Hematology แปลว่าการตรวจทางโลหิตวิทยา
CBC ย่อมาจาก cell blood
count แปลว่าการตรวจนับเม็ดเลือด
การตรวจชนิดนี้เป็นการตรวจพื้นฐานที่แพทย์จะสั่งตรวจคนไข้เกือบจะทุกคนที่มี
การเจาะเลือด เพราะมันตรวจง่ายๆแต่ให้ข้อมูลแยะ
Hb ย่อมาจาก
hemoglobin แปลว่าจำนวนโมเลกุลตัวพาออกซิเจนในเลือด
โมเลกุลฮีโมโกลบินนี้อยู่ในเม็ดเลือดแดง
ค่านี้จึงเป็นตัวบอกปริมาณเม็ดเลือดแดงในเชิงความสามารถในการขนส่งออกซิเจน
ด้วย คนปกติจะมีกันประมาณ 12 – 17 gm% ของลูกคุณมี 11
ก็สรุปว่าเป็นโรคโลหิตจางระดับเล็กน้อย (mild anemia)
ตัวฮีโมโกลบินนี้มีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบสำคัญ
ดังนั้นคนเป็นโลหิตจางที่มีฮีโมโกลบินน้อยนี้สาเหตุอาจมาจากขาดธาตุเหล็กก็
ได้
Hct ย่อมาจาก hematocrit
แปลว่าปริมาตรเม็ดเลือดอัดที่แยกเอาน้ำเลือดหรือซีรั่มออกไปแล้ว
ค่านี้ก็บอกถึงปริมาณเม็ดเลือดแดงเช่นกัน
แต่เป็นการบอกในเชิงปริมาตรของเม็ดเลือด คนปกติจะมีปริมาตรเม็ดเลือดประมาณ
40-50% ของเลือดทั้งหมด ของลูกคุณมี 34%
ก็สรุปยืนยันได้ว่าเป็นโรคโลหิตจางระดับเล็กน้อยจริงๆ
WBC ย่อมาจาก
white blood count แปลว่าผลการนับจำนวนเม็ดเลือดขาว คนปกติจะนับได้ 4,500 –
10,000 เม็ดต่อหนึ่งลูกบาศก์มิลลิเมตร ของลูกคุณนับได้ 12,260 เม็ด
ก็เรียกว่าเม็ดเลือดขาวขึ้นสูง
แปลความได้ว่าน่าจะมีการติดเชื้ออยู่ในร่างกาย
โดยเฉพาะการติดเชื้อบักเตรีซึ่งมักทำให้เม็ดเลือดขาวขึ้นสูง
ส่วนการติดเชื้อไวรัสไม่ค่อยทำให้เม็ดเลือดขาวขึ้นสูงมากนัก
บางทีก็ไม่ขึ้นเลย
WBC differential แปลว่าการตรวจนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาว
Neutrophils
เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดที่สนองตอบต่อการอักเสบเฉียบพลันหรือติดเชื้อในร่างกาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อบักเตรี
คนปกติที่ไม่มีการติดเชื้อจะมีนิวโตรฟิลประมาณ 45-70
ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด ของลูกคุณมี 73%
บ่งบอกว่าน่าจะมีการติดเชื้อบักเตรีขึ้นในร่างกาย
Eosinophils
เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดที่สนองตอบต่อปฏิกิริยาแพ้
ซึ่งมักขึ้นสูงเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาสู่ร่างกายแล้วร่างกายแพ้
เช่นมีพยาธิชนิดที่ไชไปทั่วตัวเป็นต้น คนปกติไม่ควรมีอีโอซิโนฟิลเกิน 5%
ของลูกคุณไม่มีเลยก็ถือว่าไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องภูมิแพ้
Basophils
เป็นเม็ดเลือดขาวอีกแบบหนึ่งที่มีสีสันโดดเด่นผิดอย่างอื่นและมีหน้าที่
เกี่ยวกับการต่อสู้สิ่งแปลกปลอมเฉพาะที่
เช่นถูกเห็บกัดที่ไหนเบโซฟิลจะเฮโลไปที่นั่น
คนปกติจะมีเบโซฟิลออกมาในเลือดไม่เกิน 2% ของลูกคุณไม่มีเลยก็ถือว่าปกติ
Lymphocyte
เป็นเม็ดเลือดขาวตัวเล็ก
ซึ่งถือว่าเป็นพลเมืองหลักของเม็ดเลือดขาวทั้งหลาย
มีหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคแทบจะทุกรูปแบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีสงครามยืด
เยื้อเรื้อรัง กรณีไวรัส และกรณีวัณโรค คนปกติจะมีลิมโฟไซท์ประมาณ 25-45%
กรณีของลูกคุณมี 21.0% ก็ถือว่าต่ำ
เมื่อพิจารณาร่วมกับนิวโตรฟิลที่สูงขึ้นก็แปลความหมายได้ว่าการติดเชื้อใน
ร่างกายขณะนี้เป็นการติดเชื้อในระยะเฉียบพลัน
Monocyte
เป็นเม็ดเลือดขาวตัวโต ที่มีหน้าที่แบ่งตัวแปลงร่างกลายเป็น “ไอ้ตัวงาบ”
หรือมาโครฟาจ (macrophage) ทำหน้าที่จับกินเชื้อโรคในกระแสเลือด
โมโนไซท์เคลื่อนที่เร็ว
มีเรื่องอักเสบติดเชื้อตรงไหนมันจะเฮโลไปที่นั่นทันที
คนปกติมีโนโนไซท์ออกมาในกระแสเลือด 4-8% ส่วนใหญ่มันจะจอดซุ่มอยู่ในม้าม
ซึ่งเป็นที่ตั้งของมัน กรณีลูกคุณมีโมโนไซท์ 6.0% ถือว่าปกติ
ไม่มีความหมายอะไรเป็นพิเศษ
RBC ย่อมาจาก red blood cell
แปลว่าจำนวนเซลเม็ดเลือดแดงซึ่งนับกันเป็นล้านตัวต่อหน่วยไมโครลิตร
คนปกติจะมีจำนวนเม็ดเลือดแดง 4.6-6 ล้าน ของลูกคุณมี 5.5
ล้านซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
แต่ยังถูกวินิจฉัยว่าเป็นโลหิตจางเพราะแม้จำนวนเม็ดเลือดแดงจะปกติ
แต่ปริมาตรของเม็ดเลือดแดงต่ำและมีตัวพาออกซิเจนต่ำ
ซึ่งต้องมีสาเหตุพิเศษอะไรสักอย่างทำให้เป็นเช่นนั้น
MCV ย่อมาจาก
mean corpuscular volume แปลว่าปริมาตรเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดงหนึ่งเม็ด
เป็นตัวบอกว่าเม็ดเลือดแดงมีขนาดเม็ดใหญ่หรือเม็ดเล็ก ของคนปกติจะมีขนาด
80-100 เฟมโตลิตร (fl)
คำว่าเฟมโตลิตรนี้เป็นหน่วยนับปริมาตรของอะไรที่เล็กๆในทางการแพทย์
คุณรู้จักซีซี. หรือ cubic centimeter ใช่ไหม นั่นแหละ หนึ่งซีซี.
คุณเอามาแบ่งได้ล้านล้านเฟมโตลิตร มีคำว่าล้านสองทีนะ คือมีศูนย์ 12 ตัว
นั่นหมายความว่าหนึ่งเฟมโตลิตรเท่ากับหนึ่งซีซี.ยกกำลังลบ 12 งงมั้ยเนี่ย
งงก็ไม่เป็นไร ขอให้งงต่อไป
เพราะมันไม่สำคัญอะไรต่อเรื่องที่เรากำลังคุยกันดอก ประเด็นสำคัญก็คือค่า
MCV ของลูกคุณวัดได้ 59.8 fl ซึ่งต่ำกว่าปกติมาก
แปลว่าขนาดของเม็ดเลือดเฉลี่ยเล็กกว่าของชาวบ้านเขาครึ่งต่อครึ่ง
ตรงนี้เป็นเรื่องเลยนะ ต้องมีตอนต่อไป
MCH ย่อมาจาก mean
corpuscular hemoglobin
แปลว่าน้ำหนักเฉลี่ยของฮีโมโกลบินซึ่งเป็นตัวพาออกซิเจนในเม็ดเลือดหนึ่ง
เม็ด คนปกติก็จะมีประมาณ 27-31 พิโคกรัม (pg) ขออนุญาตฝอยนอกเรื่องหน่อยนะ
เพราะว่าผมชอบเล่นของเล็กๆ
คำว่าพิโคกรัมนี้หมายถึงถึงหนักเศษหนึ่งส่วนล้านล้านกรัม
หรือเท่ากับหนึ่งกรัมยกกำลัง -12 ลูกชายคุณมี MCH แค่ 19.5 pg
แสดงว่านอกจากเม็ดเลือดแดงจะมีขนาดเล็กแล้วยังมีตัวพาออกซิเจนน้อยอีกด้วย
MCHC
ย่อมาจาก mean corpuscular hemoglobin concentration
แปลว่าความเข้มข้นเฉลี่ยของตัวพาออกซิเจน (ฮีโมโกลบิน)
ในเม็ดเลือดแดงหนึ่งเม็ด
หรือพูดอีกอย่างว่าคือค่าบอกสัดส่วนของฮีโมโกลบินต่อปริมาตรเม็ดเลือด
อันนี้หมายความจากค่า MCV เรารู้ว่าเม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็ก จากค่า MCH
เรารู้ว่าในเม็ดเลือดแดงหนึ่งเม็ดมีฮีโมโกลบินน้อยกว่าปกติ แต่ค่า MCHC
จะช่วยบอกเราว่าที่ฮีโมโกลบินมันมีน้อยนั้นเป็นเพราะเม็ดเลือดมันมีขนาดเล็ก
อย่างเดียว
หรือเป็นเพราะมันมีเหตุอื่นที่ทำให้ฮีโมโกลบินยิ่งน้อยลงไปอีกสมทบอยู่ด้วย
(เช่นขาดธาตุเหล็กสำรับสร้างฮีโมโกลบิน เป็นต้น) คนปกติค่า MCHC จะตกประมาณ
32-36% ของลูกคุณได้ 32.5% ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ปกติ
แสดงว่าที่ลูกคุณมีฮีโมโกลบินน้อยนั้น
เพราะเม็ดเลือดมันมีขนาดเล็กอย่างเดียว
ไม่ได้มีเหตุอื่นเช่นขาดธาตุเหล็กสมทบอยู่ด้วย
RDW ย่อมาจาก red
cell distribution width แปลว่าค่าความแปรปรวน (SD) ของขนาดเม็ดเลือด
เป็นตัวเลขที่บอกว่าเม็ดเลือดรูปร่างผิดปกติบิดๆเบี้ยวๆเล็กๆใหญ่ๆ มีมากไหม
คนปกติควรจะมีค่านี้ประมาณ 11.5-14.5 ของลูกคุณมี 17.2
ก็หมายความว่าอัตราการมีเม็ดเลือดแดงรูปร่างผิดปกติมีมาก
Platelet
count หมายถึงผลการนับจำนวนเกร็ดเลือด ซึ่งทำหน้าที่ช่วยการแข็งตัวของเลือด
คนปกติจะมีเกร็ดเลือดแสนสี่หมื่นถึงสี่แสนตัวต่อลบ.มม.
ของลูกคุณมีสี่แสนกว่า สูงกว่าปกติไปเล็กน้อย
ซึ่งอาจเกิดจากร่างกายกำลังมีการอักเสบก็ได้
ไม่ถือว่าบ่งบอกถึงโรคอะไรเป็นพิเศษ
Platelet smear: หมายถึงผลการป้ายเลือดบนสไลด์แล้วส่องดูภาพของเกร็ดเลือด กรณีของลูกชายคุณพบว่ามันเพิ่มจำนวนมากกว่าปกติเล็กน้อย
RBC morphology แปลว่ารายงานการตรวจรูปร่างของเม็ดเลือดแดง
Anisocytosis หมายถึงมีความผิดปกติในขนาด เช่นใหญ่ไปเล็กไป ผลได้ 2+ บวกหมายความว่ามีความผิดปกติในขนาดของเม็ดเลือดปานกลาง
Macrocyte แปลว่าเม็ดเลือดแดงที่ขนาดโตกว่าปกติ ค่า few หมายถึงว่ามีเม็ดเลือดแดงโตๆนี้อยู่น้อยมาก
Microcyte แปลว่าเม็ดเลือดแดงที่ขนาดเล็กกว่าค่า 2+ หมายถึงว่ามีเม็ดเลือดแดงขนาดเล็กนี้อยู่มากปานกลาง
Hypochromia แปลว่าเม็ดเลือดแดงที่ย้อมไม่ค่อยติดสีแดง คือมีสีซีดๆ ซึ่งมักเกิดจากการมีฮีโมโกลบินอยู่น้อย ผล 1+
หมายความว่ามีเม็ดเลือดสีซีดอยู่บ้างไม่มาก แต่ก็พอมี
Target
Cell แปลว่าเซลเม็ดเลือดแดงที่มีมองเห็นปุ่มตรงกลางเหมือนเป้าปาลูกดอก
เซลแบบนี้ไม่มีในคนปกติ แต่พบในผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง ค่า few
หมายถึงว่าพบแต่น้อยมาก
Ovalocyte แปลว่าเซลเม็ดเลือดแดงที่มีรูปไข่ ในคนปกติไม่พบ แต่มักพบในคนเป็นทาลาสซีเมีย
Spherocyte
แปลว่าเซลเม็ดเลือดแดงที่มีรูปร่างเป็นทรงกลมเหมือนลูกเทนนิส
ผิดแผกจากเซลเม็ดเลือดแดงทั่วไปที่เป็นรูปแบนๆคล้ายจานข้าว ในคนปกติไม่พบ
แต่มักพบในคนเป็นทาลาสซีเมีย
กล่าวโดยสรุป
เจ้าของผลเลือดนี้เป็นโรคโลหิตจางระดับเล็กน้อย
ที่เกิดจากการมีเม็ดเลือดแดงเล็กกว่าปกติและเม็ดเลือดผิดรูปร่างไปเล็กน้อย
โดยไม่น่าจะมีภาวะขาดธาตุเหล็กร่วมอยู่ด้วย
ข้อมูลทั้งหมดนี้บ่งชี้ว่าน่าจะเป็นโรคทาลาสซีเมียระดับไม่รุนแรงหรือมียีน
แฝงของทาลาสซีเมีย สิ่งที่ควรทำต่อไปคือ ณ จุดในจุดหนึ่งในอนาคต
ก่อนที่จะไปแต่งงาน ควรได้รับการตรวจ hemoglobin typing และ gene test
เพื่อสรุปให้ได้แน่ชัดว่าเป็นทาลาสซีเมียหรือมียีนแฝงชนิดใด
จะได้เป็นข้อมูลในการเลือกเจ้าสาวไม่ให้ไปเจอกับคนที่เป็นหรือมียีนแฝงแบบ
เดียวกัน อันจะเป็นเหตุให้ได้ลูกที่ป่วยเป็นทาลาสซีเมียแบบรุนแรงได้
การเจาะเลือดดังกล้าวไม่ต้องรีบทำตอนเป็นเด็กเล็กๆดอก
เอาไว้โตเป็นหนุ่มแล้วค่อยเจาะก็ได้
อีกเรื่องหนึ่งคือการใช้ยาบำรุง
เลือด (ซึ่งมีส่วนผสมของเหล็ก)
ในรายนี้ในอนาคตหากมีเหตุให้ใช้ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง
ควรใช้โดยคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
เพราะคนเป็นทาลาสซีเมียมักมีธาตุเหล็กสะสมในร่างกายมากเกินไป
หากได้เหล็กจากภายนอกเข้าไปสมทบอีก จะเป็นโรคพิษของเหล็กได้
Clock
วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555
Blood Smear Interpretation
Kanchana Chansung M.D. Hematology Unit, Department of Medicine, Faculty of Medicine, Khon-Kaen University |
E-learning MD.KKU.
|
บริเวณที่เหมาะสมในการดู Blood smear
บริเวณที่เหมาะสมในการดู slide คือบริเวณที่เม็ดเลือดแดงกระจายตัว
4.--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ต้นสไลด์ ปลายสไลด์
5.--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Normal RBC Hypochromic-Microcytic
6.--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
7.--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
8.--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
9.--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
10.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
11.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
12.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เปรียบเทียบ Thalassemia กับ Iron deficiency
13.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
14.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
15.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ภาพขยายของ hemolytic blood picture
16.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
17.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
18.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
19.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เปรียบเทียบ Auto-agglutination กับ Rouleaux formation
เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่าง auto-agglutination กับ Rouleaux formation
20.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
21.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
22.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
23.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
24.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
25.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
26.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
27.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Slide ที่เห็นนี้เป็นของผู้ป่วย Megaloblastic anemia โปรดสังเกตว่า
28.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
29.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Agnogenic Myeloid Metaplasia (AMM)
30.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
31.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
32.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
33.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
34.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
35-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เม็ดเลือดขาวมีจำนวนมากกว่าปกติเรียกว่ามีภาวะ leucocytosis
36.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
37.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
38.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Lymphoid series
39.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Small lymphocyte
40.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Large lymphocyte
41.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เปรียบเทียบ small กับ large lymphocyte
42.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เปรียบเทียบ lymphocyte กับ NRC
43.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Transform lymphocyte
44.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เปรียบเทียบ large กับ transform lymphocyte
45.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Transform lymphocyte VS Lymphoblast
46.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Plasma cell
47.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Chronic lymphocytic leukemia
48.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Acute lymphoblastic leukemia (L1)
49.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เปรียบเทียบ CLL กับ ALL(L1)
50.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Acute lymphoblastic leukemia (L2)
51.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Acute lymphoblastic leukemia (L3)
52.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
53.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Granulocytic series
54.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Myeloblast
55.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Promyelocyte
56.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Myelocyte
57.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Metamyelocyte
58.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Band form Neutrophils
59.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Segmented form Neutrophils
60.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Granulocyte
61.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
PMN with toxic granules and vacuolization
62.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Pelger H?et anormaly
63.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Eosinophils and Basophils
64.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Monocyte
65.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Monoblast
66.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เปรียบเทียบ Monoblast กับ Monocyte
67.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
68.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
mature form ของ monocyte granulocytic series WBC.
69.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Chronic Myeloid leukemia (CML)
70.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
CML blastic phase
71.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
72.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
73.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
74.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
75.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
76.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Abnormalities
of Platelets
77.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
78.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
79.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
80.------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Giant platelets
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)