Clock


วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

ภาวะการขาดสารไอโอดีน

การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน จำเป็นต้องมีระบบเฝ้าระวัง ที่สามารถบอกถึงสถานการณ์ของภาวะการขาดสารไอโอดีนได้อย่างมีคุณภาพ
 
รู้ได้อย่างไรว่าขาดหรือไม่ขาดไอโอดีน
 
ภาวะการขาดสารไอโอดีน มีดัชนีชี้วัดหลายตัว ได้แก่ อัตราคอพอก, ระดับ Thyroid stimulating hormone(TSH) ของทารกแรกเกิด และปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะ
 
การตรวจวัดอัตราคอพอกทำได้ 2 วิธี
1. โดยการคลำคอ (Palpation)
2. โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (Ultra Sound)
การ ตรวจคอพอกโดยการคลำคอเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว ไม่สิ้นเปลือง แต่ความคลาดเคลื่อนในการคลำสูงมาก จึงใช้การ Ultra sound ในการตรวจยืนยัน เพราะมีความแม่นยำกว่าการคลำคอ แต่วิธีนี้ไม่สามารถใช้ในภาคสนามได้ เพราะต้องใช้เครื่องมือพิเศษที่มีราคาสูง นอกจากนี้การใช้อัตราคอพอกก็มีข้อด้อยคือไม่สามารถบ่งบอกสภาพสถานการณ์ใน ปัจจุบันได้ทันที
การตรวจวัดระดับ TSH (Thyroid Stimulating Hormone) ของทารกแรกเกิด
การ ใช้ระดับ Thyroid stimulating hormone (TSH) ของทารกแรกเกิด เป็นดัชนีชี้วัดที่มีความแม่นยำและมีความไวสูง บ่งบอกภาวะขาดสารไอโอดีนในช่วงเวลาที่วิกฤตที่สุดในชีวิตมนุษย์ ซึ่งการขาดไอโอดีนจะกระทบกระเทือนต่อการพัฒนาของสมองและระบบประสาท
การตรวจวัดระดับไอโอดีนที่ขับออกมากับปัสสาวะ (Urine Iodine)
ปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะ เป็นดัชนีชี้วัดภาวะการขาดสารไอโอดีนที่ใช้กันแพร่ทั่วโลก ทั้งนี้เพราะมากกว่า 90 % ของไอโอดีนในร่างกายจะถูกขับออกมาในปัสสาวะ และระดับของไอโอดีนสะท้อนถึงปริมาณไอโอดีนที่ได้รับหรือภาวะการขาดไอโอดีน นอกจากนี้การเก็บตัวอย่างปัสสาวะก็สามารถทำได้ง่าย
UI-KIT :
ชุดตรวจสอบไอโอดีนในปัสสาวะ
การตรวจวัดขนาดของต่อมไทรอยด์
เมื่อขาดสารไอโอดีน ต่อมไทรอยด์ซึ่งมีหน้าที่สร้างไทรอยด์ฮอร์โมน จะมีขนาดโตขึ้น เรียกกันโดยทั่วไปว่าคอพอก (Goiter) ซึ่งที่จริงแล้วเป็นการปรับตัวของร่างกายเพื่อต่อสู้กับการขาดไอโอดีน ทั้งนี้เพราะเมื่อร่างกายขาดไทรอยด์ฮอร์โมน จะส่งผลไปกระตุ้นไฮโปทาลามัส ให้หลั่งสารเคมี TRH (Thyroid releaing hormone) มากระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้หลั่งฮอร์โมน TSH (Thyroid stimulating hormone) และส่งมาที่ต่อมไทรอยด์มากเกินปกติ ต่อมไทรอยด์เมื่อได้รับการกระตุ้นมากจึงขยายขนาดโตขึ้น เพื่อเร่งการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน
การตรวจวัดขนาดของต่อมไทรอยด์ ทำได้ 2 วิธี
 
1. การตรวจคอพอกโดยการคลำคอ (Palpation)
กระทรวงสาธารณสุขได้ใช้อัตราคอพอกในกลุ่มเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา เป็นตัวที่จะบอกสถานภาพของการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน ทั้งนี้เพราะวิธีตรวจคอพอกโดยการคลำคอเป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็ว ไม่สิ้นเปลือง เพราะไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ และสามารถทำได้ดำเนินการได้ในทุกพื้นที่
การแบ่งคอพอกตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก (WHO) และ ICCIDD (International Council for the Control of Iodine Deficiency Disorders)
ระดับ 0 (ไม่เป็นคอพอก)
ระดับ 1
ระดับ 2
มองไม่เห็น คลำไม่ได้
มองไม่เห็น ต้องแหงนคอจึงมองเห็น เมื่อกลืนน้ำลาย จะเห็นต่อมไทรอยด์เลื่อนขึ้นลง หรือมองไม่เห็น ต้องคลำจะพบว่าคลำได้โตกว่าข้อปลายของนิ้วหัวแม่มือ ของผู้รับการตรวจ
มองเห็นก้อนชัดเจนในท่าปกติ
อย่าง ไรก็ตาม การใช้อัตราคอพอกเป็นตัวชี้วัดดังกล่าว นอกเหนือจากข้อดี คือ เป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็ว และไม่สิ้นเปลือง ทำได้ในทุกพื้นที่ก็ตาม การใช้อัตราคอพอกในเด็กนักเรียนเป็นตัวชึ้วัด ยังมีข้อด้อยคือการคลำคออาจจะเกิดความผิดพลาดได้มาก โดยเคยมีการศึกษาว่าอาจจะมีความแตกต่างกันในผลการคลำได้ถึงร้อยละ 30 แม้ในผู้คลำที่มีประสบการณ์ด้วยกัน นอกจากนี้ คอพอกในเด็กนักเรียนยังมีขนาดเล็ก หลายครั้งการคลำต้องอาศัยดุลยพินิจว่าจะมีหรือไม่มีคอพอก นอกจากนี้อัตราคอพอกยังไม่สามารถบ่งบอกถึงสภาพการณ์ในปัจจุบันได้ทันที
2. การตรวจวัดขนาดของต่อมไทรอยด์โดยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultra Sound)
วิธีการตรวจวัดขนาดของต่อมไทรอยด์โดยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultra Sound)นี้ เป็นวิธีที่มีมาตรฐานแน่นอน ได้มีการศึกษาแล้วว่าเป็นดัชนีที่แม่นยำกว่าอัตราคอพอก เหมาะสำหรับใช้ในการตรวจยืนยัน อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ก็ไม่สามารถใช้ในภาคสนามได้ เพราะต้องใช้เครื่องมือพิเศษที่มีราคาสูง
การตรวจวัดระดับ Thyroid stimulating hormone (TSH) ของทารกแรกเกิด
Thyroid stimulating hormone (TSH)
Thyroid stimulating hormone (TSH) เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมอง pituitary gland ทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมน T3 (triiodothyronine) และ T4 (thyroxine) ค่า TSH จะขึ้นกับระดับไทรอยด์ฮอร์โมน หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนได้ตามปกติค่า TSH จะต่ำ หากต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสังเคราะห์ไทรอยด์ฮอร์โมน หรือสังเคราะห์ได้น้อยเกินไปไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เช่น ในกรณีที่มีการขาดสารไอโอดีน ต่อมใต้สมองจะหลั่ง TSH ออกมามากขึ้น เพื่อกระตุ้นต่อมไทรอยด์ ทำให้ค่า TSH สูง
ค่าปกติอยู่ที่ 0.5-5.0 mU/L
หากระดับ TSH มีค่าอยู่ระหว่าง 15-20 mU/L จะต้องติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
ถ้าระดับ TSH มากกว่า 20 mU/L แสดงว่าต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้อย่างเพียงพอ
 
การตรวจวัดระดับ TSH (Thyroid Stimulating Hormone) ของทารกแรกเกิด เป็นดัชนีชี้วัดที่มีความแม่นยำ และมีความไวสูง และบ่งบอกภาวะขาดสารไอโอดีนในช่วงเวลาที่วิกฤตที่สุดในชีวิตมนุษย์ ซึ่งการขาดไอโอดีนจะกระทบกระเทือนต่อการพัฒนาของสมองและระบบประสาท
ได้มีการศึกษาพบว่า ทารกแรกคลอดในบริเวณที่มีการขาดสารไอโอดีนจะมีระดับ TSH สูงกว่าปกติ และการเสริมไอโอดีนให้แก่มารดาจะทำให้ระดับ TSH ของทารกลดลงเป็นปกติได้
การตรวจวัดระดับ TSH ของทารกแรกเกิด นำไปสู่การป้องกันภาวะปัญญาอ่อนในทารกเนื่องจากการขาดไอโอดีน
ในปี พ.ศ. 2539 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแผนระดับชาติในการตรวจคัดกรองสุขภาพทารกแรกเกิด เพื่อสกัดเด็กไทยให้พ้นจากภาวะปัญญาอ่อน อันเนื่องมาจากการขาดสารไอโอดีน โดยการตรวจวัดระดับ TSH (Thyroid Stimulating Hormone) ภายใน 1 เดือนแรกของการเกิด หากพบว่ามีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนผิดปกติ แพทย์จะรีบทำการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อมิให้เด็กต้องกลายเป็นปัญญาอ่อนต่อไปในอนาคต
วิธีการตรวจวัดระดับ TSH ทำได้โดยเก็บตัวอย่างเลือดจากส้นเท้าทารกแรกคลอดอายุตั้งแต่ 48 ชั่วโมงขึ้นไป เพียง 2-3 หยด แล้วหยดลงบนกระดาษซับเลือด นำไปตรวจวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการ
แต่การตรวจคัดกรองสุขภาพทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันภาวะปัญญาอ่อนนั้น ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ 100% โดยขณะนี้การดำเนินการครอบคลุมเด็กเกิดประมาณ 85% ของเด็กเกิดทั่วประเทศต่อปี ซึ่งจำนวนที่ขาดไปก็คือ จำนวนเด็กเกิดในโรงพยาบาลบางแห่งที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ รวมถึงจำนวนเด็กที่คลอดตามบ้าน ซึ่งพ่อแม่อาจยังไม่เข้าใจในเรื่องการตรวจคัดกรอง
นอกจากนี้ การเรียกเด็กกลับมาตรวจยืนยันเพื่อให้การรักษาเบื้องต้น ในกรณีที่ตรวจพบความผิดปกติ ก็ทำได้เพียงแค่ประมาณ 53% ของจำนวนที่เรียกตรวจยืนยันทั้งหมด กล่าวคือ จากจำนวนทารกที่ตรวจคัดกรองตั้งแต่ปี 2539-เดือน ก.ย. 2545 จำนวน 2,254,309 ราย พบทารกที่ผิดปกติ 7,002 ราย แต่มีทารกที่กลับมาติดตามผลส่งตรวจยืนยันเพียง 4,099 ราย พบทารกที่ผิดปกติจากระดับฮอร์โมน TSH และสามารถรักษาได้ทันท่วงทีจนไม่เป็นปัญญาอ่อน 765 ราย
ในแต่ละปี จึงยังคงมีเด็กเกิดใหม่ที่ต้องกลายเป็นปัญญาอ่อน ถึงปีละประมาณ 800 ราย !
การ ตรวจปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะ เป็นดัชนีชี้วัดภาวะการขาดสารไอโอดีนที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลก ทั้งนี้เพราะการเก็บตัวอย่างปัสสาวะสามารถทำได้ง่าย และมากกว่า 90 % ของไอโอดีนในร่างกายจะถูกขับออกมาในปัสสาวะ นอกจากนี้ ระดับของไอโอดีนสะท้อนถึงปริมาณไอโอดีนที่ได้รับหรือภาวะการขาดไอโอดีนได้ ทันที
WHO/UNICEF/ICCND ได้ใช้ปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะ ในการประเมินระดับความรุนแรงของการขาดสารไอโอดีน ดังนี้
ปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะ (ug/L)
ภาวะการขาดสารไอโอดีน
<20
รุนแรง
20-49
ปานกลาง
50-99
เล็กน้อย
>100
ไม่ขาด
วิธีวิเคราะห์หาปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะที่ใช้กันทั่วไปนั้นค่อนข้างยุ่งยาก ใช้เวลานาน และใช้สารเคมีที่เป็นกรดอย่างแรงที่อุณหภูมิสูงถึง 110 องศาเซลเซียส ในการย่อยปัสสาวะ เพื่อทำลายสารอื่น ๆ ก่อนที่จะวิเคราะห์ไอโอดีน นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์ต่อตัวอย่างสูง และยังจะต้องใช้เวลานานในการวิเคราะห์ ซึ่งไม่สามารถทำในห้องปฏิบัติการทั่วไป รวมทั้งในภาคสนามได้ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นข้อจำกัดในการที่จะวิเคราะห์ตัวอย่างจำนวนมากให้ได้ผลอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะเคยมีรายงานถึงวิธีที่รวดเร็วในการหาปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะ แต่ยังมีปัญหาด้านความไว ต้องใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย ใช้ได้กับตัวอย่างปัสสาวะที่เก็บใหม่เท่านั้น
UI-KIT : ชุดทดสอบภาคสนามเพื่อบอกภาวะการขาดสารไอโอดีนในขั้นต่าง ๆ
คณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้พัฒนาวิธีการหาปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะ โดยใช้ prepacked chacoal column แทนวิธีการย่อยด้วยกรดที่อุณหภูมิสูง ในการแยกสารรบกวนต่าง ๆ ในปัสสาวะ สารเหล่านี้ เช่น ไธโอไซยาเนตและกรอแอสคอร์บิค ซึ่งมีผลต่อการหาปริมาณไอโอไดด์
นอกจากนี้ ได้พัฒนาวิธีการหาปริมาณไอโอไดด ์โดยใช้วิธีการทำให้เกิดสี ซึ่งสามารถดูได้ด้วยตาเปล่า และสามารถปรับให้ใช้ในภาคสนามได ้แทนวิธีการเก่าที่ใช้วัดอัตราที่สีเหลืองจางหายไป โดยได้พัฒนาวิธีการทำให้เกิด product ที่มีสีโดยใช้สาร tetramethylbenzidine
การแยกสารรบกวนในปัสสาวะ โดยใช้ chacoal column
วิธีการที่พัฒนาใหม่นี้ สามารถใช้หาปริมาณไอโอไดด์ได้ทั้งแบบ quantitative โดยการวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 650 nm และแบบ semi-quantitative โดยการเทียบสีของผลผลิตที่เกิดขึ้นกับแถบสีมาตรฐาน
แถบสีมาตรฐาน เพื่อบอกภาวะการขาดสารไอโอดีน
สำหรับวิธีการทาง quantitative ที่พัฒนาขึ้นมาถือได้ว่ามีความแม่นยำ (%CV = 6.04) ในด้านความน่าเชื่อถือนั้น ได้วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยเปรียบเทียบวิธีที่พัฒนาใหม่กับวิธีมาตรฐาน พบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์ของความสัมพันธ์เท่ากับ 0.964 และมีความสอดคล้องกัน คือมีค่า kappa เท่ากับ 0.802
ส่วนการประมาณค่าไอโอไดด์โดยการเทียบสี พบว่ามีความสอดคล้องกับวิธีมาตรฐานเช่นกัน คือมีค่า kappa เท่ากับ 0.737
จากการหาปริมาณไอโอดีนในตัวอย่างปัสสาวะมากกว่า 200 ตัวอย่าง พบว่าอัตราการเกิดสีกับปริมาณไอโอไดด์มีความสัมพันธ์กัน ดังแสดงในรูป
จาก การวิจัยเบื้องต้น มีความเป็นไปได้ ที่จะพัฒนาต่อไปเป็นชุดทดสอบภาคสนามสำหรับไอโอดีนในปัสสาวะ ซึ่งนอกจากจะบอกภาวะการขาดสารไอโอดีน ในขั้นต่าง ๆ ได้ คือ ขาดรุนแรง, ขาดปานกลาง, ขาดเล็กน้อย หรือปกติได้จากการดูสีที่เกิดขึ้นเทียบกับแถบสีมาตรฐานแล้ว ยังสามารถทำได้โดยตรงจากการวัดอัตราเร็วในการเกิดสีด้วยเครื่องวัดสี
การวัดภาวะการขาดสารไอโอดีนโดยวัดอัตราเร็วในการเกิดสีด้วยเครื่องวัดสีนี้ จะลดความผิดพลาดที่เกิดจากการอ่านสีลงได้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาและทดลองใช้ในภาคสนาม
เครื่องวัดสี สามารถวัดอัตราเร็วในการเกิดสี และบอกภาวะการขาดสารไอโอดีนในขั้นต่าง ๆ ได้ คือ ขาดรุนแรง, ขาดปานกลาง, ขาดเล็กน้อย หรือปกต
UI-KIT...สะดวก ง่าย ไม่เป็นอันตราย การใช้มี 2 ขั้นตอน
1. แยกสารรบกวนปฏิกิริยาในปัสสาวะออก โดยการผ่านคอลัมน์
2. วัดปริมาณไอโอไดด์ โดยใส่สารเพื่อทำให้เกิดสีต่าง ๆ กัน ตามปริมาณไอโอไดด์ และวัดอัตราการเกิดสีด้วย UI-Reader ได้เป็นสถานภาพการขาดไอโอดีน (ขาดรุนแรง, ขาดปานกลาง, ขาดเล็กน้อย หรือปกติ)
UI-KIT ชุดตรวจสอบไอโอดีนในปัสสาวะ
UI-KIT เป็นชุดตรวจสอบไอโอดีนในปัสสาวะ เพื่อบอกภาวะการขาดสารไอโอดีนในขั้นต่าง ๆ ได้ คือ ขาดรุนแรง, ขาดปานกลาง, ขาดเล็กน้อย หรือปกติ ณ แหล่งที่เก็บ ได้ทันที
ข้อดีของ UI-KIT
UI-KIT เป็นชุดตรวจสอบไอโอดีนในปัสสาวะ มีวิธีการใช้ที่สะดวกและง่าย สามารถบอกภาวะการขาดสารไอโอดีนได้อย่างรวดเร็ว
ใช้วิธีใหม่ที่ไม่รุนแรง คือ การใช้ charcoal คอลัมน์ในการขจัดสิ่งรบกวนต่อการหาปริมาณไอโอดีนออกจากปัสสาวะ แทนวิธีเก่าที่ต้องย่อยสลายด้วยกรดเข้มข้นที่อุณหภูมิสูง
ใช้วิธีการวัด product ที่มีสี และ shade ของสียังต่างกันที่ความเข้มข้นของไอโอดีนที่ต่างกัน ซึ่งมีประโยชน์มาก เพราะนอกจากจะบอกภาวะการขาดสารไอโอดีนได้โดยตรงจากการวัดอัตราเร็วในการเกิดสีด้วยเครื่องวัดสีแล้ว ยังสามารถดูสีที่เกิดขึ้นโดยตาเปล่าได้
ประโยชน์ของ UI-KIT
ให้สามารถตรวจสอบได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ณ สถานที่นั้น ๆ ว่าขาดไอโอดีนหรือไม่ เพื่อจะได้แก้ไขทันท่วงที
สถานีอนามัย ใช้ตรวจคนท้องทุกคนให้แน่ใจว่าไม่ขาดไอโอดีน
โรงเรียน ใช้ตรวจเด็กเล็กว่าไม่ขาดไอโอดีน
  
* ใช้ตรวจสอบภาวะการขาดไอโอดีนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ณ สถานที่นั้น ๆ เพื่อจะได้แก้ไขทันท่วงที
* สถานีอนามัยใช้ตรวจคนท้องทุกคนให้แน่ใจว่าไม่ขาดไอโอดีน
* โรงเรียนใช้ตรวจเด็กเล็กว่าไม่ขาดไอโอดีน





1 ความคิดเห็น:

  1. Casino Table Games 2021 - Play Online for Free at Casino Poker
    Our 배당사이트 Casino Table 블랙 잭 사이트 Games bet365 우회 2021 헐리우드 노출 include Blackjack, Craps, Poker, Craps, Roulette and Video Poker. All are available at the Casino Poker 강원 랜드 여자 Room.

    ตอบลบ

ค้นหา