การตรวจวัดขนาดของต่อมไทรอยด์
เมื่อขาดสารไอโอดีน
ต่อมไทรอยด์ซึ่งมีหน้าที่สร้างไทรอยด์ฮอร์โมน จะมีขนาดโตขึ้น เรียกกันโดยทั่วไปว่าคอพอก
(Goiter) ซึ่งที่จริงแล้วเป็นการปรับตัวของร่างกายเพื่อต่อสู้กับการขาดไอโอดีน
ทั้งนี้เพราะเมื่อร่างกายขาดไทรอยด์ฮอร์โมน จะส่งผลไปกระตุ้นไฮโปทาลามัส ให้หลั่งสารเคมี
TRH (Thyroid releaing hormone) มากระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้หลั่งฮอร์โมน
TSH (Thyroid stimulating hormone) และส่งมาที่ต่อมไทรอยด์มากเกินปกติ ต่อมไทรอยด์เมื่อได้รับการกระตุ้นมากจึงขยายขนาดโตขึ้น
เพื่อเร่งการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน |
การตรวจวัดขนาดของต่อมไทรอยด์
ทำได้ 2 วิธี |
|
1.
การตรวจคอพอกโดยการคลำคอ (Palpation) |
กระทรวงสาธารณสุขได้ใช้อัตราคอพอกในกลุ่มเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา
เป็นตัวที่จะบอกสถานภาพของการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน ทั้งนี้เพราะวิธีตรวจคอพอกโดยการคลำคอเป็นวิธีที่ง่าย
รวดเร็ว ไม่สิ้นเปลือง เพราะไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ และสามารถทำได้ดำเนินการได้ในทุกพื้นที่
|
|
การแบ่งคอพอกตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก
(WHO) และ ICCIDD (International Council for the Control of Iodine Deficiency Disorders) |
ระดับ
0 (ไม่เป็นคอพอก)
|
ระดับ
1
|
ระดับ
2
|
|
|
|
มองไม่เห็น
คลำไม่ได้
|
มองไม่เห็น
ต้องแหงนคอจึงมองเห็น เมื่อกลืนน้ำลาย จะเห็นต่อมไทรอยด์เลื่อนขึ้นลง หรือมองไม่เห็น
ต้องคลำจะพบว่าคลำได้โตกว่าข้อปลายของนิ้วหัวแม่มือ ของผู้รับการตรวจ |
มองเห็นก้อนชัดเจนในท่าปกติ
|
อย่าง
ไรก็ตาม
การใช้อัตราคอพอกเป็นตัวชี้วัดดังกล่าว นอกเหนือจากข้อดี คือ
เป็นวิธีที่ง่าย
รวดเร็ว และไม่สิ้นเปลือง ทำได้ในทุกพื้นที่ก็ตาม
การใช้อัตราคอพอกในเด็กนักเรียนเป็นตัวชึ้วัด
ยังมีข้อด้อยคือการคลำคออาจจะเกิดความผิดพลาดได้มาก
โดยเคยมีการศึกษาว่าอาจจะมีความแตกต่างกันในผลการคลำได้ถึงร้อยละ
30 แม้ในผู้คลำที่มีประสบการณ์ด้วยกัน นอกจากนี้
คอพอกในเด็กนักเรียนยังมีขนาดเล็ก
หลายครั้งการคลำต้องอาศัยดุลยพินิจว่าจะมีหรือไม่มีคอพอก
นอกจากนี้อัตราคอพอกยังไม่สามารถบ่งบอกถึงสภาพการณ์ในปัจจุบันได้ทันที
|
2.
การตรวจวัดขนาดของต่อมไทรอยด์โดยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultra Sound) |
วิธีการตรวจวัดขนาดของต่อมไทรอยด์โดยคลื่นเสียงความถี่สูง
(Ultra Sound)นี้ เป็นวิธีที่มีมาตรฐานแน่นอน ได้มีการศึกษาแล้วว่าเป็นดัชนีที่แม่นยำกว่าอัตราคอพอก
เหมาะสำหรับใช้ในการตรวจยืนยัน อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ก็ไม่สามารถใช้ในภาคสนามได้
เพราะต้องใช้เครื่องมือพิเศษที่มีราคาสูง
การตรวจวัดระดับ
Thyroid stimulating hormone (TSH) ของทารกแรกเกิด
Thyroid
stimulating hormone (TSH) |
Thyroid
stimulating hormone (TSH) เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมอง pituitary
gland ทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมน T3 (triiodothyronine)
และ T4 (thyroxine) ค่า TSH จะขึ้นกับระดับไทรอยด์ฮอร์โมน หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนได้ตามปกติค่า
TSH จะต่ำ หากต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสังเคราะห์ไทรอยด์ฮอร์โมน หรือสังเคราะห์ได้น้อยเกินไปไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
เช่น ในกรณีที่มีการขาดสารไอโอดีน ต่อมใต้สมองจะหลั่ง
TSH ออกมามากขึ้น เพื่อกระตุ้นต่อมไทรอยด์ ทำให้ค่า TSH สูง |
|
ค่าปกติอยู่ที่ 0.5-5.0 mU/L |
หากระดับ TSH มีค่าอยู่ระหว่าง 15-20 mU/L จะต้องติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด |
ถ้าระดับ TSH มากกว่า 20 mU/L แสดงว่าต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้อย่างเพียงพอ |
การตรวจวัดระดับ
TSH (Thyroid Stimulating Hormone) ของทารกแรกเกิด เป็นดัชนีชี้วัดที่มีความแม่นยำ
และมีความไวสูง และบ่งบอกภาวะขาดสารไอโอดีนในช่วงเวลาที่วิกฤตที่สุดในชีวิตมนุษย์
ซึ่งการขาดไอโอดีนจะกระทบกระเทือนต่อการพัฒนาของสมองและระบบประสาท |
|
ได้มีการศึกษาพบว่า
ทารกแรกคลอดในบริเวณที่มีการขาดสารไอโอดีนจะมีระดับ TSH สูงกว่าปกติ และการเสริมไอโอดีนให้แก่มารดาจะทำให้ระดับ
TSH ของทารกลดลงเป็นปกติได้ |
การตรวจวัดระดับ
TSH ของทารกแรกเกิด นำไปสู่การป้องกันภาวะปัญญาอ่อนในทารกเนื่องจากการขาดไอโอดีน |
ในปี
พ.ศ. 2539 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแผนระดับชาติในการตรวจคัดกรองสุขภาพทารกแรกเกิด
เพื่อสกัดเด็กไทยให้พ้นจากภาวะปัญญาอ่อน อันเนื่องมาจากการขาดสารไอโอดีน โดยการตรวจวัดระดับ
TSH (Thyroid Stimulating Hormone) ภายใน 1 เดือนแรกของการเกิด หากพบว่ามีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนผิดปกติ
แพทย์จะรีบทำการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อมิให้เด็กต้องกลายเป็นปัญญาอ่อนต่อไปในอนาคต |
|
วิธีการตรวจวัดระดับ
TSH ทำได้โดยเก็บตัวอย่างเลือดจากส้นเท้าทารกแรกคลอดอายุตั้งแต่ 48 ชั่วโมงขึ้นไป
เพียง 2-3 หยด แล้วหยดลงบนกระดาษซับเลือด นำไปตรวจวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการ |
แต่การตรวจคัดกรองสุขภาพทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันภาวะปัญญาอ่อนนั้น
ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ 100% โดยขณะนี้การดำเนินการครอบคลุมเด็กเกิดประมาณ
85% ของเด็กเกิดทั่วประเทศต่อปี ซึ่งจำนวนที่ขาดไปก็คือ จำนวนเด็กเกิดในโรงพยาบาลบางแห่งที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ
รวมถึงจำนวนเด็กที่คลอดตามบ้าน ซึ่งพ่อแม่อาจยังไม่เข้าใจในเรื่องการตรวจคัดกรอง |
นอกจากนี้
การเรียกเด็กกลับมาตรวจยืนยันเพื่อให้การรักษาเบื้องต้น ในกรณีที่ตรวจพบความผิดปกติ
ก็ทำได้เพียงแค่ประมาณ 53% ของจำนวนที่เรียกตรวจยืนยันทั้งหมด กล่าวคือ จากจำนวนทารกที่ตรวจคัดกรองตั้งแต่ปี
2539-เดือน ก.ย. 2545 จำนวน 2,254,309 ราย พบทารกที่ผิดปกติ 7,002 ราย แต่มีทารกที่กลับมาติดตามผลส่งตรวจยืนยันเพียง
4,099 ราย พบทารกที่ผิดปกติจากระดับฮอร์โมน TSH และสามารถรักษาได้ทันท่วงทีจนไม่เป็นปัญญาอ่อน
765 ราย |
ในแต่ละปี
จึงยังคงมีเด็กเกิดใหม่ที่ต้องกลายเป็นปัญญาอ่อน ถึงปีละประมาณ 800 ราย !
การ
ตรวจปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะ
เป็นดัชนีชี้วัดภาวะการขาดสารไอโอดีนที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลก
ทั้งนี้เพราะการเก็บตัวอย่างปัสสาวะสามารถทำได้ง่าย
และมากกว่า 90 % ของไอโอดีนในร่างกายจะถูกขับออกมาในปัสสาวะ
นอกจากนี้
ระดับของไอโอดีนสะท้อนถึงปริมาณไอโอดีนที่ได้รับหรือภาวะการขาดไอโอดีนได้
ทันที
|
|
WHO/UNICEF/ICCND
ได้ใช้ปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะ ในการประเมินระดับความรุนแรงของการขาดสารไอโอดีน
ดังนี้ |
ปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะ
(ug/L)
|
ภาวะการขาดสารไอโอดีน
|
<20
|
รุนแรง
|
20-49
|
ปานกลาง
|
50-99
|
เล็กน้อย
|
>100
|
ไม่ขาด
|
|
|
วิธีวิเคราะห์หาปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะที่ใช้กันทั่วไปนั้นค่อนข้างยุ่งยาก
ใช้เวลานาน และใช้สารเคมีที่เป็นกรดอย่างแรงที่อุณหภูมิสูงถึง 110 องศาเซลเซียส
ในการย่อยปัสสาวะ เพื่อทำลายสารอื่น ๆ ก่อนที่จะวิเคราะห์ไอโอดีน นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์ต่อตัวอย่างสูง
และยังจะต้องใช้เวลานานในการวิเคราะห์ ซึ่งไม่สามารถทำในห้องปฏิบัติการทั่วไป
รวมทั้งในภาคสนามได้ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นข้อจำกัดในการที่จะวิเคราะห์ตัวอย่างจำนวนมากให้ได้ผลอย่างรวดเร็ว
แม้ว่าจะเคยมีรายงานถึงวิธีที่รวดเร็วในการหาปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะ แต่ยังมีปัญหาด้านความไว
ต้องใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย ใช้ได้กับตัวอย่างปัสสาวะที่เก็บใหม่เท่านั้น
|
UI-KIT
: ชุดทดสอบภาคสนามเพื่อบอกภาวะการขาดสารไอโอดีนในขั้นต่าง ๆ |
คณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล
ได้พัฒนาวิธีการหาปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะ โดยใช้ prepacked chacoal column
แทนวิธีการย่อยด้วยกรดที่อุณหภูมิสูง ในการแยกสารรบกวนต่าง ๆ ในปัสสาวะ สารเหล่านี้
เช่น ไธโอไซยาเนตและกรอแอสคอร์บิค ซึ่งมีผลต่อการหาปริมาณไอโอไดด์
นอกจากนี้
ได้พัฒนาวิธีการหาปริมาณไอโอไดด ์โดยใช้วิธีการทำให้เกิดสี ซึ่งสามารถดูได้ด้วยตาเปล่า
และสามารถปรับให้ใช้ในภาคสนามได ้แทนวิธีการเก่าที่ใช้วัดอัตราที่สีเหลืองจางหายไป
โดยได้พัฒนาวิธีการทำให้เกิด product ที่มีสีโดยใช้สาร tetramethylbenzidine |
การแยกสารรบกวนในปัสสาวะ
โดยใช้ chacoal column |
|
วิธีการที่พัฒนาใหม่นี้
สามารถใช้หาปริมาณไอโอไดด์ได้ทั้งแบบ quantitative โดยการวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น
650 nm และแบบ semi-quantitative โดยการเทียบสีของผลผลิตที่เกิดขึ้นกับแถบสีมาตรฐาน |
แถบสีมาตรฐาน
เพื่อบอกภาวะการขาดสารไอโอดีน
|
|
|
สำหรับวิธีการทาง
quantitative ที่พัฒนาขึ้นมาถือได้ว่ามีความแม่นยำ (%CV = 6.04) ในด้านความน่าเชื่อถือนั้น
ได้วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยเปรียบเทียบวิธีที่พัฒนาใหม่กับวิธีมาตรฐาน
พบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์ของความสัมพันธ์เท่ากับ 0.964 และมีความสอดคล้องกัน
คือมีค่า kappa เท่ากับ 0.802
ส่วนการประมาณค่าไอโอไดด์โดยการเทียบสี
พบว่ามีความสอดคล้องกับวิธีมาตรฐานเช่นกัน คือมีค่า kappa เท่ากับ 0.737
|
จากการหาปริมาณไอโอดีนในตัวอย่างปัสสาวะมากกว่า
200 ตัวอย่าง พบว่าอัตราการเกิดสีกับปริมาณไอโอไดด์มีความสัมพันธ์กัน ดังแสดงในรูป |
|
จาก
การวิจัยเบื้องต้น
มีความเป็นไปได้
ที่จะพัฒนาต่อไปเป็นชุดทดสอบภาคสนามสำหรับไอโอดีนในปัสสาวะ
ซึ่งนอกจากจะบอกภาวะการขาดสารไอโอดีน ในขั้นต่าง ๆ ได้ คือ
ขาดรุนแรง, ขาดปานกลาง,
ขาดเล็กน้อย
หรือปกติได้จากการดูสีที่เกิดขึ้นเทียบกับแถบสีมาตรฐานแล้ว
ยังสามารถทำได้โดยตรงจากการวัดอัตราเร็วในการเกิดสีด้วยเครื่องวัดสี
|
การวัดภาวะการขาดสารไอโอดีนโดยวัดอัตราเร็วในการเกิดสีด้วยเครื่องวัดสีนี้
จะลดความผิดพลาดที่เกิดจากการอ่านสีลงได้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาและทดลองใช้ในภาคสนาม |
|
เครื่องวัดสี
สามารถวัดอัตราเร็วในการเกิดสี และบอกภาวะการขาดสารไอโอดีนในขั้นต่าง
ๆ ได้ คือ ขาดรุนแรง, ขาดปานกลาง, ขาดเล็กน้อย หรือปกติ |
|
UI-KIT...สะดวก
ง่าย ไม่เป็นอันตราย การใช้มี 2 ขั้นตอน |
1.
แยกสารรบกวนปฏิกิริยาในปัสสาวะออก โดยการผ่านคอลัมน์
|
2.
วัดปริมาณไอโอไดด์ โดยใส่สารเพื่อทำให้เกิดสีต่าง ๆ กัน ตามปริมาณไอโอไดด์
และวัดอัตราการเกิดสีด้วย UI-Reader ได้เป็นสถานภาพการขาดไอโอดีน (ขาดรุนแรง,
ขาดปานกลาง, ขาดเล็กน้อย หรือปกติ) |
|
UI-KIT
ชุดตรวจสอบไอโอดีนในปัสสาวะ
UI-KIT
เป็นชุดตรวจสอบไอโอดีนในปัสสาวะ เพื่อบอกภาวะการขาดสารไอโอดีนในขั้นต่าง
ๆ ได้ คือ ขาดรุนแรง, ขาดปานกลาง, ขาดเล็กน้อย หรือปกติ ณ แหล่งที่เก็บ ได้ทันที |
UI-KIT เป็นชุดตรวจสอบไอโอดีนในปัสสาวะ มีวิธีการใช้ที่สะดวกและง่าย สามารถบอกภาวะการขาดสารไอโอดีนได้อย่างรวดเร็ว
|
ใช้วิธีใหม่ที่ไม่รุนแรง คือ การใช้ charcoal คอลัมน์ในการขจัดสิ่งรบกวนต่อการหาปริมาณไอโอดีนออกจากปัสสาวะ
แทนวิธีเก่าที่ต้องย่อยสลายด้วยกรดเข้มข้นที่อุณหภูมิสูง
|
ใช้วิธีการวัด product ที่มีสี และ shade ของสียังต่างกันที่ความเข้มข้นของไอโอดีนที่ต่างกัน
ซึ่งมีประโยชน์มาก เพราะนอกจากจะบอกภาวะการขาดสารไอโอดีนได้โดยตรงจากการวัดอัตราเร็วในการเกิดสีด้วยเครื่องวัดสีแล้ว
ยังสามารถดูสีที่เกิดขึ้นโดยตาเปล่าได้
|
ประโยชน์ของ
UI-KIT |
ให้สามารถตรวจสอบได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ณ สถานที่นั้น
ๆ ว่าขาดไอโอดีนหรือไม่ เพื่อจะได้แก้ไขทันท่วงที
|
สถานีอนามัย ใช้ตรวจคนท้องทุกคนให้แน่ใจว่าไม่ขาดไอโอดีน
|
โรงเรียน ใช้ตรวจเด็กเล็กว่าไม่ขาดไอโอดีน
|
|
| | |
|
|
|
*
ใช้ตรวจสอบภาวะการขาดไอโอดีนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ณ สถานที่นั้น ๆ เพื่อจะได้แก้ไขทันท่วงที
*
สถานีอนามัยใช้ตรวจคนท้องทุกคนให้แน่ใจว่าไม่ขาดไอโอดีน
*
โรงเรียนใช้ตรวจเด็กเล็กว่าไม่ขาดไอโอดีน
|
Casino Table Games 2021 - Play Online for Free at Casino Poker
ตอบลบOur 배당사이트 Casino Table 블랙 잭 사이트 Games bet365 우회 2021 헐리우드 노출 include Blackjack, Craps, Poker, Craps, Roulette and Video Poker. All are available at the Casino Poker 강원 랜드 여자 Room.