Clock


วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การผ่าตัดหัวใจ "โรคหัวใจ"

การผ่าตัดหัวใจ โรคหัวใจที่จำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดสามารถแยกออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

 1.โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart disease)
 2.โรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลัง (Acquired Heart disease)
 โรค หัวใจพิการแต่กำเนิดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ชนิดเขียว และชนิดไม่เขียว การผ่าตัดรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดไม่ว่าจะเป็นชนิดเขียว หรือไม่เขียว ก็มีทั้งการผ่าตัดแบบประคับประคองหรือแก้ไขได้ทั้งหมดจนกลับมาเหมือนปกติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความผิดปกติที่มีมาแต่กำเนิดในผู้ป่วยแต่ละ คน ความผิดปกติบางอย่างต้องผ่าตัดรักษาตั้งแต่ระยะแรกคลอด ความผิดปกติบางอย่างสามารถรอจนโตขึ้นมาหน่อยได้ การผ่าตัดหัวใจในเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กต้องอาศัยความละเอียดอ่อนมากกว่าการผ่าตัดในผู้ใหญ่หลาย เท่าตัว
โรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลังที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด แบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ ที่พบบ่อย คือ
 - โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
 - โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว
 - โรคของเส้นเลือดแดงใหญ่ (Aorta)
โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
 เป็น โรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลังที่พบมากที่สุด มีวิธีการรักษาทั้งชนิดที่ต้องผ่าตัดและไม่ต้องผ่าตัด การรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัดคือ การถ่างขยายเส้นเลือดหัวใจด้วยบอลลูนตรงตำแหน่งที่ตีบตัน โดยจะใส่ขดลวดขนาดเล็กเข้าไปค้ำเสริมด้วยหรือไม่ก็ได้ ถ้าเส้นเลือดหลักทั้ง 3 เส้น ตีบตันหมด ก็เป็นข้อบ่งชี้ในการทำผ่าตัดรักษา เนื่องจากการถ่างด้วยบอลลูน ต้องถ่างหลายเส้น หลายตำแหน่งและอาจต้องหลายหน บางครั้งต้องกลับมาถ่างซ้ำอีกเนื่องจากตีบตันที่ตำแหน่งเดิมที่ถ่างไปรวมๆ แล้วอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการถ่างด้วยบอลลูนสูงกว่าการผ่าตัดถึง 2-3 เท่าตัวหรือมากกว่า
 ผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยการถ่างด้วยบอลลูน ก็มีโอกาสเสียชีวิตในห้องสวนหัวใจระหว่างการทำบอลลูนได้ มีโอกาสเสียชีวิตที่บ้านได้ เนื่องจากเส้นเลือดหัวใจตีบตันขึ้นมาใหม่ ซึ่งโอกาสเสียชีวิตเหล่านี้อาจจะมากกว่าการผ่าตัดต่อเส้นเลือดหัวใจ (Coronary artery bypass graft) ที่ทำโดยศัลยแพทย์หัวใจที่มีความชำนาญสูง ซึ่งจะมีอัตราการเสียชีวิตเพียง 1-2% (ในผู้ป่วยที่นัดมาทำผ่าตัด) และยิ่งถ้าต่อด้วยเส้นเลือดแดงทั้งหมดแล้ว ในระยะ 10 ปี เส้นเลือดที่ต่อไป จะมีโอกาสตันประมาณ 15-20% เท่านั้น
โรคลิ้นหัวใจตีบ หรือรั่ว
 การ ผ่าตัดโรคลิ้นหัวใจตีบ หรือรั่ว มีทั้งการทำผ่าตัดโดยการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ หรือซ่อมลิ้นหัวใจ โรคของลิ้นบางรายก็ตัดสินใจง่าย คือเปลี่ยนเลย เนื่องจากซ่อมแซมไม่ได้ แต่ในรายที่สามารถซ่อมแซมได้ศัลยแพทย์หัวใจที่ชำนาญในเรื่องการซ่อมลิ้น หัวใจ ก็จะพยายามซ่อมแซมลิ้นหัวใจให้กลับมาใช้งานได้ใกล้เคียงของเดิมมากที่สุดแทน ที่จะเปลี่ยนลิ้นหัวใจ เนื่องจาการข้อเสียของการเปลี่ยนลิ้นหัวใจก็คือ ถ้าเปลี่ยนเป็นลิ้นโลหะ ก็จะต้องรับประทานยาละลายลิ่มเลือดไปตลอดชีวิต เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ่มเลือดไปจับที่ลิ้นโลหะทำให้ลิ้นอุดตัน ถ้าเปลี่ยนเป็นลิ้นเนื้อเยื่อ ซึ่งทำมาจากหมู หรือวัว ไม่จำเป็นต้องกินยาละลายลิ่มเลือด แต่ลิ้นเนื้อเยื่อจะเสื่อมไปตามเวลาซึ่งจะมีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี หลังจากนั้นต้องทำการผ่าตัดซ้ำเพื่อเปลี่ยนลิ้นอันใหม่
โรคของเส้นเลือดแดงใหญ่ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
 - เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
 - เส้นเลือดแดงใหญ่ฉีกขาด
 ทั้ง สองกรณี มักเกิดจากการที่ผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูง และไม่ได้ควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติ หรือไม่รู้ตัวมาก่อนว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง การผ่าตัดรักษามีโอกาสเสียชีวิต หรือมีโรคแทรกซ้อนสูงมาก โดยเฉพาะถ้าทำการผ่าตัดในกรณีฉุกเฉิน วิธีผ่าตัดโดยทั่วไปจะตัดเส้นเลือดที่เป็นโรคออกและใส่เส้นเลือดเทียมเข้าไป แทน ปัจจุบันสามารถรักษาโรคของเส้นเลือดแดงใหญ่ ได้ด้วยวิธีการดามด้วยขดลวดโดยใช้เครื่องเอกซเรย์ระบุตำแหน่ง โดยจะมีแผลผ่าตัดที่ขาหนีบเพื่อใช้สอดใส่ขดลวดดามเข้าไป วิธีนี้ก็จะลดอัตราเสี่ยงต่างๆ ลงไปมาก แต่ยังคงมีราคาสูงและไม่สามารถใช้ได้ในผู้ป่วยทุกราย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหา