Clock


วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ และวัตถุประสงค์และภารกิจ

ปณิธานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในส่วนภูมิภาค จัดตั้งขึ้นตามนโยบายของรัฐ และเจตนารมณ์ของประชาชนในภาคเหนือให้เป็นศูนย์กลางทางวิชาการ และวิชาชีพชั้นสูง เพื่ออำนวยประโยชน์แก่ท้องถิ่น และประเทศชาติโดยส่วนรวม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่แห่งนี้เป็นแหล่งสะสม ค้นคว้า วิจัยและถ่ายทอดความรู้ ตามหลักแห่งเสรีภาพทางวิชาการ โดยยึดมั่นในสัจธรรมและคุณธรรม เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ การประยุกต์ เผยแพร่และ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม บัณฑิตแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พึงฝักใฝ่ในการฝึกตนเป็นผู้รู้จริง คิดเป็น ปฏิบัติได้ สามารถครองตน ครองคน ครองงาน ด้วยมโนธรรม และจิตสำนึกต่อสังคม

วิสัยทัศน์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำตามมาตรฐานสากล ที่มุ่งเน้นการวิจัย มีการผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรมและคุณภาพ มีการบริหารจัดการที่ดีตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน

ปรัชญาของคณะเทคนิคการแพทย์

ความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติงานของนักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ พร้อมจิตสำนึก ในการให้บริการ ด้านการตรวจวินิจฉัย บำบัดรักษาและป้องกันโรค ตลอดจนการส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูสมรรถภาพจะเป็นหลักประกันอันอบอุ่นแก่ประชากรในสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

ปณิธานของคณะเทคนิคการแพทย์

คณะเทคนิคการแพทย์ เป็นศูนย์กลางทางวิชาการและงานวิจัย ตามแนวมาตรฐานวิชาชีพ และความเป็นสากลเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนโดยส่วนรวม บัณฑิตจากคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการฝึกฝนอบรมให้มีความรู้ความชำนาญในวิชาชีพ รู้จักขวนขวายหาความรู้ด้วยตนเอง รู้หลักวิธีวิจัยเพื่อค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ มีนิสัยเอื้อเฟื้อโอบอ้อมอารี มีจิตใจให้บริการ ตลอดจนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม บุคลากรในคณะปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาคุณภาพของงานและคุณภาพชีวิตที่ดีของตนเองและผู้รับบริการ

วัตถุประสงค์ และภารกิจ

คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ และภารกิจในการดำเนินงาน ดังนี้

1. ผลิตบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ กิจกรรมบำบัด รังสีเทคนิค กายภาพบำบัด และบุคลากรระดับอื่นที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพตามความต้องการของสังคม ที่มีความรู้ความชำนาญ มีความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ความก้าวหน้าทางวิทยาการ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีคุณภาพ เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ รวมทั้งมีมนุษยสัมพันธ์ สามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

2. ทำการวิจัยค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อนำไปพัฒนาวิชาชีพ ให้มีความทันสมัย เป็นสากล และเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยส่วนรวม

3. ให้บริการวิชาการแก่สังคมทั่วไป เน้นชุมชนในชนบทภาคเหนือที่ห่างไกลความเจริญ และต้องการความช่วยเหลือในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพของคณะฯ รวมทั้งการให้คำปรึกษาและฝึกอบรมทางวิชาการแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง

4. ทำนุบำรุงและธำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและประเทศไทย

5. ร่วมมือกับสถาบัน หน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ เพื่อพัฒนาวิชาชีพ

6. ส่งเสริม พัฒนาความสามารถของบุคลากร และบริหารทรัพยากรของคณะฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

7. ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นหลักประกันกับสังคมว่าการดำเนินงานทุกภารกิจของคณะฯ มีคุณภาพ

8. พัฒนาศักยภาพสู่คุณภาพมาตรฐานวิชาชีพ และความเป็นสากล

ประวัติความเป็นมา

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาคเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ตามนโยบายของรัฐบาลและความต้องการของประชาชนในภาคเหนือ ที่จะขยายโอกาสการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้กระจายออกสู่ท้องถิ่น โดยได้รับอนุมัติให้จัดตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2503 และเริ่มเปิดทำการเรียนการสอนในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2507 และเพื่อตอบสนองต่อความต้องการบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมในการให้บริการด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพแก่ประชาชนในท้องถิ่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ จึงได้มีโครงการจัดตั้งภาควิชาเทคนิคการแพทย์ขึ้น ในปี พ.ศ. 2509และได้รับอนุมัติให้เป็นภาควิชาเมื่อปี พ.ศ. 2510 ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 คณะแพทยศาสตร์ ได้เห็นชอบให้ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ จัดทำโครงการจัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์ เพื่อรับผิดชอบผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ออกไปรองรับงานในเขตภาคเหนือ ซึ่งได้รับอนุมัติให้เป็นคณะเทคนิคการแพทย์ ในปี พ.ศ. 2519

ลำดับช่วงเวลาสำคัญที่เกี่ยวข้องกับคณะเทคนิคการแพทย์ โดยสังเขปมีดังนี้ :

พ.ศ. 2507 สถาปนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พ.ศ. 2509 เป็นโครงการจัดตั้งภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่

พ.ศ. 2510 เป็นภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พ.ศ. 2512 เป็นโครงการจัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พ.ศ. 2519 เป็นคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยแบ่งส่วนราชการเป็น สำนักงานเลขานุการคณะฯ ภาควิชาเคมีคลินิก ภาควิชาจุลชีววิทยาคลินิก ภาควิชาภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก และภาควิชาคลินิคัลไมโครสโคปี้ (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ภาควิชาจุลทรรศนศาสตร์คลินิก) ทบวงมหาวิทยาลัยอนุมัติให้จัดตั้งภาควิชารังสีเทคนิค ในปีพ.ศ. 2522 ภาควิชากิจกรรมบำบัด พ.ศ. 2523 ภาควิชากายภาพบำบัด ในปี พ.ศ. 2531

พ.ศ. 2546 สภามหาวิทยาลัยได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการในภาควิชา และเห็นชอบให้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหาร โดยให้มีการหลอมรวมภาควิชา เพื่อก่อให้เกิดความคล่องตัว เกิดคุณภาพในการบริหารองค์กร และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด นำไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ ตามประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง ภาระงานของภาควิชาและหัวหน้าภาควิชาที่พึงประสงค์ และแนวทางการบริหารจัดการในภาควิชาและคณะ ลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2545

เพื่อตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัย คณะฯ จึงได้ดำเนินการศึกษารูปแบบ วิธีการที่เหมาะสมในการปรับโครงสร้างของภาควิชาในคณะเทคนิคการแพทย์ และจากการระดมความคิดเห็นของบุคลากรทั้งคณะ มีความเห็นว่ารูปแบบที่เหมาะสมสำหรับคณะเทคนิคการแพทย์ คือการมีหนึ่งภาควิชาต่อการผลิตบัณฑิตในแต่ละสาขาวิชา จึงได้ดำเนินการหลอมรวมภาควิชาในสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ จากภาควิชาเคมีคลินิก ภาควิชาจุลชีววิทยาคลินิก ภาควิชาจุลทรรศนศาสตร์คลินิก และภาควิชาภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก เป็นภาควิชาเทคนิคการแพทย์

ปัจจุบันภายใต้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2551 (ประกาศใช้เมื่อ 6 มีนาคม 2551) คณะเทคนิคการแพทย์แบ่งส่วนงานเป็น 6 ส่วนงานย่อย ได้แก่

1. สำนักงานคณะ

2. ภาควิชาเทคนิคการแพทย์

3. ภาควิชารังสีเทคนิค

4. ภาควิชากิจกรรมบำบัด

5. ภาควิชากายภาพบำบัด และ

6. ศูนย์บริการเทคนิคการแพทย์คลินิก

แผนภูมิโครงสร้างการบริหารงานคณะเทคนิคการแพทย์ (ปีงบประมาณ 2551)

หลักสูตร

ระดับปริญญาตรี (วิทยาศาสตรบัณฑิต) 4 สาขาวิชา คือ

สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ จำนวนหน่วยกิตรวม 148 หน่วยกิต

สาขาวิชารังสีเทคนิค (แผน1) จำนวนหน่วยกิตรวม 148 หน่วยกิต

(แผน2)หลักสูตรต่อเนื่อง จำนวนหน่วยกิตรวม 74 หน่วยกิต

สาขาวิชากิจกรรมบำบัด จำนวนหน่วยกิตรวม 142 หน่วยกิต

สาขาวิชากายภาพบำบัด จำนวนหน่วยกิตรวม 147 หน่วยกิต

ระดับบัณฑิตศึกษา 6 หลักสูตร คือ

ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต

สาขาวิชากายภาพบำบัดคลินิก จำนวนหน่วยกิตรวม 25 หน่วยกิต

ระดับปริญญาโท

สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ จำนวนหน่วยกิตรวม 38 หน่วยกิต

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย จำนวนหน่วยกิตรวม 36 หน่วยกิต

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์รังสีการแพทย์ จำนวนหน่วยกิตรวม 36 หน่วยกิต

สาขาวิชากิจกรรมบำบัด จำนวนหน่วยกิตรวม 37 หน่วยกิต

ระดับปริญญาเอก

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ (แบบ 1(1)) จำนวนหน่วยกิตรวม 48 หน่วยกิต

(แบบ 1(2)) จำนวนหน่วยกิตรวม 72 หน่วยกิต


จำนวนนักศึกษาปีการศึกษา 2550*

สาขาวิชา

ชั้นปีที่ 1

ชั้นปีที่ 2

ชั้นปีที่ 3

ชั้นปีที่ 4

สูงกว่า

ชั้นปีที่ 4

รวม

ทั้งสิ้น

ระดับปริญญาตรี

255

265

289

245

5

1,059

สาขาเทคนิคการแพทย์

98

87

127

95

-

407

สาขากายภาพบำบัด

57

53

48

61

-

219

สาขากิจกรรมบำบัด

62

64

70

55

5

256

สาขารังสีเทคนิค

38

41

44

34

-

157

สาขารังสีเทคนิค (2 ปี)

-

20

-

-

-

20

ระดับปริญญาโท

15

19

10

2

-

46

สาขาเทคนิคการแพทย์

3

3

8

2

-

16

สาขาวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวและ

การออกกำลังกาย

3

6

2

-

-

11

สาขากิจกรรมบำบัด

5

7

-

-

-

12

สาขาวิทยาศาสตร์รังสีการแพทย์

4

3

-

-

-

7

ระดับปริญญาเอก

5

5

5

3

1

19

วิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์

5

5

5

3

1

19

รวมทั้งสิ้น

275

289

304

250

6

1,124

*ข้อมูลภาคเรียนที่ 1/2550 เนื่องจากปีการศึกษาเหลื่อมปีงบประมาณ

บุคลากร

หน่วยงาน

อาจารย์ :

ตำแหน่งวิชาการ

อาจารย์ :

คุณวุฒิ

สายสนับสนุน

รวม

อ.

ผศ.

รศ.

ศ.

เอก

โท

ตรี

สาย ข

สาย ค

ลจ.

เทคนิคการแพทย์

20

20

2

1

23

18

2

7

5

10

65

กายภาพบำบัด

8

12

4

-

10

13

1

-

4

3

31

กิจกรรมบำบัด

11

11

3

-

7

16

2

3

2

4

34

รังสีเทคนิค

9

4

2

-

5

10

-

-

2

2

19

สำนักงานฯ

-

-

-

-

-

-

-

31

6

15

52

ศูนย์บริการฯ

-

-

-

-

-

-

-

-

-

27

27

รวม

48

47

11

1

45

57

5

41

19

61

263

ข้อมูล ณ ตุลาคม 2551

กิจกรรมพัฒนาบุคลากร

คณะเทคนิคการแพทย์มีการจัดกิจกรรมพัฒนาบุคลากรทุกระดับของคณะอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับคณะและในระดับภาควิชา/หน่วยงานภายในคณะเอง ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพและศักยภาพทางวิชาการและวิชาชีพ รวมถึงเพื่อพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงาน โดยในปีงบประมาณ 2551 ที่ผ่านมานั้น ได้มีการจัดกิจกรรมพัฒนาบุคลากร ดังนี้

ชื่อกิจกรรม

วันที่จัดกิจกรรม

จำนวนผู้เข้า

ร่วมกิจกรรม

โครงการอบรมพัฒนาผู้บริหาร เรื่อง การบริหารจัดการองค์กรยุคใหม่

12 มกราคม 2551

65

โครงการสัมมนาการเรียนการสอนแขนงภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิกและแขนงวิทยาศาสตร์การธนาคารเลือด

25-26 กุมภาพันธ์ 2551

21

ประชุมเพื่อจัดทำรายงาน TQA คณะเทคนิคการแพทย์

9, 16 กุมภาพันธ์ และ 5-6, 13 มีนาคม 2551

25

สัมมนาภาควิชากิจกรรมบำบัด ประจำปี 2551 เพื่อวางแผนการดำเนินงาน 10 ปีของภาควิชาฯ

17-21 มีนาคม 2551

26

โครงการอบรมเชิงปฎิบัติการเรื่อง การพัฒนาสื่อมัลติมิเดียเพื่อการเรียนการสอนครั้งที่ 2

21 มีนาคม 2551

13

เสวนา " เรื่องทิศทางการบริหารงานเมื่อมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ"

27 มีนาคม 2551

80

โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน

6 พฤษภาคม 2551

42

โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการในการพัฒนาการเรียนการสอน

8 พฤษภาคม 2551

48

โครงการประชุมการจัดทำแผนแม่บท แผนปฏิบัติการ สัมมนาหลักสูตร และเพิ่มศักยภาพบุคลากร สาขาเทคนิคการแพทย์

23-24 พฤษภาคม 2551

39

อบรมให้ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ แก่บุคลากรสำนักงานเลขานุการ

19 มิถุนายน 2551

15

อบรมเรื่อง การใช้ e-Office ในสำนักงาน แก่บุคลากรสำนักงานเลขานุการ

29 สิงหาคม 2551

12

อบรมเรื่อง การใช้โปรแกรม Excel ในสำนักงาน บุคลากรสำนักงานเลขานุการ

26 กันยายน 2551

14

นอกจากนั้น คณะเทคนิคการแพทย์ยังสนับสนุนให้บุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาบุคลากร และพัฒนาองค์ความรู้ที่จัดขึ้นโดยงานอื่นๆ ทั้งภายนอกและภายในมหาวิทยาลัย โดยในปีงบประมาณ 2551 มีบุคลากรที่ได้รับการสนับสนุนให้เข้าร่วมประชุม สัมมนา อบรมกับหน่วยงานอื่นๆ ภายนอกทั้งหมด 491 คน-ครั้ง

กระบวนวิชาที่เปิดสอนปัจจุบัน

ระดับปริญญาตรี

แต่ละสาขาวิชารับผิดชอบการเรียนการสอนในกระบวนวิชาตามหลักสูตรของสาขาวิชา

สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ 37 กระบวนวิชา

สาขาวิชากิจกรรมบำบัด 31 กระบวนวิชา

สาขาวิชากายภาพบำบัด 34 กระบวนวิชา

สาขาวิชารังสีเทคนิค (32+29) กระบวนวิชา(แผน1+2)

ระดับบัณฑิตศึกษา

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (กายภาพบำบัดคลินิก) 24 กระบวนวิชา

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) 31 กระบวนวิชา

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย)

17 กระบวนวิชา

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรรังสีการแพทย์) 20 กระบวนวิชา

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (กิจกรรมบำบัด) 11 กระบวนวิชา

หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์) 2 กระบวนวิชา

นอกจากนี้ ภาควิชากิจกรรมบำบัดร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ เปิดสอนกระบวนวิชาในระดับปริญญาโท สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ จำนวน 3 กระบวนวิชา และภาควิชากายภาพบำบัดร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ เปิดสอนกระบวนวิชาในระดับปริญญาโท หลักสูตรสาขาวิชาร่วมของบัณฑิตวิทยาลัย(โครงการพิเศษ) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จำนวน 2 กระบวนวิชา


กิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพนักศึกษา

คณะเทคนิคการแพทย์ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดกิจกรรม เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพความสามารถของนักศึกษาและเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสังคม สามารถออกไปใช้ชีวิตและอยู่ร่วมกับสังคมชุมชนได้เป็นอย่างดี ซึ่งกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพนักศึกษาที่จัดขึ้นมีทั้งกิจกรรมเชิงวิชาการและกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาศักยภาพคุณภาพชีวิต เช่น

· กิจกรรมอาสาพัฒนา/บำเพ็ญประโยชน์/จิตอาสา เช่น

1. โครงการกายภาพบำบัดสัมผัสชุมชน

· กิจกรรมส่งเสริมทักษะประสบการณ์ทางวิชาการและวิชาชีพ เช่น

1. โครงการนำนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ดูงาน

2. โครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในคลินิกและชีวิตประจำวัน

3. การฝึกปฏิบัติการวิชาชีพในโรงพยาบาลหรือหน่วยงานต่างๆ

4. งานวันวิชาการประจำปี

5. โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่

6. โครงการมัชฌิมนิเทศ โครงการปัจฉิมนิเทศ

7. โครงการอบรมเรื่องการป้องกันการติดเชื้อเนื่องจากการปฏิบัติงาน

8. โครงการอบรมทักษะการให้คำปรึกษาก่อนและหลังการตรวจเลือดโรคเอดส์และภาวะวิกฤติ

· กิจกรรมกีฬา

1. การแข่งขันกีฬาสหเวชศาสตร์-เทคนิคการแพทย์ 9 สถาบัน ครั้งที่ 14

· กิจกรรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม

1. พิธีไหว้ครู

2. นำนักศึกษาใหม่ขึ้นนมัสการพระบรมธาตุดอยสุเทพ

3. พิธีรับขวัญขันโตก

· กิจกรรมเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1. โครงการประดิษฐ์ของที่ระลึกจากเศษวัสดุ

ลำดับ

ชื่อกิจกรรม

วันที่จัดกิจกรรม

1

ปฐมนิเทศนักศึกษาหอพักคณะ ปีการศึกษา 2551

6 มิ.ย. 51

2

พิธีไหว้ครูคณะเทคนิคการแพทย์ ปีการศึกษา 2551

12 มิ.ย. 51

3

โครงการโลกใหม่ในรั้วสีน้ำเงิน

14-15 มิ.ย. 51

4

โครงการ Conversational English in the Clinic ประจำปีการศึกษา 2551

ก.ค. - ก.ย. 51

5

โครงการ Basic English in Daily life ประจำปีการศึกษา 2551

ก.ค. - ก.ย. 51

6

โครงการสอนเสริม Chem 151 และ Chem 116

9 - 27 ก.ค. 51

7

โครงการนำนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ดูงานเกี่ยวกับวิชาชีพ ประจำปีการศึกษา 2551

ก.ค. - ส.ค. 51

8

กีฬาเทคนิคการแพทย์ สหเวชศาสตร์สัมพันธ์ ครั้งที่ 14

9 - 10 ส.ค. 51

9

กิจกรรมลูกช้างเชือกใหม่ปลอดเหล้าเข้าวัด

13 ส.ค. 51

10

โครงการอาจารย์ที่ปรึกษาพบนักศึกษาคณะชั้นปีที่ 1 (ครั้งที่ 1/2551)

25 ส.ค. 5 ก.ย.

11

โครงการอบรมจริยธรรม เรียนรู้ชีวิต ครั้งที่ 4

29 ส.ค. - 2 ก.ย. 51

12

โครงการกายภาพบำบัดสัมผัสชุมชน ครั้งที่ 12

5 - 6 ต.ค. 51

13

โครงการอนุรักษ์ประเพณีลอยกระทง ประจำปีการศึกษา 2551

11 พ.ย. 51

14

โครงการมัชฌิมนิเทศ ประจำปีการศึกษา 2551 สำหรับน.ศ.ชั้นปีที่ 2

16 พ.ย. 51

15

โครงการประดิษฐ์ของที่ระลึกจากเศษวัสดุ

10 ธ.ค. 51

16

โครงการเปิดรั้วสีน้ำเงินสู่โลกกว้างสำหรับนักศึกษาสาขาเทคนิคการแพทย์

26 ธ.ค. 51

17

โครงการอาจารย์ที่ปรึกษาพบนักศึกษาคณะชั้นปีที่ 1 (ครั้งที่ 2/2551)

12 - 23 ม.ค. 52

18

โครงการ "รับขวัญบัณฑิตใหม่ รุ่นที่ 43"

(1) เลี้ยงน้ำชาบัณฑิตใหม่

(2) งานรับขวัญบัณฑิตใหม่

19 ม.ค. 52

19

โครงการน้องพบพี่บัณฑิต

20

งานวันต้อนรับปีใหม่และอำลาหอพักน.ศ.ปีการศึกษา 2551

17 ม.ค. 52

21

โครงการปัจฉิมนิเทศ คณะเทคนิคการแพทย์ ประจำปีการศึกษา 2551

8 ก.พ. 52

22

โครงการจบการศึกษาอำลาสถาบันและเชิดชูเกียรติ นศ.ประจำปีการศึกษา 2551

13 ก.พ. 52

23

โครงการเปิดรั้วสีน้ำเงินสู่โลกกว้างสำหรับนักศึกษาสำหรับนักศึกษาสาขากายภาพบำบัด

1 ก.พ. 52

ทุนการศึกษา

คณะเทคนิคการแพทย์ได้จัดสรรทุนการศึกษาจากแหล่งทุนต่างๆ ทั้งจากงบประมาณแผ่นดินและงบประมาณเงินรายได้ รวมทั้งจากบริษัทห้างร้าน มูลนิธิ ศิษย์เก่าและผู้มีจิตศรัทธา คณะฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกนักศึกษาเพื่อรับทุนการศึกษา ซึ่งมีผู้แทนจากทุกสาขาวิชา ร่วมเป็นคณะกรรมการ และมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยกิจการนักศึกษา ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานในการจัดสรรทุนสนับสนุนการศึกษา ซึ่งในปีงบประมาณ 2551 คณะเทคนิคการแพทย์ได้จัดสรรทุนการศึกษา ดังนี้

ประเภท

แหล่งทุน

จำนวนทุน

จำนวนเงิน

1.ทุนการศึกษาประเภทขาดแคลนทุนทรัพย์

งบประมาณแผ่นดิน

32

160,000

เงินบริจาค

21

568,000

2.ทุนฝึกงานนอกสถานที่

งบประมาณเงินรายได้

116

152,800

กองทุนพัฒนาคณะฯ

30,000

3.ทุนทำงาน

งบประมาณเงินรายได้

101

50,000

รวม

960,800

กองทุนเงินยืมฉุกเฉิน

คณะเทคนิคการแพทย์ ได้รับเงินบริจาคจากศิษย์เก่าและผู้มีจิตศรัทธาเพื่อจัดตั้งเป็นกองทุนให้นักศึกษายืม โดยไม่คิดดอกเบี้ย เพื่อช่วยเหลือแก่นักศึกษาที่ประสบปัญหาการขาดแคลนเป็นกรณีเร่งด่วน โดยคณะฯจะพิจารณาตามความจำเป็น เป็นกรณีไป

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

กลุ่ม

รายละเอียด

จำนวนผู้กู้

1

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

315

2

กองทุนเงินให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.)

9

รวม

324

ภาวะการหางานทำของบัณฑิต

จากการสำรวจข้อมูลบัณฑิตระดับปริญญาตรีคณะเทคนิคการแพทย์ ที่มารายงานตัวเพื่อเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 42 (24 มกราคม 2551) มีบัณฑิตคณะเทคนิคการแพทย์ที่ตอบข้อมูลแบบสำรวจทั้งสิ้น 234 คน จากจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาทั้งสิ้น 251 คน ปรากฏข้อมูลภาวะการหางานทำของบัณฑิตคณะเทคนิคการแพทย์ ดังนี้

ภาวะการหางานทำของบัณฑิตระดับปริญญาตรี คณะเทคนิคการแพทย์

สาขาวิชา

ภาวะการทำงานของบัณฑิต ภายใน 1 ปี หลังจากสำเร็จการศึกษา

ทำงาน

ศึกษาต่อ

กำลังหางานทำ

ประกอบอาชีพอิสระ

รวม

เทคนิคการแพทย์

70

(84.34%)

13

(15.66%)

-

-

83

(100%)

กิจกรรมบำบัด

50

(86.21%)

5

(8.62%)

2

(3.45%)

1

(1.72%)

58

(100%)

กายภาพบำบัด

33

(91.67%)

2

(5.55%)

1

(2.78%)

-

36

(100%)

รังสีเทคนิค

30

(93.75%)

2

(6.25%)

-

-

32

(100%)

รังสีเทคนิค(ภาคพิเศษ)

25

(100%)

-

-

-

25

(100%)

บัณฑิตคณะเทคนิคการแพทย์

208

(88.89%)

22

(9.40%)

3

(1.28%)

1

(0.43%)

234

(100%)

ตารางที่ 4 แสดงการจำแนกสถานที่ทำงานของบัณฑิต ได้เข้าทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้

สาขาวิชา

จำนวนผู้สำเร็จ

หน่วยงานภาครัฐ

หน่วยงานภาคเอกชน

กำลังศึกษาต่อ

เทคนิคการแพทย์

83

32

38

13

กิจกรรมบำบัด

58

32

18

5

กายภาพบำบัด

36

20

13

2

รังสีเทคนิค

32

11

19

2

รังสีเทคนิค

(ภาคพิเศษ)

25

22

3

-

อาคารสถานที่

คณะเทคนิคการแพทย์มีพื้นที่อยู่ในความรับผิดชอบ รวม 21,572.84 ตารางเมตร ประกอบด้วย

อาคารปฏิบัติการกลาง 4 ชั้น 3,115.40 ตารางเมตร

อาคารเรียนและปฏิบัติการ 7 ชั้น 5,065.45 ตารางเมตร

อาคารเรียนและปฏิบัติการ 12 ชั้น 9,413.79 ตารางเมตร

อาคารธาราบำบัด 513 ตารางเมตร

อาคารหอพักนักศึกษา 2,693.20 ตารางเมตร

อาคารเรียนรวมพยาบาลฯ-เทคนิคฯ 772 ตารางเมตร (เฉพาะห้องเรียนทั้งหมดของชั้น 3)

งบประมาณ

คณะเทคนิคการแพทย์ ได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานของคณะในปีงบประมาณ 2551 จาก 2 แหล่ง (จากรายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำไตรมาสที่ 4 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551) คือ

1.) งบประมาณแผ่นดิน รับจริง 70,530,900 บาท

จ่ายจริง 66,889,192.82 บาท

2.) งบประมาณเงินรายได้ รับจริง 18,956,500 บาท

จ่ายจริง 12,002,435.11 บาท

สถิติงบประมาณที่ได้รับจัดสรร 2545-2551

งบประมาณแผ่นดิน งบประมาณเงินรายได้

2545 82,040,500 11,178,000

2546 73,965,000 14,195,200

2547 64,735,900 5,706,400

2548 84,116,400 18,471,200

2549 85,096,000 22,688,700

2550 69,591,200 14,959,500

2551 70,530,900 18,956,500


งานวิจัย

คณะเทคนิคการแพทย์ได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานวิจัย ในปีงบประมาณ 2551 จากแหล่งทุนต่างๆ ดังนี้

1. งบประมาณแผ่นดิน 7 โครงการ เป็นจำนวนเงิน 4,016,500 บาท

2. งบประมาณเงินรายได้คณะฯ 14 โครงการ เป็นจำนวนเงิน 410,750 บาท

3. งบประมาณจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 5 โครงการ เป็นจำนวนเงิน 460,000.00 บาท (ศูนย์วิศวกรรมชีวการแพทย์ ม.ช. งบบูรณาการ)

4. งบประมาณจากโครงการให้ทุนสนุบสนุนโครงงานอุตสาหกรรมสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี (Industrial and Research Project for Undergraduate Students : IRPUS) 20 โครงการ เป็นจำนวนเงิน 1,503,490 บาท

5. งบประมาณจากหน่วยงานอื่นๆ ภายนอก 12 โครงการ เป็นจำนวนเงิน 6,828,100 บาท

รวม 13,218,840 บาท

โครงการวิจัย / ผู้ประสานงานโครงการวิจัย

งบประมาณ

งบประมาณแผ่นดิน

Characterization of monoclonal antibodies specific to human liver heparan sulfate proteoglycans: The development of reagent kit for diagnosis of liver damage and the study of inhibition effects on tumor implantation and metastasis (ปรียานาถ วงศ์จันทร์)

717,300

การผลิตและประยุกต์ใช้โพลีโคลนัลและโมโนโคลนัลแอนติบอดีต่ออัลฟาฮีโมโกลบินสเตบิไลซิงโปรตีน (ยุทธนา หมั่นดี )

950,000

การประเมินผลก่อนนำออกจำหน่ายของผลิตภัณฑ์บิลิรูบินชนิดแห้งซึ่งผลิตเพื่อใช้ในการตรวจสอบความแม่นยำและความถูกต้องของการวิเคราะห์บิลิรูบินแบบระยะยาวในห้องปฏิบัติการโรงพยาบาล (รุจาภา นิ่มสังข์)

249,900

การผลิตซีรัมควบคุณคุณภาพเพื่อควบคุมความแม่นยำของการวิเคราะห์ไขมันหลายรูปแบบในซีรัม และการพัฒนาคุณภาพของผลผลิตซีรัมควบคุมคุณภาพชนิดแห้งให้เพียงพอต่อความต้องการใช้งานทางคุณภาพในห้องปฏิบัติการชันสูตร (รุจาภา นิ่มสังข์)

542,900

การศึกษาสารสกัดหยาบจากพืชสมุนไพร พืชผักพื้นบ้าน และสิ่งเหลือใช้จากพืชในระดับอณูชีวโมเลกุลเพื่อการพัฒนาเป็นยาต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาว (ทรงยศ อนุชปรีดา)

311,800

การตรวจหา p53 mutation เพื่อตรวจสอบถึงลักษณะทางระบาดวิทยาของมะเร็งปอด ในเชียงใหม่ และการประเมินประสิทธิภาพของ p53 autoantibody detection kit ที่ถูก พัฒนาขึ้นในการบ่งถึงการพยากรณ์โรคและการตอบสนองต่อการรักษาของผู้ป่วย มะเร็งปอด (รัชดา เครสซี่)

760,000

การผลิตและแยกบริสุทธิ์เอนไซม์ cholesterol oxidase, cholesterol esterase และ peroxidase เพื่อพัฒนาชุดน้ำยาสำหรับตรวจวัดระดับโคเลสเตอรอลในกระแสเลือด (รัชดา เครสซี่)

484,600

งบประมาณเงินรายได้

ผลของการออกกำลังกายแบบแอโรบิคในเด็กอ้วนอายุ 9-10 ปี (กรกฎ เห็นแสงวิไล)

21,000

การเปรียบเทียบระดับ Erythropoietin และ pro-inflammatory marker ระหว่างผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีและไม่มีภาวะโลหิตจาง (จตุพร วงศ์สาธิตกุล)

45,000

ยุทธวิธีการจัดการกับความเหงาและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ (จิรนันท์ กริฟฟิทส์)

18,370

กระดานสื่อสารอีเลกโทรนิกส์สำหรับผู้ป่วย aphasia

(ทศพร บรรยมาก)

37,906

การเปรียบเทียบผลการออกกำลังกายในน้ำกับการออกกำลังกายด้วยการเดินบนพื้นราบในสุนัขที่มีปัญหาข้อต่อ

(บุษบา ฉั่วตระกูล)

16,500

การตรวจพิสูจน์เชื้อ Vibrio vulnificus ด้วยเทคนิค PCR (ประพัณฐ์ หลวงสุข)

45,000

โปรแกรมการให้ความรู้ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชน ให้กับผู้ดูแล กับคุณภาพชีวิตและการมีส่วนร่วมในชุมชนของผู้ป่วยทางจิตเวช (พรเพ็ญ ศิริสัตยวงศ์)

42,600

การค้นหาโมเลกุลบนผิวเซลล์ที่จำเพาะสำหรับ regulatory T cells (Treg) (พานทอง สิงห์บุตรา)

45,000

การศึกษา HLA-DRB1 allele ในผู้ติดเชื้อ HIV ที่รักษาด้วยยาต้านไวรัส ที่มีค่า CD4 ต่ำและviral load ต่ำ

(ศักดิ์ชัย เดชตรัยรัตน์)

45,000

การพัฒนาวิธีการแยกสกัดดีเอ็นเอจากแบคทีเรียที่สะดวกและรวดเร็วโดยใช้ผงแม่เหล็กนาโนสังเคราะห์ (สรศักดิ์ อินทรสูต)

45,000

ประเภทของความบกพร่องด้านความรู้ความเข้าใจขณะประกอบกิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยจิตเภท (สายฝน ซาวล้อม)

15,900

การพัฒนาแบบประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุสมองเสื่อม (สุภาวดี พุฒิหน่อย)

8,624

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกของนักศึกษากายภาพบำบัดในมุมมองของอาจารย์พิเศษผู้ควบคุมการฝึกปฏิบัติงาน (ศิริพันธุ์ คงสวัสดิ์)

9,900

การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (รุ่งทิวา มงคลเกิด)

4,950

ความสุขและคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สายฝน ซาวล้อม)

10,000

การยับยั้งการลุกลามของเซลล์มะเร็งปากมดลูกโดยใช้รีคอมบิแนน์แอดดีโนไวรัสที่มียีนกำหนดการสร้าง ScFv intrabody ต่อ CD147 (ณัฐจีรา อินต๊ะใส)

100,000

การพัฒนาอุปกรณ์พยุงข้อเข่าไฟฟ้าสำหรับผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก (จงจินตน์ รัตนาภินันท์ชัย)

85,000

การศึกษาการพัฒนาอิเลคโทรดคาร์บอนนาโนทูปสำหรับไบโอเซนเซอร์ เพื่อตรวจวัดฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสมุนไพรไทยทางการแพทย์ (ดลรวี ลีลารุ่งระยับ)

100,000

การสร้างเครื่องดึงคอแบบง่าย ที่เหมาะสมสำหรับการประยุกต์ใช้เองที่บ้านหรือการออกชุมชุน (อรวรรณ ประศาสน์วุฒิ)

100,000

การพัฒนาชุดชั่งน้ำหนักดิจิตอลสำหรับผู้ป่วยในหอผู้ป่วยหนัก (ทศพร พิชัยยา)

75,000

งบประมาณโครงการ IRPUS

เครื่องสแกนฟิล์มเอกซเรย์เอนกประสงค์ (สุชาติ เกียรติวัฒนเจริญ)

56,020

การผลิตโมโนโคลนอล แอนติบอดีจำเพาะต่อเฮพาแรน ซัลเฟต โปรติโอกลัยแคนที่ติดฉลากด้วยเอนไซม์ฮอร์สราดิช เปอร์ออกซิเดส สำหรับใช้ในงานตรวจทางภูมิคุ้มกันวิทยา (ปรียานาถ วงศ์จันทร์)

75,000

การผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีจำเพาะต่อเฮพาเรน ซัลเฟต โปรติโอกลัยแคนที่ติดฉลากด้วย Fluorescein isothiocyanate (FITC) สำหรับใช้ในงานตรวจทางภูมิคุ้มกันวิทยา (ปรียานาถ วงศ์จันทร์)

75,000

การพัฒนาชุดน้ำยาตรวจนับเกล็ดเลือดที่ถูกกระตุ้นและเกาะกลุ่มด้วยวิธีโฟลไซโตมิตรีที่หวังผลในเชิงพาณิชย์ (ยุทธนา หมั่นดี)

70,000

การพัฒนาชุดน้ำยาตรวจนับเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดในวงจรการแบ่งเซลล์ด้วยวิธีโฟลไซโตมิตรีที่หวังผลในเชิงพาณิชย์ (ยุทธนา หมั่นดี)

70,000

การออกแบบ การผลิต และการประเมินตู้อบฟิล์มเอกซเรย์ประหยัดพลังงาน (อุทุมมา มัฆะเนมี)

80,000

เครื่องสกัดโลหะเงินและบำบัดน้ำยาล้างฟิล์มระบบอัตโนมัติ (สุชาติ เกียรติวัฒนเจริญ)

51,500

การผลิตคอนกรีตป้องกันรังสีด้วยเถ้าลอย (สุมาลัย วังวรรณรัตน์)

100,000

การพัฒนาชุดน้ำยาตรวจวัดการทำงานของเกล็ดเลือดด้วยวิธีวัดการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดที่หวังผลในเชิงพาณิชย์ (ยุทธนา หมั่นดี)

70,000

เครื่องกำหนดค่าเอกซโพเซอร์เทคนิคสำหรับการถ่ายภาพรังสีทรวงอก (หัสฤกษ์ เนียมอินทร์)

80,000

การพัฒนาแผ่นยาไฮโดรเจลผสมสารสกัดใบสาบเสือเพื่อใช้ห้ามเลือดไหลและยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย : หวังผลในเชิงพาณิชย์ (สาคร พรประเสริฐ)

75,000

การทำสอบฤทธิ์ห้ามเลือดไหลและฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดสมุนไพรไทยเพื่อใช้พัฒนาแผ่นยาไฮโดรเจล : หวังผลในเชิงพาณิชย์ (สาคร พรประเสริฐ)

75,000

การออกแบบ การผลิต และประเมินประสิทธิภาพในการเพิ่มอุณหภูมิผิวหนังของนวัตกรรมแผ่นประคบร้อนดินเผาชนิดไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์แหล่งกำเนิดความร้อน (อาทิตย์ พวงมะลิ)

79,970

การพัฒนาชุดกระตุ้นป้องกันปลายเท้าตก (จงจินตน์ รัตนาภินันท์ชัย)

80,000

การผลิต in-house microcolumn chromatography สำหรับตรวจปริมาณ HbA2/E (ธนูศักดิ์ ตาตุ)

80,000

การพัฒนาเครื่องช่วยเดินทางด้านหน้าสำหรับเด็กสมองพิการ (สายนที ปรารถนาผล)

100,000

ผลของสารสกัดยอต่อการทำงานของเซลล์มาโครฟาจน์ (ขนิษฐา ทานี่ฮิล)

70,000

ผลของสารสกัดยอต่อการทำงานของเซลล์ลิมโฟซัยต์ (ขนิษฐา ทานี่ฮิล)

70,000

การประดิษฐ์เก้าอี้ล้อเข็นแบบช่วยเคลื่อนย้ายต่างระดับ (สุริยา ทุ่งสิบสาม)

70,000

ฤทธิ์ยับยั้งเอ็นไซม์ไทโรซิเนสและต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากหม่อน (ขนิษฐา ทานี่ฮิล)

70,000

งบประมาณจากแหล่งงบประมาณภายนอกอื่นๆ

การศึกษาวิจัยเพื่อป้องกันการบาดเจ็บในนักกีฬาแบดมินตันเยาวชน (จงจินตน์ รัตนาภินันท์ชัย)

500,000

คลื่นสัญญาณไฟฟ้าของกล้ามเนื้อขาขณะเตะในท่าราวด์คิกในนักกีฬาเทควันโด (อรวรรณ ประศาสน์วุฒิ)

300,000

การวิเคราะห์การบาดเจ็บและการเสริมสร้างความมั่นคงของระบบแกนกลางเพื่อความเป็นเลิศของนักกีฬายกน้ำหนักไทย (อุบล พิรุณสาร)

600,000

ผลของสารสกัดจากเนื้อมะม่วงและกล้วยต่อเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ขนิษฐา ทานี่ฮิล)

880,000

ผลไม้ไทยต้านออกซิเดชันในโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดหัวใจ: การปกป้องไม่ให้เกิดออกซิเดชันต่อลิโปโปรตีน โปรตีน และการสลายไฟบริน (รุ้งสิริ โชติปฏิเวชกุล)

518,100

การประเมินและประยุกต์ใช้ชุดตรวจ hemoglobin Bart’s แบบแถบเพื่อการตรวจกรองธาลัสซีเมีย (วัชระ กสิณฤกษ์)

1,100,000

โครงการวิจัยการพัฒนาชุดตรวจแบบรวดเร็วทางภูมิคุ้มกันวิทยาในการวินิจฉัยโรค (วัชระ กสิณฤกษ์)

1,200,000

การศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการออกกำลังกายร่วมกับการใช้สมุนไพรหญ้าดอกขาวเพื่อการเลิกบุหรี่เชิงปฏิบัติในจังหวัดเชียงใหม่ (ดลรวี ลีลารุ่งระยับ)

435,000

การออกแบบและสร้างเตียงปรับท่าทางต้นแบบ สำหรับผู้ป่วยเด็กโรคเรื้อรัง บนหอผู้ป่วยหนักเพื่อเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ (ดลรวี ลีลารุ่งระยับ)

170,000

การพัฒนา Naked-Eye Microcolumn HbE Screen (NEMES) เพื่อการตรวจคัดกรองพาหะฮีโมโกลบิน อี (ธนูศักดิ์ ตาตุ)

165,000

การศึกษาตำแหน่งและขบวนการออกฤทธิ์ชักนำการตายแบบอะพอพโตซีสของสารฟลาโวนอยด์ ที่พบในไวน์แดงต่อเซลล์มะเร็งตับของคนชนิด HepG2 (สุชาติ โกทันย์)

480,000

การศึกษากลไกของเคอร์คิวมินจากขมิ้นชันต่อการยับยั้งการทำงานของโปรตีนวิล์มทูเมอร์วัน ในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด K562 (ทรงยศ อนุชปรีดา)

480,000

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ระดับชาติ 33 เรื่อง

ระดับนานาชาติ 11 เรื่อง

ผลงานโดดเด่นด้านงานวิจัยของคณะเทคนิคการแพทย์

1. โครงงานนวัตกรรมของคณะเทคนิคการแพทย์ ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2551 (NATIONAL INNOVATION AWARDS 2008) ซึ่งจัดโดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) โดยมีผลงานจากคณะเทคนิคการแพทย์ ได้รับรางวัลทั้งหมด จำนวน 2 รางวัล และเข้าพิธีรับมอบรางวัล เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2551 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ดังนี้

1. โครงงานเครื่องกำหนดปริมาณรังสีสำหรับการถ่ายภาพเอกซเรย์ปอดทางการแพทย์ โดย น.ส.กิ่งกานต์ อภิวัฒนสุเมธ และ อาจารย์ ดร.หัสฤกษ์ เนียมอินทร์(อาจารย์ที่ปรึกษาและหัวหน้าโครงการ) จากภาควิชารังสีเทคนิค ในสาขาเทคโนโลยี ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับโล่ห์และเงินรางวัล 50,000 บาท

2. โครงงานเครื่องสกัดโลหะเงินและบำบัดน้ำยาล้างฟิล์มระบบอัตโนมัติ โดย น.ส. เพ็ญใจ ทองนวลจันทร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุชาติ เกียรติวัฒนเจริญ (อาจารย์ที่ปรึกษาและหัวหน้าโครงการ) จากภาควิชารังสีเทคนิค ในสาขาเทคโนโลยี ได้รับรางวัลชมเชย ได้รับเกียรติบัตร

และมีอีก 1 โครงงานที่ผ่านการคัดเลือกจากระดับภูมิภาคเข้าร่วมประกวดในระดับประเทศ และได้รับประกาศนียบัตรเข้าร่วมงานในครั้งนี้ คือโครงงานการออกแบบ การผลิตและประเมินประสิทธิผลในการเพิ่มอุณหภูมิผิวหนังของนวัตกรรมแผ่นประคบร้อนดินเผาชนิดไม่ต้องอาศัยแหล่งกำเนิดความร้อน โดย น.ส. สุวิมล ถนัดทาง และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ พวงมะลิ (อาจารย์ที่ปรึกษาและหัวหน้าโครงการ)

2. ศาสตราจารย์ ดร.วัชระ กสิณฤกษ์ ได้รับรางวัล นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาวิทยาภูมิคุ้มกัน ประจำปี พ.ศ. 2551 จาก มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์

3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันทณี เสถียรศักดิ์พงศ์ ได้รับรางวัล Best Paper Prize Presentation จากการนำเสนอผลงานวิจัยในหัวข้อ "Thai Elephant-assisted Therapy Program: The Feasibility in Assisting and Individual with Autism" จากการประชุม 8th Singapore-Malaysia Occupational Therapy Symposium 2008 ซึ่งจัดโดย Singapore Association of Occupational Therapy (SAOT)และ Malasia Occupational Therapy Association (MOTA) ในระหว่างวันที่ 13-14 มิถุนายน 2551 ณ ประเทศสิงคโปร์

4. คณะเทคนิคการแพทย์ ได้รับรางวัลโครงการ IRPUS ประจำปี 2551 ในสาขากลุ่มวิทยาศาสตร์การแพทย์ฯ จำนวน 4 รางวัล จากการเข้าร่วมเสนอผลงานวิจัยในงานแสดงผลงานพัฒนาเทคโนโลยีทุนปริญญาตรี สกว. ครั้งที่ 6 งานนิทรรศการเทิดพระเกียรติ "ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท" ซึ่งจัดโดยโครงการ IRPUS ระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2551 ณ ห้อง Royal Paragon Hall ห้างสรรพสินค้า สยามพารากอน กรุงเทพมหานคร ดังนี้

1. รางวัลชนะเลิศ Grand Champion ของทุกสาขาวิชา ชื่อโครงงาน "เครื่องสกัดโลหะเงินและบำบัดน้ำยาล้างฟิลม์ระบบอัตโนมัติ" เงินรางวัล 10,000.-บาท โดย น.ส.เพ็ญใจ ทองนวลจันทร์ นักศึกษาจากภาควิชารังสีเทคนิค ซึ่งมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุชาติ เกียรติวัฒนเจริญ เป็นหัวหน้าโครงงาน

2. รางวัลชนะเลิศ Professional Vote ของสาขาวิชาสุขภาพ (blue pavillion) ชื่อโครงงาน "เครื่องสกัดโลหะเงินและบำบัดน้ำยาล้างฟิลม์ระบบอัตโนมัติ" เงินรางวัล 20,000.-บาท โดย น.ส.เพ็ญใจ ทองนวลจันทร์ นักศึกษาจากภาควิชารังสีเทคนิค ซึ่งมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุชาติ เกียรติวัฒนเจริญ เป็นหัวหน้าโครงงาน

3. รางวัลชมเชย Professional Vote ของสาขาวิชาสุขภาพ (blue pavillion) ชื่อโครงงาน "เครื่องสแกนฟิลม์เอกซเรย์เอนกประสงค์" เงินรางวัล 3,000.-บาท โดย นายสุชาติ วันยะติ๊บ นักศึกษาจากภาควิชารังสีเทคนิค ซึ่งมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุชาติ เกียรติวัฒนเจริญ เป็นหัวหน้าโครงงาน

4. รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง Popular Vote ของสาขาวิชาสุขภาพ (blue pavillion) ชื่อโครงงาน "การพัฒนาเครื่องช่วยเดินทางด้านหลังสำหรับเด็กสมองพิการ" เงินรางวัล 8,000.-บาท โดย น.ส.ภัทราวรินทร์ สายวาริน และ น.ส.ศิรินทรา อนุศรี นักศึกษาจากภาควิชากายภาพบำบัด ซึ่งมี รองศาสตราจารย์สายนที ปรารถนาผล เป็นหัวหน้าโครงงาน

5. อาจารย์ ดร. ทรงยศ อนุชปรีดา ได้รับรางวัล "นักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่น ประจำปี 2550" รางวัลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเข้าพิธีรับมอบรางวัล จาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ในงานวันวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 3 "วิถีวิจัย : สู่สังคมร่มรื่นและเป็นสุข" เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2550 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันในประเทศและต่างประเทศ

ปัจจุบันคณะเทคนิคการแพทย์ มีความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบัน และองค์กรต่าง ๆ ในต่างประเทศ ในด้านการเรียน การสอน และงานวิจัย ในรูปแบบของการจัดฝึกอบรมคณาจารย์ การแลกเปลี่ยนบุคลากร การฝึกปฏิบัติงาน และแลกเปลี่ยนนักศึกษา การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการ และการทำวิจัยร่วมกัน โดยมีการลงนามในสัญญาความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาต่างประเทศ โดยเฉพาะในปีที่ผ่านมามีโครงการเด่นคือ โครงการ Perinatal HIV Prevention Trial (PHPT) Group จากประเทศฝรั่งเศส

นอกจากนั้นคณะเทคนิคการแพทย์ ยังมีความร่วมมือกับ University Paris Sud-11, Tours University และ France IRD


การให้บริการวิชาการแก่ชุมชน

1. การให้บริการวิชาการวิชาการและวิชาชีพ

คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในเชิงวิชาการและวิชาชีพ ซึ่งบุคลากรเหล่านี้ได้มีโอกาสนำความรู้ความสามารถทางวิชาการวิชาชีพเหล่านี้ออกให้บริการวิชาการแก่ชุมชนในรูปแบบต่างๆ เช่น การเป็นวิทยากร การเข้าร่วมเป็นกรรมการวิชาชีพ การออกหน่วยบริการตรวจสุขภาพทางเทคนิคการแพทย์ร่วมกับศูนย์บริการเทคนิคการแพทย์คลินิก รวมถึงเปิดให้องค์กรต่างๆ เข้ามาศึกษาดูงานการดำเนินงานภายในคณะในบางด้าน โดยเฉพาะระบบงาน e-Office ซึ่ง ผศ.สิชล สงค์ศิริ อาจารย์ประจำคณะเทคนิคการแพทย์ได้พัฒนาขึ้นใช้งานในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยในรอบปี 2551 ที่ผ่านมามีบุคลากรคณะเทคนิคการแพทย์ได้ให้บริการวิชาการโดยสรุปดังนี้

การให้บริการ

จำนวนครั้ง

วิทยากร

215

เข้าร่วมเป็นกรรมการวิชาชีพ

18

เข้าร่วมเป็นกรรมการวิชาการ

(กรรมการคุมสอบวิทยานิพนธ์)

45

จัดกิจกรรมประชุมวิชาการ

12

นอกจากนั้น ยังมีความร่วมมือกับหน่วยงานราชการภายนอกและภาคเอกชนในการจัดกิจกรรมบริการวิชาการ ดังนี้

กิจกรรมบริการวิชาการ

วันที่

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

โครงการบริการวิชาการชุมชนเพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการการตรวจสุขภาพก่อนการเจ็บป่วยและการเฝ้าระวังอันตรายจากเคมีเกษตร ณ บ้านปางตอง ตำบลแม่อูคอ อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน

10 พฤศจิกายน 2550

92

โครงการบริการวิชาการชุมชนเพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการการตรวจสุขภาพก่อนการเจ็บป่วยและการเฝ้าระวังอันตรายจากเคมีเกษตร ณ เทศบาลตำบลเมืองงาย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

1 ธันวาคม 2550

116

โครงการกิจกรรมบำบัด และกายภาพบำบัดสำหรับเด็กบ้านเวียงพิงค์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

-

-

โครงการกิจกรรมบำบัดและกายภาพบำบัด สำหรับผู้สูงอายุทุพพลภาพ สถาบันแมคเคนเพื่อการฟื้นฟูสภาพ อ.เมืองเชียงใหม่

-

-

โครงการกิจกรรมบำบัดในผู้สูงอายุชมรมเมืองกาย อ.เมือง จ.เชียงใหม่

-

-

โครงการกระตุ้นพัฒนาการเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาการเด็กเล็กสิรินธร ห้วยฮ่องไคร้ อ.ดอยสะเก็ด จ. เชียงใหม่

-

-

โครงการกิจกรรมบำบัด และกายภาพบำบัดในผู้สูงอายุหมู่บ้านวัยทองนิเวศน์ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

-

-

โครงการกิจกรรมบำบัด และกายภาพบำบัด ในผู้สูงอายุสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์ จ.เชียงใหม่

-

-

โครงการกิจกรรมบำบัดสำหรับเด็กตาบอด โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ จ.เชียงใหม่

-

-

โครงการกิจกรรมบำบัด และกายภาพบำบัด สำหรับผู้สูงอายุ ศูนย์บริการผู้สูงอายุบ้านปิยะมาลย์ จ.เชียงใหม่

-

-

โครงการกิจกรรมบำบัด และกายภาพบำบัด สำหรับผู้สูงอายุ วัดร่ำเปิง จ.เชียงใหม่

-

-

โครงการเยี่ยมบ้านผู้พิการในชุมชนเพื่อดัดแปลงสภาพแวดล้อมให้กับผู้พิการ จ.เชียงใหม่ จ.ลำพูน

-

-

โครงการกิจกรรมบำบัดในผู้สูงอายุทุพพลภาพ บ้านบูรพานิเวศน์ จ.เชียงใหม่

-

-

โครงการกิจกรรมบำบัดนักเรียน โรงเรียนวชิรวิทย์และโรงเรียนดาราวิทยาลัย อ.เมือง จ.เชียงใหม่

-

-

โครงการกิจกรรมบำบัดในเด็ก โรงเรียนศรีสังวาล อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

-

-

โครงการกิจกรรมบำบัดในเด็กบ้านกิ่งแก้ววิบูลสันติ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

-

-

ประชุมวิชาการคณะเทคนิคการแพทย์ ประจำปี 2550 โรงแรมเซ็นทารา อ.เมือง จ.เชียงใหม่

28-30 พฤศจิกายน 2550

421

อบรมและดูงานทางคลินิกกายภาพบำบัดสำหรับนักศึกษาชาวต่างชาติ คณะเทคนิคการแพทย์

9 พฤศจิกายน - 13 ธันวาคม 2550

5

อบรมหลักสูตรเทคนิคทางกิจกรรมบำบัดแก่นักกายภาพบำบัดลาว คณะเทคนิคการแพทย์

30 ตุลาคม - 22 ธันวาคม 2550

4

อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง From Theory to Practice in Pulmonary Rehabilitation โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง อ.เมือง จ.เชียงใหม่

11-13 กุมภาพันธ์ 2551

122

คณะเทคนิคการแพทย์ ร่วมกับโครงการ PHPT จัดประชุมเชิงปฏิบัติการนานาชาติลุ่มน้ำโขง เรื่อง Beyond access to antiretroviral Therapy โรงแรมอิมเพรสเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

18-19 กุมภาพันธ์ 2551

84

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ประยุกต์ด้านชีววิทยา ณ คณะเทคนิคการแพทย์

24-28 มีนาคม 2551

50

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "Clinical guidelines and assessment skills of physical therapy for children with cerebral palsy" ณ โรงแรมอโมร่าท่าแพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

28-30 เมษายน 2551

44

โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การตรวจพิสูจน์ชนิดของเชื้อแบคทีเรีย Clinical Cram Positive Cocci ประจำปี 2551" ณ คณะเทคนิคการแพทย์ มช.

27-30 พฤษภาคม 2551

49

โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "Hand Rehabilitation : Principle of treatment and splinting" โรงแรม อโมร่า ท่าแพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

6-8 สิงหาคม 2551

55

2. ศูนย์บริการเทคนิคการแพทย์คลินิก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศูนย์บริการเทคนิคการแพทย์คลินิก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา15(11) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2530 สภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2534 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2534 โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง ดังนี้

1. เพื่อให้ศูนย์บริการเทคนิคการแพทย์คลินิก เป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติของนักศึกษาและเป็นสถานที่ฝึกอบรมแก่บุคคลภายนอก

2. เพื่อเพิ่มทักษะและประสบการณ์แก่คณาจารย์ในคณะ ในการบริการแก่ประชาชน ซึ่งทักษะและประสบการณ์นี้สามารถนำไปสอนนักศึกษาได้โดยตรง

3. การให้บริการทางเทคนิคการแพทย์คลินิก เป็นพื้นฐานไปสู่การวิจัย, การพัฒนาเทคนิคและวิธีการ ตลอดจนการควบคุมคุณภาพทางการปฏิบัติทดลอง อันจะนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงระบบการเรียนการสอน ซึ่งจะก่อให้เกิดความเป็นเลิศทางวิชาการต่อไป

4. เพื่อรวบรวมงานบริการและงานจัดการทางเทคนิคการแพทย์คลินิกของคณะในหน่วยงานต่างๆ รวมไว้ในศูนย์เดียวกัน เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการตลอดจนเกิดความคล่องตัวในด้านการบริหาร

5. เพื่อให้บริการทางเทคนิคการแพทย์คลินิก ของสาขาวิชาที่คณะรับผิดชอบผลิตบัณฑิต ได้แก่ ทางเทคนิคการแพทย์ รังสีเทคนิค กิจกรรมบำบัดและกายภาพบำบัดแก่ประชาชนทั่วๆ ไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ประชาชนในภาคเหนือ ตลอดจนให้บริการแก่โรงพยาบาล สถาบัน หน่วยงาน องค์กรต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล

6. การให้บริการนี้จะนำไปสู่มาตรฐานของวิชาชีพและความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน สถาบัน องค์กรต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล

7. รายได้ส่วนหนึ่งจากการให้บริการ จะทำให้คณะพึ่งตนเองได้มากขึ้นก่อให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านบุคลากร วัสดุ ครุภัณฑ์ ทำให้เกิดการปรับปรุงระบบงานในองค์การให้เหมาะสมและคล่องตัวมากขึ้น

ทั้งนี้ศูนย์บริการเทคนิคการแพทย์คลินิก ได้รับการพิจารณาอนุมัติจากกระทรวงการคลังให้เป็นสถานพยาบาลของทางราชการ ตามนัยมาตรา 4 แห่ง พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ.2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (อ้างถึงหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0502/35254 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2535)

คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รวบรวมงานบริการต่างๆ ไว้ในศูนย์บริการฯ เพียงแห่งเดียว เพื่อความสะดวก รวดเร็วในการให้บริการ แก่ผู้มาใช้บริการ ตลอดจนความคล่องตัว ในการบริหาร นอกจากนี้ทางศูนย์บริการฯ จะเน้นการบริการด้าน การตรวจสุขภาพประจำปี และ การตรวจพิเศษ (Special test) ซึ่งคณะแพทย์ศาสตร์ยังไม่มีบริการ ก็จะเป็นการเพิ่มทักษะ และประสบการณ์ แก่อาจารย์ที่รับผิดชอบในงานนั้น ๆ ให้มากยิ่งขึ้น และการที่คณะ เทคนิคการแพทย์ มีห้องปฏิบัติการเป็นของตนเอง ก็จะเป็นแหล่งข้อมูล แหล่งสิ่งส่งตรวจ (Specimen) และแหล่งเครื่องมือ ที่จะช่วยส่งเสริมให้อาจารย์ ได้มีโอกาสทำงานวิจัยได้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถเป็นแนวทางหารายได้มาเสริมงบประมาณปกติ ได้อีกทางหนึ่งด้วย เพื่อนำมาพัฒนาภารกิจของมหาวิทยาลัย เพื่อสามารถพึ่งตนเองได้ในอนาคตต่อไป โดยในปัจจุบัน ศูนย์บริการเทคนิคการแพทย์คลินิก ได้เปิดให้บริการทั้งสิ้น 4 คลินิก ได้แก่

1. คลินิกเทคนิคการแพทย์ ให้บริการตรวจสุขภาพ เช่น โคเลสเตอรอล กรดยูริค ครีอะตีนิน น้ำตาลในเลือดหมู่เลือด พาหะโรคธาลัสซีเมียและเอนไซม์จีซิก พีดี ตลอดจนให้บริการตรวจหาร่องรอยการติดเชื้อไวรัสเอดส์ เป็นต้น

2. คลินิกรังสีเทคนิค ให้บริการความรู้เรื่องการเตรียมตัวคนไข้เพื่อรับบริการในแผนกรังสีเอกซเรย์ ตลอดจนการบรรยายและสาธิตภาพถ่ายรังสีอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย

3. คลินิกกิจกรรมบำบัด บริการตรวจและให้คำแนะนำทางกิจกรรมบำบัด เช่น ทดสอบการรับรู้ความรู้สึกและความสัมพันธ์ของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย การตรวจวัดความเครียด การใช้กิจกรรมฟื้นฟู รักษาคนป่วยหรือ ผู้ที่มีความผิดปกติทางสมอง

4. คลินิกกายภาพบำบัด-ธาราบำบัด บริการตรวจและให้คำแนะนำทางภายภาพบำบัด ความเจ็บปวดส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ปวดคอ ไหล่ เข่า เอว และการฟื้นฟูสภาพร่างกายสำหรับผู้ได้รับอุบัติเหตุ ตลอดจนการช่วยเหลือคนพิการ

ในรอบปีที่ผ่านมาศูนย์บริการฯ ยังได้ออกให้บริการวิชาการแก่ชุมชนในท้องที่ต่างๆ เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลต้นธง จ.ลำพูน, เทศบาลตำบลแม่แรง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน, วัดบ่อแก้ววนาราม อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่, บริการวิชาการตรวจสุขภาพในวาระครบสมาคมเทคนิคการแพทย์ไทย ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลแอร์พอร์ตพลาซ่า เป็นต้น โดยมีผู้เข้ารับบริการของศูนย์บริการฯ รวมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 50,000 คน

กิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

คณะเทคนิคการแพทย์บริหารจัดการกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีแต่งตั้งคณะทำงานที่เกี่ยวข้องขึ้น คือ

1. คณะกรรมการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ทำหนาที่

1. สนับสนุนใหบุคลากรทุกระดับของคณะฯ ไดมีสวนรวมในการทํานุบํารุงศิลปและวัฒนธรรม ในทุกๆ โอกาส ทั้งโดยการดําเนินงานรวมกันภายในคณะฯ รวมกับทุกๆ คณะในมหาวิทยาลัย และโดยการรวมกับชุมชนในทองถิ่น

2. ดําเนินจัดกิจกรรมเพื่อใหความรูทางศิลปวัฒนธรรมแกบุคลากรคณะฯ

3. กระตุนจิตสํานึกของบุคลากรใหเกิดความรักศิลปวัฒนธรรมของไทยอยางตอเนื่องและสม่ำเสมอ

4. ดําเนินการเพื่อใหศิลปวัฒนธรรมอยางนอยประเภทใดประเภทหนึ่ง เปนเอกลักษณของคณะเทคนิคการแพทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม

5. ดําเนินงานตามที่ผูบริหารเสนอแนะและมอบหมาย

2. คณะกรรมการอนุรักษ์พลังงานและจัดการสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบดำเนินการเรื่องสิ่งแวดล้อมดังนี้

1. กำหนดนโยบายการบริหารจัดการและดูแลด้านสิ่งแวดล้อมของคณะ

2. ตรวจสอบ ควบคุม ตามข้อ 1 ให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้

3. อนุรักษ์พลังงานและพัฒนาจัดการสิ่งแวดล้อม

4. ปลูกฝังจิตสำนึกด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับบุคลกรและนักศึกษา

5. นำระบบคุณภาพมาตรฐานทางสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้ในคณะฯ

โดยในรอบปี 2551 ที่ผ่านมาคณะกรรมการทั้งสองชุดได้ดำเนินการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับภารกิจด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหลายกิจกรรม เช่น ทำบุญตักบาตรในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและวันสำคัญ การถวายเทียนพรรษาและผ้าอาบน้ำฝน การจัดบอร์ดความรู้เรื่องศิลปวัฒนธรรมและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ทอดผ้าป่า ถวายผ้ากฐิน อบรมภาษาและวรรณกรรมล้านนา รดน้ำดำหัวผู้อาวุโส โครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมบริเวณรอบคณะ กิจกรรมรณรงค์เพื่อการประหยัดพลังงาน เป็นต้น

กิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรรม

วันที่จัดกิจกรรม

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

ครงการทำโคมล้านนาให้กับบุคลากรคณะเทคนิคการแพทย์ และผู้สนใจทั่วไป ณ ห้องสมุดคณะเทคนิคการแพทย์

10 พฤศจิกายน 2550

60

ร่วมประเพณียี่เป็ง เทศกาลลอยกระทง ประจำปี 2550 ณ เทศบาลนครเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

24 พฤศจิกายน 2550

30

พิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2550ณ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

5 ธันวาคม 2550

70

โครงการทอดกฐิน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี 2550 ณ วัดฝายหิน ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

22 ธันวาคม 2550

5

ทำบุญเนื่องในวันสถาปนาคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

4 มกราคม 2551

100

ทำบุญทอดผ้าป่า ประจำปี 2551 ณ วัดทุ่งหลวง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

29 มีนาคม 2551

20

ร่วมประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2551 ณ เทศบาลนครเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

13 เมษายน 2551

40

พิธีดำหัวผู้อาวุโสคณะเทคนิคการแพทย์ และมหาวิทยาลัย ประจำปี 2551 ณ คณะเทคนิคการแพทย์ ม.ช.

25 เมษายน 2550

90

ร่วมประเพณีทำบุญเมืองเชียงใหม่ หน่วยพิธีประตูสวนดอก ประจำปี 2551 ณ หน่วยพิธีประตูสวนดอก อ.เมือง จ.เชียงใหม่

12 มิถุนายน 2551

30

โครงการอบรมภาษาและวรรณกรรมล้านนา คณะเทคนิคการแพทย์ ณ คณะเทคนิคการแพทย์ ม.ช.

14 กรกฎาคม -
14 กันยายน 2551

50

ทำบุญถวายเทียนเข้าพรรษา ณ วัดธาตุดอยคำ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

10 กรกฏาคม 2551

55

พิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม 2551 ณ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

11 สิงหาคม 2551

70

งานพิธีถวายพานพุ่มเนื่องในโอกาสวันมหิดล วันที่ 24 กันยายน ณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

24 กันยายน 2551

35

โครงการเผยแพร่ความรู้ทั่วไปในเชิงปรัชญา พุทธศาสนา และศิลปะเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีชาวล้านนา ทางสถานีวิทยุสร้างเสริมพลังชุมชน FM 99 MHz “รายการข่วงคนเฒ่าเวลา 21.00 - 22.00 น. ทุกวันเสาร์

-

-

โครงการเผยแพร่ความรู้ทั่วไปในเชิงปรัชญาและพุทธศาสนา ในคอลัมน์จดหมายเหตุล้านนา หน้า 5 หนังสือไทยนิวส์

1 ตุลาคม 2550 - 30 กันยายน 2551

-

โครงการอนุรักษ์สุภาษิตสอนใจชาวล้านนา คณะเทคนิคการแพทย์ ประเภทค่าว / ซอ / กาพย์ / ร่าย / กะโลง / ค่าวฮ่ำ / ร้อยแก้ว ประจำปี 2551

1 ตุลาคม 2550 - 30 กันยายน 2551

-

โครงการเผยแพร่ข่าวสารและให้ความรู้เกี่ยวกับประเพณี ศิลปะวัฒนธรรมไทย คณะเทคนิคการแพทย์

1 ตุลาคม 2550 - 30 กันยายน 2551

-

กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม

วันที่จัดกิจกรรม

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

โครงการรณรงค์ประหยัดพลังงาน คณะเทคนิคการแพทย์

ตลอดปีงบประมาณ 2551

-

โครงการพัฒนาคณะเทคนิคการแพทย์เนื่องในวันรัฐธรรมนูญ

10 ธันวาคม 2550

72

โครงการอบรมการป้องกันการบรรเทาอัคคีภัยและช่วยเหลือผู้ประสบภัยภายในอาคารคณะเทคนิคการแพทย์

6 มิถุนายน 2551

372

การประกันคุณภาพการศึกษา

คณะเทคนิคการแพทย์ มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษารวมทั้งยกระดับมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และให้สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตามนโยบายด้านการประกันคุณภาพการศึกษา โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งในระดับคณะและภาควิชา รวมทั้งได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านการประกันคุณภาพการศึกษาขึ้น เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนข้อมูลและการจัดทำรายงานการประกันคุณภาพการศึกษาในแต่ละรอบการตรวจประเมิน ซึ่งในรอบการตรวจเยี่ยมและประเมินระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาประจำปี 2549-2550 ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 4-5 กรกฎาคม 2550 ที่ผ่านมานี้ คณะเทคนิคการแพทย์ได้รับการประเมินให้อยู่ในระดับคะแนน 88.5 หรือจัดอยู่ในกลุ่มคณะที่มีผลการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับดีมาก

คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะ

คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์

คณะอนุกรรมการด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาระดับภาควิชา

คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของภาควิชารังสีเทคนิค

คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของภาควิชากายภาพบำบัด

คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของภาควิชากิจกรรมบำบัด

คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของภาควิชาเทคนิคการแพทย์

ผู้บริหารคณะเทคนิคการแพทย์

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อุดมศักดิ์ เห่วซึ่งเจริญ คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์

2. รองศาสตราจารย์นันทยา ชนะรัตน์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร

3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์บงกชวรรณ สุตะพาหะ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์

4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปฐม ปฐมธนพงศ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

5. อาจารย์พิรุณ ไชยเชียงพิณ รองคณบดีฝ่ายพัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศ

6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภาส โพธิ์ทองสุนันท์ รองคณบดีฝ่ายแผนงานและประกันคุณภาพการศึกษา

7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสนา ศิริรังษี รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์

8. รองศาสตราจารย์ ดร.สำรี มั่นเขตต์กรน์ รองคณบดีฝายงานบัณฑิตศึกษา

9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เพื่อนใจ รัตตากร ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์

10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิริพันธุ์ คงสวัสดิ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ

11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมพร อ่อนละออ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์

12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา หมั่นดี หัวหน้าศูนย์บริการเทคนิคการแพทย์คลินิก

13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ปันจัยสีห์ หัวหน้าภาควิชาเทคนิคการแพทย์

14. รองศาสตราจารย์ ดร.ระวีวรรณ กันไพเราะ หัวหน้าภาควิชารังสีเทคนิค

15. รองศาสตราจารย์เทียม ศรีคำจักร์ หัวหน้าภาควิชากิจกรรมบำบัด

16. รองศาสตราจารย์สายนที ปรารถนาผล หัวหน้าภาควิชากายภาพบำบัด

17. นางศิริรัตน์ ปุรณะพรรค์ เลขานุการคณะเทคนิคการแพทย์

คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

110 ถนนอินทวโรรส อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200

โทรศัพท์ : 0-5322-1829, 0-5394-5072 โทรสาร : 0-5394-6042

URL : http://www.ams.cmu.ac.th


ค้นหา