เมื่อผลเลือดท่านให้ผลบวกต่อเชื้อ HIV
แสดงว่าท่านได้รับเชื้อไวรัส HIV ในกระแสเลือดแล้ว การที่เลือดให้ผลบวกมิได้หมายความว่าท่านเป็นโรคเอดส์ ผู้ที่ได้รับเชื้อ HIV โดยทั่วไปใช้เวลา 8-10 ปีจึงจะกลายเป็นโรคเอดส์ เมื่อท่านมีเชื้อไวรัสในเลือดสิ่งที่ท่านต้องทำคือ
- ไม่แพร่เชื้อสู่ผู้อื่น เชื้อ HIV จะอยู่ในเลือด น้ำเหลือง น้ำนม น้ำหล่อลื่นของผู้ชายและผู้หญิง ท่านสามารถป้องการแพร่เชื้อโดย
- เมื่อท่านมีเชื้อ HIV, ท่านต้องป้องกันผู้อื่นได้รับเชื้อจากท่าน เช่นเพื่อนร่วมงาน ครอบครัว คู่ที่มีเพศสัมพันธ์ ท่านต้องเรียนรู้การมีเพศสัมพันธ์ที่ลดการติดเชื้อ กิจกรรมทางเพศชนิดใดที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง กิจกรรมใดที่มีความเสี่ยงต่ำ ให้สวมถุงยางคุมกำเนิดเมื่อจะร่วมเพศทั้งทางช่องคลอด ทางทวารหนัก หรือมีเพศสัมพันธ์ทางปาก
- ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น เนื่องจากท่านอาจจะแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นแล้ว ท่านอาจจะได้รับเชื้อตัวใหม่ทำให้อาการของท่านแย่ลง
- การกอดหรือจูบโดยที่ไม่มีแผล การสัมผัสจะไม่แพร่เชื้อ
- ไม่ใช้แปรงสีฟัน มีดโกนหนวด ที่ตัดเล็บร่วมกัน
- อย่าเลี้ยงลูกด้วยนมตัวเอง
- ไม่บริจาคเลือดให้แก่ผู้อื่น
- การใช้โถส้วม การใช้แก้ ชาม ร่วมกัน ไม่ทำให้ติดเชื้อสู่ผู้อื่น
- การดูแลสุขภาพตัวเองให้แข็งแรงซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่1เลือกแพทย์และพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อแพทย์จะได้พิจารณาให้ความรู้และการรักษา แพทย์จะเจาะเลือดท่านเพื่อตรวจดูระยะของโรคโดยจะเจาะหา CD4-T cell และ viral load น้อยจากนั้นแพทย์จะตรวจหาการติดเชื้อฉวยโอกาสเพราะผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันลดลงมีโอกาสติดเชื้อฉวยโอกาส เช่นวัณโรค และปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวัคซีนที่ต้องฉีด
ขั้นที่2 ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีการรักษาใหม่ๆ
- ปัจจุบันมียาต้านไวรัส HIV ซึ่งสามารถชะลอการเกิดโรคเอดส์ยาบางชนิดยับยังการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสทำให้ ท่านมีสุขภาพสบายขึ้น
- ปรึกษาแพทย์ว่าท่านควรจะไดรับยาอะไร
- ท่านจะต้องเรียนรู้โรค HIV การรักษา ท่านต้องรู้จักT cells, ระบบภูมิคุ้มกัน(the immune system) และปริมาณเชื้อไวรัส( viral load)เพื่อพิจารณาให้การรักษา
- เมื่อไรจะเริ่มรักษาเมื่อสมัยก่อนเมื่อเจอเลือดให้ผล บวกก็จะให้ยาหลายขนาน แต่ปัจจุบันการพิจารณาว่าจะเริ่มให้ยาเมื่อไรจะพิจารณาจากปริมาณCD4 และปริมาณเชื้อในเลือด(viral load or HIV PCR RNA or HIV bDNA)
- การเลือกวิธีการรักษา เมื่อผลเลือดบ่งว่ายังไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยยา ท่านต้องเจาะเลือดทุก 3 เดือนเพื่อติดตามโรคโดยใกล้ชิดหากผลเลือดของท่านมีเซลล์ CD 4ต่ำจำเป็นต้องรักษาขณะนี้มียา 14 ชนิดสำหรับรักษาโดยใช้ยาหลายชนิดรวมกัน(cocktail) เมื่อท่านตัดสินใจรักษาท่านต้องจำไว้ว่าต้องรับประทานยาสม่ำเสมอมิฉะนั้น เชื้อจะดื้อยาซึ่งจะเป็นผลเสียต่อท่าน
- เรียนรู้ผลข้างเคียงของยา ยาแต่ละชนิดในแต่ละกลุ่มจะมีผลข้างเคียงของยาไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่มักจะเป็นระยะสั้นโดยมากไม่เกินสัปดาห์ แพทย์จะสอนวิธีจัดการกับผลข้างเคียงของยา ยาบางชนิดอาจจะมีผลข้างเคียงมากและอันตรายท่านต้องเฝ้าติดตาม หากมีอาการผลข้างเคียงท่านต้องรีบปรึกษาแพทย์
ขั้นที่3 เตรียมข้อมูลก่อนพบแพทย์
- ผู้ที่ติดเชื้อ HIV ต้องเตรียมข้อมูลก่อนไปพบแพทย์อะไรบ้าง
ในการวางแผนการรักษาแพทย์ต้องทราบรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยเพื่อที่จะทำการรักษาได้เหมาะสม
- โรคประจำตัวที่เป็นอยู่
- อาการของโรคที่เกิดใหม่
- วันที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ HIV ระยะเวลาที่เป็นโรค HIV ปกติผู้ที่ได้รับเชื้อ HIV จะกลายเป็นโรคเอดส์ใช้เวลา 9-11 ปี
- ปัจจุบันรับประทานยาอะไร
- ประวัติการป่วยเป็นวัณโรค โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ตับอักเสบ การได้รับเลือด ผู้ที่เคยเป็นวัณโรคหากไม่ได้รับยาป้องกัน อาจจะทำให้เป็นวัณโรคซ้ำ
- เคยได้รับการรักษาโรคเอดส์มาก่อนหรือไม่ ชื่อยาอะไร รักษาเมื่อไร นานแค่ไหน มีผลข้างเคียงอะไร
- ประวัติการฉีดวัคซีน เช่นป้องกันตับอักเสบ วัคซีนป้องกันโรคปอดบวม
- ประวัติการแพ้ยา
- ประวัติพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เช่นการใช้ยาเสพติด การมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้ป้องกัน
- การทำงาน ฐานะ
ขั้นที่4 การเฝ้ามองสุขภาพ
โรคเอดส์ก็เหมือนกับโรคทั่วๆไปคือจะมีอาการเตือน ถ้าหากท่านมีอาการดังต่อไปนี้โปรดไปปรึกษาแพทย์เพื่อรักษา อาการดังกล่าวอาจจะไม่ใช่อาการของเอดส์ แต่จำเป็นต้องรักษา
- มีก้อนที่คอ รักแร้ ขาหนีบ
- ฝ้าขาวในปากหรือลิ้น
- รอยช้ำเขียวที่ผิวหนัง
- ไข้และท้องร่วง
- น้ำหนักลด
- ไอและหายใจหอบ
- เหงื่อออกกลางคืน
- ปวดศีรษะอย่างแรง
- ตกขาวไม่หาย
ขั้นที่ 5 ดูแลสุขภาพตัวเอง
- รับอาหารที่มีคุณภาพ ปรึกษาแพทย์ว่าอาหารที่ควรและไม่ควรรับประทาน
- ผักผ่อนให้เต็มที่
- งดสุราและบุหรี่เพราะจะทำให้ท่านมีภูมิคุ้มกันที่แย่ลง
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ให้ทำจิตใจให้ผ่องใส
การป้องกันการติดเชื้อ HIV
วิธีการป้องกันการติดเชื้อโรคเอดส์ที่ดีที่สุดคือการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ เช่น
การฉีดยาเสพติดเข้าเส้น การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย หากเราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้จะสามารถลดการเกิดอัตราติดเชื้อเหมือนที่ประเทศไทยประสบผลสำเร็จในการให้ใช้ถุงยาง 100 % เนื่องจากยังไม่มีการรักษาหรือวัคซีนที่ป้องกันโรคดังนั้นทุกคนจะต้องเรียนรู้วิธีป้องกันโรค
ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV
สมัยก่อนผู้ที่ติดเชื้อมักจะเป็นพวกรักร่วมเพศ หรือฉีดยาเสพติดเข้าเส้น ปัจจุบันพบว่าการติดเชื้อHIV พบได้ใน วัยรุ่น คนทำงาน ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่น แม่บ้าน คือสามารถพบได้ทั่วๆไป ดังนั้นทุกคนเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV หากไม่ป้องกันหรือประมาท โดยเฉพาะผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
การป้องกันการติดเชื้อ HIV จากเพศสัมพันธ์
การติดเชื้อ HIV จะสามารถติดต่อทางเยื่อเมือก (mucous membranes)เช่น ปลายอวัยวะเพศชาย ปาก ทวารหนัก ช่องคลอด หากเยื่อเมือกเหล่านี้ได้รับเชื้อ HIV จาก น้ำอสุจิ น้ำหล่อลื่นของทั้งหญิงและชาย เลือด ทำให้เกิดการติดเชื้อได้
- วิธีป้องกันที่ได้ผลมากที่สุดแต่ทำยากที่สุดคือการไม่มีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น
- ป้องกันตัวเองทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางที่ทำจากยาง latex condom หรือ dental dam หากแพ้ยาง latex ให้ใช้ชนิด polyurethane condoms นอกจากการเลือกใช้ชนิดของถุงยางแล้ว ต้องเรียนรู้วิธีใช้ที่ถูกต้อง ห้ามใช้สารหล่อลื่นที่เป็นไขมันเพราะจะทำให้ถุงยางรั่ว
กิจกรรมอะไรที่เสี่ยงและไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV
- การช่วยตัวเอง การกอดรัดเล้าโลม การจูบ พวกนี้มีโอกาสการติดเชื้อต่ำ
- การมีเพศสัมพันธ์ทั้งทางทวารและช่องคลอดจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง
- การมีเพศสัมพันธ์ทางปากก็มีความเสี่ยง ดังนั้นต้องใส่ถุงยางป้องกัน
การป้องกันการติดเชื้อสำหรับผู้ที่ฉีดยาเสพติดเข้าเส้น
เชื้อ HIV สามารถติดต่อผ่านทางเข็มฉีดยาที่ใช้ร่วมกัน เข็มดังกล่าวจะปนเปื้อนเลือด ดังนั้นวิธีป้องกันการติดเชื้อทำได้ดังนี้
- หยุดยาเสพติดและเข้ารับการบำบัดเพื่อหยุดยาเสพติด
- หลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ให้ใช้เข็มใหม่ทุกครั้ง
- สำหรับผู้ที่ยังไม่เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เข็มร่วมกัน ก็ให้ล้างเข็มให้สะอาดด้วยน้ำโดยการฉีดล้างกระบอกฉีดยา และแช่เข็มในน้ำยาฆ่าเชื้อ 1 นาที
การป้องกันการติดเชื้อ HIV ในคนท้อง
เด็กที่คลอดจากแม่ที่มีเชื้อ HIV สามารถรับเชื้อจากแม่ขณะตั้งครรภ์ และการคลอด ปัจจุบันหากทราบว่าคนท้องมีเชื้อ HIV สามารถให้ยา AZT ซึ่งสามารถลดอัตราการติดเชื้อลง
การป้องกันการติดเชื้อ HIV หลังสัมผัสโรค
ทางการแพทย์มีประสบการณ์เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อ HIV หลังสัมผัสโรคโดยศึกษาในเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขที่ถูกเข็มตำ พบว่าหากให้ AZT หลังถูกเข็มตำจะสามารถลดอุบัติการณ์ลงได้ร้อยละ 80 จากความรู้นี้สามารถนำมาใช้กับการสัมผัสโรคHIVโดยทางเพศสัมพันธ์ ก็น่าจะให้ยาป้องกันได้ การป้องกันดีที่สุดคือไม่มีเพศสัมพันธ์ การใส่ถุงยาง การมีเพศสัมพันธ์แบบ safer sexual practices หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยง สำหรับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้ป้องกันไม่ว่าทางทวารหรือทางปกติ oral sex กับผู้ที่ติดเชื้อ HIV หรือกลุ่มเสี่ยง เช่นผู้ที่ติดยาเสพติด รักร่วมเพศ ควรจะได้รับยาป้องกันภายใน 3 วันหลังสัมผัส และหากท่านทราบว่าตัวเองติดเชื้อ HIV และไปร่วมเพศกับคนที่ไม่ได้ติดเชื้อท่านต้องแจ้งให้คู่ขาทราบภายใน 72 ชั่วโมงเพื่อที่คู่ขาจะได้รับยาป้องกันการติดเชื้อ HIV
การบริจาคเลือด
ผู้ที่ติดเชื้อ HIV ห้ามบริจาคเลือดโดยเด็ดขาด
สมัยก่อนผู้ที่ได้รับเชื้อ HIV จะมีการดำเนินของโรคอย่างช้าทำลานระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และจะกลายเป็นโรคเอดส์ทุกรายภายใน 10 ปี
ปัจจุบันมีการพัฒนาการรักษาโรคติดเชื้อ HIV ทำให้เกิดการเปลี่ยนแนวความคิดที่ว่ารักษาไม่ได้เป็นโรคเรื้อรังที่สามารถควบคุมอาการ
การวินิจฉัยโรค
ประโยชน์ของการตรวจเลือดเพื่อทดสอบโรคติดเชื้อ HIV
- เพื่อค้นหาผู้ป่วยใหม่เพื่อที่จะได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มเป็น
- สำหรับผู้ที่ผลทดสอบแล้วไม่ติดเชื้อก็จะได้รับคำแนะนำป้องกันโรคติดเชื้อ HIV
- เป็นการติดตามการระบาด
- วางแผนป้องกันการระบาด
จุดประสงค์ในการตรวจวินิจฉัยคือ
- เพื่อการวินิจฉัยที่แน่นอนสำหรับการวางแผนการรักษา
- ลดปัจจัยเสี่ยงหรือผลข้างเคียงจากการรักษา
- เพื่อคัดเลือกกลุ่มคนที่สมควรได้รับการรักษา
ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ที่ไปพบแพทย์มีกี่รูปแบบ
- ผู้ป่วยที่สัมผัสโรคแล้วไปพบแพทย์ทันที เช่นถูกเข็มตำ ร่วมเพศคนที่ไม่ทราบว่าติดเชื้อหรือไม่หรือร่วมเพศกับคนที่ติดเชื้อ HIV
- ผู้ที่มีอาการติดเชื้อ HIV ครั้งแรก primary HIV infection โดยจะมีอาการไข้สูงปวดตามตัว อ่อนเพลีย เจ็บคอ น้ำหนักลด ครั้นเนื้อครั้นตัว คลื่นไส้ ต่อมน้ำเหลืองโต มีผื่นตามลำตัว
- ผู้ที่รู้ว่าติดเชื้อ HIV มานานแต่ยังไม่พร้อมที่จะปรึกษาแพทย์ และเปลี่ยนการตัดสินใจเพื่อรักษา
- ผู้ที่มาด้วยอาการของโรคเอดส์
ประโยชน์ที่ผู้ที่เชื้อ HIV ไปพบแพทย์มีดังนี้
- ยืนยันการวินิจฉัยที่ผ่านมาว่าถูกต้อง
- ได้รับการสอนวิธีการที่จะได้รับเชื้อHIV และวิธีการป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น
- ค้นหาปัญหาที่ต้องรีบรักษา
- ค้นหาปัญหาเรื้อรังที่ต้องรักษา
- ค้นหาปัญหาที่ต้องส่งตัวไปรักษายังผู้เชี่ยวชาญ
- ประสภาวะว่าผู้ป่วยติดเชื้ออยู่ในระยะไหน
- ประเมินพยากรณ์ของโรค
- ตรวจร่างการเป็นพื้นฐานเพื่อไว้เปรียบเทียบกับอนาคต
- ได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับข้อบ่งชี้ในการรักษา
- ค้นหาภาวะที่ต้องให้ยาป้องกันโรคติดเชื้อบางชนิด
- วางแผนการรักษาระยะยาว
ผู้ที่ติดเชื้อ HIV ต้องเตรียมข้อมูลก่อนไปพบแพทย์อะไรบ้าง
ในการวางแผนการรักษาแพทย์ต้องทราบรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยเพื่อที่จะทำการรักษาได้เหมาะสม
- โรคประจำตัวที่เป็นอยู่
- อาการของโรคที่เกิดใหม่
- วันที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ HIV ระยะเวลาที่เป็นโรค HIV ปกติผู้ที่ได้รับเชื้อ HIV จะกลายเป็นโรคเอดส์ใช้เวลา 9-11 ปี
- ปัจจุบันรับประทานยาอะไร
- ประวัติการป่วยเป็นวัณโรค โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ตับอักเสบ การได้รับเลือด ผู้ที่เคยเป็นวัณโรคหากไม่ได้รับยาป้องกัน อาจจะทำให้เป็นวัณโรคซ้ำ
- เคยได้รับการรักษาโรคเอดส์มาก่อนหรือไม่ ชื่อยาอะไร รักษาเมื่อไร นานแค่ไหน มีผลข้างเคียงอะไร
- ประวัติการฉีดวัคซีน เช่นป้องกันตับอักเสบ วัคซีนป้องกันโรคปอดบวม
- ประวัติการแพ้ยา
- ประวัติพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เช่นการใช้ยาเสพติด การมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้ป้องกัน
- การทำงาน ฐานะ
- การตรวจเลือดทั่วไปอาจจะพบว่าผู้ป่วยเป็นโรคโลหิตจางได้เล็กน้อย หากโลหิตจางมากต้องหาสาเหตุเพิ่มเติม นอกจากโลหิตจางยังพบว่าเม็ดเลือดขาวจะต่ำกว่าปกติส่วนใหญ่เม็ดเลือดขาวจะอยู่ระหว่าง 2,000 to 3,500 cells/mm3 และถ้าหากเม็ดเลือดขาวต่ำมากต้องตรวจหาว่ามีการติดเชื้อ มะเร็งหรือเกิดจากยา เกร็ดเลือดก็จะต่ำแต่มักจะไม่มีเลือดออกผิดปกติ
- การตรวจหาปริมาณเซลล์ CD4 T lymphocyte ก็มีประโยชน์ในการพยากรณ์โรค เนื่องจากเชื้อ HIV จะทำลายภูมิคุ้มกันโดยการทำลายเซลล์ CD4 T lymphocyte หากโรคเป็นมากเซลล์ CD4 T lymphocyte จะต่ำ หากรักษาได้ผล CD4 T lymphocyte จะสูงขึ้น
- การตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัส viral load หรือที่เรียกว่า plasma HIV RNA เป็นการตรวจหาตัวเชื้อไม่ใช่ภูมิ การตรวจชนิดนี้จะให้ผลบวกก่อนที่ภูมิจะขึ้นการตรวจนี้จะมีประโยชน์อย่างมากดังนี้
- เป็นตัวบอกว่าโรคจะดำเนินไปเร็วแค่ไหน
- เป็นตัวที่จะบ่งชี้ว่าจะเริ่มต้นรักษาหรือเปลี่ยนแปลงการรักษา
- เป็นการตรวจการติดเชื้อ HIV ก่อนที่ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อHIV จะขึ้น
- การตรวจหาทั้งภูมิและเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีและ ซี เนื่องจากลักษณะการติดเชื้อคล้ายกัน การตรวจหาเชื้อและภูมิเพื่อจะได้แนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันตัวเองและการติดเชื้อไปยังผู้อื่น ถ้าไม่มีภูมิหรือเชื้อก็แนะนำให้ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกัน
- การตรวจตับและไตก็เพื่อจะทราบข้อมูลพื้นฐานและเพื่อการปรับยาที่ใช้รักษา
- การทดสอบการติดเชื้อวัณโรคทางผิวหนังก็มีความจำเป็น ผู้ที่ให้ผลบวกตั้งแต่ 5 มม.ขึ้นไปควรจะได้รับการตรวจรังสีทรวงอก การตรวจเสมหะหาเชื้อวัณโรค และการต้องได้รับยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อวัณโรคได้แก่ยา INH วันละ 300 มิลิกรัมและวิตามิน บี 6เป็นเวลา 12 เดือน
ประเมินพยากรณ์ของโรค
การประเมินพยากรณ์หมายถึงการคาดการณ์ว่าโรคจะดำเนินเปลี่ยนแปลงเร็งแค่ไหน เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าผู้ที่ได้รับเชื้อ HIV หากไม่ได้รับการรักษาจะดำเนินเป็นโรคเรื้อรังโดยทั่วไปใช้เวลา 10 ปีตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งกลายเป็นโรคเอดส์ ตั้งแต่ได้รับเชื้อ HIV เชื้อก็จะเจริญแบ่งตัวอยู่ตลอดเวลา มีการกลายพันธ์และในที่สุดก็ไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
การที่เราต้องรู้ว่าขณะนี้ผู้ได้รับเชื้อเป็นโรคขั้นไหน และการคาดการณ์ว่าโรคจะดำเนินเร็วแค่ไหนก็เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจให้ การรักษา และเพื่อที่จะได้ประเมินพยากรณ์ของโรค เครื่องบ่งชี้ว่าโรคจะดำเนินเร็วได้แก่
- อาการของโรค ผู้ที่มีอาการทั่วไปเช่น น้ำหนักลด อ่อนเพลียและมีอาการของโรคเอดส์เช่น เชื้อราในปาก เป็นงูสวัส ติดเชื้อแบคทีเรีย หรือติดเชื้อฉวยโอกาส
- การที่ระดับเซลล์ CD4 ลดลงอย่างรวดเร็ว เช่นลดลงมากกว่า 100 cells/mm3 ใน 6 เดือน
การเจาะ CD4-T lymphocyte
ปกติเราจะมีเซลล์ CD4-T lymphocyte ประมาณ 500-13000 cells/mm3 ได้มีการใช้ปริมาณเซลล์CD4-T lymphocyte เป็นตัวบอกระยะของโรคแต่ต้องระวังเพราะปริมาณเซลล์ผันแปรตามเวลาที่เจาะ และการติดเชื้อรวมทั้งสุขภาพถ้าหากค่าสูงหรือต่ำไปต้องเจาะเลือดเพื่อยืนยัน อีกครั้ง ปริมาณเซลล์ CD4-T lymphocyte ที่เจาะเป็นระยะจะมีประโยชน์มากกว่าการเจาะครั้งเดียวเพราะสามารถบอกการ เปลี่ยนแปลงของปริมาณเซลล์ได้ นอกจากจะใช้ปริมาณเซลล์แล้วยังใช้ %ของCD4-T lymphocyte แต่ส่วนใหญ่นิยมใช้ปริมาณเซลล์
ปัจจุบันเราใช้ปริมาณเซลล์ CD4-T lymphocyte และปริมาณเชื้อ viral load หรือ HIV RNA มาเป็นตัวบอกระยะและพยากรณ์ของโรค
- ผู้ที่มีปริมาณเซลล์ CD4-T lymphocyte มากว่า 500 cells/mm3จะมีโอกาสเสี่ยงต่ำในการเกิดโรคเอดส์และโรคแทรกซ้อนอื่นใน 3 ปี
- ผู้ที่มีปริมาณเซลล์ CD4-T lymphocyte 200-500 cells/mm3 จะมีความเสี่ยงปานกลาง
- ผู้ที่มีปริมาณเซลล์ CD4-T lymphocyte <200 cells/mm3 จะมีความเสี่ยงสูง
การเจาะตรวจ CD4-T lymphocyte ควรจะเจาะทุก 3-6 เดือนขึ้นกับสภาพของผู้ป่วย ผู้ที่เจาะได้เซลล์ปริมาณน้อยก็ต้องเจาะถี่ ส่วนผุ้ที่มีเซลล์มากก็เจาะทุก 6 เดือน
การตรวจหาปริมาณเชื้อ Viral Load (HIV RNA) Assays
เป็นการตรวจที่มีประโยชน์มากที่สุดในการบอกระยะของโรคและการดำเนินของโรค สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV อาจจะมีปริมาณเชื้อ HIV RNA น้อยมากจนตรวจไม่พบหรืออาจจะมีมากเป็นล้าน โดยทั่วไปหากมีปริมาณเชื้อ 10000-50000 copies/ml จะบ่งบอกว่าโรคกำลังดำเนินโรคอย่างรวดเร็ว ถ้าหากกำลังรักษาด้วยยาแสดงว่ายานั้นรักษาไม่ได้ผล ปริมาณเชื้อน้อยกว่า 5000 copies/ml แสดงว่ามีปัจจัยเสี่ยงต่ำและโรคจะยังไม่ลุกลามใน 5 ปี
HIV RNA สามารถตรวจพบก่อน แอนติเจนและก่อนภูมิคุ้มกัน(HIV antigen and HIV antibody)มักจะตรวจพบภายในสัปดาห์ การที่ตรวจไม่พบ HIV RNA ไม่ได้หมายความว่าหายเนื่องจากอาจจะมีปริมาณน้อยมาก และเชื้อ HIV ส่วนหนึ่งอยู่ในต่อมน้ำเหลือง ข้อควรระวังสำหรับผู้ที่ติดเชื้อ HIV อาจจะตรวจพบว่าค่า HIV RNA เพิ่มขึ้นจากการติดเชื้อหวัด การเจาะเลือดตรวจควรจะเจาะเวลาเดียวกัน ใช้วิธีการตรวจเหมือนกัน
ข้อบ่งชี้ในการเจาะเลือดหาปริมาณเชื้อ Load (HIV RNA) Assays
ข้อบ่งชี้ในการเจาะเลือด | การประเมิน | จุดประสงค์ |
ผู้ป่วยที่สงสัยจะมีการติดเชื้อ HIV | ผู้ที่ตรวจไม่พบภูมิแต่สงสัยว่าจะติดเชื้อ HIV | เพื่อการวินิจฉัย |
ผู้ที่ติดเชื้อ HIV | เป็นค่าปริมาณไวรัส HIV ก่อนรักษา | เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจรักษา |
สำหรับผู้ที่ไม่ได้รักษาให้เจาะทุก 3-4 เดือน | เพื่อดูปริมาณการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเชื้อ | เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจรักษา |
2-8 สัปดาห์หลังการรักษาด้วยยาต้านไวรัส | เพื่อประเมินประสิทธิภาพของยา | เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการเปลี่ยนยารักษา |
3-4 เดือนหลังการรักษา | เพื่อประเมินผลดีสุดของยา | เพื่อเป็นข้อมูลในการรักษาต่อ |
ทุก 3-4 เดือนขณะรักษา | ดูประสิทธิภาพของยา | เพื่อเป็นข้อมูลในการรักษาต่อ |
เจาะเมื่อระดับ CD4 ลดลง | เพื่อดูปริมาณเชื้อ | เพื่อเป็นข้อมูลในการรักษาต่อ เปลี่ยนยา |
การดำเนินของโรค
การที่แพทย์จะบอกว่าผู้ที่ติดเชื้อ HIV จะมีการเปลี่ยนแปลงของโรคเร็วแค่ไหนแพทย์จะอาศัยประวัติ การตรวจร่างกายและผลเลือดตารางแสดงปริมาณเซลล์ CD4 และปริมาณเชื้อไวรัส viral load สัมพันธ์กับการดำเนินของโรค ระยะเวลาที่จะกลายเป็นโรคเอดส์
จำนวนเซลล์CD4+ T cells <350 Plasma viral load (copies/ml) | จำนวนผู้ป่วยที่จะกลายเป็น AIDS (%) (AIDS-defining complication) | ||||
bDNA | RT-PCR | n | 3 years | 6 years | 9 years |
<500 | <1500 | - § | - | - | - |
501-3000 | 1501-7000 | 30 | 0 | 18.8 | 30.6 |
3001-10,000 | 7,001-20,000 | 51 | 8.0 | 42.2 | 65.6 |
10,001-30,000 | 20,001-55,000 | 73 | 40.1 | 72.9 | 86.2 |
>30,000 | >55,000 | 174 | 72.9 | 92.7 | 95.6 |
จำนวนเซลล์CD4+ T cells 351-500 Plasma viral load (copies/ml) | จำนวนผู้ป่วยที่จะกลายเป็น AIDS (%) (AIDS-defining complication) | ||||
bDNA | RT-PCR | n | 3 years | 6 years | 9 years |
<500 | <1500 | - | - | - | - |
501-3000 | 1501-7000 | 47 | 4.4 | 22.1 | 46.9 |
3001-10,000 | 7001-20,000 | 105 | 5.9 | 39.8 | 60.7 |
10,001-30,000 | 20,001-55,000 | 121 | 15.1 | 57.2 | 78.6 |
>30,000 | >55,000 | 121 | 47.9 | 77.7 | 94.4 |
จำนวนเซลล์CD4+ T cells >500 Plasma viral load (copies/ml) | จำนวนผู้ป่วยที่จะกลายเป็น AIDS (%) (AIDS-defining complication) | ||||
bDNA | RT-PCR | n | 3 years | 6 years | 9 years |
<500 | <1500 | 110 | 1.0 | 5.0 | 10.7 |
501-3000 | 1501-7000 | 180 | 2.3 | 14.9 | 33.2 |
3001-10,000 | 7001-20,000 | 237 | 7.2 | 25.9 | 50.3 |
10,001-30,000 | 20,001-55,000 | 202 | 14.6 | 47.7 | 70.6 |
>30,000 | >55,000 | 141 | 32.6 | 66.8 | 76.3 |
ระยะของโรค Stages of HIV Disease
มีการจัดระยะของโรคเพื่อวางแผนการรักษา แต่การจัดมีได้หลายรูปแบบ แนวทางที่แสดงเป็นแบบหนึ่ง
- Primary HIV infection: เริ่มตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งร่างกายได้สร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ HIV โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 12-20 สัปดาห์ เริ่มแรก CD4-Tจะลดลงหลังจากนั้นจะเพิ่มจนสู่ภาวะปกติ (500-1300 cells/mm3)อาจจะเกิอาการของการติดเชื้อ
- Early HIV infection:เริ่มตั้งแต่ตรวจพบภูมิต่อเชื้อ HIV จนกระทั่งการแบ่งตัวของเชื้อคงที่ ระดับ CD4-Tจำนวน CD4-T อยู่ในเกณฑ์ปกติ ผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการ
- Early-stage HIV disease:ตั้งแต่ระดับที่เชื้อไม่มีการแบ่งตัวจนกระทั่งระดับ CD4ลดต่ำกว่า 500 cells/mm3ผู้ป่วยยังไม่มีอาการ
- Middle-stage HIV disease: ระดับCD4+ T-cell อยู่ระหว่าง 200 - 500 cells/mm3; ตั้งแต่ระยะ earlyจนกระทั่ง middleใช้เวลาประมาณ 10 ปี โดยมากไม่มีอาการแต่จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ราในปาก งูสวัส วัณโรค
- Advanced HIV disease: ระดับเซลล์ CD4+ T-cell ต่ำกว่า 200 cells/mm3 จัดเป็นโรคเอดส์เต็มขั้น ผู้ป่วยจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อรา เชื้อ PCP
- Late-stage HIV disease: ระดับเซลล์ CD4+ T-cell ต่ำกว่า 50 cells/mm3; มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ MAC, CMV,เชื้อราในสมอง cryptococcal meningitis.
- Post-HAART stage: หมายถึงภาวะที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาต้านเอดส์ CD4-Tจะอยู่ระหว่าง 200-500 cells/mm3 แต่ระดับภูมิคุ้มกันยังอยู่ระดับต่ำ อาจจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาส
เมื่อสมัยก่อนใครที่มีญาติเป็นโรคเอดส์จะต้องปิดข้อมูลมิให้ใครรู้เพราะสังคมรังเกียจ ญาติใกล้ชิดก็รังเกียจกลัวติดโรคทำให้ผู้ป่วยหมดที่พึ่ง เป็นโรคก็น่าเห็นใจแล้วแต่สังคมยังรังเกียจทำให้ผู้ป่วยหมดกำลังใจ ปัจจุบันสังคมยอมรับมากขึ้นทำให้ผู้ป่วยมีกำลังใจที่จะมีชีวิตประกอบกับความรู้เกี่ยวกับโรคนี้มีเพิ่ม การค้นพบยาต้านไวรัสเอดส์ใหม่ๆทำให้ผู้ป่วยมีอายุนานขึ้น หากท่านมีญาติหรือคนรู้จักติดเชื้อ HIV ท่านต้องอ่านเพื่อที่จะไปดูแลผู้ป่วยให้มีสุขภาพที่ดีและมีอายุยืนนานขึ้นการดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV เป็นความเครียดทั้งผู้ที่เป็นและผู้ดูแล ท่านต้องเข้าใจผู้ป่วยและท่านต้องติดตามความรู้เกี่ยวกับโรคนี้เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการรักษาและการดูแล
สิ่งที่ผู้ดูแลต้องรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ HIV และโรคเอดส์
ท่านจะต้องรู้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคติดเชื้อ HIV และโรคเอดส์รายละเอียดท่านสามารถคลิกที่นี่
การดูแลผู้ป่วย
ผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์หรือติดเชื้อ HIV ต้องการพึ่งตัวเอง ท่านต้องให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ผู้ป่วยสามารถกำหนดตารางการทำงาน การรับประทานอาหาร การออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ การผักผ่อน หากผู้ป่วยสามารถปฏิบัติได้อย่างเคร่งคัดก็จะสามารถมีสุขภาพที่ดี ต้องให้ผู้ป่วยหยุดสุรา บุหรี่ และยาเสพติด
ต้องให้ผู้ป่วยอยู่อย่างส่วนตัว- พยายามให้ผู้ป่วยช่วยตัวเองให้มากที่สุดโดยเฉพาะการอาบน้ำ การรับประทานอาหาร
- ห้องที่อยู่ควรจะสะอาด แสงเข้าถึง
- ห้องที่อยู่ควรอยู่ใกล้ห้องน้ำ
- จัดทิสชู่ ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้าไว้ใกล้กับผู้ป่วยเมื่อจะหยิบใช้
- หากผู้ป่วยไม่เดินให้พยายามพลิกตัวผู้ป่วยทุกสองชั่วโมง
แผลกดทับ
ผู้ป่วยที่นอนอยู่กับที่จะเกิดแผลกดทับโดยมากมักจะเกิดบริเวณก้น ส้นเท้า สะบัก หรือบริเวณที่กดทับนานเกินสองชั่วโมง วิธีป้องกันอาจจะใช้เตียงลมหรือเตียงน้ำ เตียงลมจะมีมอเตอร์เป่าลมเข้าไปและจะเลื่อนตำแหน่งที่กดทับ อาจจะใช้แผ่น gel หรือ form รองบริเวณที่กดทับ ผ้าปูเตียงต้องแห้งไม่มีรอยย่น ต้องมั่นนวดบริเวณที่กดทับเช่น ก้น สะโพก ข้อศอก ส้นเท้า หากพบว่าผิวหนังเริ่มมีรอยแดงหรือมีแผลต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ
การออกกำลังกาย
แม้ว่าผู้ป่วยที่นอนบนเตียงก็สามารถออกกำลังกายได้ โดยการที่ผู้ดูแลขยับแขน ขา ข้อทุกข้อให้ขยับให้มากที่สุดเพื่อป้องกันข้อติด และเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังเนื้อเยื่อป้องกันแผลกดทับ
การหายใจ
หากผู้ป่วยหายใจลำบากก็ให้ผู้ป่วยนั่งเอาหมอนพิงหลัง(เตียงแบบของโรงพยาบาล) และหากมีเสมหะซึ่งไม่สามารถไอออกมาก็ช่วยโดยการเคาะปอดและดูดเสมหะ
การป้องกันการติดเชื้อ
เนื่องจากผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรงติดเชื้อได้ง่าย ผู้ดูแลจำเป็นต้องป้องกันผู้ป่วยมิให้รับเชื้อโรคซึ่งมีวิธีการดังนี้
- การล้างมือ เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการทำลายเชื้อโรคให้ล้างมือบ่อยๆ ล้างมือหลังจากเข้าห้องน้ำ ล้างมือก่อนทำอาหาร ก่อนป้อนอาหาร ก่อนอาบน้ำให้ผู้ป่วย ต้องล้างมือทุกครั้งเมื่อจามหรือไอ หรือเอามือจับจมูก ปาก อวัยวะเพศ เมื่อคนดูแลเปลื้อนเลือด น้ำเหลือง น้ำอสุจิจะต้องล้างมือทันที วิธีการล้างให้ล้างด้วยน้ำอุ่นและสบู่ 15 วินาที
- ปิดแผลของท่าน ถ้าท่านมีแผล หรือตุ่มน้ำที่ผิวหนังหรือการอักเสบที่ผิวหนังต้องระวังเป็นพิเศษที่จะนำ เชื้อไปติดผู้ป่วยและอาจจะติดเชื้อจากผู้ป่วย ท่านมีแผลต้องใช้พลาสเตอร์ปิดแผลสวมถุงมือ
- แยกคนไม่สบายออกจากผู้ที่ติดเชื้อ หากมีสมาชิกในครอบครัวปวดเป็นไข้หวัดหรือโรคอื่นต้องแยกจากผู้ที่ติดเชื้อ HIV หากเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องสวมหน้ากากปิดปากและจมูก
- ห้ามคนไข้สุกใสเข้าใกล้ผู้ป่วย ไข้สุกใสอาจจะทำให้ผู้ป่วย HIV เสียชีวิตได้ดังนั้นผู้ที่เป็นไข้สุกใสต้องไม่อยู่ห้องเดียวกับผู้ป่วยจนกระทั่งผื่นแห้ง สำหรับผู้ที่สัมผัสผู้ป่วยที่เป็นไข้สุกใสหากจะไปเยี่ยมผู้ที่ติดเชื้อ HIV ต้องหลัง 3 สัปดาห์ ผู้ที่เป็นงูสวัดก็ไม่ควรเยี่ยมผู้ป่วยติดเชื้อ HIV และถ้าท่านอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นโรคไข้สุกใสและท่านต้องดูแลผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ท่านต้องสวมหน้ากากปิดปากปิดจมูก ล้างมือก่อนที่จะไปช่วยเหลือคนไข้ และอยู่ในห้องคนไข้ให้น้อยที่สุด ถ้าหากผู้ที่ติดเชื้อ HIV สัมผัสผู้ป่วยไข้สุกใสหรือโรคงูสวัดต้องแจ้งแพทย์ทราบทันที
- สมาชิกของผู้ที่ติดเชื้อ HIV ควรจะได้รับการฉีดวัคซีนให้ครบเพื่อป้องกันโรคติดต่อไปยังผู้ป่วยและเพื่อให้แน่ใจอ าจจะต้องฉีดกระตุ้นอีกครั้ง วัคซีนที่ต้องฉีดคือ หัด หัดเยอรมัน คางทูม สำหรับวัคซีนป้องกันโปลิโอต้องใช้ชนิดที่เชื้อตายแล้วเท่านั้น
- ระวังสัตว์เลี้ยงและการทำสวน แม้ว่าการเลี้ยงสัตว์จะให้ความสุขกับผู้ป่วยแต่สัตว์ก็สามารถนำเชื้อไปสู่ผู้ป่วยได้ ผู้ที่ติดเชื้อ HIV ไม่ควรจะสัมผัสกับกรง กระบะอาหาร อุจาระของสัตว์ น้ำสำหรับเลี้ยงปลา หากผู้ป่วยต้องสัมผัสสัตว์ต้องล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้ง สำหรับผู้ที่ทำความสะอาดกรงหรือกระบะอาหารควรจะสวมถุงมือทุกครั้งและล้างมือทันที สัตว์ที่เลี้ยงก็ต้องหมั่นฉีดวัคซีนและตรวจสุขภาพเป็นประจำ เชื้อโรคสามารถพบได้ในดินดังนั้นต้องสวมถุงมือทุกครั้งที่ทำสวน
- การซักรีด เสื้อผ้า ผ้าปูที่นอนสามารถซักร่วมกับคนปกติได้โดยใช้ผงซักฟอกธรรมดา แต่ผ้าที่เปื้อนเลือด อุจาระ ปัสสาวะ น้ำอสุจิ ให้ใช้ถุงมือจับใส่ถุงพลาสติกแยกไว้ต่างหากและล้างด้วยน้ำธรรมดาเพื่อล้าง เลือดออกก่อน จึงค่อยซักธรรมดาไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อ HIV เพราะการซักธรรมดาก็ฆ่าเชื้อได้ สำหรับเครื่องเรือนที่เปื้อนเลือดให้สวมถุงมือแล้วใช้น้ำสบู่ล้างออก
- การทำความสะอาดบ้าน ทำความสะอาดอ่างล้างหน้า ฝักบัว บ่อยๆโดยใช้น้ำยาล้างห้องน้ำ พื้นบ้านต้องล้างอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง โถส้วมให้ล้างบ่อยๆโดยใช้น้ำยาธรรมดาล้างทำความสะอาด
- อาหาร ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV สามารถรับประทานอาหารทุกชนิดยิ่งมากยิ่งดี และควรรับประทานอาหารให้หลากหลาย แต่ก็มีข้อที่ต้องระวังคือ
- ห้ามดื่มนมที่ไม่ได้ฆ่าเชื้อ
- ห้ามรับประทานไข่ดิบ เช่น mayonnaise, hollandaise sauce, ice cream, fruit drinks
- เนื้อสัตว์ต้องทำให้สุกโดยไม่พบเนื้อแดงในอาหาร
- ไม่รับประทานปลาหรือหอยสุกๆดิบๆ
- สำหรับคนเตรียมอาหารให้ล้างมือก่อนเตรียมอาหารทุกครั้งและล้างทุกครั้งเมื่อทำอาหารชนิดใหม่
- อุปกรณ์ที่ใช้เตรียมอาหารต้องล้างให้สะอาดก่อนนำมาปรุงอาหารใหม่
- ห้ามใช้ช้อนที่ชิมอาหารคนอาหาร
- อย่าให้อาหารที่เตรียมไว้ปนเลือดวัวหรือเลือดหมู
- ให้ล้างเขียงทุกครั้งที่จะทำอาหารชนิดใหม่
- ให้ล้างผักสดให้สะอาดและทำให้สุก
- ไม่ต้องแยกช้อน จาน ให้ทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่ก็พอ
- ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไม่ควรเลียน้ำหรือจานระหว่างปรุงอาหาร
- อาหารร้อนต้องรับประทานขณะร้อน อาหารเย็นต้องรับประทานขณะเย็น
การป้องกันตัวเอง
ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV อาจจะนำเชื้อโรคมาติดผู้ดูแลได้ ท่านจะต้องรู้จักป้องกันตัวเอง ตัวอย่างเช่นหากผู้ป่วยติดเชื้อ HIV มีอาการท้องร่วงผู้ดูแลต้องสวมถุงมือขณะทำความสะอาดและให้ล้างมือเมื่อทำความสะอาดเสร็จ ถุงมือใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ผู้ที่ติดเชื้อ HIV หากมีอาการไอเกินกว่า 1 สัปดาห์ต้องไปพบแพทย์เพราะอาจจะเป็นวัณโรค หากผู้ป่วยเป็นวัณโรคสมาชิกในครอบครัวควรได้รับการตรวจว่าเป็นวัณโรคหรือไม่แม้ว่าจะไม่มีอาการไอ ผู้ป่วยที่มีตัวเหลืองตาเหลืองต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจว่าเป็นตับอักเสบหรือไม่ หากเป็นตับอักเสบผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ผู้ทีอยู่ในบ้านเดียวกันควรจะได้รับวัคซีน
ถุงมือ
เนื่องจากเชื้อ HIV มีอยู่ในเลือด น้ำเหลือง ปัสสาวะและอุจาระของผู้ป่วยผู้ดูแลต้องระวังการสัมผัสกับสิ่งเหล่านี้โดยเฉพาะผู้ที่มีแผล การดูแลสิ่งเหล่านี้ต้องสวมถุงมือทุกครั้ง ถุงมือที่ใช้มีสองชนิดคือ ถุงมือที่ใช้ทางการแพทย์ใช้ในกรณีต้องสัมผัสกับสิ่งที่มีเชื้ออยู่ ใช้แล้วทิ้งเลย อีกชนิดหนึ่งคือถุงมือที่ใช้ตามบ้านไว้ใส่สำหรับทำความสะอาดบ้าน
การจัดการของเสีย
ของเสียของผู้ติดเชื้อ HIV ได้แก่ เลือด น้ำเหลือง ปัสสาวะ อุจาระ อาเจียนควรจะเททิ้งในโถส้วมและกดล้างออกให้หมด แต่ต้องระวังอย่าให้มีการกระเด็นเข้าตาหรือปาก สำหรับผ้าอ้อม ผ้าอนามัย ผ้าทำแผลควรจะใส่ถุงพลาสติกและปิดให้สนิทแล้วทิ้งในช่องขยะมีพิษอย่าลืมสวมถุงมือ
เมื่อผู้ป่วยโรคเอดส์ระยะสุดท้าย
เมื่อโรคดำเนินมาถึงระยะสุดท้ายก็คงหนีไม่พ่นการเสียชีวิต ผู้ดูแลสามารถสังเกตสิ่งที่จะเกิดต่อไปนี้
- ผู้ป่วยจะนอนทั้งวันปลูกไม่ค่อยตื่น ให้พยายามพูดคุยหรือดูแลขณะที่ตื่น
- ผู้ป่วยจะจำตัวเองไม่ได้ ไม่รู้วันเดือน สถานที่ ให้บอกผู้ป่วยถึงวัน เวลา และบุคคล
- ผู้ป่วยจะควบคุมปัสสาวะและอุจาระไม่ได้ ต้องทำความสะอาดโดยใส่ถุงมือ โรยแป้ง
- ผิวจะเย็นและมีสีคล้ำขึ้นเนื่องจากการไหลเวียนของเลือดลดลง ต้องห่มผ้าให้อบอุ่น
- ผู้ป่วยจะมีปัญหาเรื่องการได้ยินและการมองเห็น
- ผู้ป่วยจะกระสับกระส่าย ดึงผ้าคลุมเตียง ต้องพูดปลอบและให้ความมั่นใจว่ามีคนอยู่ด้วยตลอดเวลา
- ผู้ป่วยจะไม่ดื่มน้ำและรับประทานอาหาร ต้องให้ใช้ผ้าเช็ดริมฝีปากเพื่อให้ปากชื้น
- ผู้ป่วยอาจจะไม่ปัสสาวะ
- หายใจเสียงดัง เนื่องจากมีเสมหะอยู่ในคอ การดูแลต้องให้ผู้ป่วยนอนหัวสูง หรือนอนตะแคง ถ้าผู้ป่วยพอกลืนได้ให้น้ำแข็งชิ้นเล็กๆ
โรคติดเชื้อฉวยโอกาศเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยโรคเอดส์เสียชีวิตแ ละต้องนอนพักรักษาในโรงพยาบาล การให้ยาต้านไวรัส antiretroviral therapy (ART)จะลดการเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาศได้อย่างมาก โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเอดส์ที่มี CD4+ T lymphocyte count น้อยกว่า 200 cells/?L
ในเรื่องการพิจารณาให้ยาต้านไวรัสสำหรับผู้ป่วยโรคเอดส์มีข้อควรพิจารณา 2 ข้อคือ
หากผู้ป่วยโรคเอดส์ไม่ได้รักษาภูมิคุ้มกันก็จะถูกทำลายจนกระทั่งไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาสซึ่งมีหลายโรค และเมื่อภูมิถูกทำลายมากพอ โอกาสที่จะเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสก็มีมากจำเป็นต้องให้ยาป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาสโรคที่พบบ่อยๆได้แก่
- การติดเชื้อไวรัส
- การติดเชื้อรา
- การติเชื้อแบคทีเรีย
- การติดเชื้อปาราสิต
- การติดเชื้อ Pneumocystis carinii Pneumonia (PCP)
- Toxoplasmosis gondii (Toxo)
- การติดเชื้อ Cryptosporidiosis
การป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบ
การติดเชื้อ HIV และการฉีดวัคซีน
การฉีดวัคซีนในผู้ที่ติดเชื้อ HIV จะมีความคล้ายคลึงกับคนปกติแต่ต้องคำนึงถึงประโยชน์และผลเสียที่จะเกิดเนื่องจากผู้ที่ติดเชื้อ HIV จะมีการสร้างภูมิลดลงทำให้ประสิทธิภาพและผลข้างเคียงไม่เหมือนกับคนปกติ
ความปลอดภัยของวัคซีน
เชื้อ HIV จะอาศัยเซลล์ CD4ในการแบ่งตัว การฉีดวัคซีนจะทำให้เซลล์ CD4 มีปริมาณเพิ่มขึ้นทำให้เชื้อ HIV มีการแบ่งตัวมากขึ้น จนถึงปัจจุบันยังไม่มีรายงานถึงผลของการฉีดวัคซีนต่อการแบ่งตัวของไวรัส แนะนำว่าควรที่จะได้รับยาต้านไวรัส HIV ระหว่างที่ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันเชื้อไวรัสแบ่งตัว นอกจากนั้นยังมีรายงานถึงผลเสียของการฉีดวัคซีนจากเชื้อที่ทำให้อ่อนแรง attenuated virus vaccines ว่ามีการแพร่กระจายของเชื้อโรคโดยเฉพาะการให้วัคซีน BCG และ Smallpox vaccination ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้วัคซีนสองชนิดนี้แก่ผู้ป่วย
Pneumococcal Vaccineผู้ที่ติดเชื้อ HIV จะมีอุบัติการณ์การติดเชื้อปอดบวมสูงกว่าคนปกติ 300 เท่า ดังนั้นจึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ แต่มีข้อต้องพิจารณาเพราะการฉีดวัคซีนให้ผู้ที่ติดเชื้อ HIV จะมีการสร้างภูมิน้อยกว่าปกติเวลาที่เหมาะสมในการฉีดคือเซลล์ CD4 มากกว่า 500 จะมีการสร้างภูมิคุ้มกันสูง มีรายงานว่าแม้ว่าการสร้างภูมิจะไม่เต็มที่แต่ก็สามารถลดอัตราการตายลงได้ร้อยละ 8
Hepatitis B Vaccine
การติดต่อของเชื้อ HIV และไวรัสตับอักเสบ บีจะเหมือนกันดังนั้นผู้ที่ติดเชื้อ HIV จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และนอกจากนั้นผู้ที่ติดเชื้อ HIV ที่มีไวรัสตับอักเสย บีจะเกิดโรคตับอักเสบเรื้อรังได้มากกว่าคนปกติ มีรายงานว่าเมื่อฉีดวัคซีนแล้วผู้ป่วยร้อยละ 75 จะมีภูมิขึ้นจึงแนะนำให้ฉีดวัคซีน
Hepatitis A Vaccine
เนื่องชายรักร่วมเพศและผู้ที่ติดยาเสพติดจะมีอัตราการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ สูงกว่าคนปกติจึงแนะนำให้กลุ่มคนเหล่านี้ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัวตับอักเสบ เอ
Influenza
แม้ว่าจะไม่มีรายงานว่าเชื้อไวรัสไขหวัดใหญ่จะก่อให้เกิดอัตราการตายเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV แต่ผู้เชี่ยวชาญก็แนะนำให้ฉีดด้วยเหตุผลสองประการคือ หนึ่งการป้องกันไขหวัดใหญ่จะป้องกันโรคแทรกซ้อนเช่นปอดบวมได้ สอง อาการของไข้หวัดใหญ่จะเหมือนกับอาการของการติดเชื้อฉวยโอกาสทำให้มีปัญหาในการวินิจฉัย นอกจากนั้นจากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีภูมิขึ้นหลังจากได้รับวัคซีน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น