การตรวจเลือด
กรุ๊ปเลือด (Blood Group) ปกติกรุ๊ปเลือดจะรายงานผลออกมา เป็นสองระบบคือ ABO System และ Rh System โดยจำแนกตาม Antigen บนเม็ดเลือดแดงที่มีอยู่ ในระบบ ABO จะแบ่งออกได้ สี่กรุ๊ปคือ A , B , AB และ O Group O พบมากสุด, A กับ B พบพอๆ กัน และ AB มีน้อยที่สุด)ในระบบ Rh จะรายงานได้เป็นสองพวก 1. +ve หรือ Rh+ve คือ พวกที่มี Rh (Rhesus) Antigen บนเม็ดเลือดแดง พวกนี้พบได้มากเกือบทั้งหมดของคนไทยเป็นพวกนี้ 2. -ve หรือ Rh-ve คือ พวกที่ไม่มี Rh (Rhesus) Antigen บนเม็ดเลือดแดง พวกนี้พบได้น้อยมาก คนไทยเราพบเลือดพวกนี้ แค่ 0.3%เป็นพวกที่บางครั้งเรียกว่า ผู้มีโลหิตหมู่พิเศษ จะพบได้มากขึ้นในชาวไทยซิกข์ (แต่ในคนพวกนั้น แม้ว่าจะมี Rh-ve มากกว่าคนไทยปกติ แต่ส่วนใหญ่ก็ยังคงเป็นพวก Rh +veอยู่ดี) ตัวอย่างการรายงานกลุ่มเลือดเช่น A+ve คือ เลือดกรุ๊ป A Rh+ve ตามปกติ AB-ve อันนี้เป็น กรุ๊ป AB และ เป็นหมู่เลือดพิเศษ Rh-ve ซึ่งหายากที่สุด ปกติ AB ในคนไทยพบน้อยกว่า 5% ถ้าเป็น AB-ve นี่ พบแค่ 1.5 คน ในหมื่นคนเท่านั้น |
CBC (Complete Blood Count ) เป็น การตรวจเลือดทั่วๆ ไปที่ใช้กันบ่อยที่สุด ช่วยในการวินิจฉัยโรคได้หลายอย่างๆ การรายงานจะมีค่าที่เกี่ยวข้องออกมาหลายตัว ซึ่งต้องดูประกอบไปด้วยกันหลายๆ ค่า ค่อนข้างยุ่งยากเล็กน้อย แต่ก็เป็นการตรวจ ที่สำคัญอันนึง (บางแห่งใช้เป็นการตรวจพื้นฐานก่อนรับคนไข้นอนรพ.คู่กับ การตรวจปัสสาวะ (U/A)
ค่าต่างๆ ที่รายงานใน CBC ได้แก่
Hct (Hemotocrits) หรือ เปอร์เซนต์ของเม็ดเลือดแดงอัดแน่นเทียบกับปริมาตร ของเลือดทั้งหมด ค่านี้ใช้บอกภาวะโลหิตจาง หรือ ความข้นของเลือด ปกติ คนไทย Hct จะอยู่ประมาณ 30กว่า % ถึง 40 กว่า% ถ้าต่ำกว่า 30% ถือว่า ต่ำมาก อาจจะต้องพิจารณาให้เลือด ช่วยในบางราย ถ้า Hct สูงมากอาจจะต้อง ระวังโรคที่มีการสร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นมามากผิดปกติ หรือพวกไข้เลือดออกในระยะช้อค ก็จะมีค่าตัวนี้สูงเนื่องจากน้ำเลือดหนีออกจากเส้นเลือด (ต้องดูค่าอื่นๆ ประกอบด้วย) |
Hb (Hemoglobin) เป็นสารสีแดงในเม็ดเลือดมีหน้าที่ช่วยจับอ๊อกซิเจน ค่าของ Hb ใช้บอกภาวะโลหิตจาง เช่นเดียวกันกับ Hct ค่าปกติของ Hb มักจะเป็น 1/3 เท่าของ Hct และหน่วยเป็น Gm% เช่น คนที่ Hct 30% จะมี Hb =10 gm% เป็นต้น |
WBC (White Blood Cell Count) หรือ ปริมาณเม็ดเลือดขาวทุกชนิด ในเลือดรวมกัน ค่าปกติ จะอยู่ ประมาณ 5000-10000 cell/ml ถ้าจำนวน WBC ต่ำมาก อาจจะเกิดจากโรคที่มีภูมิต้านทานต่ำบางอย่าง หรือ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางประเภท หรือ โรคที่มีการสร้างเม็ดเลือดผิดปกติ เช่น Aplastic Anemia หรือไขกระดูกฝ่อซึ่งจะทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดทุกชนิดลดลงทั้งหมด (ทั้ง เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และเกร็ดเลือด ต่ำหมดทุกตัว) ถ้า WBC มีจำนวนสูงมาก อาจจะเกิดจากการติดเชื้อพวกแบคทีเรีย แต่จะต้องดูผล การนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาว (Differential Count) ประกอบด้วย แต่ถ้าจำนวน WBC สูงมากเป็นหลายๆ หมื่นเช่น สี่ห้าหมื่น หรือเป็นแสน อันนั้นจะทำให้สงสัยพวกมะเร็งเม็ดเลือดขาว แต่จะต้องหาดูพวกเซลล์เม็ดเลือดขาว ตัวอ่อนจากการแยกนับเม็ดเลือดขาว หรือเจาะไขกระดูกตรวจอีกครั้ง (มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) อาจจะมีจำนวนเม็ดเลือดขาวปกติ หรือ ต่ำกว่าปกติ ก็ได้เรียกว่า Aleukemic Leukemia) |
Differential Count การ นับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาว จะรายงานออกมาเป็น % ของเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ (ดังนั้นรวมกันทั้งหมดทุกชนิดจะต้องได้ 100 (%) พอดี) ตัวสำคัญหลักๆ ดังนี้
PMN หรือ N หรือ Neu (Polymorphonuclear cell หรือ Neutrophil) ตัว นี้ ค่าปกติ ประมาณ 50-60% ถ้าสูงมาก (เช่นมากกว่า 80% ขี้นไป และโดยเฉพาะถ้า สูงและมีปริมาณWBC รวม มากกว่าหมื่น ขึ้นไป จะทำให้นึกถึงภาวะมีการติดเชื้อแบคทีเรีย |
Lymp หรือ L (Lymphocyte) หรือ เม็ดน้ำเหลือง พวกนี้ปกติ จะพบน้อยกว่า PMN เล็กน้อย (สองตัวนี้รวมกัน จะได้เกือบ 100 % ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด) ถ้าพบ Lymp ในปริมาณ สัดส่วนสูงขึ้นมามากๆ โดยเฉพาะร่วมกับ ภาวะเม็ดเลือดขาว(WBC)โดยรวมต่ำลง อาจจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยเฉพาะถ้ามี Lymp ที่รูปร่างแปลกๆและตัวโตผิดปกติ ที่เรียกกันว่า Atypical Lymphocyte จำนวนมากร่วมกับ เกล็ดเลือดต่ำ และ Hct สูง จะพบได้บ่อยในคนไข้ ไข้เลือดออก |
Eosin หรือ E (Eosinophil) พวก นี้เป็นเม็ดเลือดขาว ที่ปกติไม่ค่อยพบ (อาจจะพบได้ 1-2%) แต่ถ้าพบสูงมากเช่น 5-10% หรือมากกว่า พวกนี้จะสงสัยว่าเป็น พวกโรคภูมิแพ้ หรือพยาธิในร่างกาย |
นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายตัว เช่น B หรือ Basophil , M หรือ Monocyte และพวกตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาว ซึ่งจะพบในโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว จะรายงานเมื่อพบ และต้องการการตรวจละเอียดเพิ่มต่อไป
Platelets หรือ
เกล็ดเลือด เป็นเซลเม็ดเลือด คล้ายเศษเม็ดเลือดแดง
เป็นตัวที่ช่วยในการหยุดไหล ของเลือด เวลาเกิดบาดแผล คนปกติ
จะมีจำนวนประมาณ แสนกว่าเกือบสองแสน ขึ้นไปถึงสองแสนกว่า
การรายงานอาจจะรายงานเป็นจำนวน cell/ml เลยจากการนับ หรือ
จากการประมาณด้วยสายตาเวลาดูสไลด์ที่ย้อมดูเม็ดเลือด
แล้วประเมินปริมาณคร่าวออกมาดังนี้ - Adequate หรือเพียงพอ หรือพอดี หรือปกติ (ผู้ที่มีเกล็ดเลือด 150,000~350,000 เซล/ลูกบาศก์มิลลิเมตร ) - Decrease หรือ ลดลงกว่าปกติ หรือต่ำกว่าปกติ (ผู้ที่มีเกล็ดเลือดต่ำกว่า 50,000 เซล/ลูกบาศก์มิลลิเมตร ถ้าต่ำกว่า 20,000 เซล/ลูกบาศก์มิลลิเมตร อาจต้องให้เกล็ดเลือดเพิ่ม) พวกนี้มักจะพบในคนไข้ที่ติดเชื้อพวกไวรัส (เช่นไข้เลือดออก) หรือ มีการสร้างผิดปกติ หรือ โรคเกล็ดเลือดต่ำโดยไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic Thrombocytopenic Purpura (ITP) ซึ่งทำให้มีเลือดออกง่ายและเกิดจ้ำเลือดได้ตามตัว พบได้บ่อยพอสมควร - Increase พบ ได้ในบางภาวะเช่นมีการอักเสบรุนแรง มีเนื้องอกบางชนิดในร่างกายหรือ มีการเลือดฉับพลัน (จะมีการกระตุ้นให้ไขกระดูกเร่งสร้างเกล็ดเพื่อไปช่วยทำให้เลือดหยุด และอุดบาดแผล) นอกจากนี้ยังมีพวกที่เกล็ดเลือดสูงขึ้นมาเองโดยไม่มีสิ่งกระตุ้น ต่างๆ ก็ได้ เรียกว่า Essential Thrombocytosis (พวกที่มีความผิดปกติ ทั้ง Decrease และ Increase นี่อาจจะต้อง นับ Platelets ให้ละเอียดแล้วรายงานเป็นตัวเลขอีกที) |
RBC Morphology หรือ รูปร่างของเม็ดเลือดแดง จะมีรายงานออกมาหลายรูปแบบ ตามลักษณะที่มองเห็น ซึ่งจะช่วยแยกโรคได้หลายอย่าง เช่น บอกว่าเป็น ธาลลาสซีเมียได้คร่าวๆ หรือ บอกภาวะโลหิตจาง จากการขาดเหล็กเป็นต้น และบางครั้ง อาจจะเห็นพวก มาเลเรีย อยู่ในเม็ดเลือดแดงด้วยก็ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น