Clock


วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Blood Smear Interpretation
Kanchana Chansung M.D.

He
matology Unit, Department of Medicine,
Faculty of Medicine, Khon-Kaen University

E-learning MD.KKU.
2.-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

                   การเลือกบริเวณที่เหมาะสม



การดู slide ควรเลือกบริเวณที่เหมาะสม โดยทั่วไปหากแบ่ง slide เป็นสามส่วน
บริเวณที่เหมาะสมจะอยู่ประมาณส่วนที่สามแต่ไม่ใช่ส่วนปลายสุดของ slide

3.-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บริเวณที่เหมาะสมในการดู Blood smear
บริเวณที่เหมาะสมในการดู slide คือบริเวณที่เม็ดเลือดแดงกระจายตัว
ไม่ซ้อนทับกันแต่ไม่แบนราบจน central pallor หายไป

4.--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ต้นสไลด์                                             ปลายสไลด

หากดูที่บริเวณต้น slide เกินไปจะเห็นเม็ดเลือดแดงซ้อนทับกันเป็นตาข่าย
เรียกว่า Psudorouleaux formation หากดู slide บริเวณปลาย slide เกินไป
เม็ดเลือดแดงถูกรีดจนแบนราบไปหมดไม่เห็น central pallor ทำให้ไม่สามารถ
แยกได้ว่าเม็ดเลือดแดงมีการติดสีปกติหรือไม่
5.--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Normal RBC                         Hypochromic-Microcytic

เม็ดเลือดแดงปกติมีขนาดเล็กกว่า small lymphocyte เล็กน้อย รูปร่างกลม บุ๋มตรงกลางคล้ายขนมโดนัททำให้มองเห็นบริเวณตรงกลางติสีจางลงเรียกว่า
central pallor ปกติมักมีขนาด ประมาณ 1/3 ของเส้นผ่าศูนย์กลางเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดแดงที่มีการติดสีจางกว่าปกติเรียกว่ามี hypochromia หรือ hypochromic RBC สังเกตดูจะเห็นว่า central pallor กว้างขึ้นเกินกว่าครึ่งหนึ่ง ของเส้นผ่าศูนย์กลางเม็ดเลือดแดง การติดสีจางมักเห็นพร้อมๆ กับเม็ดเลือดแดง
ตัวเล็กกว่าปกติเรียกว่า microcytic RBC ภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงลักษณะ hypochromic-microcytic ที่พบบ่อยคือ thalassemia และ
Irondeficiency

6.--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Iron deficiency anemia : ให้สังเกตลักษณะ hypochromic microcytic คือเม็ดเลือดแดงตัวเล็กและติดสีจางมี central pallor กว้าง นอกจากนั้น
ยังพบเม็ดเลือดแดงขนาดแตกต่างกันและมีลักษณะผิดปกติเรียกว่ามี
aniso-poikeilocytosis แต่ลักษณะนี้พบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

7.--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Thalassemia : blood smear ของ thalassemia มีลักษณะ hypochromic-microcytic เช่นเดียวกับIron deficiency anemia แต่มีเม็ดเลือดแดง
ที่ลักษณะผิดปกติมากกว่าใน iron deficiency anemia มาก กล่าวคือใน thalassemia ลักษณะ aniso-poikielocytosis เป็นลักษณะเด่น ต่างจาก
iron deficiency anemia ซึ่งมีลักษณะ hypochromic-microcytic เป็นลักษณะเด่น

8.--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Thalassemia : ให้สังเกตเม็ดเลือดแดงตัวเล็กติดสีจาง และเม็ดเลือดแดงมีรูปร่าง
ผิดปกติ นอกจากนั้นเนื่องจาก thalassemia เป็นโรคที่มีภาวะ hemolysisจึงพบ polychromasia หรืออาจพบ NRC ได้ด้วย

9.--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

      Basophilic stippling : ที่เห็นเป็นจุดเล็กๆสีน้ำเงินในเม็ดเลือดแดง สิ่งนี้คือ
      เศษชิ้นส่วนของ RNA ที่หลงเหลืออยู่ในเม็ดเลือดแดง ลักษณะนี้พบได้ใน
           - blood smear ของผู้ป่วย thalassemia บางราย
           - Hemoglobin Constant Spring
           - Myelodysplastic syndrome
           - Lead poisoning
           - 5’ Pyrimidine oxidase inhibitor deficeincy

10.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ในรูปเป็น Blood smear ของผู้ป่วย Homozygous Hemoglobin Constant Spring เม็ดเลือดแดงบางเซลล์ในภาพมี central pallor ลักษณะคล้ายปากเรียกว่า stomatocyte ลักษณะเช่นนี้ถ้าพบในเซลล์เม็ดเลือดแดงส่วนมากมักเป็น
ความผิดปกติทางพันธุกรรมเรียกว่า stomatocytosis

11.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ผู้ป่วย Betathalassemia / Hemoglobin E ที่ได้รับการตัดม้ามจะพบว่ามี NRC จำนวนมาก และพบ Howell-Jolly bodies ซึ่งมีลักษณะเป็นจุดสีม่วงเข้มใน
เม็ดเลือดแดง สิ่งนี้คือเศษ nucleous ของเม็ดเลือดแดงที่หลงเหลืออยู่จะพบได้
ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีม้าม หรือมีภาวะ hyposplenism รวมทั้งพบได้ใน
megaloblastic anemia หรือ MDS

12.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เปรียบเทียบ Thalassemia กับ Iron deficiency

ให้เปรียบเทียบความแตกต่างของ blood smear ผู้ป่วย thalasemia และ Iron deficiency anemia จะพบว่าใน thalassemia จะมีลักษณะ hemolysis คือเห็น spherocyte และ polychromasia จำนวนมาก รวมทั้งมีลักษณะ aniso-poikielocytosis เด่นมาก ในขณะที่ Iron deficiency anemia มีลักษณะเด่นที่ hypochromic-microcytic และ มี aniso-poikilocytosis จำนวนน้อย

13.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ในผู้ป่วย thalassemia ชนิด hemoglobin H หากนำเลือดมาตรวจ
โดยการย้อมด้วย 1% Methylene blue จะพบลักษณะการตกตะกอนใน
เม็ดเลือดแดงดังที่เห็นเรียกว่า inclusion bodies ในเม็ดเลือดแดงจำนวนมาก
การย้อมสีลักษณะนี้เรียกว่าการตรวจย้อม vital stain

14.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


Hemolytic blood picture : คือลักษณะที่บ่งบอกว่ามีภาวะ hemolysis เกิดขึ้น ให้สังเกตว่าจะพบ spherocyte เป็นเซลล์กลมเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า
เม็ดเลือดแดงปกติ ติดสีเข้มและไม่มี central pallor จำนวนมาก รวมทั้งพบ polychromasia ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดงปกติและติดสีม่วงอมน้ำเงิน
จำนวนมากด้วย ในบางรายอาจพบ NRC ด้วยก็ได้ เซลล์ตัวอ่อนของเม็ดเลือดแดงนี้
เป็นเครื่องหมายของ bone marrow response

15.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ภาพขยายของ hemolytic blood picture

16.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ในกรณีที่พบ polychromasia ในเลือดจำนวนมากหากนำเลือดมาทำการย้อม vital stain พบเม็ดเลือดแดงลักษณะดังที่เห็น เรียกว่า reticulocyte
เซลล์นี้เป็นเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน correspond กับ polychromasia ใน blood smear ที่ย้อมด้วย Wright’s stain
ให้สังเกตความแตกต่างระหว่าง reticulocyte กับ RBC with inclusion bodies ใน Hb. H disease จะเห็นว่า reticulocyte ตกตะกอนสีน้ำเงินเป็น เส้นใยเล็กๆ ในเม็ดเลือดแดงในขณะที่ inclusion bodies มีลักษณะการตกตะกอนสีเป็นเม็ดๆ

17.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ลักษณะการเกาะกลุ่มของเม็ดเลือดแดงที่เห็นเรียกว่า autoagglutination พบในภาวะ autoimmune hemolytic anemia (AIHA)
ลักษณะ auto-agglutination นี้จะเห็นชัดเจนขึ้นหากเลื่อนดูบริเวณกลางๆและต้น slide แต่จะเห็นไม่ชัดหากดูบริเวณปลาย slide มากๆ ผู้ป่วย AIHA บางราย blood smear มีลักษณะ hemolytic picture แต่ไม่มี auto-agglutination อย่างไรก็ดี ร้อยละ 95 ของ AIHA จะตรวจพบ direct Coombs’ test positive

 
18.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ลักษณะการเกาะกลุ่มของเม็ดเลือดแดงที่เห็นเรียกว่า rouleaux formation พบลักษณะนี้ได้ในกรณีที่ผู้ป่วยมี globulin สูง เช่น Multiple Myeloma, Chronic infection, parasitic infestation เช่น Fasciolar hepatica.
ต้องแยก Rouleaux formation กับ auto-agglutination

 
19.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เปรียบเทียบ Auto-agglutination กับ Rouleaux formation

เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่าง auto-agglutination กับ Rouleaux formation
20.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

       ผู้ป่วย AIHA อาจเกิดเนื่องจากสาเหตุอื่นๆได้หลายอย่างเช่น autoimmune disease, viral infection, drug induced,chronic infection, malignancy เป็นต้น
       Malignancy ที่พบ AIHA ร่วมด้วยบ่อยได้แก่ hematologic malignancy กลุ่ม lymphoproliferative disorder โรคที่พบบ่อยที่สุดคือ chronic lymphocytic leukemia (CLL)
       สังเกตในภาพจะพบว่าเม็ดเลือดขาวที่เห็นทั้งหมดเป็น lymphocyte และเม็ดเลือดแดงมี auto-agglutination ชัดเจน

21.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Schistocyte : หมายถึงเม็ดเลือดแดงที่เป็นเศษชิ้นส่วนดังที่เห็นในภาพ ส่วนใหญ่มักเกิดจาก traumatic mechanism คือมีการแตกของเม็ดเลือดแดง อันเนื่องมาจากการกระแทกเศษชิ้นส่วนเหล่านี้ถ้าเป็นชิ้นเล็กๆอาจเรียก
อีกอย่างหนึ่งว่า red cell fragmentationเซลล์เหล่านี้พบได้ในภาวะที่มี
intravascular hemolysis เช่น MAHA

22.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

MAHA : Micro angiopathic hemolytic anemia เป็นภาวะ hemolysis ที่เกิดเนื่องจากพยาธิสภาพในหลอดเลือดแดงเล็กๆ ลักษณะเช่นนี้พบได้ใน
หลายโรค/ภาวะ เช่น
     - Disseminated intravascular coagulation (DIC)
     - Thrombotic thrombocytopenic purpura (TTP)
     - Hemolytic Uremic Syndrome (HUS) เป็นต้น
ให้สังเกตใน slide จะพบว่าเซลล์เม็ดเลือดแดงที่เห็นเป็น normochromia คือมีการติดสีปกติ เห็นลักษณะ hemolytic blood picture คือพบ microspherocyte และ polychromasia จำนวนมาก ร่วมกับพบ schistocyte จำนวนมากนอกจากลักษณะ MAHA blood picture แล้ว ใน slide นี้ยังไม่พบเกร็ดเลือดเลยเรียกว่ามีภาวะ thrombocytopenia ร่วมด้วย

23.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Slide ที่เห็นนี้คือ slide ของผู้ป่วย G-6PD deficiency ขณะกำลังเกิดภาวะ
เม็ดเลือดแดงแตก ผู้ป่วยที่มีภาวะพร่อง enzyme นี้ในภาวะปกติจะมีลักษณะ
รูปร่างของเม็ดเลือดแดงปกติแต่เมื่อวัดระดับ enzyme G-6PD ในเม็ดเลือดแดง
ตัวแก่จะพบว่าต่ำกว่าปกติ เม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้แตกในกระแสเลือด
ทำให้เกิด acute intravascular hemolysis ได้เมื่อร่างกายเกิด oxidative stress ซึ่งโดยทั่วไปมักเกิดจากการได้รับยาหรือสารเคมีบางชนิด เช่น ยารักษา malaria, ASA, ยาปฏิชีวนะบางชนิด, naphthalene หรืออาหารบางชนิดเช่นถั่วปากอ้า เป็นต้น
โปรดสังเกตใน slide จะพบลักษณะ hemolysis ชัดเจน และเห็น defective
spherocyte หรือ spherocyte ที่ขอบไม่เรียบร้อย

 
24.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ภาพขยายของ slide ผู้ป่วย G-6-PD deficiency with acute hemolysis แสดงเซลล์ลักษณะจำเพาะในภาวะนี้ 3 แบบ ได้แก่
     - Ghost cell
     - Hemoglobin contracted cell
     - Hemoglobin leakage cell

25.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ภาพขยายของ slide ผู้ป่วย G-6-PD deficiency with acute hemolysis แสดงเซลล์ลักษณะจำเพาะในภาวะนี้ 3 แบบ ได้แก่
     - Ghost cell
     - Hemoglobin contracted cell
     - Hemoglobin leakage cell

26.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เมื่อนำเลือดผู้ป่วย G-6-PD deficiency with acute hemolysis มาย้อมสี 1% new methylene blue จะพบลักษณะ inclusion bodies เม็ดใหญ่ 1-2 อันอยู่ชิดขอบเซลล์เรียกว่า Heize’s bodies

27.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Slide ที่เห็นนี้เป็นของผู้ป่วย Megaloblastic anemia โปรดสังเกตว่า
เม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยมีขนาดใหญ่มาก ทั้งนี้เมื่อเทียบกับ lymphocyte ที่ปกติขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดงเล็กน้อยจะเห็นได้ช้ด นอกจากนี้เม็ดเลือดแดง
ขนาดใหญ่ที่เห็นยังมีรูปทรงรี เรียกว่า macro-ovalocyte และยังพบเซลล์ aniso-poikilocyte ร่วมด้วย ผู้ป่วย megaloblastic anemia มี MCV ใหญ่
โดยมากมักเกิน 115 fl. ขึ้นไป
นอกเหนือจากลักษณะเม็ดเลือดแดงดังกล่าวแล้ว ใน blood smear ผู้ป่วย megaloblastic anemia ยังพบ PMN หรือ Neutrophils ที่มี nucleous เกิน 4 lobe ขึ้นไป เรียกว่า hyper-segmented PMN ด้วย

28.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Dimorphic blood picture : คือลักษณะเม็ดเลือดแดงที่มีทั้ง hypochromia
และ normochromia red cells อยู่ด้วยกัน ลักษณะเช่นนี้พบได้ใน Myelodysplastic syndrome (MDS) , Sideroblastic anemia แต่อาจพบได้ในผู้ป่วย Iron deficiency anemia ที่เพิ่งได้รับการรักษา
โดยการให้ iron replacement หรือ blood transfusion


29.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Agnogenic Myeloid Metaplasia (AMM)

Agnogenic Myeloid Metaplasia หรือ AMM เป็นโรคในกลุ่ม myelproliferative disorder ผู้ป่วยมักมีอาการซีดและมีม้ามโตมาก เมื่อเจาะไขกระดูกอาจทำ aspiration ไม่ได้ต้องทำ biopsy เท่านั้น
เนื่องจากไขกระดูกมีพังผืด(Myelofibrosis)

ลักษณะ peripheral blood smear ของ AMM จะพบลักษณะตัวอ่อน
ทั้งของเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวเรียกว่า “leuco-erythroblastic blood picture” นอกจากนั้นยังพบเม็ดเลือดแดงที่มีลักษณะคล้ายหยดน้ำเรียกว่า tear drop cells ซึ่งเป็นลักษณะจำเพาะของภาวะนี้

30.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เม็ดเลือดแดงที่มีผิวเป็นหนามเรียกว่า Acanthocyte ถ้ามีหนามสั้นๆขนาดเท่าๆกัน
เรียกว่า ecchinocyte หรือ crenated cells ลักษณะเช่นนี้พบได้ใน severe liver failure, alcohol toxicity, a-beta lipoproteinemia, chronic renal failure เป็นต้น ข้อพึงระวังในการอ่านผล slide นี้ได้แก่ การเตรียม slide บกพร่องทำให้ cell เหี่ยวอาจพบว่ามีลักษณะเป็น crenated cells ได้ ทั้งนี้
หากลักษณะเช่นนี้เกิดจากความบกพร่องในการเตรียม slide จะพบลักษณะ crenated cell ในทุกเซลล์ หากเกิดจากความบกพร่องของ cell membrane จะพบลักษณะนี้ในบางเซลล์และสามารถเห็นเซลล์เม็ดเลือดแดงปกติได้ในบริเวณเดียวกัน

31.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Target cell : เซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีลักษณะเหมือนเป้าตาวัว พบได้ใน iron deficiency anemia , thalassemia แต่หากพบว่าเซลล์ส่วนใหญ่เป็น target cells และไม่มีลักษณะผิดปกติอื่นโดดเด่นจะพบได้ใน 2 ภาวะคือ
     - Hemoglobin E
     - Chronic liver disease ชนิด obstructive หรือ cholestesis
Stomatocyte : เม็ดเลือดแดงที่มี central pallor เป็นรูปปากแทนที่จะเป็นรูปกลม
เกิดจากความผิดปกติของ red cell membrane โดยมากเป็นความผิดปกติทาง
พันธุกรรมแต่กำเนิด มักไม่มีอาการทางคลินิก

 
32.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เม็ดเลือดแดงที่มีรูปร่างผิดปกติที่เห็น กรณีมีรูปทรงรีเรียกว่า “ovalocytosis” กรณีเซลล์ส่วนใหญ่เป็น spherocyte เรียก “spherocytosis” ทั้งสองกรณี
เกิดจากความผิดปกติของ cell membrane แต่กำเนิดเนื่องจากพันธุกรรม Hereditary Ovalocyosis ถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal dominant ส่วน Hereditary Spherocytosis มีทั้งชนิดที่ถ่ายทอดทาง
พันธุกรรมแบบ autosomal dominant และ autosomal recessive


33.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ในการประเมินจำนวนเม็ดเลือดขาวจาก blood smear ใช้การดูด้วย Objective lens (40 x) นับจำนวนเม็ดเลือดขาวแล้วหาค่าเฉลี่ยว่ามีเม็ดเลือดขาวเฉลี่ยกี่เซลล์ /high power fields. นำค่าที่ได้ x 1,500 จะได้ค่าโดยประมาณของเม็ดเลือดขาว
การประเมินจำนวนเกร็ดเลือดจาก blood smear ใช้วิธีการเดียวกันแต่เปลี่ยนจาก lens (40 x) เป็น (100 x) และเปลี่ยนจำนวนเลขที่นำไปคูณกับค่าเฉลี่ยที่นับได้ จาก 1,500 เป็น 15,000 แทนเม็ดเลือดขาวที่เห็นส่วนใหญ่เป็น PMN segmented form มี lymphocyte และ Monocyte จำนวนน้อย

34.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ภาวะที่มีเม็ดเลือดขาวน้อยกว่าปกติเรียกว่า Leucopenia
ใน slide นี้เม็ดเลือดขาวที่เห็นเป็น transformed lymphocyte
35-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เม็ดเลือดขาวมีจำนวนมากกว่าปกติเรียกว่ามีภาวะ leucocytosis
36.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กรณีที่เม็ดเลือดขาวมีจำนวนสูงมากเกินกว่า 50,000/mm3 และมีเซลล์ ส่วนใหญ่เป็น segmented PMN เรียกภาวะนี้ว่า Leukemoid reaction ภาวะนี้พบในหลายกรณีเช่น malignancy, severe bacterial infection, severe burn เป็นต้น

37.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Acute leukemia ส่วนใหญ่มีเม็ดเลือดขาวสูง แต่บางรายอาจมีจำนวน
เม็ดเลือดขาวปกติหรือต่ำก็ได้ แต่ให้สังเกตว่าเม็ดเลือดขาวที่เห็นส่วนใหญ่
เป็นตัวอ่อนและมีลักษณะคล้ายกัน

38.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Lymphoid series
39.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Small lymphocyte

Small lymphocyte เป็นเซลล์ขนาดเล็กใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดงเพียงเล็กน้อย nucleocytoplasmic ratio สูงมากเห็น cytoplasm เพียงเล็กน้อยติดสีฟ้า nuclear chromatin aggregate เป็นปื้นๆเห็น parachromatin ชัดเจน
40.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Large lymphocyte

Large lymphocyte มีขนาดใหญ่กว่า small lymphocyte เล็กน้อย cytoplasm มากกว่า บางเซลล์มี azulophilic granule เม็ดหยาบใหญ่
จำนวนน้อยอยู่ใน cytoplasm ด้วย เซลล์ที่มี azulophilic granule นี้เป็น Natural killer cells.

41.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เปรียบเทียบ small กับ large lymphocyte


42.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เปรียบเทียบ lymphocyte กับ NRC

ให้สังเกตขนาดของเซลล์ ลักษณะ nucleous และการติดสี cytplasm จะเห็นว่า cytoplasm ของ NRC ติดสีคล้ายเม็ดเลือดแดง

43.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Transform lymphocyte

Transform lymphocyte : พบได้ในหลายภาวะเช่น viral infection , Malaria, Drug allergy ฯลฯ
สังเกตลักษณะจะพบว่าเซลล์มีขนาดใหญ่ cytoplasm ติดสีน้ำเงินเข้ม nuclear chromatin มีลักษณะ aggregation เป็นปื้นๆเหมือน lymphocyte ตัวแก่

 
44.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เปรียบเทียบ large กับ transform lymphocyte

ให้สังเกตความแตกต่างของ large lymphocyte กับ transform lymphocyte จะพบว่าต่างกันทั้งขนาด จำนวนและสีของ cytoplasm nuclear chromatin มีลักษณะของ lymph ตัวแก่เหมือนกัน


45.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Transform lymphocyte VS Lymphoblast

ให้เปรียบเทียบ transform lymphocyte กับ lymphoblast จะพบว่า
nuclear chromatin ของ lymphoblast ละเอียดกว่า cytoplam ของ
transform lymphocyte มากกว่าและติดสีน้ำเงินจัดกว่า

46.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Plasma cell

Plasma cell: เป็นเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงมาจาก B lymphocyte เมื่อได้รับ การกระตุ้นจาก antigen ทำหน้าที่ สร้าง immunoglobulin ที่เป็น
antibody สังเกตลักษณะของเซลล์จะพบเป็น mononuclear cell ที่มี
nucleocytoplasmic ratio ต่ำ เห็น cytoplasm มาก ติดสีน้ำเงินอมเทา
nucleous เอียงไปข้างหนึ่ง (eccentric nucleous) มองเห็น perinuclear halo คือบริเวณที่ติดสีจางอยู่รอบๆ nucleous

47.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Chronic lymphocytic leukemia

Chronic lymphocytic leukemia : วินิจฉัยได้ด้วยการที่มีเม็ดเลือดขาว
จำนวนมากและเซลล์ส่วนใหญ่เป็น mature lymphocyte โดยมีเกณฑ์ใน
การวินิจฉัยคือต้องมี absolute lymphocyte count มากกว่า
5,000 cells/mm3

48.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Acute lymphoblastic leukemia (L1)

L1: เป็น lymphoblast ขนาดเล็ก ใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดงไม่มากประมาณ 1.5-2.0 เท่า nucleocytoplasmic ratio สูงมากจนเกือบไม่เห็น cytoplasm มี nucleolus 1-2 อันแต่เห็นไม่ค่อยชัดเจน

49.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เปรียบเทียบ CLL กับ ALL(L1)

ให้เปรียบเทียบลักษณะของเซลล์ mature lymphocyte ใน CLL กับ L1 lymphoblast

50.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Acute lymphoblastic leukemia (L2)

L2 : Lymphoblast L2 มีขนาดใหญ่กว่า L1 คือใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดงประมาณ 2-2.5 เท่า เห็น cytoplasm มากกว่า ไม่เห็น granule หรือ auer rod ในcytoplasm
51.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Acute lymphoblastic leukemia (L3)

L3 : เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Burkitt’s cell type มีลักษณะที่เห็นได้ชัดคือ cytoplsm ติดสีน้ำเงินจัดและมี vacuole ใน cytoplasm

52.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เปรียบเทียบให้เห็น lymphoid leukemias ทั้ง 4 ชนิด

53.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Granulocytic series
54.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Myeloblast

Myeloblast : ให้สังเกตลักษณะเซลล์จะเห็นว่าเป็น mononuclear cell ขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดง3-4 เท่า เห็น cytoplasm มาก nuclear
chromatin ละเอียดปานกลาง nucleolus เห็นขอบเขตชัดเจน จำนวน 3-5 อัน
ใน cytoplasm ของบางเซลล์อาจเห็น inclusion ลักษณะเป็นแท่งสีแดง เรียกว่า “auer rod” สิ่งนี้พบได้ใน blast cells ที่ไม่ใช่ lymphoblast คือพบได้ทั้งใน myeloblast , promyelocyte และ monoblast

55.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Promyelocyte

Promyelocyte : เซลล์มีขนาดใหญ่กว่า myeloblast เล็กน้อย ยังคงเห็น nucleolus ชัดเจน สังเกตดูใน cytoplasm จะเห็น azulophilic granule เม็ดหยาบใหญ่ ติดสีแดง

56.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Myelocyte

Myelocyte : เป็นเซลล์ระยะแก่ขึ้นถัดจาก promyelocyte เซลล์มีขนาดเล็กลง nucloecytoplasmic ratio ลดลงเห็น cytoplasm มากขึ้น nucleus ยังคงมีลักษณะกลมแต่ nuclear chromatin aggregate มากขึ้นและไม่เห็น nucleolus แล้ว cytoplasm สีออกชมพูและมี granule เป็น specific granule
57.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Metamyelocyte

Metamyelocyte : ลักษณะทั่วไปคล้าย myelocyte แต่ขนาดเล็กกว่าเล็กน้อยและ nucleus เป็นรูปถั่ว

58.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Band form Neutrophils

Band form PMN : เป็นเซลล์ในระยะที่แก่กว่า metamyelocyte ให้สังเกตลักษณะ nucleus ที่มีลักษณะเป็นริ้วยาวเหมือนริบบิ้น

59.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Segmented form Neutrophils

เซลล์ระยะนี้เป็นเซลล์ตัวแก่ของ nutrophils หรือเรียกอีกชื่อหนึ่ง ว่า Polymorphonuclear cells (PMN) ให้สังเกต nucleus มีลักษณะ
เป็น lobe หลาย lobe ส่วนเชื่อมต่อแต่ละ lobe มีลักษณะเป็นเส้น ปกติมี
ประมาณ 3-4 lobe ถ้า nucleus ของ PMN มีตั้งแต่ 5 lobe ขึ้นไปเรียกว่า hypersegmented PMN

60.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Granulocyte

เปรียบเทียบเซลล์ตระกูล granulocyte ในระยะต่างๆกันตั้งแต่ระยะ ตัวอ่อนสุดไปจนถึงตัวแก่

61.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
PMN with toxic granules and vacuolization

ลักษณะที่เห็นนี้พบได้ในภาวะ severe bacterial infection

62.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Pelger H?et anormaly

ให้สังเกตว่า nutrophils ที่เห็นมี nucleus เป็น 2 lobe ลักษณะเหมือนแว่นตา ลักษณะผิดปกติเช่นนี้พบได้ในหลายภาวะ เช่น
     - Congenital abnormality
     - Myelodysplastic syndrome
     - TB       etc.

63.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Eosinophils and Basophils

Eosinophils : เป็นเซลล์ที่มี granule เม็ดใหญ่ติดสีส้มวาวๆคล้ายลูกปัด เซลล์นี้ในภาวะปกติพบจำนวนน้อยเพียง 1-5% ของจำนวนเม็ดเลือดขาว
ใน peripheral blood จะพบมากขึ้นในภาวะต่างๆดังต่อไปนี้
     - Tissue parasitic infestation
     - Allergy
     - Myeloproliferative disorder etc.
Basophils: ให้สังเกตว่าเป็นเซลล์ขนาดปานกลาง มี granule เม็ดใหญ่ติดสี น้ำเงินเข้ม ปกติพบน้อยมากใน peripheral blood เพียง 0-1% พบมากขึ้น
ใน myeloproliferative disorder

 
64.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Monocyte

Monocyte : ให้สังเกตว่าเป็นเซลล์ขนาดใหญ่ cytoplasm มากติดสีฟ้าอมเทา ในบางเซลล์อาจพบ vacuole ได้ด้วย nucleus มีลักษณะหยักพับไปมา
คล้ายสมอง เรียกว่ามี convoluted nucleus ลักษณะ nuclear chromatin
ฟูเบากว่าเซลล์ชนิดอื่น

65.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Monoblast

Monoblast : เป็นตัวอ่อนของ monocyte จะสังเกตเห็นความคล้ายคลึงกันกับ monocyte แต่ nuclear chromatin ละเอียดกว่า เห็น nucleolus ได้ และอาจพบ granule เล็กละเอียดสีชมพูใน cytoplasm ได้ ( fine pink
dusty granule)
66.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เปรียบเทียบ Monoblast กับ Monocyte

เปรียบเทียบระหว่าง monoblast กับ monocyte สิ่งที่แตกต่างกันชัดเจนคือ ความละเอียดของ nuclear chromatin ของ blast cell ซึ่งเป็นตัวอ่อน
จะละเอียดกว่ามาก

67.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่าง blast cell ชนิดต่างๆ จะเห็นว่า
Lymphoblast มีขนาดเล็ก nucleocytoplasmic ratio สูงมากและ nuclear chromatin clumping มากที่สุด Myeloblast ขนาดปานกลาง
มี nucelolus จำนวนมากและเด่นชัด Monoblast ขนาดใหญ่ cytoplasm มาก
และ nucleus หยักพับไปมา Promyelocyte ขนาดใหญ่มาก มี granule
เม็ดหยาบใหญ่ติดสีแดงจำนวนมาก

68.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

mature form ของ monocyte granulocytic series WBC.
69.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Chronic Myeloid leukemia (CML)

CML: เม็ดเลือดขาวมีจำนวนเพิ่มจากปกติมาก เห็นเซลล์ granulocyte ทุกระยะตั้งแต่ blast cells จนถึง segmented PMN ส่วนใหญ่ เกร็ดเลือดมักไม่ต่ำ บางรายมีเกร็ดเลือดเพิ่มมากขึ้น และพบ pale stained
หรือ giant platelet ได้ ผู้ป่วยโรคนี้หากทำการตรวจ chromosome จะพบ
chromosome ผิดปกติ คือพบ t (9,22) เรียกว่า “Philadelphia chromosome”
CML แบ่งออกเป็น 3 phase คือ
     - Chronic phase
     - Acellerated phase
     - Blastic phase
70.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
CML blastic phase

CML blastic phase : จะพบว่าลักษณะเป็นเช่นเดียวกับ CML แต่มีจำนวนของ Blast cells + promyelocyte มากกว่า 20% ของจำนวน WBC ทั้งหมด

71.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ให้สังเกตความแตกต่างระหว่าง CML กับ AML จะพบว่าใน acute leukemia cells ส่วนใหญ่อยู่ในระยะเดียวกันเกือบทั้งหมด

72.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

M1: Acute myeloblastic leukemia (AML) พบ blast cell ขนาด
ใหญ่ cytoplasm มีปานกลาง nucleolus เด่นชัดจำนวน 3-5 อัน
M1 พบเซลล์เป็น blast มากกว่าร้อยละ 90
M2: ให้การวินิจฉัยเมื่อมี myeloblast ในไขกระดูกมากกว่าร้อยละ 20 แต่
ไม่ถึงร้อยละ 90 พบเซลล์ granulocyte ตัวแก่ตั้งแต่ระดับ myelocyte ขึ้นไป
มากกว่าร้อยละ 10

 
73.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

M3: Acute Promyelocytic Leukemia (APL) ให้สังเกต blast cell มี
ขนาดใหญ่ มี granule เม็ดหยาบใหญ่สีแดงจำนวนมาก acute leukemia ชนิดนี้ผู้ป่วยมีปัญหาเลือดออกผิดปกติมากกว่า acute leukemia ชนิดอื่น และอาจพบ DIC ร่วมด้วยได้บ่อย ประมาณ 2/3 ของผู้ป่วย acute leukemia
ชนิดนี้มีภาวะ pancytopenia เมื่อแรกวินิจฉัยผู้ป่วย APL ทุกราย
ต้องตรวจพบโครโมโซมผิดปกติชนิด t(15,17) Acute leukemia ชนิดนี้
มีพยากรณ์โรคดีที่สุด หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะมีโอกาสโรคสงบ
ระยะยาวมากที่สุด
M4: Acute Myelomonocytic Leukemia (AMMoL) ให้สังเกตว่า
พบ blast cell ทั้ง myeloblast และ monoblast อยู่ปนกันโดยทิ่ blast cell ชนิดที่พบน้อยกว่าพบเกินร้อยละ 20 หากพบว่ามี eosinophils เพิ่มขึ้นด้วย
และตรวจโครโมโซมพบ ivs(16) ผู้ป่วยมักมีพยากรณ์โรคดีเช่นกัน

 
74.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

M5 : Acute Monoblastic leukemia (AMoL) มี 2 ชนิดย่อยคือ
M5a : Monoblast มีลักษณะเป็นตัวอ่อนมาก ให้สังเกต chromatin pattern ของ blast cell จะละเอียดมาก และเห็น nucleolus ชัด
M5b: Monoblast ค่อนข้างมีลักษณะเป็นตัวแก่มากขึ้น ลักษณะใกล้เคียงกับ monocyte ดังนั้นให้พึงระวังว่าในกรณีที่ผู้ป่วยมี clinical น่าสงสัย acute leukemia และผล CBC พบมี WBC จำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็น monocyte ผู้ป่วยอาจเป็น ANLL ชนิด M5b ได้

 
75.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

M6 : Erythroleukemia ให้สังเกตใน slide จะพบ myeloblast และ NRC จำนวนมาก รวมทั้งเม็ดเลือดแดงมีลักษณะผิดปกติมาก ผู้ป่วย M6 จำนวนหนึ่ง เริ่มต้นอาการจากการเป็น MDS ก่อน อาการทางคลินิกที่สำคัญคือ ซีด ส่วนใหญ่ อาการมักค่อยเป็นค่อยไปไม่เฉียบพลันเหมือน acute leukemia ชนิดอื่น
M7: Megakaryoblastic leukemia ให้สังเกต Blast cell ขนาดเล็ก cytoplasm น้อยคล้าย lymphoblast แต่ที่ cytoplasm มี psudopod เล็กๆ
ยื่นออกมาหลายอันผู้ป่วย M7 จำนวนหนึ่งมี marrow fibrosis ค่อนข้างมาก
ทำให้ไม่สามารถทำ bone marrow aspiration ได้ต้องตรวจ bone marrow biopsy เท่านั้น และบางรายมา present ด้วยภาวะ pancytopenia ในระยะแรกของโรค

76.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
 
Abnormalities of Platelets

77.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ในการประมาณเกร็ดเลือดจาก peripheral blood ให้ดูด้วยหัว oil fields และนับค่าเฉลี่ยของเกร็ดเลือด
จำนวนเกร็ดเลือดโดยประมาณ = จำนวนเกร็ดเลือดเฉลี่ย/ oil fields X 15,000
ในภาวะปกติอาจเห็นเกร็ดเลือดจับกันเป็นกลุ่มเล็กๆได้เรียกว่า platelets clumping โดยทั่วไป
หากพบ platelets clumping ได้ผู้ป่วยมักไม่มีภาวะ thrombocytopenia
ในภาพที่ 2 พบลักษณะ Pale stained platelets เกร็ดเลือดมีขนาด
ใหญ่กว่าปกติเล็กน้อยและติดสีจาง มี granule น้อย

78.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Thrombocytosis : ให้สังเกตจะพบว่าใน slide นี้พบเกร็ดเลือดจำนวนมาก Platelets clumps : สังเกตดูในภาพจะเห็นเกร็ดเลือดเกาะกลุ่มกันจำนวนมาก การเห็น platelets clumping เป็นการยืนยันได้ว่า function ของเกร็ดเลือด
ผู้ป่วยน่าจะเป็นปกติ ถ้าพบ Platelets clumping กลุ่มใหญ่มากๆ อาจเกิดจาก
ภาวะ hyper-aggregation ของเกร็ดเลือด

79.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ITP : ให้สังเกตจะพบว่าเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ไม่พบเกร็ดเลือดใน slide เลย แสดงว่าผู้ป่วยมีภาวะ Isolated thrombocytopenia ซึ่งมีสาเหตุได้หลายอย่างเช่น เป็นผลจากยาบางชนิด, alcohol, hypersplenism, และITP เป็นต้น ข้อพึงระวังในการวินิจฉัยภาวะนี้ได้แก่ควรตรวจดูให้ดีว่าผู้ป่วยไม่มีลักษณะ
เม็ดเลือดแดงหรือเม็ดเลือดขาวผิดปกติด้วย เช่นมี dimorphic RBC morphology
หรือมี abnormal WBC เพราะอาจเป็นภาวะ MDS หรือ Myelopthisis ก็ได้
APDE : ให้สังเกตว่าผู้ป่วยมีจำนวนเกร็ดเลือดปกติแต่เกร็ดเลือดติดสีจาง (pale stained platelets) ร่วมกับมีภาวะ eosinophilia ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีปัญหาเลือดออกผิดปกติ
เนื่องจาก Platelets dysfunctions และมักสัมพันธ์กับ parasitic infestation.

80.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Giant platelets

Giant platelets: ให้สังเกตเกร็ดเลือดมีขนาดใหญ่มาก ขนาดใกล้เคียงกับ
เม็ดเลือดแดงหรือใหญ่กว่า Giant platelets พบได้ในหลายภาวะเช่น Myeloproliferative disorder, MDS, Myelopthisis เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหา