Clock


วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

โรคไข้กาฬหลังแอ่นMeningococcal Meningitis


 โรคไข้กาฬหลังแอ่นMeningococcal Meningitis

โรคไข้กาฬหลังแอ่น มีชื่อภาษาอังกฤษที่รู้จักกันทั่วไป คือ Meningococcal Meningitis
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Neisseria meningitidis ส่วนชื่ออื่นที่อาจจะพบในตำราหรือเอกสาร
ทางวิชาการต่างประเทศ ได้แก่ Cerebrospinal Fever, Cerebrospinal Meningitis,
Meningococcal infection, Meningococcemia โรคนี้เป็นโรคเยื่อหุ้มสมอง อักเสบที่มี
สาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย ความสำคัญทางด้านสาธารณสุขของประเทศ คือ เป็นโรคประจำถิ่น
ชนิดหนึ่งที่พบได้ประปรายในประเทศไทยและเป็นโรคติดต่ออันตรายถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการ รักษา
อย่างทันท่วงที
ในประเทศไทยอุบัติการณ์ของโรคไข้กาฬหลังแอ่นค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับโรคติดต่ออื่น ๆ
โดยมีอัตราป่วยอยู่ระหว่าง 0.03-0.19 ต่อแสนประชากร และมีอัตราป่วย ตาย (Case Fatality Rate)
ประมาณร้อยละ 15-20 โดยมีประเด็นที่น่าสนใจต่อการศึกษาโรคนี้ 4 ประการ คือ
1. เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่ทำให้ผู้ป่วยตายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเด็ก
2. แนวโน้มการรายงานโรคมีมากขึ้น โดยพิจารณาจากสถิติการรายงานย้อนหลัง 12 ปี
3. เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคนี้มีอัตราดื้อต่อยารักษาในกลุ่มซัลฟาค่อนข้างสูง
4. เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้ความสนใจต่อการเกิดและการกระจายของโรคนี้น้อย อาจเนื่องมาจาก
    จำนวนที่รับรายงานมีน้อยและโรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน


การวินิจฉัย :
โดยเพาะเชื้ได้ในเลือด, น้ำไขสันหลัง หรือจากตำแหน่งที่มีการติดเชื้อ

การรักษา 
โดยให้ยาปฏิชีวนะ Penicillin ฉีดเข้าทางหลอดเลือด 7 - 10 วัน การป้องกัน สำหรับผู้ที่อยู่ใน
ครอบครัวเดียวกับผู้ป่วย โดยให้กินยา Rifampicin (สำหรับผู้ที่จะกินยาป้องกันให้ปรึกษาแพทย์ )
วัคซีน ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันแล้วแต่ใช้ ไม่ได้ผลในเด็กไทยเพราะเชื้อเป็นคนละชนิดกับวัคซีน
ซึ่งผลิตมาจากต่างประเทศ วัคซีนนี้ใช้ฉีด เฉพาะนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปยังประเทศที่มีโรคนี้
ชุกชุมมีปัญหาสุขภาพ

อาการของโรค ผู้ป่วยจะมีอาการ
ปวดศรีษะ เจ็บคอ และไอนำมาก่อน ตามด้วยไข้สูง หนาวสั่น ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ
โดยเฉพาะที่ขาและหลัง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีเลือดออกใต้ผิวหนังเป็นจุดแดงทั่วตัว
ต่อมาเปลี่ยนเป็นจุดสีคล้ำจนกลายเป็นสะเก็ดสีดำ บางรายมีอาการรุนแรง
ช็อคถึงตายได้ในเวลา ไม่เกิน 24 ชั่วโมงหลังจากเริ่มมีอาการ


สถานการณ์ของโรค

อุบัติการณ์ของโรคตามพื้นที่
โรคนี้มีรายงานทั่วโลก
ไม่จำกัดตามลักษณะภูมิประเทศโดยมีรายงานทั้งเขตอบอุ่นและเขต ร้อน
การระบาดของโรคมักจะเกิดในเขตที่มีอาการร้อนแห้ง ส่วนการเกิดโรคในเขตเมืองพบได้
บ่อยกว่าในพื้นที่อื่น

อุบัติการณ์ของโรคในคน
การเกิดโรคในคนพบได้ทุกกลุ่มอายุ ในประเทศไทยจากรายงานเฝ้าระวังโรคของกองระ
บาดวิทยาพบว่า ผู้ป่วยโรคนี้มีรายงานทุกกลุ่มอายุ ตั้งแต่แรกเกิดเป็นต้นไป
กลุ่มอายุที่มีรายงาน การป่วยมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ คือ กลุ่มอายุ 15-24 ปี และ
25-34 ปี และพบว่ากลุ่มบุคคลที่ทำงานหรือ
อาศัยอยู่รวมกันอย่างแออัดมีโอกาสเกิดโรคมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ เช่น
กลุ่มของทหารที่อยู่ในค่ายเด็ก ในโรงเลี้ยงเด็ก หรือในโรงเรียน เป็นต้น

อุบัติการณ์ของโรคตามเวลา
โรคนี้เป็นทั้งโรคประจำถิ่นและอาจมีการระบาดเป็นช่วง ๆ มีรูปแบบการกระจายของโรค
ไม่แน่นอน ในประเทศทางตะวันตกพบผู้ป่วยมากในช่วงฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ
แต่ในประเทศ ไทยมีรายงานจำนวนผู้ป่วยประปรายตลอดปีและมีมากขึ้นในฤดูฝน


การเกิดและการกระจายของโรค
ประเด็นที่ควรนำมาพิจารณามีอยู่ 3 ประการ คือ
เกี่ยวกับตัวเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ การติดต่อของโรคและสภาพภูมิคุ้มกันของคน
เชื้อที่เป็นสาเหตุ

เป็นจุลินทรีย์พวกแบคทีเรียในกลุ่ม Neisseria Meningitidis เชื้อนี้มีคุณลักษณะสำคัญ
ที่ควร ทราบดังนี้

คุณลักษณะทั่วไป
ปัจจุบันเชื้อโรคนี้แบ่งออกตามลักษณะทาง Serology ได้เป็น 9 Serogroups ได้แก่
Serogroups A, B, C, D, X, Y, Z, 29-E และ W-135
แต่ที่พบว่าเป็นสาเหตุของการเกิดโรคทั่วไป มักจะพบเพียง 3 Serogroups คือ A, B
และ C เท่านั้น

รูปร่างลักษณะของเชื้อ
เป็นแบคทีเรียที่มีรูปทรงกลมอยู่กันเป็นกลุ่ม (diplococcus) ย้อมติดสีกรัมลบ
(gram negative) อาศัยอยู่ในเซลล์ (intracellular) ไม่เคลื่อนไหว (non-motile)
และไม่สร้างสปอร์ (nonspore3-forming) สามารถสร้างพิษในตัวเอง (endotoxin)
จะปล่อยพิษออกมาเมื่อตัวเชื้อ ถูกทำลาย

ระยะฟักตัวของโรค อยู่ระหว่าง 2-10 วัน ส่วนมากจะประมาณ 3-4 วัน

รังโรค คือ คน ผู้ป่วยและผู้ที่เป็นพาหนะ เป็นรังโรคที่สำคัญ
โดยเฉพาะผู้ที่เป็นพาหนะที่ มีลักษณะทั่วไปเหมือนคนปกติ (Healthy carriers)
เป็นกลุ่มคนที่มีความสำคัญมาก ประมาณการว่า อัตราของผู้ที่เป็นพาหนะ
อาจพบได้ตั้งแต่ร้อยละ 1 ถึง 90 คนเหล่านี้อาจพบมีเชื้ออยู่ในร่างกายได้ นานถึง
6 เดือนโดยไม่มีอาการของโรค

วิธีการติดต่อโรค คือ การติดต่อโดยตรง (direct transmission) จากการหายใจรดกัน
ในระยะ ใกล้ชิด จากการไอหรือจาม
นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อโดยตรงจากสิ่งขับจากจมูกหรือลำคอของ ผู้ป่วยหรือผู้ที่เป็นพาหะ เช่น
 น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ และน้ำกลั้วคอ เป็นนิด จำเป็นต้องวินิจฉัยแยกโรค เชื้อโรคเหล่านี้ได้แก่
1. Hemolytic streptococci และ streptococci ชนิดอื่น ๆ
2. Haemophilus influenzae
3. Staphyllococcus aureus
4. Escherrichia coli

การติดต่อโดยทางอ้อม ยังไม่มีข้อมูลสนับสนุนชัดเจน
เชื้อมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลง ของอุณหภูมิ และทนต่อสภาพอากาศแห้งไม่ได้นาน

ระยะเวลาการติดต่อของโรค 
โรคนี้สามารถติดต่อได้ตลอดเวลาที่พบเชื้อในจมูกหรือลำคอ
ของผู้ป่วยหรือผู้ที่เป็นพาหนะหรือผู้สัมผัสใกล้ชิด

สภาพภูมิคุ้มกันในคน เชื้อโรคนี้สามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้
และมีการ ค้นพบวัคซีนหลายชนิดสำหรับป้องกันและควบคุมโรคนี้ได้ เช่น bivalent
A-C, quadivalent A, C, Y และ W-135

จากการศึกษาในต่างประเทศ พบว่าอัตราการเกิดโรคระยะที่สอง (Secondary attack
rate) ของผู้สัมผัสใกล้ชิด (โดยเฉพาะในครัวเรือนเดียวกัน) มีประมาณร้อยละ 1-6
และอาจมีความ สัมพันธ์กับกลุ่มอายุด้วย คือ กลุ่มอายุต่ำกว่า 5 ปี มีโอกาสติดเชื้อและป่วยสูง
ถึงร้อยละ 10
กลุ่มอายุ 5-17 ปี มีโอกาสติดโรคต่ำกว่าร้อยละ 10 กลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไปมีโอกาสติดโรคต่ำกว่า
ร้อยละ 1


การป้องกันและควบคุมโรค
ควรดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคใน 2 ระยะ คือ
การดำเนินการขณะที่โรคสงบ
การที่โรคสงบ ในที่นี้หมายถึง
ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยในพื้นที่ซึ่งอาจยังไม่มีการติดเชื้อหรือ
อาจมีการติดเชื้อเกิดขึ้นแล้ว
แต่ยังไม่แสดงอาการของโรคไข้กาฬหลังแอ่นอัตราผู้ติดเชื้อแต่ไม่ แสดงอาการ
อาจสูงถึงร้อยละ 60 ป้องกันโรคในระยะนี้มีวิธีการหลักอยู่ 3 ประการ คือ

1. การรณรงค์สร้างเสริมภูมิต้านทานของร่างกาย
โดยไม่จำเพาะเจาะจงต่อโรค นั่นคือ การดำเนินการใด ๆ
ในชุมชนที่มีเป้าหมายเปลี่ยน
แปลงพฤติกรรมของบุคคลและชุมชนในการรักษาสุขวิทยาส่วนบุคคลและชุมชนอย่างต่อเนื่อง
เช่น การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้อย่างสม่ำเสมอ
โดยเฉพาะการหลีกเลี่ยงการนำเด็กเข้าไปใน สถานที่แออัด เช่น ในโรงมหรสพ
โรงพยาบาล เป็นต้น นอกจากนี้ในช่วงปลายฤดูร้อน ประมาณ เดือนเมษายน
ซึ่งเป็นช่วงที่มีรายงานผู้ป่วยมีจำนวนมากขึ้น ควรมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
อย่างกว้างขวางและครอบคลุม ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นกลุ่มอายุระหว่าง
15-34 ปี โดยเน้นการหลีกเลี่ยงการติดต่อโรค โดยการสัมผัสทางตรง

2. การให้วัคซีน
ปัจจุบันมีวัคซีนหลายชนิดทีสามารถป้องกันและควบคุมโรคนี้ได้
แต่ยังไม่มีการให้บริการ ในช่วงสถานการณ์โรคสงบ
แต่มีข้อเสนอแนะขององค์การอนามัยโลกต่อกระทรวงสาธารณสุข ของไทยว่า
การให้วัคซีนถือเป็นข้อปฏิบัติที่สำคัญ ในการควบการระบาดของโรคไข้กาฬหลังแอ่น
เมื่อมีการระบาดของโรคเกิดขึ้นและตรวจพบเชื้อควรเร่งระดมให้วัคซีนโดยเร็วที่สุด

3. การเฝ้าระวังโรค
โรคไข้กาฬหลังแอ่น เป็นโรคติดต่ออันตรายที่ต้องแจ้งความ ตามความในพระราชบัญญัติ
โรคติดต่อพุทธศักราช 2523 และมีปรากฏในบัตรรายงานโรค แบบ รง. 506
ในข่ายงานเฝ้าระวัง โรค ของกองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข
องค์การอนามัยโลกได้ให้ข้อเสนอเกี่ยวกับการเฝ้าระวังโรคไว้ 3 ประการ คือ
ก. โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเชื้อแบคทีเรีย
ควรจัดให้เป็นโรคที่อยู่ในข่ายที่จะต้องรายงาน
แยกตามเชื้อที่เป็นสาเหตุเท่าที่จะทำได้
ข. เมื่อพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น
จะต้องรายงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบทันที
ค. ควรเจาะน้ำไขสันหลัง
ส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยเชื้อแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุและทดสอบ
ความไวของยาต้านจุลชีพด้วย

การเฝ้าระวังโรคตามวิธีการสำคัญ 2 วิธี คือ การเฝ้าระวังเชิงรุก (active
surveillance) และการเฝ้าระวังเชิงรับ (passive surveillance) นั้น
มีข้อควรพิจารณาดังนี้
1. การเฝ้าระวังเชิงรุก ยังไม่จำเป็นต้องดำเนินการขณะที่โรคสงบ
เนื่องจากอัตราป่วยด้วย
โรคนี้อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับโรคติดต่อชนิดอื่น
แต่อาจศึกษาภาวะการติดเชื้อในหมู่ ประชากรเป็นระยะ ในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ
ซึ่งจะทำให้ทราบลักษณะทางระบาดวิทยาของ โรคได้
โดยเฉพาะในจังหวัดที่เคยมีการรายงานโรคค่อนข้างสูง
2. การเฝ้าระวังเชิงรับ เป็นวิธีการที่จะต้องปฏิบัติอยู่แล้ว
โดยควรให้ความสำคัญด้านความ ครบถ้วนของข้อมูลทั้งด้านจำนวนและคุณภาพกล่าวคือ
เมื่อมีผู้ป่วยที่มีอาการไข้มารับการตรวจ รักษาที่สถานบริการ
ควรซักประวัติอาการทุกราย และกรอกรายละเอียดตามแบบฟอร์มรายงาน ให้ครบถ้วนชัดเจน
นอกจากนี้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบควรวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ป่วยไข้ไม่ทราบ
สาเหตุรวมทั้งผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ถ้ามี)
เพื่อวินิจฉัยแยกโรคตามเกณฑ์การวินิจฉัย โรคนี้
ประเด็นสำคัญของการเฝ้าระวังโรคประการหนึ่งคือ
การที่จะระบุว่าโรคนั้นเกิดขึ้นแล้ว หรือยัง
ซึ่งจำเป็นต้องมีเกณฑ์การวินิจฉัยโรคที่เป็นมาตรฐาน
การวินิจฉัยโรคนี้จะต้องมีข้อมูล สนับสนุน ทั้งด้านอาการ อาการแสดง
และจากการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ

ด้านอาการทางคลินิกนั้นพบว่า โรคนี้เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียชนิดเฉียบพลัน
มีอาการสำคัญคือ มีไข้ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง มีผื่นเลือดออกใต้ผิวหนัง
(petechial rash) อาการทางสมองที่สำคัญคือ คอแข็ง เพ้อคลั่ง อาเจียน หมดสติ



การตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการ
1. การเพาะเชื้อ โดยเก็บวัตถุตัวอย่างไขสันหลัง เลือด หรือสิ่งขับจากจมูกและลำคอ
    นำมาเพาะเลี้ยงในอาหารพิเศษ
2. การย้อมสีกรัม เนื่องจากคุณสมบัติของเชื้อกลุ่มนี้จะย้อมติดสีกรัมลบ (gram negative)
    ตรวจโดยนำเลือดที่สะกิดจากผื่นมาป้ายสไลด์ย้อมสีกรัมแล้วส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์

สรุปแล้ว การวินิจฉัยโรคไข้กาฬหลังแอ่นนั้น โดยการพิจารณาจากอาการทางผิวหนัง คือ
จุดเลือดออก (กาฬแดง) จ้ำเลือดคล้ำ (กาฬม่วง)
พร้อมกับการยืนยันโดยกาย้อมสีกรัม หรือการ ตรวจน้ำไขสันหลังโดยวิธี counter
immunoelectrophoresis

เนื่องจากโรคนี้ก่อพยาธิสภาพที่เยื่อหุ้มสมอง
โรคที่ทำให้เกิดอาการคล้ายกันและพบได้ บ่อยมีอีกหลายชนิด


นอกจากนี้ยังมีเชื้อโรคอีกกลุ่มหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการใกล้เคียง แต่พบได้ไม่บ่อย เช่น
1. เชื้อในกลุ่ม colon aerogenes-proteus group
2. Salmonella
3. Pseudomonas aerugenosa รวมทั้งเชื้อราบางชนิด


การดำเนินการเมื่อเกิดโรค
เมื่อมีรายงานพบผู้ป่วยด้วยโรคไข้กาฬหลังแอ่น หรือสงสัยจากอาการ หรือแยกเชื้อที่เป็น สาเหตุ
ได้จากเสมหะ หรือได้รับคำบอกเล่าจากครู ผู้ปกครอง หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
จากสถานพยาบาลต่าง ๆ
จะต้องมีการควบคุมโรคโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะค้นหาเชื้อที่เป็นสาเหตุ
แหล่งโรควิธี การติดต่อ และกลุ่มบุคคลที่เสี่ยงต่อโรค
เพื่อกำหนดมาตรการที่เหมาะสมในการควบคุมการแพร่ กระจายของโรคในชุมชนต่อไป
โดยดำเนินการดังนี้ คือ

1. ยืนยันการการวินิจฉัย เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก
ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบยืนยันโดย แพทย์ จากลักษณะอาการทางคลินิก
และยืนยันผลการย้อมสีและเพาะเลี้ยงเชื้อจากสิ่งส่งตรวจ

2. ให้การรักษาผู้ป่วยทันที เพื่อเป็นการกำจัดแหล่งโรค
องค์การอนามัยโลกได้ให้ข้อเสนอ แนะในการรักษาไว้ดังนี้
ผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุที่ป่วยด้วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ Neisseria
ควรรักษาด้วย การฉีด Oily chloramphenicol เข็มเดียว
(ห้ามใช้ยานี้รักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อ Streptococcus
pneumonia หรือ Haemophilus influenzae)
ผู้สัมผัสโรคใกล้ชิด จะต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่นชนิด A และ C
แต่ถ้าไม่ทราบ serogroup ให้ใช้วัคซีนชนิด A, 7Y และ W-135
ถ้ามีข้อบ่งชี้ว่าเชื้อโรคไข้กาฬหลังแอ่นนั้นไวต่อยา Sulfonamide
จะต้องให้ยานี้แก่ ผู้สัมผัสโรคใกล้ชิด เป็นเวลา 2 วัน
ไม่ควรใช้ยา Rifampicin และ Spiramycin เพราะจะทำให้เชื้อหลายสายพันธุ์ของ
Mycobacterium tuberculosis (เชื้อวัณโรค) และ Mycobacterium leprae
(เชื้อโรคเรื้อน) ดื้อยา Rifampicin
การให้การรักษาอย่างทันท่วงที
เป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยรุ่นที่ สอง จะเกิดโรคภายใน 5
วัน หลังจากพบผู้ป่วยรายแรก (index case) จึงควรเริ่มให้การรักษาไป
ก่อนโดยไม่ต้องรอผลการทดสอบความไวต่อยาของเชื้อ

3. การค้นหาผู้สัมผัส ในทางปฏิบัติขั้นตอนนี้จะต้องทำไปพร้อมกับขั้นตอนที่ 2
การค้นหา ผู้สัมผัสมีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการ คือ
ป้องกันการเกิดผู้ป่วยรุ่นที่สอง
ลดอัตราการตาย โดยการวินิจฉัยและทำการรักษาอย่างฉับไว ในระยะเริ่มแรก
การค้นหาผู้สัมผัสหรือกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงในการติดโรคจะต้องค้นหาให้เร็วที่สุด
คนกลุ่มนี้ ได้แก่
ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดในครัวเรือนเดียวกัน
เด็กวัยก่อนเรียน ที่อยู่ในสถานเลี้ยงเด็กที่มีผู้ป่วย
ทุกคนที่สัมผัสกับเสมหะ หรือน้ำมูก หรือน้ำลายของผู้ป่วย
ในการค้นหาผู้สัมผัส อาจเก็บตัวอย่างเชื้อจากการป้ายคอ เสมหะ เพื่อส่งเพาะเชื้อ
พร้อมทั้งบันทึกประวัติอาการและอาการแสดงตามแบบการสอบสวนโรคให้ครบถ้วนสมบูรณ์
แต่ถ้าผู้สัมผัสได้รับยาปฏิชีวนะแล้วมักตรวจเพาะเชื้อไม่พบ

4. การทำลายเชื้อ ในการทำลายเชื้อโรคที่อยู่ภายนอกร่างกาย
จะต้องทำทันทีโดยใช้น้ำยา ไลโซล ขนาดความเข้มข้นร้อยละ 0.5 ราดหรือแช่
สิ่งขับถ่ายจากร่างกาย เช่น อาเจียน น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ เลือด
น้ำหนองหรือแช่ผ้าเปื้อน สิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วย
นอกจากนี้เมื่อผู้ป่วยได้ย้ายออก จากสถานพยาบาลแล้ว ควรทำลายเชื้อบนที่นอน
เครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วย

5. สรุปและประเมินผลการควบคุมโรค ข้อมูลการควบคุมโรคควรได้รับการบันทึกรวมทั้ง
ข้อสรุปต่าง ๆ
ปัญหาที่พบและการแก้ไขที่ได้ดำเนินการไปแล้วเพื่อประโยชน์ในการศึกษาเตรียม
การเฝ้าระวังในช่วงที่โรคสงบ และใช้เป็นข้อมูลการค้นคว้าของเจ้าหน้าที่อื่น
และจัดทำรายงาน เพื่อเผยแพร่ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
ข้อเสนอแนะ การป้องกันและควบคุมโรค


1. พื้นที่ที่มีการรายงานผู้ป่วยสูงกว่าอัตราป่วยโดยเฉลี่ยในปีที่ผ่านมา
ควรมีการสำรวจหา
ความชุกชุมของโรคในประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะในเขตที่มีอัตราการป่วยสูง
เพื่อข้อมูลทาง ระบาดวิทยาในการกำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมโรค
2. ควรกำหนดเกณฑ์การวินิจฉัยตามอาการทางคลินิก สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
ผู้ปฏิบัติงานเฝ้าระวังโรค สอบสวนโรค และควบคุมโรค
เพื่อเพิ่มความถูกต้องของข้อมูลการเฝ้า ระวังโรค
3. พิจารณาเพิ่มศักยภาพของห้องปฏิบัติการระดับโรงพยาบาลชุมชน
ในเขตที่มีการรายงาน ผู้ป่วยสูง
เพื่อให้สามารถตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการสำหรับเชื้อ N. meningitidis ได้
ซึ่งจะช่วยสนับสนุนในการตรวจวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องและทำให้การดำเนินการสอบสวน
และควบคุมโรคมีประสิทธิผลดียิ่งขึ้น


สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปประเทศ ซาอุดิอาระเบีย ควรฉีดวัคซีนป้องกัน
โรคไข้กาฬหลังแอ่น และ โรคอหิวาตกโรค เนื่องจากซาอุดิอาระเบียออกกฏให้ผู้
ที่เดินทางเข้าประเทศแสดงใบรับรอง การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น
ที่ได้รับการฉีดมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 วัน และไม่เกิน 2 ปี
และการฉีดวัคซีนป้องกัน โรคอหิวาตกโรค ก่อนขอวีซ่าเข้าประเทศ
โดยเฉพาะในแต่ละปีที่มีการแสวงบุญที่เมกกะ


แหล่งอ้างอิง
ชูชิน ชาตา และ นิรมล เมืองโสม. "โรคไข้กาฬหลังแอ่น." วารสารโรคติดต่อ. 15
(มกราคม-มีนาคม): 101-110.

1 ความคิดเห็น:

  1. Am Richard, I am here to testify about a great herbalist  man who cured my wife of breast cancer. His name is Dr Imoloa. My wife went through this pain for 3 years, i almost spent all i had, until i saw some testimonies online on how Dr. Imoloa cure them from their diseases, immediately i contacted him through. then he told me the necessary things to do before he will send  the herbal medicine. Wish he did through DHL courier service, And he instructed us on how to apply or drink the medicine for good two weeks. and to greatest surprise before the upper third week my wife was relief from all the pains, Believe me, that was how my wife was cured from breast cancer by this great man. He also have powerful herbal medicine to cure diseases like: Alzheimer's disease, parkinson's disease, vaginal cancer, epilepsy Anxiety Disorders, Autoimmune Disease, Back Pain, Back Sprain, Bipolar Disorder, Brain Tumor, Malignant, Bruxism, Bulimia, Cervical Disc Disease, Cardiovascular Disease, Neoplasms , chronic respiratory disease, mental and behavioral disorder, Cystic Fibrosis, Hypertension, Diabetes, Asthma, Autoimmune inflammatory media arthritis ed. chronic kidney disease, inflammatory joint disease, impotence, alcohol spectrum feta, dysthymic disorder, eczema, tuberculosis, chronic fatigue syndrome, constipation, inflammatory bowel disease, lupus disease, mouth ulcer, mouth cancer, body pain, fever, hepatitis ABC, syphilis, diarrhea, HIV / AIDS, Huntington's disease, back acne, chronic kidney failure, addison's disease, chronic pain, Crohn's pain, cystic fibrosis, fibromyalgia, inflammatory Bowel disease, fungal nail disease, Lyme disease, Celia disease, Lymphoma, Major depression, Malignant melanoma, Mania, Melorheostosis, Meniere's disease, Mucopolysaccharidosis, Multiple sclerosis, Muscular dystrophy, Rheumatoid arthritis. You can reach him Email Via drimolaherbalmademedicine@gmail.com / whatsapp +2347081986098    Website/ www.drimolaherbalmademedicine.wordpress.com

    ตอบลบ

ค้นหา