Clock


วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การแปลค่าผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Lab) ตรวจสุขภาพประจำปี

การแปลผลการตรวจสุขภาพประจำปี

การตรวจเลือด
Complete blood count ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
เป็นการตรวจนับปริมาณเม็ดเลือดแดง รวมทั้งวัดปริมาตรของเม็ดเลือดแดง และรูปร่างของเม็ดเลือดแดงเพื่อบ่งชี้ภาวะของโลหิตจาง การตรวจนับเม็ดเลือดขาวเพื่อดูการติดเชื้อและภูมิต้านทานของร่างกาย และเกร็ดเลือดเพื่อดูความสามารถในการแข็งตัีวของเลือดเพื่อห้ามเลือดเมื่อ เกิดบาดแผล ได้แก่การตรวจ
  • Red Blood cells count เป็นการนับปริมาณเม็ดเลือดแดงรวมที่ร่างกายสร้างขึ้น จะพบว่าต่ำกว่าปกติเมื่อมีภาวโลหิตจาง
  • Haemoglobin ฮีโมโกลบิน ทำหน้าที่จับกับออกซิเจนเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และจะพบว่าต่ำกว่าปกติถ้ามีโลหิตจาง
  • Haematocrit คือการตรวจความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงที่อยู่ในเลือดจะพบว่าต่ำกว่าปกติถ้ามีโลหิตจาง
  • เม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่ในการป้องกันการติดเชื้อโรคและสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย โดยแบ่งเป็นชนิดย่อย ๆ ห้า ชนิด ทำหน้าที่ต่าง ๆ กัน
  • เกร็ดเลือด ทำหน้าที่ในการแข็งตัวของเลือดและป้องกันการเสียเลือด

Blood group หมู่เลือด ในการตรวจหมู่เลือดมีการตรวจแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ

  • หมู่ ABO
  • หมู่ Rh

Erythrocyte Sediment Rate (ESR) เป็นอัตราการตกตะกอน ของเม็ดเลือดแดง ซึ่งจะช่วยบอกถึงภาวการณ์อักเสบภายในร่างกาย ทั้งที่เกิดจากการติดเชื้อโรค และการมีความผิดปกติของภูมิคุ้มกันร่างกาย

Hemoglobin Typing เป็นการตรวจเพื่อคัดกรองโรคเลือด ธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่ำทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง ซึ่งสามารถถ่ายทอดไปยังบุตรได้ และเป็นโรคที่มีความชุกในประเทศไทยค่อนข้างมาก ดังนั้นจึงแนะนำให้ทำการตรวจเพื่อเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ เนื่องจากโรคธาลัสซีเมียชนิดที่รุนแรงมาก อาจจะทำให้ทารกมีความพิการหรือแท้งตั้งแต่ในครรภ์ได้
โรคเบาหวาน
  • Glucose การตรวจวัดระัดับน้ำตาลใน เลือด เพื่อทำการคัดกรองโรคเบาหวาน และกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน รวมทั้งใช้ติดตามผลการรักษาโรคเบาหวานด้วย
  • Hemoglobin A1C เป็นการตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือด โดยจะสามารถบอกได้ถึงภาวะโดยรวมของน้ำตาลในเลือดย้อนหลังได้ในระดับเดือนที่ ผ่านมาเพื่อคัดกรองโรคเบาหวานที่แม่นยำยิ่งขึ้น และประเมินการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวาน
  • การตรวจภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน สำหรับผู้ป่วยเบา หวานควรทำการตรวจเพื่อป้องกันภาวะที่เกิดขึ้นจากเบาหวานได้แก่ การตรวจจอประสาทตา การตรวจการทำงานไต การตรวจการไหลเวียนเลือด

โรคไขมันในเลือดสูง

  • Total cholesterol ระัดับคอเลสเตอรอลรวมในเลือด เป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงในการเิกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคเส้นเลือดสมอง รวมทั้งความดันโลหิตสูง
  • HDL-cholesterol ไขมันชนิดดี ไขมัน ชนิดดี HDL ทำหน้าที่ป้องกัีน LDL และ Cholesterol ไปสะสมที่เส้นเลือดและอวัยวะภายใน สามารถทำให้เพิ่มขึ้นได้โดยการออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ และรับประทานอาหารประเภทปลาทะเลเช่น ปลาแซลมอน ปลาเทราท์
  • LDL-Cholesterol ไขมันชนิดไม่ดี การติดตามการควบคุม ระัดับไขมันในเลือดเพื่อป้องกันความเสียงในการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบ จะทำการติดตามผลของระดับ LDL ให้ลดลงในระัดับที่เหมาะสม
  • Triglyceride ไตรกลีเซอไรด์ ไตรกลีเซอไรด์ได้จากการ สังเคราะห์ที่ตับและการรับประทานอาหารที่มีไขมัน สาเหตุที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูงได้แก่ การไม่ออกกำลังกาย น้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐาน การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป

โรคเก๊าท์

  • Uric acid ระัดับยูริคในเลือดที่สูง กว่ามาตรฐานจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคเำก๊าท์ โรคนิ่วในไต สาเหตุที่ทำให้ยูริคสูงขึ้นเกิดจากการบริโภคอาหารที่มีพิวรีนสูง ได้แก สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ ผักบางชนิด เช่น แตงกวา หน่อไม้ฝรั่ง ยอดผัก เช่นชะอม กระุถินเป็นต้น

การทำงานไต

  • Blood urea nitrogen BUN เป็นการ วัดระดับปริมาณของเสียในร่างกายที่ตามปกติร่างกายจะสามารถขับออกไปได้ หากมีโรคไต จะทำให้มีการคั่งของสารชนิดนี้ในร่า่งกาย แต่อาจพบว่ามีค่าสูงขึ้นเล็กน้อยได้ หากอยู่ในภาวะขาดน้ำ รัีบประทานโปรตีนมากกว่าปกติ
  • Creatinine เป็นสารที่บ่งถึงการทำงานของไต ซึ่งถ้าหากมีค่าสูงปกติจะแสดงถึงการทำงานของไตที่แย่ลง

การทำงานตับ

  • Serum glutamic oxaloacetic transaminase (SGOT/AST) เอนไซม์ ที่พบได้จากเนื้อเยื่อของอวัยวะหลายชนิดได้แก่ หัวใจ กล้ามเนื้อ สมอง ตับอ่อน ม้าม และไต ซึ่งจะสูงขึ้นผิดปกติ เมื่อมีการบาดเจ็บหรือการอักเสบของอวัยวะดังกล่าว
  • Serum glutamic Pyruvic transaminase (SGPT/ALT) ลักษณะ เดียวกับ SGOT แต่มีความจำเพาะเจาะจงกับตับมากกว่า เนื่องจากพบได้ที่ตับมากกว่าอวัยวะอื่น ๆ ดังนั้นจะพบค่าเอนไซม์นี้สูงขึ้น เมื่อมีการอักเสบของตับ หรือการทำงานของตับมากขึ้นกว่าปกติเช่น การรับประทานยาบางชนิด
  • Alkaline Phosphatase เอนไซม์ที่สร้างมาจากตับ กระดูก ลำไส้ และรก จะพบว่าสูงผิดปกติเมื่อมีภาวะตับอักเสบ การบาดเจ็บของกระดูก เป็นต้น

การตรวจหาไวรัสตับอักเสบ

  • ไวรัสตับอักเสบบี การตรวจหาเชื้อ ไวรัสตับอักเสบบี ทำได้โดยการตรวจ Hepatitis B Surface Antigen (HbsAg) และทำการตรวจหาภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยการตรวจ Hepatits B Surface Antibody (Anti-HBs) ซึ่งถ้าทำการตรวจแล้วพบว่าเป็นพาหะสำหรับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ต้องทำการตรวจเพิ่มเติมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคตับ เพื่อทำการรักษาและป้องกันภาวะตับแข็ง หรือตรวจหาความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับต่อไป สำหรับผู้ที่ไม่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี แต่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันควรได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัส ตับอักเสบบี
  • ไวรัสตับอักเสบเอ ไวรัสตับอักเสบเอจะสามารถติดต่อการ จากการปนเปื้อนของเชื้อในอาหารทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ ซึ่งสามารถทำการตรวจหาภูมิคุ้มกันสำหรับเชื้อไวรัสตับอักเสบเอได้ โดยกาการตรวจ HAV IgG หากไม่มีภูมิคุ้มกันควรฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ
  • ไวรัสตับอักเสบซี การตรวจสำหรับไวรัสตับอักเสบซี จะเป็นการตรวจว่ามีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี หรือไม่ โดยการตรวจ Anti HCV ถ้าตรวจพบว่าผลเป็น Positive แสดงว่ามีการติดเชื้อหรือเป็นพาหะไวรัสตับอักเสบซี จำเป็นต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคตับเพื่อทำการรักษาต่อไป

การตรวจหาสารบ่งมะเร็ง Tumor Marker

  • Alpha-fetoprotein (AFP) เป็นการ ตรวจเพื่อคัดกรองมะเร็งตับ ซึ่งหากพบว่าสูงกว่าค่ามาตรฐานจะต้องทำการตรวจโดยละเอียดกับแพทย์ผู้เชี่ยว ชาญด้านโรคตับเพื่อยืนยันว่าเป็นมะเร็งตับ แต่อย่างไรก็ตาม ผลการตรวจ AFP อาจสูงขึ้นกว่าปกติได้เล็กน้อยในผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรัง
  • Carcinoembrionic Antigen (CEA) เป็นการตรวจเพื่อคัด กรองมะเร็งลำไส้ อาจพบว่าสูงขึ้นได้ในผู้ป่วยมะเร็งปอด ตับ ตับอ่อน และสามารถพบได้ในผู้ที่สูบบุหรี่จัดมาเป็นเวลานาน ภาวะตับแข็ง หากพบว่าสูงกว่าค่ามาตรฐานต้องทำการตรวจโดยละเอียดเช่นการส่องกล้องตรวจลำ ไส้ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  • Prostate Specific Antigen (PSA) เป็นการตรวจคัดกรอง สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก อาจจะพบว่าสูงกว่าปกติได้ในผู้ป่วยที่มีต่อมลูกหมากโต ควรจะทำการตรวจ PSA ในผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปีและควรทำการตรวจเป็นประจำทุกปี
  • CA125 เป็นการตรวจคัดกรองสำหรับมะเร็งรังไข่ และสามารถพบว่าสูงขึ้นได้ในผู้ป่วยที่มีถุงน้ำที่รังไข่ ก้อนเนื้อที่รังไข่ หรือมีการอักเสบในอุ้งเชิงกราน ซึ่งหากพบว่ามีค่าสูงกว่ามาตรฐานควรพบสูตินรีแพทย์เพื่อทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจอัลตราซาวน์ช่องท้องส่วนล่าง หรือการส่องกล้องเพื่อตรวจภายในช่องท้อง
  • Ca15-3 เป็นการตรวจคัดกรองสำหรับมะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตามการตรวจมะเร็งที่ได้ผลดีและเป็นที่น่าเชื่อถือมากกว่าคือการ ตรวจ เอ๊กซเรย์และอัลตราซาวน์เต้านม (Mammogram)
  • CA19-9 เป็นการตรวจคัดกรองสำหรับมะเร็งตับอ่อนและทาง เดินอาหาร หากพบว่าสูงกว่ามาตรฐานควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหารเพื่อทำ การตรวจเพิ่มเติม
  • การตรวจปัสสาวะ การตรวจปัสสาวะเป็นการตรวจเพื่อดูการ ทำงานของไต และระบบทางเดินปัสสาวะ โดยก่อนตรวจควรทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศให้สะอาด และการเก็บปัสสาวะต้องเก็บปัสสาวะส่วนกลาง โดยทิ้งส่วนต้นและส่วนท้ายออกเพื่อป้องกันการปนเปื้อนและสามารถแปลผลได้ อย่างถูกต้อง ในการตรวจปัสสาวะจะเริ่มตั้งแต่การตรวจสี ความใส ความเป็นกรดด่าง และการตรวจหาสารต่าง ๆ ที่จะปนมาในปัสสาวะได้แก่
    - โปรตีน ถ้าพบว่ามีโปรตีนปนมาในปัสสาวะต้องทำการตรวจการทำงานไตโดยละเอียดเนื่องจากอาจมีความผิดปกติของการทำงานไต
    - น้ำตาล หากพบว่ามีน้ำตาลปนมาในปัสสาวะอาจบ่งถึงภาวะเบาหวานควรตรวจเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยภาวะเบาหวาน
    - เลือด หากพบว่ามีเลือดปน อาจเกิดจากนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะเช่นมีเนื้องอกหรือมีการอักเสบของกระเพาะ ปัสสาวะ จึงต้องทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุ
  • การตรวจอุจจาระ หลาย ๆ ท่านอาจจะเข้าใจว่าการตรวจอุจจาระไม่สำคัญ เพียงเข้าใจว่าทำการตรวจเพื่อหาพยาธิ หรือโรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร แต่อันที่จริงแล้วการตรวจหาเลือดที่ปนในอุจจาระ Stool Occult Blood มีความสำคัญในการคัดกรองการเกิดมะเร็งลำไส้ โดยมีหลักฐานการวิจัยที่ยืนยันว่าการตรวจอุจจาระช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งลำ ไส้ได้ตั้งแต่ระยะแรก และหากพบว่ามีเลือดปนในอุจจาระต้องทำการตรวจเพิ่มเติมโดยการส่องกล้องเพื่อ ตรวจทางเดินอาหารโดยละเอียด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหา