื่อช่วยวางแผนในการผ่าตัดเผื่อในกรณีการเป็นมะเร็งไว้ด้วย เพราะลักษณะการผ่าตัดจะไม่เหมือนกัน

     รู้ไว้ ไกลโรคมะเร็งรังใข่
   หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานผักผลไม้เป็นประจำ ตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันจากสัตว์ เพราะการรับประทานไขมันจากเนื้อสัตว์ในปริมาณมากเป็นปัจจัยร่วมอย่างหนึ่ง ของการเกิดโรคมะเร็งในรังไข่
   ***เซลล์มะเร็งขยายใหญ่ขึ้นในเยื่อบุโพรงมดลูก เมื่อปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นโรคมะเร็งรังไข่***
   *** เมื่อเลือดเก่าที่ค้างอยู่ในเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่จะมีสีน้ำตาลคล้ายสีช็อกโกแลตเป็นที่มาของชื่อ "ช็อกโกแลตซิสต์"***
    
     แพทย์ผู้ให้ข้อมูล : พญ.ธิศรา วีรสมัย สูติ-นรีแพทย์ ประจำโรงพยาบาลพญาไท 1

ค้นหา