Clock


วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เลือกเพศบุตร ด้วยวิธีธรรมชาติ

เลือกเพศบุตร ด้วยวิธีธรรมชาติ article

การ กำหนดเพศของทารกนั้น โอกาสเกิดเพศชาย หรือเพศหญิงจะเกิดจากฝ่ายชาย เนื่องจากในน้ำอสุจิของผู้ชาย จะมีตัวสเปอร์ม (Sperm) อยู่ 2 ชนิด ในการกำหนดเพศ

  1. สเปอร์ม ตัวผู้ (Sperm-y) มีขนาดตัวเล็ก หัวกลมเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว จะตายเมื่อในช่องคลอด มีสภาวะเป็นกรด แต่จะเคลื่อนไหวได้เร็ว เมื่อมีสภาพเป็นด่าง
  2. สเปอร์มตัวเมีย (Sperm-x) มีขนาดตัวอ้วนใหญ่ หัวเป็นรูปไข่ เคลื่อนไหวได้ช้าแต่จะทนต่อสภาวะเป็นกรดในช่องคลอด
โดย ปกติในการมีเพศสัมพันธ์ ฝ่ายชายจะหลั่งน้ำอสุจิซึ่งมีตัวสเปอร์มทั้ง 2 ชนิด รวมกันประมาณ 200-400 ล้านตัว ถ้าสเปอร์มตัวใดสามารถวิ่งไปถึงไข่ที่ปล่อย ออกจากรังไข่ก่อนก็จะกำหนดเพศทารกที่จะเกิดขึ้นได้ การที่จะทำให้สเปอร์มตัว ผู้(Y) หรือสเปอร์มตัวเมีย (X) วิ่งไปถึงไข่นั้นจะขึ้นอยู่กับสภาวะสิ่งแวดล้อม และจังหวะโอกาสในช่วงของการ มีเพศสัมพันธ์ สิ่งเหล่านี้สามารถกำหนดเพศทารกในครรภ์ได้มากกว่า 80%
ข้อควรปฏิบัติเพื่อเพิ่มโอกาสในการได้ทารกตามเพศที่คุณต้องการ
ทารกเพศชาย
  1. ทำ สภาวะช่องคลอดให้เป็นด่าง โดยสวนล้างช่องคลอดด้วยโซดาไบคาร์บอเนต(ผงสำหรับ ทำขนม หรือ Baking Soda) 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 1 ลิตร ควรผสมทิ้งไว้ 15 นาที ก่อนใช้
  2. ก่อนหน้าควร งด การมีเพศสัมพันธ์ ยิ่งนานยิ่งดี หรือ 1 สัปดาห์เพื่อให้สเปอร์มตัวผู้มีปริมาณมาก
  3. ขณะหลั่งฝ่ายชายควรสอดใส่อวัยวะให้อยู่ลึกที่สุด
  4. ฝ่ายหญิงถ้ามีความรู้สึกทางเพศถึงจุดสุดยอดจะยิ่งดีขึ้น เพราะสภาวะด่างบริเวณมดลูกจะได้เพิ่มขึ้น เพื่อให้สเปอร์มตัวผู้วิ่งเร็ว
  5. ควรมีเพศสัมพันธ์หลังจากวันที่ LH สูงสุด (วันไข่ตก) แล้วประมาณ 12- 24 ชั่วโมง เพื่อให้ไข่เดินทางมาใกล้ที่สุด
ทารกเพศหญิง
  1. ทำสภาวะช่องคลอดให้เป็นกรด โดยสวนล้างช่องคลอดโดยใช้น้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 1 ลิตร
  2. ไม่มีความจำเป็นต้องงดการมีเพศสัมพันธ์
  3. ขณะหลั่งไม่ควรสอดอวัยวะเพศให้ลึกเกินไป
  4. ฝ่ายหญิงไม่ควรมีความรู้สึกถึงจุดสุดยอด เพื่อไม่ให้น้ำเมือกซึ่งมีสภาวะเป็นด่างถูกขับออกมา
  5. ควร มีเพศสัมพันธ์ 1-2 วันก่อนไข่ตก (ก่อนตรวจพบ LH ซึ่งกรณีนี้ผู้ที่ตรวจเป็นประจำทุกเดือน จะสามารถคำนวณได้ใกล้เคียงกว่า คือ ตรวจบ่อยจนคาดได้ว่าปกติไข่จะตกวันที่เท่าไหร่)

สามารถตรวจสอบวันไข่ตกได้โดยใช้ ชุดทดสอบหาระยะไข่ตก หรือ กล้องตรวจน้ำลายหาวันไข่ตก

มีบุตรยาก

มีบุตรยาก คืออะไร

ภาวะมีลูกยาก (INFERTILITY)

พ.ต.ท. น.พ.เสรี ธีรพงษ์

ภาวะมีลูกยากไม่ใช่โรคแต่คู่สมรสที่มีลูกยาก มักจะมีความรู้สึกลึกๆ ว่า ตนเองบกพร่องหน้าที่ในการดำรงสายพันธุ์แห่งวงศ์ตระกูล และสืบสาน ถ่ายทอดวัฒนธรรม เอกลักษณ์ จิตวิญญาณ และมรดกของบรรพบุรุษให้คงอยู่ต่อไป

คู่รักที่แต่งงานและอยู่กินกว่า 1 ปี แล้วยังไม่มีลูก เรียกว่าเป็น "คนมีลูกยาก" เพราะจากการสำรวจวิจัย คู่สมรส 100 คู่ ที่อยู่กันครบ 1 ปี มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ จะมีลูกหรือกำลังตั้งครรภ์ถึง 90 คู่หรือ 90% เหลือเพียง 10% เท่านั้น ที่ยังไม่มีลูกคนเหล่านี้ถือว่าเป็น "คนมีลูกยาก" ประเภทเริ่มแรก (Primary infertile)

แต่ยังมีบางคนที่เคยมีลูกมาแล้ว เช่น พวกลูกโต ลูกตายหรือเป็นหม้าย แต่งงานใหม่วันดีคืนดีนึกอยากจะมีลูกและได้พยายามดูอยู่นานเกินกว่า 1 ปี ก็ยังไม่สำเร็จ คนพวกนี้ถือว่ามีลูกยากเช่นกัน แต่เป็น "คนมีลูกยากประเภทที่สอง" (Secondary infertile) เรียกง่ายๆ ว่า "ประเภทกลับใจ"

ไม่ว่าจะเป็น คนมีลูกยากตั้งแต่เริ่มแรก (Primary infertile) หรือกลับใจอยากจะมีอีกสักครั้ง (Secondary infertile) ก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ต้องหาสาเหตุให้ได้และแก้ไขรักษา ตามหลักวิชา ซึ่งปัจจุบันวิทยาการและเทคโนโลยีก้าวหน้าไปไกลมาก

การที่คนเราจะมีลูกได้นั้น สามีต้องมีเชื้ออสุจิที่แข็งแรง ภรรยาต้องมีไข่ซึ่งเกิดจากรังไข่ที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ทั้งก่อนและหลังไข่ ตก "เชื้ออสุจิ" ต้องพบกับ "ไข่" ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งโดยปกติสถานที่นัดพบครั้งแรกจะเป็น "ท่อนำไข่" ดังนั้น "ท่อนำไข่" ต้องสะดวกในการเดินทางและมีบรรยากาศที่ไม่เป็นพิษ เมื่อพบกันอสุจิต้องผสมกับไข่ ให้ได้ เพราะทั้งสองมีอายุการใช้งานที่สั้นเพียง 24-48 ชั่วโมงเท่านั้น การผสม (Fertilization) ต้องพอเหมาะพอดี เร็วเกินไปหรือช้าเกินไปจะได้ "ตัวอ่อน" ที่ไม่ดี

ตัวอ่อนที่ได้จากการผสมจะเดินทางในท่อนำไข่เข้าหา โพรงมดลูกซึ่งในระหว่างทางจะแบ่งตัวและเติบโตแต่ห้ามมีอะไรมาขัดขวาง มิฉะนั้น "ตัวอ่อน" จะตายหรือหยุดลงฝังตัวตรงนั้น "ตัวอ่อน" เดินทางในท่อนำไข่ 5-7 วัน ก็ถึงโพรงมดลูกสักระยะหนึ่ง และฝังตัวในราววันที่ 7-9 นับแต่วันที่ปฏิสนธิ มดลูกของสตรีจึงมีคุณค่าในการรักษาชีวิต "ตัวอ่อน" ต่อแต่นี้ไป หากมดลูกไม่ดี เช่นมีเนื้องอกหรือเยื่อโพรงมดลูกบางเกินไป "ตัวอ่อน" อาจฝังตัวไม่ได้ และตายไปสตรีผู้นั้นก็จะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้

ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า คนเราจะเกิดมาได้ ต้องมีองค์ประกอบสมบูรณ์ดี อย่างน้อย 5 ประการ

  • ฝ่ายชายต้องมี "เชื้ออสุจิ" จำนวนมากพอสมควร แข็งแรงและเคลื่อนไหวได้ดี
  • ฝ่ายหญิงต้องมี "ไข่" ที่สมบูรณ์ดีและมีการตกไข่ที่สม่ำเสมอ
  • มูกปากมดลูก ต้องมีคุณภาพดีปริมาณพอเหมาะ และเป็นมิตรคอยช่วยเหลือการเดินทางของ "อสุจิ" จนถึงจุดหมายปลายทาง
  • เส้นทาง ตั้งแต่ปากมดลูก, โพรงมดลูกและท่อนำไข่ ต้องดี สะดวกไม่มีอุปสรรคขัดขวางทั้งขาไปและขากลับ
  • มดลูกต้องดี ไม่มีเนื้องอก เยื่อบุโพรงมดลูกต้องหนาพอที่จะรองรับการฝังตัวและเจริญเติบโตของ "ตัวอ่อน" อย่างไม่มีปัญหา จนถึงกำหนดคลอดออกมา


การตรวจหาสาเหตุ ไม่ใช่เป็นเรื่องสลับซับซ้อน แต่ที่เป็นปัญหาค่อนข้างมาก คือ สามีไม่ค่อยให้ความร่วมมือ และบางทียังต่อต้านด้วย ทั้งๆ ที่ตัวเองแทบจะไม่ต้องเจ็บตัวเลย ซึ่งต่างจากภรรยาที่จะกระตือรือร้นดั้นด้นเดินทางมารักษา อดทนต่อความเจ็บปวดต่างๆ นานา เพื่อให้ครอบครัวได้ "สิ่งที่มีคุณค่าสูงสุด" อันจะนำมาซึ่ง "ความสุขในครอบครัว" อย่างสมบูรณ์

สาเหตุจากฝ่ายชายเท่าที่มีรายงานจะพบประมาณ 20-30% ฝ่ายหญิงพบประมาณ 40-50 ในกลุ่มที่มีสาเหตุจากทั้งสองฝ่าย และกลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุ พบพอๆ กัน คือประมาณ 10-20% สมัย ก่อน เมื่อพบว่า สาเหตุมาจากฝ่ายชาย หมอผู้รักษาจะปวดเศียรเวียนเกล้า เพราะไม่ว่าจะใช้วิธีการใดผลสำเร็จจะน้อยมาก ไม่คุ้มค่ากับเวลาและภาษาบ่น จากคนไข้

แต่หลังจากปี ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535) เป็นต้นมา หมอผู้รักษาสามารถคุยโตโอ้อวดได้ว่า ปัญหาจากฝ่ายชาย แก้ได้เกือบทุกกรณี แม้แต่ไม่มี "ตัวอสุจิ" ในน้ำเชื้อ และผลสำเร็จค่อนข้างสูงด้วย เนื่องจากมีการค้นพบเทคโนโลยีที่เรียกว่า "อิ๊กซี่" (เจาะ "ไข่" ใส่ "ตัวอสุจิ" เข้าไปหนึ่งตัว)

การประเมินสภาพของ "คนมีลูกยาก" (Infertility evaluation)

เราลองมาสำรวจกันทีละฝ่ายเลยนะครับ เริ่มจากฝ่ายว่าที่คุณพ่อก่อน


ปัจจัยจากฝ่ายชาย (Malefactors)

ทราบได้ง่าย โดยการตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา หรืออาศัยคอมพิวเตอร์ช่วยตรวจหา กรณีที่ผลออกมาผิดปกติ กรรมวิธีการรักษาจะข้ามขั้นตอนไปทำ "อิ๊กซี่" หรือ "เด็กหลอดแก้ว" เลย จึงไม่เป็นปัญหาอีกแล้ว

กรณีที่ผลออกมาปกติต่างหากที่อาจต้องทดสอบต่อไป ถ้าอยากรู้สาเหตุว่า ทำไมไม่ท้องเสียที วิธีการทดสอบคุณสมบัติของ "ตัวอสุจิ" ที่ทำกันได้แก่

1. การทดสอบหลังมีเพศสัมพันธ์ (Postcoital test) เป็นการตรวจดูความสามารถของ "ตัวอสุจิ" ในสิ่งแวดล้อมใหม่ (มูกปากมดลูก) ว่าจะอยู่รอดและเคลื่อนไหวได้หรือไม่ ปกติ มูกปากมดลูก จะทำหน้าที่เป็นมิตรคอยปกป้อง"ตัวอสุจิ" จากสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายภายในช่องคลอด และเป็นสะพานช่วยให้ "อสุจิ" เคลื่อนไหวไปยังท่อนำไข่ได้เร็วขึ้น ขณะเดียวกันยังเป็นตะแกรงคอยกรอง "ตัวอสุจิ" ที่ผิดปกติอีกด้วย

แต่ในบางกรณี มูกปากมดลูก ทำหน้าที่เป็นศัตรูของ "อสุจิ" เสียเอง ทำให้ "อสุจิ" ที่สัมผัสถูก เคลื่อนไหวไม่ได้หรือตายหมด การทดสอบนี้พอจะบอกได้ว่า ปัญหาอยู่ที่ปากมดลูก (Cervical factor)

วิธีการ คือ ตรวจมูกบริเวณปากมดลูกในช่วงระยะเวลา 2-12 ชั่วโมง ภายหลังมีเพศสัมพันธ์กลางรอบเดือน (Midcycle) เพื่อตรวจดูจำนวนและการเคลื่อนไหวของ "ตัวอสุจิ"

ผลที่น่าพอใจ คือ มีจำนวน "ตัวอสุจิ" มากกว่า 10 ตัวต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่กำลังขยายสูง (High power field) ที่เคลื่อนไหวไปข้างหน้าได้รวดเร็ว

ผลอันไม่เป็นที่พอใจคือ ไม่เห็น "ตัวอสุจิ" เลย หรือพบจำนวนน้อยมากๆ "อสุจิ" ส่วนใหญ่ไม่เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวแบบ "ชักกระตุก"

เมื่อผลที่ปรากฏออกมาว่า "พอใจ" ก็ไม่ต้องทำอะไร กรรมวิธีรักษาธรรมดาน่าจะให้ผลดี แต่ถ้าผลออกมาว่า "ไม่น่าพอใจ" แสดงว่าปัญหาอยู่ที่ มูกปากมดลูก ต้องแก้ไขหรือข้ามขั้นตอนไปใช้วิธีการที่ไม่ต้องอาศัยมูกบริเวณปากมดลูก


2. การทดสอบคุณสมบัติ "ตัวอสุจิ" อื่น ๆ เช่น การตรวจหาภูมิต้านทาน (Sperm antibodies) หรือ ความสามารถในการปฏิสนธิ (Fertilization capacity) ของ "ตัวอสุจิ"ค่อนข้างยุ่งยาก จะไม่นำมากล่าวในที่นี้


แนวทางการรักษาปัญหาจากฝ่ายชาย

การรักษาทางยาหรือผ่าตัดมักไม่ค่อยได้ผล แต่ในสถานที่ที่ไม่มีเครื่องมือเทคโนโลยีก้าวหน้า ก็ต้องรักษาโรคที่อาจเป็นสาเหตุให้ "เชื้ออ่อน" ไปก่อน เช่น โรคธัยรอยด์ ภาวะฮอร์โมนโปรแลคตินสูงในกระแสเลือด รวมทั้งการผ่าตัดเส้นเลือดขอดบริเวณอัณฑะ หรือตัดต่อท่อนำน้ำเชื้ออสุจิเพื่อแก้หมัน

คุณผู้ชายทั้งหลายก็ลองสำรวจตัวเองดูว่า บกพร่องมาจากพฤติกรรมของตัวคุณหรือเปล่า แต่ถ้าจนแล้วจนรอดก็ยังไม่เสร็จสมอารมณ์หมายมีอุแว้ อุแว้ ไว้เชยชมสักที ก็ต้องปรึกษาแพทย์กันล่ะ จะได้ตรวจวิเคราะห์กันอย่างละเอียดต่อไป

คราวนี้ลองมาดูปัจจัยจากฝ่ายหญิงกันบ้าง

ปัจจัยจากฝ่ายหญิง (Female Factors)

1. ปากมดลูก (Cervical Factors)

การเดินทางของ "ตัวอสุจิ" จากปากมดลูกเพื่อไปปฏิสนธิกับ "ไข่" ที่ปีกมดลูกต้องอาศัยมูกปากมดลูกเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะฉะนั้น ปากมดลูกอาจเป็นปัญหาขัดขวางการเดินทางของเชื้ออสุจิได้ หากมีการติดเชื้อเรื้อรังได้รับการผ่าตัดหรือจี้ทำลายด้วยไฟฟ้าและมูกปากมด ลุกมีภูมิต้านทานต่อ "อสุจิ" เป็นต้น

การทดสอบส่วนใหญ่เป็นการตรวจคุณสมบัติของมูกปาก มดลูก เช่น ตรวจความเป็นกรด-ด่าง (ปกติ pH = 8) , การทดสอบหลังมีเพศสัมพันธ์ (Postcoital Test), ตรวจการตกผลึกเป็นรูปเฟิร์นและการยืดตัวในช่วงไข่ตก (Crystallization & Spinnbakeit) และการเพราะเชื้อ เป็นต้น


แนวทางการรักษา

  • ให้ฮอร์โมนโตรเจนต่ำ ๆ ทำให้มูกปากมดลูกใสมากขึ้น
  • รับประทานยาฆ่าเชื้อลดการอักเสบบริเวณปากมดลูก
  • ฉีดเชื้อเข้าโพรงมดลูก ทำ "กิ๊ฟ" และ "เด็กหลอดแก้ว" เพื่อหลีเลี่ยงไม่ต้องสัมผัส ผ่าน หรืออาศัยมูกปากมดลูก


2. มดลูก (Uterine Factor)

มีหน้าที่รองรับ "ตัวอ่อน" จากปีกมดลูกมาเจริญเติบโตและฝังตัว ขณะเดียวกันยังปกป้องอันตรายจากสิ่งแวดล้อมภายนอกด้วย

ประเมินสภาพของมดลูก โดยการฉีดเข้าโพรงมดลูก (Hysterosalpingography), การส่องกล้องเข้าไปดูภายในโพรงมดลูก (Hysteroscope), การเจาะท้องส่องกล้องดูพยาธิสภาพในอุ้งเชิงกราน (Laparoscope) และการขูดมดลูก เพื่อตรวจสอบการตกไข่และการทำงานของรังไข่ เป็นต้น


แนวทางการรักษา

ส่วนใหญ่เป็นการผ่าตัด ซึ่งจะทำในกรณีมีเนื้องอก (Myomectomy) มดลูกมีรูปร่างผิดปกติมาแต่กำเนิด (Metroplasty) หรือมีพังผืดในโพรงมดลูก (Removal of Intrauterine Synechiae)

ส่วนการรักษาทางยา มักใช้กรณีติดเชื้อภายในโพรงมดลูก (Endometritis) หรือให้ในรูปฮอร์โมนเพื่อฟื้นฟูเยื่อบุโพรงมดลูก หลังจากกำจัดพังผืดภายในมดลูกออกไปแล้ว

3. ปีกมดลูก หรือท่อน้ำไข่ (Tubal Factor)


ทำหน้าที่เป็น ทางเดินของเซลล์สืบพันธุ์ (ไข่ และอสุจิ) เป็นจุดกำเนิดแห่งแรกของมนุษย์และฟูมฟัก "ตัวอ่อน" ก่อนล่องลอยเข้าสู่โพรงมดลูก เพราะฉะนั้นปีกมดลูกจึงมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะต้องมีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกตลอดสาย ระหว่างปลายทางทั้งสองข้าง (Fimbria and Ostia)

การตรวจสอบสภาพของปีกมดลูกส่วนใหญ่วิธีการทดสอบจะ เน้นว่า มีการอุดตันหรือไม่ (Obstruction or Patency) แต่อาจบอกได้ถึงเนื้องอกในโพรงมดลูก (Polyp or Submucous Myoma), ตำแหน่งการวางตัว (Location) และหน้าที่การทำงาน (Function) ของปีกมดลูกอีกด้วย


วิธีการตรวจสอบปีกมดลูก ประกอบด้วย

การฉีดสีเข้าโพรงมดลูกและเอกซเรย์ (Hysterosalpingography), การเจาะท้องส่องกล้อง (Laparoscope) ร่วมกับการฉีดสี Methylene Blue เข้าทางปากมดลูก, การฉีดลมผ่านเข้าโพรงมดลูกและให้ผ่านออกทางปีกมดลูก (Tubal Insufflation) และการฉีดของเหลวทางปากมดลูกพร้อมกับตรวจอัลตราซาวน์ทางช่องคลอด ดูการผ่านของของเหลวในปีกมดลูกเข้าไปสะสมที่อุ้งเชิงกรานส่วนต่ำสุด (Hysterosalpingo-Contrast-Sonography)

แนวทางการรักษา

ผ่าตัด ตกแต่งต่อท่อนำไข่ กรณีตีบตันหรือแก้หมันเลาะพังผืดรอบๆ ท่อนำไข่และทำ "เด็กหลอดแก้ว" หยอดทางปากมดลูกกรณีท่อนำไข่อุดตันทั้งสองข้าง

4. รังไข่ (Ovarian Factor)

มีหน้าที่ผลิต "ไข่" และสร้างฮอร์โมนซึ่งมีอิทธิพลต่อโครงสร้างและการทำงานของวัยวะสืบพันธุ์สตรี

การประเมินสภาพของ "รังไข่" โดยการเจาะเลือดตรวจฮอร์โมน (FSH, LH, Estradiol, Progesterone) และติดตามดูอัลตราซาวนด์ทางช่องคลอดเป็นระยะๆ เพื่อให้ทราบว่า มีการตกไข่ (Ovulation) หรือไม่ การทำงานของรังไข่ก่อนและหลังไข่ตกเป็นอย่างไร


นอกจากนี้ยังมีการตรวจโดยอ้อมอื่นๆ อีก เช่น การวัดอุณหภูมิกายพื้นฐาน (Basal Body Temperature), การขูดเอาเยื่อบุโพรงมดลูกมาตรวจ เพื่อดูการทำงานของรังไข่ภายหลังไข่ตก (Endometrial Biopsy) เป็นต้น

แนวทางการรักษา

กรณีไข่ไม่ตก (Anvulation) ต้องหาสาเหตุให้ได้ เช่น เป็นโรคต่อมธัยรอยด์, โรคพี.ซี.โอ.ดี. (PCOD), เครียดจัด เป็นต้น แก้ไขสาเหตุดังกล่าวแล้วจึงมาทำการกระตุ้นไข่ (Ovulation Induction) ร่วมกับการฉีดเชื้อ (IUI), ทำ "กิ๊ฟ" (GIFT), ทำ "เด็กหลอดแก้ว" (ZIFT) หรือ "อิ๊กซี่" (ICSI) เป็นกรณี ๆ ตามความเหมาะสม

กรณีรังไข่เป็นเนื้องอกหรือถุงน้ำขนาดใหญ่ก็จำเป็นต้องทำการผ่าตัดรักษา (Cystectomy & Oophorectomy)

กรณีรังไข่ไม่ทำงาน (Ovarian Failure) หากยังต้องการมีลูก คงต้องใช้วิธี "อุ้มบุญ" เอา "ไข่" ของคนอื่นมาแทน (Ovum Donation)

5. เพศสัมพันธ์ (Coital Factor)


เป็นปัญหาสำคัญที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยกล้า เปิดเผยอาจเนื่องด้วยวัฒนธรรม ประเพณี ทัศนคติ ที่ถ่ายทอดต่อๆ กันมา รวมทั้งเวลาที่มีให้กันและกันก็เหลือน้อยลงทุกที

แนวทางแก้ไข

ทำจิตบำบัด (Psychotherapy) ปรับเปลี่ยนทัศนคติและปรึกษาผู้รู้ในเรื่องเพศศึกษา (Sexual Therapy) บางทีอาจต้องใช้วิธีฉีดนำเชื้อสามีที่คัดแล้วเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรงไปเลย (Intrauterine Insemination)

ภาวะมีลูกยากที่หาสาเหตุไม่พบ (Unexplained Infertility)

หมายความว่า คู่สามีภรรยาที่มีลูกยากนั้น ได้ทดสอบทุกวิธีกระบวนการหาสาเหตุเท่าที่จะทำได้แล้วไม่พบความผิดปกติทั้ง สองฝ่าย แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีสาเหตุจริงๆ บางทีต่อไปเมื่อมีเครื่องมือทดสอบที่ดีขึ้น ก็มีโอกาสค้นหาสาเหตุได้ 10 ปีผ่านมา อุบัติการนี้จะพบประมาณ 10-20% ปัจจุบันในบางสถาบันอุบัติการได้ลดลงเหลือเพียง 0-5% เท่านั้น เพราะมีเครื่องมือทันสมัย


เทคโนโลยีการช่วยเหลือและรักษาภาวะมีลูกยากเท่าที่มีในปัจจุบัน

  1. การฉีดเชื้อเข้าโพรงมดลูก (Intrauterine Insemination ชื่อย่อ "IUI") มีอัตราการตั้งครรภ์ประมาณ 15-20% ต่อรอบเดือน
  2. การทำ "กิ๊ฟ" ("GIFT" ย่อมาจาก Gamete Intrafollopian Transfer) มีอัตราการตั้งครรภ์ประมาณ 30-40%
  3. การทำ "เด็กหลอดแก้ว" วิธีมาตรฐานและหยอด "ตัวอ่อน" ทางช่องคลอด ("IVF-ET" In Vitro Fertilization Embryo Transfer) มีอัตราการตั้งครรภ์ประมาณ 20%
  4. การทำ "เด็กหลอดแก้ว" แล้วหยอด "ตัวอ่อน" ทางปีกมดลูก ("ZIFT" ย่อมาจาก Zygote Intrafollopian Transfer) มีอัตราการตั้งครรภ์ 30-40%
  5. การเจาะ "ไข่" ใส่ "ตัวอสุจิ" เข้าไปหนึ่งตัว (Micromanipulation)
  • PZD (Partial Zona Dissection) ปัจจุบันนี้ไม่นิยมทำอีกต่อไป
  • SUZI (Subzonal Sperm Injection) ปัจจุบันนี้ไม่นิยมทำอีกต่อไปแล้ว
  • "อิ๊กซี่" ("ICSI" ย่อมาจาก Intracytoplasmic Sperm Injection)

6. การแช่แข็ง (Cryopreservation) ปัจจุบันยังทำได้เฉพาะ "ตัวอสุจิ" และ "ตัวอ่อน"

7. การใช้ "ไข่" บริจาค หรือ "อุ้มบุญ" (Ovum Donation)

8. การสกัด "ตัวอสุจิ" ออกมาจากอัณฑะในกรณีไม่มี "ตัวอสุจิ" ในน้ำเชื้อ

  • "มีซ่า" ("MESA" ย่อมาจาก Microscopic Epididymal Sperm Aspiration) สกัดจากท่อนำน้ำเชื้อส่วน Epididymis
  • "เทเซ่" ("TESE" ย่อมาจาก Testicular Sperm Extraction) สกัดจากเนื้อัณฑะโดยตรง

ความสำเร็จของการรักษาภาวะนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของหมอ มาตรฐานของสถาบันและตัวคนไข้เอง


จากการวิจัยถึงผลการรักษาภาวะมีลูกยาก เมื่อครบกำหนดเวลา 1 ปี จะมีโอกาสตั้งครรภ์แตกต่างกันตามเหตุปัจจัย ดังนี้

  • กรณีที่มีสาเหตุมาจาก "ไข่" ไม่ตกหรือตกไม่สม่ำเสมอ (Anovulation) มีโอกาสตั้งครรภ์สูงมากคือ ประมาณ 80-90%
  • กรณีที่หาสาเหตุไม่พบ (Unexplained Infertile) มีโอกาสตั้งครรภ์สูงพอสมควรประมาณ 70%
  • กรณี "เชื้ออสุจิ" ที่มีจำนวนปกติแต่คุณสมบัติบางอย่างบกพร่อง (Sperm Disorders with Normal Counts) จะมีโอกาสตั้งครรภ์ 30-40%
  • กรณีที่ "ท่อนำไข่" มีปัญหา (Tubal Damage) มีโอกาสสำเร็จ 20%
  • อีกกรณีหนึ่งซึ่งเป็นปัญหาและประสบความสำเร็จ ร้อยมาแต่เดิมคือ "เชื้ออสุจิ" มีจำนวนน้อยมากกว่าปกติ (Sperm Disorders with Low Counts) จะมีโอกาสตั้งครรภ์เพียง 10% เท่านั้น

ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นผลการดำเนินงานในสถาบันที่ไม่มีการทำ "อิ๊กซี่" แต่หลังจากปี ค.ศ. 1992 ( พ.ศ. 2535) ที่มีการค้นพบเทคโนโลยี "อิ๊กซี่" แล้วทำให้ปัญหาเรื่องมีลูกยากอันเนื่องมาจาก "เชื้ออสุจิ" ผิดปกติหมดไป โดยมีอัตราการตั้งครรภ์สำเร็จในกรณี "เชื้ออ่อน" สูงถึง 30-40% เพิ่มจากเดิม 3-4 เท่า

ภาวะมีลูกยากไม่ใช่โรคจึงควรให้ "เวลา" กับหมอผู้รักษาเพื่อค้นหาสาเหตุ จะได้แก้ไขถูกจุด กรณีที่ไม่พบสาเหตุ (Unexplained) ก็ไม่ใช่ว่าจะรักษาไม่ได้ ผลสำเร็จอาจจะดีกว่าบางสาเหตุที่หาพบเสียอีก

สิ่งสำคัญสำหรับคู่สมรสมีลูกยากก็คือ ควรรักษาแต่ในสถาบันที่มีมาตรฐาน มีเครื่องมือเทคโนโลยีและวิทยาการก้าวหน้าทันสมัย สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ ตัวคนไข้เองต้องให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและต้องมีสภาพร่างกาย อันหมายถึงเซลล์สืบพันธุ์ในขอบข่ายที่การแพทย์สมัยใหม่ช่วยเหลือได้

ลูก คือ สิ่งที่มีค่าสูงสุดสำหรับทุกครอบครัว อย่าปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปในขณะที่ยังมีความหวัง จงขวนขวายไขว่คว้าหาสิ่งมีค่านี้มาให้ได้นะครับ เพราะไม่มีใครรู้ว่าเราจะจากโลกนี้ไปเมื่อไร และใครจะมาเป็นผู้สืบสานถ่ายทอดความคิด และความดีของเราให้คงอยู่ต่อไปได้ถ้าไม่ใช่ลูกของเราจริงมั้ยครับ

[ ที่มา...นิตยสารแม่และเด็ก ปีที่ 22 ฉบับที่ 326-327 เมษายน-พฤษภาคม 2542 ]

จาก www.clinicrak.com

ประจำเดือนผิดปกติ

ประจำเดือนผิดปกติ


ภาวะ ประจำเดือนผิดปกติมักเกิด 3 ลักษณะด้วยกันคือ อาการปวดประจำเดือนคล้ายเป็นตะคริว (dysmenorrhoea) มีเลือดประจำเดือนมากหรือมีประจำเดือนนานกว่าปกติ (menorrhagia) และไม่มีประจำเดือน (amenorrhoea) โดยทั่วไปภาวะเหล่านี้เกิดกับผู้หญิงที่ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง เช่น เมื่อเข้าสู่วัยสาว หรือช่วงไม่กี่ปีก่อนหมดประจำเดือน แต่ภาวะดังกล่าวอาจเกิดขึ้นในเวลาใดก็ได้ระหว่างวัยเจริญพันธุ์

ควรทำอย่างไร

  • อาบน้ำร้อนหรือใช้แผ่นความร้อน/กระเป๋าน้ำร้อนประคบท้องเพื่อให้มดลูกผ่อนคลาย และบรรเทาอาการปวดประจำเดือน
  • ออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายหลั่งสารเอนดอร์ฟิน (endorphin) สารแก้ความปวดตามธรรมชาติ


สารเสริมอาหารช่วยได้

  • กรดไขมันโอเมกา-3 ใน น้ำมันปลา หรือน้ำมันปอ จะยับยั้งการหลั่งพรอสตาแกลนดิน
  • สมุนไพรเชสต์เบอร์รี บรรเทาอาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือน โดยปรับสมดุลฮอร์โมน
  • ตังกุย ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเช่นกัน แต่ไม่ควรกินหากมีประจำเดือนมาก

อะไรคือสาเหตุ

อาการปวดท้องเกิดจากพรอสตาแกลนดิน (prostaglandin) สารคล้ายฮอร์โมนที่เยื่อบุมดลูกหลั่งออกมาระหว่างมีประจำเดือน คนที่ประจำเดือนมากจนต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกชั่วโมงหรือบ่อยกว่านั้น หรือมีประจำเดือนนานกว่า 7 วัน จัดว่าเป็นภาวะมีประจำเดือนมาก แม้สาเหตุใหญ่คือฮอร์โมนหรือโภชนาการไม่สมดุล แต่อาจเกิดจากเนื้องอกมดลูก (fibroid) ก็ได้ นอกจากนี้ยังอาจมีสาเหตุจากหลอดเลือดในมดลูกที่มีแนวโน้มเปราะบางและแตกง่าย ส่วนภาวะขาดประจำเดือน อาจเกิดจากการออกกำลังหรือควบคุมอาหารอย่างสุดโต่ง

ถ้าไม่มีประจำเดือน

กรณีไม่มีประจำเดือน ต้องตรวจให้แน่ใจก่อนว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ จากนั้นลองกินเชสต์เบอร์รีและตังกุย คู่กับวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ เพื่อปรับรอบเดือนให้เป็นปกติ สมุนไพรอาจปรับสมดุลของฮอร์โมน และทำให้ประจำเดือนมาตามปกติ แต่อาจต้องรักษานานถึง 6 เดือน จึงจะเริ่มเห็นผล

ที่มา http://www.readersdigest.co.th/rd/rdhtml/th/communities/food_recipe.jsp?mccid=512&cid=2122

ทดสอบเพศทารกในครรภ์ ด้วยตัวเอง

วิธีใช้ชุดทดสอบเพศทารกในครรภ์

คำเตือน

  • ควรงดมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 48 ช.ม. ก่อนทำการทดสอบ
  • ควรหยุดการรับประทานฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนอย่างน้อย 10 วัน ก่อนการทดสอบ
  • ไม่ควรใช้สำหรับผู้ที่เป็น Polycystic Ovarian Syndorme

วิธีทดสอบ

1. ใช้ถ้วยที่ให้มาในกล่อง เก็บปัสสาวะครั้งแรกทันทีที่ตื่นนอนตอนเช้า (ถ้าไม่ใช่ปัสสาวะแรก อาจให้ผลคลาดเคลื่อน)

2. เปิดฝาสีขาวของชุดทดสอบออก แล้วลอกสติกเกอร์ตรงกลางออกจะเห็นรูตรงกลาง (เก็บสติกเกอร์ไว้เพื่อปิดกลับคืนภายหลัง)

3. ใช้หลอดไซรินจ์ที่ให้มา ดูดปัสสาวะขึ้นมาปริมาตร 20 ml

4. นำปัสสาวะนั้นใส่ลงไปในชุดทดสอบ ปิดสติกเกอร์เข้าที่เดิม แล้วปิดฝาสีขาว

5. ยกชุดทดสอบขึ้นมาแกว่งเป็นวงกลมประมาณ 10 วินาที (ห้ามเขย่า) แล้ววางลงบนกระดาษหรือพื้นสีขาว

6. ทิ้งไว้ 10 นาทีแล้วจึงดูผล (หลังจาก 10 นาทีไปแล้ว ผลที่ได้อาจเปลี่ยนแปลงและไม่ถูกต้อง)

ถ้าเป็นสีเขียว หรือเขียวเข้ม แสดงว่าเป็นผู้ชาย

ถ้าสีไม่เปลี่ยนหรือเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือส้ม แสดงว่าเป็นผู้หญิง


การสอบการตกไข่ ด้วยตัวเอง

ชุดทดสอบหาระยะการตกไข่อย่างง่ายด้วยตัวเอง

วัตถุประสงค์

เพื่อช่วยให้คุณสามารถตรวจสอบหาช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ โดยตรวจสอบจากฮอร์โมนลูติไนซิ่ง (Luteinizing Hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะพบในปัสสาวะในช่วงระยะที่จะมีการตกไข่ของสตรี

เมื่อตรวจพบฮอร์โมนนี้ การตกไข่จะเกิดภายในเวลา 12-48 ชั่วโมง ดัง นั้นการมีเพศสัมพันธ์ภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากตรวจพบ LH นี้ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้มากขึ้น และยังช่วยในการเลือกเพศบุตรด้วยวิธีธรรมชาติได้อีกด้วย

ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการทดสอบ

รอบประจำเดือน

วันที่เริ่มตรวจ LH

21 วัน

วันที่ 5

22 วัน

วันที่ 6

23 วัน

วันที่ 7

24 วัน

วันที่ 8

25 วัน

วันที่ 9

26 วัน

วันที่ 10

27 วัน

วันที่ 11

28 วัน

วันที่ 12

29 วัน

วันที่ 13

30 วัน

วันที่ 14

31 วัน

วันที่ 15

32 วัน

วันที่ 16

33 วัน

วันที่ 17

34 วัน

วันที่ 18

35 วัน

วันที่ 19

36 วัน

วันที่ 20

37 วัน

วันที่ 21

38 วัน

วันที่ 22

คำนวณหาระยะของรอบประจำเดือนปกติ โดยเริ่มนับตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือนวันแรกจนถึงวันสุดท้ายก่อนเริ่มมีประจำเดือนของเดือนถัดไป วันที่จะเริ่มตรวจสอบระยะตกไข่ดูได้จากตาราง

ถ้ารอบของประจำเดือนสั้นกว่าหรือนานกว่า 38 วัน ควรปรึกษาแพทย์ หรือหากไม่แน่ใจรอบของประจำเดือนอาจเริ่มตรวจตั้งแต่วันที่ 10 หลังจากมีประจำเดิอนวันแรก และตรวจสอบติดต่อกัน 10 วัน หรือจนกระทั่งตรวจพบฮอร์โมน LH

การเก็บตัวอย่างปัสสาวะสำหรับทดสอบ

  1. ไม่ควรทดสอบจากปัสสาวะในช่วงแรกของวัน เพราะฮอร์โมน LH จะถูกสร้างในช่วงเช้าและจะพบปริมาณน้อยในปัสสาวะช่วงเช้า
  2. ช่วงเวลาที่เหมาะสมการเก็บปัสสาวะคือ 10 โมงเช้า 2 ทุ่ม (เวลาที่ดีที่สุดคือ บ่าย 2 โมง)
  3. ควรเก็บตัวอย่างปัสสาวะในช่วงระยะเวลาเดียวกันของทุกวัน
  4. ควรลดการดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มให้น้อยลง 2 ชั่วโมงก่อนการทำการตรวจหาฮอร์โมน เนื่องจากปริมาณน้ำและเครื่องดื่มอาจทำให้ฮอร์โมน LH เจือจางและไม่สามารถตรวจพบได้

วิธีการทดสอบ

  1. นำชุดทดสอบออกจากซอง โดยตรวจสอบดูว่าซองไม่มีการฉีกขาด
  2. จุ่มแถบทดสอบลงในถ้วยปัสสาวะ โดยใช้ด้านหัวลูกศรจุ่มลง แต่ไม่เกินระดับที่กำหนด
  3. จุ่มไว้ประมาณ 5 วินาที นำแถบทดสอบวางในแนวระนาบที่แห้งและสะอาดหรือบนปากถ้วย
  4. รอประมาณ 5 นาที แล้วอ่านผล

1.นำชุดทดสอบออกจากซอง โดยตรวจสอบดูว่าซองไม่มีการฉีกขาด

2.วางตลับทดสอบบนพื้นราบ แล้วใช้หลอดดูดปัสสาวะจากถ้วยเก็บ หยดปัสสาวะลงในหลุมประมาณ 4 หยด

3.รอประมาณ 5 นาที แล้วอ่านผล

1. นำชุดทดสอบออกจากซอง โดยตรวจสอบดูว่าซองไม่มีการฉีกขาด
2. ถอดฝาครอบออกจากแท่งทดสอบ ปัสสาวะผ่านตรงส่วนปลาย ประมาณ 7-10 วินาที (ระวังอย่าให้โดนช่องแสดงผล)
3. รอประมาณ 5 นาที แล้วอ่านผล

การอ่านผล

ปรากฏเพียงแถบสีเดียวบริเวณแถบควบคุม C หรือ ปรากฏแถบสีที่แถบทดสอบ T แต่สีจางกว่าที่แถบ C แสดงว่าฮอร์โมน LH อยู่ในระดับปกติ (ยังไม่มีการตกไข่)

ปรากฏแถบสีที่ชัดเจนบริเวณแถบควบคุม C และ แถบทดสอบ T แสดงว่าฮอร์โมน LH อยู่ระดับที่กำลังเพิ่มขึ้น จะมีการตกไข่ภายใน 12-48 ชั่วโมง เพื่อวางแผนการตั้งครรภ์ ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการมีเพศสัมพันธ์ คือหลังจากตรวจพบ 24 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 48 ชั่วโมง

**หากไม่ปรากฏแถบสีใดเลยบนแถบทดสอบ ให้ทำการทดสอบใหม่

การเก็บรักษา

  • ควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส (86 องศาฟาเรนไฮน์)
  • ควรเก็บให้พ้นแสงแดด

ข้อควรระวัง

1. ใช้สำหรับทดสอบภาวะนอกร่างกาย

2. ควรใช้ทันทีที่ฉีกซองออก

3. ชุดทดสอบนี้สามารถใช้ได้ครั้งเดียว ใช้ซ้ำไม่ได้

ตรวจร่างกายก่อนคลอด

การ ตรวจร่างกายก่อนคลอดสามารถป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ล่วงหน้า ดังนั้น การตรวจร่างกายก่อนคลอดในแต่ละวิธีจะมีประโยชน์มากสำหรับคุณและลูกน้อยของ คุณ

ควร จะทำการตรวจร่างกายในผู้หญิงตั้งครรภ์ทุกคน สำหรับการตรวจวิเคราะห์เฉพาะบางอย่างจะกระทำเมื่อ พบว่าพ่อหรือแม่มีภาวะเสี่ยงทางการแพทย์ การตรวจวินิจฉัยนั้นจะสามารถช่วยลดโอกาสเสี่ยงและช่วยในการเตรียมพร้อมร่าง กายของคุณก่อนคลอดลูกน้อย

คุณควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับการตรวจร่างกายก่อนคลอดที่เหมาะสมสำหรับตัวคุณและลูกน้อยของคุณมากที่สุด

การตรวจต่อไปนี้เป็นวิธีการตรวจพื้นฐาน คุณสามารถปรึกษาแพทย์ของคุณในรายการตรวจที่คุณอาจสงสัย หรือต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม...



การตรวจเลือด

ใครคือผู้ควรได้รับการตรวจ: ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ทุกคน

เมื่อใดที่ควรจะตรวจเลือด: ควรเริ่มตรวจตั้งแต่ก่อนคลอด

ตรวจอย่างไร: เจาะเลือดที่แขนแล้วนำไปตรวจสอบที่ห้องปฏิบัติการ

การตรวจนี้ตรวจอะไรบ้าง :

1. ตรวจกลุ่มเลือดและกลุ่มเลือด Rh

ทำไมต้องตรวจ:

ถ้า ทารกในครรภ์มีกลุ่มเลือด Rh (เลือดกรุ๊ปพิเศษ) และร่างกายของคุณไม่มี Rh (Rh ลบ) ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คือ ร่างกายของคุณอาจจะต่อต้านทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตาม หากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทราบสถานการณ์นี้ คุณจะได้รับการดูแลอย่างพิเศษในระหว่างตั้งครรภ์

2. ตรวจเม็ดเลือดและระดับเม็ดเลือดแดง

ทำไมต้องตรวจ:

ระดับ ของเม็ดเลือดแดง สามารถช่วยตรวจหาโรคโลหิตจางซึ่งอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ สาเหตุมาจากขาดธาตุเหล็ก อาการโลหิตจางจะทำให้คุณมีอาการตกเลือดระหว่างคลอดและเพิ่มความเสี่ยงจากการ ติดเชื้อ โรคโลหิตจางจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการที่ทารกมีน้ำหนักแรกคลอดต่ำ และอาจทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนดด้วย ถ้าขาดธาตุเหล็กสามารถรักษาได้ด้วยการให้ธาตุเหล็กเสริม

3. ตรวจโรคซิฟิลิส

ทำไมต้องตรวจ:

ถ้าคุณเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คุณควรได้รับการรักษา เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่เชื้อโรคไปสู่ลูกน้อยของคุณ

4. ตรวจโรคหัดเยอรมัน

ทำไมต้องตรวจ:

ถ้า ผลการตรวจแสดงว่าคุณไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคหัดเยอรมัน คุณควรหลีกเลี่ยงการติดต่อกับบุคคลผู้ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ และคุณควรได้รับการฉีดวัคซีนหลังจากทารกได้ถือกำเนิด โรคหัดเยอรมันเป็นสาเหตุทำให้ทารกมีความผิดปกติในระหว่างตั้งครรภ์ด้วย

5. ตรวจโรคอีสุกอีใส

ทำไมต้องตรวจ:

ถ้า ผลการตรวจแสดงว่า คุณไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคอีสุกอีใส คุณควรหลีกเลี่ยงการติดต่อกับบุคคลผู้ซึ่งเป็นโรคนี้ โรคอีสุกอีใสสามารถเป็นสาเหตุทำให้ทารกมีความผิดปกติในระหว่างการตั้งครรภ์์

6. ตรวจไวรัสตับอักเสบ บี

ทำไมต้องตรวจ:

ถ้าคุณเป็นโรคนี้ คุณและลูกน้อยของคุณจะต้องได้รับการรักษา

7. ตรวจภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ทำไมต้องตรวจ:

HIV เป็นไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS) ถ้าคุณเป็นโรคติดต่อนี้ คุณควรได้รับยารักษาเพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อโรคไปสู่ลูกน้อยของคุณ

การเสี่ยงอันตรายจากการตรวจ: ไม่มี

การวางแผน และเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์

เนื่องสังคมของคนเมืองเปลี่ยนไปผู้หญิงทำงานนอกบ้านและจากภาวะเศรษฐกิจทำให้ คนแต่งงานเมื่ออายุมากขึ้น กว่าจะเริ่มวางแผนมีบุตรอายุก็มากขึ้น ดังนั้นการวางแผนการมีบุตรจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะละเลยไม่ได้ การวางแผนการมีบุตรไม่ใช่จะมีเมื่ออายุเท่าไรแต่การวางแผนจะครอบคลุมถึงการ เตรียมทางร่างกายและจิตใจ การเลือกแพทย์และโรงพยาบาล บทความนี้จะแนะนำบางเรื่องที่คิดว่าเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่คิดว่าจะมีบุตร สักคน การที่มีสุขภาพดีทั้งพ่อและแม่จะทำให้ลูกเกิดมามีความแข็งแรง ดังนั้นก่อนการตั้งครรภ์ท่านต้องวางแผนเรื่องต่อไปนี้

ตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์

การ วางแผนมีบุตรไม่ใช่ตั้งครรภ์แล้วค่อยไปฝากครรภ์ แต่ท่านต้องไปปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจร่างกายดูสุขภาพทั่วไป โรคประจำตัว ตรวจทั้งการเพาะเชื้อจากปากมดลูกและตรวจมะเร็งปากมดลูก แพทย์จะตรวจเลือดเพื่อตรวจว่ามีโลหิตจางหรือไม่รวมทั้งการตรวจหาภูมิต่อโรค หัดเยอรมันและไข้สุกใส หากไม่มีภูมิแพทย์ก็จะแนะนำให้ฉีดวัคซีนซึ่งก็ต้องใช้เวลาอีก 3 เดือนจึงจะตั้งครรภ์ได้

การตรวจทางพันธุกรรม

แพทย์ จะซักประวัติโรคทางพันธุกรรมทั้งตัวคุณและคู่เพื่อพิจารณาว่าครอบครัวคุณมี ความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน โรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อยคือโรคธัลลัสซีเมีย และหากคุณอายุมากคุณก็จะเสี่ยงต่อกลุ่ม down

หลีกเลี่ยงการติดเชื้อ

โรค เพศสัมพันธ์บางโรคอาจจะมีผลทำให้เกิดการเป็นหมัน แพทย์จะซักประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และหากสงสัยแพทย์อาจจะเพาะเชื้อจากปากมดลูก รวมทั้งการเจาะเลือดเพื่อให้แน่ใจว่าคุณปลอดภัยจากโรคติดต่อและไม่ควรที่จะ มีเพศสัมพันธ์กับคน

การติดเชื้อจากอาหารก็อาจจะมีผลต่อการตั้งครรภ์ เช่นการติดเชื้อ Toxoplasmosis ต้องรับประทานอาหารที่ปรุงสุกแล้วเท่านั้น ไม่รับประทานอาหารสุกดิบๆ และให้ล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง ล้างผักและผลไม้ให้สอาด

หลีกเลี่ยงจากการเข้าชุมชนเพราะท่านอาจจะติดหวัดหรือโรคติดเชื้อชนิดอื่น

อาหารและวิตามินก่อนการตั้งครรภ์


ก่อน การตั้งครรภ์การให้วิตามินกรดโฟลิกวันละ 400 มก.จะช่วยป้องกันความพิการทางสมอง นอกจากวิตามินแล้วคุณต้องรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ หากคุณเป็นมังสะวิรัต โลหิตจาง หรือรับประทานน้อย คุณต้องรับประทานอาหารเพิ่ม การที่คุณได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะก่อปัญหากับการตั้งครรภ์ เช่นหากคุณโลหิตจางจะทำให้เด็กมีโลหิตจางด้วย หากคุณรับอาหารไม่พอเด็กก็จะมีการเจริญเติบโตช้า

ความแข็งแรง


นอก จากอาหารและวิตามินแล้วความแข็งแรงของร่างกายก็จะช่วยให้คุณตั้งครรภ์และ คลอดอย่างปลอดภัย มีการศึกษาว่าหากออกกำลังตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์และระหว่างการตั้งครรภ์จะ ทำให้คลอดได้ง่าย การควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากหรือน้อยกว่า 15%ของน้ำหนักมาตรฐานจะทำให้เด็กเจริญเติบโตได้ดี หากคุณน้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐานมากกว่า 15%แสดงว่าคุณผอมเกินไป ทำให้ตั้งครรภ์ยาก และระวังการตั้งครรภ์ในเดือนแรกๆอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนน้ำหนักคุณจะลด ลงอีก แนะนำว่าคุณควรจะเพิ่มน้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์

คุณต้องลด น้ำหนักเพราะหากอ้วนจะทำให้เกิดโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง ดังนั้นคุณควรจะลดน้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ หากคุณออกกำลังกายก่อนการตั้งครรภ์ก็ควรออกต่อ

การดูแลสิ่งแวดล้อม


ต้อง ตรวจสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวว่ามีสิ่งที่เป็นเป็นภัยต่อการตั้งครรภ์หรือไม่ เช่นยาฆ่าแมลง ใยแก้ว สารตะกั่ว รังสี ควรจะหลีกสิ่งเหล่านี้ หากคุณเลี้ยงแมวบอกแพทย์ให้เจาะเลือดตรวจหาภูมิต่อเชื้อ toxoplasma หรือไม่เพราะเชื้ออาจจะทำให้พิการแต่กำเนิด หากคุณไม่มีภูมิควรจะสวมถุงมือและหน้ากากเมื่อจะสัมผัสแมว

การเปลี่ยนพฤติกรรม


สำหรับ ท่านที่ดื่มสุรา ติดยาเสพติด และสูบบุหรี่รวมทั้งสามีที่สูบบุหรี่ควรจะละหรือเลิกเสียเพราะจะทำให้ตั้ง ครรภ์ยาก และหากตั้งครรภ์ก็อาจจะมีผลเสียต่อเด็กในครรภ์

เวลาที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์


เริ่ม มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่วันที่ 9 ของรอบเดือนจนวันที่ 19 ของรอบเดือนโดยร่วมเพศกันวันเว้นวัน การตั้งครรภ์ไม่เกี่ยวกับท่าที่ยุ่งกันพยายามให้หลั่งในช่องคลอดให้ลึกที่ สุด และไม่จำเป็นต้องนอนพักหลังร่วมเพศเนื่องจากเชื้อจะวิ่งอย่างรวดเร็วไปยัง เป้าหมาย

รับประทานอาหารที่มีคุณภาพและคุมน้ำหนัก


หาก คุณวางแผนที่จะตั้งครรภ์คุณควรที่จะเริ่มต้นรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ และควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หลีกเลี่ยงอาหารมัน น้ำตาล การดื่มกาแฟ หรือดื่มชาจะทำให้ตั้งครรภ์ยาก ผู้ที่อ้วนต้องลดน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติสามารถตั้งครรภ์ได้

อย่าให้เกิดความเครียด

ความเครียดจะมีผลเสียต่อการตั้งครรภ์ ทำให้ตั้งครรภ์ยาก คลอดก่อนกำหนด เด็กคลอดออกมามีน้ำหนักน้อย


ขอบคุณข้อมูลจาก
Siamhealth.net

คุณสุภาพสตรีส่วนใหญ่จะพบแพทย์เมื่อขาดประจำเดือนจะไปตรวจว่าตั้งครรภ์ หรือไม่ และฝากครรภ์ แต่หากคุณผู้หญิงที่ตั้งใจว่าจะตั้งครรภ์ลองไปปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อที่จะได้ เตรียมตัวตั้งครรภ์ได้ปลอดภัย สิ่งที่แพทย์จะต้องถามและทำได้แก่

  • ประวัติการรับประทานยาคุมกำเนิด ประวัติการตั้งครรภ์ครั้งก่อนๆ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือการอักเสบของช่องคลอด ผลการตรวจภายใน
  • ประวัติการเจ็บป่วย การรับประทานยา โรคประจำตัว หากท่านเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ ควรจะคุมอาการให้ดีก่อนการตั้งครรภ์
  • ประวัติการผ่าตัด การให้เลือด
  • ประวัติการรับประทานยาทั้งจากแพทย์สั่ง หรือยาที่ซื้อรับประทานเอง เพราะยาบางชนิดอาจจะส่งผลต่อการตั้งครรภ์
  • ประวัติโรคของครอบครัว เช่น เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ครรภ์แฝด เด็กพิการแต่กำเนิด
  • อาชีพ สภาพแวดล้อมในการทำงาน การเลี้ยงสตว์เลี้ยง เพื่อที่แพทย์จะพิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจจะมีผลต่อเด็ก
  • น้ำหนัก สำหรับท่านที่น้ำหนักเกินควรจะลดน้ำหนักให้ใกล้เคียงปกติก่อนตั้งครรภ์
  • พฤติกรรมของท่านและสามีว่ามีพฤติกรรมที่อาจจะส่งผล เสียต่อการตั้งครรภ์หรือไม่ เช่น ดื่มสุร บุหรี่ หากมีพฤติกรรมดังกล่าวควรจะงดทั้งหมด
  • การออกกำลังกาย วิธีการออกกกำลัง ความแรง ระยะเวลา เพื่อที่แพทย์จะได้แนะนำเรื่องออกกำลังกาย โดยปกติก็ไม่มีข้อห้ามในการออกกำลังกาย นอกเสียจากท่านอาจจะมีข้อห้ามแพทย์จะแนะนำให้ท่านลดการออกกำลังกาย
  • อาหาร แพทย์จะแนะนำอาหารโดยการหลีกเลี่ยงสุรา ส่วนกาแฟก็ไม่ควรจะเกินวันละสองแก้ว ชาวันละไม่เกิน3แก้ว อาหารควรจะอุดมไปด้วยแคลเซี่ยม วิตามินซี

เป็นการดีที่จะปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์โดยเฉพาะผู้ ที่มีอายุมากกว่า 30 ปีแพทย์จะแนะนำให้รับประทานกรดโฟลิกเป็นประจำและให้หยุดรับประทานยาคุม กำเนิดก่อนการตั้งครรภ์ 3 เดือนแพทย์จะแนะนำวันที่เหมาะสมจะมีเพศสัมพันธ์และมีโอกาสที่จะตั้งครรภ์สูง หญิงวัยที่พร้อมจะมีบุตรควรดูแลตัวเองให้พร้อมที่จะมีบุตรโดยเฉพาะการดูแล ก่อนการตั้งครรภ์ เนื่องจากว่าความพิการของเด็กบางครั้งอาจจะเกิดก่อนการตั้งครรภ์เนื่องจาการ ติดเชื้อ โรคของมารดา ขาดสารอาหาร และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเพื่อได้ทารกที่สมบูรณ์ควรเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์ดังนี้



Folic acid มีประโยชน์อะไร

ก่อนการตั้งครรภ์ หรือตั้งครรภ์ 3 เดือนแรกหญิงมีครรภ์ควรได้รับ folic acid เนื่องจากวิตามินนี้สามารถป้องการความทางสมองและประสาทไขสันหลังได้ (called neural tube defects {NTDs}] และยังป้องกันปากแหว่ง และเพดานโหว่ได้ แนะนำให้หญิงที่เตรียมตัวตั้งครรภ์ได้รับอาหารที่มีคุณภาพ และอุดมไปด้วย folic acid เช่น น้ำส้ม ผักใบเขียว ถั่ว ธัญพืช และควรได้รับเสริมวันละ 4 มิลิกรัมก่อนการตั้งครรภ์ 1 เดือนจน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์

ประโยชน์ของการตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์

  1. สำหรับผู้ที่เคยแท้งบุตร หรือคลอดก่อนกำหนดแพทย์จะหาสาเหตุเพื่อให้การตั้งครรภ์ครั้งต่อไปสมบูรณ์
  2. ตรวจหาโรคติดเชื้อที่สามารถจะถ่ายจากแม่ไปหาลูกเช่น
  • Rubella:(German measles) หรือหัดเยอรมันผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนและไม่เคยเป็นโรคหัดเยอรมันควรได้รับ การฉีดวัคซีนก่อนการตั้งครรภ์ สำหรับผู้ไม่แน่นใจว่าเคยเป็นโรคหัดเยอรมัน หรือเคยฉีดวัคซีนหรือไม่อาจจะแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมันและให้คุม กำเนิดหลังจากฉีด 3 เดือน
  • Hepatitis B ไวรัสตับอักเสบ บี แนะนำให้ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ทุกราย เด็กที่เกิดจากแม่ที่มีเชื้อควรได้รับการรักษาทุกราย สำหรบมารดาที่ยังไม่มีภูมิ หรือไม่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี แนะนำให้ฉีดวัคซีนก่อนการตั้งครรภ์
  • Chickenpox ไข้สุกใสผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคนี้ ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สุกใส และให้คุมกำเนิดหลังฉีด 3 เดือน
  • Toxoplasmosisเกิดจากเชื้อปาราสิตที่ปนในอาหารดิบๆ
  1. โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมเช่น
  • Thalassemia โรคที่เม็ดเลือดแดงแตกง่ายถ่ายทอดทางพันธุกรรมหากพ่อและแม่มีพันธุกรรมแฝงอยู่ลูกที่เกิดมาจะมีโอกาสเป็นโรค
  • Sickle-cell disease และTay-Sachs disease เกิดในเชื้อชาติอื่น
  1. โรคของมารดาที่มีผลต่อการตั้งครรภ์
  • โรคเบาหวาน หากไม่สามารถคุมน้ำตาลให้ดีเด็กที่เกิดมามีโอกาสจะเกิดโรคแทรกซ้อนได้
  • ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อน
  • โรคลูปัส Systemic lupus erythematosus (SLE)ผู้ป่วยที่มีโรคนี้จะมีโอกาสทีจะแท้ง หรือคลอดก่อนกำเนิดสูง ควรจะปลอดจากอาการของโรคอย่างน้อย 6 เดือนก่อนการตั้งครรภ์
  • โรคลมชัก Seizures ยาบางชนิดอาจมีผลต่อเด็กดังนั้นต้องแจ้งแพทย์เพื่อปรับยาก่อนการตั้งครรภ์
  • ผู้ป่วยที่ใช้ยาเป็นประจำ ควรแจ้งแพทย์ถึงชื่อยา และขนาดยาที่ใช้เนื่องจากยาบางชนิดมีผลต่อเด็ก

จะต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำรงชีวิตอย่างไรบ้าง

  • หยุดสุราโดยเด็ดขาดเนื่องจากสุราจะทำให้เด็กเกิดมามีความพิการได้
  • หยุดสูบบุหรี่ และยาเสพติดเนื่องจากเด็กที่เกิดมาจะพิการและมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ
  • หยุดการอาบน้ำร้อน หรือการซาวน่าในช่วงแรกการตั้งครรภ์ เนื่องจากอาจทำให้เกิดความพิการทางสมอง NTDs
  • ให้ดื่มกาแฟน้อยกว่าวันละครึ่งแก้วเนื่องจาก caffeine จะทำให้แท้งได้
  • งดการสัมผัสแมวหรือรับประทานอาหารดิบเพราะอาจจะเกิดการติดเชื้อ
  • ห้ามสวนช่องคลอดเอง

ค้นหา