Clock


วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

ภาวะการขาดสารไอโอดีน

การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน จำเป็นต้องมีระบบเฝ้าระวัง ที่สามารถบอกถึงสถานการณ์ของภาวะการขาดสารไอโอดีนได้อย่างมีคุณภาพ
 
รู้ได้อย่างไรว่าขาดหรือไม่ขาดไอโอดีน
 
ภาวะการขาดสารไอโอดีน มีดัชนีชี้วัดหลายตัว ได้แก่ อัตราคอพอก, ระดับ Thyroid stimulating hormone(TSH) ของทารกแรกเกิด และปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะ
 
การตรวจวัดอัตราคอพอกทำได้ 2 วิธี
1. โดยการคลำคอ (Palpation)
2. โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (Ultra Sound)
การ ตรวจคอพอกโดยการคลำคอเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว ไม่สิ้นเปลือง แต่ความคลาดเคลื่อนในการคลำสูงมาก จึงใช้การ Ultra sound ในการตรวจยืนยัน เพราะมีความแม่นยำกว่าการคลำคอ แต่วิธีนี้ไม่สามารถใช้ในภาคสนามได้ เพราะต้องใช้เครื่องมือพิเศษที่มีราคาสูง นอกจากนี้การใช้อัตราคอพอกก็มีข้อด้อยคือไม่สามารถบ่งบอกสภาพสถานการณ์ใน ปัจจุบันได้ทันที
การตรวจวัดระดับ TSH (Thyroid Stimulating Hormone) ของทารกแรกเกิด
การ ใช้ระดับ Thyroid stimulating hormone (TSH) ของทารกแรกเกิด เป็นดัชนีชี้วัดที่มีความแม่นยำและมีความไวสูง บ่งบอกภาวะขาดสารไอโอดีนในช่วงเวลาที่วิกฤตที่สุดในชีวิตมนุษย์ ซึ่งการขาดไอโอดีนจะกระทบกระเทือนต่อการพัฒนาของสมองและระบบประสาท
การตรวจวัดระดับไอโอดีนที่ขับออกมากับปัสสาวะ (Urine Iodine)
ปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะ เป็นดัชนีชี้วัดภาวะการขาดสารไอโอดีนที่ใช้กันแพร่ทั่วโลก ทั้งนี้เพราะมากกว่า 90 % ของไอโอดีนในร่างกายจะถูกขับออกมาในปัสสาวะ และระดับของไอโอดีนสะท้อนถึงปริมาณไอโอดีนที่ได้รับหรือภาวะการขาดไอโอดีน นอกจากนี้การเก็บตัวอย่างปัสสาวะก็สามารถทำได้ง่าย
UI-KIT :
ชุดตรวจสอบไอโอดีนในปัสสาวะ
การตรวจวัดขนาดของต่อมไทรอยด์
เมื่อขาดสารไอโอดีน ต่อมไทรอยด์ซึ่งมีหน้าที่สร้างไทรอยด์ฮอร์โมน จะมีขนาดโตขึ้น เรียกกันโดยทั่วไปว่าคอพอก (Goiter) ซึ่งที่จริงแล้วเป็นการปรับตัวของร่างกายเพื่อต่อสู้กับการขาดไอโอดีน ทั้งนี้เพราะเมื่อร่างกายขาดไทรอยด์ฮอร์โมน จะส่งผลไปกระตุ้นไฮโปทาลามัส ให้หลั่งสารเคมี TRH (Thyroid releaing hormone) มากระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้หลั่งฮอร์โมน TSH (Thyroid stimulating hormone) และส่งมาที่ต่อมไทรอยด์มากเกินปกติ ต่อมไทรอยด์เมื่อได้รับการกระตุ้นมากจึงขยายขนาดโตขึ้น เพื่อเร่งการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน
การตรวจวัดขนาดของต่อมไทรอยด์ ทำได้ 2 วิธี
 
1. การตรวจคอพอกโดยการคลำคอ (Palpation)
กระทรวงสาธารณสุขได้ใช้อัตราคอพอกในกลุ่มเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา เป็นตัวที่จะบอกสถานภาพของการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน ทั้งนี้เพราะวิธีตรวจคอพอกโดยการคลำคอเป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็ว ไม่สิ้นเปลือง เพราะไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ และสามารถทำได้ดำเนินการได้ในทุกพื้นที่
การแบ่งคอพอกตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก (WHO) และ ICCIDD (International Council for the Control of Iodine Deficiency Disorders)
ระดับ 0 (ไม่เป็นคอพอก)
ระดับ 1
ระดับ 2
มองไม่เห็น คลำไม่ได้
มองไม่เห็น ต้องแหงนคอจึงมองเห็น เมื่อกลืนน้ำลาย จะเห็นต่อมไทรอยด์เลื่อนขึ้นลง หรือมองไม่เห็น ต้องคลำจะพบว่าคลำได้โตกว่าข้อปลายของนิ้วหัวแม่มือ ของผู้รับการตรวจ
มองเห็นก้อนชัดเจนในท่าปกติ
อย่าง ไรก็ตาม การใช้อัตราคอพอกเป็นตัวชี้วัดดังกล่าว นอกเหนือจากข้อดี คือ เป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็ว และไม่สิ้นเปลือง ทำได้ในทุกพื้นที่ก็ตาม การใช้อัตราคอพอกในเด็กนักเรียนเป็นตัวชึ้วัด ยังมีข้อด้อยคือการคลำคออาจจะเกิดความผิดพลาดได้มาก โดยเคยมีการศึกษาว่าอาจจะมีความแตกต่างกันในผลการคลำได้ถึงร้อยละ 30 แม้ในผู้คลำที่มีประสบการณ์ด้วยกัน นอกจากนี้ คอพอกในเด็กนักเรียนยังมีขนาดเล็ก หลายครั้งการคลำต้องอาศัยดุลยพินิจว่าจะมีหรือไม่มีคอพอก นอกจากนี้อัตราคอพอกยังไม่สามารถบ่งบอกถึงสภาพการณ์ในปัจจุบันได้ทันที
2. การตรวจวัดขนาดของต่อมไทรอยด์โดยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultra Sound)
วิธีการตรวจวัดขนาดของต่อมไทรอยด์โดยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultra Sound)นี้ เป็นวิธีที่มีมาตรฐานแน่นอน ได้มีการศึกษาแล้วว่าเป็นดัชนีที่แม่นยำกว่าอัตราคอพอก เหมาะสำหรับใช้ในการตรวจยืนยัน อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ก็ไม่สามารถใช้ในภาคสนามได้ เพราะต้องใช้เครื่องมือพิเศษที่มีราคาสูง
การตรวจวัดระดับ Thyroid stimulating hormone (TSH) ของทารกแรกเกิด
Thyroid stimulating hormone (TSH)
Thyroid stimulating hormone (TSH) เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมอง pituitary gland ทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมน T3 (triiodothyronine) และ T4 (thyroxine) ค่า TSH จะขึ้นกับระดับไทรอยด์ฮอร์โมน หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนได้ตามปกติค่า TSH จะต่ำ หากต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสังเคราะห์ไทรอยด์ฮอร์โมน หรือสังเคราะห์ได้น้อยเกินไปไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เช่น ในกรณีที่มีการขาดสารไอโอดีน ต่อมใต้สมองจะหลั่ง TSH ออกมามากขึ้น เพื่อกระตุ้นต่อมไทรอยด์ ทำให้ค่า TSH สูง
ค่าปกติอยู่ที่ 0.5-5.0 mU/L
หากระดับ TSH มีค่าอยู่ระหว่าง 15-20 mU/L จะต้องติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
ถ้าระดับ TSH มากกว่า 20 mU/L แสดงว่าต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้อย่างเพียงพอ
 
การตรวจวัดระดับ TSH (Thyroid Stimulating Hormone) ของทารกแรกเกิด เป็นดัชนีชี้วัดที่มีความแม่นยำ และมีความไวสูง และบ่งบอกภาวะขาดสารไอโอดีนในช่วงเวลาที่วิกฤตที่สุดในชีวิตมนุษย์ ซึ่งการขาดไอโอดีนจะกระทบกระเทือนต่อการพัฒนาของสมองและระบบประสาท
ได้มีการศึกษาพบว่า ทารกแรกคลอดในบริเวณที่มีการขาดสารไอโอดีนจะมีระดับ TSH สูงกว่าปกติ และการเสริมไอโอดีนให้แก่มารดาจะทำให้ระดับ TSH ของทารกลดลงเป็นปกติได้
การตรวจวัดระดับ TSH ของทารกแรกเกิด นำไปสู่การป้องกันภาวะปัญญาอ่อนในทารกเนื่องจากการขาดไอโอดีน
ในปี พ.ศ. 2539 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแผนระดับชาติในการตรวจคัดกรองสุขภาพทารกแรกเกิด เพื่อสกัดเด็กไทยให้พ้นจากภาวะปัญญาอ่อน อันเนื่องมาจากการขาดสารไอโอดีน โดยการตรวจวัดระดับ TSH (Thyroid Stimulating Hormone) ภายใน 1 เดือนแรกของการเกิด หากพบว่ามีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนผิดปกติ แพทย์จะรีบทำการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อมิให้เด็กต้องกลายเป็นปัญญาอ่อนต่อไปในอนาคต
วิธีการตรวจวัดระดับ TSH ทำได้โดยเก็บตัวอย่างเลือดจากส้นเท้าทารกแรกคลอดอายุตั้งแต่ 48 ชั่วโมงขึ้นไป เพียง 2-3 หยด แล้วหยดลงบนกระดาษซับเลือด นำไปตรวจวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการ
แต่การตรวจคัดกรองสุขภาพทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันภาวะปัญญาอ่อนนั้น ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ 100% โดยขณะนี้การดำเนินการครอบคลุมเด็กเกิดประมาณ 85% ของเด็กเกิดทั่วประเทศต่อปี ซึ่งจำนวนที่ขาดไปก็คือ จำนวนเด็กเกิดในโรงพยาบาลบางแห่งที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ รวมถึงจำนวนเด็กที่คลอดตามบ้าน ซึ่งพ่อแม่อาจยังไม่เข้าใจในเรื่องการตรวจคัดกรอง
นอกจากนี้ การเรียกเด็กกลับมาตรวจยืนยันเพื่อให้การรักษาเบื้องต้น ในกรณีที่ตรวจพบความผิดปกติ ก็ทำได้เพียงแค่ประมาณ 53% ของจำนวนที่เรียกตรวจยืนยันทั้งหมด กล่าวคือ จากจำนวนทารกที่ตรวจคัดกรองตั้งแต่ปี 2539-เดือน ก.ย. 2545 จำนวน 2,254,309 ราย พบทารกที่ผิดปกติ 7,002 ราย แต่มีทารกที่กลับมาติดตามผลส่งตรวจยืนยันเพียง 4,099 ราย พบทารกที่ผิดปกติจากระดับฮอร์โมน TSH และสามารถรักษาได้ทันท่วงทีจนไม่เป็นปัญญาอ่อน 765 ราย
ในแต่ละปี จึงยังคงมีเด็กเกิดใหม่ที่ต้องกลายเป็นปัญญาอ่อน ถึงปีละประมาณ 800 ราย !
การ ตรวจปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะ เป็นดัชนีชี้วัดภาวะการขาดสารไอโอดีนที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลก ทั้งนี้เพราะการเก็บตัวอย่างปัสสาวะสามารถทำได้ง่าย และมากกว่า 90 % ของไอโอดีนในร่างกายจะถูกขับออกมาในปัสสาวะ นอกจากนี้ ระดับของไอโอดีนสะท้อนถึงปริมาณไอโอดีนที่ได้รับหรือภาวะการขาดไอโอดีนได้ ทันที
WHO/UNICEF/ICCND ได้ใช้ปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะ ในการประเมินระดับความรุนแรงของการขาดสารไอโอดีน ดังนี้
ปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะ (ug/L)
ภาวะการขาดสารไอโอดีน
<20
รุนแรง
20-49
ปานกลาง
50-99
เล็กน้อย
>100
ไม่ขาด
วิธีวิเคราะห์หาปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะที่ใช้กันทั่วไปนั้นค่อนข้างยุ่งยาก ใช้เวลานาน และใช้สารเคมีที่เป็นกรดอย่างแรงที่อุณหภูมิสูงถึง 110 องศาเซลเซียส ในการย่อยปัสสาวะ เพื่อทำลายสารอื่น ๆ ก่อนที่จะวิเคราะห์ไอโอดีน นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์ต่อตัวอย่างสูง และยังจะต้องใช้เวลานานในการวิเคราะห์ ซึ่งไม่สามารถทำในห้องปฏิบัติการทั่วไป รวมทั้งในภาคสนามได้ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นข้อจำกัดในการที่จะวิเคราะห์ตัวอย่างจำนวนมากให้ได้ผลอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะเคยมีรายงานถึงวิธีที่รวดเร็วในการหาปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะ แต่ยังมีปัญหาด้านความไว ต้องใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย ใช้ได้กับตัวอย่างปัสสาวะที่เก็บใหม่เท่านั้น
UI-KIT : ชุดทดสอบภาคสนามเพื่อบอกภาวะการขาดสารไอโอดีนในขั้นต่าง ๆ
คณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้พัฒนาวิธีการหาปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะ โดยใช้ prepacked chacoal column แทนวิธีการย่อยด้วยกรดที่อุณหภูมิสูง ในการแยกสารรบกวนต่าง ๆ ในปัสสาวะ สารเหล่านี้ เช่น ไธโอไซยาเนตและกรอแอสคอร์บิค ซึ่งมีผลต่อการหาปริมาณไอโอไดด์
นอกจากนี้ ได้พัฒนาวิธีการหาปริมาณไอโอไดด ์โดยใช้วิธีการทำให้เกิดสี ซึ่งสามารถดูได้ด้วยตาเปล่า และสามารถปรับให้ใช้ในภาคสนามได ้แทนวิธีการเก่าที่ใช้วัดอัตราที่สีเหลืองจางหายไป โดยได้พัฒนาวิธีการทำให้เกิด product ที่มีสีโดยใช้สาร tetramethylbenzidine
การแยกสารรบกวนในปัสสาวะ โดยใช้ chacoal column
วิธีการที่พัฒนาใหม่นี้ สามารถใช้หาปริมาณไอโอไดด์ได้ทั้งแบบ quantitative โดยการวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 650 nm และแบบ semi-quantitative โดยการเทียบสีของผลผลิตที่เกิดขึ้นกับแถบสีมาตรฐาน
แถบสีมาตรฐาน เพื่อบอกภาวะการขาดสารไอโอดีน
สำหรับวิธีการทาง quantitative ที่พัฒนาขึ้นมาถือได้ว่ามีความแม่นยำ (%CV = 6.04) ในด้านความน่าเชื่อถือนั้น ได้วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยเปรียบเทียบวิธีที่พัฒนาใหม่กับวิธีมาตรฐาน พบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์ของความสัมพันธ์เท่ากับ 0.964 และมีความสอดคล้องกัน คือมีค่า kappa เท่ากับ 0.802
ส่วนการประมาณค่าไอโอไดด์โดยการเทียบสี พบว่ามีความสอดคล้องกับวิธีมาตรฐานเช่นกัน คือมีค่า kappa เท่ากับ 0.737
จากการหาปริมาณไอโอดีนในตัวอย่างปัสสาวะมากกว่า 200 ตัวอย่าง พบว่าอัตราการเกิดสีกับปริมาณไอโอไดด์มีความสัมพันธ์กัน ดังแสดงในรูป
จาก การวิจัยเบื้องต้น มีความเป็นไปได้ ที่จะพัฒนาต่อไปเป็นชุดทดสอบภาคสนามสำหรับไอโอดีนในปัสสาวะ ซึ่งนอกจากจะบอกภาวะการขาดสารไอโอดีน ในขั้นต่าง ๆ ได้ คือ ขาดรุนแรง, ขาดปานกลาง, ขาดเล็กน้อย หรือปกติได้จากการดูสีที่เกิดขึ้นเทียบกับแถบสีมาตรฐานแล้ว ยังสามารถทำได้โดยตรงจากการวัดอัตราเร็วในการเกิดสีด้วยเครื่องวัดสี
การวัดภาวะการขาดสารไอโอดีนโดยวัดอัตราเร็วในการเกิดสีด้วยเครื่องวัดสีนี้ จะลดความผิดพลาดที่เกิดจากการอ่านสีลงได้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาและทดลองใช้ในภาคสนาม
เครื่องวัดสี สามารถวัดอัตราเร็วในการเกิดสี และบอกภาวะการขาดสารไอโอดีนในขั้นต่าง ๆ ได้ คือ ขาดรุนแรง, ขาดปานกลาง, ขาดเล็กน้อย หรือปกต
UI-KIT...สะดวก ง่าย ไม่เป็นอันตราย การใช้มี 2 ขั้นตอน
1. แยกสารรบกวนปฏิกิริยาในปัสสาวะออก โดยการผ่านคอลัมน์
2. วัดปริมาณไอโอไดด์ โดยใส่สารเพื่อทำให้เกิดสีต่าง ๆ กัน ตามปริมาณไอโอไดด์ และวัดอัตราการเกิดสีด้วย UI-Reader ได้เป็นสถานภาพการขาดไอโอดีน (ขาดรุนแรง, ขาดปานกลาง, ขาดเล็กน้อย หรือปกติ)
UI-KIT ชุดตรวจสอบไอโอดีนในปัสสาวะ
UI-KIT เป็นชุดตรวจสอบไอโอดีนในปัสสาวะ เพื่อบอกภาวะการขาดสารไอโอดีนในขั้นต่าง ๆ ได้ คือ ขาดรุนแรง, ขาดปานกลาง, ขาดเล็กน้อย หรือปกติ ณ แหล่งที่เก็บ ได้ทันที
ข้อดีของ UI-KIT
UI-KIT เป็นชุดตรวจสอบไอโอดีนในปัสสาวะ มีวิธีการใช้ที่สะดวกและง่าย สามารถบอกภาวะการขาดสารไอโอดีนได้อย่างรวดเร็ว
ใช้วิธีใหม่ที่ไม่รุนแรง คือ การใช้ charcoal คอลัมน์ในการขจัดสิ่งรบกวนต่อการหาปริมาณไอโอดีนออกจากปัสสาวะ แทนวิธีเก่าที่ต้องย่อยสลายด้วยกรดเข้มข้นที่อุณหภูมิสูง
ใช้วิธีการวัด product ที่มีสี และ shade ของสียังต่างกันที่ความเข้มข้นของไอโอดีนที่ต่างกัน ซึ่งมีประโยชน์มาก เพราะนอกจากจะบอกภาวะการขาดสารไอโอดีนได้โดยตรงจากการวัดอัตราเร็วในการเกิดสีด้วยเครื่องวัดสีแล้ว ยังสามารถดูสีที่เกิดขึ้นโดยตาเปล่าได้
ประโยชน์ของ UI-KIT
ให้สามารถตรวจสอบได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ณ สถานที่นั้น ๆ ว่าขาดไอโอดีนหรือไม่ เพื่อจะได้แก้ไขทันท่วงที
สถานีอนามัย ใช้ตรวจคนท้องทุกคนให้แน่ใจว่าไม่ขาดไอโอดีน
โรงเรียน ใช้ตรวจเด็กเล็กว่าไม่ขาดไอโอดีน
  
* ใช้ตรวจสอบภาวะการขาดไอโอดีนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ณ สถานที่นั้น ๆ เพื่อจะได้แก้ไขทันท่วงที
* สถานีอนามัยใช้ตรวจคนท้องทุกคนให้แน่ใจว่าไม่ขาดไอโอดีน
* โรงเรียนใช้ตรวจเด็กเล็กว่าไม่ขาดไอโอดีน





มาทำความรู้จักกับเกลือที่เราบริโภคกันเถอะ

เกลือมาจากไหน
แหล่งกำเนิดของเกลือคือทะเล ทะเลสาบน้ำเค็ม บ่อน้ำเกลือ ดินและใต้ดิน เกลือที่ผลิตได้ใช้ชื่อตามแหล่งกำเนิดของเกลือ
เกลือทะเลหรือเกลือสมุทร
ในการผลิตเกลือทะเล ชาวนาเกลือได้สูบน้ำทะเลให้ไหลเข้าแปลงนาเกลือ เพื่อตากแดดให้น้ำเกลืออิ่มตัวจนกระทั่งเกลือตกผลึก แล้วใช้เครื่องมือที่ทำด้วยไม้เรียกว่าคฑา ซอยผลึกของเกลือที่จับกันเป็นแผ่นให้แตกออกจากกันเป็นเม็ด และลากเม็ดเกลือให้รวมกันเป็นกอง จากนั้นก็ระบายน้ำเกลือที่เหลือออกจากนาเกลือจนหมด และทิ้งเกลือตากแดดไว้ 2-3 วันจนแห้ง แล้วจึงขนเข้าเก็บในยุ้งฉาง
 
เกลือสินเธาว์
เกลือสินเธาว์ผลิตได้ด้วยการต้มหรือตากแดดน้ำเกลือจาก 3 แหล่ง คือ
  • บ่อน้ำเกลือ ซึ่งเกิดจากน้ำผิวดินไหลแทรกซึมลงใต้พื้นดินผ่านชั้นเกลือหิน แล้วละลายเกลือนั้นไปส่วนหนึ่ง สารละลายเกลือที่เกิดขึ้นก็ไหลไปสู่พื้นที่ระดับต่ำ แล้วซึมขึ้นบนผิวดินบ้าง หรือพุขึ้นตามแอ่งบ้าง จนกลายเป็นบ่อน้ำเกลือ
  • คราบเกลือบนผิวดิน หรือพื้นที่บ่อตื้น ๆ ที่แห้งแล้ว เมื่อนำดินจากผิวดินหรือพื้นบ่อมาสกัดด้วยน้ำ ก็จะได้น้ำเกลือ
  • น้ำเกลือใต้ดิน โดยการเจาะพื้นดินลงไปจนพบน้ำเกลือที่เค็มจัด แล้วใช้ถังชักรอก หรือสูบน้ำเกลือขึ้นมา
รู้มั๊ยว่าเกลือทะเลมีปริมาณไอโอดีนน้อยมากไม่แตกต่างกับเกลือสินเธาว์เลย
จากการสำรวจปริมาณไอโอดีนในเกลือบริโภคจากแหล่งต่าง ๆ พบว่า ทั้งเกลือทะเลและเกลือสินเธาว์มีปริมาณไอโอดีนไม่แตกต่างกัน คือมีน้อยมากอยู่ในช่วง 2 - 5 ไมโครกรัมต่อเกลือ 1 กิโลกรัมเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ที่ต้องการไอโอดีนเฉลี่ยวันละ 150 ไมโครกรัม
ปริมาณไอโอดีนในเกลือบริโภคจากแหล่งต่าง ๆ
(Wannaratana L. Natural Salt in Thailand. Nutition Divition, Department of Health, Ministry of Public Health. March 1994.)
ชนิด/แหล่งผลิต
ชนิดของเกลือ
ปริมาณไอโอดีน (mg/kg)
เกลือเม็ด
เกลือป่น
เกลือทะเล
สมุทรสงคราม
/
0.44
สมุทรสงคราม
/
0.36
สมุทรสาคร
/
0.37
สมุทรสาคร
/
0.25
เพชรบุรี
/
0.32
เกลือสินเธาว์
เลย
/
0.44
กาฬสินธ์
/
0.24
มหาสารคาม
/
0.35
อุดรธานี
/
0.34
หนองคาย
/
0.27
ขอนแก่น
/
0.28
เกลือที่บริโภคประกอบด้วยแร่ธาตุอะไรบ้าง
กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ออกประกาศกระทรวง ฉบับที่ 153 เมื่อ พ.ศ. 2537 เรื่องเกลือบริโภค เป็นอาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน โดยจะต้องมีปริมาณไอโอดีนไม่น้อยกว่า 30 ppm (30 มิลลิกรัมต่อเกลือบริโภค 1 กิโลกรัม
นอกจากนี้เกลือบริโภค อาจมีแร่ธาตุอื่น ๆ ปนได้ ดังนี้
   
น้ำหนักแห้ง (%)
เกลือบริสุทธิ์
เกลือแกง
เกลือเม็ด
เกลือสำหรับปรุงอาหาร
(Refined salt)
(Table salt)
(Tablet salt)
(Cooking salt)
วัตถุที่ไม่ละลายน้ำ ต้องไม่เกิน
0.03
0.20
0.10
0.20
คลอไรด์(Cl) เช่น โซเดียมคลอไรด์ ต้องไม่ต่ำกว่า
99.60
97.00
98.00
97.00
อัลคาไลน์ เช่น โซเดียมคาร์บอเนต ต้องไม่เกิน
0.10
0.20
0.20
-
แคลเซียม (Ca) ต้องไม่เกิน
0.01
0.10
0.10
-
แมกนีเซียม (Mg) ต้องไม่เกิน
0.01
0.1
0.1
-
ซัลเฟต (SO4) ต้องไม่เกิน
0.30
0.50
0.50
-
เหล็ก (Fe) ต้องไม่เกิน
10.00
50.00
50.00
-
ตะกั่ว (Pb) ต้องไม่เกิน
2.00
2.00
2.00
-
อาเซนิก (As) ต้องไม่เกิน
1.00
1.00
1.00
-
คอปเปอร์ (Cu) ต้องไม่เกิน
2.00
-
-
-

(Wannaratana L. Natural Salt in Thailand. Nutition Divition, Department of Health, Ministry of Public Health. March 1994.)


  
ำไมเกลือต้องเสริมไอโอดีน
บางคนอาจสงสัยว่า ทำไมต้องเสริมไอโอดีนในเกลือ ในเมื่อเรามีเกลือทะเลรับประทาน ข้อมูลจริงที่ต้องปรับความเข้าใจเดิมกันเสียหน่อยคือ เกลือธรรมชาติทั้งเกลือทะเลและเกลือสินเธาว์ต่างมีไอโอดีน 2-5 พีพีเอม เท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับการบริโภค น้อยนิดซะจนเรียกว่าเกลือทั้งสองชนิดไม่มีไอโอดีนเลยก็ว่าได้
เกลือได้ถูกเลือกให้เป็นมาตรการหลักในการเสริมไอโอดีน ทั้งนี้เพราะ การเสริมไอโอดีนเกลือทำได้ง่าย มีราคาไม่แพง มนุษย์ต้องการรับประทานเกลือทุกวัน ในปริมาณที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป เพราะมีความเค็มเป็นตัวจำกัดอยู่ และการใช้เกลือไอโอดีน ได้มีการพิสูจน์แล้วว่าสามารถแก้ปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนได้
ปกติคนเราบริโภคเกลือประมาณวันละ 1 ช้อนชา หรือ 5 กรัม ถ้าใช้เกลือเสริมไอโอดีนที่ได้มาตรฐาน จะสามารถป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนได้
เกลือเสริมไอโอดีนมาจากไหน
เพื่อให้ประชากรได้รับสารไอโอดีนอย่างเพียงพอและทั่วถึง กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัยได้สนับสนุนสารโปแตสเซียมไอโอเดท ให้แก่ผู้ประกอบการผลิตเกลือบริโภคในประเทศโดยไม่คิดมูลค่า และได้ออกประกาศกระทรวง ฉบับที่ 153 เมื่อ พ.ศ. 2537 เรื่องเกลือบริโภค เป็นอาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน โดยจะต้องมีปริมาณไอโอดีนไม่น้อยกว่า 30 ppm (30 มิลลิกรัมต่อเกลือบริโภค 1 กิโลกรัม)
การผลิตเกลือเสริมไอโอดีน
การผลิตเกลือเสริมไอโอดีน คือ การนำเอาเกลือสินเธาว์ หรือเกลือทะเล มาเติมสารละลายโปแตสเซียมไอโอไดด์ หรือสารละลายโปแตสเซียมไอโอเดท สำหรับในประเทศไทยและประเทศที่กำลังพัฒนามีอากาศร้อนชื้น จึงใช้สารละลายโปแตสเซียมไอโอเดทเติมลงไปในเกลือ ซึ่งจะเติมให้มีสัดส่วนของไอโอดีน 50 ส่วนต่อเกลือ 1 ล้านส่วน (50 ppm)
วิธีการผสมเกลือไอโอดีน มีหลายวิธี เช่น
  • โรงงานเล็ก ๆ ใช้วิธีผสมไอโอดีนด้วยมือ ฝักบัวรดน้ำ พลั่ว หรือฟ็อกกี้ที่ฉีดน้ำ
  • โรงงานขนาดใหญ่ ใช้วิธีการตักเกลือใส่สายพาน ให้เกลือไหลไปตามสายพาน ผ่านท่อฉีดพ่นสารละลายละลายโปแตสเซียมไอโอเดท แล้วปล่อยให้เกลือไหลลงไปสู่ถังผสม เพื่อผสมให้เกลือกับไอโอดีนเข้ากัน
สถานการณ์เกลือเสริมไอโอดีนในประเทศไทย
เกลือเสริมไอโอดีนส่วนใหญ่ยังมีไอโอดีนไม่ได้มาตรฐาน
แม้มีกฎหมายกำหนดให้เกลือต้องเสริมไอโอดีน โรคขาดสารไอโอดีนก็ยังเล่นงานคนไทย และเด็กไทยให้หมดอนาคต กลายเป็นทรัพยากรที่ด้อยค่า นั่นก็เป็นเพราะว่าเกลือที่แม้จะติดฉลากว่า "เสริมไอโอดีน" ซึ่งมีจำหน่ายในท้องตลาดมากมายหลากหลายยี่ห้อ ซ้ำบางยี่ห้อยังบรรจุในซองแพ็คเกจสวยงามน่าเชื่อถือ ส่วนใหญ่กลับไม่ได้มีไอโอดีนตามมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ที่ต้องมี 30-50 พีพีเอมไอโอดีน
ความครอบคลุมการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีน และคุณภาพเกลือเสริมไอโอดีน ยังเป็นปัญหา
จากการสำรวจความครอบคลุมการบริโภคเกลือไอโอดีนในระดับครัวเรือน ปี 2546 พบว่า ความครอบคลุมการบริโภคเกลือไอโอดีนและคุณภาพเกลือเสริมไอโอดีน ยังเป็นปัญหาทั่วประเทศ โดยเป็นเกลือที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน (มีไอโอดีนไม่น้อยกว่า 30 พีพีเอม) เพียงร้อยละ 50.6 เท่านั้น
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความครอบคลุมการบริโภคเกลือไอโอดีนต่ำที่สุด และคุณภาพเกลือก็ต่ำกว่าภาคอื่น ๆ ด้วย ซึ่งสอดคล้องการขาดสารไอโอดีน จากผลการสำรวจเมื่อปี 2546 พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีสัดส่วนของผู้ขาดสารไอโอดีนในระดับรุนแรงและปานกลางสูงกว่าเกณฑ์ของ WHO และสูงกว่าภาคอื่น ๆ
ความครอบคลุมการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีน และเกลือที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน ปี 2546 เป็นรายภาค
ความครอบคลุมการบริโภคเกลือไอโอดีน (%)
เกลือที่มีคุณภาพมาตรฐาน
ภาคเหนือ
77.7
57.8
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
30.6
27.0
ภาคกลาง
68.0
52.2
ภาคใต้
85.3
70.9
รวม
63.5
50.6
ทำไมเกลือเสริมไอโอดีนยังไม่ได้มาตรฐาน
จากรายงานโครงการจัดทำระบบเฝ้าระวังติดตามและประเมินความก้าวหน้าโครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนแห่งชาติ พบว่า ในปี พ.ศ.2546 มีเกลือเสริมไอโอดีนที่ได้คุณภาพเพียง 50 % เท่านั้น
การที่เกลือเสริมไอโอดีนส่วนใหญ่ยังไม่ได้มาตรฐานนั้น อาจเกิดจากหลายสาเหตุ ดังนี้
1. มาตรฐานการผลิตเกลือไอโอดีนยังไม่ดีพอ โรงงานเล็ก ๆ ใช้วิธีผสมไอโอดีนด้วยมือ ฝักบัวรดน้ำ พลั่ว หรือฟ็อกกี้ที่ฉีดน้ำ หรืออาจเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการใด ๆ ก็ตาม ทำให้ไอโอดีนกับเกลือผสมไม่เข้ากันดี ทำให้ระดับไอโอดีนในเกลือบริโภคมีความแตกต่างอย่างมาก ทั้งในเกลือที่เสริมไอโอดีนในคราวเดียวกัน และต่างเวลา, ต่างโรงงานกัน ซึ่งทำให้คุณภาพของเกลือเสริมไอโอดีนไม่ได้มาตรฐานตามกฎกระทรวงที่กำหนดไว้
2. โรงงานผลิตเกลือเสริมไอโอดีน ยังไม่ให้ความสำคัญ ในการที่จะลงทุนจัดตั้งระบบการควบคุมคุณภาพ เนื่องจากจะต้องใช้เงินลงทุนมากขึ้น
3. การตรวจคุณภาพเกลือเสริมไอโอดีน ยังทำได้ไม่เต็มที่และจริงจัง
   
ทั่วโลกยอมรับกันว่าวิธีที่จะแก้ไขปัญหาขาดสารไอโอดีนได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึง คือ รณรงค์ให้ทุกครัวเรือนบริโภคเกลือเสริมไอโอดีน (ไม่ใช่เกลือทะเลซึ่งถือว่ามีไอโอดีนไม่เพียงพอ)
แต่ที่น่าเป็นห่วง คือ ขณะนี้เกลือเสริมไอโอดีนในประเทศไทยยังไม่ได้มาตรฐานสม่ำเสมอ ทำให้ไม่ส่งผลให้ขจัดโรคขาดสารไอโอดีนได้อย่างที่คาดหวัง ปัญหานี้เกิดจากกระบวนการผลิตที่ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถผสมไอโอดีนกับเกลือให้สม่ำเสมอได้ ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบกันอย่างจริงจัง และเข้มงวด
         
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเกลือบริโภคมีไอโอดีนได้มาตรฐานหรือไม่
     
Titration หาปริมาณไอโอดีน ในห้องปฏิบัติการ

น้ำยาสำเร็จรูป I-Reagent ให้ค่าจริง ใช้แทน titration ได้
 ใช้ง่าย : หยดน้ำยา 3 หยดบนเกลือ 1 ช้อนตวง คนให้เป็นวงเท่าฝาจุก ดูสีเทียบกับแถบสีบนกล่องคสนาม สำหรับวัดไอโอดีนในเกลือ อย่างคร่าว ๆ 
I-KIT ชุดตรวจสอบภา
 
การปริมาณไอโอดีนในเกลือ
โดยวิธี Titration
การ Titrate หาปริมาณไอโอเดทในเกลือ
(เกลือเสริมไอโอดีนในประเทศที่กำลังพัฒนา จะใช้สารละลายโพแตสเซียมไอโอเดทเติมลงไปในเกลือ)
การหาปริมาณไอโอดีนในเกลือที่อยู่ในรูปของไอโอเดท โดยวิธี titration (Demaeyer, Lowenstein, and Thilly, 1979) มีปฏิกิริยา 2 ขั้นตอน คือ
ปฏิกิริยาขั้นแรก: เป็นการทำให้ไอโอดีนในเกลืออยู่ในรูปของไอโอดีนอิสระ (free iodine)
  • เติมกรดซัลฟุริกเพื่อทำให้ไอโอดีนในเกลืออยู่ในรูปของไอโอดีนอิสระ
  • เติม KI เพื่อช่วยให้ไอโอดีนอิสระละลายน้ำได้ดีขึ้น

ปฏิกิริยาขั้นที่2:
เป็นการไตเตรทหาปริมาณไอโอดีนโดยใช้ไธโอซัลเฟต
  • ไอโอดีนอิสระที่มีอยู่ในเกลือจะถูกใช้ไปโดยโซเดียมไธโอซัลเฟต จำนวนของไธโอซัลเฟตที่ใช้ในการไตเตรท จะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณไอโอดีนที่มีอยู่ในเกลือ
  • ใช้สารละลายแป้งเป็นอินดิเคเตอร์ โดยแป้งจะทำปฏิกิริยากับไอโอดีนเกิดเป็นสีน้ำเงิน ไตเตรทจนกระทั่งสีน้ำเงินหายไป แสดงว่าไอโอดีนถูกใช้โดยไธโอซัลเฟตหมดแล้ว
การไตเตรทหาปริมาณไอโอดีนในเกลือที่อยู่ในรูปของไอโอเดท มีขั้นตอนดังนี้

1. ชั่งตัวอย่างเกลือ 10 กรัม ใส่ในขวดรูปชมพู่ ขนาด 250 ml
2. ละลายตัวอย่างเกลือด้วยน้ำกลั่น 50 ml
3. เติมสารละลายกรดซัลฟุริกความเข้มข้น 2 N จำนวน 1 ml
4. เติม 10% KI จำนวน 5 ml ถ้ามีไอโอดีน สารละลายจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
  5. ปิดปากขวดและนำไปเก็บในที่มืด10 นาที
  6. เตรียมบิวเรต โดยเติม 0.005 M โซเดียมไธโอซัลเฟตลงในบิวเรต
  7. เอาขวดออกจากที่มืด นำมาไตเตรทกับ 0.005 M โซเดียมไธโอซัลเฟต จนกระทั่งสารละลายมีสีเหลืองอ่อน
  8. เติมสารละลายแป้ง จำนวน 2 ml (สารละลายจะมีสีน้ำเงินเข้ม) แล้วไตเตรทต่อไปจนกระทั่งสารละลายเปลี่ยนเป็นสีชมพู และจางหายไปในที่สุด
  9. บันทึกปริมาตรของไธโอซัลเฟตที่ใช้ไปในการไตเตรท แล้วนำไปคำนวณหาปริมาณไอโอดีน
ชุดตรวจสอบภาคสนามชนิดขวดเดี่ยว สำหรับวัดปริมาณไอโอดีนในเกลือ (I-KIT)
เชื่อถือได้ สะดวก คงทน ราคาถูก
เพื่อเสริมมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขที่ว่า เกลือเสริมไอโอดีนทั่วประเทศต้องได้มาตรฐาน คือมีไอโอดีน 30-50 ppm ชุด I-KIT เป็นชุดตรวจสอบชุดแรกของโลกที่สามารถบอกปริมาณไอโอดีนในเกลือได้ละเอียดถึงระดับ 0-100 ppm ได้อย่างสม่ำเสมอและแม่นยำทุกครั้งตลอดอายุการใช้งาน 2 ปี ชุดตรวจสอบนี้เป็นน้ำยาขวดเดียว และมีอุปกรณ์ประกอบคือ แถบสีเปรียบเทียบเพื่อการอ่านปริมาณไอโอดีน แผ่นพลาสติกสำหรับผสมเกลือกับน้ำยา และช้อนที่ตวงเกลือตามปริมาณที่กำหนด
 
I-KIT : สะดวก ใช้ง่าย ใช้ได้ทันทีในทุกสถานที่
การใช้ชุดตรวจสอบทำได้ง่าย มีขั้นตอนดังนี้
1. ตักเกลือ 1 ช้อน เทลงบนแผ่นพลาสติก
2. เทน้ำยา 3 หยดลงบนเกลือ
3. คนให้เป็นวงเท่าฝาจุก
4. เทียบสีกับแถบสีบนกล่อง
ได้มีการใช้ชุดทดสอบ I-KIT ทดสอบเกลือที่มีไอโอดีน 15 และ 35 ppm เทียบกับชุดทดสอบที่ซื้อจากต่างประเทศ ผลการทดลองเป็นดังรูป คือ ชุดทดสอบจากต่างประเทศไม่สามารถบอกความแตกต่างได้
จากการทดสอบในภาคสนามอย่างมากมายหลายจังหวัด โดยเฉพาะบุคลากรจากโรงงานเกลือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและบุคคลทั่วไปในทุกระดับการศึกษา ผลการวิเคราะห์แบบสอบถามพบว่า ชุดตรวจ I-KIT มีคุณสมบัติเป็นที่พึงพอใจของผู้ใช้เป็นส่วนใหญ่ 95% ของผู้ใช้ตอบว่าการอ่านและทำตามวิธีใช้ง่ายมาก มากกว่า 90% ตอบว่าชุดตรวจสอบมีความเหมาะสมที่จะใช้ในทุกสถานที่ และสามารถอ่านค่าได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง
ข้อมูล ที่สำคัญจากการวิจัยอีกชิ้นหนึ่งคือ จากการสำรวจเกลือในท้องตลาดหลังจากที่มีการใช้ I-KIT พบว่า เมื่อวิเคราะห์ปริมาณไอโอดีนในเกลือ 28 ยี่ห้อ พบว่า 70% ได้ตามมาตรฐานหรือเข้าใกล้มาตรฐานมากขึ้น (เทียบกับ 40% ก่อนใช้ I-KIT) ซึ่งผลจากการวิจัยชุดนี้แสดงให้เห็นว่าชุดทดสอบ I-KIT มีส่วนช่วยให้เกลือหลายยี่ห้อมีปริมาณไอโอดีนตามมาตรฐานเพิ่มขึ้น และเป็นเครื่องมือที่ใช้ควบคุมและประกันคุณภาพเกลือเสริมไอโอดีนได้เป็น อย่างดี
 
I-KIT : มีความคงตัวของสี ทำให้สามารถวัดตัวอย่างจำนวนมากได้พร้อมกัน
I-KIT สามารถบอกได้ชัดเจนว่าเกลือได้ผสมกับไอโอดีนอย่างสม่ำเสมอหรือไม่ และบอกว่าเกลือเสริมไอโอดีนนั้น มีไอโอดีนตามมาตรฐานหรือไม่
เมื่อหยดน้ำยาบนเกลือที่มีไอโอเดทจะเกิดเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งความเข้มของสีจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณไอโอเดทที่เพิ่มขึ้นจาก 0-100 พีพีเอม (ส่วนในล้านส่วน) และสีที่เกิดขึ้นนี้จะมีความคงทนไม่ต่ำกว่าชั่วโมง ไม่จางหายไป ทำให้ใช้วัดปริมาณไอโอเดท โดยเทียบกับสีจากแผ่นสีมาตรฐาน ที่มากับชุดทดสอบได้อย่างแม่นยำ
   
I-KIT : ถูกต้อง แม่นยำ วัดได้ถูกต้อง 0-100 ppm, correlation coefficient = 0.9 ตลอดอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 2 ปี
ชุดตรวจสอบนี้ได้ผ่านการประเมินความแม่นยำ โดยเทียบกับค่าแท้จริงที่ได้จากวิธีมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการ คือวิธี titration พบว่าค่า ppm ไอโอดีนที่ได้จาก I-KIT และวิธี titration มีค่า correlation coefficient 0.9 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า I-KIT มีความแม่นยำสูง และโดยการประเมินจากค่า 95% limit ระหว่าง I-KIT และtitration พบว่ามี range ต่ำ ซึ่งแสดงว่า I-KIT มีความแม่นยำเช่นกัน
สำหรับในการผลิตจำนวนมากในหลายรุ่นของการผลิต (lot) ได้ประเมินความแม่นยำและความถูกต้องระหว่างน้ำยาแต่ละ lot ใน 10 lot โดยที่แต่ละ lot เตรียมน้ำยา 100 ชุด เมื่อสุ่มตัวอย่างมาทดสอบ พบว่าน้ำยาทั้ง 10 lot ให้ค่าความแม่นยำในการทดสอบเหมือนกัน (วิเคราะห์จากค่า mean + - SD, coefficient of variation และ range ของค่าที่อ่านได้)
 
ใครบ้างควรใช้ I-KIT ?
ผู้ผลิต - ได้แก่ บุคลากรจากโรงงาน/แหล่งผลิตเกลือเสริมไอโอดีน สามารถใช้ I-KIT ควบคุมคุณภาพเกลือก่อนบรรจุ โดยสุ่มตัวอย่างเกลือที่ผสมกับไอโอดีนตามจุดต่าง ๆ ของเกลือที่ออกจากเครื่องผสม และวัดปริมาณไอโอดีนโดยใช้น้ำยาจากชุดทดสอบหยดลงบนเกลือ ดูสีที่เกิดขึ้นเทียบกับแถบสีข้างกล่อง จะทราบได้ทันทีว่าเกลือนั้นมีไอโอดีนตามมาตรฐานหรือไม่ และเกลือที่ออกจากเครื่องผสมนั้นได้ผสมอย่างสม่ำเสมอหรือไม่
ผู้ควบคุมคุณภาพ - ได้แก่ บุคลากรของกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบก็จะมีเครื่องมือตรวจสอบเกลือในท้องตลาด ว่าแต่ละยี่ห้อได้มาตรฐานตามที่กำหนดหรือไม่
ผู้บริโภคปลายทาง - ได้แก่ อาสาสมัครหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ครูโรงเรียน นักเรียน ผู้นำชุมชน และประชาชนทั่วไป สามารถใช้ I-KIT ตรวจสอบคุณภาพเกลือที่ซื้อมาบริโภค ความตื่นตัวในการเลือกใช้เฉพาะเกลือเสริมไอโอดีนที่ได้มาตรฐานเพื่อปกป้อง สิทธิของผู้บริโภค จะผลักดันให้เกิดกลไกทางการตลาดในการควบคุมผู้ผลิตเกลือให้ปรับปรุงคุณภาพ สินค้าของตนให้ได้มาตรฐาน
น้ำยาสำเร็จรูป สำหรับวัดปริมาณไอโอดีนในเกลือ (I-Reagent)
ใช้ได้ทั้งในห้องปฏิบัติการและภาคสนาม
I-Reagent เป็นน้ำยาสำเร็จรูปขวดเดียว สำหรับใช้วัดปริมาณไอโอเดทในเกลือในขั้นตอนเดียว สามารถใช้ได้ทั้งในห้อง lab และภาคสนาม ทำให้ควบคุมคุณภาพของเกลือได้สะดวก และกว้างขวางขึ้น ทั้งจากฝ่ายสาธารณสุขจังหวัดเองและจากโรงเรียนในท้องถิ่น
 
หลักการที่ใช้วัดปริมาณไอโอดีนในเกลือ ซึ่งไอโอดีนที่ใช้เสริมในเกลืออยู่ในรูปของไอโอเดท ในวิธีการนี้จะใช้น้ำยาสำเร็จรูปผสมกับเกลือเพียงขั้นตอนเดียว ถ้าเกลือมีไอโอดีนก็จะมีสีน้ำเงิน
การที่เกิดสี เพราะโมเลกุลของไอโอดีน จะสอดแทรกเข้าไปในเกลียวของสารละลายแป้ง เกิดเป็นสารเชิงซ้อนที่มีสี จากสีน้ำเงินไปจนเป็นสีม่วงและสีน้ำตาลตามสัดส่วนของสาร และรูปทรงของแป้ง
สีที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาระหว่างไอโอเดทในเกลือกับน้ำยา ได้สารละลายสีน้ำเงินที่มีความเข้มของสีเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณไอโอเดทในช่วง 0-100 พีพีเอมไอโอดีน ซึ่งความเข้มของสีน้ำเงินจะวัดได้โดยใช้ spectrophotometer หรือ colorimeter ที่ความยาวคลื่น 500 นาโนเมตร
การใช้งานง่าย สะดวก รวดเร็ว
น้ำยาสำเร็จรูป I-Reagent นี้ เป็นน้ำยาที่มีองค์ประกอบที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ และวิธีใช้งานง่ายมาก กล่าวคือ ในวิธีการวัดมีขั้นตอนง่าย ๆ ดังต่อไปนี้
1. ชั่งตัวอย่างเกลือ 0.1 กรัม ใส่หลอดทดลอง
2. เติมน้ำกลั่น 0.5 ml แล้วเขย่าให้เกลือละลาย
3. ใส่ I-Reagent จำนวน 3 ml เขย่าให้เข้ากัน
4. วัดสีโดยใช้เครื่องมือวัดสี (visible spectrophotometer หรือ colorimeter อย่างง่าย ๆ) ที่เวลาเท่าใดก็ได้หลังจากเวลา 5 นาที (ถ้าไม่มีเครื่องวัดสี เทียบกับหลอดมาตรฐานได้)
I Reader : เครื่องวัดสีอย่างง่าย วัดได้ทั้งค่าการดูดกลืนแสง และปริมาณไอโอดีน
สีที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาระหว่างไอโอเดทในเกลือกับ I-Reagent มีความคงทนเป็นวัน
สีที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาระหว่างไอโอเดทในเกลือกับ I-Reagent มีความคงทนเป็นวัน ทำให้สามารถวัดตัวอย่างได้ครั้งละมาก ๆ ทำให้ใช้เวลาในการวิเคราะห์สั้นมาก และสามารถเลือกวัดในเวลาที่สะดวกได้

I-Reagent มีความแม่นยำสูง
วิธีการวัดปริมาณไอโอเดทในเกลือเสริมไอโอดีนโดยใช้ I-Reagent นี้มีความแม่นยำสูงในระดับ 3-100 พีพีเอมไอโอดีน ดังที่ดูได้จากค่า % coefficient of variation ที่นอกจากจะมีค่าไม่เกิน 10 แล้ว ยังมีค่าค่อนข้างต่ำ กล่าวคือการวิเคราะห์ที่ 3 พีพีเอมไอโอดีนมีค่า % CV ประมาณ 3.5 ขณะที่การวิเคราะห์ที่ช่วงสูง 10-100 พีพีเอมไอโอดีน มีค่า % CV ประมาณ 0.43-1.7
ความแม่นยำของการวัดโดยใช้ I-Reagent
ppm ไอโอดีน
mean of ppm iodine (n = 10)
SD
% CV
2
3
5
10
20
50
80
100
1.77
2.77
4.49
9.04
30.71
50.90
79.46
99.37
0.234
0.093
0.080
0.159
0.458
0.637
0.710
0.435
3.09
3.35
1.72
1.76
1.49
1.25
0.89
0.43
I-Reagent ใช้แทนไตเตรชั่นได้
วิธี การหาปริมาณไอโอดีนโดยใช้น้ำยาสำเร็จรูป I-Reagent สามารถใช้ทดแทนวิธีการเดิมที่ใช้กันในปัจจุบันคือ titration ซึ่งไม่สะดวกนัก และยังคงใช้เวลานานต่อหนึ่งตัวอย่าง ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถวัดปริมาณไอโอเดทในตัวอย่างเกลือเสริม ไอโอดีนจากโรงงานเกลือ และแหล่งผลิตเกลือต่าง ๆ ได้ทันต่อเวลา ซึ่งเป็นปัญหาในการควบคุมมาตรฐานของเกลือเสริมไอโอดีนทั่วประเทศ ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงสาธารณสุข
เปรียบเทียบความถูกต้องระหว่างวิธีวัดสีและวิธีไตเตรชั่น
เมื่อเทียบกับวิธีมาตรฐาน คือ titration พบว่าค่า ppm ไอโอดีนที่ได้จาก I-Reagent ได้ผลไม่ต่างไปจากวิธี titration เลย ดังจะดูได้จาก correlation coefficient มีค่าเท่ากับ 0.9887 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ทั้ง 2 วิธีการมีความสัมพันธ์กันสูงมาก
นอกจากนี้การวิเคราะห์ด้วย pair t-test ก็สนับสนุนผลของ correlation coefficient ว่าทั้ง 2 วิธีให้ผลการวิเคราะห์ที่ไม่ต่างกัน
และจากการใช้สถิติ kappa analysis ซึ่งได้ค่า kappa สูงถึง 0.924 แสดงให้เห็นว่าทั้ง 2 วิธีนี้มีความสอดคล้องกันดีมาก
ประโยชน์ของ I-Reagent
ทำให้ทราบประมาณไอโอเดทที่ควรใส่เพื่อให้เกลือมีไอโอดีน 30 ppm ไม่ใช่มากไป (50-70 ppm) หรือน้อยไป (8-15 ppm) อย่างที่ยังพบอยู่ในปัจจุบัน
การควบคุมคุณภาพของเกลือเสริมไอโอดีนทำได้สะดวก และกว้างขวางขึ้น ทั้งจากฝ่ายผู้ผลิต สาธารณสุขจังหวัดเอง ชุมชน และจากโรงเรียนในท้องถิ่น
โรงเรียนได้รับการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน โดยใช้เครื่องมือที่มีอยู่แล้วในโรงเรียน
การตรวจไอโอดีนในเกลือโดยวิธีวัดสีมีขั้นตอนน้อย สามารถถ่ายทอดให้คนได้ง่าย เหมาะอย่างยิ่งสำหรับใช้สอนภาคปฏิบัติการในโรงเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมปลาย โดยเฉพาะในโรงเรียนที่มีเครื่องมือ spectrophotometer หรือแม้แต่เครื่องมือวัดสีอย่างง่าย ๆ เพราะจะให้ประโยชน์ ทั้งด้านหลักการทางด้านวิทยาศาสตร์ ด้านสุขภาพ และด้านโภชนาการ และยังเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม ขณะที่ค่าใช้จ่ายของปฏิบัติการนี้ต่ำมาก
         
ติมกรดซัลฟุริกและ KI ลงในสารละลายเกลือ แล้ว titrate ด้วยสารละลายไธโอซัลเฟต โดยใช้น้ำแป้งเป็น indicator เพื่อดูการหายไปของสีน้ำเงิน

ค้นหา