Clock


วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เบาหวาน

วิธีที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานมีเพียงวิธีเดียวคือการเจาะหาน้ำตาลในเลือด สำหรับคนปกติแนะนำให้คนที่มีอายุมากกว่า 45 ปีควรจะเจาะเลือดทุกปีถ้าหากปกติก็ให้เจาะทุก 3 ปี หากคุณมีปัจจัยเสี่ยงก็ควรที่เจาะเร็วขึ้นและบ่อยขึ้น คนปกติจะมีค่าน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่า 80-100 มิลิกรัม% การวินิจฉัยโรคเบาหวานเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 126 มิลิกรัม% สำหรับผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระ 100-125 มิลิกรัม%เราเรียก Impaired fasing glucose [IFG] คนกลุ่มนี้มีความ เสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานจำเป็นต้องคุมอาการ รักษาน้ำหนัก ออกกำลังกาย สำหรับการตรวจปัสสาวะไม่แนะนำเพราะเราจะตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะเมื่อระดับ น้ำตาลในเลือดมากกว่า 180 มิลิกรัม%ซึ่งเป็นเบาหวานไปเรียบร้อยแล้ว การตรวจเลือดเราสามารถตรวจได้หลายวิธีดังนี้

เกณฑ์ในการวินิจฉัยเบาหวานมีดังนี้

  1. การวัดระดับกลูโคสในพลาสม่าหลังการอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง [fasting plasma glucose :FPG] แนะนำให้ใช้วิธีซึ่งสะดวกและแม่นยำ ให้การวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานเมื่อระดับน้ำตาลในเลือด [FPG] สูงกว่า 126มก.%[7.0 mmol/L] สองครั้ง

  2. การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส [ oral glucose tolerance test:OGTT] กรณีสงสัยว่าจะเป็นเบาหวาน แต่ระดับพลาสม่ากลูโคสก่อนรับประทานอาหารไม่ถึง 126 มก.% ให้ตรวจโดยการดื่มน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม เจาะเลือดก่อนดื่ม และ 2 ชั่วโมงหลังดื่ม วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานเมื่อระดับพลาสม่ากลูโคสที่ 2 ชั่วโมงตั้ง 200 มก.%ขึ้นไป หากอยู่ระหว่า 140-199มก.%ถือว่าความทนทานต่อน้ำตาลบกพร่อง ( impaired glucose tolerance test) หากต่ำกว่า 140 มก%ถือว่าปกติ

  3. การสุ่มวัดระดับกลูโคสในพลาสมา [random plasma glucose:RPG] โดยไม่กำหนดเวลาอดอาหาร ใช้ค่ามากกว่า 200 มก.%และมีอาการของโรคเบาหวาน เนื่องจากมีความแม่นยำต่ำจึงไม่นิยมหาก หากพบว่าค่ามากกว่า 200 มิลิกรัม%จะต้องนัดมาเจาะน้ำตาลก่อนอาหาร หรือทำการตรวจ การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส OGTT อาจจะตรวจในผู้ป่วยที่มีอาการของโรคเบาหวานมากจำเป็นต้องรีบให้การรักษา

  4. การใช้ระดับโปรตีนกลัยโคซัยเลต ได้แก่ glycosylate hemoglobin:HbA1c หากมีค่ามากกว่า 6.5 ให้วินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน

  5. ในกรณ๊ที่ค่า HbA1c>6.5 สองครั้งแต่ค่าน้ำตาลก่อนอาหารFBS<126 mg% หรือค่าน้ำตาล FBS>126 แต่ค่า HbA1c<6.5 ทั้งสองกรณีให้วินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน

สำหรับการตรวจหากลูโคสในปัสสาวะไม่นิยมเพราะผิดพลาดได้ง่าย

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อเบาหวานมีดังต่อไปนี้(อ่านที่นี่)

  1. น้ำตาลอดอาหาร(FPG)อยู่ระหว่าง 100–125 mg/dl
  2. ค่าน้ำตาลหลังจากดื่นน้ำตาล 75 กรับที่ 2 ชม อยู่ระหว่าง( OGTT) 140–199 mg/dl
  3. ค่าน้ำตาลเฉลี่ย(HA1C) อยู่ระหว่าง 5.7–6.4%

ในการตรวจหากลูโคสในกระแสเลือดควรคำนึงถึงยาที่ทำให้น้ำตาลสูงขึ้นเช่น steroid,thiazide,nicotinic acid,beta-block,ยาคุมกำเนิด

การตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์[Gestational Diabetes:GDM]

การคัดกรองของโรคเบาหวานชนิดที่หนึ่งไม่นิยมเนื่องจากราคาแพงและยังไม่เป็นที่ยอมรับ

ใครมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน

สาเหตุของการเกิดโรคเบาหวานยังไม่ทราบแน่นอน แต่องค์ประกอบสำคัญที่อาจเป็นต้นเหตุของการเกิดได้แก่ กรรมพันธุ์ อ้วนลงพุง โรคอ้วน ขาดการออกกำลังกาย หากบุคคลใดมีปัจจัยเสี่ยงมากย่อมมี่โอกาสที่จะเป็นเบาหวานมากขึ้น ปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานได้แสดงข้างล่างนี้

การคัดกรองของโรคเบาหวานชนิดที่สองในบุคคลทั่วไป

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองพบมากและมักจะวินิจฉัยไม่ได้ในระยะแรก การที่มีภาวะน้ำตาลสูงเป็นเวลานานๆทำให้เกิดการเสื่อมของอวัยวะต่างๆเช่น ตา หัวใจ ไต เส้นประสาท เส้นเลือด นอกจากนี้ยังพบว่ามีโรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในโลหิตสูงร่วมด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการวินิจฉัยให้เร็วที่สุดเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน การตรวจคัดกรองเบาหวานในผู้ใหญ่ที่ไม่มีอาการ ผู้ที่ไม่มีอาการของโรคเบาหวานสมควรได้รับการเจาะเลือดตรวจตรวจหาเบาหวาน คือ

  1. คนที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 25 มและมีปัจจัยเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่งการคำนวนดัชนีมวลกายคลิกที่น
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • ประวัติครอบครัวพ่อแม่ พี่ หรือ น้อง เป็นเบาหวาน
  • ชนชาติหรือเชื้อชาติกลุ่มเสี่ยงต่อเบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูงมากกว่า140/90 mmHg
  • ระดับไขมัน HDL น้อยกว่า35 มก%และหรือ TG มากกว่า250 มก.%
  • ประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือน้ำหนักเด็กแรกคลอดมากกว่า4กิโลกรัม
  • HbA1c>5.7ผู้ที่ตรวจพบ IFG หรือ IGT
  • มีประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ผู้ป่วยที่อ้วนมากหรือมีลักษณะเป็นภาวะดื้อต่ออินซูลิน
  1. หากไม่มีเกณฑ์ดังกล่าวก็ให้ตรวจเมื่ออายุ 45 ปี
  2. หากผลปกติตะตรวจทุก 3 ปี

วิธีการตรวจ

  1. การวัดระดับกลูโคสในพลาสมาหลังการอดอาหารอย่างน้อย8ชั่วโมง [fasting plasma glucose :FPG] แนะนำให้ใช้วิธีซึ่งสะดวกและแม่นยำ ให้การวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานเมื่อระดับน้ำตาลในเลือด[FPG]สูงกว่า 126มก.%[7.0 mmol/L]
  2. การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส [ oral glucose tolerance test:OGTT] วัดระดับน้ำตาลกลูโคส2ชั่วโมงหลังได้กินน้ำตาล75 กรัมจะให้การวินิจฉัยเมื่อวัดน้ำตาลสูงกว่า 200มก.%[11.1mmol/L]
  3. การสุ่มวัดระดับกลูโคสในพลาสมา [random plasma glucose:RPG] โดยไม่กำหนดเวลาอดอาหาร ใช้ค่ามากกว่า 160 มก.% เนื่องจากมีความแม่นยำต่ำจึงไม่นิยม
  4. การใช้ระดับโปรตีนกลัยโคซัยเลต ได้แก่ glycosylate hemoglobin:HbA1c และ glycosylate albumin[fructosamine] ไม่นิยมเนื่องจากมีความไวและความแม่นยำต่ำ
  5. การตรวจหากลูโคสในปัสสาวะไม่นิยมเพราะผิดพลาดได้ง่าย

ปกติ

IFG OR IGT

เบาหวาน

FPG<100 mg/dl

2-Hr PG<140 mg/dl

FPG>100mg/dl <126mg/dl IFG

2-Hr PG>140mg/dl<200 mg/dl IGT

  • FPG>126mg/dl

  • 2-hr PG>200 mg/dl

  • RPG>200 mg/dl with symtoms

ในการตรวจหากลูโคสในกระแสเลือดควรคำนึงถึงยาที่ทำให้น้ำตาลสูงขึ้นเช่น steroid,thiazide,nicotinic acid,beta-block,ยาคุมกำเนิด

การตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์[Gestational Diabetes:GDM]

เด็กที่เกิดจากมารดาที่เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์มักพบความผิดปกติได้หลายแบบ เช่น เด็กตัวโตมีน้ำหนักมากกว่า4000กรัม [macrosomia] หรือพบความพิการแต่กำเนิด แบ่งผู้หญิงขณะตั้งครรภ์เป็น3กลุ่มดังนี้

  1. กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในการเป็นเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์[GDM]ได้แก่ ความอ้วน เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์[GDM] พบน้ำตาลในปัสสาวะ และมีประวัติเบาหวานในครอบครัว
  2. กลุ่มที่เสี่ยงปานกลาง
  3. กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำได้แก่
  • อายุน้อยกว่า25ปี
  • น้ำหนักของหญิงก่อนตั้งครรภ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ประวัติการตั้งครรภ์ครั้งก่อนปกติ
  • ไม่พบความผิดปกติในการตรวจน้ำตาล
  • ไม่พบผู้ป่วยเบาหวานในครอบครัวสายตรง
  • พบ[GDM]ในชุมชนต่ำ
  • ในกลุ่มเสี่ยงสูงให้ตรวจหากลูโคสในเลือดให้เร็วที่สุด หากปกติให้ตรวจอีกครั้งเมื่อตั้งครรภ์24-48สัปดาห์

ในกลุ่มเสี่ยงปานกลางให้ตรวจหากลูโคสเมื่อตั้งครรภ์24-48สัปดาห์

ในกลุ่มเสี่ยงต่ำไม่ต้องตรวจหากลูโคส

วิธีการตรวจ ให้เจาะวัดระดับกลูโคสในพลาสมาหลังการอดอาหารอย่างน้อย8ชั่วโมง [fasting plasma glucose :FPG] >126มก.% หรือ การสุ่มวัดระดับกลูโคสในพลาสมา [random plasma glucose:RPG] โดยไม่กำหนดเวลาอดอาหาร >200 มก.%ให้วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน หากน้ำตาลต่ำกว่านี้ให้ทดสอบว่าเป็น GDM หรือไม่ มีสองวิธี

  1. ทดสอบความทนทานกลูโคส [oral glucose tolerance test:OGTT] โดยการกินกลูโคส100กรัมแล้วเจาะหากลูโคสที่ 1 ,2,3 ชั่วโมง


มก.%

mmol/l

กลูโคสหลังงดอาหาร8-14 ชม.

95

5.3

1-ชั่วโมงหลังกินกลูโคส

180

10.0

2-ชั่วโมงหลังกินกลูโคส

155

8.6

3-ชั่วโมงหลังกินกลูโคส

140

7.8

ต้องงด อาหาร8-14ชั่วโมง และกินอาหารไม่จำกัด [glucose>150]gram/day]เป็นเวลา3วันผู้ป่วยนั่งและไม่สูบบุหรี่ตลอดการ ทดสอบ และระดับน้ำตาลต้องเท่ากับหรือเกินค่าในตารางอย่างน้อย2ค่า

  1. การทดสอบความทนทานกลูโคส [glucose challenge test: GCT] โดยการกินกลูโคส 50กรัมแล้วเจาะหากลูโคสถ้าพบว่าสูงกว่า140 มก.%ให้ทำตามข้อ1ต่อไป
  2. การคัดกรองของโรคเบาหวานชนิดที่หนึ่งไม่นิยมเนื่องจากราคาแพงและยังไม่เป็นที่ยอมรับ


ชนิดของโรคเบาหวาน แบ่งเบาหวานเป็น 4 กลุ่ม

โรคเบาหวานเป็นกลุ่มของโรคซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งอาจจะเกิดจากความผิดปกติของการสร้าง หรือการออกฤทธิ์ หรืออาจจะเกิดจากกลไกทั้งสอง ผลจากการที่น้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็งและมีการ ทำลาย ไต สมอง หัวใจ ระดับน้ำตาลเมื่อเป็นใหม่ๆจะไม่สูงแต่เมื่อเวลาผ่านไประดับน้ำตาลจะสูงขึ้น ชนิดของโรคเบาหวาน

  1. เบาหวานชนิดที่หนึ่ง [Type 1 diabetes,immune-mediated ] หรือที่เคยเรียกว่า Insulin-dependent diabetes ผู้ป่วยมักจะเกิดอาการก่อนอายุ 30 ปี ด้วยอาการหิวน้ำบ่อย น้ำหนักลด เกิด ketosis ได้ง่าย เกิดจากมีการทำลายของ ß-cell ทำให้มีการหลั่งอินซูลินน้อยลง
  • immune-mediated เป็นโรคเบาหวานชนิดที่1เกิดจากมีการทำลายของตับอ่อนเนื่องจากมีภูมิคุ้ม antibody กันต่อ beta-cell ของตับอ่อน นอกจากนั้นยังพบมี antibody ต่อ insulin ผ๔้ป่วยจะไม่มีการสร้าง insulin หรืออาจจะมีแต่น้อยมาก ความรุนแรงของโรคในแต่ละคนจะไม่เท่ากัน บางคนเป็นมากและเร็ว นอกจากนั้นผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังเสียงต่อการเกิดโรคแพ้ภูมิต่างๆ เช่น Graves’ disease, Hashimoto’s thyroiditis, Addison’s disease, vitiligo, celiac sprue, autoimmune hepatitis, myasthenia gravis, and pernicious anemia
  • Idiopathic diabetes เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ที่เจาะเลือดไม่พบ antibody ต่อเซลล์ของตับอ่อน

  1. เบาหวานชนิดที่สอง [Type 2 diabetes,noinsulin dependent] เกิดจากที่ร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เนื่องจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน (insulin resistance) ความสำคัญของโรคเบาหวานชนิดนี้ก็คือคนอาจจะเป็นโรคเบาหวานโดยที่ไม่เกิด อาการอะไร เมื่อผู้ป่วยมีอาการของโรคเบาหวานมักจะมีโรคแทรกซ้อนแล้วร้อยละ 50 จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวานจะต้อง ตรวจเลือดแม้ว่าจะยังไม่มีอาการของโรคเบาหวาน ผู้ป่วยมักจะมีอายุมากกว่า 30 ปีมักจะวินิจฉัยโดยการเจาะเลือดตรวจร่างกายโดยไม่มีอาการ ผู้ป่วยมักจะอ้วนโรคจะค่อยๆดำเนินจนเกิดโรคแทรกซ้อน ผู้ป่วยจะมีระดับอินซูลินปกติหรือสูงสาเหตุที่เป็นเบาหวานเพราะมีภาวะต้าน ต่ออินซูลิน insulin resistance การลดน้ำหนัก การออกกำลังกาย จะช่วยในการควบคุมโรคเบาหวาน
  2. เบาหวานชนิดอื่นๆตามสาเหตุ เช่น พันธุกรรมเนื่องจากการทำงานของ beta cell,การออกฤทธิ์ของอินซูลิน หรือจากการติดเชื้อ จากยาเป็นต้น เนื่องจากพบไม่บ่อยจึงไม่ขอกล่าวในที่นี้
  3. เบาหวานในคนตั้งครรภ์ [ Gestation diabetes] เบาหวานที่เป็นขณะตั้งครรภ์

(ในปี2010 ได้จัดเบาหวานไว้เป็นสี่กลุ่มดังกล่าวข้องต้น)

  1. Impaired fasting glucose/impaired glucose tolerance [IFG/IGT]
  • น้ำตาลของคนปกติจะน้อยกว่า 100 มก%
  • ค่าน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติแต่ยังไม่ถึงระดับที่จะวินิจฉัยว่าจะเป็นเบาหวาน [100-126 mg%] เรียก Prediabetes ผู้ป่วยกลุ่มนี้มี อัตราเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานสูงส่วน
  • ผู้ที่มีระดับน้ำตาลเกิน 126 มก%ให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน

ส่วนการตรวจความทนทานต่อเบาหวาน Glucose tolerance test

  • IGT เป็นการทดสอบโดยให้รับประทานน้ำตาล 75 กรับแล้วตรวจหาระดับน้ำตาลหลังรับประทานน้ำตาลไปแล้ว 2 ชั่วโมงอยู่ในช่วง 140 - 200 มก%
  • คนที่ปกติระดับน้ำตาลจะน้อยกว่า 140 มิลิกรัม
  • ค่าอยู่ระหว่าง 140-199 มิลิกรัมเรียก impaired glucose tolerance test เป็นภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน Prediabetes
  • ผู้ที่ระดับน้ำตาลมากกว่า 200 มิลิกรัม% ถือว่าเป็นโรคเบาหวาน
เบาหวานชนิดที่หนึ่ง เบาหวานชนิดที่สอง
  • เกิดในคนอายุน้อย(30)
  • ผอม
  • ไม่สามารถสร้างอินซูลิน
  • เกิดอาการรุนแรงได้ง่าย
  • จำเป็นต้องใช้อินซูลิน
  • เกิดในคนอายุมาก(40)
  • น้ำหนักเกินหรืออ้วน
  • ผลิตอินซูลินได้บ้าง แต่ไม่พอ
  • มีอาการเล็กน้อย
  • คุมอาหารและใช้ยาเม็ด


หลักการดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่เพิ่งจะเป็นหรือเป็นมานาน

แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานบทความที่ท่านอ่านอยู่นี้ อาจจะช่วยให้ท่านเข้าใจ และสามารถคุมเบาหวานได้ดีขึ้น หากว่าท่านคิดว่ามีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยเบาหวานกรุณาบอกต่อด้วยครับ เนื้อหาของบทความจะแบ่งเป็นหัวข้อดังนี้ และบางหัวข้อก็มีเรื่องย่อยอีกเป็นจำนวนมาก

  1. นิยามและการวินิจฉัย จะบอกท่านว่าเบาเกิดขึ้นได้อย่างไร มีอาการอะไรบ้าง และแบ่งชนิดของเบาหวานใหญ่ได้ 3 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 เบาหวานชนิดที่ 2 เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ อ่านให้หมดครับเป็นความรู้พื้นฐาน การวินิจฉัย เนื้อหาประกอบด้วยผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อเบาหวาน วิธีการเจาะเลือดเพื่อวินิจฉัยมีกี่วิธี การวินิจฉัยเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  2. หลักการคุมโรคเบาหวาน เนื้อหา จะบอกเป้าประสงค์ของการคุมเบาหวาน ท่านจะทราบจะบทความนี้ว่าการคุมเบาหวานที่ดีไม่เพียงแค่ระคับน้ำตาลเท่านั้น แต่ยังประกอบด้วย การคุมน้ำหนักที่ดี ความดันที่เหมาะสม ระดับไขมันที่เหมาะสม และควรตรวจระดับไขมันถี่แค่ไหน รวมทั้งน้ำตาลสะสมคืออะไร ท่านจะทราบทั้งหมดจากบทความนี้การรักษาเบาหวานประกอบด้วย

  • การคุมอาหารในผู้ป่วยเบาหวาน ท่านจะทราบว่าวันหนึ่งควรได้รับอาหารพวกแป้ง ไขมัน รวมทั้งโปรตีน เป็นปริมาณเท่าใด เมื่อใดที่เรียกว่าอ้วน และรายการอาหารตัวอย่าง
  • การออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน ท่านจะทราบประโยชนของกายออกกำลังกาย หลายท่านยังไม่ทราบว่าก่อนออกกำลังกาย ผู้ป่วยประเภทใดต้องตรวจร่างกายก่อนออกกำลังกาย วิธีการออกกำลังกาย รวมทั้งการเตรียมตัวออกกำลังกาย เหมาะมากสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่จะออกกำลังกายไม่ควรพลาด
  • การรักษาเบาหวานด้วยยา ท่านจะทราบเรื่องเกี่ยวกับยาเบาหวาน รวมทั้งผลข้างเคียง
  • การประเมินการรักษา จะแนะนำเรื่องการตรวจเลือดหรือปัสสาวะด้วยตัวเอง
  • การเรียนรู้และการดูแลรักษาตนเอง
  1. โรคเบาหวานกับโรคแทรกซ้อนได้แก่
  1. โรคเบาหวานกับภาวะพิเศษได้แก่


หลักการควบคุมโรคเบาหวาน

เป็นที่ทราบกันดีว่าการควบคุมโรคเบาหวานที่ดีสามารถลดโรคแทรกซ้อนได้ครึ่งหนึ่ง โดยเฉพาะโรคแทรกซ้อนที่เกิดกับ ตา [diabetic retinopathy] ไต [diabetic nephropathy] และปลายประสาทอักเสบ [diabetic neuropathy] การควบคุมโรคเบาหวานที่ดี ท่านผู้อ่านต้องรักษาความสมดุลของอาหาร การออกกำลังกาย และยาในการรักษาโรคเบาหวานขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ และชนิดของโรคเบาหวานที่ผู้ป่วยเป็น การรักษาและควบคุมโรคเบาหวานอย่างถูกต้องอาจช่วยป้องกันอาการโรคแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว

เป้าประสงค์ของการรักษาโรคเบาหวาน การควบคุมน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติจะ ทำให้เกิดผลดีหลายประการคือ

  1. สามารถลดโรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน เช่น ภาวะคีโตซีส [ diabetic ketoacidosis],ช็อกจากน้ำตาลในเลือดสูง [hyperosmolar hyperglycemic nonketotic syndrome]
  2. ลดอาการเนื่องจากน้ำตาลในเลือดสูง ตามัว น้ำหนักลด หิวบ่อย เพลีย ช่องคลอดอักเสบ
  3. ลดโรคแทรกซ้อนทาง ตา [diabetic retinopathy]ไต [diabetic nephropathy] ปลายประสาทอักเสบ [neuropathy]
  4. ลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดแข็ง เช่นทำให้ไขมันในเลือดใกล้เคียงปกติ

เกณฑ์การควบคุมเบาหวาน

แพทย์จะกำหนดว่าผู้ป่วยแต่ละคนที่ดูแลรักษาอยู่ควรจะควบคุมระดับน้ำตาล ความดันโลหิต ระดับไขมัน อยู่ในเกณฑ์เท่าใดขึ้นอยู่กับอายุ โรคร่วม พฤติกรรมการดำรงชีวิต ฐานะ ความร่วมมือตารางข้างล่างจะแสดงระดับเป้าหมายของความดัน น้ำตาล ไขมัน น้ำหนัก ดัชนีมวลกายและความถี่ของการตรวจ

เกณฑ์การควบคุมเบาหวานที่ดี

การตรวจวัด

คนปกติ

เป้าหมาย

ระดับที่ต้องแก้ไข

ความถี่ของการตรวจ

น้ำตาลหลังงดอาหาร 8 ชม.

Fasting blood sugar

<110 (มก%)

80-120 (มก%)

<80 หรือ >140 (มก%)

ทุกครั้งที่พบแพทย์

น้ำตาลหลังอาหาร 1 ชม.

Post pandrial blood sugar


100-160 (มก%)

<100 หรือ >160 (มก%)

ตามแพทย์สั่ง

ใช้ในกรณี tight control

น้ำตาลก่อนนอน

Bedtime glucose

<120 (มก%)

100-140 (มก%)

<100 or >160 (มก%)

ตามแพทย์สั่ง

ใช้ในกรณี tight control

น้ำตาลกลัยโคไซเลสเต็ด

HbA1c

<6%

<7%

>8%

เบาหวานควบคุมดีตรวจปีละ 2 ครั้ง

เบาหวานคุมไม่ดีตรวจปีละ 4 ครั้ง

ความดันโลหิต

120/80

130/85 mmHg

> 130/85 mmHg

วัดทุกครั้งที่พบแพทย์

LDL-Cholesterol

<130 (มก%)

<100 (มก%)

> 100 (มก%)

ถ้าปกติปีละครั้ง

ถ้าผิดปกติตรวจตามแพทย์สั่ง

HDL-Cholesterol

>45 (มก%)

>45(มก%)

<35(มก%)

ถ้าปกติปีละครั้ง

ถ้าผิดปกติตรวจตามแพทย์สั่ง

Triglyceride

<200(มก%)

<200 (มก%)

>200 (มก%)

ถ้าปกติปีละครั้ง

ถ้าผิดปกติตรวจตามแพทย์สั่ง

ดัชนีมวลกาย

Body mass index

20-25

20-25

<20 or >25

ชั่งน้ำหนักทุกครั้งที่พบแพทย์

ที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาผลการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ สองต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนในระยะยาว จนกระทั่ง /ข- ปีที่ผ่านมามีการศึกษาถึงผลการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่2 โดยมีประเด็นว่าการควบคุมเบาหวานแบบเข้มงวด intensive (คุมระดับน้ำตาลโดยให้ HbA1c<6.5 ว่าจะมีผลต่อการเสียชีวิตหรือโรคแทรกซ้อนอย่างไร ซึ่งพอจะสรุปผลดังนี้

  • ผู้ป่วยที่เริ่มรักษาเบาหวานหลังจากเป็นมาไม่นาน
  • ผู้ป่วยที่มีระดับ HbA1c สูงไม่มาก
  • และยังไม่มีโรคแทรกซ้อนจากโรคหัวใจและหลอดเลือด

สามกลุ่มดังกล่าวจะต้องคุมเบาหวานให้ดีที่สุดเพราะจะลดการเกิดโรคแทรกซ้อนในระยะยาวลงได้โดยตั้งเป้า HbA1c<6.5 mg%

สำหรับผู้ป่วยดังต่อไปนี้การคุมเบาหวานแบบเข้มงวดจะทำให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ผู้ป่วยกลุ่ม

  • ผู้ที่เป็นเบาหวานมาในระยะเวลายาวนาน
  • มีประวัติเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ
  • มีโรคหลอดเลือดแข็ง
  • สูงอายุหรืออ่อนแอมาก

องค์ประกอบการรักษา

การรักษาเบาหวานให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้นต้องอาศัยองค์ประกอบดังนี้

  1. การเปลี่ยนพฤติกรรม
  2. ยารักษาเบาหวาน
  3. การประเมินการรักษา


โรคเบาหวานกับการประเมินด้วยตัวเอง



เป็นที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่าการควบคุมเบาหวานให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด สามารถป้องกันหรือชะลอการเสื่อมของ ตา ไต เส้นประสาทและหลอดเลือด การจะคุมเบาหวานให้ใกล้เคียงค่าปกติสามารถทำได้โดยการคุมอาหาร การออกกำลังกาย และยา การเจาะน้ำตาลในเลือดเมื่อไปพบแพทย์เดือนละครั้งหรือ 3-4 เดือนครั้งอาจจะไม่เพียงพอสำหรับผู้ป่วยบางราย บางรายที่คุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีจำเป็นต้องตรวจหาน้ำตาลด้วยตัวเองเพื่อวางแผนปรับอาหาร หรือยาเพื่อให้ได้ระดับน้ำตาลที่เหมาะสมซึ่งสามารถกระทำได้โดย

  • การเจาะน้ำตาลโดยแพทย์
  • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง [self monitor blood glucose]
  • ตรวจระดับน้ำตาลในปัสสาวะ
  • ตรวจ hemoglobin A1c

การตรวจน้ำตาลโดยแพทย์

ปัจจุบันเครื่องตรวจน้ำตาลด้วยตัวเองมีความแพร่หลายและมีการตรวจค่าน้ำตาลเฉลี่ยดังนั้นการตรวจน้ำตาล 3-4 เดือนครั้งหนึ่งไม่เพียงพอที่จะใช้ในการปรับยา อาจจะใช้ปรับยาในกรณีที่ใช้ยารับประทาน หากท่านไปพบแพทย์ตามนัดแพทย์จะเจาะหาระดับน้ำตาลในเลือดโดยอาจจะเจาะก่อนอาหารเช้า หรืออาจจะเจาะหลังอาหารเช้า และจะเจาะหาน้ำตาลเฉลี่ยปีละ 2 ครั้ง


การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง [self monitor blood glucose, SMBG]

ผู้ป่วยบางท่านไม่มีความจำเป็นที่ต้องเจาะเลือดด้วยตัวเองที่บ้าน แต่ผู้ป่วยบางท่านมีความจำเป็นต้องเจาะเลือดที่บ้านวันละ 2-3 ครั้งสัปดาห์ละ 2-3 วันเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน การเจาะเลือดวันละหลายครั้งทำให้ท่านทราบว่า เวลานั้นระดับน้ำตาลของท่านเป็นเท่าใด หากเจาะวันละหลายเวลายิ่งทำให้ทราบถึง การตอบสนองต่อการรักษาทำให้แพทย์สามารถปรับแผนการรักษาได้ดียิ่งขึ้น ควรที่จะมีการเปรียบเทียบระหว่างเครื่องที่ใช้กับเครื่องมาตรฐานว่าแตกต่างกันหรือไม่ น้ำตาลใน plasma จะสูงกว่าน้ำตาลในเลือดร้อยละ10-15

ใครควรได้รับการตรวจระดับน้ำตาลด้วยตัวเอง

  • ผู้ป่วยเบาหวานที่กินหรือฉีดยารักษาเบาหวาน
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่ตั้งครรภ์
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่คุมระดับน้ำตาลได้ยาก
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลต่ำมาก หรือสูงมาก
  • ผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลต่ำโดยที่ไม่มีอาการของน้ำตาลต่ำ
  • ผู้ป่ายเบาหวานชนิดที่1
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะเจ็บป่วย

ควรจะเจาะน้ำตาลเวลาไหนดี มีการเลือกเจาะหลายวิธี

  • เจาะก่อนอาหาร และก่อนนอน เป็นการตรวจตามมาตรฐาน
  • เจาะหลังอาหาร 1-2 ชม.จะมีผู้ป่วยบางรายที่ระดับน้ำตาลตอนเช้าหรือก่อนอาหารปกติแต่มีระดับ น้ำตาลหลังอาหารสูง ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนการรักษา
  • เจาะเลือดเมื่อมีอาการผิดปกติเมื่อคุณรู้สึกใจสั่นหน้ามือ เหงื่อออก เป็นลม ปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย ซึม จะต้องเจาะเลือดเพื่อประเมินระดับน้ำตาลในเลือด

โดยทั่วไปแนะนำให้เจาะก่อนอาหารอาจจะเจาะ 3 มื้อเมื่อสามารถคุมระดับน้ำตาลได้ดีประมาณ 100 มก.%จึงเจาะหาระดับน้ำตาลหลังอาหารเพื่อปรับอาหาร การออกกำลังกาย และยาเพื่อคุมระดับน้ำตาลให้ได้ตามที่ต้องการตามตารางการควบคุมเบาหวานที่ดี

เจาะเลือดถี่แค่ไหนถึงจะดี

  • ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่หนึ่งให้เจาะก่อนอาหารและก่อนนอนวันละ 4 ครั้งหลังจากคุมระดับน้ำตาลได้ดีจึงลดความถี่ลงเหลืออาทิตย์ละ 2-3 ครั้งให้เจาะหลังอาหาร
  • ผู้ป่วยชนิดที่สองให้เจาะอย่างน้อยวันละครั้ง อาจจะก่อนหรือหลังอาหารหรือก่อนนอนก็ได้

วิธีเจาะเลือดหาระดับน้ำตาลด้วยตัวเอง

การตรวจปัสสาวะ

เป็นการตรวจอย่างคร่าวๆว่าสามารถคุมเบาหวานได้ดีเพียงใด ซึงสามารถทำได้ง่ายไม่เจ็บ แต่ไม่แม่นยำเท่าการเจาะเลือด ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 180 มก.%จึงสามารถตรวจพบน้ำตาลในเลือด ควรจะใช้กรณีที่ไม่สามารถเจาะเลือดด้วยตัวเองได้ การตรวจปัสสาวะสามารถตรวจดูระดับน้ำตาล และคีโตนในปัสสาวะ

ควรตรวจบ่อยแค่ไหน

  1. ผู้ป่วยเบาหวานที่กินยารักษาเบาหวาน
  • ควรตรวจอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งเวลาก่อนอาหารเช้า และก่อนอาหารเย็น
  • เมื่อมีอาการไม่สบาย เช่นเป็นไข้ ควรตรวจวันละ 4 ครั้งก่อนอาหาร และก่อนนอน
  • เมื่อมีอาการสงสัยว่า ภาวะน้ำตาลในเลือดจะสูงหรือต่ำผิดปกติ ควรตรวจดูทันที
  1. ผู้ป่วยที่ฉีดอินซูลิน
  • ควรตรวจวันละ 4 ครั้งก่อนอาหาร 3 มื้อและก่อนนอน อาจสลับตรวจหลังอาหารบ้าง ก่อนอาหารบ้าง
  • ถ้าทำไม่ได้ให้ทำวันละครั้งตามแต่ชนิดของอินซูลินที่ฉีด

การแปลผล

  • ถ้าตรวจปัสสาวะแล้วไม่พบน้ำตาล และผู้ป่วยไม่มีอาการ ก็ให้ถือว่าควบคุมได้ดี
  • ถ้าตรวจปัสสาวะแล้วไม่พบน้ำตาล และผู้ป่วยมีอาการน้ำตาลต่ำ ก็แสดงว่าน้ำตาลต่ำ
  • ถ้าตรวจแล้วพบว่ามีน้ำตาลบ้างไม่มีบ้าง ถือว่าพอใช้ได้
  • ถ้าตรวจพบน้ำตาลเป็นปริมาณมากทุกครั้งแสดงว่าควบคุมไม่ดี

การตรวจคีโตน

การตรวจหาคีโตนในปัสาวะมีความสำคัญมากในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โรคเบาหวานที่กำลังเกิดความเครียดเช่นการติดเชื้อ โรคหัวใจ หรือผู้ป่วยที่มีอาการของ ketoacidosisi หากพบคีโตนในปัสสาวะแสองว่ามีสาร hydroxybutyric acid,บงบอกว่าอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง

วิธีตรวจปัสสาวะด้วยตัวเอง

Hemoglobin A1c

การตรวจน้ำตาลในกระแสเลือดเป็นการตรวจหาน้ำตาลในขณะนั้นแต่การตรวจหา Hemoglobin A1c เป็นการตรวจค่าเฉลี่ยของน้ำตาลในระยะ 2-3 เดือนที่ผ่านมา ค่าปกติของคนที่ไม่เป็นเบาหวานอยู่ที่ 5 มก.% ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมได้ดีควรอยู่ต่ำกว่า 7 มก.%หากค่า Hemoglobin A1c มากกว่า 8 จะต้องเปลี่ยนแปลงการรักษา เช่นการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย ความเครียด

ควรเจาะถี่แค่ไหน

  • ผู้ป่วยที่ใช้อินซูลินควรตรวจปีละ 4 ครั้ง
  • ผู้ป่วยที่ใช้ยากินควรตรวจปีละ 2 ครั้ง
  • สำหรับคนที่ตั้งครรภ์หรือคนที่คุมเบาหวานยังไม่ดีอาจจะต้องเจาะถี่ขึ้น

ความสัมพันธ์ระหว่างระดับ HbA1c และระดับน้ำตาลในเลือด

HbA1c และระดับน้ำตาลในเลือด

HbA1c ค่าเฉลี่ยน้ำตาล
6.0% 126 mg/dl
7.0% 154 mg/dl
8.0% 183 mg/dl
9.0% 212 mg/dl
10.0% 240 mg/dl
11.0% 269 mg/dl
12.0% 298 mg/dl

จากตารางจะพบว่า HbA1c มากกว่า 7 ระดับน้ำตาลเฉลี่ยในเลือดจะสูงเกิน 170 มิลิกรัม%ซึ่งต้องปรับการรักษา ดังนั้นในการรักษาเราจะคุมระดับ HbA1c ให้น้อยกว่า 7

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหา