การคัดกรองระดับไขมันในเลือดในประเทศไทย |
แนวทางสำหรับประชาชนทั่วไป
สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง
ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องเจาะเลือดตรวจหา cholesterol triglyceride,HDL,LDL |
- Total Cholesterol
- Triglyceride
- High density lipoprotein ไขมันที่ดี
- Low density lipoprotein ไขมันที่ไม่ดี
การเตรียมตัวก่อนเจาะเลือดหาไขมัน
- ต้องอดอาหารก่อนตรวจเลือดไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง ให้ดื่มน้ำเปล่าได้
- ในระยะ 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาให้รับประทานอาหารที่เคยรับประทานอยู่
- ผู้ที่เจ็บป่วยหนักหรือได้รับการผ่าตัดควรตรวจวัดระดับไขมันในเลือดหลังจากหายป่วยแล้ว 3 เดือน สำหรับผู้ที่เจ็บเล็กน้อยสามารถตรวจวัดระดับไขมันในเลือดได้เมื่อหายจากเจ็บป่วย 3 สัปดาห์
- ให้เจาะท่านั่ง เพราะการเจาะท่านอนจะต่ำกว่าท่านั่งเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระดับพลาสม่า
- ต้องระบุว่าจะใช้พลาสม่าหรือซีรั่มในการตรวจวัดระดับไขมัน ระดับไขมันในพลาสม่าจะต่ำกว่าในซีรั่มร้อยละ 4
- สำหรับผู้ที่มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันควรตรวจภายใน 12 ชั่วโมงแรกหรือหลังจากเกิดอาการ 6 สัปดาห์
ไขมันในเลือดเป็นปัจจัยเสี่ยงข้อหนึ่งของโรคหัวใจ
การรักษาไขมันในเลือดสูงควรจะรักษาเมื่อความเสียงต่อโรคหลอดเลือดแดงหัวใจตีบสูง ในการประเมินความเสี่ยงจะต้องเจาะเลือดตรวจระดับไขมัน และความเสี่ยงอื่นๆ
แนะนำให้เจาะเลือดตรวจไขมัน 4 ชนิดคือ LDL,HDL,Triglyceride,Total Cholesterol ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป(ตามมาตราฐานประเทศอเมริกา สำหรับประเทศไทยไทยจะเจาะเมื่ออายุมากกว่า 45 ปี)หากปกติให้เจาะเลือดทุก 5 ปี หากไม่ได้อดอาหารให้เจาะเพียง Total Cholesterol การรักษาไขมันในเลือดตามคำแนะนำของสมาคมโรคหัวใจของอเมริกาได้มีการเปลี่ยน แปลงจึงขอนำเสนอขั้นตอนการรักษา
- ขั้นที่1ต้องรู้ระดับไขมันในเลือดโดยการเจาะเลือด ไขมันที่ต้องการรู้มี 3 ตัว
LDL Cholesterol เป็นเป้าหมายหลักที่จะรักษา | |
<100 | ค่าที่ต้องการ |
100-129 | ค่าใกล้เคียงปกติ |
130-159 | ค่าค่อนไปทางสูง |
160-189 | สูง |
>190 | สูงมาก |
Total Cholesterol | |
<200 | ค่าที่ต้องการ |
200-239 | สูงปานกลาง |
>240 | สูง |
HDL Cholesterol | |
<40 | ต่ำสูง |
>60 | สูง |
- ขั้นที่ 2 ให้คุณสำรวจว่าคุณเป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็งหรือไม่ หรือโรคอื่นเช่น โรคเบาหวานหรือโรคอื่นๆที่จัดเทียบเท่าโรคหลอดเลือดแดงแข็งได้แก่
- โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอตีบ
- โรคหลอดเลือดแดงขาตีบ
- โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในท้องโป่งพอง
- โรคเบาหวาน
- ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหลายข้อและมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจมากกว่า 20%ใน 10 ปี
- ขั้นตอนที่ 3 ให้สำรวจดูว่าคุณมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบข้างล่างนี้กี่ข้อ
- สูบบุหรี่
- ความดันโลหิตสูง(มากกว่า 140/90 หรือกำลังรับประทานยาลดความดันโลหิต)
- LDL<40 มก.%
- อายุ(ชายอายุมากว่า 45 ปี หญิงอายุมากกว่า 55 ปี หากอายุมากกว่านี้ถือเป็นปัจจัยเสี่ยง)
- ประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบก่อนวัย(ชายเป็นก่อนอายุ 55 ปีหญิงเป็นก่อนอายุ 65 ปี)
หากว่าค่า HDL ของคุณมากกว่า 60 มก.%ให้หักความเสี่ยงที่ได้ลงไปหนึ่ง เช่นหากคุณเป็นผู้ชายอายุ 55 ปี สูบบุหรี่ เป็นความดันโลหิตสูง LDL=35มก.% HDL=65 มก.% คุณมีปัจจัยเสี่งทั้งหมด 4-1=3 ข้อ
หากคุณมีปัจจัยเสี่ยง๖อโรคหัวใจมากกว่า 2 ข้อ(ไม่นับรวม LDL)โดยที่ไม่มีโรคหลอดเลือดแดงแข็งให้เปิดตารางดูว่าคุณมีโอกาสเป็นโรค หัวใจใน 10 ปีเป็นเท่าใดโดยดูตารางนี้ ผู้ชายคลิกที่นี่ ผู้หญิงคลิกที่นี่
เมื่อคุณได้อัตราเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจแล้ว ทางปฏิบัติจะแบ่งเป็น 3 ระดับ
- มากกว่า 20% = CHD risk-equivalent
- 10-20%
- น้อยกว่า10%
- ขั้นตอนที่ 4มาจัดกลุ่มความเสี่ยงเพื่อกำหนดเป้าหมายในควบคุมระดับ LDLและระดับไขมันที่ต้องเริ่มรักษาโดยการเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการใช้ยาตาม ตารางข้างล่าง
กลุ่มความเสี่ยง | ระดับ LDL เป้าหมาย | ระดับ LDLที่เริ่มรักษาโดยการ เปลี่ยนพฤติกรรม[TLC] | ระดับ LDL ที่ต้องใช้ยารักษา |
ผู้ที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เบาหวาน( หรือผู้ที่มีอัตราเสี่ยงมากกว่า 20%ใน 10 ปี) | น้อยกว่า 100 | มากกว่า 100 | มากกว่า 130 มก.%(สำหรับผู้ที่มีระดับ LDL อยู่ระหว่าง 100-129 แพทย์แนะนำให้เปลี่ยนพฤติกรรมก่อน) |
ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ(ตามขั้นตอนที่3) มากกว่า 2 ข้อ(อัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจน้อยกว่า 20%) | น้อยกว่า 130 | มากกว่าหรือเท่ากับ 130 | >130 มก.% (สำหรับผู้ที่มีอัตราเสี่ยง 10-20%) |
>160 มก.%(สำหรับผู้ที่มีอัตราเสี่ยงน้อยกว่า 10%) | |||
ปัจจัยเสี่ยงน้อยกว่า 1 | น้อยกว่า 160มก.% | มากกว่า 160 มก.% | มากกว่า 190 มก.% |
- ขั้นตอนที่ 5หากค่า LDL มากกว่าค่าเป้าหมายให้เริ่มรักษาโดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม [Therapeutic lifestyle change ]ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1.ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอาหารดังนี้
- พลังงานที่มาจากไขมัน 25-35 %ของพลังงานทั้งหมด
- รับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวน้อยกว่า 7 %
- รับประทานไขมันไม่อิ่มตัวแบบเชิงซ้อน polyunsaturated เพิ่มเป็นร้อยละ 10 ของพลังงานทั้งหมด
- ไขมันไม่อิ่มตัวแบบเชิงเดี่ยว monounsaturated เพิ่มเป็นร้อยละ 20 ของพลังงานทั้งหมด
- รับประทาน
- และปริมาณไขมัน cholestero <200 mg%
- รับประทานพวกแป้งให้ได้พลังงาน 50-60%ของพลังงานทั้งหมด
- รับประทานโปรตีน 15 %ของพลังงานทั้งหมด
- ให้รับประทานใยอาหารมากกว่า 20-30 กรัม/วันและ stanol มากกว่า 2 กรัม/วัน
- พลังงานที่รับทั้งวันขึ้นกับการทำงาน การออกกำลังกาย และน้ำหนักรายละเอียดอ่านที่นี่
2.ให้ลดน้ำหนัก
น้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับชาวเอเชียคือน้ำหนักที่ดัชนีมวลกายเท่ากับ 23 รายละเอียดอ่านที่นี่
3.ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายเพิ่มให้ร่างกายใช้พลังงานเพิ่มและลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน รายละเอียดอ่านที่นี่
- ขั้นตอนที่6 หลังจากการรักษาด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 3 เดือนแล้วระดับ LDL ยังเกินเป้าหมายจะต้องใช้ยารักษา การใช้ยาจะทำควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ยาที่ใช้รักษาไขมันมีดังนี้
HMG CoA reductase inhibitor [ statin ]
- ยาในกลุ่มนี้ประกอบด้วย Lovastatin[ 20-80 mg], Simvastatin [ 20-80mg ], Fluvastatin [20-80 mg ], Atrovastatin [10-80 mg]
- ยาในกลุ่มนี้ลด LDLได้ร้อยละ 18-55% เพิ่ม HDLได้ร้อยละ 5-15%และลด TGได้ร้อยละ 7-30%
- พบว่าการให้ยานี้เพื่อลดไขมันจะทำให้อัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดลดลง
- ผลข้างเคียงของยาจะทำให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อและตับ
- ข้อห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีตับอักเสบเฉียบพลันและตับอักเสบเรื้อรังและห้ามใช้ร่วมกับยา cyclosporin ยารักษาเชื้อรา
Bile acid sequestrants
- ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Cholestyramine [4-16 g],Colestipol [5-20gm],Colesevelam[2.6-3.8gm]
- ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ในการจับกับไขมันในลำไส้เพื่อขับออกทางอุจาระ
- ยากลุ่มนี้ลด LDLได้ร้อยละ15-30%และเพิ่มระดับ HDLได้ร้อยละ 3-5 %
- ผลข้างเคียงของยาแน่นท้อง ท้องผูก ลดการดูดซึมของยาบางชนิด
- ข้อห้ามใช้ ในผู้ป่วยที่มีtriglycerideสูงกว่า 400 มก.%
Nicotinic acid
- ยากลุ่มนี้ได้แก่ Nicotinic acid[ 1.5-3 gm ]จัดเป็นวิตามิน B
- ยากลุ่มนี้ลดLDLได้ 5-25 % เพิ่ม HDL15-35% ลดTriglycerideได้ร้อยละ20-50
- ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้คือ คันตามตัว ร้อนตามตัวซึ่งจะเกิดหลังจากรับประทานยาไปครึ่งชั่วโมง หน้าแดง น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น กรดยูริกเพิ่ม แน่นท้อง และตับอักเสบ
- ข้อห้ามใช้คือ โรคตับ โรคเกาท์ โรคเบาหวาน โรคกระเพาะ
- ขนาดที่ใช้รักษา 1-3 กรัม/วัน
Fibric acid
- ยากลุ่มนี้ได้แก่ Gemfibrizil [600-1200 mg],Fenofibrate [200 mg]
- ยากลุ่มนี้ลดLDLได้ร้อยละ 5-20 เพิ่มHDLได้ร้อยละ 10-20 ลดTriglycerideได้ร้อยละ 10-20
- ยานี้เหมาะสำหรับผู้ที่มี Triglyceride สูง,LDL สูงและมี HDL ต่ำ
- ยานี้เมื่อใช้ร่วมกับยาในกลุ่ม statin จะลดไขมันที่ LDLสูงและมี triglyceride สูง แต่การให้ยาร่วมกันต้องระวังภาวะกล้ามเนื้ออักเสบ
- ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้คือ คลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้อง ปวดกล้ามเนื้อ อาจจะทำให้เกิดการอักเสบของตับ อาจจะทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดีหากใช้ยานี้ไปเป็นระยะเวลานานๆ
- ข้อห้ามใช้ผู้ที่มีตับวายและไตวาย
- ขั้นตอนที่ 7 คุณต้องค้นหาว่าตัวคุณมีภาวะ Metabolic อsyndrome คือภาวะที่มีกลุ่มของอาการโดยสาเหตุเกิดจากหลายๆสาเหตุ สาเหตุที่สำคัญคือภาวะดื้อต่ออินซูลินซึ่งจะพบภาวะนี้ในผู้ป่วยก่อนที่จะเป็นโรคเบาหวาน การที่จะทราบว่ามีกลุ่มอาการนี้หรือไม่ลองดูตารางข้างล่างนี้หากคุณมี 3 ข้อขึ้นไปถือว่าคุณมีภาวะ Metabolic syndrome
ปัจจัยเสี่ยงต่อ Metabolic syndrome | เกณฑ์การวัด |
1.อ้วนลงพุง | โดยการวัดเส้นรอบเอว |
ผู้ชาย | ผู้ชาย< 102ซม(เอเชียไม่เกิน 90 ซม) |
ผู้หญิง | ผู้หญิง< 88 ซม(เอเชียไม่เกิน 80 ซม) |
2.Triglyceride | >150 mg.% |
3.HDL Cholesterol | |
ผู้ชาย | <40mg% |
ผู้หญิง | <50mg.% |
4.ความดันโลหิต | >130/85 mmHg |
5.ระดับน้ำตาล | >110 mg.% |
เมื่อสำรวจแล้วหากคุณพบว่าคุณมีมากกว่า 3 ข้อคุณต้องรักษาภาวะ Metabolic syndrome ซึ่งมีวิธีการรักษาดังนี้
- รักษาโรคหรือภาวะพื้นฐาน
- ควบคุมน้ำหนัก
- ออกกำลังกาย
- รักษาโรคอื่นที่เป็น
- รักษาความดันโลหิตสูง
- รับประทาน aspirin ป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
- รักษาโดยการลด triglyceride และเพิ่ม HDL
- ขั้นตอนการรักษาขั้นที่8 หลังจากที่สามารถควบคุมระดับ LDL ได้ตามเป้าหมายแล้ว แพทย์ผู้รักษาจะให้การรักษาระดับ Triglyceride เป็นลำดับต่อมา ค่าปกติของระดับ Triglyceride
<150 | ค่าปกติ |
150-199 | สูงเล็กน้อย |
200-499 | สูง |
>500 | สูงมาก |
ในการรักษาระดับ Triglyceride จะแบ่งระดับตามความรุนแรงดังนี้
- ระดับ Triglyceride น้อยกว่า 150มก.%
- เป้าหมายให้คุม LDL ให้ได้ตามเป้าหมาย
- ลดน้ำหนักให้ได้ตามเกณฑ์
- ออกกำลังกาย
- หากระดับ Triglyceride ยังมากกว่า 200 มก.%จะต้องให้ยาเพื่อลดระดับของ Non-HDL-Cholesterol ให้ได้ตามเป้าหมาย วิธีการอาจจะทำได้โดย
- เพิ่มยาลด LDL
- เพิ่มยาในกลุ่ม nicotinic หรือ fibrate
- หาก Triglyceride มากกว่า 500 มก.%ให้รักษาระดับtriglyceride ก่อนเพื่อป้องกันตับอ่อนอักเสบ
- ให้รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำกว่ำ 15 %ของพลังงานทั้งหมดหรือจะพูดภาษาชาวบ้านก็คือหลีกเลี่ยงอาหารมันให้มากที่สุด
- ลดน้ำหนักและออกกำลังกาย
- ให้ยาในกลุ่ม fibrate หรือ nicotinic
- เมื่อระดับ triglyceride น้อยกว่า 500 มก.%จึงค่อยมารักษาระดับ LDL
การรักษาระดับHDL ที่ต่ำกว่า 40 มก%
- ให้รักษาระดับ LDL ก่อน
- ลดน้ำหนักและออกกำลังกาย
- ถ้าระดับ triglyceride อยู่ระหว่าง 200-499 มก.%ให้คุมระดับ Non-HDL-Cholesterol ให้ได้ตามเป้าหมาย
- หากระดับ triglyceride น้อยกว่า 200 มก.%ให้ยา fibrate หรือ nicotinic
ระดับไขมัน Non-HDL-Cholesterol เป้าหมาย
กลุ่มความเสี่ยง | ระดับ LDL เป้าหมาย | Non-HDL-Cholesterol |
ผู้ที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เบาหวาน( หรือผู้ที่มีอัตราเสี่ยงมากกว่า 20%ใน 10 ปี) | น้อยกว่า 100 | น้อยกว่า 130 |
ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ(ตามขั้นตอนที่3)มากกว่า 2 ข้อ(อัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจน้อยกว่า 20%) | น้อยกว่า 130 | น้อยกว่า 160 |
ปัจจัยเสี่ยงน้อยกว่า 1 | น้อยกว่า 160มก.% | น้อยกว่า 190 |
- ไขมันในเลือด
- การเจาะเลือดตรวจ
- การรักษา
- อาหารสำหรับ cholesterol สูง
- อาหารสำหรับ triglyceride สูง
- การประเมินความเสี่ยง
การรักษา cholesterol ในเลือดสูงด้วยอาหาร
ประกอบด้วยหลักการ 7 ประการ
- รับประทานที่ให้พลังงานแต่พอควร การรับประทานอาหารที่ให้พลังงานมากกว่าร่างกายนำไปใช้ได้เป็นประจำจะก่อให้เกิดโรคอ้วนในที่สุด ซึ่งมีผลทำให้ VLDL-Triglyceride ในเลือดสูงขึ้น HDL-cholesterol ในเลือดต่ำ ตลอดจนอาจทำให้ LDL-cholesterol ในเลือดสูงขึ้น ผู้ที่อายุมากกว่า20ปีสามารถประเมินตนเองว่าอ้วนหรือไม่ได้2วิธีคือ
- อัตราส่วนเส้นรอบเอวต่อเส้นรอบวงสะโพก ผู้ชายและผู้หญิงควรมีเส้นรอบเอวที่ระดับสะดือต่อเส้นรอบวงสะโพกน้อยกว่า 1 และ 0.8ตามลำดับ หรืออาจจะวัดเส้นรอบเอวผู้ชายไม่ควรเกิน 90 ซม.ส่วนผู้หญิงไม่เกิน 80 ซม.
- ดัชนีมวลกายโดยเอาน้ำหนัก(กก)หารด้วยส่วนสูง(เมตร)ยกกำลังสองค่าปกติอยู่ระหว่าง 20.00-25.00กก/ตารางเมตร
- ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินควรจะลดปริมาณอาหารลง
- รับประทานไขมันทั้งหมดไม่เกินร้อยละ30ของพลังงานที่ได้รัรับประทานไขมันที่มีสัดส่วนของกรดไขมันอย่างเหมาะสมดังนี้
- รับประทานไขมันอิ่มตัว [saturated fat]ให้น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพลังงานที่ได้รับเพราะไขมันอิ่มตัวส่วนใหญ่เพิ่ม LDL-cholesterol ในกระแสเลือด
- รับประทานกรดไลโนเลอิก [linoleic acid] ร้อยละ 7ของพลังงานที่ได้รับโดยมีเหตุผล 2ประการคือป้องกกันการขาดกรดไลโนเลอิกและลดระดับ LDL-cholesterol
- รับประทานกรดแอลฟา-ไลโนเลอิด [alpha-linolenic acid] ร้อยละ 0.5-1.0 ของพลังทั้งหมด
- รับประทานกรดโอเลอิก [oleic acid] ร้อยละ 10-15ของพลังงานทั้งหมดเพราะกรดนี้สามารถ LDL-cholesterlได้ดีพอๆกับไลโนเลอิก
ในทางปฏิบัติกระทำได้โดยการบริโภคน้ำมันถั่วเหลืองวันละ1.5-4.5ช้อนโต๊ะและหลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันปามล์ กะทิ เนยเหลว เนยเทียมแข็ง นม ครีม ไอสครีม หมูสามชั้น เนื้อติดมันมากๆ ไส้กรอก อาหารทอดนอกบ้าน เช่น ปาท่องโก๋ กล้วย ทอดมัน
- รับประทานไขมันcholesterolไม่เกินวันละ 300 มก. อาหารที่มีโคเลสเตอรอลมากคือสมองสัตว์ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง จึงหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ ส่วนเนื้อไม่ติดมันรับประทานได้พอควร
- รับประทานโปรตีนร้อยละ15-20ของพลังงานที่ได้รับ โดยเลือกเนื้อที่มีไขมันไม่มากเช่น เนื้อไก่ เนื้อปลา นมพร่องมันเนยถั่วเหลือง ไข่ไม่เกินวันละฟอง
- รับประทานคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 55-60 ของพลังงานทั้งหมด
- รับประทานผักและผลไม้ที่ไม่หวานเพราะใยอาหารจะช่วยลด cholesterolในเลือด
แอปเปิล | แพร์ | ฝรั่ง | ถั่วเขียว |
ข้าวโพดอ่อน | แครอท | ถั่วแระ | ถั่วฝักยาว |
เม็ดแมงลัก | ถั่วลิสง | งา | รำข้าว |
เมล็ดทานตะวัน | ถั่วแดง | มะเขือพวง | สะเดา |
ผักกระเฉด | กระเทียม | เห็ดหูหน | ใบชะพลู |
ขนมปังโฮลวีท | สปาเกตต | มะกะโรน | ข้าวซ้อมมือ |
กะหล่ำปล | ข้าวโพดต้ม | พุทรา | น้อยหน่า |
ตะขบ | ถั่วฝักยาว | ถั่วลันเตา | กล้วย |
ฝรั่ง | มะม่วงดิบ | มะละกอสุก | ส้มเช้ง |
ข้าวกล้อง | เห็ด |
|
|
- เลือกใช้น้ำมันให้ถูกต้อง ควรเลือกใช้น้ำมันพืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโมโน[monounsaturated]สูง กรดไลโนเลอิก และไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโพลี่ [polyunsaturated] พอควร ไขมันอิ่มตัว[saturated]ต่ำ ดังนั้นที่ดีคือ น้ำมันมะกอก รองลงมาคือน้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันข้าวโพด
| กรดไลโนเลอิก [linoleic acid] | ไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโมโน monounsaturated fat | ไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโพลี่ polyunsaturated fat | ไขมันชนิดอิ่มตัว saturated fat |
เนย/หมู/ปาล์ม | 2% | 30% | 2% | 66% |
เมล็ดนุ่น | - | 19% | 54% | 27% |
ถั่วลิสง | ---- | 48% | 34% | 18% |
ถั่วเหลือง | 7% | 24% | 54% | 15% |
มะกอก | 1% | 77% | 8% | 14% |
ข้าวโพด | 1% | 25% | 61% | 13% |
ดอกทานตะวัน | --- | 20% | 69% | 11% |
น้ำมันงา |
| 40% | 42% | 14% |
น้ำมันไก่ |
| 47% | 21% | 31 |
กระทิ |
| 6% | 2% |
การรักษาไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงด้วยอาหาร
ประกอบด้วยหลักการ 4 ประการคือ
- จำกัดพลังงานที่รับประทานร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ลดปริมาณการบริโภคคาร์โบไฮเดรตโดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำตาล
- หยุดสุราโดยเด็ดขาด
- หลักการต่างๆที่ได้กล่าวในรักษา cholesterol สูงโดยการควบคุมอาหาร
- ไขมันในเลือด
- การเจาะเลือดตรวจ
- การรักษา
- อาหารสำหรับ cholesterol สูง
- อาหารสำหรับ triglyceride สูง
- การประเมินความเสี่ยง
การรักษาไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงด้วยอาหาร
อาหารที่มีน้ำตาลหรือพวกแป้งมากจะทำให้ Triglyceride ในเลือดสูงขึ้น ดังนั้นจึงควรจะงด
- อาหารที่หวานหรือมีแป้งมากเช่น ลูกอม น้ำตาล น้ำหวาน น้ำผึ้ง jams, jellies, pies, cakes, cookies, candy, doughnuts, ice cream, frozen yogurt, และ gelatine หวาน
- พวกสสุราต่าง เช่นวิสกี้ ไวน์ เบียร์ บรั่นดี
- หลีกเลี่ยงพวกเนื้อแดงโดยเฉพาะของทอด
การควบคุมระดับ Triglyceride ประกอบด้วยหลักการ 4 ประการคือ
- จำกัดพลังงานที่รับประทานสำหรับคน ทั่วไปรับประทานไม่เกิน 30 กิโลแคลอรีต่อน้ำหนัก 1 กก ส่วนคนอ้วนไม่เกิน 25 กิโลแคลอรีต่อน้ำหนัก 1 กก
- รับประทานผักไม่จำกัด ทั้งผักใบเขียว หรือใบเหลือง
- และผลไม้อย่างน้อยวันละ 5 ส่วน(หนึ่งส่วยประมาณ 1/2 ถ้วยตวง)ควรจะรับประทานผลไม้ที่ออกรสเปรี้ยววันละครั้ง
- ลดปริมาณการบริโภคคาร์โบไฮเดรตโดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำตาล
- ใช้น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันถั่วเหลือง ข้าวโพดแทนน้ำมันปาล์ม หรือแทนเนย
- หยุดสุราโดยเด็ดขาด
- ไม่ควรรับเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่นน้ำอัดลม น้ำหวาน
- ออกกำลังกายวันละ 30 นาที
- ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
- ดื่มนมพร่องมันเนยแทนนมสด
- รับประทานปลา หรือเนื้อไก่ที่ไม่ติดหนัง
- รับประทานถั่ว เช่น almon walnut ประมาณหนึ่งช้อนโต๊ะแทนนขมปังหนึ่งชิ้น
- หลักการต่างๆที่ได้กล่าวในรักษา cholesterol สูงโดยการควบคุมอาหาร
- ไขมันในเลือด
- การเจาะเลือดตรวจ
- การรักษา
- อาหารสำหรับ cholesterol สูง
- อาหารสำหรับ triglyceride สูง
- การประเมินความเสี่ยง
ตารางการประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
|
---|
คุณผู้อ่านกรอกคะแนนของคุณในแต่ละตารางแล้วนำคะแนนไปหาความเสี่ยงที่ตาราง
อายุ | คะแนน |
20-34 | -9 |
35-39 | -4 |
40-44 | 0 |
45-49 | 3 |
50-54 | 6 |
55-59 | 8 |
60-64 | 10 |
65-69 | 11 |
70-74 | 12 |
75-79 | 13 |
Total Cholesterol | อายุ 20-39 คะแนน | อายุ 40-49 คะแนน | อายุ 50-59 คะแนน | อายุ 60-69 คะแนน | อายุ 70-79 คะแนน |
<160 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 |
160-199 | 4 | 3 | 2 | 1 | 0 |
200-239 | 7 | 5 | 3 | 1 | 0 |
240-279 | 9 | 6 | 4 | 2 | 1 |
>280 | 11 | 8 | 5 | 3 | 1 |
HDL Cholesterol | คะแนน |
60+ | -1 |
50-59 | 0 |
40-49 | 1 |
<40 | 2 |
| อายุ 20-39 คะแนน | อายุ 40-49 คะแนน | อายุ 50-59 คะแนน | อายุ 60-69 คะแนน | อายุ 70-79 คะแนน |
ไม่สูบบุหรี่ | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 |
สูบบุหรี่ | 8 | 5 | 3 | 1 | 1 |
ความดัน Systolic | ไม่ได้รักษา | รักษา |
<120 | 0 | 0 |
120-129 | 0 | 1 |
130-139 | 1 | 2 |
140-159 | 1 | 2 |
>160 | 2 | 3 |
คุณรวมคะแนนตั้งแต่ตารางที่1-5 แล้วนำคะแนนมาหาความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจจากตารางข้างล่างนี้
คะแนน | อัตราเสี่ยงใน 10 ปี | คะแนน | อัตราเสี่ยงใน 10 ปี |
<0 | <1% | 9 | 5% |
1 | 1% | 10 | 6% |
2 | 1% | 11 | 8% |
3 | 1% | 12 | 10% |
4 | 1% | 13 | 12% |
5 | 2% | 14 | 16% |
6 | 2% | 15 | 20% |
7 | 3% | 16 | 25% |
8 | 4% | >17 | >30% |
เมื่อคุณได้ความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบใน 10 ปีคุณคลิกที่นี่เพื่อดูวิธีการป้องกัน
- Triglyceride
- Cholesterol
- Phospholipid
กรดไขมัน(Fatty acid)คืออะไร
กรดไขมันเป็นการเรียงตัวของธาตุคาร์บ่อน( Carbon ,C) โดยที่ปลายด้านหนึ่งเป็น methyl group อีกด้านหนึ่งเป็น carboxyl group ความยาวของCมีได้หลายตัวหากมีความยาวน้อยกว่า 6 เรียก Short chainsk หากมี C มากกว่า 12 เรียก long chain fatty acid กรดไขมันเป็นอาหารของกล้ามเนื้อ หัวใจ อวัยวะภายในร่างกาย กรดไขมันส่วนที่เหลือใช้จะถูกสะสมในรูป triglyceride(ใช้กรดไขมัน3ตัวรวมกับ glycerol)ซึ่งจะสะสมเป็นไขมันในร่างกาย
ไขมันอิ่มตัว Saturated fat
หมายถึงกรดไขมันที่มีธาตุ C ต่อกันด้วย single bond เท่านั้นการรับประทานอาหารไขมันชนิดอิ่มตัวจะทำให้ไขมันในเลือดสูงและเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดตีบ แหล่งอาหารของไขมันอิ่มตัวได้แก่ น้ำมันปาล์ม กะทิ เนย นม เนื้อแดง ช้อกโกแลต
ไขมันไม่อิ่มตัว เชิงเดี่ยว Monounsaturated
เป็นกรดไขมันที่มีธาตุ C ต่อกันด้วย Double bond เพียงหนึ่งตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการรับประทานอาหารไขมันประเภทนี้ทดแทนไขมันอิ่มตัวจะ ช่วยลดระดับ LDL Cholesterol ซึ่งเป็นไขมันที่ไม่ดีก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบ อาหารที่มีไขมัน Monounsaturatedได้แก่ avocados, nuts, and olive, peanut and canola oils
กรดไขมันไม่อิ่มชัวเชิงซ้อน Polyunsaturated
หมายถึงกรดไขมันที่มีธาตุ C ต่อกันด้วย Double bond อยู่หลายตำแหน่ง หากรับประทานแทนไขมันอิ่มตัวจะไม่เพิ่มระดับไขมันในร่างกาย อาหารที่มีไขมันชนิดนี้คือ น้ำมันพืชทั้งหลายเช่น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง
essential fatty acids
เป็นกรดไขมันที่จำเป็นสำหรับร่างกาย แต่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ต้องได้รับจากอาหารที่เรารับประทาน
Trans fatty acids
เป็นไขมันที่เตรียมจากนำน้ำมันพืชเช่นน้ำมันข้าวโพด ไปทำให้ร้อน เพื่อทำให้น้ำมันมีอายุใช้งานได้นานขึ้น และทำให้น้ำมันข้นขึ้นจนเป็นของแข็ง การรับประทานน้ำมันชนิดนี้มากจะทำให้ไขมัน LDL ในเลือดเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รายละเอียดอ่านที่นี่
omega-3 fatty acids และ omega-6 fatty acids
เป็นกรดไขมันที่จำเป็นสำหรับร่างกาย แต่ร่างกายไม่สามารถผลิตเองต้องได้รับจากสารอาหาร omega-3 fatty acids จะมี Double bond ที่ตำแหน่ง C3 นับจากกลุ่ม Methyl group
omega-3 fatty acids จะพบมากในอาหารจำพวกปลาและน้ำมันพืช เช่น salmon, halibut, sardines, albacore, trout, herring, walnut, flaxseed oil, and canola oil
omega-6 fatty acids
เป็นกรดไขมันที่จำเป็นสำหรับร่างกาย แต่ร่างกายไม่สามารถผลิตเองต้องได้รับจากสารอาหารomega-6 fatty acids จะมี Double bond ที่ตำแหน่ง C6 นับจากกลุ่ม Methyl group
omega-6 fatty acids ะพบมากในอาหารจำพวกปลาและน้ำมันพืช corn, safflower, sunflower, soybean, and cottonseed oil
ไขมันในเลือดต่ำแค่ไหนถึงดี
ก่อนหน้านี้เมื่อรักษาคนไข้สำหรับคนทั่วไปจะคุมไขมัน LDL ไว้ประมาณ 130mg% สำหรับผู้ที่มีโรคเบาหวานจะคุมประมาณ 100 mg% แต่มีรายงานว่าการคุมไขมันให้ต่ำกว่านี้อาจจะได้ประโยชน์ในการลดโรคหัวใจและ หลอดเลือด แต่ยังไม่มีการศึกษาว่าได้ประโยชน์จริง จนเมื่อเดือนพฤษจิกายนได้มีการตีพิมพ์รายงานว่าได้มีการใช้ยาที่รักาาไขมัน ได้แก่ statin มารักษาไขมันให้อยู่ที่ระดับประมาณ 50 mg โดยใช้กับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจสูงพบว่า
- เมื่อลดไขมันลงได้ตามกำหนดสามารถลดอัตราเกิดโรคหัวใจได้ร้อยละ 40-50 %
- โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากยาเช่นกล้ามเนื้ออักเสบก็ไม่ได้มากขึ้น
- ไม่มีโรคแทรกว้อนเลือดออกในสมอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น