Clock


วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การวางแผน และเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์

เนื่องสังคมของคนเมืองเปลี่ยนไปผู้หญิงทำงานนอกบ้านและจากภาวะเศรษฐกิจทำให้ คนแต่งงานเมื่ออายุมากขึ้น กว่าจะเริ่มวางแผนมีบุตรอายุก็มากขึ้น ดังนั้นการวางแผนการมีบุตรจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะละเลยไม่ได้ การวางแผนการมีบุตรไม่ใช่จะมีเมื่ออายุเท่าไรแต่การวางแผนจะครอบคลุมถึงการ เตรียมทางร่างกายและจิตใจ การเลือกแพทย์และโรงพยาบาล บทความนี้จะแนะนำบางเรื่องที่คิดว่าเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่คิดว่าจะมีบุตร สักคน การที่มีสุขภาพดีทั้งพ่อและแม่จะทำให้ลูกเกิดมามีความแข็งแรง ดังนั้นก่อนการตั้งครรภ์ท่านต้องวางแผนเรื่องต่อไปนี้

ตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์

การ วางแผนมีบุตรไม่ใช่ตั้งครรภ์แล้วค่อยไปฝากครรภ์ แต่ท่านต้องไปปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจร่างกายดูสุขภาพทั่วไป โรคประจำตัว ตรวจทั้งการเพาะเชื้อจากปากมดลูกและตรวจมะเร็งปากมดลูก แพทย์จะตรวจเลือดเพื่อตรวจว่ามีโลหิตจางหรือไม่รวมทั้งการตรวจหาภูมิต่อโรค หัดเยอรมันและไข้สุกใส หากไม่มีภูมิแพทย์ก็จะแนะนำให้ฉีดวัคซีนซึ่งก็ต้องใช้เวลาอีก 3 เดือนจึงจะตั้งครรภ์ได้

การตรวจทางพันธุกรรม

แพทย์ จะซักประวัติโรคทางพันธุกรรมทั้งตัวคุณและคู่เพื่อพิจารณาว่าครอบครัวคุณมี ความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน โรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อยคือโรคธัลลัสซีเมีย และหากคุณอายุมากคุณก็จะเสี่ยงต่อกลุ่ม down

หลีกเลี่ยงการติดเชื้อ

โรค เพศสัมพันธ์บางโรคอาจจะมีผลทำให้เกิดการเป็นหมัน แพทย์จะซักประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และหากสงสัยแพทย์อาจจะเพาะเชื้อจากปากมดลูก รวมทั้งการเจาะเลือดเพื่อให้แน่ใจว่าคุณปลอดภัยจากโรคติดต่อและไม่ควรที่จะ มีเพศสัมพันธ์กับคน

การติดเชื้อจากอาหารก็อาจจะมีผลต่อการตั้งครรภ์ เช่นการติดเชื้อ Toxoplasmosis ต้องรับประทานอาหารที่ปรุงสุกแล้วเท่านั้น ไม่รับประทานอาหารสุกดิบๆ และให้ล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง ล้างผักและผลไม้ให้สอาด

หลีกเลี่ยงจากการเข้าชุมชนเพราะท่านอาจจะติดหวัดหรือโรคติดเชื้อชนิดอื่น

อาหารและวิตามินก่อนการตั้งครรภ์


ก่อน การตั้งครรภ์การให้วิตามินกรดโฟลิกวันละ 400 มก.จะช่วยป้องกันความพิการทางสมอง นอกจากวิตามินแล้วคุณต้องรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ หากคุณเป็นมังสะวิรัต โลหิตจาง หรือรับประทานน้อย คุณต้องรับประทานอาหารเพิ่ม การที่คุณได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะก่อปัญหากับการตั้งครรภ์ เช่นหากคุณโลหิตจางจะทำให้เด็กมีโลหิตจางด้วย หากคุณรับอาหารไม่พอเด็กก็จะมีการเจริญเติบโตช้า

ความแข็งแรง


นอก จากอาหารและวิตามินแล้วความแข็งแรงของร่างกายก็จะช่วยให้คุณตั้งครรภ์และ คลอดอย่างปลอดภัย มีการศึกษาว่าหากออกกำลังตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์และระหว่างการตั้งครรภ์จะ ทำให้คลอดได้ง่าย การควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากหรือน้อยกว่า 15%ของน้ำหนักมาตรฐานจะทำให้เด็กเจริญเติบโตได้ดี หากคุณน้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐานมากกว่า 15%แสดงว่าคุณผอมเกินไป ทำให้ตั้งครรภ์ยาก และระวังการตั้งครรภ์ในเดือนแรกๆอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนน้ำหนักคุณจะลด ลงอีก แนะนำว่าคุณควรจะเพิ่มน้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์

คุณต้องลด น้ำหนักเพราะหากอ้วนจะทำให้เกิดโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง ดังนั้นคุณควรจะลดน้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ หากคุณออกกำลังกายก่อนการตั้งครรภ์ก็ควรออกต่อ

การดูแลสิ่งแวดล้อม


ต้อง ตรวจสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวว่ามีสิ่งที่เป็นเป็นภัยต่อการตั้งครรภ์หรือไม่ เช่นยาฆ่าแมลง ใยแก้ว สารตะกั่ว รังสี ควรจะหลีกสิ่งเหล่านี้ หากคุณเลี้ยงแมวบอกแพทย์ให้เจาะเลือดตรวจหาภูมิต่อเชื้อ toxoplasma หรือไม่เพราะเชื้ออาจจะทำให้พิการแต่กำเนิด หากคุณไม่มีภูมิควรจะสวมถุงมือและหน้ากากเมื่อจะสัมผัสแมว

การเปลี่ยนพฤติกรรม


สำหรับ ท่านที่ดื่มสุรา ติดยาเสพติด และสูบบุหรี่รวมทั้งสามีที่สูบบุหรี่ควรจะละหรือเลิกเสียเพราะจะทำให้ตั้ง ครรภ์ยาก และหากตั้งครรภ์ก็อาจจะมีผลเสียต่อเด็กในครรภ์

เวลาที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์


เริ่ม มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่วันที่ 9 ของรอบเดือนจนวันที่ 19 ของรอบเดือนโดยร่วมเพศกันวันเว้นวัน การตั้งครรภ์ไม่เกี่ยวกับท่าที่ยุ่งกันพยายามให้หลั่งในช่องคลอดให้ลึกที่ สุด และไม่จำเป็นต้องนอนพักหลังร่วมเพศเนื่องจากเชื้อจะวิ่งอย่างรวดเร็วไปยัง เป้าหมาย

รับประทานอาหารที่มีคุณภาพและคุมน้ำหนัก


หาก คุณวางแผนที่จะตั้งครรภ์คุณควรที่จะเริ่มต้นรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ และควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หลีกเลี่ยงอาหารมัน น้ำตาล การดื่มกาแฟ หรือดื่มชาจะทำให้ตั้งครรภ์ยาก ผู้ที่อ้วนต้องลดน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติสามารถตั้งครรภ์ได้

อย่าให้เกิดความเครียด

ความเครียดจะมีผลเสียต่อการตั้งครรภ์ ทำให้ตั้งครรภ์ยาก คลอดก่อนกำหนด เด็กคลอดออกมามีน้ำหนักน้อย


ขอบคุณข้อมูลจาก
Siamhealth.net

คุณสุภาพสตรีส่วนใหญ่จะพบแพทย์เมื่อขาดประจำเดือนจะไปตรวจว่าตั้งครรภ์ หรือไม่ และฝากครรภ์ แต่หากคุณผู้หญิงที่ตั้งใจว่าจะตั้งครรภ์ลองไปปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อที่จะได้ เตรียมตัวตั้งครรภ์ได้ปลอดภัย สิ่งที่แพทย์จะต้องถามและทำได้แก่

  • ประวัติการรับประทานยาคุมกำเนิด ประวัติการตั้งครรภ์ครั้งก่อนๆ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือการอักเสบของช่องคลอด ผลการตรวจภายใน
  • ประวัติการเจ็บป่วย การรับประทานยา โรคประจำตัว หากท่านเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ ควรจะคุมอาการให้ดีก่อนการตั้งครรภ์
  • ประวัติการผ่าตัด การให้เลือด
  • ประวัติการรับประทานยาทั้งจากแพทย์สั่ง หรือยาที่ซื้อรับประทานเอง เพราะยาบางชนิดอาจจะส่งผลต่อการตั้งครรภ์
  • ประวัติโรคของครอบครัว เช่น เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ครรภ์แฝด เด็กพิการแต่กำเนิด
  • อาชีพ สภาพแวดล้อมในการทำงาน การเลี้ยงสตว์เลี้ยง เพื่อที่แพทย์จะพิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจจะมีผลต่อเด็ก
  • น้ำหนัก สำหรับท่านที่น้ำหนักเกินควรจะลดน้ำหนักให้ใกล้เคียงปกติก่อนตั้งครรภ์
  • พฤติกรรมของท่านและสามีว่ามีพฤติกรรมที่อาจจะส่งผล เสียต่อการตั้งครรภ์หรือไม่ เช่น ดื่มสุร บุหรี่ หากมีพฤติกรรมดังกล่าวควรจะงดทั้งหมด
  • การออกกำลังกาย วิธีการออกกกำลัง ความแรง ระยะเวลา เพื่อที่แพทย์จะได้แนะนำเรื่องออกกำลังกาย โดยปกติก็ไม่มีข้อห้ามในการออกกำลังกาย นอกเสียจากท่านอาจจะมีข้อห้ามแพทย์จะแนะนำให้ท่านลดการออกกำลังกาย
  • อาหาร แพทย์จะแนะนำอาหารโดยการหลีกเลี่ยงสุรา ส่วนกาแฟก็ไม่ควรจะเกินวันละสองแก้ว ชาวันละไม่เกิน3แก้ว อาหารควรจะอุดมไปด้วยแคลเซี่ยม วิตามินซี

เป็นการดีที่จะปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์โดยเฉพาะผู้ ที่มีอายุมากกว่า 30 ปีแพทย์จะแนะนำให้รับประทานกรดโฟลิกเป็นประจำและให้หยุดรับประทานยาคุม กำเนิดก่อนการตั้งครรภ์ 3 เดือนแพทย์จะแนะนำวันที่เหมาะสมจะมีเพศสัมพันธ์และมีโอกาสที่จะตั้งครรภ์สูง หญิงวัยที่พร้อมจะมีบุตรควรดูแลตัวเองให้พร้อมที่จะมีบุตรโดยเฉพาะการดูแล ก่อนการตั้งครรภ์ เนื่องจากว่าความพิการของเด็กบางครั้งอาจจะเกิดก่อนการตั้งครรภ์เนื่องจาการ ติดเชื้อ โรคของมารดา ขาดสารอาหาร และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเพื่อได้ทารกที่สมบูรณ์ควรเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์ดังนี้



Folic acid มีประโยชน์อะไร

ก่อนการตั้งครรภ์ หรือตั้งครรภ์ 3 เดือนแรกหญิงมีครรภ์ควรได้รับ folic acid เนื่องจากวิตามินนี้สามารถป้องการความทางสมองและประสาทไขสันหลังได้ (called neural tube defects {NTDs}] และยังป้องกันปากแหว่ง และเพดานโหว่ได้ แนะนำให้หญิงที่เตรียมตัวตั้งครรภ์ได้รับอาหารที่มีคุณภาพ และอุดมไปด้วย folic acid เช่น น้ำส้ม ผักใบเขียว ถั่ว ธัญพืช และควรได้รับเสริมวันละ 4 มิลิกรัมก่อนการตั้งครรภ์ 1 เดือนจน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์

ประโยชน์ของการตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์

  1. สำหรับผู้ที่เคยแท้งบุตร หรือคลอดก่อนกำหนดแพทย์จะหาสาเหตุเพื่อให้การตั้งครรภ์ครั้งต่อไปสมบูรณ์
  2. ตรวจหาโรคติดเชื้อที่สามารถจะถ่ายจากแม่ไปหาลูกเช่น
  • Rubella:(German measles) หรือหัดเยอรมันผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนและไม่เคยเป็นโรคหัดเยอรมันควรได้รับ การฉีดวัคซีนก่อนการตั้งครรภ์ สำหรับผู้ไม่แน่นใจว่าเคยเป็นโรคหัดเยอรมัน หรือเคยฉีดวัคซีนหรือไม่อาจจะแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมันและให้คุม กำเนิดหลังจากฉีด 3 เดือน
  • Hepatitis B ไวรัสตับอักเสบ บี แนะนำให้ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ทุกราย เด็กที่เกิดจากแม่ที่มีเชื้อควรได้รับการรักษาทุกราย สำหรบมารดาที่ยังไม่มีภูมิ หรือไม่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี แนะนำให้ฉีดวัคซีนก่อนการตั้งครรภ์
  • Chickenpox ไข้สุกใสผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคนี้ ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สุกใส และให้คุมกำเนิดหลังฉีด 3 เดือน
  • Toxoplasmosisเกิดจากเชื้อปาราสิตที่ปนในอาหารดิบๆ
  1. โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมเช่น
  • Thalassemia โรคที่เม็ดเลือดแดงแตกง่ายถ่ายทอดทางพันธุกรรมหากพ่อและแม่มีพันธุกรรมแฝงอยู่ลูกที่เกิดมาจะมีโอกาสเป็นโรค
  • Sickle-cell disease และTay-Sachs disease เกิดในเชื้อชาติอื่น
  1. โรคของมารดาที่มีผลต่อการตั้งครรภ์
  • โรคเบาหวาน หากไม่สามารถคุมน้ำตาลให้ดีเด็กที่เกิดมามีโอกาสจะเกิดโรคแทรกซ้อนได้
  • ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อน
  • โรคลูปัส Systemic lupus erythematosus (SLE)ผู้ป่วยที่มีโรคนี้จะมีโอกาสทีจะแท้ง หรือคลอดก่อนกำเนิดสูง ควรจะปลอดจากอาการของโรคอย่างน้อย 6 เดือนก่อนการตั้งครรภ์
  • โรคลมชัก Seizures ยาบางชนิดอาจมีผลต่อเด็กดังนั้นต้องแจ้งแพทย์เพื่อปรับยาก่อนการตั้งครรภ์
  • ผู้ป่วยที่ใช้ยาเป็นประจำ ควรแจ้งแพทย์ถึงชื่อยา และขนาดยาที่ใช้เนื่องจากยาบางชนิดมีผลต่อเด็ก

จะต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำรงชีวิตอย่างไรบ้าง

  • หยุดสุราโดยเด็ดขาดเนื่องจากสุราจะทำให้เด็กเกิดมามีความพิการได้
  • หยุดสูบบุหรี่ และยาเสพติดเนื่องจากเด็กที่เกิดมาจะพิการและมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ
  • หยุดการอาบน้ำร้อน หรือการซาวน่าในช่วงแรกการตั้งครรภ์ เนื่องจากอาจทำให้เกิดความพิการทางสมอง NTDs
  • ให้ดื่มกาแฟน้อยกว่าวันละครึ่งแก้วเนื่องจาก caffeine จะทำให้แท้งได้
  • งดการสัมผัสแมวหรือรับประทานอาหารดิบเพราะอาจจะเกิดการติดเชื้อ
  • ห้ามสวนช่องคลอดเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหา