Clock


วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

หลักการรักษาโรคหัวใจ article

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
สาเหตุ : หลอด เลือดหัวใจตีบ ตัน เนื่องจากตะกรันไขมัน และ ลิ่มเลือด ปัจจัยเสี่ยง (อายุ เพศชาย พันธุกรรม ไขมันในเลือด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง บุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย) แม้ไม่มีปัจจัยเสี่ยงก็เป็นได้
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการเจ็บหน้าอก, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หลักการรักษา : รักษา ตามอาการ ให้ยาลดอัตราการเต้นของหัวใจ ยาขยายหลอดเลือด แอสไพริน (ถ้าไม่มีข้อห้าม) หากควบคุมอาการไม่ได้ดี ควรฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ ขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน หรือ ผ่าตัดหัวใจ (บายพาส) หากเกิดหลอดเลือดอุดตันภายใน 6 ชม. แพทย์อาจพิจารณาให้ยาละลายลิ่มเลือด หรือ ขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนทันที
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากหัวใจเสียมาก บีบตัวน้อย การพยากรณ์โรคไม่ดี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : งด บุหรี่   รับประทานยาลดไขมันในเลือดให้โคเลสเตอรอลน้อยกว่า 200, LDL น้อยกว่า 70 ควบคุมเบาหวาน ความดันโลหิต ให้ปกติ ออกกำลังกาย ตามสมควร หากแน่นหน้าอกรุนแรงต้องรีบมารพ.ใกล้ที่สุดทันที ยิ่งมาเร็วยิ่งดี

ความดันโลหิตสูง
สาเหตุ : มากกว่าร้อยละ 95 ไม่มีสาเหตุ กลุ่มที่มีสาเหต ุคือ ไตวาย (บ่อยที่สุด) ความผิดปกติของ หลอดเลือด เนื้องอกบางชนิด
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดปัญหาแทรกซ้อนจากความดันสูงในระยะยาว คือ ลดอัมพาต ลดโรคหัวใจ ลดไตวาย แต่ก็ยังไม่สามารถลดได้ 100 % ยังคงเสี่ยงต่อผลแทรกซ้อนดังกล่าวอยู่บ้าง
หลักการรักษา : ควบ คุมความดันโลหิตด้วยยา มียาหลายกลุ่มมาก เช่น ยาลดชีพจร ยาต้านแคลเซียม ยาขับปัสสาวะ ยา ACEI ARB ฯลฯ ยาที่ดีควรครอบคลุม 24 ชม. ไม่มียาใดที่ไม่มีผลแทรกซ้อน แต่การไม่รักษา มีผลเสียมากกว่า
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาด ส่วนใหญ่จำเป็นต้องรับประทานยาตลอดไป มากบ้างน้อยบ้าง ส่วนน้อยที่หยุดยาได้ แต่ต้องติดตามวัดความดันโลหิตสม่ำเสมอ
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : ลด อาหารเค็ม รับประทานยาสม่ำเสมอ ลดน้ำหนัก (ถ้าอ้วน) อย่าให้เป็นเ บาหวาน หรือ ไขมันสูง ควรมีเครื่องวัดความดันที่บ้าน เนื่องจากค่าใกล้เคียงกับความจริง มากกว่าวัดที่รพ. (white-coat effect) เลือกรักษาที่สะดวก อย่าเปลี่ยน แพทย์บ่อยๆ หากจำเป็นนำยาเดิมไปด้วยทุกครั้ง

ภาวะหัวใจล้มเหลว
สาเหตุ : โรค หลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน กล้ามเนื้อหัวใจตาย ลิ้นหัวใจตีบรั่ว ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจพิการจากสาเหตุต่างๆ เช่น ไวรัส เบาหวาน แอลกอฮอล์ (รวมทั้งไม่มีสาเหตุ)
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการหอบเหนื่อย หรือ บวม, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หลักการรักษา : รักษา ตามอาการ ให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดน้ำในปอด ยาขยายหลอดเลือดช่วยให้หัวใจ ทำงานสบายขึ้น  ยากระตุ้นหัวใจ นอกจากนั้นแล้ว บางรายต้องรักษาตามสาเหตุด้วย เช่น ผ่าตัดแก้ไขลิ้นหัวใจ ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ เป็นต้น หากหัวใจเต้นผิดจังหวะก็ต้องให้ยาควบคุม
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากหัวใจเสียมาก บีบตัวน้อย การพยากรณ์โรคไม่ดี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : รับ การรักษาสม่ำเสมอ ไม่ควรขาดยา ไม่ซื้อยารับประทานเอง เพราะยา หลายอย่างมีผลแทรกซ้อนมาก   หากแน่นหน้าอก หอบเหนื่อยมาก ต้องรีบมารพ.ใกล้ที่สุดทันที

ลิ้นหัวใจตีบ หรือ รั่ว
สาเหตุ : การ ติดเชื้อในวัยเด็ก (โรคหัวใจรูห์มาติก) หรือ ติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ เกิดจากความเสื่อมของลิ้นหัวใจ เช่น อายุมาก หรือ เป็นแต่กำเนิด
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการหอบเหนื่อยจากหัวใจล้มเหลว, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หลักการรักษา :  รักษา ตามอาการ ในกรณีที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว จะให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดน้ำในปอด ยาขยายหลอดเลือดช่วยให้หัวใจ ทำงานสบายขึ้น นอกจากนั้นแล้ว จำเป็นต้อง   ผ่าตัดแก้ไขลิ้นหัวใจด้วย เช่น ซ่อมลิ้น หรือ เปลี่ยนลิ้นหัวใจ   หากหัวใจเต้นผิดจังหวะก็ต้องให้ยาควบคุม ในกรณีที่เป็นน้อยไม่ต้องการ การรักษา
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากลิ้นหัวใจเสียมาก และไม่ผ่าตัดแก้ไข หรือ ผ่าตัดช้าไป การพยากรณ์โรคจะไม่ดี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : เมื่อ ลิ้นหัวใจผิดปกติมาก แพทย์แนะนำผ่าตัดก็ควรผ่าตัด หากมีลิ้นหัวใจเทียม ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะโอกาสติดเชื้อสูง เลือดออกง่าย ไม่ควรซื้อยาเองแม้แต่ยาหวัด หากทำฟัน ขูดหินปูน ผ่าตัดใดๆ ต้องแจ้งแพทย์ก่อนทุกครั้ง สำหรับสตรีที่ต้องการตั้งครรภ์ต้องแจ้งแพทย์ก่อนเช่นกัน

กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอ่อน
สาเหตุ : กล้ามเนื้อหัวใจพิการจากสาเหตุต่างๆ เช่น ไวรัส เบาหวาน แอลกอฮอล์ (รวมทั้งไม่มีสาเหตุ)
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการหอบเหนื่อย หรือ บวม, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หลักการรักษา : รักษา ตามอาการ ให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดน้ำในปอด ยาขยายหลอดเลือดช่วยให้หัวใจ ทำงานสบายขึ้น  ยากระตุ้นหัวใจ นอกจากนั้นแล้ว   หากหัวใจเต้นผิดจังหวะก็ต้องให้ยาควบคุม ในรายที่รุนแรง การรักษาที่ดีที่สุดคือ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากหัวใจเสียมาก บีบตัวน้อย การพยากรณ์โรคไม่ดี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : งด อาหารเค็ม รับการรักษาสม่ำเสมอ ไม่ควรขาดยา ไม่ซื้อยารับประทานเอง เพราะยา หลายอย่างมีผลแทรกซ้อนมาก   หากแน่นหน้าอก หอบเหนื่อยมาก ต้องรีบมารพ.ใกล้ที่สุดทันที

เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
สาเหตุ : การติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย วัณโรค เอดส์ ไตวาย SLE มะเร็ง (รวมทั้งไม่มีสาเหตุ)
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการเจ็บหน้าอก ลดน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ
หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ให้ยาต้านการอักเสบ รักษาสาเหตุ หากมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ อาจต้องเจาะหรือผ่าตัดระบายออก
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่หายขาดขึ้นกับสาเหตุ   การพยากรณ์โรคขึ้นกับสาเหตุ
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : อา การเยื่อหุ้หัวใจอักเสบจากไวรัส   อาจพบร่วมกับกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบด้วย ซึ่งต้องระวัง เพราะมีโอกาสหัวใจเต้นผิดจังหวะ เสียชีวิตได้

โรคอ้วน
สาเหตุ : อาหารให้พลังงานสูง เช่น ไขมัน ขนมหวาน พันธุกรรม พฤติกรรมการบริโภค
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดน้ำหนัก เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ควบคุมอาหาร ลดมัน ลดหวาน งดแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายมากขึ้น
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : ขึ้นกับความตั้งใจจริงที่จะควบคุมน้ำหนัก
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : ต้องตั้งใจจริง

เบาหวานกับโรคหัวใจ
สาเหตุ : เบาหวานทำให้หลอดเลือดเสื่อมทั้งร่างกาย รวมทั้งหลอดเลือดหัวใจ
จุดมุ่งหมายการรักษา : ป้องกันผลแทรกซ้อนจากเบาหวาน, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หลักการรักษา : ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติที่สุด ด้วยการคุมอาหาร ยาลดน้ำตาล ยาฉีดเมื่อจำเป็น หากมีไขมันในเลือดสูงก็ต้องรักษาด้วย
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากมีผลแทรกซ้อน แล้วการพยากรณ์โรคมักไม่ดี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : หลีก เลี่ยงน้ำตาล น้ำอัดลม ขนมหวาน ผลไม้หวานจัด (เงาะ ลิ้นจี่ ลำใย องุ่น) ใช้นำตาลเทียมแทน ตรวจสุขภาพระบบอื่นๆด้วย เพราะเบาหวานมีผลต่อทุกระบบในร่างกาย

ไขมันในเลือดสูง
สาเหตุ : บริโภคอาหารไขมันสูง พันธุกรรม โรคบางขนิด ร่างกายสร้างไขมันขึ้นเองเป็นส่วนใหญ่
จุดมุ่งหมายการรักษา : ป้องกันผลแทรกซ้อนจากไขมัน หลอดเลือดสมอง หัวใจ ตีบ
หลักการรักษา : ควบ คุมไขมันในเลือด โคเลสเตอรอลควรน้อยกว่า 200, LDL น้อยกว่า 100 (น้อยกว่า 70 ในผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือ เบาหวาน) โดยมากมักต้องใช้ยาช่วยจึงจะได้ระดับต่ำขนาดนี้
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : การรักษาเป็นการหวังผลระยะยาว แม้ว่าอาจไม่ได้ผลในการ ป้องกันโรคหัวใจกับทุกคน
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงทุกประเภท ลดน้ำหนัก ออกกำลังกายมากขึ้น

ใจสั่น ใจเต้นแรง
สาเหตุ : อาจเป็นปกติ อาจพบได้ในคนปกติ หรือ โรคอื่นๆที่ไม่ใช่โรคหัวใจก็ได้   หรือ เกิดจากหัวใจ เต้นผิดจังหวะ
จุดมุ่งหมายการรักษา :   ลดอาการ ป้องกันการเกิดอัมพาต (ในกรณีหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด)
หลักการรักษา : ควบคุมการเต้นหัวใจด้วยยา หากไม่ได้ผล หรือ อาการมาก อาจใช้คลื่นวิทยุจี้ทำลาย วงจรไฟฟ้าหัวใจ
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค :   ขึ้นกับชนิดของหัวใจเต้นผิดจังหวะ
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : หัดจับชีพจรตัวเองเมื่อเวลาเกิดอาการ เพราะบางครั้งรู้สึกใจสั่น แต่ความจริงแล้วอัตราการเต้นปกติก็ได้

คำแนะนำการดูแลหลังการผ่าตัดหัวใจ


  1. ควรสวมเสื้อผ้าหลวมๆ ใส่สบาย ไม่รัดตึงแผลผ่าตัดที่หน้าอก แขนหรือขา                                       
  2. ในระยะ 1-3 สัปดาห์หลังการผ่าตัด ให้พักผ่อนมากๆ พอสัปดาห์ที่ 4-6 สามารถวิ่งเล่นได้ แต่ห้ามยกของหนักและควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักๆ
  3. อย่ารับประทานอาหารหรือขนมที่มีรสเค็ม (ขนมกรุบกรอบสำหรับเด็กมักจะมีรสเค็ม) เพราะจะทำให้เกิดอาการตัวบวมและหัวใจทำงานหนักมากยิ่งขึ้น
  4. ถ้าแผลยังไม่แห้งดี (แผลจะปิดผ้าก๊อสไว้) ควรไปทำแผลที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทุกวัน ให้ใช้วิธีเช็ดตัว และเมื่อแผลแห้งดีแล้ว จึงอาบน้ำได้
  5. การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารประเภทผลไม้สด ผักสด อาหารที่มีไขมันต่ำและอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต (พวกแป้ง) ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทมัน เค็ม ทอด เปลี่ยนวิธีปรุงอาหารเป็นนึ่ง ต้ม อบ แทนการทอด
  6. หลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชนหรือคนเยอะๆ เนื่องจากอาจเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
  7. การสังเกตแผลผ่าตัด ถ้ามีอาการปวด บวมแดง ร้อน มีน้ำเหลืองไหลออกมา ควรรีบไปพบแพทย์
  8. ถ้ามีอาการเหนื่อย หอบมากผิดปกติ ควรไปพบแพทย์
  9. ควรรับประทานยาและมาตรวจตามนัด ตามที่แพทย์มีคำสั่งการรักษา
  10. รับประทานยาตามคำแนะนำของพยาบาลหรือเภสัชกรที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานยาก่อนออกจากโรงพยาบาล

การผ่าตัดหัวใจ "โรคหัวใจ"

การผ่าตัดหัวใจ โรคหัวใจที่จำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดสามารถแยกออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

 1.โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart disease)
 2.โรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลัง (Acquired Heart disease)
 โรค หัวใจพิการแต่กำเนิดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ชนิดเขียว และชนิดไม่เขียว การผ่าตัดรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดไม่ว่าจะเป็นชนิดเขียว หรือไม่เขียว ก็มีทั้งการผ่าตัดแบบประคับประคองหรือแก้ไขได้ทั้งหมดจนกลับมาเหมือนปกติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความผิดปกติที่มีมาแต่กำเนิดในผู้ป่วยแต่ละ คน ความผิดปกติบางอย่างต้องผ่าตัดรักษาตั้งแต่ระยะแรกคลอด ความผิดปกติบางอย่างสามารถรอจนโตขึ้นมาหน่อยได้ การผ่าตัดหัวใจในเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กต้องอาศัยความละเอียดอ่อนมากกว่าการผ่าตัดในผู้ใหญ่หลาย เท่าตัว
โรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลังที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด แบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ ที่พบบ่อย คือ
 - โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
 - โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว
 - โรคของเส้นเลือดแดงใหญ่ (Aorta)
โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
 เป็น โรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลังที่พบมากที่สุด มีวิธีการรักษาทั้งชนิดที่ต้องผ่าตัดและไม่ต้องผ่าตัด การรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัดคือ การถ่างขยายเส้นเลือดหัวใจด้วยบอลลูนตรงตำแหน่งที่ตีบตัน โดยจะใส่ขดลวดขนาดเล็กเข้าไปค้ำเสริมด้วยหรือไม่ก็ได้ ถ้าเส้นเลือดหลักทั้ง 3 เส้น ตีบตันหมด ก็เป็นข้อบ่งชี้ในการทำผ่าตัดรักษา เนื่องจากการถ่างด้วยบอลลูน ต้องถ่างหลายเส้น หลายตำแหน่งและอาจต้องหลายหน บางครั้งต้องกลับมาถ่างซ้ำอีกเนื่องจากตีบตันที่ตำแหน่งเดิมที่ถ่างไปรวมๆ แล้วอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการถ่างด้วยบอลลูนสูงกว่าการผ่าตัดถึง 2-3 เท่าตัวหรือมากกว่า
 ผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยการถ่างด้วยบอลลูน ก็มีโอกาสเสียชีวิตในห้องสวนหัวใจระหว่างการทำบอลลูนได้ มีโอกาสเสียชีวิตที่บ้านได้ เนื่องจากเส้นเลือดหัวใจตีบตันขึ้นมาใหม่ ซึ่งโอกาสเสียชีวิตเหล่านี้อาจจะมากกว่าการผ่าตัดต่อเส้นเลือดหัวใจ (Coronary artery bypass graft) ที่ทำโดยศัลยแพทย์หัวใจที่มีความชำนาญสูง ซึ่งจะมีอัตราการเสียชีวิตเพียง 1-2% (ในผู้ป่วยที่นัดมาทำผ่าตัด) และยิ่งถ้าต่อด้วยเส้นเลือดแดงทั้งหมดแล้ว ในระยะ 10 ปี เส้นเลือดที่ต่อไป จะมีโอกาสตันประมาณ 15-20% เท่านั้น
โรคลิ้นหัวใจตีบ หรือรั่ว
 การ ผ่าตัดโรคลิ้นหัวใจตีบ หรือรั่ว มีทั้งการทำผ่าตัดโดยการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ หรือซ่อมลิ้นหัวใจ โรคของลิ้นบางรายก็ตัดสินใจง่าย คือเปลี่ยนเลย เนื่องจากซ่อมแซมไม่ได้ แต่ในรายที่สามารถซ่อมแซมได้ศัลยแพทย์หัวใจที่ชำนาญในเรื่องการซ่อมลิ้น หัวใจ ก็จะพยายามซ่อมแซมลิ้นหัวใจให้กลับมาใช้งานได้ใกล้เคียงของเดิมมากที่สุดแทน ที่จะเปลี่ยนลิ้นหัวใจ เนื่องจาการข้อเสียของการเปลี่ยนลิ้นหัวใจก็คือ ถ้าเปลี่ยนเป็นลิ้นโลหะ ก็จะต้องรับประทานยาละลายลิ่มเลือดไปตลอดชีวิต เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ่มเลือดไปจับที่ลิ้นโลหะทำให้ลิ้นอุดตัน ถ้าเปลี่ยนเป็นลิ้นเนื้อเยื่อ ซึ่งทำมาจากหมู หรือวัว ไม่จำเป็นต้องกินยาละลายลิ่มเลือด แต่ลิ้นเนื้อเยื่อจะเสื่อมไปตามเวลาซึ่งจะมีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี หลังจากนั้นต้องทำการผ่าตัดซ้ำเพื่อเปลี่ยนลิ้นอันใหม่
โรคของเส้นเลือดแดงใหญ่ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
 - เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
 - เส้นเลือดแดงใหญ่ฉีกขาด
 ทั้ง สองกรณี มักเกิดจากการที่ผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูง และไม่ได้ควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติ หรือไม่รู้ตัวมาก่อนว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง การผ่าตัดรักษามีโอกาสเสียชีวิต หรือมีโรคแทรกซ้อนสูงมาก โดยเฉพาะถ้าทำการผ่าตัดในกรณีฉุกเฉิน วิธีผ่าตัดโดยทั่วไปจะตัดเส้นเลือดที่เป็นโรคออกและใส่เส้นเลือดเทียมเข้าไป แทน ปัจจุบันสามารถรักษาโรคของเส้นเลือดแดงใหญ่ ได้ด้วยวิธีการดามด้วยขดลวดโดยใช้เครื่องเอกซเรย์ระบุตำแหน่ง โดยจะมีแผลผ่าตัดที่ขาหนีบเพื่อใช้สอดใส่ขดลวดดามเข้าไป วิธีนี้ก็จะลดอัตราเสี่ยงต่างๆ ลงไปมาก แต่ยังคงมีราคาสูงและไม่สามารถใช้ได้ในผู้ป่วยทุกราย

การผ่าตัดหัวใจบายพาส

วิธีการผ่าตัดบายพาส
        แพทย์จะนำเส้นเลือดดำจากขาหรือเส้นเลือดแดงจากผนังหน้าอกมาต่อให้เป็นเส้น เลือดใหม่ โดยจะให้เส้นเลือดใหม่นี้ต่อข้ามจุดที่ตีบตันข้ามไปหาหัวใจ หลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะเจ็บหน้าอกน้อยลง ก่อนการผ่าตัดบายพาสจะต้องตรวจให้แน่ใจว่ามีเส้นเลือดหัวใจตีบหรือไม่ การผ่าตัดจะใช้เวลาประมาณ 3-6 ชั่วโมง เมื่อผ่าตัดเสร็จแล้วผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดในห้องไอซียู ประมาณ 2-3 วัน จึงจะพ้นขีดอันตราย การผ่าตัดบายพาสในปัจจุบันมีอัตราเสี่ยง 1-2% เท่านั้น ยกเว้นผู้ป่วยที่มีอาการหนักหรือเกิดการช็อก เป็นต้น
        การต่อหลอดเลือดศัลยแพทย์ต้องใช้ความชำนาญอย่างมาก เนื่องจากหลอดเลือดมีขนาดเล็ก 1-2 มิลลิเมตร ศัลยแพทย์จะต้องใช้แว่นขยายประมาณ 2 เท่าครึ่ง ถึง 3 เท่าครึ่ง โดยเส้นไหมที่ใช้ในการเย็บเส้นเลือดเข้าด้วยกันจะมีขนาดเล็กกว่าเส้นผม แต่เหนียวพอที่จะยึดหลอดเลือดไว้ด้วยกัน รอยผ่าจะมีอยู่บริเวณกลางหน้าอกจากคอหอยถึงเหนือสะดือ และจะมีรอยแผลที่ด้านในของขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ซึ่งจำเป็นต้องผ่าตัดเลาะเอาหลอดเลือดดำที่ขามาใช้
9 ข้อน่ารู้เกี่ยวกับการผ่าตัดบายพาส
        1.ปลอดภัยสูงและได้ผลดี ต้องผ่าตัด ต้องวางยาสลบ
        2.โรคเบาหวานไม่เป็นข้อห้ามในการผ่าตัด
        3.จะใช้การนำเลือดดำจากขา หรือเส้นเลือดแดงจากผนังหน้าอก มาต่อเป็นเส้นเลือดใหม่
        4.หลังผ่าตัด 4-6 อาทิตย์ จึงกลับไปทำงานได้
        5.หลังผ่าตัดอาจใช้ยาอยู่บ้าง
        6.หลังผ่าตัดต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบอย่างเคร่งครัด
        7.ออกกำลังกายเพื่อให้กระดูกหน้าอกเชื่อมติดกัน
        8.สามารถดำรงชีวิตได้เหมือนคนปกติ
        9.ติดต่อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้จากสถาบัน ที่ทำการทุกแห่งหรือติดต่อปรึกษาแพทย์ที่ทำการผ่าตัดบายพาสได้โดยตรง

วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เตรียมพร้อมก่อนผ่าตัดหัวใจ

สาขาวิชาศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก ภ.ศัลยศาสตร์
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล


           หัวใจ เป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายกำปั้น ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีพักผ่อน เพราะด้วยหน้าที่ที่ต้องสูบฉีดโลหิตไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย หากหยุดทำงานเมื่อใดก็หมายถึงการสูญเสียชีวิต ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคหัวใจจำนวนมากที่ประสบกับภาวะทุกข์ทรมานจากอาการป่วย การรักษาที่ดีที่สุดขณะนี้ก็คือ การผ่าตัด ซึ่งเป็นเรื่องน่ายินดีที่ปัจจุบัน โรคหัวใจทุกชนิดสามารถทำการผ่าตัดได้ แต่หากร่างกายมีภาวะของโรคร้ายแรงอื่น ๆ ร่วมด้วย อาทิ โรคมะเร็ง อาการสมองตายหรือพิการ และการติดเชื้อรุนแรง ก็อาจทำให้ไม่สามารถทำการผ่าตัดได้ สำหรับสาเหตุหลักของการเกิดโรคอาจเกิดจากการติดเชื้อ และภาวะเป็นพิษต่าง ๆ นอกจากนี้ยังรวมถึงปัจจัยเสี่ยงที่เสริมให้เกิดโรค เช่น บุหรี่ อาหารบางประเภท โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
โรคหัวใจมีกี่ชนิด และสาเหตุของโรคเกิดจากอะไร
           โรคหัวใจแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ ชนิดที่เป็นแต่กำเนิด และเป็นภายหลังเกิด แต่ที่พบบ่อยในประเทศไทย ได้แก่
1. โรคหัวใจแต่กำเนิด
2. โรคหัวใจรูห์มาติก
3. โรคหัวใจจากความดันโลหิตสูง
4. โรคหัวใจจากหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
5. โรคหัวใจจากภาวะอื่น ๆ

ทำไมต้องผ่าตัดหัวใจ
           โดยปกติ การรักษาสามารถทำได้ 3 วิธี คือ ใช้ยา ใช้เครื่องมือพิเศษ และการผ่าตัด ซึ่งแพทย์มักจะรักษาผู้ป่วยโดยการให้ยาก่อนเสมอ ควบคู่กับการแนะนำให้ปฏิบัติตัวต่าง ๆ เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อน แต่หากอาการไม่ทุเลา หรือมีการดำเนินโรคไปในทางที่แย่ลง แพทย์ก็อาจแนะนำให้รักษาด้วยเครื่องมือพิเศษหรือใช้วิธีผ่าตัด สำหรับการใช้เครื่องมือพิเศษ ก็เช่น ใช้สายสวนที่มีปลายบอลลูนใส่เข้าไปถ่างหลอดเลือดตีบ หรือการใส่เครื่องมือพิเศษเข้าไปอุดรอยรั่ว ซึ่งวิธีที่กล่าวมาจะใช้ได้เฉพาะกรณีผู้ป่วยโรคหัวใจแต่กำเนิดที่มีผนังกั้น ห้องบนรั่ว หรือในรายที่หลอดเลือดหรือลิ้นหัวใจตีบ แพทย์ก็จะใส่บอลลูนเข้าไปขยายได้ เป็นต้น
           ส่วน โรคหัวใจบางชนิดที่ใช้ยารักษาไม่ได้ผล หรือได้ผลน้อยมาก ก็จำเป็นต้องผ่าตัด เช่น โรคหัวใจแต่กำเนิด โรคเนื้องอกภายในหัวใจ โรคลิ้นหัวใจรั่วมาก โรคลิ้นหัวใจติดเชื้อที่ใช้ยาไม่ได้ผล หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจระยะสุดท้าย ซึ่งอาจจำเป็นต้องรักษาโดยการเปลี่ยนหัวใจ

เตรียมตัวให้พร้อมก่อนผ่าตัดหัวใจ
           ใน การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด ศัลยแพทย์จะต้องอธิบายถึงภาวะโรคหัวใจที่ท่านกำลังเป็นอยู่ เหตุผลที่ต้องผ่าตัด อัตราการเสี่ยง และผลดีผลเสียที่จะตามมา นอกจากนี้ยังจะแนะนำหลักปฏิบัติต่าง ๆ คือ
1. ควร ไปพบทันตแพทย์ เพื่อรักษาโรคฟันผุ เหงือกอักเสบ ให้เรียบร้อยก่อน เพราะอาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อภายหลังการผ่าตัดได้ และข้อสำคัญคือ ผู้ป่วยจะต้องบอกทันตแพทย์ก่อนการรักษาว่าท่านเป็นโรคหัวใจเพื่อที่ ทันตแพทย์จะได้ให้ยาปฏิชีวนะก่อนและหลังการทำฟัน
2. ควรงดดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ และงดบุหรี่ก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 1 สัปดาห์
3. ถ้ามีประวัติเลือดออกง่าย หยุดยากผิดปกติ หรือมีจ้ำเลือดตามร่างกายของผู้ป่วยหรือญาติพี่น้องจะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย
4. งดยาบางชนิดอย่างน้อย 5-7 วัน เช่น แอสไพริน หรือยาหัวใจบางชนิดซึ่งแพทย์จะเป็นผู้แจ้งให้ทราบ
5. ต้องแจ้งประวัติการแพ้ยา แพ้สารบางอย่างให้แพทย์ทราบ

ดูแลร่างกายอย่างไรเมื่อผ่าตัดหัวใจแล้ว
           ผู้ป่วยจะต้องอยู่ในหออภิบาลผู้ป่วยโรคหัวใจ (CCU Cardiac Care) ซึ่ง จะมีแพทย์ พยาบาลที่ผ่านการอบรมมาโดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถติดตามดูแลการทำงานของหัวใจ ตลอดเวลา และสำหรับผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจในระยะแรกก่อนที่จะหายใจเองได้ ดี โดยปกติใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 1-2 วัน นอกจากกรณีที่อาการยังไม่ดีขึ้นเท่าไรนัก ก็จำเป็นต้องพักฟื้นจนอาการดีขึ้นแล้วจึงค่อยย้ายออก

วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แพ็กเก็จคลอดบุตรโรงพบาบาลสินแพทย์

ที่โรงพยาบาลสินแพทย์ เราให้การดูแลด้วยความเชี่ยวชาญ และเอาใจใส่ เพื่อให้คุณแม่และลูกรักได้รับการดูแลอย่างมีมาตรฐาน โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง สูติแพทย์ วิสัญญีแพทย์ กุมารแพทย์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านทารกแรกเกิด
รายละเอียด แพ็คเก็จคลอดแบบปกติ (Normal Vaginal Delivery Package)
 โรงพยาบาลสินแพทย์รวมบริการต่างๆดังนี้
ค่าห้องคลอด และทีมงานห้องคลอด
ค่าอุปกรณ์การแพทย์ในการทำคลอด เครื่องมือช่วยคลอด เครื่องดูดสูญญากาศ หรือคีมคีบช่วยคลอด
ค่าห้องพักสำหรับมารดาและทารก และชุดรับผู้ป่วย พร้อมอาหารและค่าบริการพยาบาล รวม 2 คืน
ค่า การตรวจพื้นฐานทางห้องปฏิบัติการ ที่จำเป็นสำหรับมารดาและทารก ได้แก่ CBC , UA , Anti HIV , VDRL ,Blood Cross Matching 1 unit Neonatal Grouping (ตรวจหาหมู่เลือด ABO)
ตรวจเลือดหาภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดในทารก (PKU, TSH)
ตรวจหาภาวะตัวเหลืองในทารกด้วยเครื่อง Bilirubinometer
ตรวจวัดระดับเปอร์เซ็นต์ออกซิเจนในเลือด เพื่อคัดกรองโรคหัวใจในทารกแรกเกิด
ค่าเวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ รวมทั้งเครื่องตรวจการทำงานของหัวใจทารกในครรภ์
ค่า ยา สำหรับมารดา และวัคซีน สำหรับทารกแรกเกิดปกติ เช่น วัคซีนป้องกัน วัณโรค (BCG) ,Vit K1 ,วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี เข็มแรก (ยกเว้น HBIG กรณีที่มารดาเป็นพาหะ ไวรัสตับอักเสบ บี)
ค่าแพทย์ผู้ดูแลรักษา ได้แก่ สูติแพทย์ กุมารแพทย์ และวิสัญญีแพทย์ รวมค่าทำคลอด
บริการอื่น ๆ ได้แก่
อบรมหลักสูตร ครรภ์คุณภาพ และฝึกปฏิบัติเตรียมตัวก่อนคลอด
ภาพแรกของลูกพร้อมสมุดบันทึกสุขภาพ
บริการจัดทำใบสูติบัตร บัตรสมาชิกวัคซีนสำหรับทารก
อัตราค่าบริการ
ห้องเดี่ยว 24,500 บาท ทำหมัน คิดเพิ่ม 5,500 บาท
ห้องคู่ 24,000 บาท ฉีดยาชาทางไขสันหลัง ระงับการเจ็บครรภ์ คิดเพิ่ม 4,000 บาท
ห้องรวม 4 เตียง 23,500 บาท ตรวจการได้ยินในทารกแรกเกิด (OAE) คิดเพิ่ม 500 บาท

รายละเอียด แพ็คเก็จผ่าตัดคลอด (Caesarian Section Package)
โรงพยาบาลสินแพทย์เป็นบริการคลอดแบบเหมาจ่ายของการผ่าตัด คลอดทางหน้าท้องมารดาและทารก จะได้รับการดูแลในโรงพยาบาล เป็นระยะเวลา 3 คืน
ค่าห้องผ่าตัด และทีมงานห้องผ่าตัด
ค่าอุปกรณ์การแพทย์ในการผ่าตัดคลอด ค่ายาสลบ และค่าก๊าซที่จำเป็นสำหรับการคลอด
ค่าเวชภัณฑ์ และเครื่องมือแพทย์ รวมทั้งเครื่องตรวจการทำงานของหัวใจทารกในครรภ์
ค่าห้องพักสำหรับมารดาและทารกและชุดรับผู้ป่วย พร้อมอาหารและค่าบริการพยาบาล รวม 3 คืน
ค่า การตรวจพื้นฐานทางห้องปฏิบัติการ ที่จำเป็นสำหรับมารดาและทารก ได้แก่ CBC , UA , Anti HIV , VDRL ,Blood Cross Matching 1 unit Neonatal Grouping (ตรวจหาหมู่เลือด ABO)
ตรวจเลือดหาภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดในทารก (PKU, TSH)
ตรวจหาภาวะตัวเหลืองในทารกด้วยเครื่อง Bilirubinometer
ตรวจวัดระดับเปอร์เซ็นต์ออกซิเจนในเลือด เพื่อคัดกรองโรคหัวใจในทารกแรกเกิด
ค่าเวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ รวมทั้งเครื่องตรวจการทำงานของหัวใจทารกในครรภ์
ค่า ยา สำหรับมารดา และวัคซีน สำหรับทารกแรกเกิดปกติ เช่น วัคซีนป้องกัน วัณโรค (BCG) ,Vit K1 ,วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี เข็มแรก (ยกเว้น HBIG กรณีที่มารดาเป็นพาหะ ไวรัสตับอักเสบ บี)
ค่าแพทย์ผู้ดูแลรักษา ได้แก่ สูติแพทย์ กุมารแพทย์ และวิสัญญีแพทย์ รวมค่าทำคลอด
บริการอื่น ๆ ได้แก่
อบรมหลักสูตร ครรภ์คุณภาพ และฝึกปฏิบัติเตรียมตัวก่อนคลอด
ภาพแรกของลูกพร้อมสมุดบันทึกสุขภาพ
บริการจัดทำใบสูติบัตร บัตรสมาชิกวัคซีนสำหรับทารก
อัตราค่าบริการ
ห้องเดี่ยว 35,900 บาท ทำหมัน คิดเพิ่ม 5,000 บาท
ห้องคู่ 34,900 บาท ผ่าตัดไส้ติ่ง คิดเพิ่ม 5,000 บาท
ห้องรวม 4 เตียง 33,900 บาท ผ่าตัดใส้ติ่ง และทำหมัน คิดเพิ่ม 9,000 บาท
ตรวจการได้ยินในทารกแรกเกิด (OAE) คิดเพิ่ม 500 บาท

กรณีพักฟื้นเกินจากที่โรงพยาบาลกำหนด โรงพยาบาลจะคิดค่าใช้จ่ายส่วนที่เกิน ตามความเป็นจริงในอัตราปกติ
 กรณี ที่มีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นกับมารดา เช่น รกค้าง ตกเลือดภายหลังคลอด รกลอกตัวก่อนกำหนด รกเกาะต่ำ ครรภ์เป็นพิษ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน กรณีที่มีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นกับทารก เช่น ตัวเหลือง ทารกคลอดก่อนกำหนด สำลักน้ำคล่ำ ฯลฯ คลอดทารกแฝด ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด เช่น เครื่องดื่ม ค่าโทรศัพท์ ค่าอาหารตามสั่ง Tubigrip รัดหน้าท้อง Nipple shield หมอนรองให้นม (Baby ‘s Pillow) ฯลฯ ค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์ก่อนคลอด และค่าบริการตรวจพิเศษ เช่น ตรวจอัลตร้าซาวด์ 3 มิติ, ตรวจคัดกรองการได้ยินในเด็กแรกเกิด ,ตรวจคัดกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์
 
หมายเหตุ :
 กรณีที่มีการรักษาอาการ หรือภาวะแทรกซ้อนของมารดาหรือทารก จะไม่สามารถใช้บริการแพ็คเก็จคลอดได้
 ร.พ. จะคิดค่าใช้จ่ายในอัตราปกติ โดยยินดีให้ส่วนลด 10 % (เฉพาะค่าห้องและค่ายา)
 ราคาโปรแกรมอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
 อัตราค่าบริการนี้ เริ่มใช้ 1 เมษายน 2550 เป็นต้นไป 
สอบถาเพิ่มเติมได้ที่
 โรงพยาบาลสินแพทย์ 9/99 ถนนรามอินทรา กม. 8.5 แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร 10230 โทร. 0-2793-5099
9/99 Ramintra Rd., K.M. 8.5 Kunnayao, Bangkok 10230 Tel. 0-2793-5099

แพ็กเก็จคลอดบุตรโรงพยาบาลบำรุงราษฎ์

การคลอดปกติ ( 25th Anniversary ) Package Code: OBST 1.2.1 Effective Date: 18 กรกฎาคม 2548 (First Originated : 1 เมษายน 2548)
สรุป: โปรแกรมนี้เป็นบริการการคลอดแบบเหมาจ่ายของการคลอดปกติ มารดาและทารกจะได้รับการดูแลในโรงพยาบาล เป็นระยะเวลา 2 คืน รายการที่รวมอยู่ในโปรแกรม:
ค่าห้องคลอดและทีมงานห้องคลอด
ค่าห้องพักประเภทห้องเดี่ยวสำหรับมารดา พร้อมอาหารและ ค่าบริการพยาบาล รวม 2 คืน
ค่าห้องทารกแรกเกิดและค่าบริการพยาบาลรวม 2 คืน
การ ตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็นสำหรับมารดาและทารกได้แก่ - CBC , Anti HIV สำหรับมารดา - Neonatal Grouping ( ABO Grouping , Rh Grouping ) & Direct Coomb’s Test , *PKU , TSH(Newborn) Hct , Microbilirubin สำหรับทารก
ค่ายาและค่าเวชภัณฑ์ ที่จำเป็นสำหรับการคลอด
ค่าอุปกรณ์การแพทย์ในการทำคลอดรวมทั้งเครื่องตรวจการทำงานของหัวใจทารกในครรภ์
ค่าแพทย์ ได้แก่ สูติแพทย์ กุมารแพทย์ บริการอื่น ๆ ได้แก่
1. อบรมหลักสูตรการเตรียมตัวก่อนคลอด
2. ชุดของขวัญสำหรับทารก
3. ภาพแรกของลูก
4. บริการจัดทำสูติบัตร รายการที่ไม่รวมอยู่ในโปรแกรม: กรณีมารดาพักรักษาพยาบาลเกิน 2 คืน
โรง พยาบาลจะคิดค่าใช้จ่ายส่วนที่เกินตามความเป็นจริง สูติแพทย์สามารถคิดค่าบริการตรวจเยี่ยมผูป่วยเพิ่มเติมในอัตราปกติของแพทย์ ท่านนั้น
บริการคลอดแบบเหมาจ่ายใช้ได้เฉพาะในกรณีการคลอดทารกเพียง หนึ่งคนและไม่มีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นเท่านั้น ถ้ามีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นกับมารดาจะไม่สามารถใช้บริการคลอดแบบเหมาจ่ายได้ และโรงพยาบาลฯ จะคิดค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง ถ้าทารกมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นโดยไม่มีผลต่อมารดาโรงพยาบาลฯ จะหักค่าใช้จ่าย เฉพาะส่วนของทารกและกุมารแพทย์เป็นจำนวนเงิน 9,000 บาท ออกจากค่าบริการเหมาจ่าย และจะคิดค่าใช้จ่ายสำหรับทารกตามความเป็นจริงค่ากุมารแพทย์ ซึ่งจะคิดตามอัตราปกติของแพทย์ท่านนั้น
การผ่าตัดคลอด กรณีที่มารดาใช้บริการคลอดเหมาจ่ายสำหรับการคลอดปกติ แต่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดคลอด สามารถเปลี่ยนไปใช้โปรแกรมการผ่าตัดคลอดแบบเหมาจ่ายได้
ค่าวิสัญญี แพทย์ในการฉีดยาเข้าไขสันหลัง ในกรณีมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ให้เปลี่ยนมาใช้โปรแกรมคลอดชนิด OBST 1.3 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการทำคลอดปกติครั้งนี้ ค่าเวชภัณฑ์และการตรวจพิเศษที่ไม่รวมในราคาบริการแบบเหมาจ่ายได้แก่ หมอนรองให้นม ( Baby’s Pillow ) , การตรวจการได้ยินของทารก ( New Born Hearing Screening Test ) , ผ้าอ้อมชนิดผ้า ( Diaper Cloth) , ผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่นำกลับบ้าน ( Pamper Baby Dry )
ค่าใช้จ่ายส่วน ตัวภายในห้องพัก เช่น ค่าเครื่องดื่ม ค่าโทรศัพท์ และค่าอาหารตามสั่ง ซึ่งทางโรงพยาบาลจะคิดตามราคาปกติ ยาและเวชภัณฑ์สำหรับนำกลับบ้าน ราคาบริการแบบเหมาจ่ายสามารถใช้ได้เฉพาะกับแพทย์ที่เข้าร่วมในโครงการบริการ คลอดแบบเหมาจ่ายเท่านั้น
ผู้มีสิทธิใช้โปรแกรม: มารดาที่มีปัญหาทางสุขภาพและอาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงสูงในการคลอดบุตรจะ ไม่สามารถใช้โปรแกรมการคลอดแบบเหมาจ่ายได้ ซึ่งได้แก่ ครรภ์แฝด ,ภาวะครรภ์เป็นพิษ , รกลอกตัวก่อนกำหนด ,รกเกาะต่ำ เป็นต้น ภาวะเลือดออกผิดปกติขณะตั้งครรภ์ มารดาที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังซึ่งต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด โดยได้รับการพิจารณาจากแพทย์เจ้าของไข้
ราคาโปรแกรม: 42,900 บาท ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม: ค่าขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศของทารก(เพศชาย) คิดเพิ่มตามความเป็นจริงในอัตราปกติ การทำหมันหญิงหลังคลอดคิดค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงในอัตราปกติ หมายเหตุ: ทางโรงพยาบาลขอยกเว้นการกำหนดฤกษ์เวลาคลอด – ผ่าตัดคลอดบุตรในเวลา 21.00 – 7.00 น.
ราคาบริการแบบเหมาจ่ายสงวนสิทธิ์เฉพาะผู้ที่เลือกพักในห้อง เดี่ยวธรรมดาเท่านั้น ค่าบริการแบบเหมาจ่ายไม่สามารถใช้ร่วมกับการส่งเก็บบริษัทคู่สัญญา บริษัทประกัน รวมถึงส่วนลดในฐานะบริษัทคู่สัญญา บริษัทประกันและสิทธิพิเศษอื่นๆ ราคานี้สงวนสิทธิ์เฉพาะผู้ที่คลอดระหว่างวันที่ 18 กรกฎาคม 2548 ถึง31 ธันวาคม 2549 เท่านั้น ราคาโปรแกรมอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องแจ้งให้ท่านทราบล่วงหน้า
การคลอดปกติโดยฉีดยาชา ที่ไขสันหลัง ( 25th Anniversary ) Package Code: OBST 1.3.1 Effective Date: 18 กรกฎาคม 2548 (First Originated : 1 เมษายน 2548)
สรุป: โปรแกรมนี้เป็นบริการการคลอดแบบเหมาจ่ายของการคลอดปกติ โดยฉีดยาชาที่ไขสันหลัง
มารดาและทารกจะได้รับการดูแลในโรงพยาบาล เป็นระยะเวลา 2 คืน
รายการที่รวมอยู่ในโปรแกรม:
ค่าห้องคลอดและทีมงานห้องคลอด
ค่าห้องพักประเภทห้องเดี่ยวสำหรับมารดา พร้อมอาหารและ ค่าบริการพยาบาล รวม 2 คืน
ค่าห้องทารกแรกเกิดและค่าบริการพยาบาลรวม 2 คืน
การ ตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็นสำหรับมารดาและทารกได้แก่ - CBC , Anti HIV สำหรับมารดา - Neonatal Grouping ( ABO Grouping , Rh Grouping ) & Direct Coomb’s Test , *PKU , TSH(Newborn) Hct , Microbilirubin สำหรับทารก
ค่ายาและค่าเวชภัณฑ์ ที่จำเป็นสำหรับการคลอด ค่ายาชาที่ฉีดเข้าไขสันหลัง
ค่า อุปกรณ์การแพทย์ในการทำคลอดรวมทั้งเครื่องตรวจการทำงานของหัวใจทารกในครรภ์ ค่าแพทย์ ได้แก่ สูติแพทย์ กุมารแพทย์ และ วิสัญญีแพทย์
บริการอื่น ๆ ได้แก่
1. อบรมหลักสูตรการเตรียมตัวก่อนคลอด
2. ชุดของขวัญสำหรับทารก
3. ภาพแรกของลูก
4. บริการจัดทำสูติบัตร
รายการที่ไม่รวมอยู่ในโปรแกรม:
กรณี มารดาพักรักษาพยาบาลเกิน 2 คืน โรงพยาบาลจะคิดค่าใช้จ่ายส่วนที่เกินตามความเป็นจริง สูติแพทย์สามารถคิดค่าบริการตรวจเยี่ยมผูป่วยเพิ่มเติมในอัตราปกติของแพทย์ ท่านนั้น บริการคลอดแบบเหมาจ่ายใช้ได้เฉพาะในกรณีการคลอดทารกเพียงหนึ่งคนและไม่มีโรค แทรกซ้อนเกิดขึ้นเท่านั้น ถ้ามีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นกับมารดาจะไม่สามารถใช้บริการคลอดแบบเหมาจ่ายได้ และโรงพยาบาลฯ จะคิดค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง ถ้าทารกมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นโดยไม่มีผลต่อมารดาโรงพยาบาลฯ จะหักค่าใช้จ่าย เฉพาะส่วนของทารกและกุมารแพทย์เป็นจำนวนเงิน 9,000 บาท ออกจากค่าบริการเหมาจ่าย และจะคิดค่าใช้จ่ายสำหรับทารกตามความเป็นจริงค่ากุมารแพทย์ ซึ่งจะคิดตามอัตราปกติของแพทย์ท่านนั้น การผ่าตัดคลอด
กรณีที่มารดา ใช้บริการคลอดเหมาจ่ายสำหรับการคลอดปกติ แต่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดคลอด สามารถเปลี่ยนไปใช้โปรแกรมการผ่าตัดคลอดแบบเหมาจ่ายได้ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการทำคลอดปกติครั้งนี้ ค่าเวชภัณฑ์และการตรวจพิเศษที่ไม่รวมในราคาบริการแบบเหมาจ่ายได้แก่ หมอนรองให้นม ( Baby’s Pillow ) , การตรวจการได้ยินของทารก ( New Born Hearing Screening Test ) , ผ้าอ้อมชนิดผ้า ( Diaper Cloth) , ผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่นำกลับบ้าน ( Pamper Baby Dry )
ค่าใช้จ่ายส่วน ตัวภายในห้องพัก เช่น ค่าเครื่องดื่ม ค่าโทรศัพท์ และค่าอาหารตามสั่ง ซึ่งทางโรงพยาบาลจะคิดตามราคาปกติ ยาและเวชภัณฑ์สำหรับนำกลับบ้าน ราคาบริการแบบเหมาจ่ายสามารถใช้ได้เฉพาะกับแพทย์ที่เข้าร่วมในโครงการบริการ คลอดแบบเหมาจ่ายเท่านั้น ผู้มีสิทธิใช้โปรแกรม: มารดาที่มีปัญหาทางสุขภาพและอาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงสูงในการคลอดบุตรจะ ไม่สามารถใช้โปรแกรมการคลอดแบบเหมาจ่ายได้ ซึ่งได้แก่ ครรภ์แฝด ,ภาวะครรภ์เป็นพิษ , รกลอกตัวก่อนกำหนด ,รกเกาะต่ำ เป็นต้น ภาวะเลือดออกผิดปกติขณะตั้งครรภ์ มารดาที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังซึ่งต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด โดยได้รับการพิจารณาจากแพทย์เจ้าของไข้
ราคาโปรแกรม: 52,900 บาท ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม: ค่าขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศของทารก(เพศชาย) คิดเพิ่มตามความเป็นจริงในอัตราปกติ การทำหมันหญิงหลังคลอดคิดค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงในอัตราปกติ หมายเหตุ: ทางโรงพยาบาลขอยกเว้นการกำหนดฤกษ์เวลาคลอด – ผ่าตัดคลอดบุตรในเวลา 21.00 – 7.00 น. ราคาบริการแบบเหมาจ่ายสงวนสิทธิ์เฉพาะผู้ที่เลือกพักในห้องเดี่ยวธรรมดาเท่า นั้น ค่าบริการแบบเหมาจ่ายไม่สามารถใช้ร่วมกับการส่งเก็บบริษัทคู่สัญญา บริษัทประกัน รวมถึงส่วนลดในฐานะบริษัทคู่สัญญา บริษัทประกันและสิทธิพิเศษอื่นๆ ราคานี้สงวนสิทธิ์เฉพาะผู้ที่คลอดระหว่างวันที่ 18 กรกฎาคม 2548 ถึง31 ธันวาคม 2549 เท่านั้น ราคาโปรแกรมอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องแจ้งให้ท่านทราบล่วงหน้า
 การผ่าตัดคลอด ( 25th Anniversary ) Package Code: OBST 2.2.1 Effective Date: 18 กรกฎาคม 2548 (First Originated : 1 เมษายน 2548)
สรุป: โปรแกรมนี้เป็นบริการคลอดแบบเหมาจ่ายของการผ่าตัดคลอด มารดาและทารกจะได้รับการดูแลในโรงพยาบาล เป็นระยะเวลา 3 คืน รายการที่รวมอยู่ในโปรแกรม:
ค่าห้องคลอด ทีมงานห้องคลอด และค่าห้องผ่าตัด
ค่าห้องพักประเภทห้องเดี่ยวสำหรับมารดา พร้อมอาหารและ ค่าบริการพยาบาล รวม 3 คืน
ค่า ห้องทารกแรกเกิดและค่าบริการพยาบาลรวม 3 คืน การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็นสำหรับมารดาและทารกได้แก่ - CBC , Anti HIV สำหรับมารดา - Neonatal Grouping ( ABO Grouping , Rh Grouping ) & Direct Coomb’s Test , *PKU , TSH(Newborn) Hct , Microbilirubin สำหรับทารก ค่ายา ,ยาสลบ, ค่าเวชภัณฑ์, และค่าก๊าซ ทางการแพทย์ ที่จำเป็นสำหรับการคลอด
ค่าอุปกรณ์การแพทย์ในการทำคลอดรวมทั้ง เครื่องตรวจการทำงานของหัวใจทารกในครรภ์ ค่าแพทย์ ได้แก่ สูติแพทย์ กุมารแพทย์ วิสัญญีแพทย์ และ แพทย์ผู้ช่วยศัลยแพทย์
บริการอื่น ๆ ได้แก่
1. อบรมหลักสูตรการเตรียมตัวก่อนคลอด
2. ชุดของขวัญสำหรับทารก
3. ภาพแรกของลูก
4. บริการจัดทำสูติบัตร
รายการที่ไม่รวมอยู่ในโปรแกรม:
กรณี มารดาพักรักษาพยาบาลเกิน 3 คืน โรงพยาบาลจะคิดค่าใช้จ่ายส่วนที่เกินตามความเป็นจริง สูติแพทย์สามารถคิดค่าบริการตรวจเยี่ยมผูป่วยเพิ่มเติมในอัตราปกติของแพทย์ ท่านนั้น บริการคลอดแบบเหมาจ่ายใช้ได้เฉพาะในกรณีการคลอดทารกเพียงหนึ่งคนและไม่มีโรค แทรกซ้อนเกิดขึ้นเท่านั้น ถ้ามีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นกับมารดาจะไม่สามารถใช้บริการคลอดแบบเหมาจ่ายได้ และโรงพยาบาลฯ จะคิดค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง ถ้าทารกมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นโดยไม่มีผลต่อมารดาโรงพยาบาลฯ จะหักค่าใช้จ่าย เฉพาะส่วนของทารกและกุมารแพทย์เป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท ออกจากค่าบริการเหมาจ่าย และจะคิดค่าใช้จ่ายสำหรับทารกตามความเป็นจริงค่ากุมารแพทย์ ซึ่งจะคิดตามอัตราปกติของแพทย์ท่านนั้น
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการทำคลอดปกติครั้งนี้ ค่าเวชภัณฑ์และการตรวจพิเศษที่ไม่รวมในราคาบริการแบบเหมาจ่ายได้แก่ หมอนรองให้นม ( Baby’s Pillow ) , การตรวจการได้ยินของทารก ( New Born Hearing Screening Test ) , ผ้าอ้อมชนิดผ้า ( Diaper Cloth) , ผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่นำกลับบ้าน ( Pamper Baby Dry ) การเตรียมและใช้สารเลือด ค่าใช้จ่ายส่วนตัวภายในห้องพัก เช่น ค่าเครื่องดื่ม ค่าโทรศัพท์ และค่าอาหารตามสั่ง ซึ่งทางโรงพยาบาลจะคิดตามราคาปกติ ยาและเวชภัณฑ์สำหรับนำกลับบ้าน ราคาบริการแบบเหมาจ่ายสามารถใช้ได้เฉพาะกับแพทย์ที่เข้าร่วมในโครงการบริการ คลอดแบบเหมาจ่ายเท่านั้น ผู้มีสิทธิใช้โปรแกรม: มารดาที่มีปัญหาทางสุขภาพและอาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงสูงในการคลอดบุตรจะ ไม่สามารถใช้โปรแกรมการคลอดแบบเหมาจ่ายได้ ซึ่งได้แก่ ครรภ์แฝด,ภาวะครรภ์เป็นพิษ , รกลอกตัวก่อนกำหนด ,รกเกาะต่ำ เป็นต้น ภาวะเลือดออกผิดปกติขณะตั้งครรภ์ มารดาที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังซึ่งต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด โดยได้รับการพิจารณาจากแพทย์เจ้าของไข้ ผู้ที่ทำหัตถการอื่นๆร่วมเช่น Appendectomy , Myomectomy , Ovariancystectomy
ราคาโปรแกรม: 61,900 บาท ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม: ค่าขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศของทารก(เพศชาย) คิดค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงในอัตราปกติ การทำหมันหญิงพร้อมกับการผ่าตัดคลอดคิดเพิ่ม 8,000 บาท หมายเหตุ: 1. ทางโรงพยาบาลขอยกเว้นการกำหนดฤกษ์เวลาคลอด – ผ่าตัดคลอดบุตรในเวลา 21.00 – 7.00 น. 2. ราคาบริการแบบเหมาจ่ายสงวนสิทธิ์เฉพาะผู้ที่เลือกพักในห้องเดี่ยวธรรมดาเท่า นั้น 3. ค่าบริการแบบเหมาจ่ายไม่สามารถใช้ร่วมกับการส่งเก็บบริษัทคู่สัญญา บริษัทประกัน รวมถึงส่วนลดในฐานะบริษัทคู่สัญญา บริษัทประกันและสิทธิพิเศษอื่นๆ 4. ราคานี้สงวนสิทธิ์เฉพาะผู้ที่คลอดระหว่างวันที่ 18 กรกฎาคม 2548 ถึง31 ธันวาคม 2549 เท่านั้น ราคาโปรแกรมอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องแจ้งให้ท่านทราบล่วงหน้า

แพ็กเก็จคลอดบุตรโรงพยาบาลนครธน

ลูก... คือสายใยแห่งรัก...คือความหวังในการสร้างสรรค์สังคมที่ดีงาม พ่อแม่ทุกคนล้วนเฝ้ารอการเกิดมาของสมาชิกใหม่อย่างปลอดภัยและสมบูรณ์ พร้อมที่จะมอบความรักและสิ่งดีๆ ให้ลูกน้อยตั้งแต่การเริ่มต้นของชีวิต โรงพยาบาลนครธน ให้บริการผู้ป่วยภายใต้คำขวัญ “มาตรฐาน ฉับไว มั่นใจบริการ” ขอมอบบริการ “คลอดเหมาจ่าย” ภายใต้มาตรฐานระดับสากล ดังนี้
  • มาตรฐานทีมแพทย์ ซึ่งประกอบด้วย สูติแพทย์, กุมารแพทย์, วิสัญญีแพทย์ และทีมพยาบาลผู้ดูแลคุณแม่และลูกน้อย
  • มาตรฐานสิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ทางการแพทย์
  • มาตรฐานห้องพัก และห้องทารกแรกเกิด
  • มาตรฐานการดูแล แนะนำวิธีปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด

การคลอดปกติ (ไม่มีโรคหรือภาวะแทรกซ้อน)
อัตราค่าบริการ 29,700 บาท

สิทธิของบริการคลอดแบบเหมาจ่าย
  • ค่าห้องพักสำหรับมารดาหลังคลอด พร้อมอาหาร และค่าบริการพยาบาล 2 คืน 3 วัน
  • ค่าห้องสำหรับทารกแรกเกิดรวม 2 คืน 3 วัน
  • ค่าเครื่องมือแพทย์ในการทำคลอด รวมถึงเครื่องตรวจการทำงานของหัวใจทารกในครรภ์
  • ค่าแพทย์ทุกสาขาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการคลอดบุตร ได้แก่ สูติแพทย์, กุมารแพทย์ รวม 2 คืน 3 วัน
  • ค่ายาและค่าวัสดุการแพทย์ที่ใช้ในการคลอด และช่วงที่พักฟื้นตามปกติ
  • วัคซีนสำหรับทารกแรกเกิด (วัคซีนป้องกันวัณโรค, วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี)
  • ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการสำหรับทารกปกติ
  • ชุดของใช้สำหรับคุณแม่ขณะพักฟื้นในโรงพยาบาล
  • ชุดของใช้สำหรับบุตรในขณะพักในโรงพยาบาล
  • บริการจัดทำสูติบัตร
  • ชุดตะกร้าของขวัญสำหรับคุณแม่และลูกน้อยกลับบ้าน
  • กรอบรูปภาพถ่ายและรอยเท้าของทารกแรกเกิด
  • บุตรจะได้รับบัตร VIP เพื่อเป็นสมาชิกของโรงพยาบาลนครธน
  • สมาชิกนิตยสารรักลูก 1 ปี เริ่มเดือนที่คลอดเป็นฉบับแรก
  • รักลูกบุ๊คส์ กลุ่มเมนูอาหารเด็ก จำนวน 1 เล่ม
  • รักลูกบุ๊คส์ กลุ่มส่งเสริมพัฒนาการ จำนวน 1 เล่ม
  • คอร์สอบรมเตรียมคุณแม่ก่อนคลอด (Mother Class) ปีละ 4 ครั้ง
  • คอร์สอบรมเรื่องการเลี้ยงดูบุตรและพัฒนาการของเด็กตั้งแต่แรกเกิด
  • สิทธิในการซื้อแพ็คเก็จวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด-1 ปี (Smart Child) ราคา 4,200 บาท

การผ่าตัดคลอด (ไม่มีโรคหรือภาวะแทรกซ้อน)
อัตราค่าบริการ 46,200 บาท

สิทธิของบริการคลอดแบบเหมาจ่าย
  • ค่าห้องพักสำหรับมารดาหลังคลอด พร้อมอาหาร และค่าบริการพยาบาล 3 คืน 4 วัน
  • ค่าห้องสำหรับทารกแรกเกิดรวม 3 คืน 4 วัน
  • ค่าเครื่องมือแพทย์ในการทำคลอด รวมถึงเครื่องตรวจการทำงานของหัวใจทารกในครรภ์
  • ค่าแพทย์ทุกสาขาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการคลอดบุตร ได้แก่ สูติแพทย์, กุมารแพทย์ และวิสัญญีแพทย์ รวม 3 คืน 4 วัน
  • ค่ายาและค่าวัสดุการแพทย์ที่ใช้ในการคลอด และช่วงที่พักฟื้นตามปกติ
  • วัคซีนสำหรับทารกแรกเกิด (วัคซีนป้องกันวัณโรค, วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี)
  • ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการสำหรับทารกปกติ
  • ชุดของใช้สำหรับคุณแม่ขณะพักฟื้นในโรงพยาบาล
  • ชุดของใช้สำหรับบุตรในขณะพักในโรงพยาบาล
  • บริการจัดทำสูติบัตร
  • ชุดตะกร้าของขวัญสำหรับคุณแม่และลูกน้อยกลับบ้าน
  • กรอบรูปภาพถ่ายและรอยเท้าของทารกแรกเกิด
  • บุตรจะได้รับบัตร VIP เพื่อเป็นสมาชิกของโรงพยาบาลนครธน
  • สมาชิกนิตยสารรักลูก 1 ปี เริ่มเดือนที่คลอดเป็นฉบับแรก
  • รักลูกบุ๊คส์ กลุ่มเมนูอาหารเด็ก จำนวน 1 เล่ม
  • รักลูกบุ๊คส์ กลุ่มส่งเสริมพัฒนาการ จำนวน 1 เล่ม
  • คอร์สอบรมเตรียมคุณแม่ก่อนคลอด (Mother Class) ปีละ 4 ครั้ง
  • คอร์สอบรมเรื่องการเลี้ยงดูบุตรและพัฒนาการของเด็กตังแต่แรกเกิด
  • สิทธิในการซื้อแพ็คเก็จวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด-1 ปี (Smart Child) ราคา 4,200 บาท

การคลอดแบบเหมาจ่ายไม่รวมถึง

  • ค่าตรวจในระหว่างการฝากครรภ์
  • ทารก ที่คลอดออกมาแล้วมีความผิดปกติ จะคิดค่าใช้จ่ายตามจริง เฉพาะส่วนของทารกและกุมารแพทย์ โดยหักค่าใช้จ่ายสำหรับการคลอดปกติเป็นจำนวนเงิน 6,400 บาท และการคลอดโดยการผ่าตัดเป็นจำนวนเงิน 7,800 บาท และคิดค่าใช้จ่ายตามจริงในอัตราปกติ
  • กรณีขณะคลอด ทารกที่อาจมีความเสี่ยง จำเป็นต้องให้กุมารแพทย์รอรับทารกคลอดจะมีค่าใช้จ่ายในส่วนของกุมารแพทย์เพิ่ม
  • จำนวนวันพักฟื้นในโรงพยาบาลมากกว่าที่กำหนด จะคิดค่าใช้จ่ายส่วนเกินตามอัตราปกติ
  • ยาชาเข้าไขสันหลัง (สำหรับการคลอดปกติ)
  • ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด เช่น ค่าพยาบาลพิเศษ, ค่าเครื่องดื่ม, ค่าอาหารตามสั่ง, ค่าโทรศัพท์ และอื่นๆ ที่ไม่ได้กำหนดไว้
  • ภาวะตั้งครรภ์แฝด
  • ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่ต้องใช้นอกเหนือจากรายการที่กำหนดเหมาจ่าย
  • ราคาคลอดเหมาจ่ายทุกรายการ ไม่รวมค่าตรวจชิ้นเนื้อจากการทำหมันและผ่าตัดไส้ติ่ง

อัตราค่าบริการอื่นๆ

  • ผ่าตัดคลอดพร้อมทำหมัน 48,400 บาท
  • ตัดคลอดพร้อมผ่าตัดไส้ติ่ง 48,400 บาท
  • ผ่าตัดคลอดพร้อมทำหมันและผ่าตัดไส้ติ่ง 50,600 บาท
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่แผนกสูติ-นรีเวชกรรม ชั้น 2 โทร. 0-2450-9941 (เบอร์ตรง) หรือ 0-2416-5454 ต่อ 1240, 1241

แพ็กเกจคลอดบุตร โรงพยาบาลกรุงเทพ

การคลอดปกติแบบเหมาจ่าย
เลือกสิ่งดี ดี ให้คุณแม่กับลูกน้อย ด้วยแพคเกจคลอดแบบเหมาจ่าย กับโรงพยาบาลกรุงเทพ เพราะเราเข้าใจความรู้สึกของคนเป็น พ่อ - แม่ และรู้ซึ้งถึงคำว่า "ลูก" ว่าสำคัญต่อคุณมากขนาดไหน การที่เราได้มีโอกาสดูแลสมาชิกตัวน้อย ๆ ของคุณให้ออกมาสู่โลกภายนอกอย่างปลอดภัย จึงเป็นสิ่งที่เราปรารถนา และมากไปกว่านั้น ค่าใช้จ่ายในการคลอดราคาสบาย สบาย ด้วยแพคเกจคลอดปกติแบบเหมาจ่ายเพียง 38,000 บาท คลอดปกติแบบไม่เจ็บเพียง 48,000 บาท นอนโรงพยาบาล 48 ชั่วโมง ภายใต้การบริการที่ดี การดูแลเอาใจใส่อย่างทั่วถึง และปลอดภัยทุกขั้นตอนจากทีมแพทย์ พยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านสูติกรรม พร้อมพรั่งด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย สมกับที่เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานระดับโลก
ค่าใช้จ่ายของแม่ประกอบด้วย ค่าแพทย์ ได้แก่ สูติแพทย์ กุมารแพทย์ ค่าห้องคลอด และทีมงานห้องคลอด ค่าห้องพัก (เดี่ยว) สำหรับคุณแม่พร้อมอาหาร และค่าบริการพยาบาล ค่าห้องพักสำหรับทารกแรกเกิด 48 ชั่วโมง ค่าเครื่องมือแพทย์ห้องคลอด อุปกรณ์ และยาระงับความรู้สึกในการทำคลอด ค่าเวชภัณฑ์ และค่ายา ตลอดเวลาที่อยู่โรงพยาบาล แต่ไม่รวมค่ายากลับบ้าน ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็นสำหรับคุณแม่ ได้แก่ CBC ของทารกได้แก่ ABO gr., Rh, Screening KPU, G6PD นอกจากนั้นรวมวัคซีน Hepatitis B เข็มแรก, BCG แรกเกิด และ Vitamin K รวมเครื่องตรวจการทำงานหัวใจทารกในครรภ์
ในกรณีคลอดแบบไม่เจ็บ รวมค่าเครื่องมือ และอุปกรณ์ รวมทั้งค่าวิสัญญีแพทย์ โดยการฉีดยาชาเฉพาะที่ไขสันหลัง ค่าตรวจการได้ยินของทารก (OAE) ชุดของขวัญสำหรับทารก ภาพแรกเกิดของทารก พร้อมกรอบรูปมูลค่า 750 บาท ค่าบริการจัดทำใบสูติบัตร ค่าใช้จ่ายข้างต้นไม่รวมถึง กรณีใช้หัตถการช่วยคลอดทางช่องคลอด มีค่าเครื่องมือ 1,000 บาท และค่า สูติแพทย์เพิ่ม 2,000 บาท ในกรณีที่รกติดแน่น ต้องใช้การดมยาสลบช่วย มีค่าบริการ วิสัญญีแพทย์และการดมยาเพิ่ม 6,000 บาท
ทำหมันหลังคลอด (24-48 ชั่วโมง) เสียค่าบริการเพิ่ม 12,000 บาท
การ คลอดทารกแฝดที่มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ไม่มีโรคแทรกซ้อน โรงพยาบาลจะคิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม คนละ 7,000 บาท โดยทารกจะพักอยู่ภายในห้องแรกเกิด ภายในเวลาที่กำหนดตามบริการแบบเหมาจ่าย (ไม่รวมครรภ์แฝดที่คลอดก่อนกำหนด )
กรณีทารกมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้น โดยไม่มีผลต่อมารดา โรงพยาบาลจะหักค่าใช้จ่ายเฉพาะทารกและกุมารแพทย์ เป็นจำนวนเงิน 7,000 บาท ออกจากค่าบริการแบบเหมาจ่าย และคิดค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงในอัตรา ปกติ พร้อมมอบส่วนลดให้ 15% กรณีการคลอดเกิดโรคแทรกซ้อนกับมารดา จะไม่สามารถใช้บริการคลอดแบบเหมาจ่ายได้ โรงพยาบาลจะคิดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามจริงในอัตราปกติ พร้อมมอบส่วนลด 15 % กรณีที่มารดาใช้บริการคลอดแบบเหมาจ่าย แต่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดคลอด สามารถใช้โปรแกรมการผ่าตัดคลอดแบบเหมาจ่ายได้ โดยจ่ายส่วนเกินค่ายา และเวชภัณฑ์ รวมทั้งค่าพยาบาลในห้องคลอด คิดค่าใช้จ่าย ในราคาเหมาจ่ายเพิ่ม 3,000 บาท ถ้าฉีดยาชาที่ไขสันหลังเพื่อลดปวดเหมาจ่ายเพิ่ม 6,000 บาท ไม่ครอบคลุม กรณีมารดามีโรคแทรกซ้อนทางอายุรกรรม ซึ่งจำเป็นต้องมีค่ารักษาเพิ่มเติม เช่น มะเร็ง ปอด หัวใจ เบาหวาน หรือเคยมีประวัติการผ่าตัดหลัง
ค่าใช้จ่ายส่วนตัวภายในห้องพัก เช่น เครื่องดื่ม ค่าโทรศัพท์ และอาหารญาติ ซึ่งทางโรงพยาบาลจะคิดในราคาปกติ ส่วนต่างค่าห้อง จากราคาเหมาจ่าย ส่วนลดสำหรับ บริษัทคู่สัญญา บริษัทประกัน และบัตรส่วนลด VIP ไม่สามารถใช้ร่วม กับราคาเหมาจ่าย หมายเหตุ ราคานี้ใช้ไม่ใช้ในกรณีประกันต่างประเทศ โรงพยาบาลขอสงวนสิทธิ์ ในการปรับเปลี่ยนราคาแบบเหมาจ่าย โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า ราคานี้สามารถใช้สิทธิ์ได้ ถึง 31 ธันวาคม 2550 นี้เท่านั้น
การคลอดแบบผ่าตัดท้องคลอดเหมาจ่าย
 การคลอดแบบผ่าท้องคลอดเหมาจ่าย เพียง 56,000 บาท นอนโรงพยาบาล 72 ชั่วโมง ค่าใช้จ่ายของแม่ประกอบด้วย
ค่าแพทย์ ได้แก่ สูติแพทย์ กุมารแพทย์ และวิสัญญีแพทย์
ค่าใช้จ่ายในห้องคลอด ห้องผ่าตัด และพยาบาลผู้ช่วยแพทย์ผ่าตัด ห้องพักฟื้น
ค่าเครื่องมือแพทย์ ห้องผ่าตัด อุปกรณ์ และยาระงับความรู้สึกในการผ่าตัด ทั้งดมยาสลบ และฉีดยาชาเฉพาะที่ไขสันหลัง (บล็อคหลัง)
ค่าห้องพัก (เดี่ยว) สำหรับคุณแม่ 72 ชั่วโมง พร้อมอาหาร และค่าบริการพยาบาล
ค่าเวชภัณฑ์ และค่ายา ตลอดเวลาที่นอนโรงพยาบาล แต่ไม่รวมค่ายากลับบ้าน
ค่า ตรวจทางห้องปฏิบัติการของคุณแม่ ได้แก่ CBC ส่วนของทารก ได้แก่ ABO, Rh, Screening PKU และ G6PD รวมวัคซีนแรกเกิด เช่น BCG, Vitamin K และ Hepatitis B เข็มที่ 1 รวมเครื่องตรวจการทำงานหัวใจทารกในครรภ์
หากเพิ่มการทำหมันคุณแม่ เพิ่มค่าบริการ 3,000 บาท
หากเพิ่มการผ่าตัดไส้ติ่ง เพิ่มค่าบริการ 5,000 บาท
หากเพิ่มการทำหมันและผ่าตัดไส้ติ่ง เพิ่มค่าบริการ 6,000 บาท
ค่าจองเลือด จำนวน 1 U แต่ไม่รวมค่าเลือด และส่วนประกอบของเลือดที่ให้ระหว่างผ่าตัดและหลังผ่าตัด
ค่าห้องพักสำหรับทารกแรกเกิด และค่าบริการทางการพยาบาล 72 ชั่วโมง
ค่าตรวจการได้ยินของทารก (OAE)
ชุดของขวัญสำหรับทารก
ภาพแรกเกิดของทารก พร้อมกรอบรูปมูลค่า 750 บาท
ค่าบริการจัดทำใบสูติบัตร
ค่าใช้จ่ายข้างต้นไม่รวมถึง
ค่าแพทย์ผู้ช่วยผ่าตัด
กรณี พักเกินวันที่กำหนดไว้ โรงพยาบาลขอคิดค่าใช้จ่ายส่วนที่เกินตามความเป็นจริงในอัตราปกติ พร้อมมอบส่วนลด 15 % สำหรับค่าห้องพัก และค่ายา ยกเว้นค่าสูติแพทย์ สามารถคิดค่าบริการตรวจเยี่ยมเพิ่มของแพทย์นั้นๆ
การคลอดทารกแฝดที่ มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ไม่มีโรคแทรกซ้อน โรงพยาบาลจะคิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม คนละ 7,000 บาท โดยทารกจะพักอยู่ภายในห้องแรกเกิด ภายในเวลาที่กำหนดตามบริการแบบเหมาจ่าย 
กรณีเกิดโรคแทรกซ้อนกับคุณ แม่ จะไม่สามารถใช้บริการแบบเหมาจ่ายได้ โรงพยาบาลจะคิดค่าใช้จ่ายตามความจริง พร้อมมอบส่วนลด 15 % ค่าห้องพักและค่ายา ถ้าทารกมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นโดยไม่มีผลต่อมารดา โรงพยาบาลจะหักค่าใช้จ่ายเฉพาะทารกและกุมารแพทย์ เป็นจำนวนเงิน 7,000 บาท ออกจากค่าบริการแบบเหมาจ่าย และคิดค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงในอัตรา ปกติ พร้อมมอบส่วนลดให้ 15 % ค่าห้องพักและค่ายา
กรณีที่มารดาใช้บริการคลอด เหมาจ่ายแบบคลอดปกติ แต่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดคลอด สามารถใช้โปรแกรมการผ่าตัดคลอดแบบเหมาจ่ายได้ โดยจ่ายส่วนเกินค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าพยาบาลในห้องคลอด ในราคาเหมาจ่าย 3,000 บาท ถ้าฉีดยาชาที่ไขสันหลังเพื่อลดปวดเหมาจ่าย 6,000 บาท
ในกรณีที่มีการกำหนดฤกษ์ผ่าตัดคลอด ในช่วงเวลา 21.00 - 7.00 น. มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม 3,000 บาท
การตรวจระหว่างฝากครรภ์จนถึงวันคลอดจะไม่รวมอยู่ในเงื่อนไขนี้
ไม่ ครอบคลุม กรณีมารดามีโรคแทรกซ้อนทางอายุรกรรม ซึ่งจำเป็นต้องมีค่ารักษาเพิ่มเติม เช่น มะเร็ง ปอด หัวใจ เบาหวาน หรือ เคยมีประวัติการผ่าตัดหลัง มารดาที่มีปัญหาทางสุขภาพ และอาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงสูงในการคลอดบุตร ได้แก่ ภาวะครรภ์เป็นพิษ ที่รุนแรง ครรภ์แฝดที่มีภาวะแทรกซ้อน คุณแม่ที่มีโรคประจำตัวที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น ติดเชื้อ HIV โรคเบาหวานที่ยังควบคุมไม่ได้ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ปอด ไต มะเร็งหรือมีประวัติการผ่าตัดหลัง
ค่าใช้จ่ายส่วนตัวภายในห้องพัก เช่น เครื่องดื่ม ค่าโทรศัพท์ และอาหารญาติ ซึ่งทางโรงพยาบาลจะคิดในราคาปกติ ส่วนต่างค่าห้อง จากราคาเหมาจ่าย ส่วนลดสำหรับ บริษัทคู่สัญญา บริษัทประกัน และบัตรส่วนลด VIP ไม่สามารถใช้ร่วม กับราคาเหมาจ่าย หมายเหตุ ราคานี้ไม่ใช้ในกรณีมีประกันต่างประเทศ โรงพยาบาลขอสงวนสิทธิ์ ในการปรับเปลี่ยนราคาแบบเหมาจ่าย โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า ราคานี้สามารถใช้สิทธิ์ได้ ถึง 31 ธันวาคม 2550 นี้เท่านั้น

แพ็กเก็จคลอดบุตรโรงพยาบาลพระราม 9

คลอดบุตรเหมาจ่าย (คลอดปกติ)
PACKAGE คลอดปกติ ราคา 39,000 บาท ค่าใช้จ่ายประกอบด้วย
1. ค่าแพทย์ ได้แก่ สูติแพทย์ กุมารแพทย์
2. ค่าห้องคลอด และทีมงานห้องคลอด
3. ค่าห้องพัก(เดี่ยว) สำหรับคุณแม่พร้อมอาหาร และค่าบริการพยาบาล 3วัน 2คืน ( วันแรกนับจากเวลาที่รับไว้ถึง 24.00 น. ของคืนนั้นเป็น 1 วัน ) 4. ค่าห้องพักสำหรับทารกแรกเกิดและค่าบริการพยาบาล
5. ค่ายาและค่าเวชภัณฑ์ ที่จำเป็นสำหรับการคลอด แต่ไม่รวมค่ายากลับบ้าน
6. ค่าเครื่องมือแพทย์ห้องคลอด อุปกรณ์
7. ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็นทารกได้แก่ Neonatal Grouping ( ABO Grouping , Rh Grouping ) , PKU ,TSH สำหรับทารก
8. นอกจากนั้นรวมวัคซีน Hepatitis B เข็มแรก , BCG แรกเกิด และ Vitamin K
9. เครื่องตรวจการทำงานหัวใจทารกในครรภ์
10. บริการอื่น ๆ · ภาพแรกเกิดของทารก · ชุดของขวัญสำหรับทารก · บริการจัดทำสูติบัตร · การสอนการปฏิบัติตัวหลังคลอดและการดูแลลูกอย่างถูกวิธี
อัตราค่าเหมาจ่ายไม่รวมถึง
1. ค่าใช้จ่ายส่วนตัวภายในห้องพัก เช่น เครื่องดื่ม ค่าโทรศัพท์และค่าอาหารญาติตามสั่ง ซึ่งทางโรงพยาบาลจะคิดราคาปกติ
2. มารดาที่มีปัญหาทางสุขภาพ และอาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงสูงในการคลอดบุตรจะไม่สามารถใช้โปรแกรมเหมา จ่ายได้ ซึ่งได้แก่ · ภาวะครรภ์เป็นพิษ · ภาวะเลือดออกผิดปกติ ขณะตั้งครรภ์ · รกลอกตัวก่อนกำหนด · รกเกาะต่ำ เป็นต้น · มารดาที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังซึ่งต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด โดยได้รับการพิจารณาจากแพทย์เจ้าของไข้
3. ยาและเวชภัณฑ์สำหรับนำกลับบ้าน
4. ส่วนลดสำหรับ บริษัทคู่สัญญา บริษัทประกัน และบัตรส่วนลด ( Silver ) ไม่สามารถใช้ร่วมกับราคาเหมาจ่าย
5. กรณีพักรักษาพยาบาลเกินที่กำหนด โรงพยาบาลจะคิดค่าใช้จ่ายส่วนที่เกินตามความเป็นจริง สูติแพทย์คิดค่าบริการตรวจเยี่ยมผู้ป่วยเพิ่มเติมในอัตราปกติของแพทย์ท่าน นั้น
6. ไม่ครอบคลุม กรณีมารดามีโรคแทรกซ้อนทางอายุรกรรม ซึ่งจำเป็นต้องมีค่ารักษาเพิ่มเติม เช่น มะเร็ง ปอด หัวใจ เบาหวาน หรือเคยมีประวัติการผ่าตัดหลัง
7. กรณีคลอดแบบไม่เจ็บ รวมค่าเครื่องมือ และอุปกรณ์รวมทั้งค่าวิสัญญีแพทย์ เพิ่มจากราคาเหมาจ่าย เป็นจำนวนเงิน 6,000 บาท
8. ไม่รวมวัคซีนบุตรในกรณีมารดาเป็นไวรัสตับอักเสบบี
9. ในกรณีที่ผู้รับบริการต้องการคลอดทางช่องคลอด แต่ในระหว่างเจ็บครรภ์ที่ห้องคลอดเกิดความจำเป็นต้องผ่าตัดคลอดด้วยเหตุใดๆ เช่น การคลอดไม่ก้าวหน้า หรือความผิดปกติของการเต้นของหัวใจทารก ฯลฯ ผู้รับบริการต้องเสียค่าบริการเหมาจ่ายกรณีผ่าตัดคลอดรวมถึงค่าใช้จ่ายที่ เกิดขึ้น ได้แก่ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ ค่าบริการพยาบาล ค่าห้องคลอด ค่าแพทย์ ( โดยนับจากเวลาที่รับไว้ในโรงพยาบาลจนถึงเวลาที่เข้ารับการผ่าตัด ) ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายส่วนที่เกินจากที่กำหนดไว้ในบริการคลอดเหมาจ่ายกรณีผ่า ตัด
หมายเหตุ
1. โรงพยาบาลขอสงวนสิทธิในการปรับเปลี่ยนราคาแบบเหมาจ่าย โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า
2. ราคานี้ใช้สิทธิ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 เป็นต้นไป
PACKAGE ผ่าตัดคลอด ราคา 59,000 บาท
ค่าใช้จ่ายประกอบด้วย
1. ค่าแพทย์ ได้แก่ สูติแพทย์ กุมารแพทย์ วิสัญญีแพทย์และแพทย์ผู้ช่วยศัลยแพทย์
2. ค่าห้องคลอด ทีมงานห้องคลอด ค่าห้องผ่าตัดและห้องพักฟื้น
3. ค่าห้องพัก (เดี่ยว) สำหรับคุณแม่พร้อมอาหาร และค่าบริการพยาบาล 4 วัน 3 คืน โดยนับเวลาที่รับไว้ในโรงพยาบาล(วันแรกนับจากเวลาที่รับไว้ถึง 24.00 น. ของคืนนั้นเป็น 1 วัน )
4. ค่าห้องพักสำหรับทารกแรกเกิด และค่าบริการพยาบาล
5. ค่ายาและค่าเวชภัณฑ์ ที่จำเป็นสำหรับการคลอด แต่ไม่รวมค่ายากลับบ้าน
6. ค่าเครื่องมือแพทย์ ห้องผ่าตัด อุปกรณ์และยาระงับความรู้สึกในการผ่าตัด ทั้งดมยาสลบและฉีดยาชาเฉพาะที่ไขสันหลัง ( บล๊อคหลัง )
7. ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็นสำหรับทารกได้แก่ Neonatal Grouping (ABO Grouping,Rh Grouping),PKU ,TSH สำหรับทารก
8. นอกจากนั้นรวมวัคซีน Hepatitis B เข็มแรก , BCG แรกเกิด และ Vitamin K
9. เครื่องตรวจการทำงานหัวใจทารกในครรภ์
10. บริการอื่น ๆ · ภาพแรกเกิดของทารก · ชุดของขวัญสำหรับทารก · บริการจัดทำสูติบัตร · การสอนการปฏิบัติตัวหลังคลอดและการดูแลลูกอย่างถูกวิธี
อัตราค่าเหมาจ่ายไม่รวมถึง
1. ค่าใช้จ่ายส่วนตัวภายในห้องพัก เช่น เครื่อง ดื่ม ค่าโทรศัพท์และค่าอาหารญาติตามสั่ง ซึ่ง ทางโรงพยาบาลจะคิดราคาปกติ
2. มารดาที่มีปัญหาทางสุขภาพ และอาจก่อให้เกิด ภาวะความเสี่ยงสูงในการคลอดบุตรจะไม่สามารถใช้โปรแกรมเหมาจ่ายได้ ซึ่งได้แก่ · ภาวะครรภ์เป็นพิษ · ภาวะเลือดออกผิดปกติ ขณะตั้งครรภ์ · รกลอกตัวก่อนกำหนด · รกเกาะต่ำ เป็นต้น · มารดาที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังซึ่งต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด โดยได้รับการพิจารณาจากแพทย์เจ้าของไข้
3. ยาและเวชภัณฑ์สำหรับนำกลับบ้าน
4. ส่วนลดสำหรับ บริษัทคู่สัญญา บริษัทประกัน และบัตรส่วนลด ( silver ) ไม่สามารถใช้ร่วมกับราคาเหมาจ่าย
5. กรณีพักรักษาพยาบาลเกินที่กำหนด โรงพยาบาลจะคิดค่าใช้จ่ายส่วนที่เกินตามความเป็นจริง สูติแพทย์คิดค่าบริการตรวจเยี่ยมผู้ป่วยเพิ่มเติมในอัตราปกติของแพทย์ท่าน
6. ไม่ครอบคลุม กรณีมารดามีโรคแทรกซ้อนทางอายุรกรรม ซึ่งจำเป็นต้องมีค่ารักษาเพิ่มเติม เช่น มะเร็ง ปอด หัวใจ เบาหวาน หรือเคยมีประวัติการผ่าตัดหลัง
7. การคลอดโดยการผ่าตัดที่กำหนดเวลาล่วงหน้าในช่วงเวลา21.00–06.00น.(ยกเว้นผ่าตัดฉุกเฉิน )
หมายเหตุ
1. โรงพยาบาลขอสงวนสิทธิในการปรับเปลี่ยนราคาแบบเหมาจ่าย โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า
2. ราคานี้ใช้สิทธิ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 เป็นต้นไป

แพ็กเก็จคลอดโรงพยาบาลธนบุรี

แนะนำแพ็กเก็จคลอดของโรงพยาบาลธนบุรีคะ พอดีพบโฆษณาจากนิตยสารเลยเอามาฝากกันคะ
แพ็กเก็จคลอดแบบปกติ พักในโรงพยาบาล 3 วัน 2 คืน
ห้องคู่ ราคา 25,900 บาท
ห้องเดี่ยว ราคา 27,900 บาท
ผ่าตัดคลอด พักในโรงพยาบาล 4 วัน 3 คืน
ห้องคู่ ราคา 39,900 บาท
ห้องเดี่ยว ราคา 42,900 บาท
สมัคร แพ็กเก็จคลอดได้ที่เคาร์เตอร์ศูนย์สูติ-นรีเวชเท่านั้น สอบถามถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ข้อมูลสุขภาพ โทร 02-412-0020 ต่อ 2005 - 7 ศูนย์สูติ-นรีเวช โทร 02-412-0020 ต่อ 7970 - 1 www.thonburihospital.com
ที่อยู่โรงพยาบาล
เลขที่ 34/1 ถ.อิสรภาพ แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
โทร.02-4120020 ต่อ 2005, 2006, 2007

เกิดอะไรขึ้นในช่วง 9 เดือนของการตั้งครรภ์

เกิดอะไรขึ้นในช่วง 9 เดือนของการตั้งครรภ์
บทความนี้ได้สรุป พัฒนาการต่างๆของลูกน้อยในครรภ์เป็นรายเดือน แต่ละเดือนของการตั้งครรภ์ ลูกน้อยมีพัฒนาการที่รวดเร็วและมีความต้องการในแต่ละช่วงไม่เหมือนกัน มาอ่านบทความนี้เพื่อทำความเข้าใจกันนะคะ
  • ตั้งครรภ์ 1 เดือน
    ในเดือนแรกของการตั้งครรภ์ บางครั้งหรือส่วนมาก ไม่ทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ ประจำเดือนที่ขาดหายไป อาจจะ............... ถ้าเป็นผู้ที่สนใจตัวเองจะทราบถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น คือ เต้านมจะใหญ่แข็งมากขึ้น คัดและเจ็บ อารมณ์จะเปลี่ยนไป หงุดหงิด ความไร้เหตุผลมีมากขึ้น ใน 1เดือนแรกของการตั้งครรภ์นี้ ทารกในครรภ์จะมีขนาดเล็กมาก เพียงเท่าเมล็ดข้าว อยู่ในถึงน้ำคร่ำเล็กๆ ที่มีรกเกาะอยู่ผนังมดลูก ขณะนี้ตัวทารกน้อย ที่มีขนาดเล็กเท่าเมล็ดข้าวจะมีตุ่มยื่นออกมาที่กำลังพัฒนา เป็นแขนขา ระบบประสาทเริ่มเกิด และใกล้เคียงกับระบบไหลเวียนโลหิต ก็กำลังเริ่มสร้างเครือข่ายไปทั่วร่างกายของทารก เมื่อมีความผิดปกติของระดู ควรจะตรวจสอบการตั้งครรภ์ เพื่อให้ทราบผลที่แน่นอน และถ้าท่านตั้งครรภ์ก็ควรละเลิกพฤติกรรมที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของทารก เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มกาแฟ และสุรา เป็นต้น ดังนั้น ท่านควรไปฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ นะคะ
  • ตั้งครรภ์ 2 เดือน
    ใน เดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์นั้น เป็นเดือนที่สำคัญ เพราะเป็นเวลาที่ตัวอ่อนหรือทารกน้อยๆ จะมีการพัฒนา เจริญเติบโตของระบบประสาทและหลอดเลือด ขณะเดียวกันอวัยวะที่สำคัญก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง ทำให้ระยะเวลาดังกล่าวนี้ ทารกจะเสี่ยงต่อการเกิดความพิการ ถ้าได้รับสารพิษเข้าไป ในเดือนที่ 2 นี้ตัวทารกจะมีความยาวประมาณ 1 นิ้วฟุต ซึ่งแม้จะมีขนาดเล็ก แต่ทารกก็จะมี แขน ขา หน้า รูปร่างเหมือนมนุษย์ขนาดจิ๋ว ขณะเดียวกันก็จะมีหัวใจที่เต้นทำงานบีบเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ผู้ตั้งครรภ์ในเดือนที่ 2 นี้ ก็จะมีอาการแพ้ท้อง เช่นเดียวกับเดือนแรก คือจะมีอาการแสบท้องอ่อนเพลีย หน้าอกโตขยายใหญ่ขึ้น ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงจะทำให้การย่อยอาหารช้าลง จะทำให้ผู้ตั้งครรภ์มักจะมีอาการท้องอืดเฟ้อ ท้องผูก และผู้ที่ตั้งครรภ์จะรู้สึกหน้ามืด เป็นลมบ่อยๆ
  • ตั้งครรภ์ 3 เดือน
    ใน เดือนที่ 3 ของการตั้งครรภ์ อาการแพ้ท้องอาจจะยังมีอยู่หรือเริ่มจะดีขึ้น อารมณ์ของผู้เป็นแม่จะเริ่มคงเส้นคงวา ในช่วงเดือนที่ 3 นี้ ด้วยเครื่องมือตรวจการทำงานของหัวใจ อาจจะได้ยินเสียงเต้นของหัวใจ ซึ่งถ้าผู้เป็นแม่ได้ยินแล้วจะรู้สึกว่าเป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้น และน่าประทับใจ ในวัยนี้ทารกจะมีขนาดโดยประมาณ 3 นิ้วฟุต อวัยวะต่างๆ จะเกิดจนครบและกำลังพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ อวัยวะต่างๆ ก็เริ่มทำงานได้แล้ว สำหรับวัยขนาดครรภ์ 3 เดือนนี้เครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง ยังไม่สามารถบอกเพศได้ว่าเป็นหญิงหรือชาย
    สำหรับการเปลี่ยนแปลงของร่าง กายนั้น จะเริ่มพบว่ามีอาการบวมของฝ่ามือ ฝ่าเท้า รวมทั้งเส้นเลือดก็จะเริ่มโป่งให้เห็นเป็นลักษณะเส้นเลือดขอดได้ง่ายขึ้น
  • ตั้งครรภ์ 4 เดือน
    การ ตั้งครรภ์ในระยะนี้ นับเป็นเดือนแรกของไตรมาสที่สอง อาการแพ้ท้องในเดือนนี้มักจะหายไป เริ่มทานอาหารได้มาก ทำให้น้ำหนักเริ่มมากขึ้น อารมณ์เข้าสู่สภาพปกติ แต่ยังอาจจะมีสภาพใจลอย อาการตกขาวอาจจะมีมากขึ้น เส้นเลือดขอดและ ริดสีดวงทวารจะเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าคนทั่วไป จากการขยายตัวของมดลูกอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงต่อระบบไหลเวียนของโลหิต
    ในปลายเดือนที่ 4 นี้ ผู้เป็นแม่อาจจะรู้สึกได้ถึงการดิ้นของทารกในครรภ์ ถ้าเคยมีประสบการณ์ในการตั้งครรภ์มาก่อน จะมีความรู้สึกว่าลูกดิ้นจะมีลักษณะเป็นอย่างไร ซึ่งตรงข้ามกับหญิงตั้งครรภ์แรกทารกในครรภ์ขณะนี้จะยาวประมาณ 4 นิ้วฟุต ทารกสามารถจะดูด กลืน เคลื่อนไหวได้คล้ายกับมนุษย์ทั่วไปที่ตัวเล็กๆ นั่นเอง แต่ก็ยังอ่อนแอไม่สามารถมีชีวิตอยู่นอกโพรงมดลูกได้
  • ตั้งครรภ์ 5 เดือน
    ขอ แสดงความยินดีด้วยนะคะการตั้งครรภ์ได้ผ่านมาครึ่งทางแล้ว ขณะนี้ผู้เป็นแม่มักจะมีความรู้สึกถึงการดิ้นของทารกได้ การดิ้นครั้งแรกๆ จะรู้สึกเบาและห่าง ซึ่งจะค่อยๆ ดิ้นแรงขึ้นๆ และถี่ขึ้นๆ ขณะนี้ผู้เป็นแม่มักจะมีอารมณ์ดี ไม่ซึมเศร้า ทารกในขณะเดือนที่ 5 จะมีขนาดประมาณ 10 นิ้วฟุต ศรีษะทารกยังค่อนข้างโต มีการเคลื่อนไหวของแขนขาและคอได้ดี นิ้วมือและนิ้วเท้าแยกกันชัดเจน อวัยวะเพศสามารถแยกได้ชัดเจนว่าเพศหญิงหรือเพศชาย ทารกจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ผู้เป็นแม่ก็มีการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะสร้างความวิตกกังวลให้แก่ตนเองได้ คือ การเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง จะมีผิวสีเกิดขึ้น ทั้งที่ใบหน้าหรือหน้าท้อง ที่หน้าจะทำให้เกิดสิว ฝ้า ซึ่งจะค่อยๆ จางหายไปหลังคลอด
    ขอให้คุณแม่ ทั้งหลายที่ตั้งครรภ์มาถึงขณะนี้ ได้มีความอดทนต่อภาวะการตั้งครรภ์ต่อไป อีกไม่นานนักท่านจะได้เห็นลูกน้อยที่น่ารักออกมาจากครรภ์
  • ตั้งครรภ์ 6 เดือน
    เดือน ที่ 6 เป็นเดือนที่ทารากจะดิ้นได้ดี บางครั้งก็จะเกิดความเจ็บปวดจากการดิ้นได้ ถ้าทารกดิ้นเข้าไปกระแทกกระเพาะปัสสาวะ หรือ ชายโครง สำหรับในเดือนที่ 6 นี้ มดลูกจะขยายใหญ่มากขึ้น จนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังหน้าท้อง คือจะเกิดผิวหนังแตกเป็นลาย ที่เรียกว่าหน้าท้องลาย จะมีอาการคันตามมา ในช่วงเดือนนี้ อาจจะมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นกับการตั้งครรภ์ เช่น การเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาการพิษแห่งครรภ์ การอักเสบติดเชื้อราจะพบได้ง่ายมาก และการอักเสบในระบบทางเดินปัสสาวะพบได้บ่อยขึ้น ซึ่งจะต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ในส่วนของทารก ขณะนี้มีขนาดยาวประมาณ 13 นิ้วฟุต น้ำหนักประมาณ 700-800 กรัม ตาทารกเริ่มลืมและนิ้วมือเริ่มมีลายนิ้วมือ แต่ผิวหนังยังไร้ไขมัน ถ้าทารกคลอดก่อนกำหนดในเดือนดังกล่าวนี้ โอกาสจะเลี้ยงรอดยากมาก
  • ตั้งครรภ์ 7 เดือน
    เป็น การเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ท้องโตมากขึ้น คุณแม่จะรู้สึกได้ดีถึงการเคลื่อนไหวของทารก ท้องที่โตมากขึ้นทำให้คุณแม่หายใจเร็วขึ้น เพราะมดลูกที่โตจะมาดันกระบังลมทำให้หายใจได้สั้น ๆ คุณแม่จะรู้สึกถึงความอุ้ยอ้าย เคลื่อนไหวไม่คล่องแคล่ว นอนหลับไม่ได้เต็มที่จากการที่ทารกในครรภ์จะตื่น และตัวมดลูกเองก็จะบีบตัวเป็นระยะห่าง ๆ กัน เป็นการเริ่มต้นการหดรัดตัวของมดลูก ซึ่งจะรุนแรงมากขึ้นแต่ก็ไม่ถึงกับมีการเจ็บปวดเกิดขึ้น และจะบีบรัดตัวครั้งละไม่นานเกิน 30 วินาที ในระยะนี้คุณแม่ควรจะได้เข้าอบรมเรียนรู้ขั้นตอนการเตรียมคลอด เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเมื่อเจ็บครรภ์คลอดและเข้าสู่กระบวนการคลอด ในช่วงระยะนี้คุณแม่จะมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยเพิ่มสัปดาห์ละ ครึ่งกิโลกรัม ทารกในครรภ์ขณะนี้จะมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัมโดยประมาณ ทารกในครรภ์จะมีการเคลื่อนไหวและปฏิกิริยาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจาม ดูดมือ ดูดนิ้วเท้า
  • ตั้งครรภ์ 8 เดือน
    ขณะนี้ท้องจะใหญ่ มากขึ้นจนคุณแม่จะรู้สึกถึงความอึดอัด ท้องที่โตขึ้นทำให้พื้นที่ปอดขยายลดลง คุณแม่จะเหนื่อยง่าย หายใจเร็วสั้น กระเพาะปัสสาวะจะถูกกด ทำให้ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะบ่อย ๆ โดยเฉพาะเวลานอนก็จะถูกรบกวนได้จากการที่ต้องลุกไปปัสสาวะ และจากการดิ้นที่รุนแรงของเด็กทารกในครรภ์ ซึ่งขณะนี้การเจริญเติบโตของระบบกล้ามเนื้อมากขึ้น อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอบ่อย ๆ จะพบได้ เพราะการย่อยอาหารถูกกระทบกระเทือนไป จะมีอาการของหลอดอาหารอักเสบตามมา มือเท้า จะบวม เริ่มเป็นตะคริวบ่อยขึ้น ท้องผูกจะเป็นสิ่งปกติของคุณแม่ระยะนี้ ตกขาวจะมีมากขึ้น ในบางคนจะมีน้ำนมไหลออกมา ซึ่งเป็นหัวน้ำนมก็ว่าได้ เพราะมีคุณค่าทางอาหารสูง ทารกขณะนี้จะมีน้ำหนักโดยประมาณ 2 กิโลกรัม คุณแม่ควรจะต้องเรียนรู้กระบวนการคลอด และสังเกตถึงความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น น้ำเดิน เป็นต้น ควรจะได้เตรียมเครื่องใช้สำหรับการเข้าอยู่ในโรงพยาบาลไว้ให้พร้อม
  • ตั้งครรภ์ 9 เดือน
    สำหรับ ท่านที่ตั้งครรภ์มาจนถึงเดือนที่ 9 พอเข้าเดือนที่ 9 คุณก็เริ่มนับถอยหลังได้แล้ว วันเวลาแห่งการรอคอยจะมาถึงในไม่ช้าไม่นาน ท้องที่โตขึ้นจะลดลงจนคุณแม่รู้สึกได้ เพราะตัวเด็กทารกในครรภ์เริ่มลงสู่เชิงกราน คุณแม่จะรู้สึกโล่งขึ้นและหายใจได้ดีขึ้น คล่องแคล่วขึ้น แต่จะหน่วงในช่วงเชิงกรานมากขึ้น เพราะส่วนนำของทารกจะลงไปกดอวัยวะในช่องเชิงกราน อาจจะปวดที่หัวเหน่า ปวดที่โคนขาจากการกดทับเส้นประสาทขา ปัสสาวะจะบ่อยขึ้นมาก ทารกในครรภ์จะดิ้นน้อยลงบ้างแต่ไม่มากนัก การสังเกตการดิ้นของทารก ถือเป็นการเฝ้าระวังต่อสุขภาพเด็กทารกที่ดีที่ผู้เป็นแม่ควรปฏิบัติ โดยสังเกตดูใน 1 ชั่วโมงหลังอาหาร เด็กทารกในครรภ์ต้องดิ้นไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง ถ้าน้อยกว่าให้สังวรว่า อาจจะมีความผิดปกติเกิดแก่ทารก ควรเข้าพบแพทย์โดยเร็ว ทารกในครรภ์ขณะนี้จะมีน้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยประมาณ 2.5 กิโลกรัม ในอีกไม่ช้าไม่นาน ไม่แน่ว่ากลางวันหรือกลางคืน คุณจะมีสมาชิกใหม่ของครอบครัวเพิ่มขึ้น

เทคโนโลยีกับการตรวจครรภ์แบบต่างๆ

ธุศาสตร์การแพทย์ สถาบันราชานุกูล
Embryoscope และ Refoscope ส่องกล้องดูลูกในท้องแม่
แสดง การส่องกล้องดูทารกในครรภ์  ถ้าคุณเคยดูสารคดีเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ของ Discovery มาแล้ว คงอดแปลกใจไม่ได้ว่าทำไมถึงสามารถถ่ายภาพเจ้าตัวเล็กที่นอนคุดคู้อยู่ในน้ำ คร่ำได้… ความจริงเป็นเทคโนโลยีการส่องกล้องดูทารกในครรภ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีวินิจฉัยความผิดปกติของทารก ที่เรียกว่า Embryoscope และ Fetoscope
ทางการแพทย์จะใช้เทคนิคนี้เพื่อตรวจดูความผิดปกติของทารก ขณะอยู่ในครรภ์ซึ่งสามารถตรวจดูได้ตั้งแต่ทารกยังเป็นตัวอ่อน แพทย์จะเห็นภาพทารก และสามารถตรวจหาความผิดปกติได้ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ จะทำให้คุณแม่สามารถตัดสินใจได้เร็วขึ้นว่าควรจะยุติการตั้งครรภ์หรือไม่
นอกจากนี้ยังสามารถตรวจเลือดหรือตัดเนื้อเยื่อทารกในครรภ์มาตรวจได้วยข้อดีของวิธีนี้คือ ได้เห็นสภาพจริงขิงทารกค่ะ
วิธี การตรวจ แพทย์จะใช้เข็มติดกล้องซึ่งมีขนาดเล็กมาก ประมาณ 2 มม. ยาวประมาณ 30 ซม. ไว้ที่ส่วนปลาย แล้วสอดผ่านปากมดลูกเข้าไปดูตัวอ่อนในโพรงมดลูก 30 ซม. ไว้ที่ส่วนปลาย แล้วสอดผ่านปากมดลูกเข้าไปดูตัวอ่อนในโพรงมดลูก หรืออีกวิธีคือ เจาะผ่านผนังหน้าท้อง และใช้กล้องขนาดประมาณ 0.8 มม. ซึ่งเล็กมากๆ เจาะผ่านผนังหน้าท้องเข้าไป ทั้งนี้แพทย์ต้องมีความชำนาญอย่างมากค่ะ
สถานที่ให้บริการ เทคนิคนี้ต่างประเทศทำมานานแล้วค่ะ ประเทศไทยขณะนี้ยังไม่มีให้บริการ แต่เชื่อว่าอีกไม่นานเกินรอ เพราะโรงพยาบาลจุฬาฯ ได้ซื้อเครื่องมือมาแล้ว อยู่ระหว่างการฝึกฝนความชำนาญในการใช้
เช็กความสมบูรณ์ของไข่ก่อนตั้งครรภ์
การ วินิจฉัยก่อนการฝังตัวของไข่ หรือ Pre implantation diagnostic เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่แพทย์นำมาใช้เพื่อตรวจดูความสมบูรณ์ของไข่ ให้กับผู้หญิงที่ต้องการมีลูก หรือในกรณีที่ต้องการมีลูกแต่ตัวเองเป็นโรค เช่น ทาลัสซีเมีย ซึ่งสามารถตรวจเช็กได้ว่าโอกาสที่ลูกจะเป็นโรคเดียวกับแม่มีมากแค่ไหน เรียกว่า ตรวจความผิดปกติได้ตั้งแต่ยังไม่ทันได้ปฏิสนธิกันเลยค่ะ
ความ สมบูรณ์ของรังไข่มีผลต่อความสมบูรณ์ของลูก  วิธีการตรวจ แพทย์จะเลือกตัวอย่างไข่ออกมาปฏิสนธินอกโพรงมดลูก แล้วเลี้ยงตัวอ่อนจนถึงระยะ blastomre (เป็นระยะที่ไข่มีการแบ่งตัวชองเซลล์ภายในจนถึงระยะที่สามารถนำไปฝังตัว เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์) จากนั้นจึงใช้เครื่องมือคล้ายเบ็ดเจาะผนังไข่เข้าไปดูดเซลล์ออกมาเพื่อจะนำ ไปแยก DNA แล้วนำ DNA มาขยายด้วยวิธีเฉพาะ เพื่อให้ได้ DNA จำนวนมากพอในการตรวจพันธุกรรมแล้วนำไปตรวจกับชุดน้ำยาตรวจโครโมโซม เพื่อดูว่ามีปัญหาหรือไม่
หากไม่มีปัญหาแพทย์จะนำตัวอ่อนที่อยู่นอกโพรง มดลูกนี้ย้ายกลับไปที่โพรงมดลูก และให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตต่อไป แต่ถ้าหากพบว่าเซลล์ที่นำออกมาตรวจมีปัญหาแพทย์ก็จะทิ้งไข่ใบนั้นไป ซึ่งวิธีการนี้คนไข้สามารถเลือกได้ว่าจะตั้งครรภ์หรือไม่
ค่าใช้จ่าย ประมาณ 1 แสนบาท ต่อ 1 ตัวอย่าง
สถานที่ให้บริการ โรงพยาบาลจุฬาฯ และโพยาบาลโรงเรียนแพทย์หรือโรงพยาบาลเอกชนบางแห่ง
การตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของทารกในครรภ์ยังมีอีกหลายวิธีที่ใช้กันมาก่อนหน้านี้แล้ว เป็นวิธีที่คุ้นเคย เช่นวิธีดังต่อไปนี้
ภาพอัลตราซาวนด์ 4 มิติ 
วิธีการเจาะน้ำคร่ำ ซึ่งจะต้องทำควบคู่กับอัลตราซาวนด์
อัลตราซาวนด์
เพื่อ ตรวจดูโครงสร้างของร่างกายตั้งแต่ศรีษะจรดปลายเท้า รวมไปถึงหัวใจและสมอง สำหรับแม่ที่มีอายุครรภ์ 5 เดือนขึ้นไป ปัจจุบันการตรวจอัลตราซาวนด์มี 3 แบบ คือ 2 มิติ (พื้นฐาน) 3 มิติ (มีความละเอียดเพิ่มขึ้น) และ 4 มิติ (เป็นภาพเคลื่อนไหว)
ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ 2 มิติ 3 มิติ 700-2,000 บาท และ 4 มิติ 2,500-4,000 บาท
เจาะน้ำคร่า
เป็น วิธีที่ใช้มานานแล้ว ซึ่งยังใช้ได้ผลอยู่เสมอ สำหรับแม่ตั้งครรภ์อายุ 35 ปีขึ้นไป หรือเคยมีลูกที่มีโครโมโซมผิดปกติมาก่อน แพทย์จะแนะนำให้ตรวจทุกราย
ตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม ทำได้ในช่วงอายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์ ใช้เข็มยาว 9ซม. เจาะไขสันหลัง แทงผ่านหน้าท้องเข้าไปในถุงน้ำคร่ำ ร่วมกับอัลตราซาวนด์
ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ 2,800 บาท
เจาะเลือดสายสะดือทารกในครรภ์
เพื่อ วินิจฉัยหาโครโมโซมที่ผิดปกติ และประเมินสุขภาพโดยรวมของทารกโดยการทำอัลตราซาวนด์เพื่อให้เห็นสายสะดือของ ทารก จากนั้นใช้เข็มดูดเลือดที่สายสะดือออกมาประมาณ 1-2มล. จากนั้นส่งเข้าห้องแล็บ ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์
ค่าใช้จ่ายประมาณ 2,800 บาท (ที่โรงพยาบาลจุฬาฯ) ส่วนเอกชนประมาณ 8,000-10,000 บาท
ตรวจ Triple screen
เป็น การเจาะเลือดตรวจหาค่าชีวเคมี เพื่อคัดกรองความเสี่ยงในการให้กำเนิดทารกที่เป็นดาวน์ซินโดรมหรือมีความ พิการจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 28 รวมทั้งโรคเกี่ยวกับประสาทที่เรียกว่า นิวรอน ทิว ดีเฟกต์ (Neural tube defect) สำหรับแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปี ตรวจโดยการเจาะเลือดในช่วงอายุครรภ์ 15-21 สัปดาห์ ในปริมาณ 5 ซีซี แล้วนำไปหาค่าชีวเคมีใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ก็ทราบผล หากผลออกมาพบว่ามีความเสี่ยง แพทย์จะแนะนำให้ตรวจเจาะน้ำคร่ำให้ละเอียดอีกครั้งนึงค่ะ
ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ รพ.รัฐบาล 1,600-2,000 บาท รพ.เอกชน 3,000 บาท
โดย สรุป จะเห็นได้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆ ในกาตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของทารกในครรภ์นั้นมีหลายอย่างที่สะดวก และมีผลข้างเคียงน้อยลงซึ่งเป็นเรื่องที่คุณแม่ที่เริ่มตั้งครรภ์ควรจะ ปรึกษาแพทย์ที่คุณแม่ฝากครรภ์ เพื่อให้ได้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และความสบายใจของทั้งคุณพ่อคุณแม่ รวมทั้งเรื่องความปลอดภัยของเจ้าตัวเลฃ็กด้วยค่ะ.
[ ที่มา..นิตยสารรักลูก ปีที่ 25 ฉบับที่ 290 มีนาคม 2550 ]

การตรวจอัลตราซาวนด์คืออะไร

การตรวจอัลตร้าซาวนด์ที่สำคัญสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ที่โรงพยาบาลส่วนใหญ่ ได้กำหนดไว้มีอยู่ด้วยกัน 2  ชนิดคือ การตรวจอัลตร้าซาวนด์ในสัปดาห์ที่ 12 เพื่อคำนวณวันครบกำหนดคลอด ( Dating scan) และการตรวจอัลตร้าซาวนด์ในสัปดาห์ที่ 20 เพื่อหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ ( Anomaly scan) สถานพยาบาลบางแห่งอาจตรวจอัลตร้าซาวนด์ในสัปดาห์ที่ 20 เพียงอย่างเดียวเป็นมาตรฐาน ในขณะที่สถานพยาบาลบางแห่งจะตรวจอัลตร้าซาวนด์ทั้ง 2 ชนิด

การตรวจครรภ์ส่วนใหญ่ที่กล่าวถึงในที่นี้เป็นการ ตรวจครรภ์โดยใช้คลื่นอัลตร้าซาวนด์ โดยแพทย์จะทาเจลลงบนท้องของคุณ จากนั้นจะใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กสำหรับใช้มือจับซึ่งเรียกว่าทรานส์ดิวเซอร์ ( Transducer) เคลื่อนไปบนผิวหน้าท้องของคุณ ซึ่งจะส่งภาพของลูกน้อยในครรภ์ไปที่จอภาพ การตรวจอัลตร้าซาวนด์ในบางครั้ง แพทย์อาจขอให้คุณกลั้นปัสสาวะเอาไว้เพื่อให้มีน้ำเต็มกระเพาะปัสสาวะ เพื่อจะช่วยดันมดลูกไปข้างหน้าทำให้ได้ภาพที่ชัดเจนขึ้น


ประเภทของการตรวจอัลตร้าซาวนด์:

การตรวจอัลตร้าซาวนด์ในระยะแรกเริ่ม

หากคุณมีอาการปวดหรือมีเลือดออก เคยแท้งบุตรมาก่อนหน้านี้หรือเคยตั้งครรภ์นอกมดลูก ( Ectopic pregnancy) คุณอาจจะต้องรับการตรวจอัลตร้าซาวนด์ตั้งแต่เนิ่นๆ ในช่วงที่ตั้งครรภ์ได้ 6 - 10 สัปดาห์ เพราะในช่วงนี้ ลูกน้อยในครรภ์ยังมีขนาดเล็กมาก ดังนั้น เพื่อให้ได้ภาพที่ละเอียดชัดเจนมากที่สุด การตรวจครรภ์ในช่วงนี้ แพทย์จะใช้หัวอัลตร้าซาวนด์ขนาดเล็กสอดเข้าไปในช่องคลอดของคุณ
 
การ ตรวจอัลตร้าซาวนด์ชนิดนี้ มีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน แต่เป็นธรรมดาที่คุณอาจจะรู้สึกกังวลบ้างเล็กน้อย เพราะฉะนั้นขอให้ปรึกษากับพยาบาลผดุงครรภ์หรือสูติแพทย์ของคุณ ซึ่งทั้งสองท่านนี้จะช่วยตอบคำถามต่างๆ ของคุณได้ และขอให้จำไว้ว่าการตรวจนี้จะช่วยตรวจสอบว่าลูกน้อยในครรภ์มีสุขภาพสมบูรณ์ ดี เพื่อคลายความวิตกกังวลระหว่างการตั้งครรภ์ลงให้มากที่สุด


การตรวจอัลตร้าซาวนด์เพื่อคำนวณวันคลอด 

การตรวจอัลตร้าซาวนด์ในช่วง 6 - 12 สัปดาห์ เป็นการตรวจมาตรฐานในโรงพยาบาลส่วนใหญ่ การตรวจนี้จะช่วยให้คุณทราบวันครบกำหนดคลอดที่แน่นอน อีกทั้งยังช่วยทำให้ทราบรายละเอียดที่สำคัญหลายๆ ด้านอีกด้วย เช่น อายุของลูกน้อยในครรภ์ จำนวนลูกน้อยในครรภ์ การเต้นของหัวใจ ตรวจดูว่ามีสิ่งผิดปกติใดๆ ที่เห็นได้ชัดหรือไม่ ตรวจดูว่ารังไข่อยู่ในสภาพปกติดีหรือไม่


การตรวจจะใช้เวลาประมาณ 10 นาที โดยระหว่างนั้นภาพของลูกน้อยในครรภ์จะถูกถ่ายเก็บไว้ การได้เห็นลูกน้อยในครรภ์บนหน้าจอเป็นประสบการณ์อันน่าตื่นเต้น และคุณแม่ส่วนใหญ่มักจะรู้สึกตื้นตันใจ คุณจะได้รับภาพถ่ายของลูกน้อยกลับบ้าน ( โรงพยาบาลบางแห่งอาจคิดค่าบริการสำหรับภาพถ่าย ) ซึ่งคุณสามารถนำไปอวดคนที่คุณรักเพื่อร่วมแบ่งปันประสบการณ์อันน่าตื่นเต้น นี้ได้ด้วย

การตรวจอัลตร้าซาวนด์เพื่อวัดความหนาของน้ำที่สะสมบริเวณต้นคอทารก ( Nuchal translucency scan;NT)
การตรวจอัลตร้าซาวนด์ชนิดนี้ เป็นการตรวจที่ไม่ลุกล้ำเข้าไปในร่างกาย ( non-invasive) และไม่มีอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ โดยปกติจะเริ่มตรวจเมื่อตั้งครรภ์ได้ 11 ถึง 14 สัปดาห์ แต่โรงพยาบาลบางแห่งไม่เสนอการตรวจครรภ์ชนิดนี้ หากโรงพยาบาลของคุณไม่เสนอการตรวจครรภ์ชนิดนี้ คุณสามารถขอรับบริการตรวจครรภ์ชนิดนี้ด้วยตัวเอง การตรวจอัลตร้าซาวนด์เพื่อวัดความหนาของน้ำที่สะสมบริเวณต้นคอทารก เป็นการประเมินโอกาสเสี่ยงของกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม ( Down’s Syndrome) หรือความผิดปกติทางโครโมโซมอื่นๆ ของทารกในครรภ์ โดยจะประเมินจากอายุของว่าที่คุณแม่ ความหนาของน้ำที่สะสมบริเวณต้นคอของทารก กระดูกสันจมูกของทารกและผลการตรวจเลือด หากผลการตรวจชี้ว่าอาจมีโอกาสเสี่ยงสูง คุณอาจต้องรับการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การตรวจน้ำคร่ำ ( amniocentesis test) เพื่อให้ทราบผลที่แน่ชัด ว่าที่คุณแม่และว่าที่คุณพ่อสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ ตรวจชนิดนี้กับพยาบาลผดุงครรภ์หรือสูติแพทย์ได้

การตรวจครรภ์กลางไตรมาสที่สอง (ช่วง 4-6 เดือน)

หากเป็นไปได้ คุณแม่ควรเข้ารับการตรวจครรภ์กลางไตรมาสที่สอง (ช่วงครรภ์ 4 - 6 เดือน) ซึ่งการตรวจในระยะนี้ คุณแม่ส่วนใหญ่จะรู้สึกตื่นเต้น เพราะไม่เพียงแต่เป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับการตั้งครรภ์เท่านั้น แต่คุณแม่ยังจะได้เห็นรูปร่างหน้าตาของลูกน้อยที่ชัดเจนยิ่งขึ้นด้วย และคุณยังได้ทราบด้วยว่าลูกน้อยในครรภ์ของคุณเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง แต่ถ้าหากว่าคุณต้องการทราบเพศของลูกน้อยเมื่อตอนคลอดเพื่อความตื่นเต้น แพทย์ก็จะยังไม่เปิดเผยเรื่องนี้ให้คุณทราบ การตรวจนี้จะใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที และโรงพยาบาลส่วนใหญ่จะจำหน่ายรูปถ่ายจากการตรวจอัลตร้าซาวนด์ให้คุณ ถ้าคุณต้องการ

โดยปกติ การตรวจนี้จะทำในช่วงสัปดาห์ที่ 18 - 21 ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจความสมบูรณ์ของลูกน้อยในครรภ์ทั่ว ทั้งร่างกาย โดยแพทย์จะตรวจดูอวัยวะส่วนต่างๆ ต่อไปนี้
  • ศีรษะของเด็กเพื่อหาความผิดปกติของสมองหรือปากแหว่งเพดานโหว่
  • กระดูกสันหลังและท้องเพื่อดูว่าอวัยวะเหล่านี้จัดเรียงอยู่ในแนวเดียวกันและมีพัฒนาการที่เหมาะสมหรือไม่
  • ขนาดและรูปร่างของหัวใจของทารก
  • ท้อง ซึ่งควรอยู่ถัดจากหัวใจลงไป คุณอาจจะเห็นน้ำคร่ำบางส่วนที่ลูกน้อยของคุณกลืนเข้าไป ซึ่งจะดูคล้ายกับฟองอากาศสีดำในท้องของลูกน้อย
  • ไตและกระเพาะปัสสาวะของทารก
  • มือและเท้าทั้งสองข้างของทารก ถึงแม้ว่าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจจะไม่ถึงกับนับนิ้วมือนิ้วเท้าเด็กก็ตาม
  • รก สายสะดือและน้ำคร่ำ
  • วัดขนาดรอบศีรษะของทารก ท้องและกระดูกต้นขาเพื่อให้แน่ใจว่าอวัยวะต่างๆ เหล่านี้มีพัฒนาการที่สมบูรณ์เท่าเทียมกัน
    หากมีสัญญาณของความผิดปกติใดๆ ขอให้คุณปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการตรวจครรภ์ชนิดอื่นๆ ต่อไป

การตรวจพัฒนาการของทารก

การตรวจอัลตร้าซาวนด์ชนิดนี้ เป็นการตรวจเพื่อดูว่าลูกน้อยในครรภ์ของคุณกำลังเติบโตและมีพัฒนาการที่แข็ง แรงสมบูรณ์หรือไม่ ซึ่งโดยปกติแล้ว แพทย์จะใช้วิธีการตรวจชนิดนี้ในกรณีที่มีความกังวลเกี่ยวกับการเจริญเติบโต ของลูกน้อย

การตรวจครรภ์ระหว่างตั้งครรภ์

การตรวจอัลตราซาวนด์คืออะไร

การตรวจอัลตร้าซาวนด์ที่สำคัญ สำหรับหญิงตั้งครรภ์ ที่โรงพยาบาลส่วนใหญ่ ได้กำหนดไว้มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดคือ การตรวจอัลตร้าซาวนด์ในสัปดาห์ที่ 12 เพื่อคำนวณวันครบกำหนดคลอด ( Dating scan) และการตรวจอัลตร้าซาวนด์ในสัปดาห์ที่ 20 เพื่อหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ ( Anomaly scan) สถานพยาบาลบางแห่งอาจตรวจอัลตร้าซาวนด์ในสัปดาห์ที่ 20 เพียงอย่างเดียวเป็นมาตรฐาน ในขณะที่สถานพยาบาลบางแห่งจะตรวจอัลตร้าซาวนด์ทั้ง 2 ชนิด


การ ตรวจครรภ์ส่วนใหญ่ที่กล่าวถึงในที่นี้เป็นการตรวจครรภ์โดยใช้คลื่นอัลตร้า ซาวนด์ โดยแพทย์จะทาเจลลงบนท้องของคุณ จากนั้นจะใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กสำหรับใช้มือจับซึ่งเรียกว่าทรานส์ดิวเซอร์ ( Transducer) เคลื่อนไปบนผิวหน้าท้องของคุณ ซึ่งจะส่งภาพของลูกน้อยในครรภ์ไปที่จอภาพ การตรวจอัลตร้าซาวนด์ในบางครั้ง แพทย์อาจขอให้คุณกลั้นปัสสาวะเอาไว้เพื่อให้มีน้ำเต็มกระเพาะปัสสาวะ เพื่อจะช่วยดันมดลูกไปข้างหน้าทำให้ได้ภาพที่ชัดเจนขึ้น

ประเภทของการตรวจอัลตร้าซาวนด์:

การตรวจอัลตร้าซาวนด์ในระยะแรกเริ่ม

หาก คุณมีอาการปวดหรือมีเลือดออก เคยแท้งบุตรมาก่อนหน้านี้หรือเคยตั้งครรภ์นอกมดลูก ( Ectopic pregnancy) คุณอาจจะต้องรับการตรวจอัลตร้าซาวนด์ตั้งแต่เนิ่นๆ ในช่วงที่ตั้งครรภ์ได้ 6 - 10 สัปดาห์ เพราะในช่วงนี้ ลูกน้อยในครรภ์ยังมีขนาดเล็กมาก ดังนั้น เพื่อให้ได้ภาพที่ละเอียดชัดเจนมากที่สุด การตรวจครรภ์ในช่วงนี้ แพทย์จะใช้หัวอัลตร้าซาวนด์ขนาดเล็กสอดเข้าไปในช่องคลอดของคุณ

การ ตรวจอัลตร้าซาวนด์ชนิดนี้ มีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน แต่เป็นธรรมดาที่คุณอาจจะรู้สึกกังวลบ้างเล็กน้อย เพราะฉะนั้นขอให้ปรึกษากับพยาบาลผดุงครรภ์หรือสูติแพทย์ของคุณ ซึ่งทั้งสองท่านนี้จะช่วยตอบคำถามต่างๆ ของคุณได้ และขอให้จำไว้ว่าการตรวจนี้จะช่วยตรวจสอบว่าลูกน้อยในครรภ์มีสุขภาพสมบูรณ์ ดี เพื่อคลายความวิตกกังวลระหว่างการตั้งครรภ์ลงให้มากที่สุด

การตรวจอัลตร้าซาวนด์เพื่อคำนวณวันคลอด

การ ตรวจอัลตร้าซาวนด์ในช่วง 6 - 12 สัปดาห์ เป็นการตรวจมาตรฐานในโรงพยาบาลส่วนใหญ่ การตรวจนี้จะช่วยให้คุณทราบวันครบกำหนดคลอดที่แน่นอน อีกทั้งยังช่วยทำให้ทราบรายละเอียดที่สำคัญหลายๆ ด้านอีกด้วย เช่น อายุของลูกน้อยในครรภ์ จำนวนลูกน้อยในครรภ์ การเต้นของหัวใจ ตรวจดูว่ามีสิ่งผิดปกติใดๆ ที่เห็นได้ชัดหรือไม่ ตรวจดูว่ารังไข่อยู่ในสภาพปกติดีหรือไม่

การ ตรวจจะใช้เวลาประมาณ 10 นาที โดยระหว่างนั้นภาพของลูกน้อยในครรภ์จะถูกถ่ายเก็บไว้ การได้เห็นลูกน้อยในครรภ์บนหน้าจอเป็นประสบการณ์อันน่าตื่นเต้น และคุณแม่ส่วนใหญ่มักจะรู้สึกตื้นตันใจ คุณจะได้รับภาพถ่ายของลูกน้อยกลับบ้าน ( โรงพยาบาลบางแห่งอาจคิดค่าบริการสำหรับภาพถ่าย ) ซึ่งคุณสามารถนำไปอวดคนที่คุณรักเพื่อร่วมแบ่งปันประสบการณ์อันน่าตื่นเต้น นี้ได้ด้วย

การตรวจอัลตร้าซาวนด์เพื่อวัดความหนาของน้ำที่สะสมบริเวณต้นคอทารก ( Nuchal translucency scan;NT)

การ ตรวจอัลตร้าซาวนด์ชนิดนี้ เป็นการตรวจที่ไม่ลุกล้ำเข้าไปในร่างกาย ( non-invasive) และไม่มีอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ โดยปกติจะเริ่มตรวจเมื่อตั้งครรภ์ได้ 11 ถึง 14 สัปดาห์ แต่โรงพยาบาลบางแห่งไม่เสนอการตรวจครรภ์ชนิดนี้ หากโรงพยาบาลของคุณไม่เสนอการตรวจครรภ์ชนิดนี้ คุณสามารถขอรับบริการตรวจครรภ์ชนิดนี้ด้วยตัวเอง การตรวจอัลตร้าซาวนด์เพื่อวัดความหนาของน้ำที่สะสมบริเวณต้นคอทารก เป็นการประเมินโอกาสเสี่ยงของกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม ( Down’s Syndrome) หรือความผิดปกติทางโครโมโซมอื่นๆ ของทารกในครรภ์ โดยจะประเมินจากอายุของว่าที่คุณแม่ ความหนาของน้ำที่สะสมบริเวณต้นคอของทารก กระดูกสันจมูกของทารกและผลการตรวจเลือด หากผลการตรวจชี้ว่าอาจมีโอกาสเสี่ยงสูง คุณอาจต้องรับการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การตรวจน้ำคร่ำ ( amniocentesis test) เพื่อให้ทราบผลที่แน่ชัด ว่าที่คุณแม่และว่าที่คุณพ่อสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ ตรวจชนิดนี้กับพยาบาลผดุงครรภ์หรือสูติแพทย์ได้

การตรวจครรภ์กลางไตรมาสที่สอง (ช่วง 4-6 เดือน)

หาก เป็นไปได้ คุณแม่ควรเข้ารับการตรวจครรภ์กลางไตรมาสที่สอง (ช่วงครรภ์ 4 - 6 เดือน) ซึ่งการตรวจในระยะนี้ คุณแม่ส่วนใหญ่จะรู้สึกตื่นเต้น เพราะไม่เพียงแต่เป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับการตั้งครรภ์เท่านั้น แต่คุณแม่ยังจะได้เห็นรูปร่างหน้าตาของลูกน้อยที่ชัดเจนยิ่งขึ้นด้วย และคุณยังได้ทราบด้วยว่าลูกน้อยในครรภ์ของคุณเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง แต่ถ้าหากว่าคุณต้องการทราบเพศของลูกน้อยเมื่อตอนคลอดเพื่อความตื่นเต้น แพทย์ก็จะยังไม่เปิดเผยเรื่องนี้ให้คุณทราบ การตรวจนี้จะใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที และโรงพยาบาลส่วนใหญ่จะจำหน่ายรูปถ่ายจากการตรวจอัลตร้าซาวนด์ให้คุณ ถ้าคุณต้องการ

โดยปกติ การตรวจนี้จะทำในช่วงสัปดาห์ที่ 18 - 21 ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจความสมบูรณ์ของลูกน้อยในครรภ์ทั่ว ทั้งร่างกาย โดยแพทย์จะตรวจดูอวัยวะส่วนต่างๆ ต่อไปนี้

* ศีรษะของเด็กเพื่อหาความผิดปกติของสมองหรือปากแหว่งเพดานโหว่

* กระดูกสันหลังและท้องเพื่อดูว่าอวัยวะเหล่านี้จัดเรียงอยู่ในแนวเดียวกันและมีพัฒนาการที่เหมาะสมหรือไม่

* ขนาดและรูปร่างของหัวใจของทารก

* ท้อง ซึ่งควรอยู่ถัดจากหัวใจลงไป คุณอาจจะเห็นน้ำคร่ำบางส่วนที่ลูกน้อยของคุณกลืนเข้าไป ซึ่งจะดูคล้ายกับฟองอากาศสีดำในท้องของลูกน้อย

* ไตและกระเพาะปัสสาวะของทารก

* มือและเท้าทั้งสองข้างของทารก ถึงแม้ว่าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจจะไม่ถึงกับนับนิ้วมือนิ้วเท้าเด็กก็ตาม

* รก สายสะดือและน้ำคร่ำ

* วัดขนาดรอบศีรษะของทารก ท้องและกระดูกต้นขาเพื่อให้แน่ใจว่าอวัยวะต่างๆ เหล่านี้มีพัฒนาการที่สมบูรณ์เท่าเทียมกัน

หากมีสัญญาณของความผิดปกติใดๆ ขอให้คุณปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการตรวจครรภ์ชนิดอื่นๆ ต่อไป

การตรวจพัฒนาการของทารก

การ ตรวจอัลตร้าซาวนด์ชนิดนี้ เป็นการตรวจเพื่อดูว่าลูกน้อยในครรภ์ของคุณกำลังเติบโตและมีพัฒนาการที่แข็ง แรงสมบูรณ์หรือไม่ ซึ่งโดยปกติแล้ว แพทย์จะใช้วิธีการตรวจชนิดนี้ในกรณีที่มีความกังวลเกี่ยวกับการเจริญเติบโต ของลูกน้อย



อัพเดทข้อมูลโดย...สิริกัญญา นรินทร์

ตรวจการตั้งครรภ์



เวลาคนเราตั้งครรภ์ ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงมากมายหลายอย่างเพื่อเตรียมตัว สำหรับอีกชีวิตหนึ่งที่จะเกิดมา ก็เหมือนเราเตรียมบ้านสำหรับคนมาใหม่ ต้องเก็บต้องจัดของให้เข้าที่ เตรียมห้อง ปัดกวาดเช็ดถูให้เรียบร้อย
การจะรู้ว่าตั้งครรภ์หรือเปล่า ถ้าจะอาศัยอาการทางร่างกายคงเป็นเรื่องยาก และไม่แน่นอน อย่างเรื่อง คลื่นไส้อาเจียนก็ไม่ได้เป็นอาการเฉพาะเจาะจงของคนท้องเสมอไป โรคอื่น สาเหตุอื่นก็ทำให้มีอาการอย่างนี้ได้ ดังนั้นจึงต้องอาศัยการตรวจ จึงจะบอกได้แน่ชัด ถ้าไปหาหมอ หมอก็อาจตรวจปัสสาวะพร้อมกับตรวจร่างกาย ถ้ายังไม่แน่ใจหมออาจตรวจเลือดหรือตรวจ Ultrasound เพิ่มเติม
  • แล้วถ้าไม่ไปหาหมอจะตรวจเองได้ไหม
ได้ครับ สมัยนี้สะดวกมาก มีชุดตรวจสำเร็จรูปสำหรับตรวจปัสสาวะด้วยตนเอง วางจำหน่ายมากมายหลายยี่ห้อ หลากหลายราคา ร้านขายยาก็มีขาย ห้างสรรพสินค้าก็มีขาย สินค้าเหล่านี้มักวางขายใกล้ๆชั้นขายยาเม็ดคุมกำเนิดและถุงยางอนามัย ซื้อมาแล้วก็เอามาตรวจเองที่บ้าน
  • การเก็บ
ซื้อมาแล้วจะเก็บไว้ก่อนก็ได้ที่อุณหภูมิ 4 – 30 องศา (อุณหภูมิห้องก็ใช้ได้) และเมื่อฉีกซองออกมาแล้ว ต้องตรวจทันทีจึงจะได้ผลดี แต่ถ้าฉีกมาแล้วยังไม่ตรวจสามารถเก็บไว้ได้หนึ่งชั่วโมง มิฉะนั้นจะโดนความชื้น ทำให้ประสิทธิภาพลดลงได้
  • ปัสสาวะที่ตรวจ
จะใช้ปัสสาวะตื่นนอนตอนเช้าก็ได้ ฮอร์โมนแยะดี แต่จะใช้ปัสสาวะเวลาอื่นก็ได้ผลเหมือนกัน สำคัญต้องเป็นปัสสาวะสดคือปัสสาวะมาใหม่ๆ
  • ตรวจอย่างไร
ปกติในชุดจะมีอุปกรณ์ให้มาพร้อมเสร็จสรรพ ทั้งนี้ก็แล้วแต่บริษัท บางบริษัทก็เป็นแบบตลับ (Test pack) หรือแบบแถบจุ่ม (test strip) หรือแบบแผ่นหยด
แบบตลับ (Test pack) ทางบริษัทจะเตรียมถ้วย และหลอดดูดปัสสาวะมาให้พร้อม อย่าหยดปัสสาวะมาก ปกติ 3-4 หยดก็พอ
แบบแถบจุ่ม (Test strip) อาจมีภาชนะบรรจุปัสสาวะมาให้หรือไม่มีก็ได้ อย่าจุ่มเลยขีดที่กำหนด
แบบแผ่นหยด ปกติจะต้องมีหลอดดูดพร้อมก้าน ละเลงปัสสาวะผสมน้ำยามาให้ด้วย อ่านคู่มือที่มีมาให้พร้อม
  • การอ่านผล


การอ่านผลที่ถูกต้องต้องอ่านภายใน 5 นาที ถ้าทิ้งไว้นานกว่านี้ ที่เคยขึ้นขีดเดียวของบางบริษัท อาจมีอีกขีดโผล่มาได้ ซึ่งไม่ใช่การตั้งครรภ์ และเชื่อถือไม่ได้แล้ว
1. ถ้าขึ้น 2 ขีด แปลว่าให้ผลบวก
2. ถ้าขึ้นขีดเดียว แปลว่าให้ผลลบ
3. ถ้าไม่ขึ้นสักขีด แปลว่า อ่านผลไม่ได้ หรือแถบเสีย
4. ถ้าขีด T ขึ้นจางๆ แปลว่า ยังไม่แน่
  • การแปลผล

1. ถ้าให้ผลบวกแปลว่าตั้งครรภ์
2. ถ้าให้ผลลบ แปลว่า ไม่ตั้งครรภ์ หรืออาจตั้งครรภ์แต่ยังตรวจไม่เจอก็เป็นได้
3. ถ้าไม่ขึ้นสักขีด แปลว่าชุดตรวจนั้นเสีย อาจเสียจากการผลิต หรือเสียจากการเก็บไม่ถูกวิธี หรือหมดอายุ หรือใช้ปัสสาวะเก่าทิ้งไว้นาน การตรวจในครั้งนั้นใช้ไม่ได้ ต้องเอาอันใหม่มาตรวจ
4. ถ้าขีด T ขึ้นจางๆ แนะนำรออีกสองสามวันตรวจใหม่ (คนละยี่ห้อก็ดี)
5. การตรวจนี้ถ้าให้ผลเป็นบวก บอกได้แค่ว่ามีการตั้งครรภ์เท่านั้น ไม่ได้บอกว่าตั้งครรถ์ในมดลูกหรือนอกมดลูก
  • ระยะเวลาในการตรวจ
การตรวจปัสสาวะปกติก็ควรรอให้ให้รอบเดือนขาดเสียก่อนจึงค่อยตรวจ ในหลายๆครั้งความเครียด วิตกกังวลก็อาจทำให้รอบเดือนมาช้าได้ (โดยเฉพาะในรายที่ยังไม่พร้อม) ดังนั้นเมื่อถึงวันนัดแล้ว รอบเดือนยังไม่มาตามนัด คุณก็สามารถรอได้ รอ 7 วันแล้วค่อยตรวจก็ยังไม่สาย ตรวจแล้วถ้าให้ผลบวก ก็แปลว่าตั้งครรภ์ แต่ถ้าให้ผลลบ ก็รออีก 7 วันค่อยตรวจซ้ำ ตรวจแล้วยังให้ผลลบ ก็รออีก 7 วันตรวจใหม่อีกที ถ้าครั้งนี้ยังให้ผลลบก็เย็นใจได้แล้ว ไม่น่าท้อง (ไม่ได้บอกว่าไม่ท้องแน่ๆ)รออีก 7 วันคราวนี้ถ้าให้ผลลบอีก และกังวลว่าจะตั้งครรภ์(แต่ไม่พร้อม) ก็คงต้องไปหาหมอตรวจแล้วครับ
  • จะตรวจก่อนรอบเดือนขาดได้ไหม
ในกรณีที่มีการผสมเทียมหรือการทำเด็กหลอดแก้ว แพทย์อาจตรวจเลือดหลังจากทำไป 1 – 2 สัปดาห์ เพื่อดูว่าการทำนั้นสำเร็จหรือไม่ ซึ่งการตรวจเลือดปกติก็ตรวจได้ตั้งแต่ 7 - 9 วันหลังไข่ตก แต่ถ้าเป็นการตรวจปัสสาวะอาจตรวจได้ 14 วันหลังไข่ตก นั่นก็คือตั้งแต่วันที่รอบเดือนควรจะมา แต่ชุดการตรวจที่รู้ไวแบบนั้นก็อาจผิดพลาดให้ผลบวกปลอมได้เช่นกัน
แต่ในกรณีการตั้งครรภ์ปกติทั่วไปก็ไม่จำเป็นต้องไปรู้ก่อนรอบเดือนขาด ถึงคุณไม่พร้อมจะตั้งครรภ์ การรู้ก่อนรอบเดือนขาด หรือรู้หลังรอบเดือนขาด 1 – 2 สัปดาห์ก็ไม่มีอะไรต่างกัน
  • ความน่าเชื่อถือ
ตรวจปัสสาวะแล้วให้ผลบวกแปลว่าท้องแน่นอนใช่ไหม .....
ก็ควรจะเป็นอย่างนั้น… แต่เท่าที่เคยเจอก็ไม่แน่เสมอไป ตรวจคราวก่อนให้ผลบวก สองวันต่อมารอบเดือนกลับมาหน้าตาเฉยก็มี แล้วทำไมจึงเป็นอย่างนั้น..... ในบางครั้ง บางบริษัทไวมากฮอร์โมนอื่นที่ไม่ใช่ hCG ก็ให้ผลบวกปลอมก็มีเช่นฮอร์โมน LH แต่ก็พบไม่บ่อยนักผิดพลาดได้ 1- 2 %
  • อาหารและยาที่กินเข้าไปมีผลให้การตรวจผิดพลาดไหม
โดยปกติอาหารก็ไม่มีผลอะไร แต่ก็มียาบางอย่าง (เช่นยาขับปัสสาวะ ยาแก้แพ้บางตัว เช่นยา promethazine) อาจทำให้ผลตรวจผิดพลาด จากที่ควรบวก แต่ทำให้ผลเป็นลบได้
ยาที่มีส่วนผสมของฮอร์โมน hCG หรือมีส่วนประกอบของฮอร์โมน hCG อาจทำให้มีผลบวกปลอมได้
  • ขีดที่สองขึ้นจางๆ แปลว่าอะไร
บางครั้งตรวจไปแล้วขีดที่ 2 ทำท่าขึ้นมาแต่ก็จางๆ จะอ่านว่าบวกหรือเปล่า ….ผลที่ได้ถือว่ายังไม่แน่นอน รออีก 7 วันค่อยตรวจใหม่ซ้ำอีกที
  • ซื้อได้ที่ไหน
ร้านขายยาทั่วไป ร้านขายยาในห้าง (อยู่แผงเดียวกับยาคุม) ร้านเซเว่นก็มี
  • ราคาเท่าไหร่
มีหลากหลายยี่ห้อ ราคาตั้งแต่ 50 บาทไปถึงร้อยกว่าๆ
  • ท้องนอกมดลูกบอกได้หรือเปล่า
ลำพังแค่ตรวจปัสสาวะบอกไม่ได้ครับว่าท้องในมดลูกหรือนอกมดลูก การวินิจฉัยว่าท้องนอกมดลูก ต้องอาศัยการตรวจร่างกาย การตรวจอย่างอื่นร่วมด้วย รวมทั้งประวัติอาการต่างๆ แต่ท้องนอกมดลูกก็เจอน้อย ดังนั้นจึงไม่มีอะไรต้องเป็นห่วง ปล่อยเป็นหน้าที่หมอที่จะวินิจฉัยเอง
  • เด็กออกไปแล้วยังตรวจเจอไหม
หลังจากคลอดไม่ว่าคลอดปกติหรือผ่าคลอด หลังจากแท้งไปแล้วไม่ว่าแท้งเองหรือไปทำแท้งมา ฮอร์โมนในเลือดไม่หมดไปทันที แต่จะค่อยๆลดลง 1 – 2 สัปดาห์ยังอาจตรวจปัสสาวะให้ผลบวกได้ แต่อย่างไรก็ตามหลัง 4 สัปดาห์แล้วก็จะให้ผลลบทุกราย
  • ตกขาวกับการตั้งครรภ์
คนท้องอาจมีตกขาวได้ คนทั่วไปก็มีตกขาวได้ ตกขาวทั้งสองอย่างไม่สามารถแยกกันได้ ไม่ควรใช้เรื่องตกขาวมาเป็นตัวสงสัยว่าท้องหรือเปล่า ถ้าสงสัยว่าจะท้องหรือเปล่า ลองตรวจปัสสาวะด้วยตนเองก่อนดีที่สุด
  • บทสรุป
การตรวจการตั้งครรภ์ด้วยปัสสาวะด้วยตนเอง เป็นการตรวจเบื้องต้น ต้องระมัดระวังในการแปลผล เมื่อตรวจแล้วได้ผลอย่างไร ควรได้ไปตรวจกับแพทย์อีกครั้งดีที่สุด

อาการเริ่มแรกของการตั้งครรภ์

เขียนโดย มนต์ชยา   
1 การขาดประจำเดือน
ถ้าคุณเป็นคนที่ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ อาการปกติที่บ่งบอกได้ว่าคุณกำลังตั้งครรภ์คือ ประจำเดือนไม่มาภายหลังปฏิสนธิได้ 2 สัปดาห์ แต่ถ้าคุณเป็นคนที่มีประจำเดือนมา ไม่สม่ำเสมอ อาจเป็นสาเหตุอื่นก็ได้ที่ทำให้ประจำเดือนคุณขาดหายไป เช่นมีความ เครียดจากการทำงาน, มีความวิตกกังวลมาก หรือไม่สบาย ก็ไม่แน่ว่าคุณจะตั้งครรภ์ ในบางรายที่ตั้งครรภ์แล้ว อาจมีเลือดออกเล็กน้อยทางช่องคลอดในช่วงเวลาที่ครบรอบเดือน
2 เจ็บ ตึง คัดเต้านม
ขนาดของเต้านมจะเริ่มขยายขึ้น หัวนมเจ็บและไวต่อสิ่งสัมผัส มีเส้นเลือดดำสีเขียวๆ ปรากฏขึ้นที่บริเวณผิวหนังรอบเต้านม หัวนมมีสีคล้ำขึ้นและตั้งชู
3 ปัสสาวะบ่อยขึ้น
ฮอร์โมน ที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์มีผลทำให้เลือดมาคั่งในเชิงกรานมาก เพื่อไปหล่อเลี้ยง ตัวอ่อนมากขึ้น ระบบปัสสาวะที่ต่อเนื่องถึงกันจึงได้รับผลกระทบไปด้วย กระเพาะปัสสาวะ จึงระคายเคืองและบีบตัวบ่อยขึ้น ทำให้ปวดปัสสาวะบ่อย รวมทั้งต้องลุกมาเข้าห้องน้ำใน ตอนกลางคืนบ่อยๆ ด้วย
4 ท้องผูกกว่าปกติ
5 มีอาการตกขาวเล็กน้อย
มีมูกขาวๆ ออกมาจากช่องคลอด โดยไม่มีอาการแสบ หรือคันบริเวณช่องคลอดแต่อย่างใด
6 รู้สึกเหนื่อยง่าย อยากหลับตลอดเวลา
นอก จากตอนเย็นหลังเลิกงานแล้วยังเหนื่อยล้าในตอนกลางวันอีกด้วย อาการเช่นนี้ดีสำหรับคุณแม่ เพราะเท่ากับช่วยลดกิจกรรมต่างๆ ลงทั้งที่บ้านและที่ทำงาน จะได้พบปะเจอะเจอผู้คนน้อยลง หรือไม่ค่อยอยากเดินทางไปไหนมาไหน ช่วยให้คุณแม่ได้รับเชื้อโรคและสารพิษจาก สิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษน้อยลง
7 รู้สึกขมๆ เฝื่อนๆ มีรสชาติแปลกๆ ในปาก
8 รู้สึกเหม็น ทนไม่ได้กับบางสิ่งบางอย่าง
เช่น ควันบุหรี่, เหล้า, กาแฟ, อาหารที่มีไขมัน, กลิ่นเนื้อสด, ฯลฯ ผลของการตั้งครรภ์ทำให้จมูกคุณแม่ไว และตอบสนองต่อกลิ่นต่างๆ มากขึ้น บางคนได้กลิ่นอาหารที่เคยชอบก็อยากอาเจียน, บางคนแพ้ กลิ่นน้ำหอมที่ตัวเองเคยใช้เป็นประจำ, บางคนไปจ่ายตลาดเดินผ่านร้านขายเนื้อวัวสด, เนื้อหมู ไม่ได้เลย แค่เห็นก็ทนไม่ไหวแล้ว, บางคนแค่เปิดตู้เย็นเจอกลิ่นอาหารในตู้เย็นก็รู้สึกแย่ บางรายก็แพ้กระทั่งกลิ่นของสามีตัวเอง!
9 มีอาการแพ้ท้อง
เป็นอาการ ที่พบบ่อยมากจนเป็นสัญลักษณ์ของการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่มีอาการคลื่นไส้ อยาก อาเจียนหลังตื่นนอนในตอนเช้า บางรายอาจเป็นในช่วงเย็นๆ บางรายมีอาการต่อเนื่องกัน ตลอดทั้งวัน (แย่หน่อย) โดยเฉพาะตอนที่ท้องว่าง บางทีหิวแต่กินไม่ได้มาก ทำให้เกิด อาการวิงเวียนจะเป็นลม เนื่องจากมีน้ำตาลในเลือดต่ำ
10 กินอาหารไม่อร่อย หรืออยากกินของแปลกๆ
ฮอร์โมน ที่เพิ่มระดับขึ้นในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ ทำให้การรับรู้รสชาติของคุณแม่เปลี่ยน แปลงไป ทำให้รู้สึกกินไม่อร่อย ทั้งที่เป็นของที่เคยชอบมาก่อน บางทีอยากกินของแปลกๆ ที่ไม่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมจึงอยากกิน
11 มีอารมณ์อ่อนไหวหรือแปรปรวนง่าย
ซึ่ง เป็นผลมาจากฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนแปลง บางครั้งได้ยิน ได้ฟังเรื่องเศร้าๆ ก็ร้องไห้ น้ำตาซึม หรือปล่อยโฮ ดูหนังเศร้าก็ร้องไห้เสียใจ โดยที่เมื่อก่อนไม่ใช่คนแบบนี้ ผู้หญิงบางรายอาจไม่มีอาการดังกล่าวนี้เลย แต่ก็ "ทราบ" ว่าตนเองตั้งครรภ์ ก็เป็นได้เช่นกัน ตรวจการตั้งครรภ์
เมื่อสงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์ คุณควรตรวจด้วยตนเองหรือไปรับการตรวจจากแพทย์เพื่อยืนยัน ว่ากำลังตั้งครรภ์ให้ชัดเจน ซึ่งมีวิธีดังนี้
1 โดยการตรวจปัสสาวะ
คุณ อาจตรวจด้วยตนเองก็ได้ โดยซื้อชุดทดสอบการตั้งครรภ์สำเร็จรูป ซึ่งมีขายตามร้านขายยาทั่วไป ชุดทดสอบนี้ประกอบด้วยสารละลายเคมี ซึ่งนำมาผสมกับน้ำปัสสาวะ 2-3 หยด แล้วเปรียบเทียบดูสีที่ เปลี่ยนไป เป็นการบอกว่าตั้งครรภ์หรือไม่ หากทำตามขั้นตอนอย่างถูกวิธี จะให้ผลที่ค่อนข้างน่า เชื่อถือ 90% การทดสอบเริ่มทำได้โดยการนำน้ำปัสสาวะของแรกที่ประจำเดือนไม่มาเป็นต้นไป ซึ่งอยู่ในระยะ 2 สัปดาห์หลังการปฏิสนธิมาทดสอบ ผลการทดสอบที่บอกว่าคุณกำลังตั้งครรภ์มัก ถูกต้องแม่นยำ ส่วนผลที่บอกว่าคุณไม่ตั้งครรภ์มักเชื่อถือได้น้อยกว่า ฉะนั้นคุณควรรออีก 1 สัปดาห์แล้วจึงทำการทดสอบอีกครั้ง หรือไปพบแพทย์เพื่อยืนยันการตั้งครรภ์
2 การตรวจภายใน
ถ้า ประจำเดือนขาดเกิน 1-2 เดือนแล้ว แพทย์อาจใช้การตรวจภายในเพื่อยืนยันการตั้งครรภ์ โดยช่องคลอดและปากมดลูกจะมีสีม่วงคล้ำ เพราะมีเลือดมาหล่อเลี้ยงจำนวนมาก และมดลูกโตจน คลำได้ชัดเจน การตรวจภายในยังช่วยสำรวจความผิดปกติว่ามีก้อนเนื้องอกที่มดลูกหรือรังไข่ ได้อีกด้วย
 ที่มา http://www.thaiparents.com/

ค้นหา